การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม เขียนเองโดย telwada

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 27 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การยึดติด ในอัตตา กับการบรรลุธรรม

    อัตตา คือ "ตัวตน, อาตมัน; ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่าอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง" (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)

    เมื่อท่านอ่านและทำความเข้าใจ ในคำว่า อัตตาแล้ว ก็ทำความเข้าใจว่า นั่น เป็นธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) หมายความว่า มนุษย์ทุกคน ย่อมยึดติดในอัตตา โดยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

    ดังนั้น ไม่ว่า จะปฏิบัติ ธรรมบรรลุถึงชั้นใดก็ตาม ย่อมต้องมีการยึดติดอัตตาโดยธรรมชาติ
    อัตตา เป็นความหลงชนิดหนึ่ง และเป็นความหลงที่เป็นได้ตั้งแต่ชั้น หยาบ ไปจนถึง ชั้นละเอียด
    ในชั้นหยาบจะไม่กล่าวถึง
    จะกล่าวถึงในชั้นละเอียด ของการยึดติดอัตตา ว่า
    การที่บุคคลใดก็ตาม ปฏิบัติธรรม เพื่อมุ่งหวัง ให้บรรลุธรรมชั้นใดใดก็ตาม หรือเพื่อขจัดขัดเกลากิเลส หรืออาสวะแห่งกิเลสใดใด นั่นหมายความว่า บุคคลนั้นๆ ยึดติดอัตตา เพราะถ้าไม่ยึดติดอัตตา ก็ย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และสิ่งแวดล้อมต่างๆได้ อนึ่ง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อัตตา เป็นธรรมชาติ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
    ดังนั้น การที่บุคคลใดใด ยึดถืออัตตา ก็ย่อมสามารถ บรรลุสู่ชั้น นิพพาน ในทางพุทธศาสนาได้
    เพราะในทางปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนานั้น ในชั้นของการปฏิบัติธรรมอย่างละเอียด คือการ ขจัดอาสวะแห่งกิเลสให้สิ้น
    เมื่อบุคคลนั้นรู้จักวิธีการ หลักการ หลักวิชชา ดีแล้ว ก็ย่อมสามารถขจัดกิเลสเหล่านั้นได้เป็นอย่างไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง

    สรุปแล้ว ทุกคนล้วนย่อมยึดติดอัตตา เป็นธรรมชาติ และผู้ยึดติดอัตตา ก็สามารถบรรลุธรรมตั้งแต่ชั้นโสดาบัน ไปจนถึงชั้นนิพพานได้ เพราะเพียงแค่บรรลุธรรมชั้น โสดาบัน ปฏิมรรค ปฏิผล ก็สามารถขจัด การยึดถืออัตตา ลงไปได้ในบางเรื่อง บางอย่าง
    เนื่องจาก อัตตาเป็นธรรมชาติ ในการดำรงชีวิต ของมนุษย์

    อนึ่ง สรรพสิ่งย่อมมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดา ในร่างกายของเราประกอบไปด้วย ขันธ์ 5 ถ้าหากจะกล่าวให้ลึกลงไปในรายละเอียดของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น หรือเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นแล้วละก้อ จะกล่าวว่า
    "อวัยวะ ต่างๆ และการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายมนุษย์ ย่อมมีความแตกต่างกัน ตามแต่บทบาทและหน้าที่ของมันอยู่แล้ว"
    และถ้าบุคคลใดก็ตาม ยังมีขันธ์ 5 ยังหายใจ ยังดำเนินชีวิตตามปกติอยู่ บุคคลนั้นย่อม มีอัตตา ยึดติดในอัตตา ไม่ว่าบุคคลนั้นๆ จะบรรลุธรรมชั้นใดก็ตาม เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์

    ส่วนคำว่า อนัตตา คือ ความเห็นที่ว่า เป็นของมิใช่ตัวตน(ย่อความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ พระธรรมปิฎก)
    ท่านทั้งหลายควรได้คิดพิจารณาว่า เวลาไหน สถานะไหน ที่ร่างกายคุณหรือร่างกายมนุษย์ จะเป็นของมิใช่ตัวตน (หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
    เวลาไหน สถานะไหน ที่มนุษย์ทุกคน ย่อมยึดติดในอัตตา

    ข้าพเจ้าจะแนะนำท่านทั้งหลายเอาไว้เป็นพื้นฐาน และบรรทัดฐานว่า หากจะเรียนรู้ หรือศึกษา พระธรรมคำสอนในทาง พุทธศาสนา ก็ควรมีการจดจำ และรู้จักผสมรวมหลักธรรมต่างๆ ในที่นี้หมายเอาหลักธรรมที่ปรากฏมีในพระไตรปิฎกเข้ามาประกอบ
    ในการแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้า และในการคิดพิจาณาในเรื่องของอัตตา หรือ อนัตตา ใดใด ข้าพเจ้าก็ได้ใช้หลักธรรม "สัปปุริสธรรม"
    อันมีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ดังนี้

    "สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ ๑.ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ ๒.ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓.คิดอย่างสัตบุรุษ ๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕.พูดอย่างสัตบุรุษ ๖.ทำอย่างสัตบุรุษ (๓-๔-๕-๖ คือ คิดปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น) ๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อ แก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น)




    ท่านทั้งหลาย คำกล่าว บางอย่าง ไม่ใช่เป็นตัวหลักธรรม แต่เป็นเพียงการอธิบาย ให้กับคนบางกลุ่ม บางคน หรือบุคคลบางประเภท เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในการที่จะขัดเกลา กิเลส หรือควบคุมตัวเอง หรือเพื่อให้เกิด ความคิดเพื่อขัดเกลาสภาพสภาวะจิตมใจ ซึ่งความจริงแล้ว ก็เป็นเพียงคำกล่าวที่ประโลมจิตใจให้ละวาง ซึ่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่รุนแรง
    มิใช่หลักธรรมะ ที่จะทำให้เกิดการหลุดพ้นจากิเลส แต่เป็นเพียงการยับยั้ง ผู้ฟังให้เกิดความคิดว่า สรรพสิ่งล้วนมีเกิดมีดับ ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของตัว ไม่ควรยึดถือว่า เป็นตัวเรา ของเรา
    แต่ในคำกล่าวที่ว่า ไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเรานั้น แท้จริงแล้ว เป็นเพียงการสร้างความคิดเพื่อมิให้ เกิดความหลง ในตัวเอง มิให้เกิดความหลงในสิ่งของเครื่องใช้จนเกินเหตุ เพราะการเกิดความหลง ในตัวเอง และสิ่งของเครื่องใช้จนเกินเหตุนั้น จักทำให้เกิดความ โลภ และ ความโกรธตามมา ซึ่งในทางที่เป็นจริงบุคคลผู้ได้ยินได้รู้ในคำกล่าวนั้น ก็ย่อมยึดติดในตัวตน เป็นธรรมชาติ ไม่อาจหลอกตัวเองหรือหลอกลวงผู้อื่นว่า ไม่ยึดติดในตัวเราของเรา เพราะการที่บุคคลนั้นคิดว่าไม่ยึดติดในตัวเรา ของเรา บุคคลผู้นั้นแท้จริงแล้ว ก็กำลังยึดติดในตัวเราของเราอยู่ นั่นคือ ยึดติดในความคิดของตัวเอง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ จากการที่บุคคลนั้นๆ ยึดติดในความคิดของตัวเอง ก็ย่อมหมายความว่า บุคคลผู้นั้น ยึดติดในอัตตานั่นเอง

    แต่หากบุคคล ปฏิบัติ เพื่อการบรรลุธรรม ตั้งแต่ชั้นโสดาบันเป็นต้นไป
    ย่อมต้องยึดติดในตัวเรา ของเรา เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ บุคคล จะทำการสิ่งใดก็ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายใดก็ตาม ย่อมกระทำเพื่อตัวเองเป็นส่วนใหญ่ นั่นหมายถึง การยึดติดในอัตตา คือ ปฏิบัติ ธรรมเพื่อการบรรลุธรรม เพื่อตัวเรา ของเรา
    คำว่า ของเรานั้น ย่อมหมายถึง หลักการปฏิบัติ หลักธรรม อันหมายถึง ความรู้ และความเข้าใจ ผู้ปรารถนาบรรลุธรรม ย่อมต้องยึดติดในหลักธรรม หลักปฏิบัติ ความรู้ ความเข้าใจ เหล่านั้นเอาไว้
    ดังนั้น ผู้ปรารถนาบรรลุธรรม ตั้งแต่ชั้นโสดาบัน ไปจนถึง นิพพาน ย่อมต้องยึดติดในอัตตา เป็นธรรมชาติ ไม่อาจหลีกหนีหลักการดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไปอย่างแน่นอน
    ที่ได้อธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ย่อมเพียงพอต่อการทำความเข้าใจให้กับผู้มีทิฐิ อวิชชา ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตามหลักความเป็นจริง ตามหลักการปฏิบัติธรรม อย่างแท้จริง
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อ้าว !!!
     
  3. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เป็นการแสดงความคิดเห็น การอธิบายการเป็น "อัตตา" ได้ดีครับ มีแนวทางต่าง ๆ มากมายที่จะบรรลุธรรม แล้วแต่ว่าจะเลือกหรือไม่เลือกเดิน
     
  4. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817

    บทความที่ข้าพเจ้าเขียนขึ้นมานี้ ไม่่ใช่เป็นการแสดงความคิดเห็น
    แต่เป็นการสร้างบรรทัดฐาน สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตามหลักความเป็นจริง ให้กับท่านทั้งหลายที่สนใจใฝ่่การปฏิบัติธรรม ตามหลักพุทธศาสนา มิให้เกิดความหลงรู้ หลงเข้าใจไปในทางที่ผิดๆ
    หากท่านทั้งหลายได้อ่าน และได้ทำความเข้าใจแล้ว ก็จะเกิดปัญญา เกิดแสงสว่างส่องใจ ส่องความคิด ให้รู้ ให้คิด ให้เข้าใจ ตามหลักธรรมชาติ ตามหลักความจริง
    ไม่ใช่มัวแต่คิดหลงผิด คิดไปว่าสิ่งที่ไม่ใช่หลักธรม เป็นหลักธรรม สิ่งที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการหลุดพ้น แต่หลงเข้าใจว่าเป็นสิ่งก่อให้เกิดการหลุดพ้น
    อ่านช้าๆ ทำความเข้าใจให้ดี มีสมาธิในการอ่าน โดยการเอาใจจดจ่อ ไม่วอกแว่ก ไม่ฟุ้งซ๋าน
    ความเข้าใจก็จะเกิด เมื่อเข้าใจแล้ว ปัญญาก็จะตามมา
     
  5. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    โดยส่วนตัวเห็นว่า เราปฏิบัติเพื่อลดอัตตา ลดอัตตา ๆ ลงไปเรื่อย ๆ จากหยาบสู่ละเอียด มีสติ อ่านตัวเองให้ออกเสมอ ปรับปรุงตัวเอง แก้ไขตัวเองตลอดเวลา จากหยาบคือ เดิมเห็นว่าแค่นี้แหละคือ อัตตา ต่อไปเมื่อสติมีความต่อเนื่องขึ้น ๆ ก็จะค่อยเห็นความหลงที่ซ่อนอยู่ ที่เดิมคิดว่าไม่ใช่อัตตา ก็ละก็คลายความหลงคลายอัตตาไปเรื่อย ๆ เห็นตัวก่อสักกายทิฏฐิ จะเข้าใจอัตตาอย่างหยาบได้ ก็ละได้วางได้ ต่อไปตัวอื่น ๆ อย่างเช่นตัวมานะ (ตัวเปรียบเทียบ) ก็เหมือนกัน ถ้าจะว่ากันจริง ๆ แล้วก็คือ ความมีอัตตาอย่างหนึ่ง แต่จัดว่าเป็นอัตตาอย่างละเอียดนั่นเอง ก็ต้องค่อย ๆ ฝึกสติสร้างปัญญาลดละให้หมดไปในที่สุดเหมือนกัน..


    ขอบคุณที่ให้โอกาสครับ
     
  6. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    โมทนาครับ..

    ผมอ่านอยู่นานครับ แต่ผมต้องพิจารณาก่อนครับ ว่าเป็นจริงอย่างไร ยากเกินสติปัญญาของผมหรือไม่ เพื่อเติมปัญญาที่ผมขาดหายไป... บางครั้งผมเข้ามามีแต่เรื่องถกเถียงกันยาวเป็นหางว่าวเลย ผมจึงต้องศึกษาก่อนครับ ขอบคุณครับที่ชี้แนะผม
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิงๆแล้วคุณเทวดาก้อทิบายถูกทุกครั้ง แต่ทุกครั้งก้จะนำวิทีแนะนำที่ทำได้ และต้องการสื่อให้ผู้ยังไม่ทราบหลักธรรมที่แท้จริงในการตีความแบบที่ตัวตนได้พบเจอ แต่การอทิบายหรือยกพุทธพจตรงๆๆมาพูดตามระดับปัญญาบางคนไม่เข้าใจบางคนเข้าใจกึ่งเดียวบางคนเข้าใจ แต่ผิด คุนเทวดาเลยแสดงอรรถาทิบายต่อ สำหรับพระบางรูปแสดงทำได้อย่างพิสดาร
    คนฟังแม้ปัญญาน้อยก้เข้าใจได้แต่สำหรับบางคนแสดงธรรมก้ไม่มีผู้ไดสามารถเข้าใจ เพราะการแสดงธรรมให้ถูกกับบุคคลนั้นยากเพราะแต่ละคนมีระดับปัญญาที่ต่างกันจึงต้องสอนต่างกันผู้ที่ยัง สำรวมอิทรียังไม่ได้ก้ต้องให้แค่สิลไปก่อน ผุ้ที่ทำได้ขั้นหนึ่งก้ไห้ทำสมาทิจาได้ไม่ฟุ้งซ่านนำจิตไปคิดได้ ผู้ที่เริ่มมีสมาทิมีสติ ค่อยเริ่มสอนธรรม เข้าก้เริ่มเข้าใจแต่ยังไม่หมด พอเค้าเริ่มเกิดปัญญาบ้างแล้ว แต่ยังบอกกันตรงๆไม่ได้อีกไม่เข้าใจก้ต้อง ใช้เวลาไห้เค้าได้มีโยนิโสมนสิการในธรรมเผื่อที่จะได้เห็นความเป็นจริง และเห็นแล้วก้เริ่มเบื่อหน่าย เริ่มหน่ายก้เริ่ม หาทางไม่ไห้ตนต้องอยู่กับมัน เริ่มทำเริ่มคิด จึงถึงผล

    แต่สำหรับผู้ที่รู้ผลแล้วเอามาอทิบาย นำมาอทิบายผู้ฟังที่แตกต่างกันไปย่อมมีคนที่เห็นต่างกัน ท่าใช้คำอทิบายที่ตรงเกินไปผู้ที่ไม่เข้าใจก้ย่อมโต้แย้ง แต่การปรุงแต่งทำบางครั้งจุดประสงต้องการบอกโดยตรงแต่บางครั้งก้เพราะปัญญายังไม่ถึงก้ทำไห้เข้าใจผิดกันไปไหย่
     
  8. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อืมม..มันก็จริงของท่าน ละเอียดดีและข้าพเจ้าก็มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันแต่ไม่ใ่ช่ทั้งหมดนะ
    แต่ถ้ามีคนมาถามว่า" ถ้าเช่นนั้นศาสนาของท่านก็สอนให้คนเห็นแก่ล่ะสิ" ท่านจะตอบว่าอย่างไร ?
    และช่วยอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจในคำว่า "ปฏิบัติด้วยศรัทธา" จุดหมายเราคือความพ้นทุกข์
    คำว่า ศรัทธา และ อัตตา ควรใช้ในกรณีใดบ้างขอรับ

    หากคำถามของข้าพเจ้าไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติอื่น ยินดีรับคำตำหนิ
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ก่อนจะบรรลุโสดาบันก็ต้องยึดหลักธรรมที่ถูกต้อง จึงเรียกว่ามีอัตตาใช่ไหมครับ อัตตาในที่นี้หมายถึง ยึด หลักธรรมรู้ถูก
    หากแม้บรรลุพระโสดาบันก็ยังต้องต้องยึดหลักธรรมเป็นที่เพียรเพื่อแจ้งซึ่งนิพพาน และยึดของพระโสดาบันนี่ก็ ยึด หลักธรรมที่รู้ถูก ก้เรียกว่าอัตตาใช่ไหมครับ
    หากแต่ยังคงไม่ถึงซึ่ง อรหันตผล ก็ยังคง ยึด หลักธรรม ไว้เพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง จึงอาจเรียกว่า มีอัตตา ในการยึด หลักธรรม ใช่ไหมครับ ....เราจึงควรใช้คำว่า อัตตา ให้ถูกต้องใช่ไหมครับ...
    ...ที่ท่านเทวดาอธิบายมา...

    [​IMG]
     
  10. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อ้าว..มาแย่งซีนซะงั้นท่านวิษณุเอ๋ย..หึ

    อย่างที่ท่านวิษณุกล่าวมาเข้าข่ายหลักธรรม
    สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ
    ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ
    ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล
    ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน
    ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
    ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล (กาลเทศะ)
    ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
    ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล;

    มีลูกล่อลูกชน ดั่งเช่นสุภาษิตโบราญว่าไว้ "เข้าเมืองตาหลิ่ม ต้องหลิ่วตาตาม"
    หากกระทำการที่กลับกัน ผลลัพท์ก็จะได้มาแบบสวนทางและรุนแรง คือยิ่งพูดยิ่งไม่รู้เรื่อง
    แต่คราวหน้ากรุณาอย่าแย่งซีนคนอื่นเขานะ (แซวเล่น)

    อนุโมทนาด้วยครับ สาธุ
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG] อ้อ _/\_
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    มีเล่นเวฟกันด้วย เหอๆ
     
  14. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ก่อนอื่นต้องกล่าวขออภัยต่อท่านทั้งหลายที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นไว้ เพราะข้าพเจ้าอ่านข้อแสดงความคิดเห็นของท่านทั้งหลายเพียงคร่าวๆ ก็พอจะรู้ว่าท่านทั้งหลายนั้น ไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องอัตตา เลย ชนาดข้าพเจ้าเขียนอธิบายไว้ค่อนข้างจะละเอียดอยู่แล้ว
    ในเมื่อท่านทัังหลายไม่เข้าใจ ข้าพเจ้าก็จะอธิบายอีกครั้ง แล้วให้ท่านทั้งหลายไปหาคำตอบ ในสิ่งที่พวกท่านถามข้าพเจ้ามา ด้วยตัวของท่านเอง เพราะย่อมเป็นผลดีต่อตัวท่านทั้งหลาย จะได้เกิดความรู้ เกิดความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาสมองสติปัญญาของพวกท่านไปด้วยในตัว

    อัตตา มีความหมาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฏก ว่า
    "ตัวตน, อาตมัน; ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่าอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง"


    ท่านทั้งหลาย ลองพิจารณา ความหมายข้างต้นซิว่า อัตตา หมายถึง อะไร มีอะไรบ้าง ที่จัดเป็นอัตตา
    เมื่อท่านทั้งหลายเกิดความเข้าใจดีแล้ว ท่านทั้งหลายก็ย่อมหาคำตอบ หรือสามารถตอบคำถามที่ท่านทั้งหลายถามข้าพเจ้ามาได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ข้าพเจ้าตอบให้อีก
    แต่ข้าพเจ้าจะอธิบายเพิ่มเติมสักนิดว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ย่อมต้องอาศัยขันธ์ทั้งหลาย ในการแสดงพฤติกรรม หรือกระทำการใดใด พร้อมกันทุกข้อ ผสมผสานกันทุกข้อ ไม่ใช่อย่างใด อย่างหนึ่ง อย่างความหมายที่มีในพจนานุกรม
    ถ้าไม่เข้าใจก็ถามได้อีกขอรับ
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อ๋อ..ก่อนจะบรรลุโสดาบัน ก็ต้องยึดร่างกายไว้เป็นเครื่องดู
    พอบรรลุโสดาบันก็ยังต้อง อาศัยอัตตาที่เรียกว่าตัวตน คือ ขันธ์ 5 เป็นเครื่องยึด เพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง แม้แจ้งในนิพพาน ก็ยังต้องอาศัย ขันธ์ 5 อยู่ต่อไปจนกว่า จะแตกสลาย จึงเรียกว่า แม้ พระอรหันต์ที่ยังไม่ปรินิพพาน ก็ยังใช้ อัตตา หรือขันธ์ 5 อยู่ จนกว่า ตัวตนนี้จะแตกสลายแยกธาตุไป จึงเรียกว่ายังมีอัตตา(ตัวตน)อยู่ ...จนกว่าจะปรินิพพาน
    อ้อๆๆๆ[​IMG]
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]
     
  17. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ข้าพเจ้าก็เข้าใจตามที่ท่านกล่าวไว้ตามนั้น สาธุี..
    แต่อีกนัึุยนึงที่ข้าพเจ้าคอยแย้งไว้ตลอด คือส่วนของการเอาความไม่มีตัวตนในธรรม,ที่เกี่ยวกับสภาวะธรรม สภาวะจิตต่างๆนั้นยกมาอ้างในการปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องเกี่ยวกับอภินิหาร หรือปรากฏการณ์ที่มันเหนือธรรมชาติต่างๆ..อันนี้มีทั้งดีมีทั้งไม่ดี
    ดีคือ..เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดีความศรัทธา มีความมุ่งมั่น ไม่ดีคือ..หลงเข้าไปยึดมากเกินไปซึ่งจะเกิดเป็นกระแสของกิเลสตามอีกมากมาย (ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่า "ไม่มี"หรือ"มี" แต่ว่าประเด็นที่จะเปิดให้เห็นไม่ใช่แค่นั้น)
    ิซึ่งในส่วนนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดเข้าไปยึดติด ผิดที่ผิดทางหรือที่เหล่าผู้ปฏิบัติทั้งหลายใช้้เรียกสติกลับมาโดยเขาเรียกว่า "หลง" ซึ่งอันที่จริงแล้วทุกคนก็หลงทั้งนั้นเหมือนกันหมดนะ แต่ต้องรู้จักดีรู้จักไม่ดี แยกแยะและเอามาใช้ให้ถูกกาลเทสะ รู้จักหมู่คน มีอุบายในการแสดงธรรมให้แก่ผู้ื่อื่น หรือพูดกันแบบคนในสมัยนี้ รู้จักสังคมแวดล้อมในปัจจุบันขณะนั้น

    เมื่อถึงวาระมองเห็นโลกจริง ควรจะทำอย่างไรในเมื่อยังติดอยู่ในโลกสมมตินี้ดีล่ะ
    ก็ต้องรู้สังคมคนนั้นๆ ก็ยังต้องสำรวมระวัง กาย วาจา ใจ ยกตัวอย่างง่ายๆ
    ถ้าข้าพเจ้าจู่ๆเดินไปบอกคนที่กำลังเล่นการพนันได้เสียกันอย่างเมามันส์ หรือ เดินไปบอกคนที่กำลังนั่งกินเหล้าเอะเอโวยวาย
    พอดีมองเห็นความไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นและผลกระทบที่เกิดตามมาของคนเหล่านั้น
    เดินโท่งๆเข้าไปบอกจะเล่นทำมายยย..จะกินเหล้ากันทำมายยย...มันไม่นะท่านมันเป็นอบายมุขทั้งนั้น
    ลองประเมินสิ ผู้ที่เข้าไปกล่าวอย่างนั้นจะเกิดผลลัพท์อย่างไรกลับมากันนะ

    ที่ท่านอธิบายนั้นเป็นอัตตาที่หมายถึงตัวตนร่างกายมนุษย์ แน่นอนสิเราจำเป็นต้องอาศัยขันต์5 (ทวาร หรือ ประตู รับสัมผัส)
    ก็มีอีกนัยนึงที่เกี่ยวความเป็นอัตตาของจิต ไหนท่านผู้เจริญแล้วทั้งหลายลองอธิบายให้ข้าพเจ้าหายสงสัยด้วยอวิชชาให้ได้เข้าใจเสียทีเถิด..

    อนุโมทนาสาธุ
     
  18. cap5123

    cap5123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +85
    ก็สรุปง่ายๆนะครับ ไตรลักษ์ 3 อนิจัง ทุกข์ขัง อนันตา
     
  19. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ท่านทั้งหลาย อย่าได้เข้าใจผิดและหรือไขว่เขว่ เกี่ยวกับเรื่องอัตตา หรือ ความหมายของอัตตา
    หลายๆเท่าที่แสดงความคิดเห็นมา ยังไม่เข้าใจในเรื่องของอัตตา คือมีความเข้าใจเพียงผิวเผินและไม่ถูกต้อง
    อัตตา หมายถึง ขันธ์ 5 อันประกอบไปด้วย จิตวิญญาณ รูป สัญญา เวทนา สังขาร

    จิตวิญญาณ คือ ส่วนที่เล็กที่สุด ท่านทั้งหลายไม่จำเป็นต้องรู้ในเรื่องหลักวิทยาศาสตร์ใดใดก็ได้
    แต่ต้องมีปฏิภาณไหวพริบ ใช้สมองสติปัญญา พิจารณาดูรู้แล้วว่า เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของรูป

    รูป คือ สรีระร่างกาย ท่านทั้งหลายก็ไปพิจารณากันซิว่า สรีระร่างกายของเราประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

    ในสรีระร่างกาย ย่อมประกอบไปด้วย สัญญา และเวทนา และสังขาร ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นแล้วละก้อ ขันธ์ 5 คือ หลักการทำงาน หรือระบบการทำงาน ของร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ซึ่ง บางชนิดอาจจะมีเพียง จิตวิญญาณ และรูป ก็แล้วแต่ ฯลฯ
    หลายๆท่านอาจเกิดความเข้าใจขึ้นบ้างแล้วว่า อัตตา คือ ขันธ์ 5,ขันธ์ 5 คือ หลักการทำงาน หรือระบบการทำงาน ของสิ่งมีชีวิต
    การปฏิบัติธรรม ย่อมต้องยึดติดในอัตตา สิ่งที่เกิดจากอัตตา คือระบบการทำงานของร่างกาย
    แม้จะบรรลุนิพพาน ก็ยังมีอัตตา ยังมีขันธ์ 5 อยู่ เทวดา ก็มีขันธ์ 5 เทพเจ้าทุกพระองค์ มีขันธ์ 5 เช่นเดียวกัน
    แต่ขันธ์ 5 ในแต่ละเผ่าพันธุ์ ไม่เหมือนกัน ไม่ต้องคิดอะไรมาก ให้ท่านทั้งหลายลองพิจารณาถึง ขันธ์ ของสิ่งมีชีวิต ทุกชนิด เท่าที่ท่านทั้งหลายสามารถมองเห็นได้ด้วยตาซิว่า
    มีความแตกต่างจากกันหรือไม่ แล้วอย่าลืมพิจารณาขันธ์5 ของมนุษย์ด้วย
    ท่านทั้งหลายคงจะเกิดความเข้าใจได้มากขึ้น
    ขอให้เจริญในธรรม
     
  20. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    แล้ว อัตตาธรรม ที่จะแสดงธรรมให้ผู้อื่นเข้าไปศรัทธานั้นเป็นเช่นไรล่ะขอรับ


    ขออนุโมทนาบุญด้วย สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...