การรักษาอารมณ์ใจให้ทรงสมาธิได้ตลอด

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 8 กรกฎาคม 2008.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,177
    ถาม : ถ้าเรื่องการพิจารณานี่ก็คือว่า เวลาดำรงชีวิตประจำวันนี่ บางครั้งพอเจอเหตุการณ์เจอเรื่องราวอะไรแล้วทำให้ฉุกคิดขึ้นมาได้ แบบว่าพอคิดแล้วก็จะรู้สึกว่าคิดได้อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่พอไปทำอย่างอื่นพอผ่านเวลาผ่านไปวันต่อๆ มาก็เละ ?

    ตอบ : นี่จิตของเรามันไม่ได้มุ่งอยู่เฉพาะเรื่องเดียว ฉะนั้นปกติของมันจะเป็นอย่างนั้น ยกเว้นว่าเราตั้งหน้าตั้งตาจะทำจริงๆ อันนั้นจิตของเราต้องมุ่งอยู่เฉพาะเรื่องเดียวแล้วก็พิจารณามันให้ต่อเนื่องไปเลย ถ้าไม่อย่างนั้นทุกคนจะประสบปัญหาเหมือนกันก็คืออยู่ได้พักหนึ่ง พอกระทบเข้ารู้สึกตัวแล้วก็นึกขึ้นมาได้ พิจารณาได้พอพ้นจากเหตุการณ์เฉพาะหน้าไม่มีปัจจัยมากระตุ้นก็ลืม

    เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วการดำนินชีวิตของฆราวาสมันอยู่ในลักษณะนี้ได้ถือว่าดีแล้ว คืออย่างน้อยๆ มีเวลาคิดได้บ้าง ถ้าหากว่าต้องการเอาผลการปฏิบัติจริงๆ ต้องพยายามรักษาอารมณ์ใจให้มันต่อเนื่องยาวนานออกไปอย่าทำๆ ทิ้งๆ

    ถาม : เรื่องสมาธิก็คือเวลาเข้าสมาธิก็จับสามฐาน สามจุดก็คือปลายจมูกที่อกแล้วก็อยู่ในท้อง ทีนี้ตรงปลายจมูกนี่จะรับ....(ไม่ชัด)....รู้สึกแค่ลมกระทบจมูกแล้วก็ตรงนี่มันไม่มี ?

    ตอบ : ไล่ตามดูไปเฉยๆ ก่อน ตามนึกรู้ตามไปว่ามันหายใจเข้าไปทางไหน แรกๆ ถ้าจิตยังหยาบอยู่ ข้างในที่มันตกกระทบแถวอกแถวท้องนี่มันยังไม่ค่อยรู้สึก พอจิตมันละเอียดขึ้นมันจะจับความรู้สึกนั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ต้องใช้ความพยายามอยู่ระยะหนึ่งทำต่อไปเถอะ ถ้าหากว่า่มันไม่เอาจริงๆ เอาแค่ปลายจมูกอย่างเดียวก็ได้

    ถ้าหากว่าในวิสุทธิมรรค เขาบอกว่าเหมือนกับคนเลี้ยงวัวไปถึงก็เฝ้าปากประตูไว้ตอนเช้าๆ ก่อนจะปล่อยวัวออกไปหากิน เฝ้าปากประตูไว้แล้วไล่นับ ๑,๒,๓,๔,๕ วัวเรามีกี่ตัวเรารู้อยู่่ตลอด เอาจุดเดียวก็ได้ คือลักษณะบอกว่าใช้จับสัมผัสมัน มันจะมีแบบไม่เอาจุดเลย รู้ตลอดไปเลยก็ได้ เขาเรียกแบบไม่เอาสัมผัส เสร็จแล้วจะรู้ฐานเดียว สามฐาน เจ็ดฐานอะไรแล้วแต่เรา

    ถาม : คือที่ทำสามฐานก็ทำตามคำแนะนำ เพื่อที่จะได้ได้ความรู้พิเศษเพื่อจะเอามาใช้เป็นประโยชน์ในการที่จะพิจารณาหรือเอาไว้ช่วยเหลือคนที่จะให้เขาคิดได้ ?

    ตอบ : นั่นมันจุดมุ่งหมายของเรา คือเราตั้งใจไว้ว่าเราจะเอาผลไปทำอะไรอันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตน แต่ว่าวิธีการทำที่ดีที่สุดก็คือ พยายามทำให้มันต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ถ้าหากว่ามีการขาดช่วงขึ้นมา มันถึงเวลาเท่ากับเราเปิดช่องให้กิเลสมันตีกลับ ถ้ากิเลสมันตีกลับนี่บางทีมันรุนแรงกว่าปกติทั่วๆ ไป แล้วเอาคืนได้ยาก

    ถาม : รู้สึกคนที่ไม่ได้ปฏิบัตินี่เหมือนกับว่า ...(ไม่ชัด)...ถ้าสมมติว่าคนที่พยายามตั้งใจทำแล้วปล่อยให้กิเลสมันตีกลับ มันจะตีกลับ ?

    ตอบ : ก็แรงกว่าปกติ ลักษณะมันเหมือนกับว่าเราโดนขังคุกอยู่ เรายอมอยู่ภายในโดยสงบเสงี่ยมเจียมตนไม่มีการดิ้นรนไม่มีการต่อสู้มันก็รู้สึกสบายๆ แต่ถ้าเราคิดจะดิ้นรนหาทางออกมันก็เหมือนกับว่าผู้คุมเขาคอยระวังเราอยู่ ถ้าเรายังดื้อมากเขาเฆี่ยนเอาตีเอานี่มันจะเป็นมากเลยช่วงต่อสู้

    ถาม : สุดท้ายแล้วจะขอคำแนะนำครับ คือตอนนี้ก็พยายามรักษาศีลเป็นประการแรก แล้วก็สมาธินี่ทำยังน้อยอยู่ แล้วก็คิดว่าต้องทำเป็นประการที่สอง แล้วก็เวลาดำรงชีวิตประจำวันบางทีมีเหตุการณ์อะไรก็จะคิดจะพิจารณา ทำอยู่ ๓ อย่างมีสิ่งที่จะต้องเพิ่มเติม ...?

    ตอบ : ถ้าจะให้เพิ่มเติมคือเพิ่มเติมตัวพิจารณา พยายามให้เห็นว่าทุกสิ่งที่เราพบที่เราเห็นมันมีความสุขหรือมีความทุกข์ พยายามดูให้เห็นว่ามันมีแต่ความทุกข์ทั้งสิ้น ที่เราว่าสุขก็คือมันทุกข์น้อย ไม่ต้องเอาอะไรมากหรอก แค่ไปดูคนที่ป้ายรถเมล์ก็พอแล้ว แต่ละคนดูมันทำหน้าเข้าสิมีใครทำหน้ามีความสุขบ้าง บางคนนี่ดูนาฬิกาแล้วดูนาฬิกาอีก ชะโงกแล้วชะโงกอีก เมื่อไหร่มันจะมาซะทีหนึ่ง มันมาแต่คันที่เราไม่ได้รอ คันที่เรารอมันไม่มาซะทีจะเป็นอย่างนั้น ดูเขาดูสีหน้าเขาก็รู้แล้วเขาแบกทุกข์ไว้เต็มที่เลย เต็มไปด้วยความเร่าร้อนกระวนกระวาย

    ฉะนั้นพยายามให้เห็นมันตลอด อยู่บนรถเมล์ก็เหมือนกันทุกคนต้องตะเกียกตะกายไปทำงานเพื่อที่จะได้เงินมาเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเองและครอบครัว คนที่จะต้องรีบไปตั้งแต่เช้าตรู่ขณะนั้นถึงเวลาเหนื่อยทั้งวัน กลับมาพักผ่อนได้ไม่ทันจะเต็มที่ก็ถึงเวลาที่จะไปใหม่อีกแล้ว แต่ละคนนี่เขามีสุขหรือมีทุกข์ พยายามดูให้เห็นความจริงตรงนี้ ให้ใจมันยอมรับให้ได้ ถ้าใจมันยอมรับแล้วต่อไปสบาย ถ้ามันไม่ยอมรับก็พยายามหน่อย แรกๆ มันก็เป็นแค่สัญญาคือความจำ พอนานๆ ไปมันยอมรับได้ก็เป็นปัญญา พยายามเพิ่มตรงจุดนี้แหละจุดการพิจารณา

    ตัวสมาธิถ้าหากว่าไม่มีเวลาจริงๆ อาศัยว่าพอเราทำในช่วงระยะที่เรามีเวลานั่ง พออารมณ์ใจมันทรงตัวได้ในระดับไหนถึงเวลาเลิกไปลุกไปจากที่นั้น รักษาอารมณ์นั้นให้อยู่กับเราให้นานที่สุด ประคับประคองให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเพื่อที่เราจะได้มีความสุขอยู่เย็นได้อย่างที่เราต้องการ ถ้าสมาธิมันคลายตัวเดี๋ยวพวกรัก โลภ โกรธ หลงมันเข้ามาพาเราฟุ้งซ่าน




    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ




    .
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...