การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา ตอนที่ ๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 16 กรกฎาคม 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอนที่ ๘
    ในตอนที่ ๘ นี้ ข้าพเจ้าก็จะอธิบายเพิ่มเติม ต่อจากตอนที่ ๗ ซึ่งหากท่านทั้งหลายที่ได้อ่านในตอนที่ ๗ และมีความรู้ เกี่ยวกับ สติปัฏฐาน และ กรรมฐาน หลายๆท่าน คงจะคิดว่า ข้าพเจ้ามั่ว บ้า หรือคิดเอาเอง หรือเข้าใจผิด ความจริงแล้ว สิ่งที่ท่านทั้งหลายอาจคิดนั้นหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะในตอนที่ ๗ นั้น ข้าพเจ้าเพียงได้อธิบายขยายความ ในด้านหนึ่ง ของ สติปัฏฐาน ๔ และ กรรมฐาน เหตุด้วยระบบการทำงานของสรีระร่างกายของมนุษย์นั้น สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอธิบายขยายความเป็นเรื่องๆไป เพื่อให้ทุกท่านได้เกิดความเข้าใจ เป็นอย่าง เป็นเรื่องๆไป
    ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปในตอนที่ ๗ ว่า "สติ ปัฏฐาน ๔ , และกรรมฐาน ๔๐ ล้วนเป็นคำสอน หรือคำบอกกล่าว หรือคำชี้แจง หรือแจ้งให้ได้รู้ว่า ท่านทั้งหลาย ควรได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง เพื่อให้เกิดสติ คือ ความระลึกได้ วิธีการที่จะทำให้ใจสงบ และสามารถมี ปัญญา ความรู้ สามารถประพฤติปฏิบัติได้ มีวิธีการใดบ้าง "
    และ " การที่บุคคลจะมี สติ คือ ความระลึกได้ หรือ มีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน หรือมี ปัญญา ความรู้ อันสามารถประพฤติปฏิบัติได้นั้น ต้องมีปัจจัย หรือสิ่งประกอบ หรือสิ่งค้ำจุน หรือสิ่งเกื้อหนุน หรือสิ่งที่เป็นเครื่องสร้างสติ ฯ ที่สำคัญยิ่ง จะขาดไม่ได้ นั้น ก็คือ " สมาธิ"
    ตรงจุดนี้ ต้องทำความเข้าใจไว้ว่า สมาธิ คือ การมีจิตใจตั้งมั่น หรือมีจิตใจมั่นคง ซึ่ง มนุษย์ล้วนมีสมาธิอยู่เองแล้วตามธรรมชาติ แต่ในทางศาสนา ได้เน้นในเรื่องของการ ปฏิบัติสมาธิ ก็เพื่อ "ทบทวน ฝึกหัด สร้าง หรือเพิ่มเติม" เพื่อความเข้มแข็ง และมั่นคง
    ในทางพุทธศาสนา จึงได้มีหลักการ หรือวิธีการที่จะ "สร้าง ทบทวน ฝึกหัด หรือเพิ่มเติม" สิ่งที่ทำให้จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ได้แก่ "สมถะกัมมัฏฐาน"
    ส่วนในเรื่องอื่นๆ จัดไว้เป็นหมวด "วิปัสสนากัมมัฏฐาน"
    ทั้ง "สมถะ" และ "วิปัสสนา" ล้วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน หากท่านทั้งหลายได้อ่าน บทความในเรื่อง การปฏิบัติสมาธิฯ ทุกตอน ย่อมจะเกิดความเข้าใจ ได้ดีว่า ทั้ง ความสงบแห่งจิตใจ และการเกิดปัญญาความรู้ ย่อมต้องอาศัยซึ่งกันและกัน หากจิตใจไม่สงบ หรือจิตใจไม่มั่นคง ไม่ตั้งมั่นสงบ คือ ไม่มีสมาธิ ปัญญาความรู้ ก็ย่อมไม่เกิดตามไปด้วย อันเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีระร่างกาย
    ดังนั้น ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจเป็นเรื่องๆ เป็นอย่างๆ และต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า ถ้าท่านทั้งหลายมีสมาธิ คือความตั้งมั่นในจิตใจ ท่านทั้งหลายก็จะสามารถ ระลึกนึกถึง (สติ)ความรู้ในด้านต่างๆได้ แต่การที่ท่านทั้งหลายจะระลึกนึกถึงความรู้ในด้านต่างๆได้นั้น ท่านทั้งหลาย ก็ต้อง ศึกษา เล่าเรียน เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ในความรู้ทั้งหลายเหล่านั้นให้ดีพอสมควร ดังนี้เป็นต้น
    ข้าพเจ้าจึงได้อธิบายเกี่ยวกับ สติปัฏฐาน ๔ และ กรรมฐาน เพียงด้านเดียวก่อน และในตอนที่ ๘ นี้จึงจะได้อธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับ สติปัฏฐาน และ กรรมฐาน(กัมมัฏฐาน) ในอีกด้านหนึ่ง นั่น ก็คือ ด้านที่เป็นการปฏิบัติ เพื่อให้จิตใจตั้งมั่น และการทำให้ใจสงบ มิให้คิดฟุ้งซ่าน
    การทำใจให้สงบ มิให้คิดฟุ้งซ่านนี้ มีแนวทางการปฏิบัติ หลายด้าน หลายรูปแบบ ยังจะไม่กล่าวถึง เอาเป็นเพียงว่า จะกล่าวถึงเฉพาะการปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีความตั้งมั่น หรือความตั้งมั่นในจิตใจ หรือ สมาธิ เพราะ สมาธิ เป็นปัจจัย หรือเครื่องมือ หรือสิ่งที่จักสร้าง ความมีสติให้กับตัวท่านทั้งหลาย ที่สำคัญยิ่ง

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์

    ๑๖ ก.ค. ๒๕๕๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2009
  2. toury

    toury Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +60
    I love u, หว่ออ้ายหนี่, Ich lieber dich, Je t’aime
    ก็จะให้พูดยังไง ให้เท่าหัวใจที่มี
    Tiamo, Te quiero, ซารังแฮโย
    จะบอกว่ารักกี่ภาษา ก็ฟังไม่เยอะสักที
    คิมิโอ ไอชิเตรุ, จิตพาเด, บอง สรันโอน
    ไม่ว่าจะพูดยังไง ก็ไม่เท่าหัวใจที่มี
    Amo-te, Jag alskar dig, Ya vas liubliu
    จะบอกว่ารักกี่ภาษา ไม่ได้ครึ่ง ที่อัดแน่นในนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...