การแสดงความเคารพต่าง ๆๆ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย phuang, 2 ธันวาคม 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    [SIZE=+1]การแสดงความเคารพ[/SIZE]
    [SIZE=-1] การแสดงความเคารพอันเป็นมารยาทของคนไทย นิยมการประนมมือการไหว้ และการกราบ[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] การประนมมือ (อัญชลีกรรม) คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประนม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วแนบชิดติดกัน ไม่เหลื่อมล้ำกันหรือกางออกห่าง กระพุ่มมือที่ประนมนี้ไว้ระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบน มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างไว้ชิดกับชายโครง ไม่ปล่อยให้กางออกไป รักษาระดับกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังสวดมนต์ และฟังเทศน์[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG] </CENTER>
    [SIZE=-1] การไหว้ (นมัสการ) คือ การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ใช้แสดงความเคารพพระภิกษุสามเณร หรือปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานในขณะที่ผู้ไหว้นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ การไหว้บุคคลผู้อาวุโสกว่า ให้ปล่อยมือจรดจมูกหรือคิ้ว ไหว้ผู้เสมอกันให้ประนมมือไหว้แค่อก[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] การกราบ (อภิวาท) คือ การแสดงอาการกราบราบลงกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือด้วยองค์ประกอบห้าอย่าง ได้แก่ เข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และศีรษะอันได้แก่หน้าผากให้จรดกับพื้น เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงต่อพระรัตนตรัย มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ท่าเตรียมตัว นั่งคุกเข่า (ชายตามแบบชาย หญิงตามแบบหญิง) มือทั้งสองทอดวางเหนือเข่าทั้งสอง ให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] - จังหวะที่หนึ่ง ยกมือขึ้นประนมไว้ระหว่างอก ตามแบบการประนม[/SIZE]
    [SIZE=-1] - จังหวะที่สอง ยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก โดยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ตามแบบการไหว้ พระรัตนตรัย[/SIZE]
    [SIZE=-1] - จังหวัะที่สาม ก้มตัวลง ปล่อยมือทั้งสองให้ทอดลงกับพื้นโดยแบมือทั้งสอง ให้ข้อศอกต่อกับเข่าทั้งสองข้าง (สำหรับชาย) และให้ศอกทั้งสองข้างขนาบเข่าทั้งสองไว้ (สำหรับหญิง) ให้ระยะมือทั้งสองห่างกันประมาณ ห้านิ้ว ก้มศีรษะให้หน้าผากจรดพื้นในระหว่างมือทั้งสอง แล้วยกมือประนมขึ้นผ่านจังหวะที่หนึ่สอง และสามไปตามลำดับให้ต่อเนื่องกัน ทำติดต่อกันไปจนครบสามครั้ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อครบสามครั้งแล้วพึงยกมือขึ้นไหว้ตามแบบพระรัตนตรัย แล้วเปลี่ยนอริยาบทเป็นนั่งพับเพียบ หรือลุกขึ้นตามกาลเทศะ[/SIZE]
    [SIZE=-1] การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑) หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ ถ้าคนเสมอกันประนมมือเพียงระหว่างอก[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๒) นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๓) หมอบลงตามแบบหมอบ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๔) มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๕) ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๖) เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตร ใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้ง[/SIZE]
    [SIZE=+1]มารยาทไทย[/SIZE]
    [SIZE=-1] มารยาทในอริยาบทต่าง ๆ ตามแบบวัฒนธรรมไทย มีแบบเฉพาะที่พึงปฏิบัติทั้งในเวลาศาสนพิธี และพิธีอื่น ดังต่อไปนี้[/SIZE]
    [SIZE=+1]๑. การยืน[/SIZE]
    [SIZE=-1] การยืนมีแบบที่ควรทราบและถือปฏิบัติทั้งในเวลายืนตามลำพัง ยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ และยืนแสดงความเคารพในโอกาสต่าง ๆ ดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑) การยืนตามลำพัง ควรอยู่ในลักษณะสุภาพ สบาย ขาชิด ตั้งตัวตรง ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ๒) การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนตรง ขาชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองแนบข้างลำตัว ถ้าอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสสูง หรือพระสงฆ์ หรือเป็นการยืนหน้าที่ประทับควรค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย มืออยู่ในลักษณะคว่ำซ้อนกัน จะเป็นมือข้างไหนทับมือข้างไหนก็ได้ หรือจะประสานมือทั้งสองอย่างหลวม ๆ หงายมือทั้งสองสอดนิ้วเข้าระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือก็ได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๓) การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์หรือพระมเหสี ถ้าแต่งเครื่องแบบให้ยืนตรง แล้วกระทำวันทยาหัตถ์ ถ้าไม่ได้สวมหมวก ให้ยืนตรง แล้วถวายคำนับ การถวายคำนับให้ก้มศีรษะ และส่วนไหล่ลงช้า ๆ ให้ต่ำพอสมควร แล้วกลับมายืนตรง อย่าผงกศีรษะ ถ้าสวมหมวกอื่นที่มิใช่ประกอบเครื่องแบบต้องถอดหมวกก่อน แล้วจึงถวายคำนับ[/SIZE]
    [SIZE=-1] สำหรับหญิง ให้ยืนตรงเท้าชิด หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน ชักเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปทางหลัง โดยวาดปลายเท้าไปทางอีกด้านหนึ่งของเท้าที่ยืน ทำพร้อมกับย่อเข่าอีกข้างหนึ่งลงช้า ๆ เมื่อจวนจะต่ำสุดให้ยกมือทั้งสองวางประสานกันบนหน้าขาที่ย่อให้ต่ำลง โดยให้หน้ามือประสานกัน และให้ค่อนไปทางเข่า ก้มศีรษะลงเล็กน้อย จากนั้นเงยศีรษะขึ้นพร้อมกับชักเท้าที่ไขว้กลับที่เดิม และตั้งเข่าตรง[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๔) การยืนแสดงความเคารพเมื่อมีการบรรเลงเพลงเคารพ เพลงเคารพได้แก่เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีให้ยืนขึ้นแล้วระวังตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่านหรือพระบรมฉายาลักษณ์ หรือประธานที่ชวนเชิญถวายพระพรในขณะนั้น ให้ยืนตรงอยู่จนจบเพลง ถ้าเป็นการบรรเลงที่ปรากฏพระองค์ต้องถวายความเคารพเมื่อเห็นพระองค์ครั้งหนึ่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อได้ยินเพลงชาติ ให้ยืนระวังตรง จนจบเพลง แล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นอย่างอื่นแล้วแต่กรณี[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ ซึ่งใช้ในการเริ่มพิธีสำคัญ ๆ ให้ยืนขึ้น อย่างสุภาพ หันหน้าไปทางประธานในพิธี เมื่อจบเพลงแล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นแล้วแต่กรณี[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อได้ยินเพลงมหาชัย ซึ่งใช้แสดงความเคารพต่อพระบรมวงศานุวงศ์ ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๕) ในเวลาที่อยู่ต่อหน้าพระที่นั่ง เวลาจะลุกขึ้นยืนหรือเคลื่อนที่ไปไหน ต้องถวายความเคารพก่อนทุกครั้ง การยืนรับเสด็จเวลาเสด็จพระราชดำเนินผ่าน สำหรับชายยืนตรงถวายคำนับ หญิงถอนสายบัว ถ้าแต่งเครื่องแบบและสวมหมวกให้ทำวันทยาหัตถ์[/SIZE]
    [SIZE=+1]๒. การเดิน[/SIZE]
    [SIZE=-1] การเดิน มีการเดินตามลำพัง การเดินกับผู้ใหญ่ การเดินนำเสด็จ และตามเสด็จ และการเดินไปในโอกาสต่าง ๆ มีแบบและวิธีปฏิบัติที่ควรทราบดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑) การเดินตามลำพัง ให้เดินอย่างสุภาพ หลังตรง ก้าวเท้าไม่ยาวไม่สั้นเกินควร แกว่งแขนแต่พองาม[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ๒) การเดินกับผู้ใหญ่ ให้เดินทางซ้ายเยื้องมาทางหลังของผู้ใหญ่ อยู่ในลักษณะนอบน้อมไม่ส่ายตัว โยกศีรษะ ถ้าเป็นการเดินระยะใกล้ ๆ มือทั้งสองควรประสานกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๓) การเดินนำเสด็จและตามเสด็จ ควรปฏิบัติดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] การเดินนำเสด็จ ให้เดินหน้าระยะห่างพอสมควร ทางด้านซ้ายของพระองค์ท่าน ในกรณีที่เสด็จพระราชดำเนินบนลาดพระบาท ผู้เดินนำเสด็จต้องไม่เดินบนลาดพระบาท ให้เดินในลักษณะเอียงตัวน้อย ๆ มาทางพระองค์ท่าน เพื่อได้สังเกตทราบหากจะประทับยืน ค้อมร่างกายส่วนบนเล็กน้อย มือทั้งสองประสานกัน และยกขึ้นเหนือแนวเข็มขัดเล็กน้อย เมื่อถึงที่จะอัญเชิญประทับ ซึ่งเท่ากับกราบบังคมทูล ฯ ว่าถึงที่ประทับแล้ว เมื่อจะถอยออกไป ให้ถวายคำนับครั้งหนึ่ง ก่อนที่ผู้นำจะนั่งที่ ต้องถวายคำนับอีกครั้งหนึ่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] การเดินตามเสด็จ ให้เดินเบื้องหลังพระองค์ท่าน ในอิริยาบถเดินกับผู้ใหญ่ คือเดินอย่างสุภาพหน้ามองตรง อยู่ในอาการสำรวมไม่ยิ้มหัว ทักทาย หรือทำความเคารพพูดคุยกับผู้อื่น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๔) การเดินเข้าสู่ที่ชุมชน ควรเดินเข้าไปอย่างสุภาพ เมื่อผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อน ควรก้มตัวลงเล็กน้อย ถ้าผู้นั่งเป็นผู้อาวุโสมากก็ก้มตัวให้มาก และระวังอย่าให้เสื้อผ้าหรือร่างกายไปกรายผู้อื่น ถ้าไม่มีการกำหนดที่นั่ง ก็ให้นั่งเก้าอี้ที่สมควรโดยสุภาพ อย่าลากเก้าอี้ให้ดัง อย่าโยกย้ายเก้าอี้ไปจากระดับที่ตั้งไว้[/SIZE]
    [SIZE=-1] การเข้าสู่ที่ชุมนุมที่นั่งกับพื้นควรเดินอย่างสุภาพ เวลาผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อนควรค้อมตัวลงให้มาก หรือน้อยสุดแท้แต่ระยะใกล้หรือระยะไกล ระวังอย่าให้เสื้อผ้าหรือส่วนของร่างกายไปกรายผู้อื่น ถ้าผ่านระยะใกล้มากใช้การเดินเข่า[/SIZE]
    [SIZE=-1] วิธีการเดินเข่า ให้นั่งคุกเข่าตัวตรง มืออยู่ข้างลำตัวแกว่งได้เล็กน้อย ยกเข่าขวาซ้ายไปข้างหน้าสลับข้างกัน ปลายเท้าตั้งช่วงเท้าพองาม ไม่กระชั้นเกินไป การเดินเข่าไม่นิยมใช้ในกรณีเข้าเฝ้าหรือเข้าพบผู้ใหญ่[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๕) การเดินในที่ที่พระมหากษัตริย์หรือพระมเหสีประทับอยู่ เวลาเดินผ่านหน้าหรือหลังที่ประทับ ให้ลุกขึ้นจากที่แล้วถวายความเคารพ แล้วเดินอย่างสุภาพ เมื่อจะผ่านที่ประทับให้หันไปถวายความเคารพ เมื่อผ่านไปแล้วให้หันไปเคารพ และก่อนจะนั่งที่ใหม่ให้ถวายความเคารพก่อนนั่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] การเดินไปทำธุระใด ๆ เมื่อลุกจากที่และถวายความเคารพแล้วเดินไปยังที่จะทำกิจธุระ เมื่อถึงที่ให้ถวายความเคารพแล้วจึงทำกิจธุระนั้น ขณะทำกิจธุระจะนั่งย่อเข่า หรือคุกเข่า หรือหมอบแล้วแต่กรณี ทำกิจธุระเสร็จแล้วลุกขึ้น ถอยหลังหนึ่งก้าว ถวายความเคารพ แล้วเดินถอยหลังสามก้าว ถวายความเคารพ แล้วเดินกลับที่นั่ง ก่อนจะนั่งถวายความเคารพอีกครั้ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๖) การเดินขึ้นลงเมรุ ในงานศพที่เสด็จพระราชดำเนิน ควรปฏิบัติโดยลำดับ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ พระบรมวงศานุวงศ์ ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณทูตานุทูต ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประชาชนทั่วไป พระภิกษุสามเณร เป็นอันดับสุดท้าย[/SIZE]
    [SIZE=-1] การปฏิบัติในการเดินขึ้นสู่เมรุ ให้ลุกจากที่นั่งถวายความเคารพ เมื่อผ่านที่ประทับถวายความเคารพ ลงจากเมรุถึงพื้นถวายความเคารพ เมื่อผ่านที่ประทับถวายความเคารพ ก่อนจะนั่งถวายความเคารพ[/SIZE]
    [SIZE=+1]๓. การนั่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] การนั่ง การหมอบ และการนั่งคุกเข่าในงาน และในโอกาสต่าง ๆ มีวิธีปฏิบัติดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑) [COLOR=#cc0000]นั่งเก้าอี้[/COLOR] ให้นั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าวางชิดกัน เข่าแนบชิดกัน มือทั้งสองวางบนหน้าขา ถ้าเป็นเก้าอี้ท้าวแขน เมื่อนั่งตามลำพัง จะเอาแขนพาดบนท้าวแขนก็ได้ ไม่ควรนั่งเอาปลายเท้าหรือขาไขว้กันอย่างนั่งไขว่ห้าง ควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งโดยโยกเก้าอี้ให้ยกหน้าหรือเอนหลัง[/SIZE]
    [SIZE=-1] การนั่งลงศอกในกรณีนั่งเก้าอี้ ให้น้อมตัวลงเงยหน้าเล็กน้อย วางแขนทั้งสองลงบนหน้าขา มือประสานกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๒) [B][COLOR=#cc0000]นั่งกับพื้น[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ให้นั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ยืดตัว ไม่ต้องเก็บปลายเท้า แต่อย่าเหยียดเท้า ถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ให้เก็บปลายเท้า มือประสานกันไม่ท้าวแขน[/COLOR][/SIZE]
    [COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓) [B][COLOR=#cc0000]การหมอบ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าก่อน แล้วหมอบลงไปให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้าง แขนวางราบกับพื้นตลอดครึ่งแขน ส่วนมือถึงศอกประสาน หรือประณมแล้วแต่กรณี[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔) [B][COLOR=#cc0000]การนั่งคุกเข่า[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ให้นั่งตัวตรง วางก้นบนส้นเท้าปลายเท้าตั้ง มือทั้งสองประสานกัน หรือจะวางคว่ำบนหน้าขาก็ได้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕) [B][COLOR=#cc0000]การนั่งหน้ารถพระที่นั่ง หรือรถที่นั่ง[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ก่อนที่จะขึ้นนั่งให้ถวายความเคารพก่อน แล้วขึ้นนั่งโดยหันหลังขึ้นนั่งพร้อมกับยกขาขึ้นตามไปด้วย นั่งตัวตรง ขาชิด เข่าชิด หลังแตะพนักแต่ไม่พิง มือประสานบนตัก สำรวมอิริยาบถ แต่ให้ผึ่งผาย ไม่เหลียวหน้าไปทางใด[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]๔. การคลาน[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การคลาน เป็นมารยาทที่ปฏิบัติเวลานั่งอยู่กับพื้น แล้วต้องเคลื่อนที่ไปปฏิบัติกิจธุระต่าง ๆ มีแบบปฏิบัติดังนี้[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://203.144.136.10/service/mod/heritage/nation/tradition/tradition06.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]การคลานลงมือ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ใช้ในกรณีไม่ได้ถือของ โดยเริ่มจากนั่งคุกเข่าตัวตรง แล้วโน้มตัวลงเอานิ้วมือจรดพื้น โดยใช้ฝ่ามือติดพื้น นิ้วมือชิดกัน ปลายนิ้วชี้ไปข้างหน้า ปลายเท้าตั้ง คลานโดยสืบเข่า และมือไปข้างหน้า สลับข้างกัน อย่าให้ส่วนหลังโค้ง และอย่าให้หลังแอ่นจะทำให้สะโพกยก ให้คลานตรง ๆ อย่าส่ายสะโพก คลานให้ระยะห่างของมือและเท้าเท่ากันตลอดทาง ให้มือขวาห่างกันเท่ากับความกว้างของช่วงไหล่ อย่าก้มหน้า[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]การคลานยกของ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคลานโยก ยกของมือเดียวคลานแบบหนึ่ง ยกของสองมือคลานอีกแบบหนึ่ง การยกของคลานสำหรับหญิง ถ้าเป็นของเล็กยกมือเดียว ถ้าเป็นของใหญ่ยกสองมือ สำหรับผู้ชายจะต้องยกสองมือเสมอ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]การคลานยกมือเดียว[/COLOR][/B][COLOR=#000099] (สำหรับหญิงเท่านั้น) ให้ถือของด้วยมือขวาวางของไว้บนฝ่ามือ แขนขวาตั้งฉากกับลำตัว ก้าวเข่าไปข้างหน้า พร้อมกับลากขาอีกข้างหนึ่งตามไป มือซ้ายแตะพื้นอย่างหย่งมือ คือปลายนิ้วจรดพื้น ฝ่ามือพ้นพื้น เมื่อเข่าทั้งสองเสมอกันแล้ว ลดเข่าลงพร้อมกัน ปลายเท้าต้องตั้งอยู่เสมอ ตัวตั้งตรง หน้าตรง ให้ทำสม่ำเสมอตลอดระยะทางโดยไม่หยุดชะงักเป็นตอน ๆ ถ้าจะถอยหลังก็คลานถอยหลังไปเหมือนเดินเข่า[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]การคลานยกของสองมือ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เป็นการคลานเหมือนคลานเช่น ในการแสดงโขน ละคร โดยถือของสองมือในระดับหน้าท้อง แขนตั้งฉาก ไม่กางศอก นั่งคุกเข่า ยกเข่าไปข้างหน้า ตัวเฉียง พร้อมกับวาดเท้าอีกข้างหนึ่งไปหาเท้าของเข่าที่ยกไป ปลายเท้าตั้ง ทำเช่นนี้สลับข้างกันไป ระหว่างคลาน ลำตัวตั้งตรง ค่อนข้างยกอก[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] คลานถอยหลัง ยกเท้าข้างหนึ่ง วาดเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปวางเท้าของขาที่ยกไป ทำสลับกันไป[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าเป็นแบบหญิง ให้ยกเข่าข้างหนึ่งตั้ง ลากขาอีกข้างหนึ่งตาม เมื่อเข่าเสมอกัน ลดลงพร้อมกัน ให้เข่าที่ตั้งถึงพื้นเข่าของขาที่ลากมาอยู่สูงกว่าพื้นเล็กน้อย ยกเข่าข้างที่ไม่จรดพื้นไปข้างหน้า แล้วลากขาของเข่าที่จรดพื้นตามไป แล้วทำเช่นข้างต้น ทำเช่นนี้สลับกันไปไม่หยุดชะงัก ส่วนการคลานถอยหลังใช้แบบเดินเข่า[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]๕. การแสดงความเคารพ[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑) [B][COLOR=#cc0000]การแสดงความเคารพระหว่างบุคคล[/COLOR][/B][COLOR=#000099] การแสดงความเคารพขณะยืนอยู่ทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ในกรณีที่แต่งเครื่องแบบและสวมหมวก ใช้วิธี[COLOR=#cc0000]วันทยาหัตถ์[/COLOR][COLOR=#000099] ถ้าไม่สวมหมวกใช้วิธี[COLOR=#cc0000]ก้มศีรษะ[/COLOR][COLOR=#000099] ในกรณีที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบแต่มีหมวกเฉพาะชายใช้การ[COLOR=#cc0000]เปิดหมวก[/COLOR][COLOR=#000099] ส่วนหญิงจะสวมหมวกหรือไม่ก็ตามใช้[COLOR=#cc0000]ไหว้[/COLOR][COLOR=#000099] โดยไม่ต้องถอดหมวก สำหรับชายถ้าจะไหว้ก็ควรถอดหมวกเสียก่อน หรือถ้าไม่ได้สวมหมวกก็ใช้การไหว้[/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การแสดงความเคารพเมื่อนั่งอยู่กับพื้น ถ้าผู้ที่จะเคารพเป็นผู้ที่มีอาวุโสพอสมควร ก็นั่งพับเพียบเก็บเท้ายกมือไหว้พร้อมกับน้อมตัวก้มศีรษะ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การแสดงความเคารพเมื่อนั่งเก้าอี้ ถ้าผู้ที่จะเคารพมีอาวุโสน้อย ก็หันไปไหว้ธรรมดา ถ้าผู้ที่จะเคารพมีอาวุโสมาก ก็หันไปน้อมตัวไหว้ ในกรณีที่ผู้ที่จะเคารพยังไม่ได้นั่งเก้าอี้ก็ให้เดินไปนั่งเก้าอี้ก่อนแล้วจึงไหว้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒) [B][COLOR=#cc0000]การถวายความเคารพพระมหากษัตริย์และพระมเหสี[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ตามประเพณีไทยแต่โบราณใช้การ[COLOR=#cc0000]ถวายบังคม [/COLOR][COLOR=#000099]ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทำได้ทั้งชายและหญิง แต่โอกาสที่หญิงจะถวายบังคมมีน้อย เพราะโดยมากใช้วิธีกราบ การถวายบังคมมีวิธีการ ดังนี้[/COLOR][/COLOR][/SIZE]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - นั่งคุกเข่ายกอก วางมือคว่ำบนหน้าขา สำหรับชายแยกเข่าออกเล็กน้อย สำหรับหญิงให้นั่งพองามนั่งบนส้นเท้าปลายเท้าตั้ง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ยกมือขึ้นประนมตรงระหว่างอก แล้วทอดมือที่ประณมนั้นไปข้างหน้าให้ปลายมือต่ำลงระดับท้องแต่ไม่ถึงห้อย พร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า แล้วยกปลายมือกลับขึ้นวนหัวแม่มือทั้งสองจรดหน้าผาก ลำตัวเฉพาะเหนือเอวเอนไปข้างหลัง ชายเอนมากกว่าหญิง เงยหน้าขึ้นให้ตาอยู่ระดับนิ้วหัวแม่มือระดับของลำตัว ในขณะมือจรดอยู่ในระดับจรดหน้าผาก จะต้องเอนเล็กน้อยไม่ใช่ตั้งตรง หรือแหงนแค่คอ ท่าเอนนี้ลำตัวจะโค้งเล็กน้อย ศอกจะถ่างออก[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ลดมือลงพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า ให้มือลงมาถึงระดับหน้าท้อง ปลายมือต่ำ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ยกปลายมือขึ้นในท่าประณม ปลายมือตั้งพร้อมกับเลื่อนมือขึ้นสูงระดับอก และยกตัวขึ้นตรง ทำเช่นนี้สามครั้ง แล้วเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่าหมอบ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การถวายบังคมนี้ ถวายความเคารพเฉพาะพระพักตร์ หรือระยะใกล้พระองค์พอสมควร เมื่อถวายบังคมตอนเสร็จผ่านแล้ว ตอนเสด็จผ่านอีกไม่ต้องกราบ แต่ควรอยู่ในอาการสุภาพ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]๖. การเข้าพบผู้ใหญ่ การส่งของและรับของ[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑) [B][COLOR=#cc0000]การเข้าพบผู้ใหญ่[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ถ้าผู้ใหญ่ยืนอยู่ให้ผู้เข้าพบเดินอย่างสุภาพเข้าไปใกล้พอสมควร อย่าให้ตรงหน้าผู้ใหญ่นัก ไหว้แล้วยืนสำรวมมือประสานกัน ถ้าผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้ให้เดินอย่างสุภาพ เมื่อใกล้ผู้ใหญ่ให้ไหว้ แล้วนั่งเก้าอี้ อย่านั่งตรงหน้าผู้ใหญ่ทีเดียว หรือจะเดินเข้าไปอย่างสุภาพไปนั่งเก้าอี้แล้วหันมาไหว้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การเข้าพบผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่กับพื้น ให้เดินเข้าไปอย่างสุภาพ เมื่อเข้าไปในระยะพอสมควร แล้วลงคลานลงมือเข้าไปใกล้ นั่งพับเพียบเก็บเท้า ถ้าเป็นผู้มีอาวุโสน้อยใช้ไหว้ แล้วนั่งแบบนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าเป็นผู้มีอาวุโสมากใช้กราบแล้วนั่งลงศอกหรือหมอบ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒) [B][COLOR=#cc0000]การส่งของให้ผู้ใหญ่[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เมื่อผู้ส่งของและผู้รับของนั่งบนเก้าอี้ด้วยกัน ผู้ส่งก็น้อมตัวส่งให้ด้วยมือขวา ถ้าของไม่หนัก ถ้าเป็นของหนักควรน้อมส่งให้ด้วยมือทั้งสอง ถ้าผู้รับนั่งอยู่บนเก้าอี้ ผู้ส่งเดินเข้ามายืนระยะห่างพอสมควร แล้วโน้มตัวส่งให้ แต่ถ้าผู้ใหญ่อาวุโสมาก ผู้ส่งอาจเข้าไปนั่งคุกเข่าส่งให้ การส่งของให้ผู้ใหญ่ที่นั่งกับพื้น ผู้ส่งควรเดินเข้าไปในระยะอันควร แล้วลงนั่งพับเพียบ หรือเดินเข้าไปใกล้พอสมควรแล้วคลานไปนั่งส่งของให้แล้วไหว้ หรือวางของลงก่อนแล้วไหว้ แล้วยกของส่งให้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓) [B][COLOR=#cc0000]การแจกของชำร่วย[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ตามปกติของชำร่วยจะวางไว้บนพานหรือถาด ผู้แจกจับภาชนะสองมือ ถ้าเป็นพานก็จับที่คอพาน แล้วยื่นพานให้ผู้รับแจกหยิบเอาเอง อย่าหยิบส่งให้ เว้นแต่แจกของชำร่วยในงานมงคลสมรส ซึ่งเจ้าบ่าวเป็นผู้ถือพานใส่ของชำร่วยตามแบบดังกล่าว และให้เจ้าสาวหยิบของชำร่วยให้ โดยย่อตัวลงเล็กน้อย หรือย่อลงเข่าข้างเดียว หรือนั่งลงเข่าทั้งสองข้าง หรือนั่งพับเพียบตามแต่ผู้รับจะนั่งอยู่บนเก้าอี้หรือพื้น หรือมีอาวุโสอย่างไร แล้วหยิบของชำร่วยส่งให้ผู้รับ[/COLOR][/SIZE][/COLOR] <CENTER>
    [IMG]http://203.144.136.10/service/mod/heritage/nation/tradition/tradition07.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔) [B][COLOR=#cc0000]การรับของจากพระสงฆ์[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ถ้าพระสงฆ์ยืนอยู่หรือนั่งในที่สูง ให้ผู้รับเดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม เมื่อได้ระยะพอสมควรให้ยืนตรง น้อมตัวลงไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองเข้าไปรับ พร้อมกับน้อมตัวลงเล็กน้อย สำหรับชายรับของจากมือของท่านได้ สำหรับหญิงให้แบมือทั้งสองชิดกัน คอยรับสิ่งของที่ท่านจะปล่อยลงมาในมือให้ เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของเล็ก นิยมน้อมตัวลงไหว้ พร้อมกับสิ่งของในมือ ถ้าสิ่งของนั้นใหญ่และหนักก็ไม่ต้องไหว้ รับแล้วค่อยหันตัวกลับเดินไปได้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าพระสงฆ์นั่งเก้าอี้ ให้ผู้รับเดินเข้าไปด้วยอาการสำรวม เมื่อเข้าไปใกล้พอสมควร ให้ยืนตรงแล้วนั่งคุกเข่าข้างซ้ายยันเข่าขวา น้อมตัวลงยกมือไหว้ ยื่นมือทั้งสองออกไปรับของเช่นที่กล่าวมาแล้ว เมื่อรับของแล้ว ถ้าของนั้นเล็ก ก็น้อมตัวลงไหว้พร้อมกับของนั้นอยู่ในมือ ถ้าเป็นของใหญ่และหนัก นิยมวางของนั้นไว้ข้างตัวด้านซ้ายมือ น้อมตัวลงไหว้ แล้วยกของนั้นด้วยมือทั้งสองประคองขึ้น ลุกขึ้นยืนหันหน้ากลับเดินไปได้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้น ให้เดินเข้าไปด้วยกิริยาสำรวม เมื่อใกล้อาสนที่พระสงฆ์นั่งอยู่พอสมควรนั่งคุกเข่าลงแล้วเดินเข่าหรือคลานเข้าไปจนได้ระยะรับของ แล้วนั่งคุกเข่าสำหรับชาย หรือนั่งพับเพียบสำหรับหญิง กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สามหน แล้วยื่นมือทั้งสองไปรับของ เมื่อรับของแล้วนิยมวางของนั้นไว้ข้างตัวด้านขวามือ กราบสามหน แล้วหยิบของนั้นด้วยมือทั้งสองประคอง เดินเข่าถอยหลังไปจนห่างพอสมควร แล้วลุกขึ้นยืนหันกลับเดินไปได้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕) [B][COLOR=#cc0000]การรับของพระราชทานจากผู้อื่นซึ่งเป็นประธานในงาน[/COLOR][/B][COLOR=#000099] โดยมากตั้งโต๊ะบูชาประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์เสมอ ผู้รับจึงถือเสมือนรับพระราชทานจากองค์พระมหากษัตริย์ เมื่อเข้าไปรับให้ถวายคำนับพระบรมฉายาลักษณ์ก่อน แล้วรับจากผู้มอบโดยไม่ต้องทำความเคารพผู้มอบ เวลารับควรนั่งย่อเข่าข้างหนึ่งรับ เมื่อรับแล้วผู้รับหันหน้าไปทางพระบรมฉายาลักษณ์ ถวายคำนับ เดินถอยหลังสามก้าว แล้วจึงกลับตัวเดินเข้าที่ ในการรับไม่ต้องทำ "เอางาน" แต่เมื่อรับแล้วต้องเชิญของเหมือนกับรับพระราชทานจากพระหัตถ์[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]๗. การเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑) [B][COLOR=#cc0000]การเข้าเฝ้าเมื่อเสด็จพระราชดำเนิน[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่าน จะเป็นโดยประทับยานพาหนะ หรือเสด็จพระราชดำเนินก็ตาม จะต้องถวายความเคารพในวิธีที่เหมาะสม จะเป็นยืนตรงถวายความเคารพตามเพศ วันทยาหัตถ์ กราบหรือไหว้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ ใช้ยืนตรงถวายคำนับ หรือวันทยาหัตถ์ หรือกราบ หรือไหว้ ตามความเหมาะสมของสถานที่ และการแต่งกาย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยลาดพระบาท นิยมการนั่งเฝ้า ฯ หรือยืนเฝ้าก็ได้ ให้อยู่ห่างจากลาดพระบาทพอสมควร ถ้ายืนเฝ้า ฯ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่านก็ถวายความเคารพตามเพศ ถ้านั่งเฝ้า ฯ เมื่อเสด็จ ฯ มาใกล้ผู้เฝ้า ฯ หมอบ ขณะเสด็จ ฯ ตรงตัวกราบ แล้วหมอบอยู่จนเสด็จ ฯ ผ่านไปแล้ว จึงลุกขึ้นนั่ง หรือจะเพียงกราบเมื่อเสด็จ ฯ ผ่านเท่านั้นก็ได้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒) [B][COLOR=#cc0000]การเฝ้า ฯ ในงานที่นั่งเก้าอี้หรือยืนเฝ้า ฯ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ผู้เฝ้า ฯ ลุกขึ้นหันหน้าไปทางพระองค์เมื่อเสด็จ ฯ ผ่านให้ถวายคำนับ ในขณะประทับอยู่ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการนั่งในงาน ที่เสด็จพระราชดำเนินที่กล่าวแล้ว ในกรณีที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ต้องยืนจนจบเพลงแล้วถวายคำนับ แล้วจึงนั่ง[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓) [B][COLOR=#cc0000]การเฝ้า ฯ ในที่รโหฐาน[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ควรเข้าเฝ้าตามประเพณีไทย คือ คลาน หมอบกราบ เพราะเป็นการเฝ้า ฯ ภายใน ไม่เป็นพิธีการ เมื่อจะเข้าเฝ้า ฯ ควรถอดรองเท้า โดยปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เข้าไปในที่เฝ้า ฯ กราบ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - คลานเข้าไปใกล้พระองค์ในระยะพอสมควร เฉลียงข้าง ไม่เฉพาะพระพักตร์ แล้วกราบ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - หมอบเฝ้า ฯ มือประณม ระหว่างหมอบนี้จะกราบบังคมทูล หรือฟังพระราชกระแส หรือถวายของแล้วแต่กรณี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เมื่อถวายบังคมลากลับ กราบ คลานถอยหลังมาระยะพอสมควร หรือจนสุดห้อง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เมื่อจะลุกขึ้นในห้องที่เฝ้า ฯ ต้องกราบอีกครั้งหนึ่ง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔) [B][COLOR=#cc0000]การเข้าเฝ้ารับพระราชทานของ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] การเข้ารับพระราชทานของเป็นพิธีการใช้เดินย่อตัวรับพระราชทาน สำหรับแบบไทยหรือในพระราชสำนัก หรือการเข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานโดยไม่เป็นพิธีการ ควรคลานและหมอบ ดังนี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [COLOR=#cc0000]การเฝ้า ฯ รับพระราชทานของและเป็นพิธีการ[/COLOR][COLOR=#000099] มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ถวายคำนับตามเพศ แล้วเดินเข้าไปใกล้ พอสมควร[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ถวายคำนับตามเพศ แล้วย่อเข่าซ้ายลงตั้งเข่าขวา[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - [COLOR=#cc0000]เอางาน[/COLOR] (การเอางานเป็นการกระทำที่แสดงการถวายความเคารพ วิธีทำคือยกมือขวาขึ้นไปข้างหน้า ให้เฉียงจากตัว ประมาณ ๔๕ องศา ปลายมือตรง นิ้วมือชิดกัน แล้วกระดกปลายมือขึ้น แล้วกลับที่เดิมเร็ว ๆ หนึ่งครั้ง ระวังอย่าให้ส่วนที่ยกขึ้นเลยข้อมือไป เวลาทำเอางาน เมื่อรับพระราชทานของไม่ใช่พอกระดกมือขึ้น แล้วก็ช้อนมือลงในลักษณะหงายมือ เพื่อรับของพระราชทานทีเดียว ต้องลดปลายมือลงเสียก่อน แล้วจึงช้อนมือ หรือแบมือรับพระราชทาน)[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - รับพระราชทานของ ถ้าเป็นของเล็กน้อย รับด้วยมือขวา ถ้าเป็นของใหญ่ รับด้วยมือทั้งสองข้างโดยยกขึ้นเกือบจะพร้อมกับมือที่เอางาน[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ลุกขึ้นยืน แล้วเดินถอยหลังครึ่งก้าวหรือหนึ่งก้าว แล้วถวายคำนับ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เดินถอยหลัง ประมาณสามก้าว แล้วถวายคำนับ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เดินตามปกติ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การเข้าเฝ้า ฯ รับของพระราชทานของตามประเพณีไทย มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - กราบ แล้วคลานมือเข้าไปใกล้พระองค์ ระยะพอรับของได้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - กราบ เอางาน รับพระราชทานของ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - คลาน ถอยหลัง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕) [B][COLOR=#cc0000] การเข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายของแบบพิธีการ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ถวายคำนับ แล้วเดินเข้าใกล้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ถวายคำนับ แล้วย่อเข่าซ้าย ตั้งเข่าขวา[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ทูลเกล้า ฯ ถวาย โดยยกพานที่คอด้วยมือทั้งสองข้าง และน้อมตัวเล็กน้อย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ลุกขึ้นถอยหลังครึ่งก้าวหรือเต็มก้าว แล้วถวายคำนับ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ถอยหลังประมาณ สามก้าว แล้วถวายคำนับ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เดินตามปกติ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖) [B][COLOR=#cc0000]การเข้าเฝ้า ฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียน[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ใช้ในกรณีทูลลาอุปสมบท ลาไปต่างประเทศ ธูปเทียนใช้ธูปเทียนแพขนาดกลางขึ้นไป การจัดให้ธูปไว้บน เทียนไว้ล่าง บนแพธูปเทียนวางกระทงดอกไม้ซึ่งมีกรวยปิด ทั้งหมดนี้วางบนพานที่มีไม้แผ่นรองวางอยู่ เวลายกพานหรือวางพานให้ปลายธูปเทียนอยู่ทางด้านซ้ายมือของผู้ถือ การเข้าเฝ้า ฯ เช่นนี้ส่วนมากทำให้ที่รโหฐาน มีลำดับการปฏิบัติดังนี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เมื่อเข้าไปในห้องเฝ้า ฯ อย่าสวมรองเท้า วางพานไปข้างตัว แล้วกราบ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ถือพานเดินเข้าไประยะพอสมควรแล้วเปลี่ยนเป็นคลาน[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เมื่อคลานเข้าใกล้พอสมควรแล้ววางพานลงข้างตัว แล้วกราบ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ยกพานวางบนโต๊ะ หรือบนพื้นเบื้องหน้าให้ตัวตรง ห่างตัวพอกราบได้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เปิดกรวยกระทงดอกไม้ แล้วกราบให้ตรงกับพานดอกไม้ แล้วหมอบประณมมือ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ถ้าพระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อจบกราบครั้งหนึ่ง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - เมื่อกลับ กราบแล้วคลานถอยหลัง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ก่อนจะออกจากห้องเฝ้า ฯ กราบอีกครั้งหนึ่ง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗) [B][COLOR=#cc0000]การกราบถวายบังคมลาถึงแก่กรรม[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร หรือพระสงฆ์ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป เมื่อถึงแก่กรรม สมควรที่จะมีการนำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายบังคมลา พร้อมกับแจ้งการถึงแก่กรรม ต่อสำนักพระราชวัง ในการนี้เจ้าภาพหรือทายาทของผู้ถึงแก่กรรมจะต้องนำสิ่งของเหล่านี้ไปคือ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - ดอกไม้กระทง ธูปไม้ระกำหนึ่งดอก เทียนขี้ผึ้งหนึ่งเล่ม[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] - หนังสือกราบถวายบังคมลา ซึ่งมีข้อความว่า[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] "ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้า ฯ ดอกไม้ธูปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า.......... ข้าราชการสังกัดกระทรวง......... อายุ.......... ปี กราบถวายบังคมลาถึง ........... (แก่กรรมหรืออย่างอื่นตามฐานันดรศักดิ์ ของผู้ถึงแก่กรรม) ด้วยโรค............. ที่ ............... เมื่อวันที่.......... เวลา..........น.[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ"[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] สิ่งเหล่านี้วางบนพาน แล้วนำไปวางที่พระบรมฉายาทิสลักษณ์ที่สำนักพระราชวัง แล้วผู้นำเข้าไปก็ถวายความเคารพเป็นเสร็จการ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]ข้อปฏิบัติในการจัดพิธี[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] งานพิธีต่าง ๆ ตามประเพณีไทย จะมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ และจะมีพิธีอื่นเช่น พิธีโหร พิธีพราหมณ์ หรือพิธีที่ประชาชนในท้องถิ่นยึดถือ เป็นส่วนประกอบตามความประสงค์ของผู้จัดพิธีนั้น[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าเป็นงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นประธานแห่งพิธีนั้น บางครั้งบางงานก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรี หรือข้าราชบริพารผู้ใหญ่ทรงเป็นประธาน หรือเป็นประธานของพิธีนั้นแทนพระองค์[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าเป็นพิธีของราชการ หัวหน้าส่วนราชการนั้นก็จะเป็นประธานของพิธี ถ้าเป็นคณะบุคคล ประธาน หัวหน้า ผู้นำ หรือนายกของคณะบุคคลนั้น ก็จะเป็นประธานในพิธี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าเป็นพิธีของครอบครัว หัวหน้าครอบครัวก็จะเป็นประธานของพิธี หรืออาจเรียกว่าเจ้าภาพ และถ้าเป็นพิธีส่วนบุคคลเจ้าของผู้จัดให้มีพิธีนั้นก็เป็นเจ้าภาพ[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://203.144.136.10/service/mod/heritage/nation/tradition/tradition08.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]การจัดตั้งที่บูชาในพิธี[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ถ้าเป็นงานพิธีของส่วนรวม พระราชพิธี รัฐพิธี หรือพิธีของส่วนราชการต่าง ๆ จะมีการจัดตั้ง ธงชาติไทย โต๊ะหมู่บูชา และพระบรมฉายาลักษณ์ด้วย เนื่องจากประชาชนชาวไทยมีสถาบันหลักทั้งสาม คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพเทอดทูน เวลามีงานพิธีจึงเชิญสัญญลักษณ์ทั้งสามมาประดิษฐานในที่บูชาด้วย[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การจัดตั้ง ธงชาติ โต๊หมู่บูชา พระพุทธรูป และพระบรมฉายาลักษณ์ ควรตั้งบนยกพื้นเบื้องหน้า และอยู่ตรงกลางของที่ประชุม ถ้างานนั้นมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ด้วย ก็ควรตั้งทางขวาสุดของแถวอาสนสงฆ์ที่นิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์ และตั้งเป็นลำดับเดียวกัน คือ ธงชาติอยู่ทางขวาสุด ถัดมาเป็นโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปอยู่กลาง และพระบรมฉายาลักษณ์อยู่ทางซ้ายถัดจากโต๊ะหมู่บูชา[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://203.144.136.10/service/mod/heritage/nation/tradition/tradition09.jpg[/IMG]</CENTER>[FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในเวลาเริ่มพิธี ประธานในพิธีต้องแสดงความเคารพสิ่งทั้งสามนั้นด้วย คือ กราบพระพุทธรูปที่โต๊ะบูชา คำนับธงชาติ และถวายคำนับพระบรมฉายาลักษณ์ ตามลำดับ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในงานพิธีต่าง ๆ มักจะตั้งที่ทรงกราบด้วย ที่ทรงกราบนี้ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรส นอกนั้นไม่ควรใช้ ควรปูพรมหรือผ้าขาว สำหรับให้ประธานในพิธีนั่งกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ จะเหมาะสมที่สุด[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ถ้าเป็นงานรัฐพิธีและมีการตั้งเก้าอี้รับแขก ก็อนุโลมให้ใช้ที่กราบหรือหมอนกราบก็ได้ การกราบบนที่กราบ หรือหมอนกราบนี้ ถือว่าเป็นการกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ด้วย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ข้อปฏิบัติในพิธีต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามประเพณีบางประการ มีดังนี้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑) เมื่อประธานในพิธีเริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมในพิธีถ้านั่งเก้าอี้ให้ทุกคนยืนขึ้นประณมมือ ถ้านั่งกับพื้น สถานที่ไม่สะดวกในการยืนก็ไม่ต้องยืน พึงนั่งประณมมือโดยพร้อมเพรียงกัน[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒) ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียน ข้าราชบริพารในพิธีมงคล พึงยืนอย่างเดียว ไม่ต้องประณมมือ เพราะเป็นผู้เข้าเฝ้าโดยถือว่าเป็นพระราชกุศลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ ผู้อื่นเพียงแต่ทำความเคารพพระองค์เท่านั้น[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ส่วนชาวบ้านทั่ว ๆ ไปในการเช่นนี้ ควรประณมมือโดยตลอด[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓) การจุดเทียนน้ำมนต์ในขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพควรจุดตอนพระสงฆ์เริ่มสวดมงคลสูตร (อเสวนา จ พา ลานํ ฯลฯ ) พิธีกรต้องเตรียมจุดเทียนชะนวนไว้ตอนพระสวด นโมแปดบท การดับเทียนชะนวนไม่ควรใช้การเป่าดับ ควรใช้วิธีอื่นเช่นมือ กระดาษ หรือใช้วิธีเอาปลายเทียนคว่ำลงแล้วใช้มือดับ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ธูปเทียนที่โต๊ะบูชานั้น ใช้เทียนสองเล่ม ธูปสามดอก และต้องจุดเทียนเล่มทางขวาของพระพุทธรูป แล้วจึงจุดเล่มซ้าย จากนั้นจึงจุดธูปสามดอก ปักไว้ในกระถางธูปตามลำดับ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔) ในพิธีมงคลสมรส มีพิธีหลั่งน้ำ ประธานในพิธีนำคู่บ่าวสาวไปกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะบูชา แล้วจึงนำคู่บ่าวสาวมายังที่หลั่งหรือรดน้ำ พิธีกรรมที่ประธานในพิธีต้องปฏิบัติตอนนี้คือ สวมพวงมาลัย สวมมงคลคู่ หลั่งน้ำสังข์ และเจิมหน้าคู่บ่าวสาวตามลำดับ การเจิมหน้าควรเจิมด้วยนิ้วชี้ตามแบบของสำนักพระราชวัง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕) ในงานอวมงคลทำบุญหน้าศพ ถ้ามีเครื่องทองน้อย (ประกอบด้วยกรวยดอกไม้สามที่ธูปหนึ่งเทียนหนึ่ง) ถ้าเจ้าภาพจะบูชาศพให้หันดอกไม้เข้าหาศพ ถ้าจะให้ศพบูชาพระให้หันดอกไม้ออกไปทางพระ เวลาจุด จุดพร้อมกัน โดยจุดบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจึงจุดบูชาศพทีหลัง จุดธูปเทียนบูชาศพใช้ธูปเทียนอย่างละหนึ่งเท่านั้น[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖) พระสงฆ์ที่ถวายศีลเทศน์บนธรรมมาสน์ในพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีต่าง ๆ ที่มีเทศน์ ให้ใช้พัดรอง ไม่ต้องใช้พัดยศ แต่ถ้าถวายศีลนอกธรรมมาสน์ต้องใช้พัดยศ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗) การกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนกุศลในพิธีต่าง ๆ ด้วย ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วย วิธีที่นิยมคือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาด ใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณฑีขวดเล็ก แก้วน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาด้วยบท ยถา ฯลฯ ก็เริ่มกรวดน้ำโดยตั้งใจนึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับภาชนะน้ำรินใช้มือซ้ายประคอง แล้วว่าบทกรวดน้ำในใจจนจบพร้อมกับพระว่า ยถา ฯลฯ จบ พอพระสงฆ์รับ สพฺพี ฯลฯ ก็วางแก้วน้ำ ประณมมือรับพรด้วยความเคารพ การหลั่งน้ำกรวด ถ้าเป็นพื้นดิน ควรหลั่งลงบนพื้นที่สะอาดหมดจด ถ้าอยู่บนเรือหรือสถานที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควร เช่นถาดหรือขัน รองรับน้ำที่กรวดเสร็จแล้วจึงนำไปเทลงบนดินที่สะอาด อย่าใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองเป็นอันขาด เพราะน้ำที่กรวดเป็นสักขีพยานในการทำบุญของตนว่า ทำด้วยใจใสสะอาด[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...