การก่อสร้างวัดไทยในต่างประเทศ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 11 มีนาคม 2007.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=451 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    สถาปัตยกรรม : วัดไทยในต่างแดน
    โดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
    ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์

    (เนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2546)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE height="90%" width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=2494> สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่าง ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาวัฒนธรรม รวมถึงสถาปัตย-
    กรรมด้วย ซึ่งสถาปัตยกรรมไทยนั้นเป็นศิลปะที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่มีชาติใดเหมือนไม่ว่าจะไปปรากฏหรือ

    <TABLE width="63%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=335>
    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=430 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=59>
    วัดพุทธานุสรณ์ เมืองฟรีมอนท์
    ซาน ฟรานซิสโก เบย์ แอเรีย มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
    ภาพจาก Web Site

    http://www.watbuddhanusorn.org/wtfm/Homepage_thai/temple_tour.html
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปลูกสร้างอยู่ ณ ที่แห่งใดในโลกจะเป็นเสมือนตัวแทนของชาวไทยที่เผยแพร่ให้สากลได้รู้จักและสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก
    ของชาวต่างชาติส่วนใหญ่ก็คือวัดไทย

    <TABLE height=49 width="64%" bgColor=#ccccff border=0><TBODY><TR><TD> ความเป็นมาของการก่อสร้างวัดไทยในต่างประเทศ </TD></TR></TBODY></TABLE> วัดไทยในต่างประเทศที่สร้างทำไปแล้วมีที่ประเทศอินเดีย ที่ซึ่งเป็นสถานที่เสด็จปรินิพพานของพระพระพุทธองค์ อยู่ใน
    กุสินารา เมืองกุสินารา รัฐบาลอินเดียให้ชาวพุทธทั้งหลายซื้อที่ดินได้โดยรอบและให้สร้างวัด นโยบายต้องการดึงเรื่องของการท่อง-
    เที่ยวให้ชาวพุทธทั่วโลกไปสร้างวัดเช่นเดียวกับประเทศเนปาลซึ่งเป็นที่ประสูตรของพระพุทธองค์ก็ทำเช่นเดียวกัน แต่สำหรับ
    ประเทศเนปาลไม่ให้ซื้อแต่ให้เช่า 99 ปี เมื่อครบ 99 ปี ต้องไปต่อสัญญากันใหม่ เมื่อเป็นอย่างนั้นประเทศที่เป็นชาวพุทธก็ไปสร้าง
    วัดโดยรอบที่ที่เสด็จปรินิพพาน ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้ศิลปะของประเทศนั้น ๆ และที่ได้รับเชิญให้ไปออกแบบซึ่งสร้างเสร็จเรียบร้อย
    แล้วที่เมืองกุสินารา ส่วนที่ประเทศเนปาลนั้นกำลังสร้างพระอุโบสถซึ่งใช้งบประมาณ 70 ล้าน งดงามมาก

    <TABLE height=49 width="64%" bgColor=#ccccff border=0><TBODY><TR><TD> ผลงานการก่อสร้างวัดไทยในต่างประเทศ </TD></TR></TBODY></TABLE> วัดที่ออกแบบทำเสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ที่ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่เสด็จปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรง
    นั้นห่างจากที่ถวายพระเพลิงพระพุทธองค์ประมาณ 300 เมตร เพราะประเทศอินเดียจะให้ชาวพุทธไปสร้างวัดรอบ ๆ ที่เสด็จ
    ปรินิพพานและให้ประเทศชาวพุทธไปซื้อที่ดินได้ โดยแบ่งเป็นแปลง ๆ สำหรับวัดที่สร้างนั้นประมาณ 4 ไร่ สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    ที่ลุมพินีวันในประเทศเนปาลเป็นที่ประสูตรของพระพุทธองค์ เป็นนโยบายเดียวกันคือพยายามดึงให้ชาวพุทธทั่วโลกไปสร้างวัดและ
    จะได้ทำศรัทธาทัวร์ศาสนาไปสักการะ เพราะที่นั่นทั้งสองแห่งเป็นสังเวชนียสถาน เป็นสถานที่ประสูตกับปรินิพพานถ้าได้มีโอกาสทำ
    ถือว่าเป็นศิริมงคลเป็นอย่างมาก เพราะว่าเวชนีย-สถานทั้ง 4 แห่งนี้มีที่สำหรับปฐมเทศนาอยู่ที่เมืองสาระนาถ กับสถานที่ทรงตรัส
    รู้อยู่ที่พุทธคยา
    จึงมีโอกาสได้สร้างทั้งสองแห่ง ทั้งที่ที่ประสูติและที่เสด็จปรินิพพาน ในประเทศยุโรป ที่ประเทศอังกฤษขณะนี้กำลัง
    ทำหอระฆังเป็นแบบไทยอยู่ที่วัดพุทธประทีปในลอนดอน รวมทั้งกำแพงวัด เพราะแต่เดิมที่วัดสร้างไว้มีแต่พระอุโบสถที่เป็นแบบไทย
    มีเสนาสนะมีกุฏิสงฆ์ซึ่งไม่ได้เป็นไทย เป็นเพียงลักษณะธรรมดาเท่านั้น หลวงพ่อภาวนา กิจโกศล ท่านเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสาย
    ยุโรป อายุ 72 พรรษา ท่านมาขอร้องให้ช่วยทำกำแพงวัดให้เป็นถาวร รวมทั้งทำหอระฆังด้วย เรื่องนี้เป็นโครงการที่กำลังดำเนินการ
    อยู่ ส่วนโครงการที่จะเริ่มสร้างในประเทศฝรั่งเศสที่เรียกว่าวัดธรรมประทีป ท่านมหาเกรียงไกรทิพย์ ท่านเป็นเจ้าอาวาสที่รักษาการ
    อยู่ ท่านได้ซื้อที่ดินไว้เป็นสมาคมชาวพุทธในฝรั่งเศส สมาคมชาวพุทธที่ได้ซื้อที่ดินได้แก่ ไทย ญวน ลาว เขมรและอื่น ๆ ส่วนศรีลังกา
    จะสร้างวัดไทยที่เป็นแต่ของสยามนิกาย ซึ่งที่อยู่ในโครงการนี้ก็มีหลายวัด

    <TABLE height=49 width="64%" bgColor=#ccccff border=0><TBODY><TR><TD> การออกแบบและเทคนิคการก่อสร้าง </TD></TR></TBODY></TABLE> ข้อแรกจะต้องเตรียมรูปแบบ เรื่องรูปแบบเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะงานเหล่านี้เป็นงานที่ประชาชนชาวพุทธมีความ
    ศรัทธาร่วมกันบริจาคสร้าง ไม่ได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ก่อนอื่นต้องทำเป็นทัศนียภาพเขียนขึ้นมาให้เห็นรูปร่างหน้าตาว่า
    เป็นอย่างไร ความงดงามต่าง ๆ เป็นอย่างไร บางแห่งอาจทำเป็นหุ่นจำลอง แต่หุ่นจำลองค่อนข้างลำบากในการจัดส่ง ถ้าเป็นภาพ
    หรือทัศนียภาพที่ให้สีงดงามจะส่งไปสะดวกกว่า การทำโบว์ชัวร์แผ่นพับก็จะได้จากศรัทธาในเรื่องการบริจาคปัจจัยการก่อสร้าง
    รวมทั้งชาวพุทธที่ไม่ใช่เพียงคนไทยเท่านั้นที่เข้าวัด วันเสาร์-อาทิตย์จะมีเขมร ญวน ลาว พม่า ศรีลังกาหรือผู้ที่เป็นชาวพุทธจะไป
    วัดกัน พาลูกหลานเด็กเล็ก ๆ ไปศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นภาพที่น่าปลื้มใจ
    ในประเทศอินเดียเขากำหนดให้เป็นศิลปะของชาตินั้น ๆ แต่สำหรับในสหรัฐอเมริกาต้องคำนึงถึงสถานภาพของสังคม
    โดยรอบด้วย บางทีถ้าหากสถาปัตยกรรมไทยไปวางไว้แล้วมีการปิดทองคำเปลวหรือปิดกระจกสีต่าง ๆ บางทีก็อันตรายเหมือนกัน
    เพราะอาจถูกกต่อต้านจากศาสนาอื่นซึ่งเขามีของเขาเป็นของเดิมอยู่ก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องของการออกแบบอาจพิจารณา
    ได้อีกรูปแบบหนึ่งคือทำให้เรียบง่ายขึ้น ตัวสถาปนิกเองจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าระดับของสถาปัตยกรรมไทยนั้นมีอยู่หลายระดับ
    ตั้งแต่ธรรมดาจนกระทั่งถึงที่เรียกว่าฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรม ทั้งนี้จะสังเกตุเห็นได้จากการที่ออกแบบไปนั้นไม่ได้ออกแบบ
    แบบมีช่อฟ้าใบระกาหรือมีลวดลายหน้าบันอย่างเดียว แต่มองดูดลดหลั่นลงมาทำให้ดูเรียบง่ายและยังคมความเป็นไทยอยู่
    ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต หอพระมีความงดงามตรงที่มีความต่างระดับกัน


    <TABLE width="63%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=304>
    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=429 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=2>
    วัดพุทธนานาชาติ ออสติน
    ภาพจาก Web Site

    http://www.wataustin.iirt.net/history.htm
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธรรมสถานที่รังสิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์แบบนั้นถ้าหากนำไปสร้างในต่างประเทศจะดูไม่ขัดตา และในขณะเดียว
    กันก็เป็นรูปแบบที่เป็นถาปัตย-กรรมที่งดงามในประเภทเครื่องก่อ คำว่า "เครื่องก่อ" หมายความว่าเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
    อาจก่ออิฐถือปูน โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกาจะฉาบด้วยโปสเตอร์ซึ่งแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน "เครื่องสับ" หมายความถึงอาคาร
    ที่เป็นไม้สำหรับเมืองไทยเครื่องสับคือ อาคาร เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญที่เป็นไม้ ในสมัยก่อนจะมีโบสถ์ เป็นสิมไม้ สิมไม้คือ
    ใช้ไม้ทั้งหมดเข้าไม้ซึ่งกันและกันด้วยลิ่มสลักเดือย ไม่ใช้ตะปู ดังนั้นจึงเรียกว่าเครื่องสับ ในต่างประเทศถ้าหากว่ารัฐบาลไทยมี
    โอกาสที่จะติดต่อกับรัฐบาลได้ และเราสามารถปรุงเครื่องสับไปจากประเทศไทยก็จะงดงามมาก ตัวอย่างเช่นศาลาไทยที่อยู่
    กรุงเทลาวีฟก็ทำเป็นเครื่องสับส่งไป ถอดออกได้เป็นชิ้น ๆ สะดวกในการขนส่งและติดตั้ง

    <TABLE height=49 width="64%" bgColor=#ccccff border=0><TBODY><TR><TD> ปัญหาและอุปสรรค </TD></TR></TBODY></TABLE> ในประเทศอินเดียเมื่อถึงหน้าร้อนก็ร้อนมาก พอถึงหน้าหนาวก็หนาวมากเช่นกัน ช่วงหน้าหนาวที่เมืองกุสินาราติด
    ลบ 2 องศา อากาศหนาวมากหมอกลงหนา เวลาร้อนก็ร้อนจัดถึง 40 องศา บางครั้งพระสงฆ์ทนอยู่ไม่ได้ต้องขอลากลับประเทศไทย
    เพราะฉะนั้นต้องคำนึงถึงสถานที่ต่าง ๆ ด้วย เวลาออกแบบต้องเผื่อว่าเมื่อถึงหน้าหนาวจะใช้ความอบอุ่นได้อย่างไร ต้องใช้อุปกรณ์
    อะไรที่จะช่วยให้อยู่ได้ และเมื่อถึงหน้าร้อนเราจะทำอย่างไร นอกเสียจากว่าบางแห่งเป็นเมืองหนาว หนาวตลอดปีก็ไม่มีปัญหาเท่าไร
    ถ้าในขณะเดียวกันมีทั้งร้อนจัดและเย็นจัดจะต้องเจาะหน้าต่าง ช่องประตู ช่องลมต่าง ๆ อาจจะต้องเจาะหลายระดับ เช่น เจาะช่อง
    ซึ่งอยู่ข้างบนหลายระดับ ขณะเดียวกันก็สามารถปิดได้สำหรับหน้าหนาว และเมื่อถึงหน้าร้อนก็เปิดเต็มที่ให้ลมพัดผ่านได้ อย่างเช่น
    ในอินเดียไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ เพราะแถว ๆ กุสินาราไฟเปิด ๆ ปิด ๆ ซึ่งบางครั้งไฟฟ้าเปิดเพียงชั่วโมงเดียวแล้วดับไป 2 ถึง 3
    ชั่วโมง ถ้าใช้เครื่องปรับอากาศก็ลำบาก วิธีการแก้ไขคือเปิดหน้าต่างทางระบายลมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเมื่อถึงหน้า
    หนาวก็ปิดทางลมให้หมด ตรงนี้เป็นเรื่องของประโยชน์ในการใช้พื้นที่ข้างใน
    ส่วนปัญหาของกระเบื้อง ถ้าเป็นเมืองหนาวถึงกับหิมะตก กระเบื้องดินเผาที่เป็นกระเบื้องเคลือบที่ส่งมาจากประเทศไทย
    จะแตกหมดเวลาหิมะจับ จะใช้เป็นกระเบื้องไม้แทน แต่ถ้าในประเทศอินเดียหรือเนปาลซึ่งอุณหภูมิติดลบไม่มากนักประมาณ
    1 - 2 องศา ก็ไม่เป็นไรใช้กระเบื้องได้

    <TABLE height=49 width="64%" bgColor=#ccccff border=0><TBODY><TR><TD> โครงการก่อสร้างในอนาคต </TD></TR></TBODY></TABLE> วัดต่าง ๆ ในยุโรปและอเมริกานั้น ส่วนมากจะผ่านมาทางสำนักงานพระพุทธศาสนา และทางสำนักงานฯ ขอให้อาจารย์
    ภิญโญช่วยทำ งานมากกว่าคนและคนที่มีฝีมือเรื่องไทยก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นที่กรมศาสนาหรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็
    ตามวัดในประเทศไทยที่ต้องซ่อมแซมก็มีอยู่มากเพราะฉะนั้นหน่วยงานจึงขอให้อาจารย์ภิญโญเป็นที่ปรึกษาทางสถาปัตยกรรม
    ไทยต่อไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...