การปฏิบัติพระกรรมฐานของหลวงปู่ดู่โดยละเอียด

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย chingchamp, 19 ตุลาคม 2008.

  1. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +504
    [​IMG]


    สำหรับการปฏิบัติพระกรรมฐานในสายของพระเดชพระคุณหลวงพ่อดู่ วัดสะแกนั้น
    ได้มีวิธีการปฏิบัติที่แยบคายไว้อย่างยิ่ง
    เพราะฉะนั้นขอให้ท่านได้ทำจิตหรือทำใจ ตั้งสติให้พร้อม
    จะได้อธิบายขั้นตอนต่างๆ ก่อนที่จะบำเพ็ญกรรมฐาน
    หรือสมาทานพระกรรมฐานดังต่อไปนี้

    ขั้นตอนที่ ๑
    ให้ท่านกล่าว นะโม ขึ้นมา ๓ ครั้งดังนี้
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

    ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบนมัสการนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่จะเกิดขึ้น
    ข้าพเจ้าขอระลึกถึงพระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตของพระพุทธองค์เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์แจ่มใส
    เรียกว่า พระบริสุทธิคุณ
    และเมื่อพระองค์มีพระบริสุทธิคุณ และมีพระปัญญาธิคุณแล้ว
    ก็มิได้นิ่งนอนใจ หวังเพียงเพื่อที่จะช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลาย
    ที่กำลังระทมไปด้วยความทุกข์ได้พ้นทุกข์
    ซึ่งมีวิธีการที่จะทำให้จิตของตนเองนั้น เกิดความสว่างจากความดี จากคุณธรรม
    เป็นพระคุณในข้อที่ ๓ อันนี้เรียกว่า พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ
    ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมรับ ระลึกถึงพระคุณ
    ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้...

    [​IMG]

    พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
    ธัมมัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
    สังฆัง ชีวิตัง เมปูเชมิ

    ข้าพเจ้าขอเอาชีวิตจิตใจ ร่างกาย ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    ในบางครั้งที่เราทำสมาธิ เราอาจจะไม่มีดอกไม้ธูปเทียน
    เราก็ใช้วิธีเอาชีวิต จิตใจ ถวายเป็พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    เพราะว่าพระพุทธองค์ พระธรรม พระสงฆ์
    จะเป็นผู้ชุบชีวิต ทำจิตของเราจากการที่เป็นผู้ที่มีสันดานบาปหยาบช้า
    เป็นปุถุชน ให้เป็นสาธุชนหรือกัลยาณชน ในที่สุดจนเป็นพระอริยบุคคล
    เนื่องจากว่า ในระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนเพียงให้ทำดี และละความชั่ว
    แต่มีขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีการทำจิตให้บริสุทธิ์
    เมื่อจิตที่บริสุทธิ์แจ่มใสแล้ว จะเป็นจิตที่เป็นเหมือนพระอริยะ
    จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเอกของโลก
    เนื่องจากพระพุทธองค์ ทรงค้นพบสัจจะธรรม
    ทรงพบทุกข์ - เหตุของทุกข์ - วิธีการดับทุกข์ และผลที่ได้รับจากการดับทุกข์

    [​IMG]

    ขั้นตอนต่อไป
    การกราบพระ ๖ ครั้ง

    ครั้งแรกกล่าวว่า พุทธัง วันทามิ
    ครั้งที่สองกล่าวว่า ธัมมัง วันทามิ
    ครั้งที่สามกล่าวว่า สังฆัง วันทามิ
    ครั้งที่สี่กล่าวว่า ครูอุปัชฌาย์อาจาริย คุณัง วันทามิ
    ครั้งที่ห้ากล่าวว่า มาตาปิตุ คุณัง วันทามิ
    ครั้งที่หกกล่าวว่า พระไตรสิกขา คุณัง วันทามิ

    การกราบพระ ๖ ครั้งนี้
    ครั้งที่ ๑ เป็นการกราบพระพุทธเจ้า
    ครั้งที่ ๒ เป็นการกราบพระธรรม
    ครั้งที ๓ เป็นการกราบพระอริยะสงฆ์ทั้งหลายอันได้แก่ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
    ครั้งที่ ๔ เป็นการกราบคุณอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์
    ครั้งที่ ๕ เป็นการกราบคุณบิดามารดา ผู้มีพระคุณทั้งหลาย
    ครั้งที่ ๖ นึกถึงคุณแห่งศีล สมาธิ ปัญญา

    ซึ่งการกราบพระ ๖ ครั้งนี้ รวมเรียกว่า ศิริ ๖ ประการ
    บุคคลใดก็ตามที่หมั่นระลึกถึงอยู่เสมอ ย่อมจะมีความเป็นศิริมงคลบังเกิดขึ้น

    [​IMG]

    หลังจากนั้น ให้ตั้งใจสมาทานศีล
    เนื่องจากว่าในวันหนึ่งๆ นั้น เราอาจจะไปทำผิดศีลข้อหนึ่งข้อใด
    การสมาทานศีลจะป็นการทำจิตให้พร้อม
    เพราะเมื่อสมาทานศีลแล้ว จิตของเราก็จะบริบูรณ์
    โดยให้ระลึกนึกถึงดังนี้

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ทั้งครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓
    การที่เราได้กล่าวไตรสรณคมน์นี้ ก็เป็นการประกาศตนเองเป็นพุทธมามกะ
    เมื่อประกาศตนเป็นพุทธมามกะได้ ก็จะต้องมีศีล
    โยเฉพาะศีลของฆราวาส หรือศีลของปุถุชนทั่วไป คือ ศีล ๕
    ศีลแปลว่า ความปกติ จะเป็นปกติได้ก็อยู่ที่กฎเกณฑ์ของสังคม
    พระพุทธเจ้าทรงมองสังคมว่า ถ้าไม่มีการล่วงละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อนี้
    สังคมนั้น ก็จะเป็นสังคมที่สงบ
    เนื่องจากว่า ถ้าคนทุกรูป ทุกนาม ถือศีล รักษาศีล
    ศีลก็จะรักษาตัวเรา และรักษาสังคม
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    [​IMG]

    ศีลตั้งแต่ข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๕ คือ

    ปาณาติปาตา เวระมณีสิกขาปะทังสะมาธิยามิ
    อะทินนาทานา เวระมณีสิกขาปะทังสะมาธิยามิ
    อพรัมจริยา (กาเมสุมิจฉาจารา) เวระมณีสิกขาปะทังสะมาธิยามิ
    มุสาวาทา เวระมณีสิกขาปะทังสะมาธิยามิ
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณีสิกขาปะทังสะมาธิยามิ

    ข้าพเจ้าขอตั้งจิตที่จะมาทานศีล ๕ ตั้งแต่

    ๑. จะไม่ฆ่าสัตว์ และจะไม่เบียดเบียนสัตว์
    ๒. จะไม่ลักทรัพย์ของบุคคลหึ่งบุคคลใด
    ๓. จะไม่ประพฤติผิดในกามและลูกเมียของเขา และของคนอื่น ในที่นี้ อพรัมจริยา เป็นการถือศีลบริสุทธิ์
    ๔. จะไม่กล่าววาจาโกหก อันจะทำให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อน
    ๕. จะไม่ดื่มสุราเมรัย ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเสียสติ
    เพราะเมื่อเสียสติแล้ว ศีลทั้ง ๕ ข้อนั้น เราก็จะรักษาไม่ได้

    การที่ข้าพเจ้าได้สมาทานศีลขึ้นในครั้งนี้
    คือ จะไม่กระทำด้วยตนเอง จะไม่ยุยงให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดให้กระทำ
    และจะไม่ดีใจ หรือยินดี เมื่อเห็นบุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำผิดศีลทั้ง ๕ ข้อนี้

    อิมานิ ปัญจะ สิกขา ปะทานิ สมาธิยามิ (๓ ครั้ง)
    ข้าพเจ้าขอสมาทานศีลทั้ง ๕ นี้ เพื่อเป็นประธานในการบำเพ็ญสมาธิต่อไป

    สีเลนะ สุคะติง ยันติ
    ศีลเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุข

    สีเลนะ โภคะ สัมปะทา
    ศีลเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโภคทรัพย์และอริยทรัพย์

    สีเลนะ นิพพุติงยันติ ตัสมาสีลังวิโส ธะเย
    ศีลเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการดับทุกข์โดยสิ้นเชิง

    [​IMG]

    หลังจากนั้น ให้พึงกำหนดจิต
    กล่าวอาราธนาบารมีพระ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะะหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

    พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
    ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
    สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ

    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)
    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ (๓ ครั้ง)

    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
    ทั้งแสนโกฎิจักรวาล พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทั้งแสนโกฎิจักรวาล
    พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    บารมีหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
    บารมีของหลวงพ่อดู่ วัดสะแก
    ขอได้โปรดได้ควบคุมการปฏิบัติสมาธิของข้าพเจ้า
    ให้มีจิตใจที่สะอาด ให้มีจิตใจที่สว่าง และมีจิตใจที่สงบด้วยเทอญ

    [​IMG]

    ลำดับต่อไปให้นึกถึง ความผิดที่เราได้เคยกระทำมา
    ด้วยกาย วาจา ใจ หรืการประมาทพลาดพลั้งในพระรัตนตรัย
    คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ซึ่งการกระทำของเราจะเป็นไปด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
    เราตั้งใจที่จะขอขมาโทษ เพราะว่ากรรมที่ได้ประมาทในพระรัตนตรัยนั้น
    จะทำให้จิตของเราเนิ่นช้าต่อคุณธรรมที่ควรจะได้
    จงดำริขึ้นในใจว่า

    โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่
    ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    รวมทั้งบุญที่เราเคยทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบัน และในขณะนี้
    แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า

    พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโยโหตุ

    [​IMG]

    การที่เราจะทำสมาธิต่อไปนั้น ให้นั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย
    มือขวาวางไว้บนมือซ้าย มือขวากำพระไว้ในมือ
    กำพระไว้ในอุ้งมือโดยให้หัวแม่มือชนกัน
    ตั้งกายให้ตรง ทำกายให้ตรงไม่ต้องยืดหรือเกร็งตัวจนเกินไป
    นั่งให้สบายๆ เสร็จแล้วนำความรู้สึกนึกคิดทั้งหมดมาวางไว้ที่ตรงหน้าผาก
    เหมือนเราคิดอะไรในใจ ความคิดอะไรวางไว้ตรงนั้น
    ซึ่งหน้าผากนี้ จะเป็นฐานหนึ่งของลมหายใจเช่นกัน
    ไม่ต้องนึกถึงลมหายใจเข้าออก
    เพราะลมหายใจเป็นของที่ละเอียด แต่จิตของเราจะเป็นของที่หยาบ
    ของที่หยาบจะไปจับของที่ละเอียดนั้น เป็นไปได้ยาก
    อันแรกเราก็ำหนดฐานของลมหายใจไว้ตรงที่กลางหน้าผาก
    แล้วบริกรรมในใจว่า

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    หรือคาถามหาจักรพรรดิก็ได้เช่นกัน

    การบริกรรมนี้ก็ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบไม่ต้องร้อน
    ไม่ต้องเร่ง ทำใจให้สบายๆ
    ทีนี้ บางครั้งก่อนที่เราจะบริกรรมนั้น เราอาจจะสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ
    เพื่อเป็นการปรับอารมณ์ ให้จิตของเราสบาย
    โปรดจำไว้อย่างหนึ่งว่า ให้ปฏิบัติหรือให้ทำอย่างสบายๆ
    อย่าไปเคร่งเครียด อย่าไปเร่งรัด
    เพราะจะทำให้ไม่ได้อะไรขึ้นมา
    ให้ทำใจเราให้ยึดอยู่แต่คำภาวนา

    หน้าที่ของเราก็คือ การบริกรรมนี้ เขาเรียกว่า การทำงานของจิต
    เนื่องจากว่าจิตของคนเรานั้นจะสนองทันทีในการคิด วุ่นวาย สับสน ปรุงแต่ง
    เมื่อมีการปรุงแต่งแล้ว จิตของเราก็จะหาความสงบไม่ได้
    เมื่อจิตหาความสงบไม่ได้ ก็เป็นจิตที่วุ่นวายสับสน
    เมื่อจิตวุ่นวายสับสน ก็หความสุขไม่ได้
    ดังพุทธภาษิตของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า

    นัตถิ สันติปะรัง สุขัง
    สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี

    [​IMG]

    การที่เราได้มาบำเพ็ญสมาธิ ได้ชื่อว่า เรากำลังทำให้จิตได้ทำงาน
    เพื่อให้เกิดความสงบ
    เพราะจิตที่สงบเท่านั้นจึงจะเป็นการพักจิต ฟอกจิต
    คนเราทุกวันนี้ อาบน้ำชำระร่างกายวันละ ๓ เวลา
    แต่ว่าไม่ได้ฟอกจิตของตัวเองเลย
    เรารับประทานอาหารวันละหลายมื้อ แต่ว่าเราไม่ได้ให้อาหารแก่จิตเลย
    เมื่อจิตซึ่งปราศจากความสงบ ความสมบูรณ์พูนสุขเข้าไปสะสมอยู่ในตัว
    จิตนั้นจะไปเกิดเป็น อาสวะ เป็นกิเลสซึ่งหมักหมม
    พอหมักหมมแล้วก็จะเกิดเป็นพิษต่อเจ้าของ
    เขาเหล่านั้นจะหาหนทาง หรือหาตัวเองไม่พบ
    เนื่องจากว่า ไม่ได้เข้ามาสู่การปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา
    เพราะการปฏิบัติภาวนาเป็นวิถีทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายได้ดำเนินมา
    เราซึ่งได้ชื่อว่า เป็นลูกหลานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ก็ควรกะทำตาม ประพฤติยึดแนวตามที่เรากล่าวกันว่าเรานับถือ
    บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น

    การนับถือบูชาคือการยอมรับและนำมาปฏิบัติตาม
    พระพุทธองค์ทรงสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ก็ด้วยวิถีแห่งการบำเพ็ญสมาธิ

    เพราะเมื่อจิตสงบแล้ว ก็จะเกิดกำลังของจิตขึ้น
    เมื่อเราวิเคราะห์ไตร่ตรองได้แล้ว
    เราก็มีปัญญารู้ตามว่า สิ่งนั้นผิด สิ่งนั้นถูกโดยจิตใจของเราเอง
    หรือเรียกว่า เป็นคนที่รู้จริง ไม่ได้รู้ตามทฤษฎี
    คนที่รู้ตามทฤษฎีนั้น โอกาสที่จะทำจิตใจของตนเอง
    เพื่อที่จะค้นคว้าเข้าไปหาจิตของตนเองนั้นเป็นไปได้ยาก
    การที่เราบำเพ็ญภาวนาและกล่าวไตรสรณคมน์นั้น
    เมื่อจิตของเรายังไม่สงบนิ่ง
    ก็ให้กำหนดให้จิตเห็นเป็นตัวหนังสือปรากฎขึ้นในห้วงใจของเรา
    ที่จิตของเรา เหมือนกับเรากำลังเขียนหนังสือลงบนกระดานดำ
    หรือเขียนหนังสือฉายลงบนจอภาพ
    พอเราภาวนาว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ก็ให้เขียนเป็นตัวหนังสือไปตามนั้นทั้ง ๓ อย่าง
    พอจิตของเราชำนาญก็จะทำได้ดี
    เนื่องจากว่าเราใช้จิตของเราทำงานถึง ๒ อย่างคือ


    ๑. การบริกรรมในใจ
    ๒. การกำหนดตัวหนังสือ หรือการกำหนดกสิณ คือการเพ่ง

    [​IMG]

    เมื่อจิตมีงานทำทั้ง ๒ อย่าง
    การที่จิตจะส่ายก็จะลดน้อยลง
    จิตก็จะมุ่งมั่นอยู่กับการภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
    ภาวนาไปเรื่อยๆ อย่างที่บอก ไม่ต้องรีบ
    ให้ถือ มัชฌิมา ปฏิปทา
    คือว่าในตอนแรกๆ ไม่ต้องนั่งนาน ทั้งนี้ เพราะจิตยังไม่คุ้นเคย
    ก็จะเกิดทุกขเวทนาขึ้นมา คือการปวดเมื่อยตามร่างกาย
    แรกๆ เราก็อย่าไปฝืนนั่ง
    พอจิตของเราเริ่มมีกำลังขึ้น เราก็ค่อยๆ เพิ่มทีละนิดๆ
    เพื่อให้จิตคุ้นอยู่กับคำภาวนา เมื่อจิตสงบแล้วมันจะมีตัวชี้
    ความสงบนั้นแสดงผลอยู่ที่ใจ
    คือ ใจหรือจิตของเราจะไม่ฟุ้งซ่าน
    จะมีความสบายกาย เบาเนื้อ เบาตัว เบาจิต เบาใจ
    เนื่องจาก จิตกับกายกำลังแยกออกจากกัน

    การที่จิตกับกายเริ่มแยกออกจากกันนั้น
    เกิดจากจิตที่เป็นสมาธิในขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียดเป็นลำดับๆ
    ไม่มีวิธีการใดเลย ในทางพระพุทธศาสนา ที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการบำเพ็ญสมาธิ
    เพราะเมื่อมีสมาธิแล้ว สิ่งที่ติดตามมาก็คือ ปัญญา
    เราจึงมีปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากว่าเราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง
    ในขณะที่เราไม่ได้บำเพ็ญสมาธิ เข้ามาอยู่ในสายตาของเรา
    เข้ามาอยู่ในอารมณ์ของเราอยู่ตลอด
    เมื่อจิตของเราได้รับการทำสมาธิแล้ว จิตมีกำลังแล้ว
    ก็เริ่มที่จะพิจารณาความเป็นจริง
    ความเป็นจริงที่แสดงออก เมื่อแสดงออกมาแล้ว เราจะเข้าใจสิ่งเหล่านั้น
    อันนี้คือ วิถีทางหรือกระบวนการที่ทำให้จิตเกิดวิปัสสนา
    วิปัสสนาคือปัญญา

    ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมที่จะไปคุมศีล หรือคุมสมาธิ
    คือว่าเราจะรักษาศีล ทำสมาธิโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ
    เพราะปัญญาเราเริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่า
    สิ่งเหล่านั้นเป็นคุณ เหมือนกับเราต้องรับประทานอาหาร หรือเราต้องหายใจ
    พอสิ่งเหล่านี้เป็นคุณ เราก็ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งจะประจำตัวของเรา
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    [​IMG]

    เมื่อใดก็ตามที่เราคิดว่าการภาวนา จำเป็นอย่างกับการหายใจ
    เมื่อนั้นจิตของเรามีที่พึ่ง
    แต่ถ้าเรายังคิดว่าเราบำเพ็ญสมาธิ เพื่อให้เกิดบุญ
    อันนั้นก็เป็นเพียงขั้นหนึ่งเท่านั้น
    แจ่เมื่อใดก็ตาม ที่จิตเกิดอัตโนมัติ คือเราจะต้องทำ
    เหมือนกับเราจะต้องนอนหลับ เหมือนกับเราจะต้องกิน
    ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ ขอให้จำไว้เลยว่า
    จิตของเรามีที่พึ่งแน่นอน เมื่อจิตมีที่พึ่งแล้ว
    ความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น
    ทุกข์มากมันก็กลายเป็นทุกข์น้อย ทุกข์น้อยนั้นก็จะหมดไป

    เพราะเราได้เข้าใจว่า เป็นธรรมชาติของกิเลส
    ซึ่งจะทำให้จิตใจของเราเศร้าหมอง
    เพราะฉะนั้น โลกธรรม ๘ ที่มันบังเกิดขึ้น
    มีลาภยศ สรรเสริญ เจริญ สุข ทุกข์ เสื่อม นินทา
    เราจะเริ่มเข้าใจ ทำใจได้
    แต่ก่อนที่เราจะทำใจได้ ก็ต้องมีกำลังจิตเสียก่อน
    ทางพระท่านเรียกว่า พละ
    จากพละที่มีวิวัฒนาการไปเป็น ปัญญา นั้น
    เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ซึ่งเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    จะต้องพึงกระทำและปฏิบัติตามให้ได้
    ให้ภาวนาไปเรื่อยๆ ภาวนาไปจนจิตของเราสงบ
    ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องในอดีต ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องในอนาคต
    ปัจจุบันนี้เรากำลังจะทำความดี ซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา
    เพราะในขณะที่เรานั่งสมาธินั้น
    บารมีทั้ง ๑๐ ประการบังเกิดขึ้นในจิตใจของเรา
    จิตของผู้ที่บริกรรมไตรสรณคมน์แล้วก็สำเร็จเป็นพระได้

    ทีนี้ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นฆราวาส เมื่อเราได้มาบริกรรมไตรสรณคมน์
    จิตของเราตอนนั้นก็ย่อมเป็นพระ
    พระแปลว่า ผู้ประเสริฐ เป็นที่อยู่ของผู้ประเสริฐ
    เมื่อจิตของเราเป็นพระแล้ว ก็ย่อมจะเกิดบุญญาธิการขึ้น
    บุญญาธิการตัวนี้แหละ จะเป็นตัวที่คุ้มครองเรายิ่งกว่าพระเครื่อง

    พระเครื่องที่บรรดาคณาจารย์ได้อธิษฐานจิตไว้นั้นเป็นของดี
    เพราะมีพลังของคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สถิตอยู่ บรรจุอยู่
    แต่สิ่งนั้นจะเป็นเพียงที่พึ่งภายนอก
    แต่เราสามารถที่จะนำเอาพลังของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    มารวมให้เป็นหนึ่งในจิตใจของเรา
    ก็เหมือนกับการปลุกเสกจิต ปลุกเสกใจของเราให้กลายเป็นพระ
    ถ้าจิตใจของเราเป็นพระแล้ว แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง
    แค่ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ระยะเวลา ๕ นาที ๑๐ นาที
    ก็ได้ชื่อว่าเราเป็น พระโยคาวจร คือ ผู้ที่จะก้าวไปสู่ความสงบ
    ถือว่าได้ดำเนินรอยตามพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    และสิ่งสำคัญของชาวพุทธที่จะต้องพึงระลึกอยู่เสมอก็คือ

    กฎแห่งกรรมนั้นมีจริง
    เมื่อกฎแห่งกรรมมีจริง นรก สวรรค์ นิพพานก็ต้องมีจริง
    คนทำดีก็ต้องได้ดี คนทำชั่วก็ต้องได้ชั่ว

    เพราะการกระทำอันนั้นเกิดออกมาจากจิตของเรา
    บังคับให้กายกระทำ บังคับให้วาจาพูดออกมา
    เพราะฉะนั้น การที่เราสะสมบุญเอาไว้ก็ย่อมนำความสุขมาให้
    บุญจึงได้ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    [​IMG]

    การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้มาพบพระพุทธศาสนา
    และได้มาปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ยากเย็นมาก
    เพราะบารมีของผู้ที่จะมาศึกษา มาปฏิบติภาวนานั้น
    เป็นบารมีขั้นสุดท้ายในการที่จะตัดภพ ตัดชาติ
    การที่จะตัดภพตัดชาติได้ บารมีของท่านผู้นั้นจะต้องเข้มข้น
    จึงสามารถจะตัดสินได้เลยว่า บุคคลนั้นมีบารมีเข้มข้นหรือยัง
    ถ้าเราเริ่มที่จะพอใจในการบำเพ็ญสมาธิ ปฏิบัติภาวนานั่นแหละ
    ขอให้รู้ว่า บารมีของเรากำลังบังเกิดขึ้น
    และกำลังจะดำเนินไปสู่ทางที่ดีงามที่สุด

    ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ บริกรรมไป ทำจิต ทำใจ ตั้งสติให้คุมคำภาวนาไว้ตลอด
    ไม่ให้จิตส่ายโอนเอียงไปข้างหน้าไปข้างหลัง
    ให้ทำจิตใจของเราให้เหมือนเรากำลังเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เรากำลังอยู่เบื้องพระพักตร์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เรากำลังอยู่ในแวดวงพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    เมื่อเราได้บำเพ็ญมาแล้วด้วยดี
    ทุกครั้งก่อนที่เราจะเริ่มทำสมาธิหรือเริ่มภาวนา
    ให้ตั้งจิตของเราให้มีเมตตา อ้างเอาบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระปัจเจกพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    ขอบุญบารมีของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    รวมทั้งบุญบารมีของข้าพเจ้าที่ได้กระทำมาด้วยดี
    ขอแผ่ผลบุญนี้ไปไม่มีประมาณ ณ กาลบัดนี้

    พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ

    [​IMG]

    สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
    พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง
    อะระหันตานัญจะเตเชนะรักขัง พันธามิสัพพะโส

    ขออำนาจบุญบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    จงมาสถิตติดอยู่ในใจของข้าพเจ้าตลอดไป

    พุทธังกำลังกล้า ธัมมังกำลังแกร่ง สังฆังกำลังแรง
    ด้วยฤทธิ์แห่งพระกำลัง ขอเชิญพระปัจเจกมาช่วยเสกกับพระอรหันต์
    ให้เป็นวิมานแก้วล้อมรอบครอบตัวพัวพัน คอยป้องกันภยันตราย

    พุทธัง อธิษฐามิ
    ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้า
    ธัมมัง อธิษฐามิ
    ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระธรรม
    สังฆัง อธิษฐามิ
    ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระอริยสงฆ์ทั้งหลายด้วยเทอญ

    ก่อนที่เราจะลืมตาขึ้นมานั้น ให้พึงพิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
    พอเกิดขึ้น แล้วมาตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
    นี่เป็นของจริงแท้แน่นอน เป็นสัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล็งเห็น
    ด้วยพระญาณอันประเสริฐว่า ขึ้นชื่อว่าโลกแล้วจะต้องถึงคราวอันตรธานสูญหายวิบัติไป
    โลกภายนอกเช่น บุคคล สิ่งของทั้งหลาย
    โลกภายใน คือโลกของเราเอง เปรียบเสมือนพวกร่างกาย
    เมื่อถึงวันเวลาซึ่งเรายืมเขามา คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ
    มาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย โดยมีจิตปฏิสนธิวิญญาณของเราครองอยู่ สิงสถิตรวมอยู่
    จึงถือได้ว่า พ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ร่างกายให้เรามาอาศัยอยู่
    ถึงเวลาแล้วเขาก็ต้องเรียกคืนไป โลกก็จะต้องกลับคืนไปสู่โลก
    ไม่มีคนหนึ่งคนใดจะเอาทรัพย์สมบัติอะไรไปได้ แม้แต่เพียงหยิบมือ หรือเพียงธุลีเดียว
    สิ่งที่จะติดตัวไปได้นั้นคือ บุญ บาป ชั่ว ดี เท่านั้น
    หมั่นพิจารณาอยู่เสมอๆ ว่า พอร่างกายนั้นตาย เราไม่สามารถจะนำเอาอะไรไปได้
    การที่เราได้คิดอยู่ทุกวัน คิดถึงความตายอยู่เสมอๆ
    จิตของเราก็จเป็นจิตซึ่งทรงอานุภาพ และเป็นจิตที่ไม่ประมาท
    ในการที่จะสร้างคุณงามความดียิ่งๆ ขึ้นไป
    สมดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสบอกกับพระอานนท์ว่า
    ตถาคตคิดถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
    พระดำรัสนี้ย่อมแสดงถึงว่า
    ผู้มีสติพร้อมบริบูรณ์ก็จะระลึกความตายเหมือนสายฟ้าแลบ
    เมื่อระลึกดังนี้ได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ จิตของเราก็จะเป็นจิตที่เมตตา
    ไม่อาฆาต ไม่พยาบาท บุคคลหนึ่งบุคคลใด

    และก่อนที่จะลืมตา ให้ทำจิตของเราให้แจ่มใส
    แผ่เมตตาและสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ
    อธิษฐานถึงความดีอันนี้ ขอให้ติดตัวตลอดไป

    [​IMG]

    เรียบเรียงจาก "ร่มเงาพุทธฉัตร"
    ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์
    และขอขอบคุณที่มา..http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=7001
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->

    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->

    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...