การเจริญกายคตาสติ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 10 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=FGtWpiaCWz8&feature=plcp&context=C3f2518cUDOEgsToPDskL7RV4_jL3wAXvZO2cuiigk]พุทธวจนบรรยาย ณ ปูนซีเมนต์นครหลวง - YouTube[/ame]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง
    หายใจเข้าว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า“เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่
    หายใจเข้า”,ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำรินั้นได้จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    (ความดำริในที่นี้หมายความว่าดำริที่น้อมไปในทางกาม เจริญกายค
    ตาสติ มีแต่ที่จะให้น้อมไปในทางเนกขัมม).เนกขัมมแปลว่าออกจากกาม
    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดินหรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอนอยู่ เธอตั้งกายไว้ด้วย
    อาการอย่างใดๆ ย่อมรู้ทั่วถึงกายนั้น ด้วยอาการอย่างนั้นๆ.เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ย่อมละความดำริที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำรินั้นได้จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกภิกษุย่อมเป็นผู้มีปกติ ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการก้าวไปข้างหน้า ในการถอยกลับข้างหลัง.เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการแลดู ในการเหลียวดู เป็นผู้มีปกติความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการคู้ ในการเหยียด(อวัยวะ).เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการทรงสังฆาฏิ บาตร จีวรเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการกิน การดื่ม การเคี้ยวการลิ้ม เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการไป การหยุดการนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ย่อมละความดำริที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำรินั้นได้จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลายประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้แล จากพื้นเท้าขึ้นไปสู่เบื้องบน จากปลายผมลงมาในเบื้องต่ำอันมีหนังหุ้ม อยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่า
    ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะอุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง
    น้ำลาย น้ำเมือก น้ำหล่อข้อ น้ำมูตรดังนี้;ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนกับไถ้มีปากสองข้าง เต็มไปด้วยธัญญพืชมีอย่างต่างๆคือ ข้าว สาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา ข้าวสาร.บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้ว พิจารณาเห็นได้ว่า พวกนี้ข้าวสาลีพวกนี้ข้าวเปลือก พวกนี้ถั่วเขียว พวกนี้ถั่วราชมาส พวกนี้งา พวกนี้ข้าวสารฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแลภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้แล จากพื้นเท้าขึ้นไปสู่เบื้องบน จากปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ อันมีหนังหุ้ม อยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของไม่
    สะอาดมีประการต่างๆว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต
    เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำหล่อข้อ น้ำมูตรเมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ย่อมละความดำริที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำรินั้นได้
    จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกภิกษุย่อม พิจารณาเห็นกายอันตั้งอยู่ดำรงอยู่ ตามปกตินี้แล โดยความเป็นธาตุ ว่า“ในกายนี้ มีปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ)
    วาโยธาตุ(ธาตุลม)” ดังนี้; เช่นเดียวกับคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งออกเป็นส่วนๆ ที่หนทางสี่แยกฉันใดดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อม พิจารณาเห็น
    กายอันตั้งอยู่ดำรงอยู่ ตามปกตินี้แล โดยความเป็นธาตุ ว่า “ในกายนี้ มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ”เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ย่อมละความดำริที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำรินั้นได้จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกภิกษุพึง เห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง ตายแล้วสองวันบ้างตายแล้วสามวันบ้างกำลังขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีหนองไหลน่าเกลียด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้.
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ย่อมละความดำริที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำรินั้นได้จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกภิกษุพึง เห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ อันฝูงกาบ้าง เจาะกินอยู่, อันฝูงนกตะกรุมบ้าง จิกกินอยู่, อันฝูงแร้งบ้าง เจาะกินอยู่, อัยฝูงสุนัขบ้าง
    กัดกินอยู่, อันฝูงสุนัขจิ้งจอกบ้าง กัดกินอยู่, อันหมู่หนอนต่างชนิดบ้าง บ่อนกินอยู่ ฉันใด, เธอก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วง
    พ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้.
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ย่อมละความดำริที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำรินั้นได้จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๖๒/๔๑๓หัวข้อที่ ๒๙๒- ๓๐๖
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2012

แชร์หน้านี้

Loading...