การปกครอง กับ พุทธศาสนา ตอนที่ ๑

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 12 พฤศจิกายน 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การปกครอง กับ พุทธศาสนา
    ตอนที่ ๑
    บทความนี้ เป็นความรู้สำหรับ นักเรียน,นิสิต,นักศึกษา,ประชาชนทั่วไป,รวมถึงเหล่าบรรดานักการเมือง , ครู อาจารย์, นักวิชาการทั้งหลาย ตลอดจนผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ ควรได้อ่าน ควรได้ศึกษา แลคิดพิจารณา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพราะเป็นความรู้ที่สามารถพัฒนาสมองสติปัญญา ความคิดและพฤติกรรมของท่านทั้งหลาย เป็นความรู้ที่เป็นไปตามหลักความเป็นจริง เป็นความรู้ที่จะสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคมในทุกด้าน ไม่ใช่การคิดแบบถอยหลังเข้าคลอง และไม่ยอมออกจากคลอง ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
    สืบเนื่องมาจาก ก่อนที่จะ มีอุทกภัย( น้ำท่วม)เกิดขึ้นในประเทศไทย ประมาณปลายเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ได้มีการจัดการให้มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง “การลดอำนาจรัฐ ลดความเหลื่อมล้ำ” มีนาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับเรื่อง การลดอำนาจรัฐ ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเขาทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในระบบนิเวศวิทยาของมนุษย์ หรือการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ภายใต้การปกครองในระบอบการปกครอง มากนัก
    การปกครอง หมายถึง “ ผู้ทำ หรือเรื่องที่ทำ หรือ งาน เกี่ยวกับการ ดูแล,คุ้มครอง,ระวังรักษา,บริหาร” (คัดความจาก พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)ข้าพเจ้าได้เคยเขียนสอนไปครั้งหนึ่งแล้วว่า “ระบอบการปกครองรูปแบบใดใด ก็ดีเหมือนกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการ บริหารจัดการ ว่าจะบริหารจัดการเพื่อใคร ด้วยเครื่องมืออะไร ฯ” และก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน “ระบอบการปกครองรูปแบบใดก็ตาม ย่อมสามารถเป็นระบอบการปกครองที่มี พระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ได้เหมือนกันทุกรูปแบบของระบอบการปกครอง” หากประชาชนทั้งหลาย อันหมายรวมถึง เหล่านักวิชาการ เหล่าอาจารย์ที่หัวเอียงซ้ายติดหลงในตำราแบบถอยหลังเข้าคลอง และไม่ยอมออกจากคลอง หรือกลุ่มนักการเมืองบางกลุ่มที่หัวเอียงซ้ายติดหลงในตำราแบบถอยหลังเข้าคลอง ไม่มีความคิดก้าวหน้า ไม่มีการพัฒนาความรู้ หรือพัฒนาหลักวิชาการให้เป็นไปตามหลักความจริง ของธรรมชาติของการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ หากเขาทั้งหลายเหล่านั้นมีศีลธรรมทางศาสนาอยู่ในความคิด อยู่ในจิตใจ มีความกตัญญู รู้คุณ ในสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ได้ทรงเหน็ดเหนื่อยรวบรวม,รักษา,ปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน ได้มีที่อยู่ ที่ทำมาหากิน ประกอบอาชีพ และได้อยู่กันอย่างมีความสุข มาจวบจนทุกวันนี้ ได้ร่วมใจกัน สามัคคีกัน หวงแหน เทิดทูน ปกป้องรักษา สถาบันพระมหากษัตริย์ ไว้เหนือสิ่งอื่นใด บุคคลกลุ่มใด พวกใด เหล่าใด จะใช้ระบอบการปกครองในรูปแบบใดก็ตาม ย่อมสามารถ ที่จะหวงแหน เทิดทูน ปกป้องรักษา กตัญญู รู้คุณ รู้กตเวทิตา รู้ตอบแทนคุณ แห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ไว้ได้ตลอดไปและตลอดกาล นี้เป็นความก้าวหน้าในทางการเมืองการปกครอง อันมีรากฐานมาจากศาสนา ไม่ใช่การมีความคิด ติดหลงในตำรามากเกินไป จะกระทำจะปฏิบัติอย่างที่ในตำราสอนกันเพียงแบบเดียว จนกลายเป็นการถอยหลังเข้าคลอง และไม่ยอมออกจากคลอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล
    การปกครอง เกิดมีขึ้นมานานแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า เกิดขึ้นพร้อมๆกับการมีมนุษย์เลยก็ว่าได้ เนื่องเพราะ ธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสัตว์สังคม ย่อมมีการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ ในทุกด้าน เมื่อเกิดมีการรวมกลุ่มกัน ก็ย่อมต้องมีผู้นำ หรือหัวหน้า เพื่อทำการปกครอง คือ ดูแล ,ระวังรักษา,คุ้มครอง,บริหาร เริ่มต้นตั้งแต่ระดับครอบครัวเป็นต้นมา เมื่อมีการรวมกลุ่ม มีการสังคม และมีผู้นำหรือหัวหน้า เกิดขึ้น ความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันจึงเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นธรรมดา
    ความเหลื่อมล้ำ หรือ ความไม่เท่าเทียมกันในหลายๆด้านของบุคคลในชุมชน นับตั้งแต่เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นไป เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะธรรมชาติของมนุษย์เป็นอย่างนั้น ความเหลื่อมล้ำ หรือ ความไม่เท่าเทียมกัน เกิดจาก ความมีพละกำลังที่แข็งแรง,มีความอดทน,มีความขยันหมั่นเพียร,มีความคิด มีความรู้ ความเข้าใจ รู้จักจดจำ อดีต ปัจจุบัน อนาคต อันหมายถึง รู้จักวิเคราะห์ คาดกาล ทำให้รู้จัก เก็บรักษา อดออม กักตุน แสวงหา และรู้จักปฏิบัติหรือประกอบกิจกรรมได้ดีกว่า,รวมไปถึงการมีหรือครอบครองทรัพยากรต่างๆมากกว่า ฯลฯ ซึ่งที่ได้กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นสาเหตุหรือเป็นปัจจัยของการเกิดความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกัน ของบุคคลในสังคมนั้นๆ
    ต่อมาเมื่อชุมชนของมนุษย์ใหญ่โตขึ้นมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความโลภ ความโกรธ ความหลง การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันก็เพิ่มมากขึ้น จนเกิดการแบ่งชนชั้น อันหมายถึง แบ่งกลุ่มคนออกเป็นระดับระดับ เช่น ระดับผู้นำ,ระดับครูอาจารย์,ระดับประชาชนทั่วๆไป,ระดับคนรับใช้หรือทาส ฯ อย่างนี้เป็นต้น ความเหลื่อมล้ำ หรือ ความไม่เท่าเทียมกัน ในด้านต่างๆ ก็ยิ่งห่างกันมากขึ้น ทาสหรือคนรับใช้ ต้องทำงานหนัก แลกกับอาหาร และที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มเพียงเล็กน้อย ฯ หรือ ประชาชนทั่วๆไปชาวไร่ชาวนา หรือที่หาของป่าเพื่อเลี้ยงชีพ ก็ได้ผลตอบแทนเพียงเล็กน้อย ถูกผู้มีอำนาจหรือกำลังที่เหนือกว่าแย่งชิงกดราคา เอาเปรียบในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นธรรมดาของการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่ยังไม่มีความเจริญทางด้านจิตใจและความคิด
    ครั้นเมื่อเกิดมี ศาสนา ซึ่งก็ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดสืบเนื่องต่อจากความศรัทธาหรือความเชื่อของมนุษย์ในเรื่องของ ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ, ดวงอาทิตย์,ดวงจันทร์,ดวงดาวต่างๆ,ภูตผี ,เทพเจ้า, ความเหลื่อมล้ำ หรือ ความไม่เท่าเทียมกัน ของสังคมมนุษย์ ก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ทุเลาเบาบางลงไปบ้าง เนื่องจากศาสนา ได้สอนให้รู้จักเห็นใจผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น สอนให้รู้จักแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น และเมื่อ พุทธศาสนา บังเกิดขึ้น (ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ศาสนาพุทธเท่านั้น) ประชาธิปไตยภายใต้กฎระเบียบก็เกิดมีขึ้น ซึ่งในทางที่เป็นจริง ประชาธิปไตยเกิดมีมานานแล้ว แต่เกิดขึ้นเพียงในกลุ่มบุคคลบ้าง เกิดขึ้นในชุมชนเล็กๆบ้าง ไม่ได้เกิดขึ้นในระดับมหภาค หรือระดับเมือง ระดับประเทศ และความไม่เหลื่อมล้ำ หรือความเท่าเทียมกัน ก็ถูกสร้างขึ้นในสังคมแห่ง พุทธศาสนา นั้นหมายความถึง หากผู้ใด กลุ่มชนใด ต้องการความเท่าเทียมกันในสังคม ก็ต้องละเพศ ฆราวาส เข้าสู่เพศ สมณะ เพราะ เพศสมณะในทางพุทธศาสนา เป็นความเท่าเทียมกัน ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ทางสังคมในทุกด้าน ส่วนบุคคลที่ไม่สามารถเข้าสู่เพศสมณะได้ ก็มีคำสอน มีหลักศีลหลักธรรม ที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำ หรือลดความไม่เท่าเทียมกัน ในด้านต่างๆ ลงได้บ้าง ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ ธรรมชาติของการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ย่อมเกิดความเหลื่อมล้ำ เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ในด้านต่างๆเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
    ในยุคต่อมา ในต่างประเทศ ก็เกิดมีกลุ่มคน หรือบุคคล ที่มีความคิดเพ้อฝัน กำหนดระบอบการปกครองแห่งความฝัน ไม่สามารถปฏิบัติได้ในโลกแห่งความเป็นจริง เป็นการหลอกลวงประชาชน เพื่อผลประโยชน์ เขาเหล่านั้น กำหนดระบอบการปกครองที่หวังจะไม่ให้มีความเหลื่อมล้ำ ให้มีความเท่าเทียมกันในสังคม แต่ในที่สุดก็ล้มเหลว ที่เป็นเช่นก็เพราะ ไม่สามารถกระทำได้ ไม่สร้างความเจริญ,ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจ,ไม่เกิดการพัฒนา ทั้งในด้าน เกษตรกรรม ,อุตสาหกรรม,พาณิชยกรรม หรือในทางเศรษฐกิจ,สังคม,และอื่นๆ เพราะไม่เป็นไปตามธรรมชาติแห่งการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ระบอบการปกครองที่มีอยู่บนโลกมนุษย์ อันเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นมานั้น ไม่ว่าจะเป็นระบอบการปกครองรูปแบบใดก็ตาม ย่อมต้องเกิดมีความเหลื่อมล้ำ หรือ ความไม่เท่าเทียมกัน ของบุคคลในด้านต่างๆ อย่างแน่นอน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้วข้างต้นว่า ความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันในด้านต่างๆของสังคมการเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้น เกิดจาก “ความมีพละกำลังที่แข็งแรง,มีความอดทน,มีความขยันหมั่นเพียร,มีความคิด มีความรู้ ความเข้าใจ รู้จักจดจำ อดีต ปัจจุบัน อนาคต อันหมายถึง รู้จักวิเคราะห์ คาดกาล ทำให้รู้จัก เก็บรักษา อดออม กักตุน แสวงหา และรู้จักปฏิบัติหรือประกอบกิจกรรมได้ดีกว่า,รวมไปถึงการมีหรือครอบครองทรัพยากรต่างๆมากกว่า ฯลฯ”
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (รป.บ.) ผู้เขียน
    ๒๖ – ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
     

แชร์หน้านี้

Loading...