ขอความหมายของคำเหล่านี้หน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย y001, 13 มีนาคม 2013.

  1. y001

    y001 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +18
    อยากทราบความหมายของคำว่า
    อภิญญา
    มโนมยิทธิ
    กสิน

    คือเข้าใจว่าเป็นการเข้าสมาธิ เจริญกรรมฐาน แต่ยิ่งอ่านยิ่งงครับ รบกวนช่วยชี้ทางให้ด้วยครับ
     
  2. watnatangnok namai

    watnatangnok namai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +3,986
    อภิญญา แปลว่า รู้ยิ่ง รู้พิเศษ ซึ่งมีความหมายในที่นี้ว่า เป็นญาณที่ประกอบด้วยรูปาวจรปัญจมฌาน สามารถให้เกิดความรู้อันยิ่งใหญ่ เกิดความรู้พิเศษ ถึงกับบันดาลให้เกิดสิ่งที่ตนปรารถนาได้

    อภิญญา มี ๒ ประเภท คือ
    โลกุตตรอภิญญา และ โลกียอภิญญา

    โลกุตตรอภิญญา มีอย่างเดียว คือ อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลส อาสวะ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตมัคคจิตโดยเฉพาะเท่านั้น เป็นอภิญญาที่ไม่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท
    ส่วน

    โลกียอภิญญา เป็นอภิญญาที่ ต้องอาศัย โลกียจิตคือ รูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท มี ๕ อย่าง มีชื่อว่า อิทธิวิธะ ทิพพโสต ปรจิตตวิชชานน ปุพเพนิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ และมีรายละเอียดแต่ละอย่าง คือ

    ๑. อิทธิวิธอภิญญา หรือ อิทธิวิธญาณ เป็นความรู้ที่แสดงฤทธิได้ (ฤทธิ=ความสำเร็จ) ซึ่งจำแนกออกได้เป็น ๑๐ คือ

    (๑) อธิฏฐานอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากการอธิฏฐาน การตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้า เช่น คนเดียวเนรมิตให้เป็นหลายคน ตัวอย่าง พระจุฬปัณถกเถระเจ้า อธิฏฐานให้เป็นพระหลายรูปจนเต็มไปทั้งวัด
    (๒) วิกัพพนอิทธิ ความสำเร็จด้วยการจำแลงกายให้เป็นคนแก่ ให้เป็นเด็ก ให้เป็นเสือ เป็นช้าง เช่น พระโมคคัลลาน์ แปลงกายเข้าไปทางปากไปเดินอยู่ในท้องของ นันโทปนันทพยานาค แม้พยานาคนั้นจะมีฤทธิและมีพิษมากเพียงใด ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้
    (๓) มโนมยอิทธิ ความสำเร็จด้วยอำนาจกำลังใจที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ เช่น พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้พระสรีระใหญ่โตมาก เป็นการสำแดงให้อสุรินทรยักษ์ผู้ตำหนิพระองค์ว่าทรงมีรูปร่างเล็ก เพราะเป็นมนุษย์นั้นได้เห็น ที่พระพุทธองค์ทรงกระทำได้ดังนี้ ก็เพราะทรงมีอิทธิทางมโนสูงยิ่ง

    อิทธิทั้ง ๓ ข้อนี้เป็นอิทธิวิธญาณโดยตรง อันจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจแห่งอภิญญา ที่มีรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท

    (๔) ญาณวิปผารอิทธิ ความสำเร็จที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ เช่น พวกโจรจับสามเณรสังกิจจะไป เพื่อจะฆ่าทำเครื่องเซ่นสังเวย ขณะที่โจรจะฆ่า สังกิจจะสามเณรได้เข้านิโรธสมาบัติ โจรจึงฆ่าไม่ตาย ทั้งไม่เป็นอันตรายอย่างใด ๆ ด้วย พวกโจรเลยยอมเป็นศิษย์
    (๕) สมาธิวิปผารอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ เช่น นันท ยักษ์ตีพระสารีบุตรด้วยกระบองเพ็ชร แต่พระสารีบุตรไม่เป็นอันตราย แม้แต่จะรู้สึกเจ็บก็ไม่มี ส่วนนันทยักษ์เมื่อตีแล้วก็ถูกธรณีสูบไปเลย
    (๖) อริยอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากความไม่หวั่นไหวต่อกิเลส เช่น พระอริย บุคคลที่สามารถวางเฉยต่ออิฏฐารมณ์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจและอนิฏฐารมณ์ อารมณ์อันไม่เป็นที่ชอบใจ
    (๗) กัมมชอิทธิ บ้างก็เรียกว่า กัมมวิปากชอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากกรรม เช่น เทวดาวินิปาติกบางพวก และนก ไปมาในอากาศได้โดยไม่ต้องมีฌานมีอภิญญา เป็นความสำเร็จด้วยอำนาจกรรมในปฏิสนธิ
    (๘) บุญญวโตอิทธิ บ้างก็เรียกว่า บุญญอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากบุญของเขา เช่นการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น เป็นความสำเร็จด้วยอำนาจกรรมในปวัตติ
    (๙) วิชชามยอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นด้วยวิชา มีคาถาอาคมต่าง ๆ ตลอดจนมีเข้าเจ้าทรง
    (๑๐) ตัตถตัตถสมาปโยคปัจจยอิทธิ บ้างก็เรียกว่า อิชฌนัฏเฐนอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากความพากเพียรอย่างจริงจัง เป็นความสำเร็จที่เกิดจากการ กระทำ เช่น พากเพียรเจริญสมถภาวนา ก็สำเร็จถึงฌาน เมื่อถึงฌานแล้วก็ให้สำเร็จไปเกิดเป็นพรหม

    ได้กล่าวแล้วว่า อิทธิข้อ (๑) ถึงข้อ (๓) รวม ๓ ข้อ เป็น อิทธิวิธญาณโดยตรง คือ เป็นอิทธิฤทธิที่เกิดขึ้นเพราะอภิญญา เป็นอานิสงส์ของสมาธิ ส่วนอิทธิ ข้อ (๔) ถึงข้อ (๑๐) รวม ๗ ข้อนั้น สำเร็จด้วยการกระทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่อภิญญา ไม่ใช่อิทธิวิธญาณอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งอภิญญาที่มีรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท แต่ที่นำมากล่าวไว้ด้วยก็เพื่อจะได้ทราบครบจำนวนของอิทธิฤทธิ์

    " สาระสำคัญว่า แม้จะมีฤทธิ์มากมาย แต่ก็ไม่อาจรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย ไม่สามารถแก้ข้อสงสัยในใจของตนได้ ในที่สุดก็ต้องอาศัยอนุศาสนีปาฏิหาริย์จึงได้ปัญญารู้ความจริง "
     
  3. watnatangnok namai

    watnatangnok namai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +3,986
    มโนมยิทธิคืออะไร ?​
    มโนมยิทธิ เป็นกรรมฐานที่องค์สมเด็จจอมไตรโลกนาถศาสดาทรงสอนไว้ในพระไตรปิกฏ(ดูพระไตรปิฏกฉบับประชาชน หน้า 294 และ หน้า 441)
    มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ สามารถถอดจิตใจคือ กายในหรือ กายทิพย์ ตามองไม่ออกนอกจากกายเนื้อ (กายหยาบอันประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ถอดกายในออกจากกายหยาบ ขันธ์ 5 นี้ ไปที่ไหน ๆ ได้ (โลกมนุษย์นี้หรือโลกอื่นคือ นรกโลก เทวโลก พรหมโลก และแดนทิพย์อมตะนิพพาน) ด้วยฤทธิ์ของสมาธิตั้งแต่อุปจารสมาธิ ฌานที่ 1 ฌานที่ 2 บรรลุฌานที่ บรรลุฌานที่ 4 และขอบารมีองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า บารมีพระธรรม(มีศีลสมาธิปัญญา) บารมีพระอริยสงฆ์ ได้โปรดช่วย ให้สัมผัสตามความเป็นจริงได้ อานุภาพคุณพระรัตนตรัย ท่านก็ช่วยประคับประคองจิตให้เราสาธุชนที่เคารพศรัทธาท่านให้ พิสูจน์ด้วยจิตทิพย์ของเราตามความเป็นจริง
    มโนมยิทธิ การเห็นการรู้สัมผัสด้วยจิตเป็นทิพย์นี้มีประโยชน์มากคือ ปลดเปลื้องความสงสัยในพระธรรมคำสอนขององค์พระพุทธชินวร ที่ว่านรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม พระนิพพานมีจริงหรือไม่
    การที่ไม่รู้จริงทำให้ทึกทักเอาว่าตายแล้วสูญเป็นอนัตตาไป อันนี้ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า เป็นการคัดค้านพระธรรมคำสอนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นอวิชชา และเป็นกิเลสสังโยชน์ตัวที่ 2 วิจิกิจฉา ความสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นอวิชชาความไม่ฉลาดรอบรู้ ทำให้ไปเสวยความทุกข์มหันต์ในนรกด้วย คัดค้านคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นบาปโดยไม่รู้ตัว ถ้ายังพิสูจน์ด้วยตนเองไม่ได้ ขอได้โปรดอย่าเพิ่งคัดค้าน จะเป็นภัยใหญ่ เป็นการปรามาสองค์พระศาสดา ปรามาสพระอริยธรรม ปรามาสพระอริยเจ้า ผลที่ได้รับเมื่อตายแล้วก็จะไปทุกข์ทรมานในนรก
    ผู้ที่คัดค้านพระธรรมคำสอนองค์พระพุทธชินวร มีมากทั้ง ๆ ที่ประกาศตนเป็นชาวพุทธ เป็นบุคคลที่น่าเมตตาสงสารเพราะความไม่รู้จริง ทำให้เกิดอุปาทานเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นโทษทำให้หมดโอกาสที่จะมีดวงตาเห็นธรรม หมดโอกาสที่ตายแล้วจะได้ไปเสวยความสุขในสวรรค์ พรหม นิพพาน เป็นเหยื่อของอบายภูมิ นรกอเวจี เป็นเปรต เป็นอสุรกาย สัตว์เดรัจฉานเป็นต้น อีกนานแสนนานจะได้กลับมาเป็นคนพระท่านว่า การที่ไม่เชื่อ สงสัยไม่เป็นบาป แต่ถ้าปรามาสพระธรรมคำสอน ปรามาสพระอริยเจ้า (ที่มีมากในประเทศไทย)บาปหนัก พระท่านจึงสอนให้กราบ ขอขมาพระรัตนตรัยทุก ๆ วัน ที่บ้านก่อนนอน เนื่องจากว่าเราอาจจะประมาทพลาดพลั้ง คิดผิด พูดผิด ทำผิดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นการป้องกันความทุกข์จากอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น
    มโนมยิทธิ เป็นกรรมฐานรวมทั้งสาย เตวิชโช และสายฉฬภิญโญกรรมฐานเตวิชโช เป็นการปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์ที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มนอกจาก เป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสหมดสิ้นเชิงแล้ว ยังมีทิพย์จักขุญาณ มีจิตรู้คล้ายตาทิพย์ และสามารถระลึกชาติได้
    สำหรับการปฏิบัติสาย ฉฬภิญโญ (อภิญญา 6 ) นอกจากทำให้เป็นพระอริยเจ้าพระอรหันต์ได้ง่ายแล้ว ยังทำให้มีความรู้ความสามารถพิเศษอีกเรียกว่า ได้ญาณ 8 ดังนี้
    1. ทิพจักขุญาณ มีความรู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ เห็นผีนรก เทวดา นิพพานได้ สนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ได้
    2. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าคนสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปเกิดภพไหนแดนไหน (ตายแล้วสู_แต่ขันธ์ 5 เท่านั้น จิตก็ไปตามบาปที่ทำไว้)
    3. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถระลึกชาติได้มากบ้างน้อยบ้าง
    4. เจโตปริยญาณ สามารถรู้อารมณ์จิตของผู้อื่นว่ากำลังคิดอะไร
    5. อตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอดีตของคนสัตว์
    6. อนาคตังสญาณ รู้ว่าอนาคตตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน
    7. ปัจจุปันนังสญาณ รู้ว่าเวลานี้บุคคลที่กำลังนึกถึงมีสุขหรือมีทุกข์ อยู่ที่ไหนทำอะไร
    8. ยถากัมมุตาญาณ รู้สาเหตุว่าที่เรามีสุขหรือทุกข์ในปัจจุบันเพราะกรรมเก่าอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2013
  4. watnatangnok namai

    watnatangnok namai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +3,986
    ถ้าฝึกมโนมยิทธิได้แล้ว ควรทำอย่างไรต่อไป ​
    ฝึกได้แล้วก็ให้ทำต่อไปให้คล้องแคล่ว ขึ้นไปกราบนมัสการกราบทูลถามปัญหาธรรมะจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเราควรกำจัดกิเลสตัวไหนของเราก่อน ห้ามไปทำตนเป็นหมอดูให้คนอื่น วิชานี้สอนเพื่อให้ตัดกิเลสตนเอง ฝึกไปกราบพระพุทธองค์ที่พระนิพพานทุกวัน เพื่อให้จิตจับพระนิพพานเป็นเอกัคคตารมณ์ คือ อารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะผูกพันในพระนิพพาน ตายแล้วจิตก็ไปพระนิพพานตามที่จิตฝึกไว้ดีแล้ว
    นิพพานมี 2 จุดที่จะไปได้คือ ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและก็วิมานของเราที่นิพพาน ถ้าไม่เห็นพระพุทธเจ้าก็นึกถึงพระองค์ท่าน ฉัพพรรณรังสีของพระพุทธองค์ก็จะถึงเราทันที เราก็จะมีความรู้สึกว่าพระพุทธองค์ประทับอยู่กับเรา ไม่เป็นการรบกวน แต่เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน จิตสะอาดดีกว่าไปนึกถึงสารพัดปัญหายุ่งเหยิงในโลกทำให้จิตฟุ้งซ่านวุ่นวาย
     
  5. watnatangnok namai

    watnatangnok namai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +3,986
    กสิณ ​
    กสิณ คือวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่า เพ่งอารมณ์ เป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมีการทรงฌานถึงฌาน 4 ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ
    การเพ่งกสิณนับว่าเป็นอุบายกรรมฐานกองต้นๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่ออบรมจิต (อันเป็นแนวทางแห่งการบรรลุสำเร็จมรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้) ซึ่งอุบายกรรมฐานมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสี่สิบกอง ภายใต้กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนั้น จะประกอบไปด้วยกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการเพ่งกสิณอยู่ถึงสิบกองด้วยกัน
    การเพ่งกสิณ คือ อาการที่เราเพ่ง (อารมณ์) ไม่ได้หมายถึงเพ่งมอง หรือจ้องมอง ไปยังวัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่น พระพุทธรูป เทียน สีต่างๆ หรือแม้กระทั่งอากาศ ฯลฯ แล้วเรียนรู้ รับรู้/บันทึก สภาพหรือคุณสมบัติเฉพาะ ของวัตถุ (ธาตุ) หรือสิ่งๆ นั้นไว้เช่น เนื้อ สี สภาพผิว ความหนาแน่น ความ เย็นในจิตจนกระทั่งเมื่อหลับตาลงจะปรากฏภาพนิมิต (นิมิตกสิณ) ของวัตถุหรือสิ่งๆ นั้นขึ้นมาให้เห็นในจิต หรือแม้กระทั่งยามลืมตาก็ยังสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวเป็นภาพติดตา
    การเพ่งกสิณจัดเป็นอุบายวิธีในการทำสมาธิที่มีดีอยู่ในตัว กล่าวคือ การเพ่งกสิณเป็นเสมือนทางลัดที่จิตใช้ในการเข้าสู่สมาธิได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายกว่าการเลือกใช้อุบายกรรมฐานกองอื่นๆ มากมายนัก ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการใช้อุบายวิธีการเพ่งกสิณนั้น จิตจะยึดเอาภาพนิมิตกสิณที่เกิดขึ้นมาเป็นเครื่องรู้ของจิต แทนอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิต และเมื่อภาพนิมิตกสิณเริ่มรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต จิตก็จะรับเอาภาพนิมิตกสิณนั้นมาเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต
    จากนั้นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวจะค่อยๆ พัฒนาไปเองตามความละเอียดของจิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาพนิมิตกสิณนั้น เริ่มตั้งแต่ความคมชัดในการมองเห็นภาพนิมิตกสิณที่ปรากฏขึ้นภายในจิต และสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณนั้นได้อย่างชัดเจน ราวกับมองเห็นด้วยตาจริงๆ ไปจนกระทั่งการที่จิตสามารถบังคับภาพนิมิตกสิณนั้นให้เลื่อนเข้า-เลื่อนออก หรือหมุนไปทางซ้าย-ทางขวา หรือยืด-หดภาพนิมิตกสิณดังกล่าวได้ อันเป็นพลังจิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่งนิมิตกสิณ
    แต่ในที่สุดแล้วภาพนิมิตกสิณทั้งหลายก็จะมาถึงจุดแห่งความเป็นอนัตตา อันได้แก่ ความว่างและแสงสว่าง กล่าวคือ ภาพนิมิตทั้งหลายจะหมดไปจากจิต แม้กระทั่งอาการและสัญญาในดวงจิตก็จะจางหายไปด้วย จากนั้นจิตจึงเข้าสู่กระบวนการของสมาธิในขั้นฌานต่อไปตามลำดับ
     
  6. watnatangnok namai

    watnatangnok namai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +3,986
    กสิณทั้ง 10 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 พวก

    • พวกที่หนึ่ง คือ กสิณกลาง มี 6 อย่าง คนทุกจริตฝึกกสิณได้ทั้ง 6 เพราะเหมาะกับทุกอารมณ์ ทุกอุปนิสัยของคน
    ปฐวีกสิณ (ธาตุดิน/ของแข็ง ไม่ใช่เฉพาะดิน) จิตเพ่งดิน โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นดิน หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "ปฐวี" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง" เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้ ก็จะข่มนิวรณ์ธรรมเสียได้โดยลำดับ กิเลศก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะกล้าขึ้น จิตนั้นก็ชื่อว่าตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ เมื่อทำได้สำเร็จปฐมฌานแล้ว ก็พึงปฏิบัติในปฐมฌานนั้นให้ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดีก่อนแล้วจึงเจริญทุติยฌานสืบต่อไปได้
    เตโชกสิณ (ธาตุไฟ ธาตุร้อน) จิตเพ่งไฟ คือการเพ่งเปลวไฟ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นไฟ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "เตโช" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    วาโยกสิณ (ธาตุลม) จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นลม หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "วาโย" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    อากาสกสิณ (ช่องว่าง) จิตเพ่งอยู่กับอากาศ นึกถึงอากาศ คือการเพ่งช่องว่าง โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นช่องว่าง เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อากาศ" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง) จิตเพ่งอยู่กับแสงสว่าง นึกถึงแสงสว่าง วิธีเจริญอาโลกกสิณให้ผู้ปฏิบัติยึดโดยทำความรู้สึกถึงความสว่าง ไม่ใช่เพ่งที่สีของแสงนั้น เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโลก" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง"
    อาโปกสิณ (ธาตุน้ำ/ของเหลว) จิตนึกถึงน้ำเพ่งน้ำไว้ คือการเพ่งน้ำ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นน้ำ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโป" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง" ให้เลือกภาวนากสิณใดกสิณหนึ่งให้ได้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 กสิณอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายทั้งหมด
    • พวกที่สองคือกสิณเฉพาะอุปนิสัยหรือเฉพาะจริตมี 4 อย่าง สำหรับคนโกรธง่าย คือพวกโทสจริต
    โลหิตกสิณ เพ่งกสิณ หรือนิมิตสีแดงจะเป็นดอกไม้แดง เลือดแดง หรือผ้าสีแดงก็ได้ทั้งนั้นจิตนึกภาพสีแดงแล้วภาวนาว่า โลหิต กสิณัง
    นีลกสิณ ตาดูสีเขียวใบไม้ หญ้า หรืออะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว แล้วหลับตาจิตนึกถึงภาพสีเขียว ภาวนาว่า นีล กสิณัง
    ปีตกสิณ จิตเพ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลือง ภาวนาว่า ปีต กสิณัง
    โอทากสิณ ตาเพ่งสีขาวอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก แล้วหลับตานึกถึงภาพสีขาว ภาวนาโอทา กสิณัง จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่วอกแวกไม่รู้ลมหายใจภาพกสิณชัดเจน
    ท่านว่าจิตเข้าถึงฌาน 4 พอถึงฌานที่ 5 ก็เป็นจิตเฉยมีอุเบกขาอยู่กับภาพกสิณต่างๆ ที่จิตจับเอาไว้
    อานุภาพกสิณ 10

    กสิณ 10 ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติใน กสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตตุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน 4 แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆ ตามแบบ กล่าวกันว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ
    อำนาจฤทธิ์ในกสิณในทางพุทธศาสนามีดังนี้

    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น เนรมิตคนๆ เดียวให้เป็นคนมากๆ ได้ ให้คนมากเป็นคนๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้ สามารถย่อแผ่นดินให้ใกล้กำลังการในเดินทาง
    อาโปกสิณ สามารถเนรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ขาดแคลนฝน ให้เกิดมีฝนอย่างนี้เป็นต้น
    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้ เมื่ออากาศหนาว สามารถทำให้เกิดความอบอุ่นได้
    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้
    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
    ปีตกสิณ สามารถเนรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
    โลหิตกสิณ สามารถเนรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
    โอทากสิณ สามารถเนรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
    อาโลกสิณ เนรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรง
    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ก่อนอื่นต้องโมทนาสาธุบุญ คุณ watnatangnok namai ก่อนนะครับ ละเอียดมาก....

    เอาเป็นว่าผมจะเพิ่มเติมในส่วนที่อ้างอิงเพิ่มเติมได้ต่อไปเล็กน้อย....


    .................................................................................................................



    อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,
    ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
    ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ๒. ทิพพโสต หูทิพย์
    ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
    ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
    ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,
    ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา


    มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือนิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ได้ เหมือนชักดาบออกจากฝัก หรืองูออกจากคราบ
    (ข้อ ๒ ในวิชชา ๘)



    กสิณ วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
    มี ๑๐ อย่าง คือ
    ภูตกสิณ ๔ :
    ๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔. วาโย ลม
    วรรณกสิณ ๔ :
    ๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปีตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว
    และ ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    คำว่า กสิณ ใช้ "ณ" ครับ ไม่ใช้ "น"..... ใช้คำให้ถูกต้องนะครับ.....
     
  9. y001

    y001 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +18
    ขอบคุณผู้รู้ทั้งสองท่านครับ
    ทีนี้ถ้าจะเริ่ม ควรเริ่มที่จุดไหนครับ ผมเคยฝึกกรรมฐานมาบ้างตอนเด็ก ปัจุบันทำบ้างไม่ทำบ้าง รู้สึกว่าใจมันไม่นิ่ง ฟุ้งซ่านเรื่องนู้นเรื่องนี้
    ส่วนตัวชอบการปฏิบัติของ หลวงปู่ปาน(วัดบางนมโค) และหลวงปู่ดู่(วัดสะแก) ครับ
    ไม่ทราบว่าในกรุงเทพ พอจะมีที่ไหนที่สามารถสอนวิชาเหล่านี้ได้บ้างครับ เหมือนทำคนเดียวโดยไม่มีหมู่กลุ่มแล้วไปยากจัง
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ถ้าเคยฝึกมาแล้วก็แนะนำให้ทำอย่างเดิมก็ได้ครับ....

    ในกรณีที่อยู่ กทม.

    ถ้าชอบสายหลวงพ่อปาน แนะนำบ้านสายลม เสาร์ อาทิตย์ ต้นเดือน ติดต่อไปก่อนได้ครับ มีทั้งฝึกสมาธิแบบสุขวิปัสโก และ มโนมยิทธิ.....

    สายหลวงปู่ดู่ก็ดีครับ หลวงตาม้าเข้า กทม. ทุกเดือนนะครับ ที่ใกล้สุดวันที่ ๒๖ ที่จะถึงนี้

    วันที่ 26 มีนาคม 2556 เวลา 19:00 น. ถ่ายทอดสดการตอบปัญหาธรรม ผ่านเว็บไซต์วัดถ้ำเมืองนะ
    ที่ ชมรมพุทธศาสนา สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ถ.วิภาวดีรังสิต สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0817315303
     

แชร์หน้านี้

Loading...