การปฏิบติธรรมให้ได้ผลดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 2 สิงหาคม 2011.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี
    การปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องแบ่งแยกออกเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท ที่เป็นเช่นนั้น ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มบุคคล ในทุกกลุ่มเชื้อชาติ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา จึงแบ่งกลุ่มบุคคลออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
    ๑. การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของบุคคลทั่วไป เพื่อการปฏิสัมพันธ์ ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
    ๒. การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของบุคคลที่มีความต้องการที่จะปฏิบัติธรรมให้ได้ถึงชั้นอริยบุคคลหรือปฏิบัติธรรมเพื่อจุดมุ่งหมายจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ในที่นี้หมายรวมตั้งแต่กลุ่มบุคคลที่เข้ามาพึ่งทางธรรมเพื่อต้องการขัดเกลาความเศร้าหมองในจิตใจ หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเศร้าหมองในจิตใจอยู่แล้วและเข้ามาปฏิบัติธรรม เพื่อต้องการขจัดความเศร้าหมองตามความเข้าใจของพวกเขา หรือความหลงผิดในจิตใจของเขาทั้งหลายเหล่านั้น
    เมื่อท่านทั้งหลายได้ทราบแล้วว่า การปฏิบัติธรรมจำต้องแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท การปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ผลดี ก็ย่อมต้องแบ่งการปฏิบัติเป้น ๒ รูปแบบ เพื่อให้ได้ผลดี ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
    การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของกลุ่มบุคคลทั่วไปนั้น ถ้าจะเอาแบบง่ายๆสั้น ก็ย่อมต้องนำเอาหลักการของ "อริยมรรค อันมีองค์๘ "มาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดี และการดำรงชีวิตในสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน เป็นไปอย่างราบรื่น มีแต่ความสมัครสมานสามัคคี แทบจะไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย นั่นก็คือ "
    ๑. มีความเห็นในทางที่ดี,
    ๒.คิดในทางที่ดี,
    ๓.เจรจาติดต่อสื่อสารในทางที่ดี,
    ๔.ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดี,
    ๕.เลี้ยงชีพเลี้ยงตัวเองในทางทีดี,
    ๖.มีความขยันหมั่นเพียรในทางที่ดี,
    ๗.ความหวนนึกถึงในทางที่ดี,
    ๘.ความตั้งใจสำรวมจิตในทางที่ดี
    (ขยายความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
    ทั้ง ๘ ข้อ ย่อมเป็นเครื่องมือที่จะช่วยหรือจะทำจะนำให้บุคคลที่ยึดถือสามารถปฏิบัติธรรมได้ผลดียิ่ง เพราะธรรมทั้งหลายล้วนย่อมมีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ถ้าใช้หลักการของ อริยมรรคอันมีองค์๘ เป็นเครื่องช่วยในการปฏิบัติ ซึ่ง ตัวของ อริยมรรค อันมีองค์๘ ก็เป็นหลักธรรมอย่างหนึ่ง เช่นกัน ถ้านำไปปฏิบัติ ก็คือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมอันจักทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้นเกิดธรรมทั้งหลายในจิตใจอยู่เสมอ นั่นหมายความว่า ทั้งผู้ปฏิบัติ และผู้ได้ร่วมปฏิสัมพันธ์ ย่อมเกิดธรรมอย่างดีเยี่ยมทั้งสองฝ่าย
    ส่วนการปฏิบัติธรรมในอย่างที่ ๒ เป็นการปฏิบัติธรรมของผู้ที่มีความต้องการใคร่จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จนถึงบุคคลที่ต้องจะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุสู่ชั้นอริยบุคคล และหมายรวมถึงบุคคลที่เข้ามาพึ่งทางธรรม เพื่อต้องการขัดเกลาความเศร้าหมองในจิตใจ หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเศร้าหมองในจิตใจอยู่แล้วและเข้ามาปฏิบัติธรรม เพื่อขจัดความเศร้าหมองในจิตใจตามความเข้าใจของพวกเขา หรือความหลงผิดในจิตใจของพวกเขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็ย่อมต้องมีเครื่องมือ หรือหลักวิธีที่จะทำให้การปฏิบัติได้ผลดี เป็นขั้นเป็นตอน ตามหลักพุทธศาสนา อันได้แก่
    ๑.เรียนรู้หลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง
    ๒.ฝึกปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานไปตามลำดับ
    เพราะการปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ กองนั้น แท้จริงแล้ว ก็คือการฝึกปฏิบัติ ตามหลัก " สติปัฏฐาน ๔ "นั่นเอง เพียงแต่แยกออกมาอธิบายหรือจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เป็นหลักการหรือเครื่องมือที่ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้หรือง่ายต่อการปฏิบัติ
    ดังนั้น การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี สำหรับบุคคลประเภทที่ ๒ จึงจำต้อง เรียนรู้หลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง และฝึกปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานไปตามลำดับ
    การปฏิบัตินั้น ในทางพุทธศาสนาจะแนะนำไว้ว่า "ไม่ตึง ไม่หย่อน" นั่นหมายความว่า ให้บุคคลทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมรู้จักจัดแบ่งเวลาที่เหมาะสม ให้รู้จักว่า เวลาไหนควรฝึก เวลาไหนความปฏิบัติ เวลาไหนความคิด หรือเวลาไหนไม่ควรคิด ถ้ารู้จักจัดแบ่งเวลา ในชีวิตประจำวันของบุคคล แต่ละบุคคลย่อมสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้ผลอย่างดียิ่ง และย่อมใช้ชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างปกติสุข ไม่หนีโลก หนีปัญหา ฉะนี้
    จ่าสิบตรี เทวฤทธ์ ทูลพันธ์
    ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [​IMG]
     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาสู่ตนเอง

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...