การปรารถนาพุทธภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 16 กรกฎาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สารบัญ

    คำนำ
    อารัมภบท มหาวิบัติ
    อารัมภบท อนุสาสนีประจำวัน

    บทที่ 1 พระพุทธาธิการ
    ...........น้ำใจพระโพธิสัตว์
    ...........กระแตโพธิสัตว์
    ...........พระพุทธเจ้า 3 ประเภท

    ...........เรื่องอสงไขย
    ...........เรื่องกัป
    ...........ธรรมสโมธาน
    ...........พระพุทธพากย์
    ...........พระพุทธภูมิธรรม
    ...........อัธยาศัยโพธิสัตว์
    ...........พุทธกรณธรรม
    ...........พระบารมี 30 ถ้วน
    ...........อานิสงค์พระบารมี
    ...........อธิมุตกาลกิริยา
    ...........พุทธอุบัติ
    ...........อสุญกัป
    ...........พระเจ้า 5 พระองค์
    ...........ทรงเป็นเอก

    บทที่ 2 พระบารมีเริ่มแรก
    ...........พรหมรำพึง
    ...........มาณพหนุ่มผู้เข็ญใจ
    ...........สัตตุตาประราชา
    ...........พระพรหมดาบส
    ...........มาณพหนุ่มช่างทอง
    ...........เจ้าหญิงสุมิตตาเทวี
    ...........อรดีเทวราชบพิตร


    บทที่ 3 พระบารมีตอนกลาง
    สาครจักรพรรดิภูมิบดี

    บทที่ 4 พระบารมีตอนปลาย
    สมเด็จพระทีปังกรอุบัติ
    สมเด็จพระพระโกณทัญญะอุบัติ
    สมเด็จพระสุมังคละอุบัติ
    สมเด็จพระสุมนะอุบัติ
    สมเด็จพระเรวตะอุบัติ
    สมเด็จพระโสภิตะอุบัติ
    สมเด็จพระอโนมทัสสีอุบัติ
    สมเด็จพระปทุมะอุบัติ
    สมเด็จพระนารทะอุบัติ
    สมเด็จพระปทมุตระอุบัติ
    สมเด็จพระสุเมธะอุบัติ

    บทที่ 5 พระบรมไตรโลกนาถ
    วัฏสงสาร
    พระสัพพัญญูเจ้า
    สัญโญชน์
    โลกุตรภูมิ
    โสตาปันนโลกุตรภูมิ
    คุณวิเศษ
    สกิทาคามีโลกุตรภูมิ
    คุณวิเศษ
    อนาคามีโลกุตรภูมิ
    คุณวิเศษ
    อรหัตโลกุตรภูมิ
    ประเภทพระอรหันต์
    คุณวิเศษ

    บทที่ 6 พระอนันตพุทธคุณ
    พระกาฬพุทธรักขิตเถระ
    โลกสมุทร
    ธรรมบรรพต
    ธรรมเมฆ
    ธรรมนที
    พระพุทธสีหนาถ
    รอยพระพุทธบาท

    อวสานบท
    นิพพานสมบัติ
    นิพพานปฏิปทา
    ปัจฉิมพจน์
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    คำนำ

    พระพุทธเจ้า พระนามนี้มีค่ายิ่งสำหรับชาวโลกเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุว่าพระองค์ทรงมีพระเมตตาแก่ชาวโลก ผู้อยู่ในความมืดบอดอยูใน กิเลสคือ ราคะโทสะ โมหะ ได้หลุดพ้นออกมาจากความมืดบอดนั้น ด้วยธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้แก่ อริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    มนุษย์หลายท่านที่มีความประทับใจในธรรมเช่นนี้ ต่างมีความห่วงใย เกรงว่าพระธรรมนี้จะสูญหาย จึงได้ตั้งจิตต์อธิษฐานสืบต่อพระศาสนา ด้วยการอธิษฐานกระทำตามแบบพระพุทธองค์นั้น เพื่อชาวโลกมนุษย์ ตามรอยพระพุทธองค์ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งความดีอีกประการหนึ่ง คือ พระโพธิสัตว์ รวมเรียกว่า “ ท่านผู้ปรารถนาพุทธภูมิ “ นั้นเอง

    ท่านผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ย่อมมีภาระหนักในการศึกษา ทั้งความเลวแบบสุด และความดีแบบสุด จึงเป็นความเสียสละความสุขส่วนตน แก่เวนัยสัตว์ทั้งหลายเหลือคณา

    คนเมืองบัว



    อารัมภบท

    มหาวิบัติ


    ขึ้นชื่อว่าความวิบัติทั้งหลายที่มนุษย์เราต้องประสบกันอยู่เสมอในโลกนี้ ความวิบัติอื่นใดจงยกไว้ก่อนเถิด เพราะมิสู้จะสำคัญ แต่ความวิบัติหนึ่งนั้น เป็นความวิบัติอย่างใหญ่หลวงของสามัญสัตว์ ซึ่งจัดว่าเป็นยอดแห่งความวิบัติจริงๆ มีอยู่ 6 ประการ คือ

    1. วิกาลบัติ

    วิกาลบัตินี้ ได้แก่ วิบัติเพราะกาลล่วงของพระพุทธศาสนา หมายความว่า ในโลกมนุษย์ที่เราเกิดอยู่นี่ ใช่ว่าจะปรากฏมีพระบวรพุทธศาสนาอยู่เป็นประจำจนชั่วฟ้าดินสลายนั้นหามิได้โดยที่แท้ บางกาลก็มีพระพุทธศาสนา แต่บางเวลาก็ไม่มี เพราะไม่ใช่คราวที่สมเด็จพระจอมมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้ามาอุบัติตรัสในโลก ก็ในระหว่างกาลที่มีพระพุทธศาสนากับไม่มีนี้ปรากฏว่ากาลที่ไม่มีพระพุทธศาสนานั่นแหละมีปริมาณมากกว่ากาลที่มีพระพุทธศาสนามากมายนัก ซึ่งก็หมายความว่า ในโลกนี้ นานๆ จึงจะมีพุทธกาลเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง ทีนี้ สมมติว่าตัวเราเกิดมาในเวลาที่มิใช่พุทธกาล เป็นกาลว่างเปล่า ไม่มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลก เราก็หมดโอกาสที่จะได้รู้จักพระพุทธศาสนา มิได้รับรสพระสัทธรรมเทศนา การเกิดของเราในกาลที่ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนาก็เท่ากับเกิดมาเปล่าประโยชน์ หาสาระแก่นสารแห่งชีวิตอันแท้จริงมิได้ เกิดมาเปล่าแล้วก็ตายไปเปล่าตามธรรมดาของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารเท่านั้นเอง สภาพการณ์เช่นว่ามานี้เรียกชื่อว่า วิบัติกาล ประสบความฉิบหายอย่างใหญ่หลวงแห่งชีวิต เพราะเกิดผิดกาลเวลา นับว่าเป็นมหาวิบัติประการที่หนึ่ง

    2. วิบัติคติ

    วิบัติคตินี้ ได้แก่ วิบัติเพราะไม่ได้คติที่ดี หมายความว่า แม้กาลเวลาจะถึงพร้อมแล้ว คือ มีสมเด็จพระมิ่งมงกุฏสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลก ทรงประกาศพระสัทธรรมเทศนายังประชาสัตว์ให้ได้ดื่มอมตรส ทรงโปรดสัตว์รื้อสัตว์ขนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารให้ลุล่วงถึงพระนิพพาน ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ปรากฏอยู่ในโลกเช่นในปัจจุบันทุกวันนี้ แต่ทีนี้สมมติว่า ตัวเราเป็นคนอาภัพอับโชคมีบุญน้อยด้อยวาสนา ไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์อย่างเวลานี้เพราะค่าที่เป็นผู้มีคติวิบัติ พลัดไปเกิดในภูมิอื่นโลกอื่นเสียอย่างเพลิดเพลิน เช่น กำลังไปเกิดอยู่ในนิรยภูมิถือกำเนิดเป็นสัตว์นรกเสียก็ตาม กำลังไปเกิดอยู่ในเปตวิลยภูมิ ถือกำเนิดเป็นเปรตอดอยากอยู่ก็ตาม กำลังไปเกิดอยู่ในอสุรกายภูมิ ถือกำเนิดเป็นอสุรกายมีความหิวกระหายอย่างแสนสาหัสอยู่ก็ตาม หรือกำลังไปเกิดอยู่ในติรัจฉานภูมิ ถือกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่เสีย ก็เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะมีโอกาสได้มาพบพระบวรพุทธศาสนากระไรได้ เพราะสัตว์ในอบายภูมิทั้งหลายเหล่านั้นทุกวันเวลา มีแต่จะมงุมมะงาหราเสวยทุกข์โทษจนหน้าดำหน้าแดง มีชีวิตอยู่อย่างหดหู่เหี่ยวแห้งน่าสมเพชเวทนา ก้มหน้าก้มตารับผลกรรมชั่วของตน จนหน้ามืดตามัว ไม่มีเวลาหยุดว่างเว้น สภาพการณ์เช่นว่ามานี้ เรียกชื่อว่า วิบัติคติ ประสบความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแห่งชีวิต เพราะไปเกิดผิดภูมิผิดโลก จึงโชคร้ายหนักหนา นับว่าเป็นมหาวิบัติประการที่สอง

    3. วิบัติประเทศ

    วิบัติประเทศนี้ ได้แก่ วิบัติเพราะเป็นประเทศที่ไม่มีพระพุทธศาสนา หมายความว่า ถึงแม้จะพ้นจากวิบัติที่กล่าวมาแล้ว คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาเจ้า ก็ทรงมาอุบัติตรัสในโลกแล้ว และตัวเราก็พ้นจากคติวิบัติ มาอุบัติเกิดเป็นมนุษย์ในโลกมนุษยโลกนี้แล้ว แต่ว่าโลกนี้เป็นพื้นแผ่นปฐพีอันกว้างขวางใหญ่โตนักหนา เป็นที่สถิตแห่งนานาประเทศ มีจำนวนมากมายหลายประเทศนัก พระพุทธศาสนาไม่สามารถจักแผ่ไปถึงทั่วประเทศทั้งสิ้นทั้งปวงได้ ประเทศใด พระพุทธศาสนาแผ่ไปไม่ถึง ประเทศนั้นก็ไม่รู้จักคุณค่าของพระบวรพุทธศาสนา ไม่ทราบเลยว่า ศาสนาคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระชินวรพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนิยยานิกธรรม สามารถนำสัตว์โลกออกจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริงโดยไม่ต้องสงสัย ทีนี้สมมติว่าตัวเราไปเกิดในประเทศนั้น ก็ไม่มีวันที่จะได้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย เมื่อไม่รู้จักก็ย่อมไม่เห็นคุณค่าของพระศาสนาอันมีอยู่โดยวิเศษเป็นธรรมดา เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ก็จักมีโอกาสเป็นพุทธศาสนิกชนคนนับถือพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ย่อมจะมีชีวิตอยู่ในชาติหนึ่งอย่างไร้สาระแก่นสารน่าเศร้า เข้าทำนองเกิดมาเปล่าแล้วตายก็ตายไปเปล่าเท่านั้นเอง สภาวการณ์เช่นว่ามานี้ เรียกชื่อว่า วิบัติประเทศ ประสบความฉิบหายอย่างใหญ่หลวงแห่งชาติ เพราะไปเกิดผิดประเทศ จึงต้องโชคร้ายนักหนาจัดว่าเป็นมหาวิบัติสำคัญประการที่สาม

    4. วิบัติตระกูล

    วิบัติตระกูลนี้ ได้แก่ วิบัติเพราะตระกูลที่ไม่เป็นสัมมาทิฐิ หมายความว่า ถึงแม้จะได้มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาอุบัติตรัสในโลกนี้แล้ว และเราก็ได้มีโอกาสมาเป็นมนุษย์เป็นคนในประเทศที่นับถือพระบวรพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ก็แต่ว่าในประเทศนั้น ย่อมมีวงศ์ตระกูลของหมู่มนุษย์อยู่มากมายหลายตระกูลนัก ตระกูลที่เป็นสัมมาทิฐิ เคารพนับถือพระพุทธศาสนาก็มี ตระกูลที่เป็นมิจฉาทิฐิ ไม่มีความเลื่อมใสไม่เคารพในพุทธศาสนาก็มี ทีนี้ สมมติว่าเราบังเอิญไปเกิดในตระกูลที่เป็นมิจฉาทิฐิเสีย บิดา มารดา ปู่ ยา ตา ยาย ซึ่งเป็นบรรพชนต้นโคตรต้นวงศ์ของเรา ท่านไม่รู้จักพระบวรพุทธศาสนา ไม่เห็นคุณค่า ไม่มีศรัทธาเคารพเลื่อมใสในพระธรรมคำสั่งสอนแห่งองค์สมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาเสียเลย เราก็จะต้องมีความเห็นหรือมีทิฐิไปตามโคตรตามวงศ์ คือ จักไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เห็นคุณค่า อาจมองพระบวรพุทธศาสนาไปในแง่ที่ไม่ถูกต้องก็ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ชีวิตของเราถึงแม้จะได้รับความสมบูรณ์ พูนสุขอย่างไร ก็นับเข้าในจำพวกที่อับโชค เกิดมาในโลกกับเขาครั้งหนึ่ง แต่หาที่พึ่งอันแท้จริงเป็นแก่นสารไม่ได้ เกิดมาเปล่าแล้วก็ตายเปล่าอีกเหมือนกัน สภาพการณ์เช่นว่ามานี้ เรียกว่า วิบัติตระกูล ประสบความฉิบหายอย่างใหญ่หลวงแห่งชาติ เพราะไปเกิดผิดตระกูลจึงต้องโชคร้ายหนักหนา จัดว่าเป็นมหาวิบัติสำคัญประการที่สี่

    5. วิบัติอุปธิ

    วิบัติอุปธิ ได้แก่ วิบัติอุปธิ คือ ร่างกาย หมายความว่า ถึงแม้จะได้มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติ และทรงประกาศพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นอย่างปัจจุบันโลกทุกวันนี้แล้ว และเราก็ได้มีโอกาสเกิดมาในตระกูลที่เป็นสัมมาทิฐิเคารพเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอยู่แล้วก็ตามที แต่ทีนี้สมมติว่า ตัวเราเป็นคนอาภัพอับวาสนาองคาพยัพไม่สมบูรณ์เป็นคนมีอุปธิวิบัติ คือ ร่างกายไม่สมประกอบเหมือนคนธรรมดาสามัญทั้งหลาย กลายเป็นบ้า เป็นใบ้ ตาบอด หูหนวก เสียจริต จิตวิปลาสไปเสีย เช่นนี้ ก็ไม่สามารถที่จะมีปัญญามองเห็นคุณค่าพระบวรพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสจะรู้ว่าศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าทรงไว้ซึ่งความประเสริฐล้ำเลิศเพียงไรอย่างนี้แม้จะได้เกิดมากับเขาชาติหนึ่ง ก็ถึงการนับได้ว่าเกิดมาเปล่าๆ เป็นชีวิตที่ไร้ค่า เท่ากับว่าไม่ได้เกิดมานั่นเอง สภาพการณ์เช่นว่ามานี้ เรียกชื่อว่า อุปธิวิบัติ ประสบความฉิบหายอย่างใหญ่หลวงในแห่งชีวิต เพราะความวิปริตของกายตน จึงต้องเป็นคนโชคร้ายนักหนา จัดว่าเป็นมหาวิบัติสำคัญประการที่ห้า

    6. วิบัติทิฐิ

    วิบัติทิฐินี้ ได้แก่วิบัติเพราะทิฐิแห่งตน หายความว่า ถึงแม้จะได้มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติ และทรงประกาศพระบวรพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นในโลกเช่นปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว และตัวเราก็หลบพ้นจากมหาวิบัติต่างๆ ได้มีโอกาสมาเกิดในตระกูลที่เป็นสัมมาทิฐิ มีอุปธิร่างกายเป็นปกติ มิใช่เป็นคนหูหนวก ตาบอด คนบ้า คนใบ้ แต่ประการใดเลย คราวนี้สมมติว่า ตัวเราเองนี่กลายเป็นคนที่มีทิฐิวิบัติ คือ มีความเห็นผิดมักบูชาความคิดความเห็นของตนอันไม่ถูกต้อง จะเป็นเพราะว่าไปซ่องเสพสมาคมกับชนมิจฉาทิฐิเข้า หรือว่าจะเป็นเพราะเหตุอื่นใดก็ตาม แล้วก็ให้มีอันเป็นเกิดความคิดวิปริตไปโดยนัยเป็นต้นว่า
    “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี พระธรรมที่พร่ำสอนกันก็ไม่เป็นนิยยานิกธรรม นำสัตว์ให้พ้นทุกข์มิได้ แม้พระอริยสงฆ์นั้นไซร้ ก็หาได้มีคุณวิเศษยิ่งไปกว่าตัวเรานี่ไม่ มรรค ผล นิพพาน บุญบาป เป็นสภาพที่เพ้นฝันว่ากันไปอย่างนั้นเอง ความจริงหามีไม่ คำสอนในศาสนาไม่มีคุณค่าควรแก่การปฏิบัติตาม”

    เกิดความเห็นไม่เข้าท่าไปทำนองนี้ ก็เลยไม่มีศรัทธาจิตคิดเลื่อมใส ไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติตามกระแสพระพุทธฎีกาอันหาได้ยากในโลก เมื่อไม่ปฎิบัติตาม ก็ย่อมไม่ได้พบความวิเศษสุดของพระบวรพุทธศาสนา เมื่อเป็นอย่างนี้ เกิดมาก็นับว่าเสียชาติเกิดไปเปล่าๆ ได้มาพบศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้าอันแสนประเสริฐแล้ว แต่จักษุกลับไม่มีแวว เป็นคนตาบอด ตาใส มองเห็นเป็นของต่ำทรามไม่มีค่า ไม่ช้าก็ถึงกาลกิริยาตายไปโดยไม่มีที่พึ่ง เพราะมีทิฐิดึงดันดื้อรั้นยิ่งนัก ไม่รู้จักเชื่อฟังคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าทำนองที่ว่า เกิดมาเปล่าแล้วก็ตายไปเปล่าอีกตามเดิม สภาพการณ์เช่นว่ามานี้ เรียกชื่อว่า วิบัติทิฐิ ประสบความฉิบหายอย่างใหญ่หลวงแห่งชีวิต เพราะความเห็นผิดของตน จึงต้องเป็นคนโชคร้ายนักหนา จัดว่าเป็นมหาวิบัติประการสุดท้าย

    บัดนี้ ลองหันมาตรวจตราดูที่ตัวเราท่านทั้งหลายนี่ดูเถิด เราเกิดมาในชาตินี้จะได้รู้ที่เกิดมาก่อนก็หาไม่ แต่ก็ให้บังเอิญเกิดมาพบพระบวรพุทธศาสนา แม้ว่าสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปนานแล้วก็ตาม แต่ศาสนธรรมคำสั่งสอของพระองค์ยังปรากฏอยู่ ก็เท่ากับว่าเราเกิดมาทันพุทธกาลเหมือนกัน นอกจากนั้นยังได้มีจิตใจเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา ปฏิญาณตนเป็นพุทธศาสนิกชน น้อมรับเอาพระพุทธศาสนาอันทรงคุณค่าประเสริฐสุดมาเป็นสรณะที่พึ่งแห่งตน ก็เป็นอันว่าพ้นแล้วจากมหาวิบัติความฉิบหายอย่างใหญ่หลวงทั้ง 6 ประการ ตามที่พรรณนามาแล้วใช่ไหมเล่า อย่างนี้แล้ว จะไม่ให้กล่าวว่า เราเกิดมาในชาตินี้ กำลังได้รับโชคลาภอย่างมหาศาลอยู่แล้วได้อย่างไร

    ในบรรดามหาวิบัติทั้งหลายนั้น หากพิจารณากันให้ดีก็จะเห็นได้ว่ามหาวิบัติข้อแรก คือ วิบัติกาล นับว่าสำคัญกว่าข้ออื่น เพราะเกี่ยวกับการอุบัติบังเกิดขึ้นแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง ถ้าลงว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เสด็จมาอุบัติตรัสขึ้นในโลกแล้ว ถึงแม้ว่าเราท่านทั้งหลายจะเพียบพร้อมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสมบัติอื่นใดก็ตาม ก็ชื่อว่าไม่พ้นจากความวิบัติเหล่านี้ไปได้ ฉะนั้น การเสด็จอุบัติขึ้นแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นอุบัติกาลที่สัตว์โลกพากันถือว่าสำคัญที่สุด อย่าว่าแต่มนุษย์เรานี่เลย แม้แต่ปวงเทพเจ้า เหล่าอมร อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ผู้ทรงไว้ซึ่งมเหศักดิ์มีปัญญาต่างก็ปรารถนากาลเป็นที่เสด็จอุบัติขึ้น แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันทุกถ้วนหน้า

    ในกรณีนี้พึงทราบว่า การเสด็จอุบัติขึ้นแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จักมีปรากฏขึ้นในโลกแต่ละครั้งแต่ละหน ย่อมเป็นสภาพที่เป็นได้ยากยิ่งนัก ต่อกาลนานนักหนา จึงจะมีสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้าเสด็จมาตรัสรู้สักพระองค์หนึ่ง ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าท่านที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จะต้องเป็นบุคคลสำคัญที่เรียกว่า วิสิฎฐบุคคล คือเป็นบุคคลที่พิเศษจริงๆ ได้สร้างสมองอบรมพระบารมีมาเพื่อปรมาภิเษกสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ และพระบารมีที่ว่านั้น ได้ถูกบ่มมาเป็นเวลานานนับด้วยจำนวนมากมายหลายมหากัปทีเดียว จนถึงความแก่รอบสมบูรณ์แล้วทุกประการ ท่านผู้มีโพธิสมภารเป็นวิสิฎฐบุคคลนั้นจึงจะพลันมาอุบัติ ได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมโลกุตตมาจารย์ แล้วจึงทรงประทานประโยชน์อันมหาศาลให้แก่ชาวโลกด้วยการแนะนำให้รู้จักทางหลีกพ้นจากโอฆสงสาร อันมีภัยใหญ่น่ากลัวนักหนา แต่ว่าประชาสัตว์ถูกอวิชชาเข้าครอบงำ จึงทำให้ไม่รู้สึกว่าตนกำลังเวียนว่ายอยู่ในโอฆสงสารอันมีภัยใหญ่แลน่าเกรงกลัวเป็นที่สุดนั้นได้ ครั้นพอมาถูกแนะนำเข้าแล้ว ก็รู้สึกตนหวั่นเกรงภัย พยายามปฏิบัติไปตามกระแสพระพุทธฎีกา ก็พาตนพ้นภัยใหญ่ เข้าสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษมสานติ์มากต่อมากเหลือคณนา ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าบรรดาผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่ชาวโลกทั่วไปในไตรภพแล้ว ผู้ที่จะสามารถทำได้เท่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไม่มี ก็ท่านผู้ที่ทำประโยชน์อย่างมหาศาลและแท้จริงอย่างนี้ จะหาได้ง่ายๆ ที่ไหนเล่า

    ก็เพราะความที่สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า จะปรากฏอุบัติขึ้นในโลกแต่ละพระองค์เป็นการยากนักหนา ตามที่พรรณนามานี้สมเด็จพระชินสีห์บรมโลกเชษฐเจ้าแห่งเราชาวพุทธทั้งหลาย พระองค์ผู้ทรงมีพระกมลหฤทัยประกอบไปด้วยพระกรุณาและแสนจะบริสุทธิ์ซื่อตรง จึงทรงมีพระบรมพุทโธวาทตักเตือนอยู่เสมอว่า

    “การอุบัติบังเกิดขึ้นแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลก”

    พระพุทธฎีกานี้ ถ้ามีความสนใจน้อย ฟังดูแต่เพียงคร่าวๆ พอผ่านก็จะไม่เกิดความรู้สึกอะไรนัก มักให้เห็นแต่เพียงว่าเป็นพระพุทธพจน์หนึ่งเท่านั้นเอง แต่ความจริงแล้ว ทรงไว้ซึ่งความสำคัญและความจริงเป็นที่สุด เพราะปรากฏว่าพระพุทธฎีกาบทนี้มิใช่จะตรัสอยู่เนืองๆ พอเป็นเครื่องเตือนสติเหล่าพุทธบริษัท ด้วยความกรุณาและห่วงใยปรากฏเต็มเปี่ยมอยู่ในดวงหฤทัยแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์ โดยมีหลักฐานที่ท่านพรรณนาไว้ ดังต่อไปนี้
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อนุสาสนีประจำวัน

    กาลเมื่อ องค์สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชมน์ชีพอยู่นั้น ทุกวันพอได้เวลาอรุณสมัยรุ่งเช้า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงพาพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จออกไปเพื่อบิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์ เหล่าชนผู้ได้ทัศนาการเห็น ย่อมบังเกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นในดวงใจนักหนาเพราะสมเด็จพระมหากรุณาเจ้าทรงมีพระวรกายอันรุ่งเรืองไปด้วยถ่องแถวแห่งพระฉัพพรรณรังสี มีพระสรีระครบบริบูรณ์ด้วยพระทวัตติงสะมหาปุริสลักษณะและพระสีตยานุพยัญชนะอันวิจิตร ตั้งแต่พระอุณหิสตลอดลงมาถึงพื้นฝ่าพระบาทไพโรจน์ด้วยพระพุทธสิริวิลาสหาที่จะเปรียบมิได้ ด้วยว่า องค์สมเด็จพระพุทธเจ้านั้นไซร้ ทรงมีเส้นพระเกศาอันอ่อน และวงเวียนเป็นทักษิณาวัฎ มีสีดำสนิททุกเส้นเป็นอันดี และทรงมีพระนลาตงามเลิศบริสุทธิ์ ประดุจสุริยมณฑลอันปราศจากเมฆมลทิน และพระนาสิกของพระชินสีห์นั้น ก็มีสัณฐานยาวงามยิ่งนัก รุ่งเรืองไปด้วยพระรัศมีพรรโณภาส พระองค์ทรงเป็นนรสีห์ราชบุรุษมนุษย์สุดประเสริฐ งามเลิศตลอดทั้งพระวรกายแม้ภายใต้พื้นพระยุคลบาท ก็มีพรรณอันแดงประดับไปด้วยพระลายลักษณวงกงจักร์ และรอยรูปมหามงคลร้อยแปดประการเป็นมหัศจรรย์

    สมเด็จพระบรมโลกนาถเสด็จไปในกาลนั้น เพื่อทรงทำประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งผอง ด้วยพระพักตร์มีพรรณผ่องเพียงศศิธรมณฑลอันเต็มดวงในวันปุณณมีดิถี และพระพุทธกิริยาที่ทรงดำเนินไป ก็งามเหมือนประดุจดังลีลาแห่งพญาไกรสรสีหราช มฤคินทร์ สมควรที่อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ เทพยดาหมู่อมรแลมนุษย์นิกร จักอ่อนน้อมอภิวาทพระบวรพุทธบาท เสด็จยุรยาตรไปในท่ามกลางพระอริยสงฆ์สาวกทั้งปวง แลดูประหนึ่งดวงจันทร์อันแวดล้อมด้วยหมู่ดารากำลังลีลาไปในอัมพรประเทศสมเด็จพระโลกเชษฐผู้ทรงพระคุณหาที่เปรียบมิได้ ย่อมเสด็จบทจรไปเพื่อบิณฑบาตตามลำดับตรอกลำดับเรือนแห่งมหาชนชาวประชา ไม่ทรงเลือกหน้าว่าไพร่ผู้ดี พระพุทธจริยานี้แลเป็นพระอริยวงศ์ประเพณีแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ปางก่อนสืบมา

    ครั้นว่าเสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงกระทำภัตกิจแล้วเมื่อตอนสายแห่งทิวา บรรดาพระภิกษุสงฆ์องค์สาวกทั้งหลายต่างก็มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ใกล้พระคันธกุฎีที่ประทับ ด้วยมีใจมุ่งหมายจักสดับพระบรมพุทโธวาทประจำวัน และพระสงฆ์สาวกบางองค์นั้น ก็มีความประสงค์จะทูลขอบทพระกรรมฐานในกาลหลังจากที่ทรงพระประทานพระบรมพุทโธวาทจบลงแล้วด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏมีพระภิกษุสงฆ์สาวกพากันมารอคอยเสด็จออกของพระบรมโลกุตมาจารย์อยู่ในขณะนี้มากมาย

    ครั้นได้เวลา สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวเราทั้งหลาย ก็เสด็จออกมาจากพระคันธกุฎีด้วยพระพุทธลีลางดงามหาที่เปรียบมิได้แล้ว ประทับนั่งห้อยพระบาทเหนือพระแท่นที่ตั้งไว้ในที่นั้น เพื่อจักทรงล้างพระยุคลบาทให้บริสุทธิ์ สะอาดปราศจากละอองธุลี เสร็จแล้วก็ทรงยืนขึ้นทอดพระเนตรดูหมู่พระสงฆ์สาวกที่พากันมาเฝ้า และกำลังน้อมเกล้าประฌมกรอยู่ทุกถ้วนหน้า ด้วยพระพุทธนัยนาอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาเป็นยิ่งนัก และแล้วในขณะนั้นและ ณ ที่นั่นเอง พระองค์ก็ทรงเปล่าพระกระแสพุทธฎีกาเป็นโอทาวานุสาสนีแก่พระองค์สาวกทั้งปวงว่า

    ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงตกแต่งรักษาซึ่งตนให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด ด้วยว่า เวลาที่จะได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้นในโลกนั้นเป็นสิ่งที่หาได้โดยยาก การที่เป็นมนุษย์แล้วจะถึงพร้อมด้วยศรัทธาก็เป็นสิ่งหาได้ยาก การที่ผู้มีศรัทธาจะได้มีโอกาสบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาก็เป็นสิ่งที่ทำได้โดยยาก และการที่จะได้มีโอกาสสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเล่า ก็เป็นสิ่งที่ได้โดยยากในโลก

    ครั้นทรงประทานโอวาทานุสาสนีดังนี้แล้ว สมเด็จองค์พระประทีปแก้วพระมหากรุณาเจ้าจึงทรงประทับนั่งลง ณ พระบวรพุทธอาสน์ แล้วจึงทรงเริ่มประทานพระบรมพุทโธวาทอย่างอื่นหรือทรงประทานบทพระกรรมฐานเพิ่มเติมให้แก่พระสงฆ์สาวกที่ต้องการจะนำไปปฏิบัติต่อไป เหตุการณ์เป็นเช่นนี้อยู่เป็นปกติทุกวันโดยมาก ในสมัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชมน์ชีพอยู่

    เราท่านทั้งปวง ผู้เป็นสาวกของพระพุทธองค์ท่านในกาลบัดนี้เป็นปัจฉิมชนคนมีวาสนาน้อย เกิดมาในกาลสุดท้ายภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสได้พบประสบการณ์เช่นที่ว่ามานี้ แต่จะอย่างไรก็ดี พระอนุสาสนีนี้ก็ยังปรากฏก้องอยู่ คล้ายกับจะเป็นองค์สมเด็จพระบรมครูเจ้าคอยเฝ้าเตือนจิต ด้วยเหตุนี้ขอจงเร่งคิดเร่งอนุสรณ์ถึงพระอนุสาสนีประจำวันนี้ให้จงมากเถิด จะได้เกิดความไม่ประมาทในวัยและชีวิตของตน เพื่อผลกล่าวคือ ความได้สาระแก่นสารอย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากการเกิดมาพบพระบวรพุทธศาสนาของตัวเราในชาตินี้ อย่าให้พลาดท่าเสียทีได้

    ต่อจากนี้ไป จักได้อัญเชิญเอาพระอนุสาสนีประจำประการแรกคือข้อที่ว่า ทุลลโก พุทธูปปาโท โลกสมึ ซึ่งแปลว่า เวลาที่จะได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาบังเกิดขึ้นในโลก เป็นสิ่งที่หาได้โดยยาก อัญเชิญเอาพระอนุสาสนีข้อนี้มาเป็นต้นเค้า แล้วจักเล่าเรื่องราวอันเกี่ยวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่อจากนั้น ก็ตั้งใจไว้ว่าจักพรรณนาถึงการสร้างพระบารมีเพื่อพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ คือ พระมิ่งมงกุฎศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราท่านทั้งหลายในขณะนี้ กับทั้งจักพรรณนาถึงความที่พระองค์ทรงเป็นนาถะ คือ เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงของพวกเราทั้งหลาย โดยให้ชื่อเรื่องว่า มุนีนาถทีปนี หรือ ศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพระพุทธเจ้าซึ่งหมายถึงการชี้แจงแสดงเรื่องพระองค์ผู้ทรงเป็นนาถะที่พึ่ง คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ทรงมีพระปัญญาลึกล้ำสามารถนำสัตว์ออกจากวัฎสงสารได้ ทั้งนี้ ก็ด้วยเจตจำนงใคร่จะสดุดีพระคุณแห่งพระองค์เป็นประการสำคัญ

    ฉะนั้น ขอมวลท่านพุทธศาสนิกชนผู้สนใจในความเป็นไปขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กล่าวมานี้ จงมีมนัสมั่นอุตสาห์พยายามติดตามศึกษาต่อไป ตามสมควรแก่อัธยาศัยแห่งตนเถิด
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    บทที่ 1
    พระพุทธาธิการ

    บัดนี้ จักกล่าวถึงพระพุทธาธิการ คือ การกระทำอันยิ่งใหญ่เพื่อให้ได้พระปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ แห่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ผู้ทรงเป็นจอมมุนีทั้งหลาย ก็องค์พระจอมมุนีชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เราท่านทั้งหลายก็คงจะทราบกันได้ดีแล้วว่า มิใช่จะปรากฏในโลกแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น โดยที่แท้ ในอดีตกาลก็มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลกหลายพระองค์ล่วงมาแล้วและในอนาคตกาล พอสิ้นสูญศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระมิ่งมงกุฎศรีศากยมุนีโคดมบรมโลกนายก ที่เราเคารพบูชาอยู่ทุกวันนี้แล้ว ก็จักมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใหม่เสด็จมาอุบัติตรัสในโลกนี้อีก แต่ว่ามาตรัสเป็นครั้งคราว ไม่เป็นระยะเวลาติดต่อรับช่วงกัน โดยที่บางทีพอสิ้นศาสนาพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งแล้ว โลกว่างจากพระพุทธศาสนาอยู่ไม่นานนัก เพียงในกัปเดียวกันนั่นเอง ก็มีศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่อุบัติขึ้น แต่บางทีนั้น พอสิ้นศาสนาสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งแล้ว โลกเรานี้ต้องว่างจากพระพุทธศาสนาอยู่เป็นเวลานานแสนนานนับเป็นสิบๆ มหากัปทีเดียว จึงจะมีศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ปรากฏขึ้นมา

    และเมื่อสมเด็จพุทธเจ้า เสด็จมาอุบัติตรัสขึ้นในโลกคราวใดคราวนั้นพระองค์ย่อมตรัสพระสัทธรรมเทศนาแสดงปฏิปทาข้อปฏิบัติให้ถึงความพ้นทุกข์ในวัฎสงสารประทานอมตธรรม นำสัตว์โลกให้ได้บรรลุถึงพระนิพพานสมบัติ เหล่าสัตว์ผู้มีวาสนาบารมี แต่พอได้สดับพระโอวาทานุสาสนีขององค์สมเด็จพระมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ย่อมได้บรรลุมรรคผลนิพพานตามสมควรแต่อุปนิสัยวาสนาบารมีแห่งตนๆ เป็นอันพ้นจากทุกข์ภัยในสงสารได้เป็นอันมาก แล้วศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็จะพลันเสื่อมถอยลงๆ จนกระทั่งหายสาบสูญไปจากโลกนี้ในคราวหนึ่งๆ ในระยะกาลเวลาที่โลกว่างจากพระพุทธศาสนานี้ โลกจะมีสภาวะเป็นโลกมืดมนมืดบอดจากมรรคผลนิพพาน เพราะไม่มีแสงประทีปกล่าวคือ พระสัทธรรมอันแสดงหนทางให้ถึงธรรมวิเศษนั้นได้ สัตว์ที่เกิดมาในระยะนี้ ก็ชื่อว่าเกิดมาเปล่าและก็ตายไปเปล่า หาสาระแก่นสารอันใดมิได้ ต่อเมื่อใด ปรากฏมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ เสด็จมาประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นอีกนั่นแหละ โลกจึงจะลุกโพลงขึ้นด้วยแสงประทีปอันประเสริฐคือ พระสัทธรรมนำสัตว์ให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานเสียอีกคราวหนึ่ง จึงเป็นอันว่าโลกเรานี้ บางทีก็ว่างจากพระบวรพุทธศาสนาอยู่ไม่นานเท่าใด แต่บางสมัยนั้นโลกต้องว่างจากพระพุทธศาสนาอยู่เป็นเวลานานนัก

    มีปัญหาว่า เหตุไฉน สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงไม่ผลัดกันมาตรัสในโลกเรานี้ให้เสมอติดต่อกันไปโดยไม่ขาดสายจะปล่อยให้โลกว่างจากพระพุทธศาสนาอยู่เป็นเวลานานๆ ทำไมกัน จะมาตรัสให้ติดต่อกันไป เช่น พอสิ้นศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์เก่าแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ ก็มาประกาศพระศาสนาแทนต่อไปอีก โดยมิให้โลกต้องว่างจากพระพุทธศาสนาเลยทีเดียวมิได้หรือ ในกรณีนี้เห็นทีจะขัดสน ทั้งนี้ ก็เพราะว่าการที่โลกเรานี้ จักได้มีโอกาสต้อนรับการอุบัติขึ้นแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสักพระองค์หนึ่งนั้นเป็นการลำบากยากเย็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุอะไร ก็เพราะว่า จะหาผู้ที่มาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแต่ละท่านนั้น หากันมิค่อยจะได้เลย

    ก็การที่จะตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ดำรงฐานะเป็นเอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ใช่ว่าจะเป็นกันได้ง่ายๆ เมื่อไหร่เล่า โดยที่แท้ เป็นได้โดยยากนักหนา ความยากอย่างยิ่งจะขอยกไว้ในตอนเบื้องต้นนี้ จักกล่าวถึงน้ำใจก่อนท่านที่จักตรัสเป็นพระพุทธเจ้าคือได้บรรลุถึงพระพุทธภูมินั้นต้องเป็นท่านที่มีน้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวขนาดเป็นมหาวีรบุรุษทีเดียว ในข้อนี้พึงทราบอุปมากถาที่ท่านพรรณนาไว้ ดังต่อไปนี้
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    น้ำใจพระโพธิสัตว์

    กาลเมื่อโลกจักรวาล อันมีเนื้อที่กว้างใหญ่สุดประมาณนี้มีถ่านเพลิงซึ่งร้อนรุ่มสุมคุ ระอุ จนเต็มไปหมด ผู้ใดมีน้ำใจองอาจเพื่อจะเดินฝ่าบุกไปโดยเท้าเปล่าๆ ไปจนสุดหมื่นจักรวาลก็ดี

    ในเมื่อโลกจักรวาล อันมีเนื้อที่กว้างใหญ่สุดประมาณนี้มีเปลวไฟลุกแดงเป็นพืดยาวเต็มไปหมด ผู้ใดมีน้ำใจองอาจเพื่อจะเดินฝ่าบุกไปโดยเท้าเปล่าๆ ไปจนสุดหมื่นโลกจักรวาลก็ดี

    ท่านผู้มีน้ำใจองอาจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญเห็นปานฉะนี้ จึงควรที่จะปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างพระบารมีเพื่อจะได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณได้ เห็นไหมเล่า ว่าท่านผู้มีปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมินั้น จะต้องเป็นผู้มีน้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวเพียงใด ถ้ามีน้ำใจอ่อนแอมีความกลัวตายมากกว่าพระโพธิญาณแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย ก็ผู้ที่มีน้ำใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญเช่นว่ามานั้นหากันได้ง่ายๆ ในโลกที่ไหนเล่า

    อนึ่ง ผู้ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมินั้น ย่อมบำเพ็ญธรรมหนักแน่นด้วยน้ำใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง ไม่ว่าจักเสวยพระชาติคือถือกำเนิดเป็นอะไรก็ตาม ย่อมจะมีน้ำใจสมาทานมั่นคง ยิ่งในการประกอบการอันเป็นกุศลกรรมแล้ว ก็ยิ่งมั่นคงเป็นอัศจรรย์นัก จะได้ย่อหย่อนเบื่อหน่ายส่ายพักตร์เป็นไม่มีเลย สมณพราหมณ์ อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งมีจิตคิดจะทดลองด้วยอุบาย มุ่งหมายจะให้พระโพธิสัตว์ละเสียซึ่งกุศลสมาทาน ก็มิอาจจะทำได้สำเร็จเลย กิริยาที่พระโพธิสัตว์ประกอบด้วยกุศลสมาทานมั่นคงนี้ ในชาติที่พระองค์ถือกำเนิดเกิดเป็นมนุษย์จะขอยกไว้ ในที่นี้ ใคร่จะขอเล่าแต่เพียงชาติที่พระองค์ทรงเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน ก็ยังมีพระบวรสันดานประกอบไปด้วยกุศลสมาทานมั่นคง มีน้ำใจตรงแน่วไม่หวั่นไหว ตามเรื่องที่ปรากฏในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    กระแตโพธิสัตว์

    กาลเมื่อ สมเด็จพระจอมมุนี ยังสร้างสมบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งต้องท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนั้น ปรากฏว่าครั้งหนึ่ง พระองค์อุบัติในดิรัจฉานภูมิเสวยพระชาติเป็นกระแตสัตว์เดียรฉานมีนิวาสสถานอยู่ ณ ที่ใกล้มหาสมุทรทะเลใหญ่

    อยู่มาวันหนึ่ง เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมมาเป็นอันมากกระแสน้ำซึ่งมีกำลังเชี่ยวกรากดุดัน พัดผันพาเอารังพร้อมทั้งลูกของพระโพธิสัตว์ลงไปสู่มหาสมุทรทะเลหลวงหายไป ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เมื่อได้รับอุปัทวเหตุเช่นนี้ ก็มีใจเศร้าเฝ้าคิดสงสารลูกของตนเป็นหนักหนา เสวยทุกขเวทนาดั่งว่าจะขาดใจตายไปตามบุตร สุดที่จะคิดถึงเหตุผลประการใด มีใจมุ่งหมายครุ่นคิดอยู่แต่ว่า

    “เราจะกระทำความเพียร วิดน้ำในมหาสมุทรนี้ให้แห้งแล้วจะค้นหาลูกเราจนพบให้จงได้”

    ครั้นเกิดมุมานะฉะนั้นแล้ว ก็เริ่มกระทำความเพียรเอาหางของตนจุ่มลงไปในน้ำพอเปียกชุ่มแล้วก็วิ่งขึ้นไปสลัดน้ำลงบนที่ดอน แล้วก็ย้อนกลับมาเอาหางจุ่มน้ำ และวิ่งไปสลัดน้ำลงบนที่ดอนอีก แต่พระโพธิสัตว์เจ้าเฝ้าวิดน้ำในมหาสมุทรด้วยหางแห่งตนอยู่อย่างนี้ จนสรีระร่างกายได้รับความบอบช้ำเหน็ดเหนื่อยนักหนา เป็นเวลาถึง 5 – 6 วัน น้ำนั้นจะพร่องไปสักนิดก็หามิได้ ก็มันจะพร่องไปได้อย่างไรเล่า เพราะว่าไม่ใช้น้ำในตุ่มในไห แต่เป็นน้ำในมหาสมุทรใหญ่ทะเลหลวงซึ่งมีมากมายเหลือคณนา แม้ว่าจะเป็นอย่างนี้ สัตว์ผู้มีใจเด็ดคือ กระแตโพธิสัตว์นั้นก็มีใจมั่นคง จะได้ย่อท้อหย่อนจากความเพียรเสียก็หามิได้ กลับตั้งใจมานะพยายามวิดน้ำในมหาสมุทรต่อไปอีกอย่างไม่ลดลง

    ด้วยเดชะวิริยะบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ ซึ่งตั้งใจกระทำอย่างผิดธรรมดาในครานั้น ก็บันดาลให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ขององค์สมเด็จพระอมรินทราธิราช ผู้ทรงเป็นจอมเทพยเจ้าเบื้องสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ถึงอาการแข็งกระด้างเป็นอัศจรรย์ ครั้นองค์มัฆวานทรงส่อทิพยเนตรทราบประพฤติเหตุนั้นแล้วจึงเสด็จลงมาจากเทวโลกในวันที่ 7 แปลงเพศเข้าไปหากระแตโพธิสัตว์เจ้า ซึ่งกำลังเอาหางวิดน้ำในมหาสมุทรอยู่อย่างอุตลุดแล้วทรงมีเทววาทีเอ่ยถามขึ้นมา

    “ดูกร ท่านผู้เป็นกลันทกชาติ คือ กระแต่ ท่านมาทำอะไรพิกลอยู่ที่นี่”
    “เรากำลังทำการวิดน้ำในมหาสมุทร” พระโพธิสัตว์ตอบ
    “ท่านมีความประสงค์สิ่งใดๆ จึงถึงกับต้องวิดน้ำทั้งมหาสมุทรทีเดียว”
    “เรากระทำความเพียรในครั้งนี้ เพื่อหวังจะให้น้ำในมหาสมุทรนี้แห้ง แล้วจะค้นหาบุตรของเราที่ถูกน้ำพัดพามาจมลงที่มหาสมุทรนี้ให้พบ”

    สมเด็จพระอมรินทราธิราช จึงตรัสว่า
    “การที่ท่านจะวิดน้ำในมหาสมุทรนี้ให้แห้งนั้น เห็นทีจะขัดสนนัก คือ ข้าพเจ้าเห็นว่า ท่านจักต้องตายเปล่าเสียเป็นแน่แท้ ท่านมิแลดูดอกหรือว่า น้ำในมหาสมุทรนี้มากมายนัก สุดวิสัยที่ผู้ใดผู้หนึ่งจักวิดให้แห้งได้ ไฉนท่านจึงมากระทำการอันสำแดงความโง่ออกมาให้ปรากฏเห็นปานฉะนี้ หยุดเสียเถิด อย่าได้พยายามต่อไปเลย จะตายเสียเปล่าๆ”
    “ท่านนั่นแหละโง่” พระโพธิสัตว์ผู้เป็นกลันทกชาติกล่าวตอบแล้วจึงพูดต่อไปตามประสาแห่งตนว่า “ตัวท่านเป็นคนโง่ เพราะเป็นผู้มีใจเกียจคร้านหาความเพียรมิได้ ขึ้นชื่อว่าคนเกียวคร้านเหมือนเช่นตัวท่านนี้ หาควรที่เราจะเจรจาด้วยไม่ตั้งแต่ท่านมาชักชวนเจรจาอยู่นี้ ก็เป็นการเสียเวลาเราอยู่เป็นอันมาก เราเสียดายเวลานัก ท่านจงไปเสียให้พ้นเถิด อย่ายืนอยู่ที่นี่เลย อ้าว ว่าอย่างไรเล่า บอกว่าไปให้พ้น”

    พระโพธิสัตว์ตวาดไล่พระอินทร์ดังนี้แล้ว ก็ก้นหน้าก้มตาวิดน้ำในมหาสมุทรด้วยหางของตนต่อไปอย่างขะมักเขม้น โดยไม่ยอมพักผ่อนหยุดยั้ง ข้างฝ่ายสมเด็จพระอมรินทราธิราช เมื่อถูกตวาดเช่นนั้น จึงทรงพระดำริว่า แท้จริงธรรมดาว่า สัตว์ผู้เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูรนี้ ย่อมมีความเพียรใหญ่ประจำอยู่ในสันดานอย่างเอกอุ ดูเอาเถิดในกาลบัดนี้ถึงแม้จะกระทำสิ่งที่เหลือวิสัย เราลองน้ำใจบอกให้เลิกละเสียด้วยเหตุผลอันสมควรนักหนาก็หาละทิ้งความตั้งใจเดิมเสียไม่ ช่างมีน้ำใจเด็ดเดี่ยวอาจหาญน่าสรรเสริญนัก เมื่อมีเทวดำริเช่นนั้น จึงทรงไปนำเอาลูกกระแตซึ่งยังไม่ตายมามอบให้แก่พระโพธิสัตว์ด้วยเทวานุภาพแล้วก็สำแดงองค์ให้ทราบว่า พระองค์เป็นจอมเทพเบื้องสรวงสวรรค์ เปล่งรัศมีพรรณรุ่งเรืองโอภาส เสด็จกลับไปสู่ไพชยนตปราสาท อันเป็นเทวสถานพิมานที่ประทับอยู่แห่งพระองค์

    เรื่องที่เล่ามานี้ ย่อมจะชี้ให้เห็นว่าพระโพธิสัตว์คือท่านผู้ปรารถนาเพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระจอมมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั้น ย่อมจะมีมนัสมั่นคงนักหนา ถึงแม้ว่าจะพลาดพลั้งไปถือกำหนดเป็นสัตว์เดียรฉานก็ดี ก็ย่อมมีน้ำใจมั่นคงเด็ดเดี่ยวเต็มไปด้วยวิริยะอุตสาหะเป็นยอดเยี่ยม ถ้าลงได้ตั้งใจกระทำสิ่งใดแล้ว แม้จักยากแสนยากเพียงใดก็ตาม การที่จะมีความเพียรอันย่อหย่อนหรือเลิกล้มความตั้งใจเสียกลางคันนั้นเป็นอันไม่มีอย่างเด็ดขาด นี่แหละท่านทั้งหลายคือความมั่นคงเด็ดเดี่ยวแห่งน้ำใจของพระมหาบรมโพธิสัตว์เจ้า ผู้เฝ้าปรารถนาเพื่อจักได้ตรัสพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระพุทธเจ้า 3 ประเภท

    เมื่อได้ชี้แจงใหทราบถึงน้ำใจพระโพธิสัตว์ ผู้ปรารถนาพระพุทธภูมิไว้เป็นเบื้องแรกดังกล่าวมาแล้ว บัดนี้ เพื่อความเข้าใจในเรื่องราวตามลำดับ จักขอกลับมากล่าวถึงประเภทแห่งสมเด็จพระจอมมุนีชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสียก่อน ก็สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อจะแบ่งเป็นประเภท ก็ได้ 3 ประเภท ตามพระบารมีที่ได้ทรงสร้างสมอบรมมา คือ พระปัญญาธิกะพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง พระสัทธาธิกะพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง พระวิริยาธิกะพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ซึ่งมีอรรถาธิบายตามที่ท่านพรรณนาไว้ ดังต่อไปนี้

    พระปัญญาธิกะพุทธเจ้า

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะนี้ พระองค์ทรงสร้างพระบารมีชนิดปัญญาแก่กล้า คือ ทรงมีพระปัญญามาก แต่มีพระศรัทธาน้อย จึงทรงสร้างพระบารมีน้อยกว่าพระพุทธเจ้าประเภทอื่น เมื่อจะนับเวลาที่ทรงสร้างพระบารมีตั้งแต่ต้น จนกระทั่งได้ตรัสพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ก็เป็นเวลายาวนานดังนี้
    ก. เริ่มแรกตั้งแต่ทรงดำริในพระทัยว่า “เราจักเป็นพระพุทธเจ้าสักองค์หนึ่ง” ได้แต่ทรงนึกอย่างนี้อย่างเดียว มิได้ออกโอษฐออกพระวาจา แต่ประการใด ก็นับเป็นเวลานานถึง 7 อสงไขย
    ข. ต่อจากนั้น จึงออกโอษฐปรารถนาว่า “เราจักตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเบื้องหน้าให้จงได้” แล้วก็ทรงสร้างพระบารมีเพื่อพระโพธิญาณเรื่อยไป พร้อมกับออกโอษฐปรารถนาอยู่อย่างนั้น นับเป็นเวลานานได้ 9 อสงไขย
    ค. ต่อจากนั้น จึงจะได้รับลัทธยาเทศ คือ คำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง “จักได้ตรัสรู้เป็นองค์พระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน” ครั้นได้รับลัทธาเทศบาลดังนี้แล้ว ก็ต้องสร้างพระบารมีอยู่อีกนานหนักหนา นับเป็นเวลาได้ 4 อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัป

    จึงเป็นอันว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะนี้ต้องทรงสร้างพระบารมีมาตั้งแต่เริ่มแรก จนกว่าจะได้ตรัสรู้นั้นนับเป็นเวลานานถึง 20 อสงไขย กับอีกหนึ่งแสนมหากัปพอดีและข้อควรทราบไว้ในที่นี้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่า

    สมเด็จพระพุทธเจ้าปัญญาธิกะนี้ หลังจากพระองค์ได้ทรงสร้างพระบารมีมานานแล้ว และเมื่อจะได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าว่า “จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน” เป็นครั้งแรกนั้น ในขณะนี้ หากพระองค์ท่านจะละความปรารถนาดั้งเดิมที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเสีย แล้วกลับมามีพระทัยน้อมไปในทางสาวกโพธิญาณ คือ ปรารถนาที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานในชาตินั้น พูดอีกทีก็ว่าพระองค์ทรงกลับใจไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงคิดเห็นว่า
    “การที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ต้องสร้างบารมีอีกนานนัก เราสมัครเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ที่จะทรงพยากรณ์ในขณะนี้ดีกว่า”
    เมื่อเพียงแต่กลับใจดั่งนี้ แล้วตั้งใจสดับฟังพระสัทธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์มณฑลแห่งสมเด็จพระทศพลพระองค์นั้น พอสดับพระธรรมเทศนาบาทพระคาถาที่ 3 ยังมิทันจะจบลง พระองค์ท่านก็จักได้สำเร็จเป็นพระอรหันตสาวก พร้อมกับปฏิสัมภิทาญาณทั้งหลายทันที ทั้งนี้เพราะมีพระบารมีแก่กล้าอยู่ในขันธสันดานแล้ว

    แต่การที่ไม่ทรงรีบคว้าเอามรรค ผลนิพพาน อันอยู่ใกล้แค่พระหัตถ์เอื้อมในครั้งกระนั้น ก็เพราะทรงมีพระมนัสมุ่งหมายเอาพระพุทธโพธิญาณ ทั้งมีน้ำพระทัยอาจหาญเด็ดเดี่ยวปรารถนาเพื่อจักได้พุทธบารมีด้วยพระวิริยะอุตสาหะไปอีกนานนักหนา นับเป็นเวลาถึง 4 อสงไขยกับเศษอีกหนึ่งแสนมหากัป

    พระสัทธาธิกะพุทธเจ้า

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะพุทธเจ้านี้ พระองค์ทรงสร้างพระบารมีประเภทศรัทธาแก่กล้า คือ ทรงมีพระศรัทธามากยิ่ง จึงทรงสร้างพระบารมีประเภทปานกลาง เมื่อจะนับเวลาที่ทรงสร้างพระบารมีมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งได้ตรัสพระปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ก็เป็นเวลายาวนานดังนี้

    ก.เริ่มแรกแต่ทรงดำริในพระทัยไป จนกว่าจะถึงเวลาออกพระโอษฐปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น นับเป็นเวลานานถึง 14 อสงไขย
    ข. นับจำเดิมแต่ออกพระโอษฐ ปรารถนาเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นไป กว่าจะได้ลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งนั้น นับเป็นเวลาถึง 18 อสงไขย
    ค. นับจำเดิมแต่ได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์ครั้งแรกเป็นต้นไปกว่าจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกเป็นเอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายนั้น นับเป็นเวลานานถึง 8 อสงไขย กับเศษอีกหนึ่งแสนมหากัป

    จึงเป็นอันว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะนี้ต้องทรงสร้างพระบารมีมาตั้งแต่แรกเริ่ม จนกว่าจะได้ตรัสรู้นั้น นับเป็นเวลารวมทั้งสิ้นได้นานถึง 40 อสงไขย กับเศษอีกหนึ่งแสนมหากัปพอดี และมีข้อที่ควรทราบไว้ในที่นี้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่า

    สมเด็จพระพุทธเจ้าสัทธาธิกะนี้ ในขณะที่ทรงได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จาสมเด็จพระพุทธเจ้าว่า “จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน” เป็นครั้งแรกนั้น หากพระองค์ท่านจะกลับใจไม่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ไม่เอาพระสัมมาสัมโพธิญาณอันประเสริฐสุด รีบรุดประสงค์สาวกโพธิญาณ กล่าวคือปรารถนาเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์ที่พยากรณ์ตนแล้วตั้งใจสดับพระสัทธรรมเทศนาในขณะนั้น แต่พอสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าทรงเทศนาบาทพระคาถาที่ 4 ยังมิทันที่จะจบลง ก็จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันตสาวกพร้อมกับปฏิสัมภิทาญาณทั้งหลายทันที ทั้งนี้ ก็เพราะมีพระบารมีญาณเต็มเปี่ยมอยู่ในขันธสันดานแล้ว

    พระวิริยาธิกะพุทธเจ้า

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทวิริยาธิกะพุทธเจ้านี้ พระองค์ทรงสร้างพระบารมีประเภทมีความเพียรแก่กล้า คือ ทรงมีพระวิริยะมากยิ่ง จึงต้องสร้างพระบารมีมากมาย นับเป็นเวลาช้านานกว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าประเภทอื่นทั้งหมด เมื่อจะนับเวลาที่ทรงสร้างพระบารมีมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งได้ตรัสพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณก็นับเป็นเวลายาวนานดั่งนี้

    ก. เริ่มแรกแต่ทรงดำริในพระทัย ไปจนกว่าจะถึงเวลาออกโอษฐปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้านั้น ก็นับเป็นเวลานานถึง 28 อสงไขย
    ข. นับจำเดิมแต่ออกโอษฐ ปรารถนาเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นต้นไป กว่าจะได้ลัทธยาพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ก็นับว่าเป็นเวลานานถึง 36 อสงไขย
    ค. นับจำเดิมแต่ได้รับลัทธยาพยากรณ์คำพยากรณ์ครั้งแรกเป็นต้นไปกว่าจะได้ตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษกเป็นเอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายนั้น ก็นับเป็นเวลานานถึง 16 อสงไขย กับเศษอีกหนึ่งแสนมหากัป

    จีงเป็นอันว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทวิริยาธิกะนี้ ในขณะที่จะทรงได้รับลัทธยาเทศ คือ คำพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกนั้น หากพระองค์ท่านจะทรงกลับใจไม่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า คือ ไม่เอาพระสัมมาสัมโพธิญาณอันประเสริฐสุด รีบรุดเร่งประสงค์เพียงแค่สาวกโพธิญาณแล้วไซร้ ตั้งใจสดับพระสัทธรรมเทศนาในขณะนั้น ครั้นสดับอรรถาธิบายพระคาถา 4 บาท ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ทรงจำแนกแจกแจงอรรถออกโดยพิสดาร แต่เพียงจบลงเท่านั้น ก็จะพลันได้สำเร็จเป็นพระอรหันตสาวก พร้อมกับปฏิสัมภิทาญาณทั้งหลายทันที ทั้งนี้ก็เพราะมีพระบารมีญาณเต็มเปี่ยมอยู่ในขันธสันดานอยู่แล้ว จึงอาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์และบรรลุถึงพระนิพพานในชาตินั้นได้
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เรื่องอสงไขย

    กาลเวลาที่นับเป็นอสงไขยและจำนวนมหากัปที่ว่าเรื่อยมานั้น ถ้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ฟังเรื่อยๆ ไปแต่เพียงผิวเผินก็ย่อมเป็นสักแต่ว่าอย่างนั้นเอง คือคล้ายๆ กะว่าพูดเพื่อให้เกิดความระรื่นหู ผู้ที่ไม่รู้อาจจะคิดด่วนสรุปความเอาเองง่ายๆ ตามประสาของผู้มีปัญญามักจะแล่นไปข้างหน้าว่า คงเป็นเวลาที่ไม่นานเท่าไหร่กระมัง อย่าด่วนคิดเอาเองดังนั้น เพราะความจริงไม่ใช่ ด้วยว่า กาลเวลาที่นับเป็นอสงไขย และเป็นมหากัปนั้น มันเป็นเวลายาวนานนักหนา พึงทราบอรรถาธิบายที่ท่านพรรณนาไว้ ดังต่อไปนี้

    กาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย นั้น ท่านกำหนดเอากาลเวลาที่มากมายยาวนานเหลือที่จะนับจะประมาณได้ เพราะคำว่าอสงไขย แปลว่า นับไม่ได้ คือ อย่านับดีกว่า โดยมีอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า

    ฝนตกใหญ่มโหฬารทั้งกลางวันกลางคืนเป็นเวลานานถึง 3 ปีติดต่อกัน มิได้หยุด มิได้ขาดสายเม็ดฝน จนน้ำฝนเจิ่งนองท่วมท้นเต็มขอบเขาจักรวาล อันมีระดับความสูงได้ 84000 โยชน์ ทีนี้ ถ้าสามารถนับเม็ดฝน และหยาดแห่งเม็ดฝนที่กระจายเป็นฟองฝอยใหญ่น้อย ในขณะที่ฝนตกใหญ่ 3 ปีติดต่อกันนั้น นับได้จำนวนเท่าใด อสงไขยหนึ่ง เป็นจำนวนปีเท่ากับเม็ดฝนและหยาดแห่งเม็ดฝนที่นับได้นั้น

    อุปมานี้เป็นอุปมากาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย ท่านทั้งหลายที่รู้สึกว่าเข้าใจยากในข้อความที่ว่ามานี้ ต้องอ่านทบทวนดูอีกทีแล้ว คงจะเข้าใจดีขึ้น และแล้วก็คงจะเห็นเองว่าเวลาที่ว่าอสงไขยๆ นั้น เป็นเวลานานหนักหนาเพียงไร

    สมเด็จพระจอมมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ละพระองค์ แต่ละประเภทต้องทรงสร้างพระบารมีมาจำนวนหลายๆ อสงไขย จึงนับได้ว่า พระองค์ต้องการมีน้ำพระทัยประกอบไปด้วยวิริยะอุตสาหะ น่าสรรเสริญเป็นหนักหนา ยิ่งกว่านั้น ยังยืดเวลาที่เป็นเศษนับเป็นแสนมหากัปอีกด้วย ก็เวลาที่นับเป็นกัปหรือมหากัปนี้ก็หาใช่เวลาเล็กน้อยไม่ พึงทราบอรรถาธิบายในเรื่องมหากัป ดังต่อไปนี้
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เรื่อง มหากัป

    ยังมีจอมบรรพตภูเขาใหญ่หนึ่ง ซึ่งตั้งตระหง่านเงื้อมทะมึนอยู่ เมื่อทำการวัดภูเขานั้นโดยรอบ ย่อมได้มีปริมาณความกว้างใหญ่และส่วนสูงได้ 1 โยชน์พอดี ทีนี้ พอครบกำหนด 100 ปี มีเทพยดาผู้วิเศษองค์หนึ่งมีหัตถ์ถือเอาผ้าทิพย์ซึ่งมีเนื้อละเอียดอ่อนประดุจควันไฟลงมาจากเบื้องสวรรค์เทวโลก ครั้นพอมาถึง ก็ลงมือเช็ดถูยอดภูเขาใหญ่ด้วยผ้าทิพย์นั้นหนหนึ่งแล้วก็กลับไปเสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ วิมานอันแสนสุขแห่งตนบนเทวโลกตามเดิม พอครบกำหนด 100 ปีอีกแล้ว จึงถือเอาผ้าทิพย์มาเช็ดถูยอดภูเขานั้นอีกหนหนึ่ง เทพยดาผู้วิเศษนั้นเฝ้าเช็ดถูยอดภูผาตามวาระอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ร้อยปีเช็ดถูทีหนึ่งๆ จนกระทั่งภูเขาใหญ่ 1 โยชน์นั้นสึกเกรียนเหี้ยนลงมาราบเป็นหน้ากลองเสมอพื้นดินแล้วเมื่อใด ตลอดเวลาเท่านั้นแหละจึงกำหนดได้ว่าเป็นหนึ่งมหากัป

    อีกอุปมาหนึ่งว่า ยังมีกำแพงแห่งหนึ่ง ซึ่งใหญ่มหึมาเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความกว้างและความลึกวัดได้ 1 โยชน์พอดี ทีนี้ พอถึงกำหนด 100 ปี ปรากฏว่ามีเทพยดาองค์หนึ่งมีหัตถ์ถือเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาหยอดใส่กำแพงสี่เหลี่ยมที่ว่านี้เมล็ดหนึ่ง แล้วกลับไปเสวยทิพย์สมบัติอยู่ ณ วิมานอันแสนสุขแห่งตนบนเทวโลก ครั้นครบกำหนด 100 ปีอีกแล้ว จึงนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาใส่เพิ่มเติม ลงมาในกำแพงสี่เหลี่ยมนั้นอีกเมล็ดหนึ่ง แต่เทพยดาผู้วิเศษนั้น เฝ้าเวียนมาหยอดใส่เมล็ดพันธุ์ผักกาดด้วยอาการอย่างนี้ ร้อยปีหยอดใส่ลงไปเมล็ดหนึ่งๆ จนกระทั่งเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้น เต็มเสมอขอบปากกำแพงอันกว้างใหญ่ได้โยชน์หนึ่งนั้นแล้วเมื่อใด ตลอดเวลาเท่าที่อุปมาเปรียบเทียบมานี้จึงจะกำหนดนับได้ว่าเป็นหนึ่งแสนมหากัป

    ตามที่กล่าวมานี้ เป็นการชี้ให้เห็นความยาวนานแห่งเวลาที่เรียกว่า มหากัป ด้วยการกล่าวอุปมา หากจะนับเป็นเวลาให้ทราบกันเป็นระยะๆ ก็พอจะมีทางนับได้ ดังต่อไปนี้

    อันตรกัป

    สมัยเริ่มแรกแต่ดึกดำบรรพ์นั้น บรรดามนุษย์คือคนเรานี้ ไม่ใช่ว่าจะมีอายุน้อยนิดเดียว เกิดมาในโลกแต่เพียง 70-80 ปีมาแล้ว ก็ให้มีอันเป็นถึงแก่กาลกิริยาได้แก่ต้องตายไปตามๆ กันเป็นส่วนมาก ตามที่รู้เห็นกันในปัจจุบันทุกวันนี้ก็หามิได้เลย โดยที่แท้มนุษย์ในสมัยเริ่มแรกนั้น มีอายุยืนนานมาก คือ มีอายุถึงอสงไขยปี

    ก็จำนวนที่เรียกว่า อสงไขยปีนั้น ก็คือ จำนวนปีที่มีเลขหนึ่งขึ้นหน้าแล้วมีเลขศูนย์ตามหลังอีก 140 เลขศูนย์ หรือจะว่าเป็นจำนวนที่นับด้วยตัวเลข 140 หลักก็ได้ ถ้าอยากจะทราบว่ามันเป็นจำนวนเท่าใด ได้ตัวเลขรูปร่างเป็นอย่างไร จะลองทำดูก็ได้ คือ ตั้งเลข 1 เข้าแล้วต่อเติมเลขศูนย์เข้าข้างท้ายต่อเติมให้ได้ 140 เลขศูนย์ จำนวนเท่าที่ได้นั้นนับเป็น

    อสงไขยปี

    อสงไขยปีนี่เอง เป็นอายุของมนุษย์เราโดยอนุมานในสมัยเริ่มแรกแล้วอายุอันมีจำนวนมากมายมหาศาลนั้นก็ค่อยๆ ลดลงมา โดยร้อยปีลดลงมาปีหนึ่งๆ ลดลงมาๆ (อาการอายุที่ลดลงมานี้ พึงเห็นตัวอย่างเช่น ในสมัยที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ยังมีพระชมน์ชีพอยู่นั้น อายุของมนุษย์มี 100 ปีเป็นประมาฯ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลนั้น ตราบเท่ามาถึงปัจจุบันนี้ล่วงแล้วได้ 2500 กว่าพรรษา เอาเป็นว่า 2500 พรรษาก็แล้วกัน ในจำนวน 2500 พรรษานี้ หนึ่งร้อยปีหักออกเสียหนึ่งปี ก็คงเป็นหักออก 25 ปี เมื่อ 100 ปีหักออกเสีย 25 ปี ก็คงเหลือ 75 ปี จึงเป็นอันยุติได้ว่า อายุของมนุษย์ในสมัยปัจจุบันนี้ประมาณ 75 ปี เป็นเกณฑ์โดยมาก) อายุของมนุษย์จะค่อยๆ ลดลงด้วยจอาการอย่างนี้จนกระทั่งเหลือเพียง 10 ปี เมื่อเหลือเพียง 10 ปีแล้ว ทีนี้จะไม่ลดต่อไปอีกละ แต่ละเพิ่มขึ้นคือ ค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ร้อยปีเพิ่มขึ้นปีหนึ่งๆ เช่นเดียวกับตอนที่ลดลงมานั่นเอง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งมนุษย์มีอายุยืนนานถึงอสงไขยปีอีกตามเดิม เวลาหนึ่งรอบอสงไขยปีนี้ เรียกว่าเป็น หนึ่งอนันตรกัป

    อสงไขยกัป

    เมื่อนับจำนวนอันตรกัปตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จนครบ 64 อันตรกัปแล้ว จึงเรียกว่าเป็นหนึ่งอสงไขยกัป

    ก็อสงไขยกัปนี้ มีอยู่ 4 อสงไขยกัปด้วยกัน โดยแบ่งเป็นตอนๆ ดังนี้ คือ

    1. สังวัฏฏอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัปปรากฏในตอนที่โลกถูกทำลาย ซึ่งได้แก่คำ สงวฏฏตีติ สงวฏโฏ = กัปที่กำลังพินาศอยู่ เรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป

    2. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัปปรากฏในตอนที่โลกถูกทำลายเสร็จเรียบร้อย
    แล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า สงวฏโฏ หุตวา ติฏฐตีติ สงวฏฏฐยี = กัปที่มีแต่ความพินาศตั้งอยู่เรียกชื่อว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

    3. วิวัฏฏอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ปรากฏตอนที่โลกกำลังจะเริ่มพัฒนาเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งได้แก่คำว่า วิวัฏฏตีติ วิวฏโฏ = กัปที่กำลังเริ่มเจริญขึ้น เรียกชื่อว่าวิวัฏฏอสงไขยกัป

    4. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัปปรากฏในตอนที่โลกเจริญขึ้น พัฒนาเรียบร้อยเป็นปกติตามเดิมแล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า วิวฏโฏ หุตวา ติฏฐตีติ วิวฏฏฐายี = กัปที่เจริญขึ้นพร้อมแล้วทุกอย่างตั้งอยู่ตามปกติ เรียกชื่อว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

    มีข้อที่ควรทราบไว้ในที่นี้ก็คือว่า สัตว์โลกทั้งหลายและเดียรฉานเป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้เฉพาะตอนอสงไขยกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนี่เท่านั้น ส่วนในตอน 3 อสงไขยกัปข้างต้น ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในโลกนี้เลย ก็จะไปอยู่ได้อย่างไรกันเล่าด้วยว่าในระยะเวลาเหล่านั้น เป็นตอนที่โลกกำลังถูกทำลายพังพินาศและผลแห่งการทำลายก็ยังคุกรุ่นอยู่ มาเป็นปกติเอาก็เมื่อตอนอสงไขยกัปสุดท้ายนี่เอง

    อสงไขยกัปหนึ่งๆ นั้น นับเป็นเวลานานมากดังกล่าวแล้ว คือ
    1. สังวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    2. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    3. วิวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    4. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    รวม 4 อสงไขยกัป ก็เป็น 256 อันตรกัป

    มหากัป

    เมื่อนับจำนวนทั้ง 4 อสงไขยกัป หรือ 256 อันตรกัป ตามที่กล่าวมาแล้วจนครบ จึงเป็นหนึ่งมหากัป

    ฉะนั้น กาลเวลาที่เรียกชื่อว่า มหากัป นี้จึงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนักหนา ตามที่กล่าวมานี้ รู้สึกว่าจะฟังยากอยู่สักหน่อย จึงขอสรุปความซ้ำ เพื่อให้จำได้ง่ายอีกทีหนึ่ง ดังนี้

    1 รอบอสงไขยปี เป็น 1 อันตรกัป
    64 อันตรกัป เป็น 1 อสงไขยกัป
    4 อสงไขยกัป เป็น 1 มหากัป

    กาลเวลาที่นับเป็นมหากัปเป็นอสงไขย หวังว่าคงจะเป็นที่เข้าใจกันบ้างแล้ว ทีนี้ เราจะหวนกลับมาพูดกันเรื่องเดิม คือ การสร้างพระบารมีเพื่อพระปรมาภิเษกแห่งองค์สมเด็จพระจอมมุนีชินสีห์เจ้าทั้งปวงกันต่อไปได้กล่าวไว้แล้วว่า สมเด็จพระจอมมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวงนั้น ต้องทรงสร้างพระบารมีตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งได้ตรัสรู้นับเป็นเวลานาน
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ประเภทของพระพุทธเจ้า คือ

    1. สมเด็จพระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ ต้องทรงสร้างบารมีรวมทั้งหมดเป็นเวลา 20 อสงไขย กับเศษเวลาอีหนึ่งแสนมหากัป

    2. สมเด็จพระพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะ ต้องทรงสร้างบารมีรวมทั้งหมดเป็นเวลา 40 อสงไขย กับเศษเวลาอีหนึ่งแสนมหากัป

    3. สมเด็จพระพุทธเจ้าประเภทวิริยาธิกะ ต้องทรงสร้างบารมีรวมทั้งหมดเป็นเวลา 80 อสงไขย กับเศษเวลาอีหนึ่งแสนมหากัป

    บัดนี้ ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายใคร่ครวญพิจารณาดูเถิดว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์กว่าจะได้ทรงมีโอกาสเสด็จมาอุบัติตรัสในโลกนี้ ต้องทรงสร้างสมอบรมพระบารมีมานานนักหนาเพียงใด ถ้าจะว่าสร้างพระบารมีเพื่อปรมาภิเษกสัมโพธิญาณนี้ เป็นการทำงานชนิดหนึ่งแล้ว ก็ต้องนับว่าเป็นการทำงานที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานที่สุด ซึ่งไม่มีงานอื่นใดในโลกจะมาเทียบเทียมได้ และผู้ที่จะทำงานนี้ได้นั้นก็ต้องเป็นท่านผู้มีใจเพชรเด็ดขนาดมหาวีรบุรุษ จึงจะสามารถมีความอดทนทำงานใหญ่ ซึ่งต้องใช้เวลานับชาติที่เกิดไม่ถ้วนนี้ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้

    และมีกฎตายตัวอยู่ว่า สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาเป็นเอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หากว่าพระองค์ท่านยังสร้างพระบารมีไม่ครบกำหนด คือ ยังไม่ถึง 20 อสงไขยแสนมหากัปก็ดี ยังไม่ถึง 40 อสงไขยแสนมหากัปก็ดี และยังไม่ถึง 80 อสงไขยแสนมหากัปก็ดี ตามประเภทการสร้างพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมจะไม่มีโอกาสตรัสรู้ก่อนกำหนดเวลาเหล่านี้เลยเป็นอันขาด ถึงแม้จะสามารถสร้างพระบารมี เช่น ให้ทานกันอย่างขนานใหญ่ดุจพระเวสสันดรทุกวันก็ดี หรือจะบำเพ็ญพระบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นๆ เป็นนักหนาก็ดี การที่จะตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเร็วๆ ก่อนกาลกำหนดที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะเหตุว่า วาสนาบารมีและปัญญาของพระองค์ท่าน ยังไม่ถึงซึ่งความบริบูรณ์และแก่กล้า

    ถ้าจะเปรียบ ก็มีอุปมาดุจข้าวกล้าที่ชาวนาปลูกดำลงในนา ตามธรรมดากว่าจะออกเป็นเมล็ด สำเร็จเป็นรวงทองสุกเหลืองพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ ก็ต้องใช้เวลา 4 – 5 เดือน ถ้ายังไม่ถึงกำหนดนี้ ต่อให้ชาวนาหมั่นพรวนดินวันละแสนหน หมั่นรดน้ำวันละแสนครั้ง ด้วยตั้งใจว่าจะให้ข้าวกล้านั้น มันออกเป็นเมล็ดเป็นรวงเร็วกว่ากำหนดเวลาตามธรรมชาติแห่งข้าวกล้านั้น ย่อมจะไม่มีวันสำเร็จได้ อุปมาข้อนี้ฉันใด สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งทรงสร้างพระบารมีมุ่งหมายพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณนั้น การที่จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าก่อนกำหนด คือ ยังไม่ถึงกาลแก่กล้าแห่งวาสนาบารมีย่อมจะเป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น เราท่านทั้งหลายที่ได้มีโชคดี เกิดมาในระยะที่โลกยังมีพระศาสนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งด้วยพระบารมี ควรจะมีจิตยินดีและเลื่อมใสในพระคุณของพระองค์ผู้ทรงประกอบด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ซึ่งไม่มีผู้ใดในโลกจะเทียมเหมือน
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมสโมธาน

    นอกจาก จะทรงมีพระวิริยะอุตสาหะเป็นยอดเยี่ยมในการสร้างสมอบรมพระบารมีเป็นเวลานานนักหนา นับเวลาเป็นจำนวนอสงไขย เป็นจำนวนมหากัปดังกล่าวแล้ว สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงผู้ปรารถนาจะได้ตรัสเป็นเอกองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในกาลอนาคตนั้น ย่อมต้องปรารถนาธรรมสำคัญหมวดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า ธรรมสโมธาน เสียก่อน จึงจักได้สำเร็จความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าได้ ถ้าไม่มีธรรมสโมธานนี้แล้ว ก็ไม่แน่นักว่าจักได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า กล่าวอย่างนี้อาจจะทำให้งงงันไปก็ได้ จึงจะขอขยายความต่อไปดังนี้

    ท่านที่จักได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระพุทธเจ้านั้น เพียงแต่ตั้งใจว่าจะต้องเป็นพระพุทธเจ้าให้ได้ ก็เป็นเวลาหลายอสงไขยแล้วจึงจะมีโอกาสได้ออกโอษฐเปล่งวาจาเป็นคำพูด จักเป็นพระพุทธเจ้าให้ได้ ตอนนี้ก็ต้องใช้เวลาหลายอสงไขยอีกเหมือนกัน ถึงแม้จะมีน้ำใจเด็ดเดี่ยวปรารถนามาเป็นเวลานานเช่นนี้ก็ยังเป็น อนิยตโพธิสัตว์ คือ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นักว่าจักได้เป็นสมเด็จพระพุทธเจ้า ต่อเมื่อใด ได้บรรลุถึงโอกาสำคัญ คือ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งแล้ว มีโอกาสได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสำนักสมเด็จพระพุทธองค์เจ้านั่นแหละ จึงจะเป็น นิยตโพธิสัตว์ คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้แน่นอนว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

    คราวนี้ สมเด็จพระจอมมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้จะทรงพยากรณ์ใครผู้ใดผู้หนึ่งว่า “จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล” นั้น ก่อนที่จะทรงพยากรณ์มิใช่ว่าจะไม่ทรงเลือกโดยทรงนึกจะพยากรณ์ก็ทรงพยากรณไปอย่างนั้นเอง ไม่ใช่อย่างนั้น โดยที่แท้ พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญตญาณย่อมต้องทรงเลือกดูก่อน ถ้าทรงเห็นว่า ผู้นั้นมีวาสนาบารมีไม่เพียงพอและไม่ประกอบด้วยธรรมสโมธาน พระองค์จะไม่ทรงพยากรณ์เด็ดขาด และผู้นั้นก็ยังได้ชื่อว่า เป็น อนิยตโพธิสัตว์ คือ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอนอยู่นั่นเอง หากทรงเห็นว่า ผู้นั้นได้สร้างสมบ่มบารมีมาในอดีตชาติ เพื่อพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณอย่างเพียงพอ และในขณะนั้น ก็เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยธรรมสโมธานแล้ว พระองค์จึงจักทรงพยากรณ์ และเมื่อได้รับพยากรณ์แล้ว ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็น นิยตโพธิสัตว์ คือ เป็นพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้ที่จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    เท่าที่กล่าวมานี้ ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงจะเห็นแล้วว่าธรรมสโมธานย่อมเป็นธรรมะสุดสำคัญ ที่เป็นเหตุให้ได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสำนักสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้ได้เป็นนิตยโพธิสัตว์นั่นเอง ฉะนั้น ธรรมสโมธานนี้ จึงเป็นธรรมะจำเป็นอย่างยิ่งที่พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายต้องตั้งใจปรารถนาก่อนอะไรอื่นทั้งหมด เมื่อความปรารถนาในธรรมสโมธานนี้สำเร็จแล้ว พระพุทธภูมิ กล่าวคือ ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็จักสำเร็จได้ในภายหลังอย่างไม่ต้องสงสัยก็ธรรมสโมธานนี้ มีอยู่ 8 ประการด้วยกัน คือ 1. มนุสสตตต 2. ลิงคสมปตติ 3. เหตุ 4. สตถุทสสน 5. ปพพชชา 6. คุณสมปตติ 7. อธิการโร 8. ฉนทตา ซึ่งมีอรรถาธิบายตามลำดับ ดังต่อไปนี้

    1. มนุสสตตต ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ หวังจักได้สำเร็จเป็นองค์พระพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั้น ในเบื้องต้นจำต้องปรารถนาได้เกิดเป็น มนุษย์ เสียก่อน เพราะการที่จะได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสำนักสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะได้ก็แต่เฉพาะในชาติที่เป็นมนุษย์เท่านั้น หากว่าอุบัติเกิดเป็นองค์อินทร์ องค์พรหม หรือเป็นเทพยดา เป็นนาค เป็นครุฑ เป็นอสูร หรือเป็นผู้มีฤทธิ์วิเศษอื่นใด ถึงแม้จะทรงไว้ซึ่งศักดามหานุภาพมากมายสักเพียงใดก็ดี การที่ว่าพระพุทธองค์เจ้าจะทรงพยากรณ์นั้นเป็นอันไม่มี เพราะองค์สมเด็จพระชินสีห์จะทรงพยากรณ์ก็แต่ท่านที่เป็นมนุษยชาติเท่านั้น นี่เป็นธรรมสโมธานประการที่หนึ่ง

    2. ลิงคสมปตติ ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมินั้นในขั้นแรกจำต้องปรารถนาความถึงพร้อมด้วยเพศ คือ ปรารถนาเป็น บุรุษเพศ เสียก่อน เพราะการที่จะมีโอกาสได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์นั้น จะได้ก็แต่เฉพาะชาติที่เป็นบุรุษเพศเท่านั้นหากว่าเป็นสตรีเพศก็ดี เป็นบัณเฑาะว์กระเทยก็ดี เป็นอุภโตพยัญชนะก็ดี ผู้ที่มีลิงควิบัติเหล่านี้ การที่ว่าจะได้รับพยากรณ์จากสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าเป็นอันไม่มี เหตุฉะนี้ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตมุ่งหมายในพระโพธิญาณ เมื่อบำเพ็ญกุศลมีการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น ท่านย่อมปรารถนาความเป็นบุรุษก่อนแล้วจึงค่อยปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิต่อภายหลัง นี่เป็นธรรมสโมธานประการที่สอง

    3. เหตุ ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ และจักมีโอกาสได้รับลัทธยาเทศน์คำพยากรณ์นั้น ต้องเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ คือมีอุปนิสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน หากจะกลับใจไม่ปรารถนาเพราะสัมโพธิญาณ ต้องการเพียงแต่แค่สาวกโพธิญาณแล้วไซร้ แต่พอตั้งใจสดับพระสัทธรรมเทศนาที่พระบรมศาสดาจารย์เจ้าทรงแสดงในขณะนั้นก็จักพลันได้สำเร็จมรรคผลเป็น พระอรหันตสาวก พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ 4 ทันที ทั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นผู้มีเหตุ กล่าวคือ อุปนิสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์แก่กล้ารุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดานแล้ว ต้องเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเหตุเช่นนี้แล จึงจักได้รับลัทธยาเทศ หากว่าเป็นคนธรรมดาสามัญยังไม่ไพบูลย์ด้วยเหตุกล่าวคือ อรหัตตูปนิสัยนี้แล้วสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าท่านก็หาทรงพยากรณ์ไม่ นี้เป็นธรรมสโมธานประการที่สาม

    4. สตถุทสสน ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิและจักมีโอกาสได้รับลัทธยาเทศนั้น ต้องเป็นมนุษย์ผู้มีโชคดีมหาศาลได้พานพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ มีโอกาสได้บำเพ็ญกองการกุศลเป็นต้นว่าทานการรักษาศีลในสำนักของพระพุทธองค์ท่านแล้ว และได้กระทำปณิธานตั้งความปรารถนาเฉพาะพระพักตร์ของสมเด็จพระสรรเพชญสัมพุทธเจ้า จึงจะสำเร็จสมความมุ่งมาตรปรารถนา เพราะว่าการได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์ จักมีขึ้นได้ ก็แต่เฉพาะอาศัยพระพุทธฎีกาที่หลั่งออกมาจากโอษฐของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ผู้อื่นใดเล่าจักมีปัญญาล้ำลึกให้คำพยากรณ์ได้ ด้วยเหตุนี้ หากได้พบแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี ได้พบแต่พระอรหันต์ขีณาสพเจ้าก็ดี ได้พบแต่พระมหาเจดียสถานหรือโพธิพฤกษ์อื่นใดก็ดี ถึงแม้จะมีน้ำใจเลื่อมใสประกอบกองการกุศลเป็นนักหนา แล้วจึงทำความปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ ความปรารถนานั้นจักได้อย่างเที่ยงแท้แน่นอนนั้นยังไม่สำเร็จก่อน เพราะยังไม่ได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้าโดยตรง นี่เป็นธรรมสโมธานประการที่สี่

    5. ปพพชชา ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิและจักได้มีโอกาสได้รับลัทธยาเทศนั้น ต้องเป็น บรรพชิต คือ เป็นนักบวช เป็นสมณะ พระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา หากว่ามิได้บรรพชาอุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนา ก็ต้องเป็นโยคี ฤาษี ดาบส หรือ ปริพาชก ซึ่งเป็นนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา แต่ว่ามีลัทธเป็นกรรมวาที กิริยวาที คือถือว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ดำรงเพศเป็นบรรพชิตเช่นนี้แล้ว จึงได้รับลัทธยาเทศจากสำนักแห่งพระพุทธองค์เจ้า หากว่าดำรงเพศอยู่ในฆราวาสวิสัย เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็ดี แม้จะมีความปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าก็หาทรงพยากรณ์ไม่ นี่เป็นธรรมสโมธานประการที่ห้า

    6. คุณสมปตติ ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ และจักมีโอกาสได้รับลัทธยาเทศนั้น ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติวิเศษบริบูรณ์ไปด้วยคุณ คือ อภิญญา และ ฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญต้องเป็นผู้บรรลุถึงคุณวิเศษเกินคนธรรมดาสามัญอย่างนี้ จึงจักได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสำนักแห่งพระพุทธองค์เจ้าหากว่าไม่มีคุณวิเศษ คือ อภิญญาและฌานสมาบัติในสันดาน แม้จะดำรงเพศเป็นบรรพชิตนักบวชอยู่แล้วก็ดี สมเด็จจอมมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าก็หาทรงพยากรณ์ไม่ นี่เป็นธรรมสโมธานประการที่หก

    7. อธิการโร ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิและจักมีโอกาสได้รับลัทธยาเทศนั้น ต้องเป็นผู้ได้เคยทำอธิการมาแล้วหมายความว่า ได้เคยบำเพ็ญมหาบริจาค กล่าวคือ การเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ให้ชีวิตของตนเองเป็นทานในอดีตชาติ ซึ่งเรียกว่า อธิการ มาแล้ว หากท่านปราศจากอธิการ คือ ไม่เคยเอาชีวิตเข้าออกแลกกับพระโพธิญาณ ไม่เคยบำเพ็ญทานปรมัตถ์มหาบริจาคมาก่อน ถึงแม้จะทรงเพศประเสริฐล้ำเลิศเพียงใด ทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษสักเพียงไหนก็ดี องค์สมเด็จพระจอมมุนีสัมพุทธเจ้าก็หาทรงพยากรณ์ไม่ ต่อเมื่อพระองค์ได้ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญตาญาณว่า ผู้นั้นได้เคยกระทำอธิการมาแต่ปางก่อนจึงจักทรงพยากรณ์ เพราะพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณนี้จะสำเร็จได้ต้องอาศัยอธิการการกระทำอันยิ่งใหญ่ ขนาดต้องพลีชีวิตเลือดเนื้อเข้าและเอา นี่เป็นธรรมสโมธานประการที่เจ็ด

    8. ฉนทตา ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิและจักได้มีโอกาสได้รับลัทธยาเทศนั้นน ต้องเป็นผู้มีน้ำใจประกอบด้วย ฉันทะ คือ มีความรักความพอใจในพระพุทธภูมิเป็นกำลัง มิได้ย่นย่อท้อถอยในอุปสรรคไม่ว่าจะใหญ่เล็กชนิดใดทั้งสิ้น ซึ่งในกรณีนี้ หากจะมีผู้ถามพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพระพุทธภูมินั้นว่า

    “ดูก่อนท่าน การที่ท่านปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุดนี้ ท่านยังจะมีทนทุกข์ในนรกได้ ตลอด 4 อสงไขย 1 แสนมหากัป หรือว่าหามิได้”
    เมื่อมีผู้มาสำทับถามเอาด้วยภัยในนรกเห็นปานฉะนี้ ท่านที่เป็นพระโพธิสัตว์ปรารถนาพระพุทธภูมินั้น ย่อมจะไม่มีความย่อท้อ อาจรับปากด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่งว่า
    “อาตมานี่แหละ จะสู้อุตส่าห์ทนทุกข์ในนรกอันน่ากลัวนักหนา ไปให้ได้ตลอดเวลาอันยาวนานตามที่ว่ามานั่น เพื่อแลกเอากับพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณด้วยใจสมัครให้จงได้”

    ในกรณีนี้ หากจะมีผู้ใดใครผู้หนึ่งใคร่จะสอบถามถึงน้ำใจที่รักปรารถนาอย่างแรงกล้าในพระโพธิญาณกับพระโพธิสัตว์เจ้าอีกต่อไปด้วยอุปมาปัญหาว่า
    “อันตัวท่าน ซึ่งปรารถนาพระพุทธภูมินั้น ท่านยังจะสามารถเดินบุกเข้าไปในป่าไม้ไผ่อันแน่นหนาไปด้วยเรียวหนามที่คมกล้า เป็นป่าไม้ไผ่ใหญ่เต็มไปหมดตลอดทั้งจักรวาลโลกธาตุนี้ ซึ่งมีความกว้างใหญ่ วัดได้ไกลถึงสิบสองแสนสามพันสี่ร้อยห้าสิบโยชน์ ตัวท่านจะสามารถเหยียบย่ำบุกฝ่าขวากหนามไปไกลให้ถึงที่สุดตามกำหนดนี้ เพื่อจะคว้าเอาพระโพธิญาณมาไว้ในเงื้อมมือแห่งตนได้ฤา”

    และว่า
    “อันตัวท่าน ซึ่งปรารถนาพระพุทธภูมินั้นท่านยังจะสามารถเดินตะลุยด้วยเท้าเปล่า ไปในกองเพลิงอันมีเปลวไฟรุ่งโรจน์โชตนาการ ซึ่งเต็มไปในห้วงจักรวาลโลกธาตุนี้ได้ฤา”
    พระโพธิสัตว์เจ้าผู้มีน้ำใจประกอบไปด้วยฉันทะความใคร่พอใจ ทั้งมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณย่อมจะมีใจองอาจกล้าหาญยอมรับเอาความยินดีเต็มใจเป็นนักหนาว่า
    “อาตมาคือตัวเรานี่แหละ จะสู้ก้มหน้าฟันฝ่าอุปสรรคอันตรายทั้งหลาย มิได้อาลัยแก่เลือดเนื้อร่างกายและชีวิตของตน จะสู้อดทนเดินบุกเหยียบย่ำไปให้ถึงที่สุด จะรุดหน้าก้าวไปคว้าพระปรมาภิเษก สัมโพธิญาณด้วยใจรัก ให้จงได้”

    ท่านผู้มีน้ำใจกอรปด้วยฉันทะอย่างแรงกล้า มีความรักความปรารถนาในพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้ามิได้หวาดผวากลัวภัยในนรกเป็นอาทิ เห็นปานฉะนี้แล้ว จึงจะปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิได้สำเร็จสมความปรารถนา หากว่าเป็นผู้มีปกติขลาดหวั่นไหว มีน้ำใจมิได้กล้าหาญ กลัวทุกข์ กลัวภัย รักรูป รักกาย รักชีวิต มีจิตสันดานย่อท้ออยู่ การที่จะปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมินั้น ย่อมจะสำเร็จลงมิได้อย่างแน่นอนและสมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงหาพยากรณ์ไม่ นี่เป็นธรรมสโมธานประการที่แปด

    ธรรมสำคัญ 8 ประการ ตามที่พรรณนามานี้ มีชื่อว่าธรรมสโมธานที่เป็นเหตุให้ได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์ จากสำนักแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ได้พิจารณาดูธรรมตามที่กล่าวมาแล้ว เป็นอย่างไรบ้างเล่า เป็นสิ่งที่ได้โดยยากหรือว่าได้ง่ายๆ แน่นอน เป็นสิ่งที่ได้โดยไม่ง่ายเลย
    ครั้นองค์สมเด็จพระจอมมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรวจดูด้วยพระสัพพัญญตญาณและทรงทราบว่า ผู้ที่ปรารถนาพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณนั้น พรั่งพร้อมไปด้วยธรรมสโมธานทั้ง 8 ประการนี้มิได้ขาดแต่สักข้อหนึ่งแล้ว องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงจะทรงพยากรณ์โดยนัยว่า ผู้นั้น จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงนามว่าอย่างนั้นในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น ดั่งนี้เป็นต้น แล้วก็ทรงมีพระโอวาทอนุสาสน์ให้พยายามสร้างสมบ่มพระบารมีเพื่อพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณต่อไปอีก เมื่อได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสำนักแห่งพระพุทธองค์เจ้าอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์เจ้าผู้นั้นก็ได้นามว่า พระนิตยโพธิสัตว์ จักมาอุบัติตรัสเป็นพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าในโลกเรานี้พระองค์หนึ่งในอนาคตกาลอย่างเที่ยงแท้แน่นอน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระพุทธพากย์

    ในกรณี หากจะมีปัญหาว่า พระบรมโพธิสัตว์ผู้ได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสมเด็จพระสรรเพชญ์สัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นนิตยโพธิสัตว์นั้น จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอย่างเที่ยงแท้แน่นอน สมจริงตามคำพยากรณ์หรือ

    ปัญหาเรื่องนี้ เป็นข้อที่ไม่ควรคิดสงสัยให้เสียเวลา เพราะธรรมดาว่าพระพุทธพากย์กถา คือ ถ้อยคำของสมเด็จพระจอมมุนีชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ย่อมทรงไว้ซึ่งความมหัศจรรย์เป็นสุภาษิต จะได้วิปริตผิดแปลกพจนะกระแส แปรเป็นสองหรือสูญเปล่าไม่เป็นจริงนั้น ย่อมเป็นไปมิได้ พระองค์ดำรัสอรรถคดีสิ่งใด สิ่งนั้นไซร้ย่อมปรากฏมีเป็นจริงแท้ ย่อมเป็นไปตามกระแสพระพุทธบรรหารไม่ผิดเพี้ยน และเที่ยงตรงนักหนา มีครุวนาดุจสรรพสิ่งทั้งหลายมีไม้ค้อนและก้อนดินเป็นอาทิ อันบุคคลขว้างขึ้นไปสุดแรงเกิดบนอากาศ เมื่อมันขึ้นไปสูงจนสุดกำลังที่ขว้างแล้ว ย่อมเที่ยงที่จะตกลงมายังพื้นปฐพีอุปมาฉันใด พระพุทธพากย์คำพยากรณ์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าย่อมจะมีสภาวะเที่ยงแท้เป็นเหมือนเช่นนั้น

    อีกประการหนึ่ง อันว่าฝูงสัตว์โลกทั้งปวงเช่นมนุษย์เรานี้ เมื่อมีกำเนิดขึ้นมาเป็นรูปเป็นกายขึ้นมาแล้ว ก็เที่ยงแท้ที่จะถึงแก่มรณกรรม กล่าวคือ จำต้องตายทั่วทุกรูปทุกนามเป็นแน่แท้ อุปมานี้ฉันใด พระพุทธพากย์คำพยากรณ์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าย่อมจะมีสภาวะเที่ยงแท้แน่นอนเป็นเหมือนเช่นกัน

    อีกประการหนึ่ง อันว่าดวงทิพากรเทพมณฑล คือ พระอาทิตย์นั้นย่อมเที่ยงแท้ที่จะอุทัยขึ้นเมื่อยามสิ้นราตรี ณ เพลาอรุณรุ่งเช้าเป็นแน่แท้ อุปมาข้อนี้ฉันใด พระพุทธพากย์คำพยากรณ์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าก็ย่อมจะมีสภาวะเที่ยงแท้แน่นอนเหมือนเช่นนั้น

    อีกประการหนึ่ง อันว่าพญามฤคินทร์ไกรสรสีหราช เมื่อออกจากถ้ำที่สีหไสยาสน์แล้ว ย่อมเที่ยงแท้ที่จะบันลือสุรสิงหนาทเป็นนิจเสมอไปทุกครั้งเป็นแน่แท้ อุปมาข้อนี้ฉันใด พระพุทธพากย์คำพยากรณ์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าก็ย่อมจะมีสภาวะเที่ยงแท้แน่นอนเป็นเหมือนเช่นนั้น

    อีกประการหนึ่ง อันว่าชนผู้เป็นพาณิชพ่อค้า เมื่อทราบจะขนสินค้ามาวางร้านเรียขายนั้น ต้องหาบหิ้วขนแบกซึ่งภาระสินค้าอันหนักของตนเพียบแปล้มาแต่บ้าน กว่าจะถึงร้านในตลาดก็แสนจะเหน็ดเหนื่อยนักหนา พอมาถึงร้านขายของร้านตนแล้ว ก็ย่อมรีบปลงภาระสิ่งของอันหนักนั้นลงจากบ่าของตนเสียทันทีอย่างนี้เป็นธรรมดา เพราะถ้าไม่ปลงลงแล้วจะยืนแบกยืนหามให้หนักตนเองเหมือนกันเป็นบ้าอย่างนั้น อยู่ชั่วกัปชั่วกัลห์อย่างไรเล่า ก็อาการที่ภาระสิ่งของอันหนักซึ่งตั้งอยู่บนบ่านั้น ย่อมเที่ยงที่จะถูกพ่อค้าปลงลงมาจากบ่าอย่างแน่นอน โดยไม่ต้องสงสัย อุปมาข้อนี้ฉันใด พระพุทธพจน์พิสัยแห่งองค์สมเด็จพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐที่ตรัสพยากรณ์ไว้ย่อมเป็นสัจจะเป็นธรรมเที่ยงแท้แน่นอน เป็นเหมือนเช่นกัน

    จึงเป็นอันสรุปความได้ว่า เมื่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้รับลัทธยาเทศกล่าวคือ คำพยากรณ์จากสำนักขององค์สมเด็จพระสรรเพชญ์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ย่อมเป็นผู้เที่ยงแท้ที่จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล สมจริงตามพระพุทธพากย์พยากรณ์อย่างแน่นอน
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระพุทธภูมิธรรม

    สมเด็จพระนิตยบรมโพธิสัตว์ ซึ่งมีพระกฤดาภินิหารเที่ยงแท้ที่จะตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณเพราะได้รับลัทธยาเทสแล้วนี้ พระองค์ท่านย่อมมีน้ำใจสลดหดหู่จากบาปธรรมกล่าวคือ กุศลกรรมทั้งปวง อุปมาดุจปีกไก่อันต้องเพลิง คือ ถ้าพระองค์ท่านพิจารณาเห็นว่า สิ่งใดเป็นบาปเป็นกรรมแล้ว ย่อมหดหู่เกรงกลัวยิ่งนัก จักได้มีจิตยินดีพอกระทำการสิ่งนั้น แม้แต่สักนิดหนึ่งเป็นไม่มีเลย อันน้ำใจแห่งนิตยโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายนั้นย่อมเบิกบานมั่นคง ตรงซื่อแต่ที่จะทำกองกุศลสิ่งเดียว และขณะเดียวจะกระทำกุศลนั้น ย่อมมีใจชื่นบานกว้างขวาง มีอุปมาดุจเพดานผ้าที่บุคคลคลี่ออกยาวใหญ่จะได้มีน้ำใจแคบเล็กน้อยต่อการบำเพ็ญกุศลแต่สักเพลาหนึ่งนั้นเป็นอันไม่มี

    อนึ่ง นับแต่กาลที่ได้รับลัทธยาเทศเป็นต้น สมเด็จพระนิตยโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงย่อมยิ่งเพิ่มพูนพระบารมีให้มากยิ่งขึ้น และมีน้ำใจกอปรไปด้วยพระพุทธภูมิธรรมอันยิ่งใหญ่ 4 ประการ คือ

    1. อุสสาโห ได้แก่ ทรงประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในดวงฤทัยอย่างมั่นคง

    2. อุมตโต ได้แก่ ทรงประกอบไปด้วยพระปัญญาทรงมีพระปัญญาเชี่ยวชาญหาญกล้าเฉียบคมยิ่งนัก

    3. อวตถาน ได้แก่ ทรงประกอบไปด้วยพระอธิษฐานทรงมีพระอธิษฐานอันมั่นคงมิได้หวั่นไหวคลอนแคลน

    4. หิตจริยา ได้แก่ ทรงประกอบไปด้วยพระเมตตาทรงมีพระเมตตาเป็นนิตย์ เจริญจิตอยู่ด้วยเมตตา พรหมวิหารเป็นปกติ

    สมเด็จพระนิตยโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมสมาทานมั่นในพระพุทธภูมิธรรมสิริรวมเป็น 4 ประการนี้อยู่เนืองนิตย์ทุกชาติทุกพระชาติ ไม่ว่าจะทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดเกิดเป็นอะไรและในชาติไหนดี ก็ย่อมมีพระภูมิธรรมประจำอยู่ในดวงหฤทัยเสมอ

    อนึ่ง พระองค์ท่านผู้มีปกติเที่ยงแท้ที่จักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั้น ย่อมมีพระอัธยาศัยอันประเสริฐ คือ ประกอบไปด้วยกุศลธรรมสูงส่งดีงามอยู่เสมอทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเครื่องช่วยหล่อเลี้ยงพระโพธิญาณแก่กล้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีพระอัธยาศัยที่ดีงามเป็นกุศลคอยสนับสนุนหล่อเลี้ยงแล้ว “พระโพธิญาณ” อันเป็นเครื่องให้ได้ตรัสรู้เป็นเอกอัครบุคคลกล่าวคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักถึงถึงแก่กล้าและเต็มบริบูรณ์มิได้ ฉะนั้น พระอัธยาศัยเพื่อให้พระโพธิญาณจริงขึ้นนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงจะต้องมีอยู่เป็นประจำในขันธสันดาน ก็เรื่องอัธยาศัยแห่งพระโพธิสัตว์เจ้านี้ ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายพึงทราบจากเนื้อความที่ออกจากโอษฐสมเด็จพระศรีอริเมตไตรยซึ่งเป็นพระบรมโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ดังต่อไปนี้
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อัธยาศัยโพธิสัตว์

    กาลครั้งหนึ่ง ยังมีพระมหาเถรเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์สาวกวิเศษประกอบด้วยพระปฏิสัมภิทาและพระอภิญญา ทรงไว้ซึ่งพระอริยฤทธิ์ประเสริฐสุด ได้มีโอกาสขึ้นไปพบเทพบุตรสมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ ซึ่งขณะนี้สถิตเสวยสุขอยู่ ณ เบื้องสวรรค์ชั้นดุสิตภูมิ หลังจากสนทนากันเรื่องอื่นแล้ว พระมหาเถรเจ้าก็ถามขึ้นว่า
    “ขอถวายพระพร พระองค์กระทำพระอัธยาศัยเพื่อที่จะให้พระโพธิญาณแก่กล้านั้น ทรงกระทำประการใด คือ พระองค์ทรงมีพระอัธยาศัยเป็นอย่างไรบ้าง”

    สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์เจ้า ซึ่งมีพระพุทธบารมีเต็มเปี่ยมอยู่แล้ว และรอโอกาสที่จะมาอุบัติตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ครั้นถูกพระมหาเถรเจ้าถามดั่งนั้นจึงตรัสตอบว่า

    “ข้าแต่พระคุณผู้เจริญ โยมนี้เป็นพระโพธิสัตว์ตั้งอยู่ในอัธยาศัย 6 ประการ คือ

    1. เนกขัมมัชฌาสัย พอใจบวช รักเพศบรรพชิต นักบวชเป็นยิ่งนัก
    2. วิเวกัชฌาสัย พอใจอยู่ในที่เงียบสงัดวิเวกผู้เดียวเป็นยิ่งนัก
    3. อโลภัชฌาสัย พอใจบริจาคทาน และพอใจบุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ตระหนี่เป็นยิ่งนัก
    4. อโทสัชฌาสัย พอใจในความไม่โกรธเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งปวง
    5. อโมหัชฌาสัย พอใจในการที่จะพิจารณาสิ่งที่เป็นคุณแลโทษเสพสมาคมกับคนมีสติปัญญายิ่งนัก
    6. นิสสรฌัชฌาสัย พอใจที่จะยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ต้องประสงค์พระนิพพานเป็นยิ่งนัก

    นี่แหละพระคุณผู้เจริญ โยมนี้มีอัธยาศัย สิริรวมเป็น 6 ประการติดอยู่ในขันธสันดานเป็นนิตย์ พระโพธิญาณของโยมจึงแก่กล้ายิ่งขึ้นทุกที เพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ จนถึงกาลบัดนี้”


    พระมหาเถรเจ้าผู้ชาญฉลาด เมื่อได้โอกาสแล้วจึงไต่ถามต่อไปอีกว่า
    “ขอถวายพระพร พระองค์ทรงสร้างพระบารมีมามากมาย เพราะมีพระทัยประกอบไปด้วยพระอัธยาศัย 6 ประการ ซึ่งแสดงว่าไม่พอพระทัยในโลภะ โทสะ โมหะ และมีพระทัยรักใคร่ปรารถนาในบรรพชาเพศบรรพชิต มีจิตยินดีพอใจที่จะอยู่ในที่อันเงียบสงัดวิเวก อย่างนี้ก็เป็นการดี แต่ที่อาตมาภาพให้สงสัยแคลงใจอยู่เป็นนักหนาว่าสวรรค์ชั้นดุสิต ที่พระองค์เสวยสุขสำราญอยู่เวลานี้ เห็นที่จะเงียบสงัดดีอยู่ดอกกระมัง”

    “ข้าแต่พระคุณ สวรรค์จะเงียบไยเล่า” สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยเจ้าทรงตอบตามจริง “อันสวรรค์ชั้นดุสิตภูมิที่โยมอยู่เวลานี้ ย่อมอึกทึกครึกโครมไปด้วยเครื่องประโลมจิต เสียงขับร้องฆ้องกลองพิณพาทย์เป็นอเนกอนันต์ สนั่นเสนาะสำเรียงเสียงไพเราะ ควรจะรื่นรมย์ยินดี หมู่เทพนารีอัปสรสวรรค์มีมากหน้าหลายหมื่นหลายพันเป็นนักหนา”

    “ขอถวายพระพร ก็เหตุไรจึงทนประทับอยู่ได้ มิเป็นการขัดกับพระอัธยาศัยแห่งพระองค์ที่ทรงว่าๆ มาเมื่อตะกี้นี้ดอกหรือ นี่แหละที่อาตมาภาพสงสัย”

    “ข้าแต่พระคุณผู้เจริญ พระคุณนี่ช่างฉลาดถามนักหนา” สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยทรงกล่าวชม แล้วตรัสสืบไปว่า “เอาเถิด โยมจะว่าให้ฟัง คือว่า ธรรมดาสรวงสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ถึงแม้จะมีเสียงอึกทึกครึกโครมประกอบไปด้วยเครื่องประโลมจิตอยู่มากมายก็จริงแล แต่ทว่าเป็นที่พำนัก เป็นที่สถิตอยู่แห่งสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ผู้สร้างพระบารมีทุกๆ พระองค์มาเพราะว่าพระโพธิสัตว์เจ้านั้น ครั้นจุติจากมนุษยโลกแล้ว ก็กลับไปเกิดในมนุษยโลกอีก ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะสร้างสมบ่มพระบารมีเพิ่มพระโพธิญาณให้ภิญโญภาพยิ่งขึ้นไป แต่เฝ้าเวียนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ หลายครั้งหลายหนเป็นธรรมดา ยกตัวอย่างเช่นว่าโยมนี้ใช่ว่าจะพอใจยินดีหลงเพลิดเพลินติดอยู่แต่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ตลอดไปหามิได้ รอคอยจนกว่าสิ้นศาสนาสมเด็จพระสมณโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราทั้งสองนี้แล้วมีอยู่คราวหนึ่ง โยมจักกระทำอธิษฐานจิตจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตที่กำลังอยู่ขณะนี้ ไปบังเกิดในมนุษยโลกแล้วบำเพ็ญกองการกุศลเป็นการสืบสร้างบารมีให้ยิ่งใหญ่ต่อไปอีก ครั้นสิ้นชมมายุจุติตายจากมนุษยโลกในครั้นนั้นแล้ว ก็จักกลับมาอุบัติเกิดเป็นเทพบุตร เสวยสุขที่สรวงสวรรค์ชั้นดุสิตนี่อีกนานแสนนาน จนถึงกาลที่ปวงเทพยเจ้าทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพากัมมาอาราธนา โยมจึงจักจุติไปอุบัติเหตุในมนุษย์โลกอีกเป็นครั้งสุดท้าย แล้วจักได้สำเร็จแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ การณ์เป็นเช่นนี้แล พระคุณผู้เจริญ” สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยทรงอธิบายให้พระมหาเถรเจ้าฟังอย่างยืดยาว
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีน้ำพระทัยมุ่งหมายพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ประสงค์จักเป็นเอกองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั้น นอกจากจะมีคุณสมบัติพิเศษเกินกว่าคนธรรมดาสามัญหลายอย่างหลายประการตามที่พรรณนามาแล้ว พระองค์ท่านยังต้องบำเพ็ญธรรมอันสำคัญอย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ว่านี้มีชื่อเรียกอย่างรวมๆ ว่า “พุทธกรณธรรม” คือ ธรรมพิเศษที่กระทำให้ได้เป็นสมเด็จพระพุทธเจ้า หากว่าปราศจากธรรมะพิเศษ หมวดนี้ก็ดี หรือว่าธรรมะพิเศษหมวดนี้ยังไม่ถึงภาวะบริบูรณ์เต็มที่ในขันธสันดานก็ดี พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมจักไม่มีโอกาสตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณเป็นอันขาด ก็พุทธกรณธรรมซึ่งเป็นธรรมะพิเศษเป็นเหตุให้ได้เป็นสมเด็จพระพุทธเจ้านี้ มีอยู่ทั้งหมด 10 ประการ คือ

    1. ทานพุทธกรณธรรม
    2. ศีลพุทธกรณธรรม
    3. เนกขัมมพุทธกรณธรรม
    4. ปัญญาพุทธกรณธรรม
    5. วิริยพุทธกรณธรรม
    6. ขันติพุทธกรณธรรม
    7. สัจจพุทธกรณธรรม
    8. อธิฏฐานพุทธกรณธรรม
    9. เมตตาพุทธกรณธรรม
    10. อุเบกขาพุทธกรณธรรม

    พุทธกรณธรรม หรือธรรมพิเศษ ที่ให้ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าทั้ง 10 ประการนี้ มีอรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้

    1. ทานพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมยินดีในการบำเพ็ญทานเป็นเนืองนิตย์ ไม่ว่าพระองค์จะสถิตหรือเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไร ทุกๆ พระชาติที่เกิดย่อมมีน้ำพระทัยใคร่บริจาคทาน เมื่อได้ประสบพบพานยาจกซึ่งเป็นคนหินชาติ มีฐานะต่ำทรามก็ดี หรือ ยาจกผู้มีฐานะมัชฌิมาปานกลางก็ดี หรือ ยาจกผู้ขอซึ่งมีฐานะสูงสุดเป็นอุกฤษฐ์ก็ดีเมื่อขอแล้ว พระโพธิสัตว์เจ้าจะได้คิดหน้าพะวงหลังก็หามิได้ ย่อมรีบเร่งจำแนกทรัพย์ธนสารให้เป็นทาน ตามความต้องการของผู้ขอด้วยความยินดีเต็มใจอย่างยิ่ง สิ่งไรที่ตนมีแล้วเป็นต้องให้ทั้งสิ้น ถวิลหวังแต่การที่จะบริจาคทานเป็นเบื้องหน้า

    อย่าว่าแต่ทรัพย์สมบัติ อันเป็นสิ่งของภายนอกเลย แม้แต่อวัยวะเลือดเนื้อและชีวิต หากใครคิดปรารถนาอยากจะได้และมาเอ่ยปากขอแก่พระโพธิสัตว์ พระองค์ก็อาจจะบริจาคให้ได้ด้วยว่า พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ย่อมมีน้ำพระทัยประดุจดังตุ่มใหญ่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำ ที่ถูกบุคคลมาจับเทคว่ำ ทำให้ปากตุ่มคว่ำลงกับพื้น ก้นตุ่มปรากฏอยู่ในเบื้องบน อย่างนี้แล้วน้ำภายในตุ่มจักเหลืออยู่แม้แต่สักหยดหนึ่งไปได้อย่างไรกัน น้ำพระทัยของพระองค์ท่านก็เป็นเช่นนั้น คือ เหมือนกับตุ่มน้ำใหญ่ที่คว่ำลง ยินดีในการบริจาคทานโดยต้องการให้หมดไม่มีเหลือในเมื่อมียาจกผู้มาขอ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติภายนอก หรือวัตถุภายใน คือ เลือดเนื้อร่างกายและชีวิตก็ตามที

    2. ศีลพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมรักษาศีล สมาทานศีล ผูกใจมั่นในศีลเป็นอาจิณวัตร สู้อุตสาหะปฏิบัติตนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล ยังศีลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาทุกๆชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม พระองค์ท่านย่อมสมาทานมั่นคง ไม่ให้ศีลของตนย่อหย่อนบกพร่องได้ ในบางครั้ง แม้จะต้องสละชีวิตเพื่อรักษาศีลแห่งตนไว้ก็ จำยอม เพียบพร้อมไปด้วยน้ำใจรักศีลหาผู้เสมอเหมือนมิได้

    ในกรณีที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้า มีน้ำใจรักในศีลนี้ พึงเห็นอุปมาว่าธรรมดาหมู่มฤคจามรีซึ่งมีน้ำใจรักขน จนสู้สละชนม์เพื่อรักษาไว้ซึ่งโลมชาติแห่งตนฉันใด พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น พระองค์ท่านสู้อุตสาหพยายามรักษาศีล สมาทานศีล มีใจรักในศีล โดยอาการเปรียบปานดุจจามรีรักในขนหางแห่งตนฉะนั้น
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    3. เนกขัมมพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมมีน้ำใจยินดีในการบรรพชา คือ หมั่นออกจากฆราวาสวิสัยการอยู่ครองเรือนไปบวชบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์อยู่เสมอ บางครั้งเมื่อโลกเรานี้ว่างจากพระพุทธศาสนา เพราะไม่มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติ พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายได้มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วย่อมจะออกบวชเป็นโยคี ฤาษีดาบสบำเพ็ญพรตเพื่ออบรมบ่มพระบารมี แต่เมื่อถึงคราวที่พระบวรพุทธศาสนาปรากฏในโลกพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายย่อมมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้วออกบรรพชาอุปสมบทเป็นสมณะพระภิกษุในพระธรรมวินัยแห่งองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นๆ หมั่นออกบวชเพื่อสั่งสมเนกขัมมบารมีให้ภิญโญภาพยิ่งขึ้นไปทุกชาติที่เกิด ด้วยมีน้ำใจยินดีในภาวะที่จะออกจากทุกข์ในวัฏสงสาร พระองค์ท่านจึงตั้งใจสมาทานถือมั่นในเนกขัมมะการออกบวชอยู่เนืองๆ มา

    ในกิริยาที่พระโพธิสัตว์เจ้า มีจิตปรารถนาที่จะออกจากทุกข์ภัยในวัฏสงสารนั้น เปรียบปานดังความปรารถนาของนักโทษที่อยู่ในเรือนจำ อันธรรมดาบุรุษนักโทษที่ประพฤติทุจริต มีความผิดต้องติดคุกตะรางทนทุกข์ทรมาน ได้รับความรำคาญขุ่นข้องหมองใจหนักหนาย่อมปรารถนาแต่จะออกไปให้พ้นจากร้านเรือนจำที่ตนต้องระกำทุกข์อยู่เสมอทุกวันฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ย่อมมีมนัสมั่นหมายที่จะออกไปจากคุกตะราง คือ การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในไตรภพวัฏสงสาร จึงหาทางออกด้วยการบำเพ็ญพรต กล่าวคือ เนกขัมมะอยู่เนืองนิตย์ ไม่ยอมที่จะติดเป็นนักโทษแห่งวัฏสงสารอยู่ตลอดกาล เปรียบปานด้วยนักโทษ ไม่ปรารถนาจะติดอยู่ในคุกตลอดชีวิตเรื่อยไปฉะนั้น

    4. ปัญญาพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงย่อมเพิ่มพูนปัญญา หมายความว่า ย่อมแสวงหาวิชาความรู้ อันเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาอยู่เป็นเนืองนิตย์ หมั่นอบรมจิตให้ประกอบด้วยปัญญาอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพราะปัญญาเป็นธรรมสูงสุดอันผู้ปรารถนา พระพุทธภูมิพึงขวนขวาย ฉะนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จึงขวนขวายอุตส่าห์พยายามอบรมสั่งสมปัญญาบารมีทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไร ก็ต้องตั้งใจสมาทานปัญญาบารมีเป็นสำคัญ หมั่นเสพสมาคมกับท่านผู้รู้ผู้เป็นนักปราชญ์ ย่อมไม่เลือกเลยซึ่งชนผู้มีความรู้ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม ขอแต่ให้ประกอบไปด้วยความรู้ก็แล้วกัน พระองค์ท่านย่อมยินดีใคร่จะคบหมาสมาคมไม่เลือกหน้า พร้อมทั้งเอาใจใส่ไต่ถามซึ่งอรรถธรรมและเหตุการณ์ทั้งปวงเป็นเนืองนิตย์ ด้วยมีน้าจิตไม่รู้จักอิ่มในวิทยาการทั้งปวง

    ในกรณีที่พระโพธิสัตว์เจ้า แสวงหาความรู้อันเป็นการสั่งสมปัญญานี้ พึงทราบอุปมาว่า ธรรมดาพระภิกษุสงฆ์องค์สาวกของสมเด็จพระจอมมุนีสัมพุทธเจ้า ผู้เฝ้าประพฤติตามอริยวงค์ประเพณีนั้น ครั้นเมื่อโคจรเที่ยวไปบิณฑบาต จะได้เลือกลีลาศหลีกเลี่ยงตระกูลที่สูงต่ำปานกลางใดๆ ก็หามิได้ ย่อมเที่ยวบิณฑบาตเรื่อยไป สุดแท้แต่ว่าใครจะเอาอาหารมาใส่ลงในบาตรก็ยินดีรับเอาไม่เลือกหน้าว่าไพร่ ผู้ดี ยาจก เศรษฐีผู้ใด เพราะมีความประสงค์เพียงจะได้อาหารพอเป็นยาปนมัตเครื่องเลี้ยงชีพตนให้คงอยู่ เพื่อบำเพ็ญสมณกิจแห่งตนอย่างเดียวเป็นประการสำคัญ จะได้เลือกผู้ให้อาหารอันเป็นบิณฑบาตทานแก่ตนเป็นไม่มีเลย อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีมนัสมั่นมุ่งหมายพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณก็ดั้นด้นคว้าแสวงหาปัญญาความรอบรู้ ไม่เลือกท่านผู้เป็นครูผู้ให้วิชาว่าจะเป็นอย่างไร ขอให้มีความรู้ที่จะให้วิทยาการแก่ตนก็แล้วกัน พระองค์ท่านย่อมพอใจหมั่นคบหาสมาคม ไต่ถามนำเอาความรู้มาสั่งสมไว้ในจิตสันดานของตนเป็นเนืองนิตย์ เพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นปัญญาบารมียิ่งๆ ขึ้นไป
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    5. วิริยพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมเพิ่มพูนวิริยะความเพียรเป็นยิ่งยวด คือ มีน้ำใจกล้าหาญ ในการที่จะประกอบกุศลกรรมทำความดีอย่างไม่ลดละ เพราะโพธิญาณอันเป็นประเสริฐสุดยอดนั้น มิใช่เป็นธรรมที่จะพึงได้โดยง่าย โดยที่แท้ต้องอาศัยความเพียรอันยิ่งใหญ่จึงจะได้สำเร็จได้ ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จึงสุ้อุตสาหพยายามเพิ่มพูนวิริยะธรรมทุกๆ ชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหนและเสวยพระชาติเป็นอะไร ก็ตั้งใจสมาทานถือมั่นในวิริยะธรรมเป็นสำคัญ ประกอบความเพียรเป็นสามารถองอาจไม่ท้อถอยในการก่อสร้างกองการกุศล จนในบางครั้งแม้จักต้องถึงแก่ชีพิตักษัย ก็ไม่คลายความเพียรไม่ย่นย่อครั้นครามขามขยาดต่ออุปสรรคอันตรายทั้งหลายที่บังเกิดมี

    ในกรณีที่พระโพธิสัตว์เจ้า มีน้ำใจประกอบไปด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่ เพื่อได้ตรัสเป็นเอกองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนี้ พึงทราบอุปมาว่า ธรรมดาพญาไกรสรสีหราชมฤคินทร์ซึ่งเรืองฤทธิ์ คราวเมื่อมีจิตปรารถนาจะขึ้นนั่งแท่น ย่อมจะแล่นเลี้ยวไม่ลดละ อุตสาหะพยายามอย่างยิ่งยวด แม้จะพลาดพลั้งอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ไม่ถอย เพียรพยายามอยู่นักหนาจนกว่าจะขึ้นนั่งแท่นได้สำเร็จ อุปมาข้อนี้ฉันใด พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีมนัสมั่นมุ่งหมายซึ่งพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุดประมาณ ย่อมมีน้ำใจอาจหาญประกอบไปด้วยอุตสาหพยายามอันเป็นวิริยะธรรม ไม่ท้อถอยไม่ยั้งหยุดจนกว่าจะถึงจุดมุ่งหมาย กล่าวคือ พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ

    6. ขันติพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ต้องพยายามเพิ่มพูนขันติ คือ ความอดทนเป็นยิ่งนัก ทั้งนี้ ก็เพราะว่าพระโพธิญาณจักสำเร็จสมความมุ่งหมายได้นั้น ต้องอาศัยความอดทนอันยิ่งใหญ่เป็นประการสำคัญ ถ้ามีน้ำใจไม่มั่นคง ไม่มีขันติความอดทน ยอมตนเป็นประดุจดังทาสแห่งบรรดาสรรพกิเลสอยู่เสมอไปแล้ว ก็ย่อมจักแคล้วคลาดจากพระโพธิญาณ การใหญ่คือพระพุทธภูมิที่ปรารถนาก็ไม่มีวันจะสำเร็จลงได้ ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จึงพยายามสั่งสมซึ่งพระขันติธรรมอยู่เสมอทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติ และเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม พระองค์ท่านย่อมสมาทานมั่นในขันติธรรม อุตส่าห์ระงับใจไม่ให้เกิดความปฏิฆะ ความขุ่นข้องหมองกมลได้ ในบางครั้งสู้อดทนถึงแก่ชีพิตักษัยก็มี

    ในกรณีพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายมีน้ำใจประกอบไปด้วยขันติธรรมความอดทนนี้ มีอุปมาที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมดาพื้นพสุธา คือ แผ่นดิน ย่อมอดทนทรงไว้ได้ซึ่งสัมภาระน้อยใหญ่คนทั้งหลายในโลกนี้ พากันทิ้งถมระดมสาดวัตถุสิ่งของที่สะอาดก็มี และที่โสโครกไม่สะอาดก็มี เป็นสัมภาระสิ่งของมากมายนักหนา ลงบนแผ่นพสุธานี้ไม่ว่างเว้นตลอดทุกวันเวลา แต่ว่าพื้นพสุธาก็ดีใจหาย จะได้สำแดงอาการรำคาญเคืองหรือยินดีชอบใจในพัสดุสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลทิ้งลงทับถมเอาตามชอบใจเป็นไม่มีเลย เฉยอยู่อย่างนั้นชั่วกัปชั่วกัลป์ อุปมาข้อนี้ฉันใดพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีมนัสมั่นมุ่งหมายเอาพระโพธิญาณอันประเสริฐเลิศล้ำ ท่านย่อมพยายามสั่งสมขันติธรรมบำเพ็ญตนไม่ให้มีอาการโกรธพิโรธจิต คิดมุ่งร้ายหมายประหารด้วยความเดือดดาลในน้ำใจ ไม่ใช่เกิดมีอาการหวั่นไหวในเหตุการณ์ทั้งปวงจนกว่าจะลุ่ล่วงถึงพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    7. สัจจพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมพยายามเพิ่มพูนสัจธรรมเป็นยิ่งนัก คือ มีน้ำใจประกอบไปด้วยสัจจะไม่ละความสัตว์ซื่อตรงหากพระองค์ท่านได้ตั้งสัจจะลงไปในประการใดแล้วก็เที่ยงตรงการนั้นไม่แปรผันยักย้าย ด้วยว่า พระพุทธภูมิอันยิ่งใหญ่จักสำเร็จลงได้ ต้องอาศัยสัจจะ กล่าวคือ ความตรงความจริงเป็นประการสำคัญ ดังนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายจึงพยายามสั่งสมสัจธรรมอยู่เสมอทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติใด และเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตามที ย่อมพยายามที่จะรักษาความสัตย์ เช่น จะรักษาวาจาคำพูดแห่งตนไม่ให้ล่วงละเมิดเกิดเป็นเท็จขึ้นมาได้ อันเป็นกิริยาที่โกหกทั้งตนเองและผู้อื่น มีความเที่ยงธรรมประจำใจนักหนา เสมอด้วยตราชูคันชั่งอันเที่ยงตรง บางครั้งถึงกับยอมให้ถึงแก่ชีพิตักษัย เพื่อรักษาสัจจะเอาไว้ก็มี

    ในกรณีที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายมีน้ำใจประกอบไปด้วยสัจจะความเที่ยงตรงนี้ มีอุปมาทีท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมดาโอสธิดารา คือ ดาวประกายพรึกนั้น เมื่อเคยขึ้นประจำอยู่ทิศไหน ก็ย่อมโคจรขึ้นประจำอยู่ทิศนั้นวิถีนั้น จะได้แปรเปลี่ยนเยื้องยักไปปรากฏขึ้นในทิศอื่นก็หามิได้ ย่อมทรงไว้ซึ่งความเที่ยงตรงนัก ไม่ว่ากาลไหนฤดูไหน อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีมนัสมั่นมุ่งหมายเอาพระโพธิญาณอันประเสริฐเลิศล้ำ ย่อมพยายามสั่งสมสัจธรรมบำเพ็ญตนตั้งอยู่ในความสัตย์ ไม่ตระบัดบิดเบือนแปรผัน ตั้งมั่นอยู่ในความเที่ยงตรงเป็นล้นพ้น จนกว่าจะได้สำเร็จผลพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ

    8. อธิฏฐานพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมมีใจมั่นประกอบไปด้วยอธิฐานธรรม มีความมั่นคงเด็ดขาดยิ่งนัก ด้วยว่าพระพุทธภูมิจักสำเร็จได้ ต้องอาศัยอธิษฐานธรรมเป็นสำคัญเหตุนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง จึงพยายามสร้างสมอบรมพระอธิษฐานธรรมให้มากมูลเพิ่มพูน ให้ถึงความแก่กล้ายิ่งขึ้นไปในทุกๆ ชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหนและเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม ก็ย่อมพยายามสร้างความมั่นคงตั้งมั่นแห่งดวงจิต เพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งมาด ถ้ายังขาดอยู่ไม่เต็มบริบูรณ์ ก็เพียรเพิ่มพูนให้ภิญโญภาพยิ่งๆ ขึ้นไปให้สำเร็จตามความประสงค์ให้จงได้ ถ้าลงได้อธิษฐานในสิ่งใดแล้ว ก็มีใจแน่วแน่ตั้งมั่นในสิ่งนั้น มิได้หวั่นไหวโยกคลอนเลยแม้แต่น้อย ถึงใครจะคอยขู่คำรามเข่าฆ่าให้อาสัยสิ้นชีวิต ก็ไม่ละอธิษฐาน จิตสมาทานในกาลไหนๆ

    ในกรณีที่พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีน้ำใจประกอบไปด้วยอธิษฐานธรรมนี้ มีอุปมาไว้ว่า ธรรมดาไศลที่ใหญ่หลวง คือ ก้อนหินภูเขาแท่งทึบใหญ่มหึมา ตั้งมั่นประดิษฐานอยู่เป็นอันดี แม้จะมีพายุใหญ่สักปานใด ยกไว้แต่ลมประลัยโลกพัดผ่านมาแต่สี่ทิศ ก็มิอาจที่จะให้ภูเขาใหญ่นั้นสะเทือนเคลื่อนคลอนหวั่นไหวได้แม้แต่สักนิดหนึ่งเลย อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีมนัสมั่นมุ่งหมาย ซึ่งพระโพธิญาณประเสริฐเลิศล้ำ ย่อมพยายามเสริมสร้างอธิษฐานธรรมอยู่เนืองนิตย์ ไม่มีจิตหวั่นไหวในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ เพื่อให้สำเร็จเพื่ออธิษฐานบารมียิ่งๆ ขึ้นไป จนกว่าจะได้บรรลุพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    9. เมตตาพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมมีใจประกอบไปด้วยเมตตา มีน้ำใจใคร่จะให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ประสบความสุขสำราญโดยถ้วนหน้า ด้วยว่า พระพุทธภูมิจักสำเร็จลงได้ ต้องอาศัยเมตตาธรรมเป็นสำคัญ เหตุดังนั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงย่อมพยายามสั่งสมเมตตาธรรมอันลำเลิศ ให้มากมูลเพิ่มพูนแก่กล้าทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม ก็ย่อมอุตส่าห์พยายามอบรมเมตตาธรรม ตั้งความปรารถนาดีไม่ให้มีราคีเคืองขุ่นรุ่มร้อนในดวงจิต เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลเป็นความสุขแก่ปวงชนปวงสัตว์ทุกถ้วนหน้า ถ้ายังขาดอยู่ไม่เต็มบริบูรณ์ ก็เพียรเพิ่มพูนเสริมสร้างครั้งแล้วครั้งเล่า บางคราวถึงกับเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อให้ชนอื่นสัตว์อื่นได้รับความสุขก็มี

    ในกรณีพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย มีน้ำใจประกอบไปด้วยเมตตาธรรมนี้ มีอุปมากล่าวไว้ว่า ตามธรรมดาอุทกวารีที่สะอาดเย็นใสในธาราแม่น้ำใหญ่ ย่อมแผ่ความเย็นฉ่ำชื่นใจให้แก่สัตว์ทั้งหลายทุกถ้วนหน้าไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที จะเป็น หมี หมา ไก่ป่า กะทิงเถือน เป็นอาทิ ซึ่งจะเป็นสัตว์เดียรฉานก็ตามที หรือจะเป็นมนุษย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในเพศพรรณวรรณะใด จะเป็นขี้ข้า ตาบอด หูหนวก กระยาจก วณิพกก็ดี หรือจะเป็นคนมีทรัพย์ มียศ เป็นเศรษฐีอำมาตย์ ราชเสนา ตลอดจนกระทั่งเป็นองค์พระมหากษัตริย์ประเสริฐก็ดี เมื่อมีความปรารถนาบ่ายหน้าลงมาวักน้ำดื่มกินในธารานั้นแล้ว อุทกวารีย่อมให้รสแผ่ความชื่นเย็นชื่นเข้าไปในทรวงอกทุกถ้วนหน้า จะได้เลือกได้ว่าผู้นั้นดีผู้นั้นชั่วประการใดๆก็มิได้มีเลย อุปมาข้อนี้ฉันใด พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีมนัสมุ่งหมายเพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐเลิศล้ำ ย่อมพยายามเสริมสร้างเมตตาธรรมให้มีมากในดวงจิต เพื่อให้ผลิตผลแผ่กว้างออกไปไม่มีสิ้นสุด ไม่มีจิตประทุษร้ายแม้แต่ในศัตรูคู่อาฆาตก็มีจิตปรารถนาให้ได้รับความสุขให้หายมลทินสิ้นทุกข์หมดภัยหมดเวร แผ่ความเย็นใจไปทั่วทุกทิศ มีน้ำใจเป็นมิตรไมตรีไม่มีจำกัด หมู่มนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลายที่คบหาสมาคมด้วย ย่อมได้รับความเย็นใจไม่เดือดร้อนในทุกกรณี เพื่อให้สำเร็จผลเป็นเมตตาบารมียิ่งๆขึ้นไป จนกว่าได้บรรลุพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ

    10. อุเบกขาพุทธกรณธรรม

    สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง ย่อมมำน้ใจประกอบไปด้วยอุเบกขา อุตส่ายังจิตให้ตั้งมั่นในอุเบกขาธรรม ซึ่งเป็นธรรมพิเศษที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้เคยซ่องเสพกันมาคือ มีจิตอุเบกขาวางเฉยเป็นกลางในธรรมทั้งหลาย ด้วยว่า พระพุทธภูมิอันวิเศษนั้นจะสำเร็จลงได้ ต้องอาศัยอุเบกขาธรรมเป็นประการสำคัญ ฉะนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงจึงพยายามบำเพ็ญอุเบกขาธรรมอันลำเลิศให้มากมูลเพิ่มพูนแก่กล้าขึ้นทุกชาติที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหน และเสวยพระชาติเป็นอะไรก็ตาม ก็ย่อมอุตส่าห์พยายามบำเพ็ญอุเบกขาธรรม กล่าวคือ ความวางเฉยในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อถ้ายังขาดบกพร่องอยู่ ยังไม่เต็มบริบูรณ์ ก็เพียรเพิ่มพูนเสริมสร้างอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า บางครั้งถึงกับต้องเอาชีวิตของตนเข้าออกแลก ด้วยหวังจักทำใจให้ปราศจากความจำแนก กล่าวคือ ความยินดียินร้าย มุ่งหมายเพื่อให้มั่นในอุเบกขาธรรมเป็นสำคัญ

    ในกรณีที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย มีน้ำใจประกอบด้วยอุเบกขาธรรมนี้ มีอุปมาที่กล่าวไว้ว่า ธรรมดาว่า พื้นปฐพีอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ เมื่อมีผู้ถ่ายมูตรคูถของสกปรกโสมมอย่างใดอย่างหนึ่งลงก็ดี หรือแม้จะมีผู้เอาเครื่องสักการะบูชา บุบฝา ธูปเทียน เครื่องหอมของสะอาดทิ้งใส่ลงก็ดี พื้นปฐพีมหาพสุธาดล อันบุคคลและสัตว์ทั้งหลายเหยียบอยู่ทุกวันนี้จะได้มีความโกรธอาฆาตหรือมีความรักใคร่ชอบใจแม้แต่สักนิดหนึ่งก็หามิได้ ปราศจากความยินดียินร้ายโดยประการทั้งปวง เป็นปฐพีที่นิ่งเฉย ไม่หวั่นไหวอยู่อย่างนั้น ตลอดชั่วกัปชั่วกัลป์ อุปมาข้อนี้ฉันใด พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น คือ เมื่อมีมนัสมั่นมุ่งหมายพระโพธิญาณย่อมมีน้ำใจอาจหาญ พยายามเสริมสร้างพระอุเบกขาธรรมให้เกิดขึ้นประจำจิตให้ภิญโญภาพยิ่งๆขึ้นไป เพื่อให้สำเร็จผลเป็นอุเบกขาบารมีจนกว่าจะบรรลุถึงที่หมายอันยิ่งใหญ่กล่าวคือ พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ

    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย พุทธกรณธรรมหรือธรรมพิเศษที่เป็นเหตุให้ได้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นธรรมที่บำเพ็ญให้สำเร็จได้โดยยากใช่ไหมเล่า ถึงกระนั้น ท่านผู้ปรารถนาเป็นสมเด็จพระจอมมุนีสัมพุทธเจ้า ก็เฝ้าบำเพ็ญธรรมเหล่านี้เป็นเวลาช้านานหลายแสนโกฏิชาตินักหนา อุตส่าห์พยายามบำเพ็ญให้เพิ่มพูนเจริญเต็มที่ในจิตสันดาน จนกว่าจะได้บรรลุจึงพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระบารมี 30 ถ้วน

    พระพุทธกรณธรรมที่กล่าวมาแล้วนี้ มีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่า โพธิปริปาจนธรรม = ธรรมสำหรับบ่มพระพุทธภูมิ
    หมายความว่า เป็นธรรมอันจำเป็นอย่างยิ่ง ที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ผู้ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ จะต้องพยายามบำเพ็ญเนืองนิตย์ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลอันประเสริฐกล่าวคือ อบรมบ่มให้พระพุทธภูมิถึงแก่ความสุกงอม แล้วจะจึงได้ตรัสรู้ นอกจากนั้นแล้ว พระพุทธกรณธรรมนี้ ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นคำคุ้นหูในหมู่พุทธบริษัทว่า บารมี = ธรรมที่นำไปให้ถึงฝั่งโน้นกล่าวคือ พระนิพพาน หมายความว่า เมื่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้าเฝ้าบำเพ็ญธรรมเหล่านี้จนครบบริบูรณ์เต็มที่แล้ว ธรรมเหล่านี้ก็จะเป็นสารถีนำพระองค์ท่านให้บรรลุถึงฝั่งโน้น คือ ได้ตรัสพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ และเสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน ฉะนั้น ต่อจากนี้ไป เพื่อความเข้าใจง่ายๆ จะเรียกธรรมเหล่านี้ว่า พระบารมีธรรม

    ก็พระบารมีธรรมนี้ เมื่อโดยองค์ธรรมจริงๆ แล้วก็มีอยู่ 10 ประการ มีทานเป็นต้น มีอุเบกขาเป็นปริโยสาน ตามที่พรรณนามาแล้ว แต่ทีนี้ สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าแต่ละพระองค์กว่าจะทรงยังพระบารมีเหล่านี้ให้เต็มบริบูรณ์เต็มที่ จนกระทั่งได้ตรัสเป็นเอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ว่าจะทรงสร้างพระบารมีเป็นเวลาเล็กน้อยเพียง 10 – 20 ชาติเท่านั้น โดยที่แท้ต้องทรงสร้างพระบารมีอยู่นานนักหนา นับเวลาเป็นอสงไขย เป็นมหากัป นับพระชาติที่เกิดไม่ถ้วน เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาพระบารมีที่สร้างแต่ละพระชาติจึงไม่เท่ากัน คือ บางพระชาติก็สร้างธรรมดาเป็นปกติ แต่บางพระชาติก็สร้างอย่างอุกฏษฐ์สูงสุดนักหนา ฉะนั้น จึงจำแนกพระบารมีเหล่านี้ออกเป็นตรียางค์ คือ เป็นองค์สาม โดยจัดเป็นพระบารมีอย่างต่ำประเภทหนึ่ง พระบารมีอย่างมัชฌิมาปานกลางประเภทหนึ่ง และพระบารมีอย่างสูงสุดอุกฤษฐ์ประเภทหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พระบารมีธรรมอันดับแรกคือ ทาน เมื่อจำแนกออกเป็นตรียางค์ ก็กำหนดเอาโดยประเภทของทานดังต่อไปนี้

    1. ทานที่บำเพ็ญโดยสถานประมาณเป็นปกติธรรมดาบริจาคธนสารทรัพย์สมบัติน้อยใหญ่ ถึงแม้จะมากมายเพียงใดก็ดี จัดเป็นบารมีประเภทต่ำธรรมดา เรียกชื่อว่า ทานบารมี

    2. ทานที่บำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้น คือ ถึงกับบริจาคอวัยวะเลือดเนื้อในร่างกายจัดเป็นพระบารมีประเภทมัชฌิมาปานกลาง เรียกชื่อว่า ทานอุปบารมี

    3. ทานที่บำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้น คือ ถึงกับต้องบริจาคชีวิตให้เป็นทาน นับว่าเป็นการบริจาคอย่างใหญ่หลวงอุกฤษฐ์ อย่างนี้จัดเป็นพระบารมีสูงสุดอย่างยิ่ง เรียกชื่อว่า ทานปรมัตถบารมี

    แม้พระบารมีธรรมประเภทอื่นๆ ก็จำแนกออกเป็นพระบารมีละ 3 ประเภท เช่นเดียวกับทานที่ยกเป็นตัวอย่างนั่นเอง ที่นี้ พระบารมีที่เป็นองค์ธรรมีอยู่ 10 ประการ เมื่อจำแนกออกเป็นองค์ละ 3 พระบารมี จึงรวมเป็นพระสมติงสบารมี คือ พระบารมี 30 ถ้วนพอดี เพื่อที่จักให้เห็นได้ง่ายๆ จะขอจำแนกออกไปตามรายชื่อพระบารมี ดังต่อไปนี้

    1. ทานบารมี
    2. ศีลบารมี
    3. เนกขัมมบารมี
    4. ปัญญาบารมี
    5. วิริยบารมี
    6. ขันติบารมี
    7. สัจจบารมี
    8. อธิษฐานบารมี
    9. เมตตาบารมี
    10. อุเบกขาบารมี

    11. ทานอุปบารมี
    12. ศีลอุปบารมี
    13. เนกขัมมอุปบารมี
    14. ปัญญาอุปบารมี
    15. วิริยอุปบารมี
    16. ขันติอุปบารมี
    17. สัจจอุปบารมี
    18. อธิษฐานอุปบารมี
    19. เมตตาอุปบารมี
    20. อุเบกขาอุปบารมี

    21. ทานปรมัตถบารมี
    22. ศีลปรมัตถบารมี
    23. เนกขัมมปรมัตถบารมี
    24. ปัญญาปรมัตถบารมี
    25. วิริยปรมัตถบารมี
    26. ขันติปรมัตถบารมี
    27. สัจจปรมัตถบารมี
    28. อธิษฐานปรมัตถบารมี
    29. เมตตาปรมัตถบารมี
    30. อุเบกขาปรมัตถบารมี

    สิริรวมเป็นพระบารมีธรรม ที่ท่านผู้ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์เต็มที่ 30 ถ้วนพอดี ฉะนั้น จึงเรียกเป็นศัพท์ว่า พระสมติงสบารมี ด้วยประการฉะนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...