กู้"ติโลกอาราม" วัดโบราณใต้กว๊านพะเยา

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 26 สิงหาคม 2007.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6114​

    กู้"ติโลกอาราม" วัดโบราณใต้กว๊านพะเยา


    ณัฐพงษ์ บุณยพรหม



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ในอดีตกว๊านพะเยา เป็นพื้นที่รองรับน้ำจากเทือกเขาไหลลงมาเป็นลำห้วย ลำธาร แม่น้ำ และกลายเป็นหนองน้ำ ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมี.ค.-มิ.ย.ของทุกปี ปริมาณน้ำจะลดลงทำให้ชาวบ้านใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์

    ทั้งยังเป็นเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างตัวเมืองกับหมู่บ้านรอบๆ กว๊านพะเยา เมื่อหลายร้อยปีมานั้น พื้นที่รอบกว๊านพะเยาเป็นชุมชนหมู่บ้าน มีวัดอยู่หลายแห่ง

    "วัดติโลกอาราม" เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา

    จากหลักฐานศิลาจารึกที่ขุดพบบริเวณวัดติโลกอาราม ทราบว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดที่พระเจ้าติโลกราช แห่งราชอาณาจักรล้านนาเมืองเชียงใหม่ โปรดให้พระยายุทธิษถิระ เจ้าเมืองพะเยา สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2019-2029

    พร้อมทั้งพระราชทานเงินก่อสร้าง จำนวน 10 แสนเบี้ย และในพิธีผูกพัทธสีมาวัดติโลกอาราม มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของเมืองพะเยาประมาณ 7 วัด มาร่วมพิธีอีกด้วย

    วัดติโลกอาราม เป็นวัดที่จมอยู่ในกว๊านพะเยามานานกว่า 68 ปี สาเหตุที่จมน้ำเนื่องจากในปี พ.ศ.2482 กรมประมงสร้างประตูกั้นน้ำในกว๊านพะเยาเพื่อกักเก็บน้ำ จึงทำให้กว๊านพะเยาที่แต่เดิมเป็นชุมชนโบราณ และมีวัดอยู่เป็นจำนวนมากต้องจมน้ำในที่สุด

    จากการสำรวจแผนที่เก่า และภาพถ่ายทางอากาศพบว่า ที่ตั้งวัดติโลกอารามและบริเวณใกล้เคียง มีร่องรอยซากวัดโบราณอยู่ประมาณ 8-9 วัด เชื่อมต่อไปยังกลุ่มโบราณสถานบ้านร่องไฮ อยู่ไม่ห่างไกลมากนักก็จะพบอีกประมาณ 3 วัด บางวัดพบร่องรอยเนินดินรูปสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็นเขตวัดอยู่ภายในบริเวณ หรือบางวัดพบร่องรอยของสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยของหนองน้ำเก่า บางหนองน้ำมีลำน้ำแม่อิงไหลเชื่อมเข้าหา ที่สังเกตเห็นจะมีซากวัดโบราณหลายวัดกระจัดกระจายอยู่ตามหนองน้ำ และตลอดลำน้ำแม่อิงทั้ง 2 ฝั่ง

    อีกทั้งยังพบแนวถนนโบราณที่ตัดมาจากตัวเมืองทางทิศเหนือ ไปยังแม่น้ำอิงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าใจว่าเป็นถนนที่คนสมัยก่อนใช้สัญจรไปมา ระหว่างตัวเมืองกับชุมชนนอกเมืองบริเวณหนองเต่าและชุมชนใกล้เคียง และใช้เป็นเส้นทางสำหรับไปตักน้ำที่แม่น้ำอิงยามหน้าแล้ง

    ผศ.มนตรา พงษ์นิล อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อธิบายถึงโครงการกู้วัดติโลกอารามในกว๊านพะเยาว่า "บวกสี่แจ่ง" คือชื่อเดิมของสถานที่ตั้งวัดติโลกอาราม ชาวบ้านพบแหล่งโบราณสถานวัตถุ พระเครื่องยอดขุนพล และพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างเมืองพะเยาในสมัยก่อน

    จนนำมาสู่การวางแผนบูรณะและพัฒนาโบราณสถานแห่งนี้ ในแผนแม่บทการพัฒนากว๊านพะเยาแบบบูรณาการ ในงบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพะเยา แต่น่าเสียดายที่ภายหลังถูกยกเลิกไป <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ปัจจุบันการสำรวจบวกสี่แจ่ง พบชิ้นส่วนจารึกโบราณ ซึ่งถูกตีความว่าสถานที่ดังกล่าวคือ "วัดติโลกอาราม หนองเต่า" การค้นพบนี้ นำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ของ "โครงการกู้วัดติโลกอารามในกว๊านพะเยา" โดยนายธนเษก อัศวานุวัตร ผวจ.พะเยา เพื่อสำรวจซากวัดที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา และเริ่มดำเนินการโครงการกู้วัดติโลกอารามขึ้น จนทำให้ประชาชนใน จ.พะเยา ตื่นตัวและพูดถึงโครงการนี้กันมากขึ้น

    สำหรับงบประมาณตั้งไว้ราว 1,500 ล้านบาท เริ่มโครงการตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป โดยจะประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงการศึกษา สำรวจ ออกแบบขออนุญาตดำเนินการจากส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองที่ไม่แน่นอน ทำให้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ หรืองบซีอีโอ ต้องถูกยกเลิกไป

    ทางจังหวัดพะเยาจึงไม่มีงบ จึงจัดตั้งมูลนิธิโครงการกู้วัดติโลกอารามในกว๊านพะเยาเพื่อประชาสัมพันธ์และรับบริจาคจากประชาชนในจังหวัดและทั่วประเทศ

    "เป้าหมายที่สำคัญของการกู้วัดติโลกอาราม เพื่อสร้างให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในกว๊านพะเยา โดยอาศัยคติความเชื่อทางวัฒนธรรม ศาสนา และหลักฐานทางโบราณคดี เป็นแรงขับเคลื่อนดำเนินโครงการ ประกอบกับมีการทำพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ขุดดินล้อมรอบแหล่งโบราณสถานวัดติโลกอารามในกว๊านพะเยาเป็นพื้นที่จำนวน 14 ไร่" อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ กล่าว

    อย่างไรก็ตาม แม้โครงการจะได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายในจังหวัด ขณะเดียวกัน ทางกลุ่มนักวิชาการท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนบางส่วน ต่างแสดงความเป็นห่วง

    โดยเฉพาะความคุ้มค่าของการดูแลรักษาโบราณสถานที่ขุดขึ้นมาจากใต้นํ้า และอาจยังไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากกรมศิลปากร รวมถึงหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับกว๊านพะเยา

    ตลอดจนอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบกว๊านพะเยา เนื่องจากการกระทำต่อแหล่งโบราณคดีที่มีกฎหมายหลายฉบับควบคุมดูแลอยู่ ได้แก่ กฎหมายสิ่งแวดล้อม ผังเมืองรวมเมืองพะเยา และกฎหมายโบราณสถานวัตถุ

    อีกทั้งยังกังวลต่อความรู้ทางประวัติศาสตร์ของ จ.พะเยา ของหลักฐานจากวัดติโลกอาราม ที่ยังต้องการความชัดเจนและสืบค้นให้มากกว่านี้ ก่อนเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน
    http://matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03hap03260850&day=2007-08-26&sectionid=0317
     

แชร์หน้านี้

Loading...