ของฝากสาวๆไปอยู่ประเทศไหนแล้วจะมีน้ำหนักน้อยที่สุด

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย pongsiri, 11 เมษายน 2005.

แท็ก: แก้ไข
  1. pongsiri

    pongsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +638
    นักวิทยาศาสตร์กำลังเตรียมทำแผนที่แสดงความเข้มของแรงโน้มถ่วงที่ตำแหน่งต่างๆของโลก
    ภายใต้โครงการที่เรียกว่า Gravity Recovery And Climatic Experiment หรือ Grace
    โดยจะทำการส่งดาวเทียมขึ้นไปเพื่อวัดความแตกต่างของแรงดึงดูดโลก ณ. ตำแหน่งต่างๆ
    ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงภายในของโลก
    ไปจนถึงระดับน้ำทะเล และรวมทั้งเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกได้ดียิ่งขึ้น

    พื้นผิวของโลกนั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นทรงกลมสมบูรณ์ แต่จะแบนลงที่บริเวณขั้วโลกเหนือและใต้
    และป่องตรงบริเวณเส้นศูนย์สูตร นอกจากนั้นพื้นผิวของโลกยังไม่เรียบ ออกจะสูงๆต่ำๆไม่เท่ากัน
    แรงโน้มถ่วงของโลกนั้นนอกจากจะขึ้นตรงกับระยะห่างจากจุดศูนย์กลางโลกแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ
    โครงสร้างภายในของโลกอีกด้วย ชั้นหินละลายใต้พื้นโลกนั้นเป็นผลทำให้ความหนาแน่นของเนื้อสาร
    ที่ตำแหน่งต่างๆของโลกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งส่งผลถึงแรงดึงดูดมีค่าแตกต่างกัน

    ตำแหน่งที่นักธรณีวิทยาคิดว่ามีแรงโน้มถ่วงต่ำที่สุดบนผิวโลก คือบริเวณชายฝั่งของประเทศอินเดีย
    เหตุเพราะว่าโครงสร้างภายในใต้ผื้นโลกมีความหนาแน่นน้อย ซึ่งเป็นชั้นหินละลายโบราณ
    ที่หลงเหลือมาจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเมื่อสมัยที่แผ่นดินอินเดีย (Indian sub-continent)
    วิ่งเข้าชนแผ่นทวีปเอเชีย ( Eurasian tectonic plate ) ซึ่งเป็นผลให้เกิดภูเขาหิมาลัยขึ้นมา
    ส่วนบริเวณที่มีแรงโน้มถ่วงแรงที่สุดบนผิวโลกนั้น อยู่ที่บริเวณตอนใต้ของมหาสุมทรแปซิฟิค
    ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากโครงสร้างภายในของโลกเช่นกัน

    นอกจากนั้นแรงโน้มถ่วงที่ตำแหน่งต่างๆยังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากโครงสร้างภายในของโลก
    มีการเคลื่อนใหวและเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆซึ่งทำให้รูปทรงของโลกเปลี่ยนไปด้วยด้วยโดยเฉพาะที่บริเวณขั้วโลก แผ่นดินบริเวณประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย กรีนแลนด์ และ ประเทศแคนนาดากำลังยกตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆ เป็นผลให้โลกมีลักษณะกลมขึ้น เนื่องจากในยุคโบราณแผ่นน้ำแข็งหนาได้ทับถมพื้นโลกส่วนนั้นไว้
    เมื่อยุคน้ำแข็งจบลง แผ่นน้ำแข็งก็ละลายหายไป ทำให้น้ำหนักที่เคยกดทับแผนดินหายไปด้วย เปลือกโลก จึงค่อยๆคืนตัว เป็นผลให้แผ่นดินยกตัวสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของแรงโน้มถ่วงที่โลกนี้ เป็นปรากฎการณ์ ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจ ซึ่งคาดว่าอาจจะมีผลต่อระดับน้ำทะเลในภูมิภาคต่างๆของโลก

    นักวิทยาศาสตร์ในโครงการ Grace สามารถคำนวนแรงโน้มถ่วงที่ตำแหน่งต่างๆของโลกได้จากการศึกษา
    การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเทียมที่ตำแหน่งต่างๆ เมื่อมันโคจรอยู่รอบโลก นักวิทยาศาสตรของ องค์การนาซ่าจะทำการส่งดาวเทียมขึ้นไปพร้อมกัน 2 ดวง โดยทั้งคู่จะโคจรห่างกันประมาณ 220 กิโลเมตร ในดาวเทียมแต่ละดวงมีเครื่องมือที่สามารถวัดระยะห่างระหว่างกันได้อย่างแม่นยำถึงขนานที่ว่า ถ้าระยะห่าง ระหว่างดาวเทียมทั้งสองเปลี่ยนแปลงแม้เพียง 1 ไมโครเมตร นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถที่จะบันทึกผลได้ เมื่อดาวเทียมทั้งสองโคจรผ่านสนามแรงโน้มถ่วงที่ไม่สม่ำเสมอ ดาวเทียมดวงแรกจะได้รับผลการเปลี่ยนแปลง ของแรงโน้มถ่วงก่อนดาวเทียมอีกดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นผลทำให้ระยะห่างของทั้งคู่เปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะคำนวนแรงโน้มถ่วงที่ต่างไปได้ จากระยะทางที่เปลี่ยนแปลงนี้เอง

    ดาวเทียมของ Grace นั้นมีความละเอียดประมาณ 300 กิโลเมตร ซึ่งสามรถที่จะตรวจวัดการเปลี่ยนแปลง ของสนามโน้มถ่วงเนื่องจาก ภูเขา การเคลื่อนที่ของ tectonic plates และ การยกตัวของเปลือกโลก
    เนื่องจากขั้นหินละลายโบราณสมัยยุคน้ำแข็งขยายตัว

    นอกจากนี้ดาวเทียม Grace ยังสามารถตรวจความเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรได้อีกด้วย
    ถ้าหากไม่คำนึงถึงอิทธิพลของปัจจัยอื่นๆแล้ว ผิวน้ำทะเลจะให้แรงโน้มถ่วงที่สม่ำเสมอทุกๆตำแหน่ง
    แต่ในธรรมชาติระดับน้ำทะเลนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากกระแสน้ำ และ อุณหภูมิของผิวน้ำ
    (รวมทั้งอิทธิพลของดวงจันทร์) ดาวเทียม Grace สามารถที่จะศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อ
    ระดับน้ำได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก

    หลังจากดูแผนภาพแสดงแรงโน้มถ่วงตำแหน่งต่างๆของโลกแล้ว หากคุณผู้หญิงที่กำลังอยากจะลดน้ำหนัก
    ไปเที่ยวแถวชายฝั่งประเทศอินเดียละก็ เธอจะดีใจที่น้ำหนักของเธอลดลงไปตั้งเกือบ 1 เปอร์เซนต์แน่ะ

    แปลและเรียบเรียงจาก
    http://news.bbc.co.uk/hi/english/sci/tech/newsid_1668000/1668872.stm
    http://www.jpl.nasa.gov/earth/features/watkins.html
    [​IMG]

    ภาพแสดงดาวเทียมของ Grace ซึ่งประกอบด้วยดาวเทียมสองดวง
    ที่มีอุปกรณ์วัดระยะห่างระหว่างกัน ระยะทางที่เปลี่ยนแปลง บอกถึง
    แรงโน้มถ่วงที่เปลี่ยนแปลง
    [​IMG]

    แผ่นดินประเทศอินเดีย พุ่งเข้าชน แผ่นทวีปเอเชียเมื่อประมาณ 55 ล้านปีมาแล้ว
    ผลจากการปะทะนี้เองที่ทำให้โครงสร้างใต้พื้นโลกเปลี่ยนแปลงไป
    ส่งผลให้ปริเวณชายฝังทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เป็นจุดที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำที่สุดบนผิวโลก
    อ่านเพิ่มเติมได้จาก

    http://www.vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn20&ID=CS617
    [​IMG]


    เมื่อประมาณ 18000 ปีมาแล้ว โลกอยู่ในยุคที่เรียกว่ายุคน้ำแข็ง บริเวณขั้วโลก
    ถูกปกครุมด้วยน้ำแข็งหนา หรือ ที่เรียกว่า Ice Sheet
    แผ่นน้ำเข็งดังกล่าวปกคลุมลงมาถึงนิวยอร์ค ยุโรปตอนเหนือ และเกาะอังกฤษ

    แผ่นน้ำแข็งนี่หนาหลายกิโลเมตรทีเดียว และ มีน้ำหนักมากมายมหาศาล
    น้ำหนักของมันก็กดแผ่นดิน และ ชั้นหิน ของทวีปแทบนั้นให้จมลง ดันให้
    ของชั้นหินละลายที่เป็นของเหลวใต้เปลือกโลก ไหลออกไปที่อื่น (ดูรูป)
    เมื่อเวลาผ่านไปยุคน้ำแข็งก็หมดไป Ice Sheet ที่เคยปกคลุมสแกนดิเนเวียอยู่
    ก็ละลายหายไป ไม่มีอะไรมากดแผ่นดินอีก ของแหลวใต้โลกที่ใหลออกไปก็เริ่ม
    ใหลกลับเข้ามาแทนที่ ดันเปลือกโลกส่วนนั้นให้นูนขึ้นมาเหมือนเดิม

    นึกภาพเราเอานิ้วกดลงไปบนขนมปัง พอเราออกแรงกดน้ำหนักจากนิ้วเรา
    ก็ทำให้ขนมปังนุ่มๆ นั้นแบนบุ๋มลงไป แต่พอเราเอามือออก ขนมปังก็จะคืนตัว
    พองขึ้นมาเหมือนเดิม โลกของเราก็มีลักษณะคล้ายกัน

    ในเวลา 7000 ปีที่ผ่านมานี้ นักธรณีวิทยาพบว่า แผ่นดินแถบสแกนดิเนเวีย
    ยกตัวขึ้นมามากว่า 120 เมตร และคาดว่าคงจะยกตัวขึ้นไปอีก 200 เมตร กว่าที่จะถึงจุดสมดุล

    อ่านเพิ่มได้จาก
    http://www.vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn20&ID=CS684
    [​IMG]
     
  2. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    เหมือนไม่ลดเลยแฮะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...