การให้อภัยทาน(ธรรมทาน)ย่อมชนะเสียซึ้งทานทั้งปวง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 6 พฤษภาคม 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    30-09-2004, 02:15 PM #1
    WebSnow
    ผู้ก่อตั้งและเว็บมาสเตอร์ (วีระชัย)



    วันที่สมัคร: Apr 2003
    สถานที่: London, England
    อายุ: 37
    ข้อความ: 8,036
    พลังการให้คะแนน: 50000

    การให้อภัยทาน( ธรรมทาน)ย่อมชนะเสียซึ่งทานทั้งปวง
    "อภัยทานัง อามิสทานัง ชินาติ" ซึ่งแปลว่า "การให้อภัยทานย่อมชนะเสียซึ่งการให้ทั้งปวง" ดังนี้

    คำว่า ทาน แปลว่า การให้
    การให้นี้มีอยู่ ๒ อย่างด้วยกันที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสไว้
    ให้สรรพสิ่งของต่าง ๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุ จะเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องบริโภคก็ตาม เรียกว่า อามิสทานทั้งนั้น

    ทานอิกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จภควันต์ทรงกล่าวก็ได้แก่  ธรรมทาน ธรรมทานในที่นี้ก็ได้แก่ การบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ชี้เหตุผล ให้รุ้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง อย่างนี้เขาเรียกว่า ธรรมทาน

    ธรรมทาน อิกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่าสำคุญที่สุดจัดว่าเป็น ปรมัตถทาน คือ เป็นทานที่ไม่ต้องลงทุน คือ อภัยทาน

    ทานทั้งสองอย่างนี้ คือ อามิสทานกับอภัยทานนี้มีผลต่างกัน อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์ ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า "ทานัง สังคคโส ปาณัง" คือว่า การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์ นี่สำหรับ อามิสทาน แต่สำหรับ ธรรมทาน กล่าวคือ ให้ธรรมเป็นทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ทานทั้งสองประการนี้เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน

    สำหรับธรรมทาน ทานที่ ๒ นี่มีความสำคัญมาก การให้ธรรมเป็นทานกล่าวคือ นำพระคำคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เอามาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเทศน์เองไม่เป็นก็ไปหาคนอื่นมาเทศน์แทน อย่างนี้ก็ชื่อว่า เจ้าภาพเป็นผู้เทศน์เหมือนกัน เรียกว่าเอาคนมาพูดแทน การให้ธรรมทานเป็นปัจจัยใหญ่ เพราะการให้ธรรมทานบุคคลได้ฟังแล้วจะเกิดปัญญา สิ่งใดที่ไม่เคยรู้มาแล้วก็จะได้มีความรู้ขึ้น เมื่อมีความรู้แล้วก็เกิดความมั่นใจ มีปัญญาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หลีกความทุกข์ได้ ถ้าปัญญามีมาก ก็หลีกความทุกข์ได้มาก ปัญญาน้อยก็หลีกความทุกข์ได้น้อย ดีกว่าคนที่ไม่มีปัญญาเลย ไม่มีโอกาสจะหลีกความทุกข์ได้ นี่ว่ากันถึงธรรมทาน

    ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่มุ่งหมายจะเทศน์กันในวันนี้ก็คือ อภัยทาน อภัยทานนี้เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องลงทุนด้วยวัตถุ แล้วก็เป็นทานสูงสุด พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นก็เป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว คำว่า ปรมัตถบารมีนี้ เป็นบารมีสูงสุดเป็นบารมีที่จะทำให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คำว่า อภัยทาน ก็ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน หามายความว่าคนใดก็ตาม เขาทำให้เราขุ่นเคือง ทำให้เราไม่ชอบใจ ด้วยกรณีใดๆก็ตาม ถ้าหากเราคิดพิจารณาเข่นฆ่าจองล้างจองผลาญ ถ้าเขาด่าเรา เราคิดว่าโอกาสสักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะด่าตอบ เขาลงโทษเรา เราจะลงโทษเขาตอบ เขาตีเรา เราคิดว่าเราจะตีตอบ แต่โอกาส มันยังไม่มี คิดเข้าไว้ในใจว่า เราจะทำอันตรายตอบ อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอาฆาต คือ พยาบาท เป็นไฟเผาผลาญดวงจิต เพราะคนที่เรากำลังคิดจะฆ่าก็ดี คิดจะประทุษร้ายก็ดี นี่เขายังไม่ทันรู้ตัว เขามีความสุข เราคนที่คิดจะทำเขานั่นแหละ ตั้งแต่แรกหาความสุขไม่ได้ คบไฟแห่งความพยาบาทมันเข้าเผาผลาญ มีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ คิดวางแผนการต่าง ๆ ว่า เราทำยังไงถึงจะแก้มือเขาได้ โดยคนอื่นเห็นว่าไม่มีความผิด อารมณ์ที่คิดอยู่อย่างนี้ ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังทำไม่ได้ มันเป็นไฟเผาผลาญคนคิดนี่แหละ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะอำนาจโทสะเข้าสิงใจ นี่เอำนาจโทสะหรือพยาบาทมันเริ่มเผาผลาญตั้งแต่คิด แต่คนที่ถูกคิดประทุษร้ายนั้น เขายังมีความสุข ทีนี้ถ้าเราไปทำเขาเข้าอีก ไอ้โทษมันก็จะหนักขึ้น ทำเขาเข้าอีก เขายิ่งจะแก้มือใหญ่ ถ้าเขาไม่แก้มือ ทางกฏหมายก็จะยื่นมือมาช่วยเหลือ ความทุกข์ใหญ่ก็จะเกิดขึ้น
    ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๐๖ หน้า ๗๕-๗

    ทำไมองค์สมเด็จพระมหามุนีจึงไม่มีความโกรธใน พระเทวทัต เพราะเขาแกล้งในทีนะ ที่เป็นคนทำความถูก ท่านเลยบอกว่าไอ้การโกรธไม่มีประโยชน์ การพยาบาทไม่มีประโยชน์ มันเป็นไฟเผาผลา_ เพราะเราบำเพ็_บารมีมาก็ปรารถนาให้ถึงซึ่งพระโพธิ_าณ เป็นพระพุทธเจ้า ถ้าเราไปคบกับความโกรธอยู่ก็ดี ความพยาบาทก็ดี กรรมทั้งหลายเหล่านี้มันจะกำจัดต่อความดีของเรา แม้แต่สวรรค์ชั้นกามวจรสวรรค์ก็จะไม่ได้พบ จะพบแต่อบายภูมิทั้ง ๔ ประการ กล่าวคือ ตกในนรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง หรือว่าเป็นคนที่เกิดมาเต็มไปด้วยความทุกข์บ้าง
    พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภแก่ภิษุทั้งหลายว่า เธอจงปรารภอภัยทานเป็นสำคั_ เมือบุคคลผู้ใดก็ดีที่เขาทำให้เราไม่ชอบใจ จงคิดเสียว่าเรามีกรรมเก่าที่เคยทำให้เขาไม่ชอบใจไว้มาชาตินี้เขาจึงได้ จองล้างจองผลา_เรา เราคิดให้อภัยเสีย มันก็จะปลอดภัย แล้วอิกประการหนึ่ง ถ้ามีการให้อภัยเกิดขึ้น ความเร่าร้อนของจิตก็จะไม่มี มีแต่ความผ่องใส
    (ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๐๖ หน้า ๘๑

    หลวงพ่ออธิบายได้กระจ่างแจ้งมาก
    เมื่อก่อนผมเองก็สงสัยเรื่องธรรมทานกับอภัยทาน
    ตอนที่พระพุทธเจ้าบอกว่า "การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง"
    ธรรมทาน = การให้ธรรม, คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นทาน และ การให้อภัยทาน

    โมทนาสาธุคะ
     
  2. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    AM #20
    KomAon11
    สมาชิก



    วันที่สมัคร: Oct 2004
    สถานที่: อุดรฯ แต่ตอนนี้เรียน มหาสารคาม
    อายุ: 27
    ข้อความ: 2,399
    พลังการให้คะแนน: 1009

    ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของละเอียด..ผมลองคิดๆดูธรรมะข้อนี้ ... เลยเอามาโพสต์ลองให้อ่านกัน .. หากไม่ถูกต้องประการใด ก็ขอขมาไว้ก่อน ..แต่ก็ตั้งเจตนาไว้ที่การสนทนาธรรม ตามกำลังปัญญาตัวเองจะพึงรู้ และเข้าใจ(เอาเจตนาผมก็พอนะ ไม่อยากรับกรรม ที่แต่งธรรมะมั่ว ฝึกอภัยทานยังไงเล่า อิอิ)

    *********--- กำลังใจของผู้ให้อภัยทาน ---**********

    .......... กำลังใจเริ่มๆของอภัยทาน ---> เป็นอภัยทานเล็กๆน้อยๆที่เราไม่สนใจมาก แต่เกี่ยวข้องกะเราว่า ตกลงกันไว้ยังงั้น หรือน่าจะเป็นแบบนั้น ตามสักกายทิฏฐิของแต่ละคนที่มีมา......... เช่นว่า เขายืมยางลบเราไปแล้วเอามาคืนโดยไม่ขอบคุณเราเลย ...ในสักกายทิฏฐิของเรา เราย่อมคิดว่า เขาน่าจะขอบใจเราบ้าง ตามธรรมเนียม ...จริงๆ ไม่จำเป็น ในเมื่อเรามีกำลังทานบารมีพอควร ของแค่นี้ไม่ประสาไม่ถือโทษโกรธหรอก จะขอบคุณหรือไม่ขอบคุณก็แล้วแต่นะ ขอให้เธอมีความสุขจากทานของเรา ไม่คิดมาก..

    .......... กำลังใจกลางๆของอภัยทาน ---> เป็นอภัยทานที่ต้องใช้กำลังใจสูงขึ้นอีกหน่อย เป็นระดับสิ่งของหึงหวงใหญ่ๆ ที่ขาดไปก็ไม่ตาย แต่เสียหายพอควร เช่น โดนคนพังรถเราเละ โดนคนถล่มบ้านเรา โดนขโมยเครื่องปริ้นท์ โดนขโมยเงิน โดนหลอกลวงให้เสียทรัพย์ไม่ถึงขั้นรุนแรงมาก ความโกรธของเราจากการมีผู้วาจาไม่ใคร่ครวญดีแล้วถากถางในสิ่งที่เรามักโกรธในสิ่งนั้นๆ...... ความหึงหวงหรือสักกายทิฏฐิในเรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องที่หนักเหมือนกัน... แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะอภัยตลอด ยังงั้นบ้านผมเรียกโง่ จุดพักของอภัยทาน คือ อุเบกขา .... ก็ต้องดูเป็นรายไป ว่าจะปฏิบัติต่อเขายังไงตามความสมควร ตามสมควรที่ว่า คืออย่างน้อยต้องไม่เสียดุลกำลังใจ ........ แต่เมื่อต้องการจะเลื่อนระดับกำลังใจ ............ การอภัยตลอดเวลาในเรื่องเหล่านี้ เป็นการปฏิบัติการละสักกายทิฏฐิที่สูงขึ้นไปอีก แต่ในโลกปัจจุบันทำยาก ต้องมองทางดีๆ มิเช่นนั้นมารมีมากนัก .. ไม่มองทางการปฏิบัติดีๆ บ้านผมก็เรียกโง่อีกที ...

    .............. กำลังใจอย่างสูงของอภัยทาน ---> ข้อนี้ผมขอบอกว่า ผมเดาๆละกัน แต่ก็ประเมินไว้ว่าน่าจะเป็นยังงี้ .. กล่าวคือ เป็นกำลังใจที่ละสักกายทิฏฐิของตัวเองได้เหมือบหมด หรือหมดไปเลย ... เป็นกำลังใจอภัยทานขั้นสูงสุด หากทำสำเร็จจริงๆ .. สักกายทิฏฐิหมด ก็เป็นพระอรหันต์นั่นเอง ......... สักกายทิฏฐิตัวนั้นคือ การรักชีวิต .... หากบุคคลใดสละได้หมดแม้กายตัวเอง ชีวิตตัวเอง บุคคลนั้นเป็นผู้ให้อภัยทานอันสูงสุด ..... อย่างเช่นว่า หากมีคนจะฆ่าเรา เรามีเมตตาว่า ยังไงเราก็ตายอยู่แล้ว นี่เราแก่แล้ว หากเรามีกรรมกับเธอมาแต่ชาติก่อนจริงๆ เธอจะฆ่าเรา เราจักให้ทานซึ่งชีวิตนี้....... อย่างนี้ก็ดีครับ แต่มันไปติดที่ว่า เรามีกรรมกันมาก่อน เลยยอมตาย ยังงี้กำลังใจยังน้อยอีก........ อยากให้ดีก็ต้องทำเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าเราจะให้อะไรเขาแล้ว เราให้ได้ทุกอย่างจริงๆ(เมีย กับลูก ท่านก็ทำทานมาแล้ว คิดดูสิ ..แต่ท่านตกลงกันมาก่อนนะว่าจะมาทำทานตัวนี้ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าพระกัสสปะมั๊งหลวงพ่อพระราชพรหมญาณเคยบอกไว้ อย่าไปว่าท่านเห็นแกตัวเด้อ) ... ทำสิครับ ทำแบบนี้แหละ แบบพระเวสสันดร เอาเล๊ยยย ... ฮิ้วววววววว กิ๊บบ กิ้ววววว หวีด วิ้ววววววววว ...


    ******** รวมความก็[ สักกายทิฏฐิ ]ตัวเดียว ........ ซึ่งเป็น subset ของความประมาท

    ******** ดูสิ ธรรมะท่านย่อขนาดไหน... เราต้องมาตีแผ่ความหมายเพื่อพัฒนาส่วนนี้อีกเยอะเด้อ พุทธบริษัท หากคนเข้าใจจุดละเอียดได้มาก ศาสนาก็จะเจริญไปอีกขั้น ...
    __________________
    ขอรวมกำลังบารมีครูบาอาจารย์เป็นแนวทางเพื่อสร้างบารมีโพธิญาณเพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

    โมทนาสาธุ คะ
     
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    เจ็บใจ เจ็บจิ๊ด ...ให้ไม่ลงครับ
     
  4. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    อืม ต้อง กลับไปเรียนรู้ สักกายทิฎฐิ ให้พังไปข้างละม้าง คุณ ฉับ

    (แต่เราเย็น ที่หัวใจ นะคุณฉับ )pig_ballet

    คุณฉับ เอายาหม่องใหม หายนะ................

    ถ้าเรา
    เคยทำให้ท่าน เจ็บช้ำ......
    น้ำใจ.....
    มากมาย.....
    จน เกิน อภัย.........
    เรา ขอโทษ................นะ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2012
  5. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    สักกายทิฏฐิ คือ 1 สังโยชน์ เป็น กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์,ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
    ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ๕ ได้แก่
    ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
    ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
    ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ

    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
    ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
    ๗. อรูปราคะความติดใจในอรูปธรรม
    ๘. มานะ ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่
    ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    ๑๐. อวิชชาความไม่รู้จริง,
    ( พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ละ
    สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ )
    ความคิดเห็นที่ 1 : (หนอน/thawath2002@chaiyo.com)

    คำถามสร้างสรรค์ เข้าทางพอดี ตอบว่า
    ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น
    [๑๒]...อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
    นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ
    สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
    เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น
    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

    และ
    ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
    [๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
    แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร?
    พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
    ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน
    สัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
    ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
    ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความ
    เป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา ย่อมไม่เห็นสังขาร
    โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร ย่อมไม่
    เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนใน
    วิญญาณ. ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.
    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    ++++++++++++++++++++++++++++++++
    สรุป เห็น ว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตนนั่นแหละ

    พฤติกรรม ไม่แน่ใจ เมื่อเห็น ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตนแล้ว
    จะไปพยากรณ์ พฤติกรรมอื่นๆ คงลำบากมันเป็น อนาคต
    แต่ที่แน่ๆ จะเห็นว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตน ไม่เนื่องด้วยตนนั่นแหละ อยู่ตลอดเป็นอัตโนมัติ
    ไม่ต้องนึกให้เมื่อย เพราะมันก็รู้เห็นแบบนั้นเป็นประจำอยู่แล้;
    ความคิดเห็นที่ 7 : (จัตตาโร)
    ขออนุญาต ขอโอกาส
    ละขันธ์ห้า ให้ได้
    ก่อนที่จะละได้ ก็ต้องรู้จักก่อนว่าขันธ์ 5 คือ อะไร
    รู้จักทาง ปริยัติ ว่า ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
    จากนั้น ก็ฝึกปฏิบัติ หาให้เจอจริงๆว่า ขันธ์5 เขา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่างไร
    ตา กระทบรูป เช่น เห็นคนๆหนึ่ง
    สัญญา คือ contract แปลว่า ตกลงกันไว้ ว่า สิ่งนี้ ตกลงกันว่า เป็น คน เป็น human ตามแต่ จะตกลง สร้างเป็นภาษา เป็น สมมุติ
    สังขาร คือ สัญญาที่ขึ้นมาซ้อนๆๆๆ หลังจากเกิดสัญญา โดยขึ้นแล้ว ทำให้ จิตเกิดอาการ ( วิญญาน คือ จิต นั่นเอง)
    เช่น สังขาร ผุดขึ้นมา (ความคิดขาจร) ว่า คนๆนี้ เราเกลียด คนๆนี้ คบไม่ได้ คนๆนี้เคยด่าเรา คนๆนี้เราจะไม่รู้ไม่ชี้ด้วย ฯลฯ (ที่ผุดขึ้นมา เพราะ เราสร้างอาหารให้กิเลส เอาไว้มากมาย ดูแต่หนังโหด คบแต่คนวาจา ใจ ไม่ดี ฟังธรรมะน้อยไป )
    สังขาร ปรุงแต่ง จนจิตเกิด (ใจเกิดอาการ ) นี่แหละ ทุกข์ เกิดขึ้นที่ จิต ที่ใจแล้ว

    พอเราเกิดทุกขเวทนา เราก็ไม่รู้ จะแก้ หรือ ดับทุกข์อย่างไรดี
    คนที่ แก้ทุกข์ไม่เป็น ก็อาจจะทำอะไร ประหลาดๆ แก้ทุกข์ไม่เป็น เช่น ด่ากลับไป เพื่อระบายความคับข้องใจ ก่อเวรก่อกรรม หรือ งอน ลาออก ไม่เข้ามาร่วมเสวนาอีก หรือ กินเหล้า หรือ ไปทำอย่างอื่น
    คนที่แก้ทุกข์เป็น พอคับข้องใจ เขารีบดูจิต ดูกายของเขาว่า คับข้องแถวไหน อึดอัดอย่างไร เขาจะ"ตบ" จิตให้สงบ
    พอรู้ (มีสติ) ว่าจิตเกิด ก็มี ทางเลือก ที่จะตบจิตให้สงบ 2 อย่าง ตามแต่จะถนัด คือ 1 รู้ แล้ว ตบ 2 รู้ แล้ว ดู
    รู้ แล้ว ตบ
    การตบจิตให้สงบ เช่น ใช้สมถะ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ปล่อยวาง อาจจะเรียกว่า รู้ แล้ว วาง ก็ได้ ( คำว่า ตบ มันอาจจะดู แรงไป แต่ กิเลสมันแรง ใช้คำเบา ตบกิเลสไม่ตาย)
    คนที่ ฟังธรรมะตามกาล คบบัณฑิต (พระอริยเจ้า) ทำดี คิดดี ฯลฯ ย่อม ปลงได้เร็วได้ไว สังขาร ที่เป็นความคิดจร ที่ผุดขึ้นมา ก็ดีๆ
    รู้ แล้ว ตามดู
    การรู้แล้วดู คือ ตามดู การทำงาน ของ ขันธ์ 5 ดู กาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรม (ที่เกิดขึ้นที่ใจ)
    ปฏิบัติ จนแยกขันธ์ห้าได้ เมื่อไร ละก็ (ปฏิเวธแล้ว ละสักกายทิฏฐิเป็นแล้ว) พบหนทางดับทุกข์แล้ว ..... อย่าไปดับทุกข์แบบอื่นเลย
    อย่าให้ จิต หวั่นไหว ไปกับขันธ์ห้า
    ขันธ์ห้า เป็น กรรมเก่า เมื่อเขามาหาเรา เราก็รู้ รู้แล้ววาง จิตก็เข้าไปร่วม จิตก็สงบ

    อุปมา ขันธ์ห้า เป็น ลม จิต เป็น เจดีย์แข็งแรง
    ลม ผ่านมา เจดีย์ ก็ไม่หวั่นไหว
    เรา จะหลบ ลม ห้ามลม ก็ คงจะยาก หนีกรรมเก่ายาก แต่ ถ้าเราทำกรรมใหม่ ( จิตเกิด หรือ อาการของใจ) ให้ดีๆ ได้ ทำบ่อยๆ ก็พ้นทุกข์
    ขอขอบคุณ http://www.larndham.net

    ปล แม้ว่าเราต้องใช้กรรม ขนาดใหนก็ตาม เราก็ต้องยอมรับมัน

    โมทนาสาธุคะ
     
  6. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ความคิดเห็นที่ 14 : (บรรพต อ.)
    ก่อนที่จะละสักกายทิฎฐิ ต้องละมิจฉาทิฎฐิเสียก่อน
    การจะละมิจฉาทิฎฐิ ก็ต้องเชื่อพระพุทธเจ้าเสียก่อน
    องค์สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิโสภาคย์เจ้าทรงตรัสว่า
    เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ไม่เที่ยงจริงๆได้เมื่อใด ก็จะละมิจฉาทิฎฐิได้
    ถ้าจิตเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นภาระจริงๆมันหนักไม่อยากอยู่กับมันอีกแล้ว
    ทำไมมันทุกข์แบบนี้ ก็จะละสักกายทิฎฐิ ลงเสียได้
    จากคุณ : บรรพต อ. [ 27 ก.ย. 2546 / 08:23:50 น. ]

    ความคิดเห็นที่ 15 : (โป)

    เหมือนการสั่งสมบุญไปหลายๆชาติ
    เมื่อสมควรแก่กาลแล้ว ก็จะเป็นไปเอง
    ขั้นแรกมาตั้งแต่...ศีล
    จากนั้นสมาธิ.....อาจจะเป็นแบบให้มีกำลัง
    แล้วพิจารณา จนเกิดสังเวช
    บางคนอาจจะใช้เจริญสติ การเคลื่อนไหว
    จนแยกอารมณ์ จากใจตนเองได้

    ทำไปเรื่อยๆจนใจถอดถอน คายออกมา
    จนเบาลง เบาลง ถึงตอนนั้นผู้ปฏิบัติก็มองเห็นทางไปแล้วครับ
    ว่าจะไปอย่างไร แต่ผมไม่แน่ใจนักว่า
    ตอนที่เราตัดขาดกับสักกายทิฎฐิได้
    ต้องมีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้น
    เนื่องด้วยผมยังไปไม่ถึง

    อากับกิริยาของผู้ที่ขาดไปแล้ว
    ก็คนปกติเรานี้ละครับ
    มีอาศัยปัจจัยสี่ ในการดำรงชีพ
    ต่างกันเพียง ในใจท่านเหล่านี้
    ไม่เกิดทุกข์มาก มีทุกข์ไม่นาน
    และไม่ติดกับอะไร
    ฟังดูอาจไม่เข้าใจนะครับ
    และคงไม่เข้าใจว่าจะทำไปเพื่ออะไร
    เพียงแต่ทำในสิ่งที่เราเห็นว่าดี
    ทำไป แม้จะทำทานแบบยึดทาน
    ก็ทำไป สิ่งที่ได้จะพัฒนาจิตใจเรา
    สั่งสมไปเรื่อยๆ
    วันหนึ่งน้ำก็เต็มตุ่มเอง เหมือนต้นไม้ของเราเริ่มออกผล

    ขอขอบคุณ http://www.larndham.net/

    โมทนาสาธุ คะ
     
  7. wainkam

    wainkam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    757
    ค่าพลัง:
    +881
    อนุโมทนาสาธุครับ ^^
    การให้อภัยเป็นทานสูงสุดก็จริงแต่ก็ต้องประกอบไปด้วยอามิสทานด้วย เพื่อช่วยเป็นแรงผลักดันให้ผ่านวัฏสงสารไปได้เมื่อยามยังไม่ถึงซึ่งพระนิพพาน :>
     
  8. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    จิตเห็นจิตเป็นมรรค

    บรรดาคำสอนของครูบาอาจารย์ คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ เป็นคำสอนที่เรียบง่าย และ พุ่งเป้าเข้าสู่การพ้นทุกข์อย่างไม่อ้อมค้อมสำหรับผู้ภาวนาอย่างแท้จริง

    อริยสัจจ์แห่งจิตของหลวงปู ท่อนที่ 4 มีว่า จิตเห็นจิตเป็นมรรค

    ในการภาวนานั้น การฝึกรู้ด้วยจิตในสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิ
    เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิได้มากพอ ผลที่ตามมาก็คือ เกิดการแยกตัวออกของจิต(ผู้รู้) และ อาการของขันธ์ (ซึ่งก็คือ สิ่งที่ถูกรู้) ซึ่งในสภาวะตอนนี้ ในวงการภาวนาจะเรียกว่า สภาวะแห่งการเป็นของคู่ คือ มีผู้รู้ และ สิ่งที่ถูกรู้


    ในบรรดาสิ่งที่ถูกรู้นั้น คือ อาการต่าง ๆในขันธ์ 5 สิ่งถูกรู้เหล่านี้มิใช่จิต
    นี่ยังเป็นการรู้ การละ ไม่ยึดติดด้วยกำลังของสัมมาสมาธิ
    การทีนักภาวนาได้ลงทุนลงแรงฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 จนเกิดสภาวะของคู่ขึ้นมาได้นั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นกันได้ง่าย ๆ ได้มาถึงนี่ ก็ดีมากแล้ว แต่ก็ยังต้องฝึกฝนต่อไปอีก

    เมื่อสัมมาสมาธิแก่กล้ามาขึ้น เพราะตั้งมั่นมากขึ้น ลำดับต่อไป นักภาวนาจะเกิดสัมมาญาณ อันเป็น ญาณ ที่เห็นจิตได้ การเห็นจิตได้ด้วยญาณนี้ จึงจะเข้าสู่ขั้นต้นของสิ่งที่เรียกวา จิตเห็นจิต การเห็นจิตนี้ จึงเป็นการเริ่มต้นของการ ตกกระแส พระนิพพาน เพราะเมื่อนักภาวนาได้เห็นจิตได้แล้ว ก็จะรู้จักจิตและจะเห็นจิตได้มากขึ้น ได้บ่อยขึ้น (หมายเหตุ นักภาวนาที่เพิ่งเห็นจิตได้ ใหม่ ๆ จะเห็นจิตได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ยังเห็นได้ไม่ต่อเนื่องตลอดเวลา )

    ในบล๊อกที่ผมเขียนนั้น ผมใช้คำอยู่ 2 คำที่จะต่างออกไปจากที่อื่น ก็คือ
    จิตรู้ ซึ่งคำนี้ ก็คือ จิตผู้รู้ ที่สำนักต่างๆ เรียกกัน
    มโน ซึ่งคำนี้ ก็คือ จิต ที่เป็น จิตที่ถูกจิตผู้รู้ไปเห็นเข้า
    ผมเรียกให้ต่างออกมา ก็เพื่อให้สอดคล้องกับตำราและความเข้าใจในการภาวนา
    ซึ่งสภาวะแห่งการ ตกกระแส ในสิ่งที่ผมกล่าว ก็คือ การที่ จิตรู้ ไปเห็น มโน เข้าได้แล้ว

    ในตำรา ดูจะง่าย ๆ ที่ชาวพุทธสักคนจะเข้าสู่การตกกระแส เพราะเขียนไว้เพียงสังโยชน์ขาดขั้นต้น 3 อันดับคือ 1.สักกายทิฏฐิ 2.วิจิกิจฉา 3. สีลัพพตปรามาส

    แต่ในความเป็นจริงในการภาวนา ถ้ากล่าว่า โสดาบัน คือ ผู้ตกกระแสพระนิพพานแล้ว และจะมีแต่ก้าวต่อไป ไม่กลับมาอีก ไม่เกิน 7 ชาติ ผู้ที่จะมีคุณสมบัติอย่างนี้ได้ ก็จะมีแต่นักภาวนาที่พบอาการ จิตเห็นจิต ได้แล้วเท่านั้น จึงจะเป็นปัญญาขั้นต้นในระดับญาณที่จะมีสิทธิทำลายกิเลสได้สิ้นจนถึงที่สุด และ การเสื่อมจากญาณก็จะไม่มี เพราะได้รู้แล้ว เห็นแล้ว รู้จักแล้ว เพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์ต่อเนื่อง 100 เปอร์เซนต์เท่านั้นเอง
    (หมายเหตุ การได้สภาวะของคู่ เพราะสัมมาสมาธิ โดยยังไม่เกิดญาณ สัมมาสมาธิสามารถเสื่อมถอยได้อยู่ )

    การที่ จิตเห็นจิต จึงเป็นสิ่งที่ยากสุด ๆ สำหรับนักภาวนาที่ยังไม่เคยเห็นจิตของจริง
    เพราะอธิบายให้ฟังก็ยากมาก ทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้น มันปรากฏอยู่แล้วอยู่ข้างหน้า แต่นักภาวนาไม่เห็นเอง เพราะไม่รู้จัก

    เมื่อนักภาวนาพบจิตได้แล้ว นักภาวนาเพียงหมั่นฝึกฝนต่อไปอีก ขอให้เชื่อตำราได้เลยว่า เมื่อนักภาวนาได้ตกกระแสแล้ว ก็จะมีแต่จะไม่หวนกลับ เพราะกำลังสัมมาสมาธิที่ยิ่งตั้งมั่น ก็จะเสริม สัมมาญาณให้มั่นคง แล้วการเกิด จิตเห็นจิต ก็จะยิ่งได้บ่อย เห็นได้นาน เห็นเหมือนจิตไม่หายไปไหนเลย

    ในคำสอนของครูบาอาจารย์ และในพระไตรปิฏก ได้กล่าวเปรียบเทียบ จิตเหมือนฟองไข่
    และในคำสอนก็บอกว่า ให้ทำลายจิตทิ้งเสีย เมื่อจิตถูกทำลายทิ้ง สภาวะของคู่ก็จะสลายไป กลายเป็นสภาวะใหม่ ที่เรียกว่า ความเป็นหนึ่ง ขึ้นมาแทน

    ในความเป็นจริง ไม่มีใครทำลายจิตได้ แม้แต่ตัวนักภาวนาเอง แต่การที่จิตเกิดการแตกสลายออกไปนั้น เกิดจากที่จิตที่บ่มเพาะปัญญาที่จิตไปเห็น จิตที่แปรเปลี่ยนไปมาเพราะมีการสร้างขันธ์ขึ้นของจิต และเห็นสภาวะแห่งจิตที่หยุดสร้างขันธ์ ปัญญานี้แหละที่จะทำลายจิตให้เป็น จิตหนึ่ง

    การที่จิตหยุดสร้างขันธ์ ในครูบาอาจารย์มักกล่าวว่า ให้จิตหยุดคิด หรือ ฮวงโปได้กล่าวว่า ให้หยุดปรุงแต่งเสีย

    นี่เป็นสิ่งทียากยิ่งอีกอย่างของนักภาวนา จิตหยุดคิด เพราะนักภาวนาไม่รู้จัก จิตหยุดคิดเป็นอย่างไร ถ้านักภาวนาเพียงคิดว่า จะทำอย่างไรให้จิตหยุดคิด นั้นคือ เป็นการคิดแล้ว
    ถ้านักภาวนาเพียงรู้ว่า นี่ลมหายใจเข้า นี่ลมหายใจออก นี่กินข้าวไปแล้วสิบคำ นี่ก็คือ การคิดแล้วเช่นกัน

    จิตหยุดคิด ก็คือ จิตหยุดสร้างขันธ์ จิตที่ไม่สร้างขันธ์ ใน มโน จะใสกระจ่างแจ้ง
    จิตที่กำลังสร้างขันธ์ ใน มโน จะขุ่นมัว ไม่สดใส

    ในสภาวะแห่ง จิตหนึ่ง แสงแห่งจิต จะส่องสว่างขึ้นไม่มืดมัว เมื่อจิตส่องแสงสว่าง อันกิเลสต่าง ๆ ที่อาศัย โมหะ เป็นชนวนการเกิด ก็เกิดไม่ได้ เพราะ โมหะ ต้องกาศัยเกิดตอนจิตมืดมิด เมื่อ จิตส่องสว่าง ความมืดย่อมหายไป กิเลสจึงเกิดอีกไม่ได้เพราะเหตุนี้

    นี่คือธรรมชาติของจิตที่ประภัสสร เปล่งกระกายออกมา แล้วกิเลสก็เกิดไม่ได้เอง

    นี่คือวิถีแห่งมรรค

    ขอกราบนมัสการหลวงปู่ดูลย์ ด้วยความเคารพยิ่ง
    :: BlogGang.com :: Weblog for You and Your Gang -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2012
  9. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    เจ็บจิ๊ด มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
    sun dog ก็เป็นอย่างนั้น

    ตน ไม่ได้เริ่ม จากการคิด ว่าต้องให้อภัย
    ตน เริ่ม จากการ โต้แย้ง ทั้งในใจ และวาจา
    ว่าตนเองไม่ผิด
    แต่ผู้ที่ตนเถียงด้วย เขาไม่ยอมรับ
    ใช้วาจาเถียง ให้แตกหัก ก็ไม่จบ
    จึงเลิกใช้วาจา คิดในใจ ให้ตัวเองฟัง
    ว่าตน มีเหตุผลอย่างไร ฝ่ายตรงข้าม ผิดอย่างไร
    คิด จนตนเอง ยอมรับ เหตุการณ์ได้
    โกรธ 1 ครั้ง ใช้เวลาสะสาง 3 ชม. ถึง 1 คืน
    บทสรุป ที่ตนรับได้ มักออกมาในรูปแบบว่า
    ตนเองถูก และอีกฝ่ายผิด
    และตนก็ทำเต็มที่แล้ว คือเลิกสนใจ ไม่ได้เบียดเบียนเขา

    ต่อมา ผู้ที่ตนเถียงด้วย ไม่ใช่ผู้อื่น
    แต่เป็นมิตรสหาย และบิดามารดา
    คิดในใจ ให้ตัวเองฟัง
    ลงเอย ว่าตนถูก อีกฝ่ายผิด แต่จะเลิกสนใจไปเลย ก็ทำไม่ได้
    ลงเอย ว่าอีกฝ่ายถูก ตนผิด ก็หลอกตนเอง ยอมรับไม่ได้
    จึงลองคิด ในมุมมอง ของมิตรสหาย และบิดามารดาดู
    จึงเริ่มเข้าใจ ว่าเขาเถียงเรา ด้วยหัวใจเช่นไร
    ถูก-ผิด ของเขา เป็นแบบไหน
    ทำไม เขาจึงต้องการ เงื่อนไขแบบนั้น
    โกรธ 1 ครั้ง ใช้เวลาสะสาง เป็นระยะๆ หลายวัน หลายสัปดาห์
    บทสรุป ที่ตนรับได้ มักออกมาในรูปแบบว่า
    อีกฝ่าย เขากลัวอะไร จึงเถียงเราแบบนั้น
    คิดได้แล้ว รู้สึกเห็นใจ
    ตัวเอง ก็มีความกลัว แบบนั้นอยู่เหมือนกัน
    ตน เริ่มยอมรับ ความผิดพลาด ที่ตนก่อ ได้บ้าง

    เหตุการณ์ กระทบใจ แบบนี้
    เกิดขึ้น ครั้งแล้วครั้งเล่า หลายเดือน หลายปี
    เกิดขึ้นได้ แม้ไม่มีการโต้เถียง
    ถึงอีกฝ่ายไม่รู้ตัว อาการกระทบ ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ในใจเรา
    เหตุผลเดิมๆ
    ความกลัวเดิมๆ
    ความอยากเดิมๆ
    ความอหังกาฬเดิมๆ
    ความตระหนี่เดิมๆ
    ความลังเลสงสัยเดิมๆ

    เราเริ่มรู้จัก สันดาน นิสัย อนุสัย ที่ตน และมิตรสหาย บิดามารดา มี
    เราเริ่มเห็น วงโคจรเฉพาะตัว ของมิตรสหาย และบิดามารดา
    ซึ่ง ไม่เหมือนตนเอง
    เราและเขา โคจรมาพบกัน ในบางจังหวะ
    และเคลื่อนออกห่างจากกัน ในบางจังหวะ
    เราเริ่มอยู่ ในวงโคจร ของตนเอง

    อาการกระทบใจ เปลี่ยนจากมีเหตุผล กลายเป็นไม่มีเหตุผล
    เหตุผลใดๆ ก็ระงับการกระทบไม่ได้
    เหตุผลใดๆ ก็ทำให้ความกระวนกระวายใจ ลดลงไม่ได้
    เรา คิด จนหมดแล้ว
    เข้าใจ มุมมอง ทั้งเขาและเราแล้ว
    แต่ความกระวนกระวาย เร่าร้อน ก็ยังคงมีอยู่
    แม้เพียง ในอากัปกิริยา เล็กๆน้อยๆ
    ที่เขาแสดง และ เราตอบรับ เป็นไปโดยอัตโนมัติ
    ความกระวนกระวาย เร่าร้อน ก็ยังคงมีอยู่

    เรา จึงไม่ทำอะไร กับความกระวนกระวายนั้น
    เพราะได้ทำ ทุกอย่างที่ทำได้ จนหมดสิ้นแล้ว
    ขณะนี้ ไม่รู้ จะทำอะไร ต่อไปอีกแล้ว

    แล้วมันก็ผ่านไป แล้วมันก็มาใหม่
    ตามวงโคจร
    จ้า
     
  10. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    มันเป็นเช่นนั้นเองครับ..ใช่เลย
     
  11. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โมทนาส๊าาาาาธุ เจ้าคะ

    ปล จะให้ไปดีดี หรือ จะให้เจ็บตัวก่อน ดีน๊า คุณ sun dog

    คนบางคน ต้องถนอมไว้นะ เพราะไม่เห็นเขาก็ไม่เห็นเรา อิอิ

    คนบางคน ก็เห็นตั้งนาน แกล้งเขามาก็นาน บางทีก็ถึงเวลาของตัวบ้าง

    แล้วมาทำโวยวาย แล้วทำไม่รู้ไม่ชี้ ก็มีเยอะแยะ

    โมทนาสาธุ อีกครั้งคะ
     
  12. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ชาตินี้ เกิดมาได้เจอกันแล้วถือว่ามีวาสนา มีวาสนา ๆ ๆ ๆ

    และ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดเชียวนะ ท่านนะ

    (ปล ไปทำงานละ)
    ไม่เข้าใจ คน บางคน ชอบแอบอยู่ฉากหลัง เล่นซ่อนแอบเหรอใง (โป้ง แล้ว นะ)
    ทั้งที่โดนแป๊ะก่อนก็ตาม อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2012
  13. CHOLPRATAN

    CHOLPRATAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +184
    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
    ด้วยกุศลผลบุญการอนุโมทนาบุญในครั้งนี้
    ขอให้ข้าพเจ้าได้มีดวงตาเห็นธรรมและปัญญาเห็นธรรมโดยฉับพลัน
    ด้วยกุศลผลบุญนี้ขอจงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด
    ภพภูมิอื่นใด ไม่ว่าจะเป็น อบายภูมิ โลกมนุษย์ สวรรค์ พรหม หรืออรูปพรหมก็ตาม ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา...
    ข้าพเจ้าปรารถนาเพียงพระนิพพานเป็นที่สุด..ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น..
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ

    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพและพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดีมิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เถิด<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  14. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โมทนาบุญกับทุกท่านเช่นกันคะ ขอให้เจริญ ในธรรม ยิ่งๆขึ้นไปคะ
     
  15. kongkiatm

    kongkiatm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +1,263
    ขออนุโมทนา ด้วยครับ

    อ่านแล้วเข้าใจดีเลย เมื่อก่อนที่จะปฏิบัติธรรม เรามีจิตคิดร้าย พยาบาทโกรธ ผู้อื่นตลอด ใจขณะนั้น นึกว่ามีความสุขดีกับการคิดดูจิตร้ายต่อผู้อื่น พอมาปฏิบัติธรรม ตนเองเห็นความคิดร้ายนี้ เราก็บอกว่า เราให้อภัยเป็นทานไปเรื่อยๆ จนจิตที่คิดร้ายนั้น หายไป จนเข้าใจเลยว่า เวลาที่จิตคิดร้ายต่อผู้อื่น มันเป็นไฟเผาผลาญใจให้เร้าร้อน ทรมานมาก

    บางทีเราจะไม่รู้ตัวว่าใจที่มันเป็นปกติสุขนั้นเป็นอย่างไร จนกว่าเราจะเห็นธรรม
     
  16. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    ข้อลิงกระทู้นี้นะครับ
    http://palungjit.org/threads/เมื่อคิดจะสอนคนอื่น.336617/
    หลวงพ่อสอนว่า
    เมื่อคิดจะสอนคนอื่นให้สอนด้วยการกระทำไม่ใช่สอนด้วยคำพูด
    ผมเคยเจอบ่อยนะครับ คนที่ชอบสอนคนอื่นแต่ตัวเองไม่ยอมทำอะไรเองเลย
     
  17. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    พระศาสนาท่าน ต้องการเป็นพระพุทธเจ้า ตอนท่านยังเป็นพระโพธิสัตว์ อยู่
    ท่านต้องเจออะไรมากมาย ต้องโดนตามล่าไล่ล่าบ้าง แต่ก็ต้องโอบกอดบุคคลเหล่านั้น
    เอาชนะคนโกรธด้วยไม่โกรธ(คนทั่วไป คงคิดว่าทำได้ด้วยเหรอ)
    เมื่อถึงจุดที่เรียกว่าแย่ไม่เห็นความสำเร็จ ท่านก็ทำจนสำเร็จ
    เพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนอื่น ให้รู้ตาม มิใช่เพียงให้รู้ แต่ให้ปฏิบัติตาม


    ดังที่หลวงพ่อฤาษีลิงท่านท่านกล่าว
    ตอนท่านบำเพ็ญทุกขกิริยา หากท่านทำเพื่อตัวเองก็ว่าไปอย่าง
    แต่นี้ท่านทำเพื่อคนอื่น
    แปล
    ผมไมได้สอนนะครับ
     
  18. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    อนัโมทนานะครับ ^^:cool:
     
  19. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โมทนาสาธุกับทุกท่านเช่นกันคะ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...