การเกิดดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 16 มีนาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ในการเป็นกลุ่ม ของนามรูป......................กล่าวคือ

    อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น อันใด อุปาทานขันธ์ ๕ อันนั้น

    เป็นนามรูปนี้ ฯ ในนามรูปนั้น
    ................................
    .

    ธรรมใดมีผัสสะเป็นที่ ๕
    .............
    ธรรมนี้ เป็นนาม.

    รูปอินทีย์ ๕ อันใด
    ................
    อินทรีย์ ๕ นี้ เป็นรูป.

    นามและรูป ทั้ง ๒ นั้น

    ชื่อว่า นามรูป ซึ่งเกิดพร้อมกับวิญญาณ ฯ



    .



    ท่านอชิตะ เมื่อจะถาม ความเกิดดับของนามและรูป

    ที่เป็นไปกับปัญญาและสตินั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า

    จึงกล่าวอย่างนี้ในปารายนวรรค ว่า
    .........................


    "ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และ นาม รูป

    ธรรมทั้งหมดนี้ ย่อมดับไป ณ ที่ไหน
    ..................
    .?

    พระองค์
    ......................
    อันข้าพระองค์ ทูลถามแล้ว

    ขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้ แก่ข้าพระองค์เถิด" ฯ


    .


    ในคาถานั้น สติ และ ปัญญา จัดเป็น อินทรีย์ ๔ คือ

    สตินทรีย์ ๒
    ...........ได้แก่ สตินทรีย์ และ สมาธินทรีย์

    ปัญญินทรีย์ ๒
    ....
    ได้แก่ ปัญญินทรีย์ และ วิริยินทรีย์ ฯ


    ( ในวิจัยนี้ ท่านประสงค์เอาการละปริยุฏฐาน และการถอนอนุสัย

    จึงกล่าว่า สมาธินทรีย์ อาศัยสตินทรีย์ จึงสำเร็จการละปริยุฏฐาน

    ปัญญินทรีย์...................อาศัย สัมมัปปธาน ๔ จึงสำเร็จการละ

    คือ ถอนอนุสัยได้เท่านั้น เป็นเหตุ ฯ......................................

    อีกอย่างหนึ่ง............สติ ๒ คือ เป็นโลกียะ และ โลกุตตระ ฯ)



    .


    "สัทธามั่นคง"
    .......
    ซึ่งสัมปยุตในอินทรีย์ ๔ เหล่านี้

    ให้สำเร็จอยู่ในบุพพภาค หรือ ในขณะแห่งมรรคใด

    ธรรมชาตินี้
    .................................
    เป็น "สัทธินทรีย์"

    ในอินทรีย์ อันมี "สตินทรีย์" เป็นต้น เหล่านั้น ฯ



    .


    ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศ เพราะมีสัทธา เป็นอธิบดี อันใด

    นี้เป็น ฉันทสมาธิ
    .................................................................


    เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะความเป็น คือ การข่มกิเลสทั้งหลาย

    ด้วยกำลัง คือ การบริกรรม หรือ ด้วยกำลัง คือ ภาวนา

    นี้เป็นเหตุละ ฯ
    ..................................................................
    .


    เมื่อจิตตุบาทนั้นตั้งมั่นแล้ว ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ วิตก วิจาร

    สัญญา เวทนา การระลึก และการตรึกอันใด
    ........................

    ..................................................ธรรมเหล่านี้ เป็นสังขาร ฯ


    .


    ฉันทสมาธิ อันมีในกาลก่อน และสังขารเหล่านี้ เป็นเหตุละ

    ญาณทั้ง ๒ นั้น
    .............
    ย่อมยังอิทธิบาท อันประกอบด้วย

    ฉันทสมาธิปธานสังขาร

    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อสละ

    ให้เกิดขึ้น ฯ ในการเจริญ ฉันทิทธิบาท นั้น
    ..................
    .


    .


    ความที่จิตมีอารมณ์อันเลิศ เพราะวิริยาธิปติ อันใด

    นี้เป็น วิริยสมาธิ
    ............................................
    ฯลฯ

    ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศ เพราะจิตตาธิปติ อันใด

    นี้เป็น จิตตสมาธิ
    .............................................
    ฯลฯ


    ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศ เพราะ วิมังสาธิปติ อันใด

    อันนี้ เป็นวิมังสาสมาธิ.
    .......................................ฯลฯ


    .


    ความที่จิตตั้งมั่นแล้ว
    เพราะความเป็น คือ การข่มกิเลสทั้งหลาย

    ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา
    ..............
    คือ กำลังแห่งการบริกรรม

    หรือ
    .....
    ด้วยกำลังแห่งภาวนา นี้ชื่อว่า ปาหานะ ( คือ การละ) ฯ


    .


    ในการละนั้น ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ วิตก วิจาร สัญญา เวทนา

    การระลึก การตรึก อันใด
    .......
    ธรรม เหล่านั้น เป็นสังขาร ฯ

    ด้วยประการฉะนี้ สมาธิจิตอันมีในกาลก่อน และวีมังสาสมาธิ

    ย่อมยัง อิทธบาท อันประกอบด้วย วีมังสาสมาธิปธานสังขาร

    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ น้อมไปเพื่อการสละ
    ....
    ให้เกิด ฯ


    .


    สมาธิทั้งปวง คือ สมาธิ ๔ ได้แก่

    ฉันทสมาธิ วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ วีมังสาสมาธิ

    เป็นมูลแห่งปัญญาในส่วนเบื้องต้น เป็นเครื่องบรรลุ

    และเป็นไปในภายหลัง ในการพิจารณา คือ
    ............

    สมาธิในกาลก่อน ฉันใด สมาธิในภายหลัง ก็ฉันนั้น.


    ฯลฯ


    .


    เมื่อเป็นไปแล้ว ด้วยจิตอันเปิดเผย

    ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องปกปิดอย่างนี้

    ย่อมยัง มรรคจิต
    ...........
    (สปฺปภาสํ)

    อันสัมปยุตด้วยอิทธิบาท ให้เกิดขึ้น.


    .


    กุศล ที่เป็นอินทรีย์ ๕
    ..........
    ซึ่งเกิดพร้อมกับมรรคจิต

    เมื่อจิตเกิด ก็ย่อมเกิด
    ...............
    เมื่อจิตดับ ก็ย่อมดับ ฯ

    นาม และ รูป ที่เกิดเพราะวิญญาณ เป็นเหตุเป็นปัจจัย


    นามรูปนั้น ก็ย่อมดับ เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ ฯ


    .


    เหตุ คือ ตัณหาเป็นต้นแห่งวิญญาณนั้น อันมรรคเข้าไปตัดขาดแล้ว

    วิญญาณนั้น ก็ไม่มีอาหาร (ไม่มีปัจจัย) ไม่มีเหตุให้ยินดี ไม่มีปฏิสนธิ

    ย่อมดับไป ฯ
    ................................................................................ .


    .


    ปัญญา สติ นาม รูป
    ...........
    ย่อมดับไป

    เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ อย่างนี้.


    .


    เพราะเหตุนั้น

    พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสว่า


    "ดูกรอชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ถามแล้วแก่ท่าน

    นาม และ รูป ย่อมดับไปไม่มีเหลือ ณ ที่ใด

    สติ และ ปัญญา นี้
    ...........ย่อมดับไป ณ ที่นั้น

    เพราะการดับแห่งวิญญาณ"
    ..............
    ดังนี้ ฯ
     
  2. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    โมทนาสาธุคะ การเกิดดับ ในการปฏิบัตินั้นเราควรอธิษฐานขอให้มีอาการดับบ่อยขึ้นไป จนถึงนานครั่งละ 5 นาที จนถึง 1 ชั่วโมง เป็นการฝึกในสติปัฏฐาน 4 จนจิตมีความคุ้นเคยดี ในชีวิตประจำวันถ้าหากเราเจอเรื่องราวอะไรมากระทบนั้นจิตเกิดอาการดับ ซึ่งเป็นการตัดภพตัดชาติได้ ว่ากันว่า การกำหนดได้ยินหนอ ได้ยินหนอเวลาใครมาด่าว่าเรา แล้วจิตเราดับ คือไม่เกิดความโกรธ ว่ากันว่าสามารถตัดภพตัดชาติได้ถึงเจ็ดชาติ คือ กับคนที่มาด่าเรา ก็จะไม่มาเจอะเจอได้ด่ากันอีกในชาติต่อไป เป็นการไม่ต่อภพต่อชาติ ตัดขาดกันไปเลย การดับนั้นมีอานิสงค์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้าน หู ตา ลิ้น จมูก กาย ใจ เหมือนกับเราปิดประตูกั้นกิเลสทั้งหลาย ให้ดับไปไม่มึอะไรสามารถมากระทบเราได้
     
  3. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    การเกิดดับใกล้ๆตัว แก้วน้ำบนหิ้งพระ เทียน ธูป ลมหายใจ ทั้งภายในภายนอก งัยครับ ผมใส่น้ำไว้ เต็มแก้ว พอตกเย็นมา อ้าวหายหรือน้อยลง ไม่เห็นคงที่เลย เทียนก็เหมือนกัน ธูปก็เหมือนกัน ลมหายใจก็เหมือนกัน ลมที่ประทะกับตัวก็เหมือนกัน
     
  4. humanbeing

    humanbeing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +214
    ขอบคุณค่ะ ไว้ค่อยมาทำความเข้าใจอีกที
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    oo
     

แชร์หน้านี้

Loading...