การบำเพ็ญจิตภาวนาตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tins007, 23 มิถุนายน 2012.

  1. tins007

    tins007 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +38
    การบำเพ็ญจิตภาวนาตามแนวทาง<wbr> สติปัฏฐาน
    โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

    [​IMG]





    การบำเพ็ญจิตภาวนาตามแนวทาง<wbr>สติปัฏฐาน ๔
    ของพระพุทธเจ้าของเรานี้
    วิธีปฏิบัติเบื้องต้นต้องยึ<wbr>ดแนวหลักสติเป็นตัวสำคัญ
    สติปัฏฐาน ๔ มีอยู่ ๔ ข้อ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมใหม่
    จงท่องความหมายนี้ไว้ก่อน


    ข้อที่ ๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    แปลตามศัพท์ว่า พิจารณากายในกาย นี้สักแต่ว่ากาย
    ไม่มีตัวตนบุคคลเราเขา
    แต่โดยวิธีปฏิบัติแล้ว ให้เอาสติ เอาจิตเพ่งดูกาย
    ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา
    จะคู้แขนเหยียดขาต้องติดตาม<wbr>ดู
    คือ ใช้สตินี่เอง ดูร่างกายสังขารของเรา
    อันนี้เรารู้ไว้เป็นเบื้องต<wbr>้นก่อนสำหรับข้อหนึ่ง

    ข้อที่ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เวทนาเป็นสภาพที่ทนอยู่ไม่ไ<wbr>ด้ บัญชาการไม่ได้
    ต้องเป็นตามสภาพนี้ และเป็นไปตามธรรมชาติเหล่าน<wbr>ี้
    เวทนามีอยู่ ๓ ประการด้วยกัน
    ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา
    ทั้งสามประการนี้ จุดมุ่งหมายก็ต้องการจะให้ส<wbr>ติ
    ไปพิจารณาเวทนานั้นๆ เช่น
    ฝ่ายสุขก็มีทั้งสุขกาย สุขใจ อันนี้เรียกว่า สุขเวทนา
    แล้วก็ทุกข์กายทุกข์ใจ
    หรือจะว่าทุกข์ทางด้านกายแล<wbr>ะใจก็ได้ เรียกว่า ทุกขเวทนา
    อุเบกขาเวทนา ก็คือไม่สุขไม่ทุกข์
    จิตใจมักจะเลื่อนลอยหาที่เก<wbr>าะไม่ได้ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา

    วิธีปฏิบัติต้องใช้สติกำหนด
    คือ ตั้งสติระลึกไว้ ดีใจก็ให้กำหนด
    กำหนดอย่างไรหรือ กำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ
    จากจมูกถึงสะดือให้ได้ หายใจขึ้นลงยาวๆ
    กำหนดว่า ดีใจหนอ ดีใจหนอ
    ทำไมต้องปฏิบัติ เช่นนี้เล่า
    เพราะความดีใจและสุขกายสุขใ<wbr>จนั้น
    เดี๋ยวก็ทุกข์อีก สุขเจือปนด้วยความทุกข์อย่า<wbr>งนี้
    เพื่อความไม่ประมาทในชีวิตข<wbr>องเรา
    จะต้องรู้ล่วงหน้า รู้ปัจจุบันด้วยการกำหนด
    จึงต้องกำหนดที่ลิ้นปี่
    บางคนบอก กำหนดที่หัวใจ ถูกที่ไหน
    หัวใจอยู่ที่ไหนประการใด
    อันนี้ผู้ปฏิบัติยังไม่ต้อง<wbr>รับรู้วิชาการ ทิ้งให้หมด
    ปฏิบัติตรงนี้ให้ได้ ลิ้นปี่เป็นขั้วแบตเตอรี่ชา<wbr>ร์ทไฟฟ้า
    เข้าหม้อ ทุกคนไปแปรธาตุการปฏิบัตินี<wbr>้
    ไม่ใช่การวิจัย ไม่ใช่ประเมินผล
    แต่เป็นการให้ผุดขึ้นมาเองโ<wbr>ดยปกติธรรมดานี่แหละ
    ให้มันใสสะอาด รู้จริงรู้จัง
    รู้ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิ ให้รู้ขึ้นมาเอง

    คำว่ารู้เองนี้ทำยาก รู้วิชาการทำง่าย
    อ่านหนังสือท่องได้ก็ได้
    แต่รู้เองให้ใสสะอาดขึ้นมาร<wbr>ู้ยาก
    ทำไมจะรู้ได้ง่ายต้องปฏิบัต<wbr>ิขึ้นมา
    ดีใจ เสียใจ มีความสุขกายสุขใจ
    อย่าประมาทเลินเล่อนัก เราต้องตั้งสติทุกอิริยาบถต<wbr>ามกำหนด
    การกำหนดจิตนี้หมายความว่า ให้ตั้งสติ เป็นวิธีปฏิบัติ
    สัมปชัญญะมีความรู้ตัวอยู่ต<wbr>ลอดปัจจุบัน อย่างนี้เป็นต้น
    อดีตไม่เอา อนาคตไม่เอา ให้เอาปัจจุบันที่มันเกิดขึ<wbr>้น
    ให้ปฏิบัติอย่างนี้ โดยข้อปฏิบัติง่ายๆ
    ถ้าเสียใจ มีความทุกข์ใจ มันอยู่ในข้อนี้
    จึงต้องกำหนดที่ลิ้นปี่ เสียใจหนอๆ
    หายใจลึกๆ ยาวๆ
    เสียใจเรื่องอะไร เป็นการป้อนข้อมูลไว้ให้ถูก<wbr>ต้อง
    สตินี่ระลึกได้ หมายถึงตัวแจงงาน
    หาเหตุที่มาของทุกข์ ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวบอกให้ร<wbr>ู้
    ให้มีความเข้าใจเรียกว่า ปัญญา
    รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เกิด<wbr>ขึ้นปัจจุบันนั่นเอง
    คนเรานี่จึงต้องกำหนดที่เวท<wbr>นานี้

    ปวดเมื่อยเป็นเวทนาทางกาย
    แต่จิตไปเกาะ อุปาทานยึดมั่น ก็ปวดใจไปด้วย
    เช่น เราเสียใจ ร่างกายไม่ดี สุขภาพไม่ดี
    เป็นโรคภัยไข้เจ็บ จิตมันก็เกาะที่เจ็บนั้น
    จึงต้องให้กำหนดด้วยความไม่<wbr>ประมาท
    เป็นวิธีฝึกปฏิบัติก็กำหนดเ<wbr>วทนานั้น
    ปวดหัวเข่าที่ไหนก็ตามต้องต<wbr>ามกำหนด
    กำหนดเป็นตัวปฏิบัติเป็นตัว<wbr>ระลึก
    เอาจิตไปสู่จุดนั้น เป็นอุปาทานยึดมั่นก่อน
    เพราะเราจะก้าวขึ้นบันไดก็ต<wbr>้องเกาะยึด
    เราจะก้าวต่อไปก็ต้องปล่อย นี่อุปาทาน
    ถ้าใหม่ๆ นี้เรียกว่า สมถะ
    สมถะยึดก่อนแล้วปล่อยไปก็เป<wbr>็นวิปัสสนา เป็นต้น
    เราจะทราบความจริงถึงจะเป็น<wbr>วิปัสสนาขึ้นมาต่อภายหลัง

    เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจอย่างน<wbr>ี้ ต้องกำหนด
    ส่วนใหญ่ไม่กำหนดกัน จึงไม่รู้เรื่องรู้ราวอย่าง<wbr>นี้เป็นต้น
    มีความสุขทางไหนก็ตาม เดี๋ยวจะทุกข์อีก
    นี่มันแก้ไม่ได้ เพราะอย่างนี้เกิดที่ไหนต้อ<wbr>งแก้ที่นั่น
    ไม่ใช่ไปแก้กันที่อื่น หาเหตุที่มาของมัน
    คือ สติ สติเป็นตัวกำหนด เป็นตัวหาเหตุ
    เป็นตัวแจงเบี้ย บอกให้รู้ถึงเหตุผล
    ตัวสัมปชัญญะรู้ทั่วรู้นอก รู้ใน
    นั่นแหละ คือ ตัวปัญญา ความรู้มันเกิดขึ้น
    ตัวสมาธิ หมายความว่า จับจุดนั้นให้ได้
    เช่น เวทนา ปวดเมื่อย เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติมา<wbr>ก
    จึงต้องให้กำหนด ไม่ใช่ว่ากำหนดแล้วมันจะหาย<wbr>ปวดก็หามิได้
    ต้องการจะใช้สติไปควบคุมดูจ<wbr>ิตที่มันปวด
    เพราะปวดนี่เราคอยยึดมัน จิตก็ไปปวดด้วย
    เลยก็กลับกลายให้เกิดทุกข์ใ<wbr>จขึ้นมา
    เพราะอุปาทานไปยึดขึ้นมาอย่<wbr>างนี้เป็นต้น
    จุดมุ่งหมายก็ต้องการให้เอา<wbr>สติไปดู
    ไปควบคุมจิตว่ามันปวดมากแค่<wbr>ไหนประการใด

    โอกาสบัดนี้ อาตมาภาพจะแสดงพระธรรมเทศนา
    ในการบำเพ็ญกุศลทักษิณาทาน
    อุทิศถวายแด่พระเดชพระคุณ
    ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระธรรมธ<wbr>ีรราชมหามุนี
    (โชดก ญาณสิทฺธิ)
    ท่านได้มรณภาพไปสู่สัมปรายภ<wbr>พ ปรารภ ๖ ปีในปีนี้แล้ว
    คณะญาติ ศิษยานุศิษย์มี ท่านอาจารย์มหาสุภาพ เขมรํสี
    พระมหาบุญชิต ญาณวีโร พร้อมทั้งคณะ อุบาสก อุบาสิกา
    ถือว่างานนี้เป็นงานอุทิศถว<wbr>ายแด่พระเดชพระคุณ
    ครูบาอาจารย์ที่เคารพสักการ<wbr>ะอย่างสูง ในวันนี้
    ท่านสาธุชนศิษยานุศิษย์ทั้ง<wbr>หลาย
    โปรดสำนึกสมัญญาในการบูชาคุ<wbr>ณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ว่า
    อุเบกขาเวทนา ไม่สุขไม่ทุกข์ ใจก็ลอยหาที่เกาะไม่ได้
    ใจลอยเหม่อมองไปแล้ว เห็นคนเป็นสองคนไป
    จึงต้องกำหนดเวทนา กำหนดที่ไหน กำหนดที่ลิ้นปี่
    หายใจยาวๆ ลึกๆ สบายๆ
    แล้วก็ตั้งสติระลึกก่อน กำหนดรู้หนอๆๆๆ
    ถ้าเราสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้น<wbr>มาได้ครบ
    ป้อนข้อมูลเข้าไป รู้หนอๆ เดี๋ยวสติรวมยึดมั่นในจิต
    จิตก็แจ่มใส ความทุกข์นั้นก็จะหายไป
    อุเบกขาเวทนา ไม่สุขไม่ทุกข์
    ส่วนใหญ่จะประมาทพลาดพลั้ง
    จึงต้องกำหนดทุกอิริยาบถดัง<wbr>ที่กล่าวนี้

    ข้อที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ต้องท่องให้ได้ ทำไมเรียก จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ฐานของจิตต้องยึดในฐานทัพนี<wbr>้
    จิตเป็นธรรมชาติที่คิดอ่านอ<wbr>ารมณ์
    รับรู้อารมณ์ไว้ได้เหมือนเท<wbr>ปบันทึกเสียง
    จิตเกิดที่ไหน ผู้พัฒนาจิตต้องรู้ที่เกิดข<wbr>องจิตอีกด้วย
    จิตเกิดทางอายตนะ ธาตุอินทรีย์นี่เอง
    จะพูดเป็นภาษาไทยให้ชัด ตาเห็นรูปเกิดจิตที่ตา
    หูได้ยินเสียงเกิดจิตที่หู จมูกได้กลิ่นเกิดจิตที่จมูก
    ลิ้นรับรสเกิดจิตที่ลิ้น กายสัมผัสร้อนหรือหนาว
    อ่อนหรือแข็งที่นั่งลงไป เกิดจิตทางกาย
    เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    วิธีปฏิบัติทำอย่างไร ให้ทำอย่างนี้
    ที่มาของจิตรู้แล้วเกิดทางต<wbr>า ตาเห็น เห็นอะไรก็ตั้งสติไว้
    จับจุดไว้ที่หน้าผาก อุณาโลมา....กดปุ่มให้ถูก
    เหมือนเรากดเครื่องคิดเลข บวกลบคูณหารมีครบ
    กดปุ่มให้ถูกแล้วผลลัพธ์จะต<wbr>ีออกมาอย่างนี้
    เห็นหนอๆ เห็นอะไร เห็นรูป รูปอยู่ที่ไหน
    สภาวะรูปนั้นเป็นอย่างไร
    สภาพผันแปรกลับกลอกหลอกลวงไ<wbr>ด้
    เยื้องย้ายได้ทุกประการ เรียกว่า รูป เป็นเรื่องสมมติ
    และเป็นเรื่องทำลายได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวนดับไป
    คือ รูป ต้องกำหนด
    นักปฏิบัติอย่าทิ้งข้อนี้ไม<wbr>่ได้ ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เป็นธรรมชาติของจิตเกิดที่ต<wbr>า
    เกิดแล้วกำหนด ไม่ใช่ว่าเราแส่ไปหากำหนดข้<wbr>างนอก
    ตาเห็นอะไรก็กำหนดว่า เห็นหนอ
    ทำไมต้องกำหนดด้วย เพราะจิตมันเกิด
    ตาสัมผัสกับรูปเกิดจิต ในเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
    เห็นของเหล่านั้น เรายังไม่มีปัญญา
    เราชอบไหม ชอบเป็นโลภะ
    ไม่ชอบเป็นโทสะ
    เราไม่ใช้สติเลยกลายเป็นคนโ<wbr>มหะ
    รู้ไม่จริงรู้แค่ตาเนื้อ ไม่รู้ตาใน ดูด้วยปัญญาไม่ได้
    เลยดูด้วยโมหะ คนเราจึงได้เลอะเทอะเปรอะเป<wbr>ื้อนไปดังที่กล่าวแล้ว
    ต้องใช้สติ นี่ข้อจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐ<wbr>าน
    เป็นธรรมชาติของจิตต้องพัฒน<wbr>าตรงนี้
    ต้องกำหนดทุกอาการ ทุกอิริยาบถ
    หูได้ยินเสียง หูกับเสียงอย่างไร ไกลแค่ไหนอย่างไร
    ไม่ต้องไปประเมินผล ไม่ต้องวิจัย
    ห้าม ! ห้ามเพราะเหตุใด เพราะมันเป็นวิปัสสนึกไป
    นึกขึ้นมาก็วิจัยตามวิชาการ<wbr> มันจะไม่ได้ผล
    เราก็ตั้งสติไว้ที่หู ฟังเสียงหนอ
    เราฟังเฉยๆ ไม่ได้หรือ ทำไมต้องกำหนดด้วย
    ถ้าเราไม่กำหนด เราจะขาดสติ
    ถ้ากำหนดก็เป็นตัวฝึกสติ ให้มีสติอยู่ที่หู
    จะได้รู้ว่าเสียงอะไร เสียงหนอๆ
    กำหนดเสียงเฉยๆ ได้ไหม ได้ ! แต่ไม่ดี
    เพราะเหตุใด หนอ ตัวนี้เป็นการรั้งจิตให้มีส<wbr>ติดี
    มีความหมายอย่างนั้น คำว่าหนอนี้ เป็นภาษาไทย
    หนอดีมาก เราจะบอกว่าเสียงหนอ มันรั้งจิตได้ดี

    มีสติดีในการฟัง ระลึกหนอว่าเสียงเขาด่า
    เสียงเขาว่า หรือเสียงเขาสรรเสริญเยินยอ<wbr> ประการใด
    สัมปชัญญะ ตัวรู้ว่าเสียงนี้ของนาย ก.
    เสียงนี้ของ นาง ข. มาพูดเรื่องอะไร
    ตัวสติจะแจงเบี้ยหาเหตุที่พ<wbr>ูด
    ทำไมเขาจึงพูดเช่นนั้น
    ตัวสัมปชัญญะก็บอกกับเราว่า<wbr> อ๋อ เขาพูดนี่ เพราะอิจฉาเรา
    เขาด่าเรา มาว่าเรา สติบอก
    สัมปชัญญะเป็นตัวคิด ปัญญาก็แสดงออก
    คอมพิวเตอร์ตีออกมาว่า เสียงนี้ไร้ประโยชน์
    เกิดขึ้นตั้งอยู่ก็วูบดับไป<wbr>ทันทีที่หู
    เลยก็ไม่ต่อเนื่องเข้ามาภาย<wbr>ในจิต
    เราก็ไม่มีการเศร้าหมองใจ เพราะข้อคิดนี้
    เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติ ต้องกำหนดตรงนี้
    ไม่ใช่เดินจงกรมนั่งปฏิบัติ<wbr> พองหนอยุบหนอให้ได้
    ไม่ใช่ตรงนั้น ตรงนั้นเป็นตัวสร้างเครื่อง<wbr>คอมพิวเตอร์
    ให้มีพลังจิต
    ในข้อคิดของวิปัสสนาญาณอีกป<wbr>ระการหนึ่งต่างหาก

    ผู้ปฏิบัติต้องเริ่มต้นด้วย<wbr>การพิจารณาดูจิต
    จิตเกิดทางหู ถ้าเราสร้างเครื่องได้ดีแล้<wbr>ว
    ป้อนข้อมูลถูก สร้างระบบถูก
    ข้อมูลในจิต คือ อารมณ์ที่เราเก็บเอาไว้นานน<wbr>ักหนาแล้ว
    คลี่คลายไม่ออกแฝงไว้ในอารม<wbr>ณ์
    คือ โลภะ โทสะ โมหะ ทำให้จิตเศร้าหมองมาช้านาน
    ไม่ผ่องใสจึงต้องกำหนดอย่าง<wbr>นี้
    เสียงหนอๆ ไม่ใช่เท่านี้เลยนะ เสียงเขาด่า
    ใช่แล้วถ้าเรามีสมาธิดี สะสมหน่วยกิตสติปัฏฐานสูตรไ<wbr>ว้ชัดเจน
    เสียงหนอ ก็รู้แล้ว อ๋อเขาด่าเรา ด่าเราตรงไหน
    มีตัวตนตรงไหนบ้าง ที่เราจะถูกด่า แล้วเจ็บช้ำน้ำใจเช่นนี้
    เราก็ใช้ปัญญานี้เอง ฟัง อ๋อเขาด่า
    ด่ามาโดยสมมติว่าด่าเรา คิดว่าอย่างนั้น
    แต่เราอยู่ตรงไหน ก็หาตัวเราไม่ได้
    ตัวเราไม่มี อย่างนี้คือ ปัญญา ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคล
    แต่เป็นโดยสมมติขึ้นมาที่เข<wbr>าด่าเท่านั้น
    แล้วก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงสภ<wbr>าพของมันแล้วก็หลุดไป
    ดับวูบไปที่หู อันนั้นก็หมดสิ้นไป นี้เรียกว่า ตัวปัญญา

    นักปฏิบัติต้องกำหนดทุกอิริ<wbr>ยาบถในการฝึก
    เป็นการดัดนิสัยให้เข้าสู่จ<wbr>ุดมุ่งหมายของผู้มีปัญญา
    เป็นความเคยชินจากการปฏิบัต<wbr>ิธรรม
    ส่วนใหญ่พูดอย่างนี้ใครก็ทำ<wbr>ได้
    ใครก็รู้แต่ปฏิบัติจริงๆ ไม่ได้
    เพราะไม่เคยกำหนดเลย ปล่อยเลยไปหมด
    เข้ามาถึงจิตใจภายใจจิต คือ ประตูทั้ง ๖ ช่อง
    เข้ามาถึงห้องใน ที่นอนของเรา
    จนแต้มจนด้วยเกล้า จนด้วยปัญญา
    แก้ไขปัญญาไม่ได้เลย เพราะมันอยู่ในจุดนี้เป็นจุ<wbr>ดสำคัญ
    แต่ผู้ปฏิบัติธรรมเอาไปทิ้ง<wbr>หมด ไม่เคยปฏิบัติจุดนี้เลย
    มีแต่ จะจ้องเดินจงกรม
    จ้องท้องพองหนอยุบหนออย่างเ<wbr>ดียว เป็นไปไม่ได้
    ไม่ครบสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติในข้อจิตตานุปัสสนาส<wbr>ติปัฏฐานสูตร
    ข้อนี้เป็นข้ออินทรีย์หน้าท<wbr>ี่การงานที่จะต้องรับผิดชอบ<wbr>ตัวเอง
    ต้องกำหนดเสียงหนอๆ ถ้ากำหนดไม่ทัน มันเลยเป็นอดีตไปแล้ว
    เกิดเข้ามาในจิตใจเกิดโทสะ
    เกิดโกรธขึ้นมาทันทีทำอย่าง<wbr>ไร ไปเสียงหนออีกไม่ได้
    ต้องกำหนดตัวสัมปชัญญะ กำหนดที่ไหน กำหนดที่ลิ้นปี่
    บางทีไปสอนไม่เหมือนกันเสีย<wbr>แล้ว
    หลับหูหลับตาว่าส่งเดชไป จะถูกจุดได้อย่างไร
    กดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ถูก<wbr> กดไม่ถูกจุด
    แล้วมันจะออกมาอย่างที่เราต<wbr>้องการไม่ได้ นี้สำคัญ
    ผู้ปฏิบัติเน้นในข้อนี้ให้ม<wbr>ากต้องกดที่ลิ้นปี่
    แต่อรรถาธิบายอย่างไรนั้น จะไม่อธิบายในที่นี้
    ขอให้ท่านโง่ไว้ก่อน อย่าไปฉลาดตอนปฏิบัติเดี๋ยว<wbr>จะคิดเอาเอง
    เกิดขึ้นมาเดี๋ยวท่านจะได้ข<wbr>องปลอมไปนะ
    จะได้ของไม่จริงไปอย่างนี้
    กำหนดที่เลยเป็นอดีตแล้ว ต้องกำหนดอยู่อย่างเดียว
    คือ รู้หนอ ไว้ก่อน
    รู้ว่าเรื่องอะไรก็ยังบอกไม<wbr>่ได้ ทำไมจะรู้จริง
    ทุกสิ่งต้องกำหนดทั้งนั้น ที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ
    หายใจอย่างไร ต้องตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่
    สูดลมหายใจจากจมูกถึงสะดือ
    แล้วก็ตั้งสติที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ รู้หนอๆ
    เพราะมันเลยไปแล้วเป็นอดีต กำหนดปัจจุบันไม่ได้
    ต้องกำหนดตัวรู้ อย่างนี้เป็นต้น รับรองได้ผลแน่

    ข้อที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ธรรมในธรรม หมายความว่า เรามีสติปัญญาจะรู้แยกจิตขอ<wbr>งเราว่า
    คิดเป็นกุศลหรืออกุศล ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
    จะตัดสินอยู่ที่ธรรมานุปัสส<wbr>นาสติปัฏฐาน ในข้อที่ ๔ นี้
    ข้าพเจ้าทำงานนี้ไปเป็นกุศล<wbr>หรืออกุศล
    เดี๋ยวจะรู้ตัวตนขึ้นมาทันท<wbr>ีที่มีปัญญา
    เรียกว่า ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    อาตมาหมายความถึงปฏิบัติการ<wbr> ไม่ใช่วิชาการ
    วิชาการจะไม่อธิบายอย่างนี้
    เป็นการปฏิบัติการในธรรมานุ<wbr>ปัสสนาสติปัฏฐาน
    ธรรมในธรรม ทำนอกทำใน ธรรมกับทำมันต่างกัน
    ทำไปแล้วเป็นกุศลหรืออกุศล
    ทั้งทางโลกทางธรรม มันอยู่ร่วมกันนี่
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เรียกว่าทำนอก ทำใน ทำจิต ทำใจ
    ทำอารมณ์ แสดงออกเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
    ส่วนใหญ่เราจะเข้าข้างตัวเอ<wbr>ง
    เลยคิดว่าตัวเองน่ะคิดถูก ทำถูกแล้ว

    ถ้าเรามานั่งเจริญกรรมฐานแก<wbr>้ไขปัญหา
    กำหนดรู้หนอ ๆ คือ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เพราะเรายังไม่รู้จริง รู้หนอ หายใจยาว ๆ รู้หนอ ๆๆ เดี๋ยวรู้เลย
    ว่าที่เราทำพลาดผิดเป็นอกุศ<wbr>ล
    ไม่ใช่กุศลมวลเป็นอกุศลกรรม
    จากการกระทำทางกาย วาจา ใจ
    ก็ถ้าแสดงออกเป็นอกุศล นี่ธรรมานุปัสสนาเชิงปฏิบัต<wbr>ิการ
    ไม่ใช่วิชาการนะ บางคนบอกหลวงพ่อวัดอัมพวันอ<wbr>ธิบายผิดแล้ว
    ใช่ มันผิดหลักวิชาการ แต่มันถูกปฏิบัติการ
    มันจะรู้ตัวเลยว่า เราทำไปนั่นเป็นกุศล
    ผลงานส่งผล คือ เป็นบุญ เป็นความสุข
    สิ่งนี้ที่ข้าพเจ้าทำเป็นอก<wbr>ุศลกรรม ทำแล้วเกิดความทุกข์
    นี่ง่าย ๆ ทางเชิงปฏิบัติการ วิชาการ เขาอธิบายละเอียดกว่านี้
    ถ้ามีกิจกรรมทำได้ไม่ยากเลย<wbr> อยู่ตรงนี้เอง
    รู้หนอ! อ๋อ รู้แล้วไปโกรธมันทำไม
    ไปโกรธรูปนาม หรือไปโกรธใคร
    ตัวโกรธอยู่ที่คนโน้นทำให้เ<wbr>ราโกรธหรือ
    ตัวโกรธไม่ใช่อยู่ที่คนโน้น<wbr> อยู่ที่เรา
    อยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจ อยู่ที่จิตเก็บความโกรธเข้า<wbr>ไว้

    ท่านจะมีแต่ความเป็นโทษ มีแต่ความเศร้าหมองใจตลอดเว<wbr>ลา
    ท่านจะไม่เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้แก้ปัญหาไม่ได้เลย
    ก็สร้างปัญหาด้วยโทสะ สร้างปัญหาด้วยผูกเวร
    สร้างปัญหาด้วยผูกพยาบาท
    น้อยไป! ดูถูกเรา นี่ท่านจะต้องสร้างปัญหาแน่<wbr>อย่างนี้เป็นต้น

    การปฏิบัติเป็นการแก้ปัญหา
    ไม่ใช่สร้างปัญหาเหมือนอย่า<wbr>งที่ท่านเข้าใจ
    และมีปัญญาเห็นอารมณ์เรา ดูอารมณ์จิตของเรา
    ดูจิตใจของเราต่างหาก อย่างนี้เป็นต้นสำคัญมาก
    บางคนไปสอนกันไม่ถูก
    โกรธหนอ ๆๆ เอาจิตตั้งตรงไหน
    เอาสติไว้ตรงไหน ไปกดไม่ถูก
    กดเครื่องคอมพิวเตอร์ผิด มันก็เลยออกมาแบบอย่างนั้นเ<wbr>อง
    จะวางจิตไว้ตรงไหน ก็ไม่รู้นี่สำคัญนะ

    เห็นหนอ อย่าลืมนะ ส่งกระแสจิตไว้ที่หน้าผาก
    ไม่ใช่หลับตาว่ากันส่ง
    ถ้าท่านทำดังที่อาตมาแนะแนว<wbr> รับรองได้ผลทุกคน
    เห็นหนอ ก็ต้องส่งกระแสจิตจากหน้าผา<wbr>กออกไป
    เพราะว่าเราจะสังเกตตัวเองไ<wbr>ด้ทุกคน
    ความรู้สึกจะมารวมที่หน้าผา<wbr>กหมด
    ภาษาจีนเรียกว่า โหงวเฮ้ง
    มันจะมีแสงที่หน้าผากนะ ตอนนี้ไม่อรรถาธิบาย
    จิตท่านสูงท่านจะเห็นเองว่า<wbr>ดูหน้าคนดูตรงไหน
    อย่าลืม ที่อาตมาพูดหลายครั้ง
    ยังไม่มีใครตีปัญหาได้เลย
    อุณาโลมา....มันเป็นการส่งก<wbr>ระแสจิตได้ดีมากในจุดศูนย์ส<wbr>มาธิ
    นี่หละจะเกิดปัญญาได้ สำหรับตัวตนบุคคลปฏิบัติ
    ไม่ใช่มานั่งเห็นนิมิต ถามกันไม่พักเลย
    หลวงพ่อคะ ฉันมีนิมิตอย่างนี้ ฝันว่าอย่างนี้จะได้แก่อะไร
    ไม่ต้องมาถามแล้ว ฝันปลอมก็มีจิตอุปาทานยึดมั<wbr>่นก็ฝันได้
    ถ้าจิตท่านโกรธ ผูกพยาบาทเก่ง
    จะฝันร้าย จะฝันหนีโจร เป็นนิมิตที่เลวร้าย เพราะจิตมันไม่ดี
    ถ้าสติดี มีปัญญาดี จะฝันเรื่องจริงได้
    ฝันแล้วเป็นเรื่องจริง ถ้าจิตเก๊ ก็ฝันเก๊ ๆ
    จิตปลอมก็ฝันปลอมออกมา
    อาจารย์สอบอารมณ์บางคนชอบถา<wbr>มว่า
    "เห็นอะไรหรือยัง เห็นโน่นเห็นนี่ไหม"
    ไม่ต้องไปถามเขาอย่างนั้นนะ
    ถามว่า กำหนดหรือเปล่า เวทนาเกิดขึ้นกำหนดอย่างไร
    ต้องถามอย่างนี้จะถูกต้องมา<wbr>กกว่า
    ไม่ต้องถามเห็นอะไรไปแนะแนว<wbr>เขาทำไมอย่างนั้น
    มีความหมายในการปฏิบัติมาก

    ผมอ่านเจอมาครับ เลยเอามาแบ่งปันครับผม

    คัดลอกมาจาก
    พุทธธรรมนำใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...