การพิจารณากรรม 5

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย prommasit tiptadawong, 8 กันยายน 2020.

  1. prommasit tiptadawong

    prommasit tiptadawong พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2018
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +20
    การพิจารณากรรม 5

    การพิจารณากรรม (Consider action) หมายถึง การพิจารณาการกระทำของเรา ทั้งพฤติกรรมที่ดีและไม่ดี นิสัยที่ดีหรือไม่ดี เป็นต้น คนเราชอบทำอะไรแล้วเกิดทุกข์ เกิดปัญหา เกิดอุปสรรค เพราะว่าไม่ได้พิจารณาสิ่งที่เราจะทำ ไม่ใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาตรวจสอบพฤติกรรม การกระทำของเราว่าควรทำหรือไม่ควรดี ดีหรือไม่ดี จึงก่อให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน

    ในการพิจารณาการกระทำของเรานั้น เราจะต้องพิจารณาสิ่งที่เรา ๑) กำลังจะทำ ๒) กำลังทำ ๓) ทำแล้ว อย่างครบวงจร มี ๕ ประการ ได้แก่

    ๑. ทำ ทำไม คือ ต้องถามตัวเองว่าทำสิ่งนั้นทำไม มีเจตนาอะไรทำเช่นนั้น มีเจตนาอะไรที่จะทำ (Why to do it?)

    ๒. ทำไมถึงทำ คือ เราทำเพื่อจะตอบสนองสิ่งใด? อารมณ์ใดจึงต้องทำสิ่งนั้น? ต้องการได้อะไร? (Why do you have to do it?)

    ๓. ผลขณะกระทำ คือ ปัจจุบันที่กำลังกระทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ได้รับผลอะไร? เช่น เรากินน้ำ ขณะที่เรากระทำแก้กระหายน้ำ (The result in that moment?)

    ๔. ผลที่ตามมา คือ พิจารณาสิ่งที่เรากระทำแล้ว ผลลัพธ์ที่จะตามมา? วิบากที่จะตามมา? ผลที่จะตามมาเป็นยังไง มีอะไรบ้าง (The result that come after action?)

    ผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำ ซึ่งอาจจะดี แย่ พอใจ หรือไม่พอใจ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราได้กระทำนั้นแล้ว ซึ่งบางครั้งเราทำความชั่วแต่ผลอาจออกมาดีตามใจเราปรารถนา เนื่องด้วยเป็นการกระทำที่แยบยล คนทั่วไปคิดตามไม่ทัน

    ๕. ผลที่แท้จริง คือ ผลที่ได้รับอย่างแท้จริง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการให้ผลเป็นไปตามเหตุของธรรม เป็นผลเหตุในธรรม (The real action result?)

    ตัวอย่างเช่น หิวข้าวแต่ไปขโมยอาหารของเขากิน

    ๑. ทำ ทำไม เช่น หิวข้าว

    ๒. ทำไมถึงทำ เช่น เพราะหิว

    ๓. ผลขณะกระทำ เช่น กินอิ่ม

    ๔. ผลที่ตามมา เช่น ถูกจับ

    ๕. ผลที่แท้จริง เช่น โดนลงโทษเพราะไปขโมยมา

    การกระทำสิ่งใดต้องคำนึงถึงผลที่ตามมา บางครั้งเรารู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นมันไม่ดี แต่ก็ยังฝืนที่จะทำสิ่งนั้น เพราะจิตคิดว่าเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเราได้น้อมนำหลักธรรมพิจารณากรรม ๕ มาพิจารณาแล้ว จะทราบถึงผลเลยว่าให้โทษมากกว่าที่เราคิด เพราะว่าผลที่ได้รับขณะปัจจุบัน แต่ยังมีผลที่ได้รับในอนาคตอีกซึ่งเป็นผลที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยง

    บางครั้งเราทำบางสิ่งบางอย่างลงไปเพราะคิดว่ามันมีความสุข มีความสนุกสนานร่าเริง จริงอยู่ว่า ขณะที่เรากระทำนั้นมันมีความสุข แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป ผลที่แท้จริงเริ่มปรากฏเรายิ่งทุกข์หนัก

    เหตุการณ์ตัวอย่าง มีชายวัยกลางคนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นหัวหน้างาน เขาได้นำมีดที่สนิมติดหนาแน่นมาลับให้คมและขาวสะอาด ด้วยความดีใจในผลงาน เขาได้นำมีดนั้นไปควงเล่นอย่างกับจอมยุทธ์ ในภาพยนตร์จีนกำลังภายในต่อหน้าหญิงสาว อย่างเมามันและคึกคะนอง ทำให้หญิงสาวไม่พอใจใช้ฝ่ามือตบลงใบหน้าของชายคนนั้น จนชาไปทั่วใบหน้าข้างซ้าย และอึ้ง งงกับการกระทำเหล่านั้น

    หากเรานำมาพิจารณากรรม ๕ มีดังนี้

    ๑. ทำ ทำไม เช่น ควงมีด

    ๒. ทำไมถึงทำ เช่น ต้องการเล่นเพื่อความสนุกสนาน

    ๓. ผลขณะกระทำ เช่น มีความสุข สนุกที่ได้ควงมีดดั่งจอมยุทธ์

    ๔. ผลที่ตามมา เช่น โดนตบหน้าอย่างแรง!!! และใบหน้าชา

    ๕. ผลที่แท้จริง เช่น ชายคนนั้นเป็นหัวหน้าของหญิงสาว ทำให้เขาขาดความเคารพ นับถือ ไม่เชื่อฟัง ขาดความศรัทธาต่อหัวหน้างาน

    ฉะนั้น ทำสิ่งใดที่มีความสุขแต่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จงละเว้นสิ่งเหล่านั้นเสีย เพราะผลที่ตามมาได้ไม่คุ้มเสีย

    ยกตัวอย่าง การมีเมียน้อย

    ๑. ทำ ทำไม เช่น อยากมีเมียน้อย

    ๒. ทำไมถึงทำ เช่น เบื่อเมียหลวง อยากมีความสุข ที่แตกต่างจากเดิม อยากได้คนรู้ใจ

    ๓. ผลขณะกระทำ เช่น มีความสุข ได้สุขสมที่ตนเองอยากได้ ได้สมสู่ ได้คนรู้ใจ

    ๔. ผลที่ตามมา เช่น ต้องเสียเงินทอง ทะเลาะกับเมียหลวง เมียหลวงกับเมียน้อยทะเลาะกัน สร้างศัตรูกัน ลูกไม่ให้ความเคารพ ครอบครัวมีปัญหา เสียชื่อเสียง ผิดศีล โดนประณาม

    ๕. ผลที่แท้จริง เช่น ครอบครัวแตกแยก บางครั้งถึงขนาดสังเวย ฆ่ากันตาย เป็นต้น

    https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=prommasit&month=01-2020&date=14&group=15&gblog=19

    ^_^ ..._/_... ^_^
    ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

    อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
    เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

    พิจารณา กรรม 5.jpg พิจารณา กรรม 52.jpg พิจารณา กรรม 53.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...