การใช้อุเบกขาในการทำงาน

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 4 ธันวาคม 2008.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,172
    ถาม: .........................................

    ตอบ : อุเบกขาในการงานก็เหมือนกัน จบลงแล้วตรงที่ตรงนั้นก็ให้มันจบลง หมายความว่าหมดวันปุ๊บกองงานเอาไว้ที่ทำงาน ตัวเราก็กลับเป็นของเรา อีกวาระหนึ่ง ตั้งแต่พ้นจากที่ทำงานกลับคืนบ้าน ก็เป็นเวลาที่เราจะกอบโกยผลบุญของทาน ศีล ภาวนา ของเราให้มันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าบางคนต้องใช้คำว่าความจำเป็นในหน้าที่การงาน ทำให้รักษาศีลได้ไม่ครบข้อ อาจจะต้องพูดในลักษณะโกหกเขาบ้าง อาจจะต้องมีการสังคมเอนเตอร์เทนกับลูกค้าบ้างอะไรบ้าง ก็เผลอไปกรึ๊บไวน์เข้าไปบ้าง เบียร์บ้าง สุราบ้าง ช่วงนั้นถ้ามันขาดให้มันขาดไป ถือว่าเราไม่ยอมขาดทุนตลอด ๒๔ ชั่วโมง อย่างน้อยๆ ๒๔ ชั่วโมงให้มีวาระมีเวลาที่เรียกว่าให้เราได้ทำความดีบ้าง ถึงเวลาเราก็รักษาให้แน่นแฟ้นไป ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งถึงที่ทำงานระยะเวลาอาจจะ ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง ให้เราอยู่กับศีลอยู่กับทานของเราอยู่กับธรรมะของเรา พอถึงเวลาเริ่มต้นการงานปุ๊บรักษาเท่าที่รักษาได้

    ถ้าสามารถประคับประคองได้ตลอดก็ดี แต่ถ้าไม่สามารถประคับประคองได้ก็ตั้งใจไว้เลยว่าผลบุญตั้งแต่เช้าขึ้นมาจนถึงที่ทำงานที่เรารักษามา ก็ขอให้มันส่งผลให้เรามีความคล่องตัวใหน้าที่การงาน ท้ายสุดขอให้เข้าพระนิพพานได้ พอถึงเวลาเลิกจากงานไปตอนนี้ปล่อยวางทุกอย่างแล้ว ปล่อยวางอารมณ์ให้เป็นอุเบกขา งานทั้งหมดกองอยู่ตรงนั้นแหละไม่ต้องเอาตามเรากลับบ้านมา ถึงเวลาเดินทางกลับบ้านจนกระทั่งถึงบ้าน จนกระทั่งก่อนจะนอน ตลอดระยะเวลานั้นให้ใจของเราอยู่กับศีลธรรมก็ให้มันมีระยะเวลาที่ทำของมันอย่างจริงๆ จังบ้าง กำลังใจก็จะทรงตัวได้ง่าย ทรงตัวได้เร็ว ก้าวไปข้างหน้าแล้วต้องไม่ลืมที่หลวงพ่อสอน ท่านบอกว่าถ้าได้กรรมฐานกองหนึ่งแล้ว ก่อนจะทำกรรมฐานกองอื่น ให้ทวนกองเก่าให้มีความคล่องตัวชำนาญ อารมณ์ได้เต็มที่ของมันก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนกองใหม่ ถ้าหากว่าได้ ๒ แล้วจะทำกองที่ ๓ ก็ทวน ๑,๒ ให้มันขึ้นใจก่อนแล้วค่อยไป ๓ ต่อ





    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ




    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2008
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...