การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา ตอนที่ ๗

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 14 กรกฎาคม 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอนที่ ๗
    ในตอนที่ ๖.. ข้าพเจ้าได้แนะนำให้ท่านทั้งหลายผู้สนใจใฝ่ศึกษาทางด้านศาสนา ได้ไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง สติปัฏฐาน๔,และ กรรมฐาน ๔๐ กอง ตามแต่ท่านทั้งหลายจะสะดวก และหากท่านมีข้อขัดหรือคัดค้านในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้สอนไป ก็ให้สอบถาม เพื่อได้แก้ไขข้อสงสัย ของท่านทั้งหลาย ไม่ว่าท่านทั้งหลายจะเป็นผู้ศรัทธา หรือบุคคลากรทางพุทธศาสนา ใดใดก็ตาม
    ด้วยเหตุผลที่ว่า ข้าพเจ้าต้องการที่จะให้ท่านทั้งหลายได้ใช้สมองสติปัญญาของท่านคิดพิจารณาโดยตัวของท่านเองก่อนว่าท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในความหมายของภาษา หรือจุดมุ่งหมายของภาษาอันเกี่ยวกับเรื่อง สติปัฏฐาน และ กรรมฐาน มากน้อยเพียงใด
    ในตอนที่ ๗ นี้ ข้าพเจ้าจะอธิบายถึง หลักสติปัฏฐาน และกรรมฐาน อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ในพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ว่า
    หลักสติปัฏฐานนั้น แท้จริงแล้ว เป็นคำสอน หรือคำบอกกล่าว หรือคำชี้แจง แจ้งให้ได้รู้ว่า การที่มนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) จะสามารถระลึกได้นั้น ระลึกได้ในเรื่องใดบ้าง หมายความว่า ตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ล้วนย่อมมีการระลึกได้ถึง กาย ,เวทนา, จิต ,ธรรม อย่างแน่นอน และทั้ง กาย,เวทนา,จิต,ธรรม นั้น ล้วนย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างชนิดที่เรียกว่า เสมือนหนึ่ง เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน จะแยกจากกันมิได้ อีกทั้ง ยังสามารถแยกแยะรายละเอียดได้อีกมากมาย เหลือคณานับ
    เมื่อมาถึงตรงนี้ ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า การระลึกได้ หรือ สติ นั้น เป็นธรรมชาติของมนุษย์ อันได้รับการขัดเกลา ทางสังคม เริ่มจาก กรรรมพันธุ์,ลักษณะภูมิประเทศ และอากาศ, การสังคมเป็นอยู่ร่วมกันในชุมชน ฯ,จารีต วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ
    ดังนั้น สติปัฏฐาน ๔ จึง เป็นคำสอน หรือคำบอกกล่าว หรือคำชี้แง แจ้งให้ได้รู้ว่า มนุษย์สามารถมีสติ หรือระลึกได้ อยู่ ๔ รูปแบบ ดังที่ได้กล่าวไป
    ส่วนกรรมฐาน ทั้ง ๔๐ กอง นั้นก็เป็นเช่น สติปัฏฐาน คือ เป็นคำสอน หรือ คำบอกกล่าว หรือ คำชี้แจง หรือแจ้งให้ได้รู้ว่า การที่มนุษย์จะมีใจสงบไม่คิดฟุ้งซ่านได้ ย่อมมีวิธีการ หลากหลายรูปแบบ ซึ่งปกติธรรมชาติของมนุษย์ย่อม มีการคิดเมื่อได้ประสบ สัมผัส ทางอายตนะ เมื่อได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กรรรมฐานจึงเป็นการสอ หรือบอกกล่าว หรือชี้แจง หรือแจ้งให้ได้รู้ ถึงวิธีการที่จะทำมิให้บุคคลเกิดการคิดฟุ้งซ่าน คือวิธีการที่จักทำให้จิตใจสงบ แต่กรรมฐาน ก็สามารถทำให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ ที่สามารถประพฤติปฏิบัติได้ ไปพร้อมกัน หมายความว่า หลักการ หรือวิธีการ "กรรมฐาน" สามารถสร้างจิตใจให้สงบ และสามารถสร้าง ปัญญา ความรู้ ที่สามารถประพฤติปฏิบัติได้ ไปพร้อมๆกัน ถึงแม้ว่า ตามหลักการหรือวิธีการของ กรรมฐาน จะเป็นการสร้างปัญญา ความรู้ ที่สามารถประพฤติปฏิบัติได้ เฉพาะเรื่อง เฉพาะอย่าง ซึ่งย่อมส่งผลถึงปัญญา ความรู้ที่สามารถประพฤติปฏิบัติได้ ในเรื่องอื่นๆด้วยเช่นกัน เพราะเป็นไป ตามระบบการทำงานของสรีระร่างกาย
    ด้วยเหตุที่ได้อธิบายไปข้างต้น ทั้ง สติ ปัฏฐาน ๔ , และกรรมฐาน ๔๐ ล้วนเป็นคำสอน หรือคำบอกกล่าว หรือคำชี้แจง หรือแจ้งให้ได้รู้ว่า ท่านทั้งหลาย ควรได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง เพื่อให้เกิดสติ คือ ความระลึกได้ วิธีการที่จะทำให้ใจสงบ และสามารถมี ปัญญา ความรู้ สามารถประพฤติปฏิบัติได้ มีวิธีการใดบ้าง
    ท่านทั้งหลาย ต้องทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งว่า การศึกษา การเรียนรู้ ถึงหลักการ หรือวิธีการ มิใช่การปฏิบัติ แต่การปฏิบัตินั้น อาจหมายรวมถึงการ ศึกษา และเรียนรู้ ในหลักการ หรือวิธีการ อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะ การที่บุคคลจะมี สติ คือ ความระลึกได้ หรือ มีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน หรือมี ปัญญา ความรู้ อันสามารถประพฤติปฏิบัติได้นั้น ต้องมีปัจจัย หรือสิ่งประกอบ หรือสิ่งค้ำจุน หรือสิ่งเกื้อหนุน หรือสิ่งที่เป็นเครื่องสร้างสติ ฯ ที่สำคัญยิ่ง จะขาดไม่ได้ นั้น ก็คือ " สมาธิ"จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2009
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    วิษณุ12*, telwada

    พี่ๆๆ ผมไปเชียงใหม่เมื่อไรจะไปเยี่ยมได้ไหมครับ
     
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อความ ในตอนท้ายของบทความตอนที่ ๗ นี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การปฏิบัติ สมาธิ ในตอนต่อไป ขอรับ
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...