กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 2 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป]
    ๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้]
    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม]
    ๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ]
    ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด]
    ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ]
    ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ]
    ๘. อนภิชฌา [ความไม่โลภอยากได้ของเขา]
    ๙. อัพยาบาท [ความไม่ปองร้ายเขา]
    ๑๐. สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ]

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๔๐/๓๓๓
    ดูกรจุนทะ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ ประการนี้แล ดูกรจุนทะ บุคคลผู้ประกอบด้วย
    อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เมื่อลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้าตรู่ ถึงแม้จับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้ไม่
    สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จับต้องโคมัยสด
    ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องโคมัยสด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จับ
    ต้องหญ้าอันเขียวสด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องหญ้าอันเขียวสด ก็เป็นผู้ไม่
    สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะบำเรอไฟ ก็เป็น
    ผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้เป็นผู้ประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่
    นั่นเอง ถึงแม้จะเป็นผู้ไม่ประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึง
    แม้จะลงน้ำ ๓ ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะไม่ลงน้ำ ๓ ครั้ง
    ทั้งเวลาเย็เวลาเช้าก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐
    ประการนี้ เป็นความไม่สะอาดด้วย เป็นตัวกระทำไม่สะอาดด้วย ดูกรจุนทะ ก็เพราะเหตุแห่ง
    การประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ นรกจึงปรากฏกำเนิดดิรัจฉานจึงปรากฏ เปรตวิสัย
    จึงปรากฏ หรือว่าทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่นจึงมี ฯ
    ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง ความ
    สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง ฯ
    ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะบุคคลบางคน
    ในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความ
    เอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ๑ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
    ลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้าน
    หรืออยู่ในป่าที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
    ประพฤติผิดในกาม ไม่ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษาพี่ชายน้องชายรักษา
    พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา มีสามี มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรี
    ที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ
    ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะบุคคลบางคน
    ในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ อยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ใน
    ท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ
    ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า
    ไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่ง
    ผู้อื่นบ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ๑ ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังข้าง
    นี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อทำลาย
    คนหมู่โน้น สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคน
    ผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีคนผู้พร้อมเพรียงกันเพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่
    ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ๑ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู
    ชวนให้รักจับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ๑ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจาก
    คำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัยพูดแต่คำ
    มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ๑ ดูกรจุนทะ
    ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ
    ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะบุคคลบางคนใน
    โลกนี้ ไม่อยากได้ของผู้อื่น คือ ไม่อยากได้วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่น
    ของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุที่เป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้ม แห่งผู้อื่นของ
    บุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ไม่มีจิตปองร้าย คือ ไม่มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า สัตว์
    เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิดดังนี้ ๑ มีความ
    เห็นชอบ คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชา
    มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีโลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้เป็น
    อุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัด
    ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ ดังนี้ ๑ ดูกรจุนทะ ความสะอาด
    ทางใจมี ๓อย่าง อย่างนี้แล ฯ
    ดูกรจุนทะ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้แล ดูกรจุนทะ บุคคลผู้ประกอบด้วยกุศล
    กรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้าตรู่ ถึงแม้จับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้สะอาดอยู่
    นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จับต้องโคมัยสด ก็เป็นผู้
    สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องโคมัยสด ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จับต้องหญ้าอัน
    เขียวสด ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องหญ้าอันเขียวสด ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง
    ถึงแม้บำเรอไฟ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่บำเรอไฟ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้
    ประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเองถึงแม้ไม่ประนมอัญชลีนอบน้อม
    พระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ลงน้ำ ๓ ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ก็เป็นผู้สะอาด
    อยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่ลงน้ำ ๓ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร เพราะว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้เป็นความสะอาดด้วย เป็นตัวทำให้สะอาดด้วย
    ดูกรจุนทะ ก็เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เทวดาทั้งหลายย่อม
    ปรากฏ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ หรือว่าสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่นจึงมี ฯ
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว นายจุนทะกัมมารบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
    ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
    พระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็น
    ต้นไป ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...