กามวิถี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 22 สิงหาคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนิมิตโอภาสหยาบแก่พระอานนท์ หลายครั้ง
    เหตุผล ในอรรถกถาแก้ไว้ว่า เพื่อบรรเทาความโศกของพระอานนท์..
    มินิต โอภาส ในที่นี้หมายถึง การบอกให้รู้เป็นนัยๆว่า พระองค์ทรงเจริญ
    อิทธิบาท ๔ บริบูรณ์ ถ้าปรารถนาจะดำรงอยู่ตลอดกัป(อายุกัป) ก็สามารถ
    อยู่ได้ แต่พระอานนท์มิได้อาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงดำรงอยู่..
    ดังข้อความบางตอนจากมหาปรินิพพานสูตรมีว่า

    ....ดูก่อนอานนท์นครเวสาลี เป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์
    โคตมกเจดีย์ ก็เป็นที่รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตต
    เจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ สารันททเจดีย์ ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ ก็เป็น
    ที่รื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ ผู้หนึ่งผู้ใดเจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้มาก ทำให้
    เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ อบรมไว้ ปรารภ
    ด้วยดี โดยชอบ ดูก่อนอานนท์ผู้นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ )
    อยู่ได้ตลอดกัป เกินกว่ากัปดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔
    แล้วได้ทำให้มาก แล้วได้ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทำให้เป็นประหนึ่ง
    วัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภด้วยดี โดยชอบแล้ว
    ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้
    ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัปดังนี้.
    แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำนิมิตหยาบ ทรงทำโอภาสหยาบ
    อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ ก็มิสามารถรู้ได้ มิได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มี
    พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดำรงอยู่ตลอด
    กัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่ชนจำนวน
    มาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก ...


    ข้อความบางตอนจากอรรถกถามหาปรินิพพานสูตรมีว่า

    .... แต่สำหรับพระเถระ ไฉนมารจักสามารถสอดมือเข้าทางปากพระเถระได้
    ได้แต่แสดงอารมณ์ที่น่ากลัว. พระเถระเห็นมารนั้น ก็ไม่รู้แจ้งโอภาสคือนิมิต.
    ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงทราบตรัสเรียกถึง ๓ ครั้ง เพื่อประโยชน์อะไร.
    ตอบว่า เพื่อทรงบรรเทาความโศกด้วยการยกโทษไว้เบื้องหน้าว่า เมื่อเราถูกเธอ
    อ้อนวอนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดดำรงอยู่เถิดพระเจ้าข้า. เธอทำไม่ดีอย่างนั้น
    เธอทำผิดอย่างนี้....

    ควรทราบว่า คำว่ากัปป์ มีหลายความหมาย คือหมายถึงมหากัปป์บ้าง อายุกัปป์บ้าง

    แต่ในเรื่อง หมายถึงอายุกัปป์ ในครั้งพุทธกาลอายุกัปป์โดยเฉลี่ยประมาณ ๑๐๐ ปี
    แต่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ก่อน เพราะเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่าน
    จะดำรงอยู่ประมาณ ๓ ใน ๔ ของอายุกัปป์ และมีเหตุผลอื่นๆอีกครับ
    ตามความเป็นจริงพระพุทธเจ้าสามารถอยู่ได้ตลอดกัปทั้งที่เป็นอายุกัปคือ 100 ปี
    หรือมากกว่า 100 ปีก็ได้ อันหมายถึงอายุกัปประการหนึ่ง และอาจารย์บางท่านใน
    อรรถกถาก็อธิบายเพิ่มเติมว่า พระพุทธเจ้าย่อมสามารถเข้าสมาบัติข่มเวทนาอันเกิด
    จากความเจ็บป่วยได้ จึงสามารถอยู่ได้ตลอดภัทรกัปนี้หรือจนสิ้นกัปนี้เลยทีเดียว แต่ที่
    พระองค์ไม่ทรงอยู่จนกัปสิ้นไปด้วยเหตุผลว่า ธรรมดาสรีระที่มีจิตใจ ย่อมเสื่อมไปตาม
    เวลา เมื่อเวลาผ่านไปนานเช่นนั้น สรีระของก็ย่อมไม่งาม มีฟันหัก ผมหงอก แต่
    ธรรมดาแล้วพระพุทธเจ้าย่อมปรินิพพานในเวลาที่เป็นที่รักที่ชอบใจของมหาชน จึงไม่
    ทรงดำรงอยู่จนสิ้นภัทรกัป พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็จะปรินิพพานก่อนคือแบ่งอายุ
    ออกเป็น 5 ส่วน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะปรินิพพานในส่วนที่ 5 คือเริ่มส่วนที่ 5
    พระพุทธเจ้าสมณโคดม อายุขัยของมนุษย์ตอนนั้น 100 ปี ก็จะปรินิพพานเมื่ออายุ
    เข้าส่วนที่ 5 คือ 80 ปีครับ
    อีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่ดำรงอยู่ตลอดภัทรกัปเพราะเหตุว่าเมื่อเวลาผ่านไปนานมากๆ
    สรีระก็เสื่อมไป ในอนาคตพระพุทธเจ้ามีภิกษุหนุ่ม สามเณรแวดล้อม ก็จะถูกครหา
    นินทาได้ว่าบริษัททของพระพุทธเจ้าไม่น่าดู เพราะพระพุทธเจ้าทรงมีสรีระที่เสื่อมไป
    (มีฟันหัก ผมหงอก) แวดล้อมด้วยภิกษุ สามเณรที่ยังหนุ่มนั่นเองครับ บริษัทจึงไม่งาม
    เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงดำรงอยู่ตลอดกัป แม้พระอานนท์จะทูลขอหรือไม่
    ทูลขอให้อยู่ก็ตาม
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

    อรรถกถาเจติยสูตร

    ครั้นตรัสโดยไม่ชี้ชัดลงไปอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงชี้ชัดลงไป
    อีกครั้ง จึงตรัสคำว่า ตถาคตสฺส โข ดังนี้เป็นต้น. และในคำเหล่านี้
    คำว่า กัป หมายเอาอายุกัป (กำหนดอายุ). ในกาลนั้น อันใดเป็นประมาณ
    อายุของพวกมนุษย์ บุคคลพึงทำประมาณอายุนั้นให้บริบูรณ์ดำรงอยู่. คำว่า
    กปฺปาวเสส คือ หรือเกินร้อยปีที่ตรัสว่า กัปหรือเกิน. ฝ่ายท่านพระมหาสิว
    เถระ กล่าวว่า สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมไม่มีการคุกคามในสิ่ง
    ที่เป็นไปไม่ได้ ก็เหมือนเมื่อทรงข่มเวทนาปางที่แทบจะสิ้นพระชนม์ที่เกิดขึ้น
    ในหมู่บ้าน เวฬุวะ (เวฬุวคาม) ตั้งสิบเดือน นั่นแหละ ฉันใด ก็ฉันนั้น
    เมื่อทรงเข้าสมาบัตินั้นบ่อยๆ พึงข่มไว้ได้เป็นสิบเดือน ก็จะพึงทรงดำรงอยู่ได้
    ตลอดภัทรกัปนี้ทีเดียว.
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 592
    อายุสมโอสัชชนสูตร
    ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีภาคเจ้าสามารถดำรงอยู่ตลอดกัปหรือเกินกัป
    จึงไม่ดำรงอยู่ตลอดกาลเพียงเท่านั้น ทรงปลงอายุสังขารตามที่มารขอร้อง
    เพื่อให้ปรินิพพาน ? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงปลงอายุสังขาร
    ตามมารขอร้อง จักไม่ปลงอายุสังขารตามที่พระเถระขอร้องก็หามิได้ แต่
    ว่าหลังจาก ๓ เดือนไป พระองค์ทรงปลงอายุสังขาร เพราะพุทธเวไนย
    ไม่มี ธรรมดาว่า การดำรงอยู่แห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็
    เพียงเพื่อจะแนะนำเวไนยสัตว์ เมื่อเวไนยชนไม่มี พระผู้มีพระภาคพุทธ-
    เจ้าทั้งหลาย จักดำรงอยู่ด้วยเหตุอะไร ก็ถ้าว่าพระองค์จะพึงปรินิพพาน
    ตามที่มารขอร้อง ก็จะพึงปรินิพพานก่อนหน้านั้นทีเดียว. อนึ่ง ท่านกล่าว
    ความนี้ไว้ว่า จริงอยู่ แม้ที่โพธิมณฑล มารก็ขอร้องไว้แล้ว ถึงการทำ
    นิมิตโอภาสก็เพื่อทำความโศกของพระเถระให้เบาบาง. อีกอย่างหนึ่ง การ
    ทำนิมิตโอภาสก็เพื่อแสดงพลังของพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ แม้ดำรงอยู่ ก็ดำรงอยู่ตามความพอ
    พระทัยของพระองค์เท่านั้น. แม้เมื่อจะปรินิพพาน ก็ย่อมปรินิพพานตาม
    ความพอพระทัยของพระองค์เหมือนกันแล.

    อิทธิบาท ๔
    จตฺตาโร ( สี่ ) + อิทฺธิ ( ความสำเร็จ ) + ปาท ( เท้า , เครื่องให้ถึง )
    ธรรมเครื่องให้ถึงความสำเร็จ ๔ อย่าง หมายถึง สภาพธรรม ๔ อย่าง คือ ฉันท-
    เจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ จิต ๑ ปัญญาเจตสิต ( วิมังสา ) ๑ ที่เป็นไปใน
    การอบรมสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ถ้าเป็นไปในสมถภาวนา ก็เป็นบาทแห่ง
    ความสำเร็จคืออภิญญาสมาบัติ ซึ่งสามารถข่มกิเลสได้ในขณะที่เข้าฌานสมบัติ หรือ
    สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ ถ้าเป็นไปในวิปัสสนาภาวนา ก็เป็นบาทแห่งความ
    สำเร็จคือ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งอำนาจในการประหาณกิเลสเป็นสมุจเฉท

    พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
    เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
    [๕๑๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-
    สังขารเป็นอย่างไร ?
    ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธิ
    นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ. ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
    เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
    ขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้าง
    กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร
    ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ
    ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
    แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร.



    เอาบุญมาฝากวันนี้ตั้งใจว่าจะถวายสังฆทาน
    กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
    รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติธรรม
    ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ศึกษาธรรม
    ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
    ที่ผ่านมาได้บริจาคซีดีและหนังสือธรรมะเป็นทาน
    และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ทางวัดต้องการรับบริจาคพระธาตุสีวลีเพื่อให้ผู้ปฏิบ้ติธรรมได้กราบไหว้ (เอตทัคคะด้านมีลาภมาก)
    --------------------------------------------------------------------------------
    ติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหาธนภัทร อุตฺตมปญฺโญ โทร.๐๘๕-๑๙๘-๒๙๑๑
     

แชร์หน้านี้

Loading...