กลไกสมองของ Leonardo Da Vinci‏

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ๙๙๙๙๙๙๙๙๙, 18 พฤศจิกายน 2008.

  1. ๙๙๙๙๙๙๙๙๙

    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +2,808
    [​IMG] [​IMG]

    หากเอ่ยถึงชื่อ Leonardo Da Vinci น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอัจฉริยะบุคคล ท่านเป็นผู้สรรค์สร้างภาพ Mona Lisa และThe Last Supper อันเลื่องชื่อ นอกจากนี้ท่านยังเป็นสถาปนิก นักปั้น นักพฤกษศาสตร์ นักประดิษฐ์กลไก อีกทั้งยังคิดค้นอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นคนแรกของโลก และเป็นผู้ที่ให้ความสนใจทางด้านสรีระของมนุษย์อย่างแท้จริง เป็นที่น่าสังเกตได้ว่า นักปราชญ์ในสมัยก่อนสามารถรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน ทุก ๆ สาขา ซึ่งแตกต่างจากนักปราชญ์ในยุคสมัยปัจจุบัน ที่จะเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาของตัวเอง สิ่งที่นำมาเสนอในครั้งนี้มาจากหนังสือ How to Think Like Leonardo Da Vince ประพันธ์โดย Michael Gelb หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องราวของนักปราชญ์ผู้หนึ่ง ซึ่งไม่ได้เกิดมาจากครอบครัวที่ร่ำรวย และสมบูรณ์แบบ แต่ท่านมีแนวความคิดอย่างไร ทำอย่างไร จึงสามารถก้าวขึ้นมาเป็น นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ไม่มีผู้ใดสามารถลอกเลียนแบบได้ โดยหนังสือเล่มนี้มีแนวคิดที่ว่า ความฉลาดของมนุษย์นั้นไม่จำเป็นต้องสืบทอดมาจากพันธุกรรม หรือไม่ได้เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาเสมอไป แต่หากเกิดมาจากการเรียนรู้ และเลียนแบบแนวความคิดจากเหล่านักปราชญ์ทั้งหลาย และหนึ่งในนั้นคือ Leonardo Da Vinci

    โดยได้เสนอหลัก 7 ประการในการนำไปสู่ความเป็นปราชญ์ ดังนี้

    1) มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และไขว่คว้าหาความรู้อย่างไม่หยุดหย่อน จนเข้าใจในสิ่ง ๆ นั้นอย่างถ่องแท้ เห็นได้ชัดจากการที่ Leonardo Da Vinci ทุ่มเทพลังชีวิตทั้งหมดให้กับการแสวงหาความจริงและความงาม โดยท่านเป็นคนช่างสังเกต และชอบตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา เช่น ท่านมักจะถามว่าในหนึ่งชีวิตของคนเรานั้นจะทำสิ่งใดได้บ้างก่อนจากโลกนี้ไป และในการสังเกตทุก ๆ ครั้ง จะต้องมีการจดบันทึกไว้เสมอ
    ประโยชน์ของการจดบันทึก
    - เก็บข้อมูลต่าง ๆ จากการสังเกต และแนวคิดใหม่ ๆ ที่ได้รับ
    - ทำให้แนวคิดใหม่ ๆ ที่ผุดขึ้นมาในสมองไม่สูญเปล่า
    - เมื่อเกิดปัญหา ให้เขียนปัญหาลงในสมุดบันทึก หาเหตุผล ปัจจัยต่าง ๆ ข้อแก้ไข ซึ่งจะทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน สามารถมองเห็นปัญหา และหนทางแก้ไขได้ในทุกแง่ทุกมุม
    - ทำให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ มากขึ้น
    - ทำให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง

    นอกเหนือไปกว่านั้น Leonardo da Vinci ยังเชื่อว่า เหล็กจะขึ้นสนิม หากไม่ถูกใช้ น้ำจะเน่าเสีย เมื่อไม่มีการหมุนเวียน ความเย็นที่ไม่เคลื่อนตัว จะกลายเป็นน้ำแข็ง เปรียบได้กับสมองของมนุษย์ หากไม่ถูกใช้ ไม่รู้จักขบคิด จะทำให้สมองทื่อ และหมดประโยชน์ไปในที่สุด การฝึกใช้สมองนั้นเริ่มได้จากการสังเกตบุคคล และสิ่งรอบข้าง อย่างละเอียดถี่ถ้วน เช่น อากัปกิริยา การพูดการจา อารมณ์ต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูล นอกจากการสังเกตแล้ว การเป็นผู้ฟังที่ดียังเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้เป็นอย่างดี

    2) ทดสอบและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับเข้ามา ว่าเป็นจริง และน่าเชื่อถือหรือไม่ Leonardo da Vinci เป็นผู้ที่มีโลกทัศน์กว้าง และเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา และไม่เคยเชื่อสิ่งใด ๆ ที่ผ่านเข้ามาโดยที่เขาไม่ได้ประสบเอง เพราะเขาเชื่อว่าศัตรูที่แท้จริงของมนุษย์ คือ การเชื่อในสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ดังนั้น เมื่อได้รับข้อมูลใด ๆ ก็ตามให้เก็บข้อมูลไว้อย่างเป็นกลางก่อน ไม่ควรด่วนตัดสินใจว่าผิดหรือถูก ให้รู้จักเมตตาต่อผู้อื่น แล้วจึงค่อยนำข้อมูลมาทบทวนพิจารณาอย่างถ้วนถี่ ให้ได้ข้อเท็จจริง แต่ที่สำคัญข้อเท็จจริงที่ได้ในครั้งนี้เป็นเพียง เสี้ยวหนึ่งของความเป็นจริงในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเมื่อเวลาผ่านไปทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ที่ได้นี้อาจจะไม่ใช่อีกต่อไป การเปิดใจกว้างเช่นนี้จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และสามารถ รับเอาความรู้ ประสบการณ์ และทักษะต่าง ๆ จากผู้อื่น มาเป็นข้อมูลประกอบในการดำรงชีวิตของเราได้อีกด้วย

    โดยปกติธรรมดาของมนุษย์ มักนำแต่สิ่งที่ดี ๆ ของผู้อื่นมาปฏิบัติตาม แต่ Leonardo da Vinci กลับไม่คิดเช่นนั้น Leonardo da Vinci กล่าวว่าเราควรศึกษาข้อบกพร่อง และความผิดพลาดด้วย เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงไม่นำสิ่งนั้นมาเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต

    3) ฝึกขัดเกลาประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ให้มีความฉับไว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสาทสัมผัสทางตา ควรให้ความสำคัญก่อนเพราะเชื่อว่า ตาเป็นส่วนที่เปิดรับข้อมูลต่าง ๆ ได้มากที่สุดเป็นอันดับแรก การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 หมายความว่า เวลามองสิ่งใดให้ตั้งใจมอง เวลาได้ยินสิ่งใดต้องตั้งใจฟัง เวลาได้รับกลิ่นใดต้องสนใจและรับรู้ได้ เวลาลิ้มรสสิ่งใดต้องแยกแยะได้ และเมื่อสัมผัสสิ่งใด หรือเคลื่อนไหวต้องมีความระมัดระวัง และมีสติอยู่ตลอดเวลา สุดท้าย เมื่อพูดสิ่งใด ต้องคิดตามอยู่เสมอ มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะ
    มองแต่ไม่เห็น ( Look without seeing )
    ฟังแต่ไม่ได้ยิน ( Listen without hearing )
    สัมผัสแต่ไม่รู้สึก ( Touch without feeling )
    ทานแต่ไม่รู้รส ( Eat without tasting )
    เคลื่อนไหวโดยไม่มีสัมปชัญญะ ( Move without physical awareness )
    สูดหายใจแต่ไม่รับรู้กลิ่น ( Inhale without awareness of odor of fragrance )
    พูดโดยไม่คิด ( Talk without thinking )

    4) คนที่จะฉลาดได้ ต้องมีแนวคิดดังต่อไปนี้

    1. ยอมรับในสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่จีรังยั่งยืนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ เพราะปกติแล้วมนุษย์มักปริวิตก และตื่นตระหนกมากจนเกินไปกับสิ่งที่แปรเปลี่ยนโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการสติแตก ทำให้มองสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังประสบอยู่นั้นไม่ตรงตามความเป็นจริง คือคิดฟุ้งซ่าน ดังนั้น จึงไม่ควรยึดในสิ่งที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบันว่า มันจะยั่งยืน ให้คิดเสียว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ให้ทำใจเตรียมพร้อมรับอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ประมาท

    2. ให้มองจุดเปลี่ยนของอารมณ์ จากอารมณ์ปกติ เป็นอารมณ์อื่น ๆ เช่น อารมณ์โกรธ ให้มองว่า มีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้อารมณ์เปลี่ยน และให้พิจารณาแก้ไขตรงสาเหตุนั้น ๆ แต่หากเป็นอารมณ์ดีใจ ให้พิจารณาว่า เป็นเพียงอารมณ์หนึ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่มีสิ่งใดยั่งยืน โดยปกติคนเรามักจะรับรู้ไม่ทัน กับจุดที่มีการเปลี่ยนอารมณ์ ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิต จึงเจ็บปวดและรับไม่ได้ และโทษว่าผู้อื่น เปลี่ยนไป ไม่เหมือนเดิม
    ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมีเพียง 3 ประการหลัก ๆ คือ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน บุคคลที่เปลี่ยน หรือใจเราเองที่เปลี่ยน ซึ่งเราต้องมองให้ออก และเห็นจุดเปลี่ยนให้ได้ จึงจะไม่มีคำว่า ทำใจไม่ได้ในชีวิต

    3. เมื่อเกิดปัญหา ให้แก้ไขทีละเปราะ และต้องกล้ามองไปถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในปัญหานี้ แล้วลองมองย้อนขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไข หากถึงทางตันแก้ไขไม่ได้ จิตจะรับรู้เอง และถ้าเหตุการณ์นั้นต้องเกิดขึ้นจริง ๆ จิตจะไม่กระเพื่อมและยอมรับได้ นอกจากนี้ การคิดในลักษณะเช่นนี้จะทำให้จิตใจเข้มแข็ง และทำให้เกิดปัญญาเห็นหนทางใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาอีกด้วย

    4. เมื่อเกิดปัญหา ห้ามกลบเกลื่อน และหนีปัญหาโดยเด็ดขาด ต้องกล้าน้อมรับ ค่อย ๆ คิดหาทางแก้ มองปัญหาให้ชัด ๆ ไม่ควรหันไปพึ่งสุรา ยาเสพติด เพื่อให้ลืมปัญหา หาที่สงบ ๆ ทบทวนและพิจารณา หากเกินกำลังให้เข้าหาผู้รู้เพื่อขอความช่วยเหลือต่อไป การฝึกแก้ปัญหาในแต่ละครั้งจะทำให้เราเกิดทักษะ และสามารถเพิ่มขอบเขตความรู้ของตนเองให้มากขึ้นได้อีกด้วยและที่สำคัญที่สุดของประเด็นนี้ คือต้องรู้จักเลือกกรณีว่า สิ่งใดเป็นปัญหาจริง ๆ อย่าคิดฟุ้งซ่าน สิ่งใดที่ไม่เป็นปัญหาก็ไม่ต้องทำให้มันเป็นปัญหา ต้องพิจารณาให้ถูกต้อง

    5) สร้างสมดุลในการมองโลกทั้งในด้านศาสตร์และศิลป์นอกจากเราจะศึกษาหาความรู้ทางด้านวิชาการต่าง ๆ ซึ่งถูกควบคุมโดยสมองด้านซ้ายแล้วนั้น ควรให้ความสนใจทางด้านสุนทรียศาสตร์ด้วย เช่น ทางดนตรีและศิลปะ เพราะเป็นการพัฒนาสมองข้างขวา นอกจากนี้ เราควรหัดสร้างมโนภาพกับปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ และลองใส่วิธีแก้โดยนึกเป็นภาพลงไปในนั้นว่าเป็นอย่างไร จะเป็นการหัดมองปัญหานอกกรอบ ซึ่งอาจทำให้ค้นพบความคิดใหม่ ๆ ได้

    6) ดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอในสรีระร่างกายของมนุษย์ สามารถส่งเสริมความฉลาดได้ ดังนี้
    - ความสามารถที่จะใช้ได้ทั้งมือขวาและมือซ้าย เพราะ จะทำให้สมองเจริญเติบโตได้ทั้งสองข้าง ซึ่งจะส่งเสริม ความสามารถของเรา ทั้งในด้านศาสตร์และศิลป์
    - อากัปกิริยาทั้งหลายต้องสมบูรณ์และสง่างาม อธิบายได้โดยทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต คือ หากจิตใจเรากำลังห่อเหี่ยว แล้วเรายังทำร่างกายให้ห่อเหี่ยวตาม จะยิ่งทำให้จิตหดหู่มากขึ้น ไม่เกิดปัญญาในการ แก้ไข ดังนั้น ต้องทำร่างกายให้สดชื่น ทั้งการยืน เดิน นั่ง การแสดงอารมณ์ทางสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ต้องประคับ ประคองจิต ให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา
    7) ต้องหัดสังเกตสหสัมพันธ์ต่างๆของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเราและกับชีวิตของเราต้องสังเกตให้เห็นถึงสิ่งที่เชื่อมระหว่างเหตุการณ์เหล่านั้นให้ได้ เช่น ที่เราต้องมาทำงาน ณ ที่นี้ เพราะเหตุใด เราเป็นผู้เลือกเองหรือไม่ มองให้เห็นถึงปัจจัยต่าง ๆ ให้ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาจะไม่มีการปริวิตก และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้น เมื่อมองเห็นความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง จะทำให้เรารู้จักการวางตัว และระมัดระวังกิริยาอาการของตนเองได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

    Leonardo di ser Piero da Vinci เป็นหนึ่งใน "Renaissance man"
    เลโอนาร์โด ดา วินชี จากการเป็นคาทอลิกตั้งแต่เกิด
    From: Sherwin B. Nuland, Leonardo da Vinci (A Penguin Life), Lipper/Viking/Penguin Putnam Inc.: New York City, NY (2000), page 12:

    One day... of 1452, a prosperous eighty-year-old landowner set down a few details of a recent notable event in his family: "A grandson of mine was born, son of Ser Piero my son, on April 15... His name was Lionardo." There follow the name of the priest who baptized the little boy and a lit of ten people present at the ceremony.


    [​IMG]
    รูปปั้น ดาวินชี ที่เมืองฟลอเรนซ์

    ด้วยความฉลาด และความเป็นศิลปินของเค้า บางครั้งเค้าก็ออกนอกลู่นอกทาง ก่อนตาย แต่เป็นน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ก็ทราบ ตอนใกล้สิ้นใจ เค้าได้รับศีลอภัยบาป

    1519 - April 25. Dictates his will.
    May 2: Dies at Cloux and is buried in the cloister of the Church of St. Florentin in Amboise.

    เค้าเป็นคู่กัด ไม่เคิลแองเจโล ในเรื่องของศิลปะ ใช้เทคนิคนี้เหรอ ชั้นใช้เทคนิคนี้ เอาสิ ทำให้เกิดงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ เกิดขึ้นมากมายในยุคนั้น ที่จะพูดถึงคือ
    [​IMG]
    (The Last Supper) (1498)

    ใช้เทคนิดแข่งกัน
    Fresco เป็นวิธีการวาดรูปแบบหนึ่งที่ศิลปินชาวอิตาเลียนในยุคเรอเนซองส์ชอบใช้ ศิลปินจะวาดภาพและลงสีบนผิวปูนที่ยังเปียกอยู่ทำให้เนื้อสีสามารถซึมเข้าไปรวมเป็นเนื้อเดียวกับปูน ด้วยวิธีการเช่นนี้จะทำให้สีสันของภาพติดทนนานและไม่หลุดร่อนออกมา หลายๆ ภาพมีอายุมากกว่าสี่ห้าร้อยปีแต่สียังสดใดอยู่

    ภาพ "The Last Supper" แสดงพระเยซูและสานุศิษย์ ๑๒ คน ขณะรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้ายก่อนที่พระเยซูจะถูกตรึงบนไม้กางเขน และพระเยซูได้ตรัสว่าหนึ่งในสานุศิษย์ ๑๒ คนของพระองค์ได้ทรยศต่อพระองค์แล้ว

    ภาพวาดนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดภาพหนึ่งของโลก ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวนับล้านคนแวะมาชื่นชมภาพนี้ และตลอดเวลานานหลายศตวรรษที่ผ่านมานี้ ภาพได้เสื่อมสภาพลงไปมาก เพราะถูกทำลายด้วยความชื้นจากผู้เข้าชมและมีฝุ่นปกคลุมผิวหน้าของภาพ มีผลทำให้สีที่ Leonardo ระบายไว้ได้ลอกออกมาบ้าง และเมื่อภาพได้รับความ ชื้นมาก พื้นที่บางส่วนของภาพได้ถูกเชื้อราปกคลุม นายช่างที่ได้รับการว่าจ้างให้บูรณภาพให้คงอยู่ในสภาพเดิม จึงใช้วิธีระบายสีทับลงไป การ "บูรณะ" เช่นนี้ มีผลทำให้คนหลายคนสงสัยว่า ภาพ "The Last Supper" ที่เห็นในปัจจุบัน กับภาพที่ Leonardo วาดในอดีตนั้นคงไม่เหมือนกันแน่เลย

    ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐบาลอิตาลีได้เริ่มงานซ่อมแซมและบูรณภาพ "The Last Supper" อย่างจริงจัง และ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ที่ผ่านมานี้ ภาพวาดของ Leonardo ก็ได้เผยโฉมให้โลกเห็นอีกครั้งหนึ่ง และโลกก็ได้ประจักษ์ว่าผลงานบูรณะที่ใช้เวลา ๒๐ ปีนี้เป็นผลงานเนรมิตของวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ ๒๐ และงานศิลปะในสมัยศตวรรษที่ ๑๕ ร่วมกัน

    เพื่อพิทักษ์รักษาภาพที่ประมาณค่ามิได้นี้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ผู้เข้าชมทุกคนจะต้องผ่านกระบวนทำความสะอาด โดยให้ยืนในห้องปรับอากาศที่มีอุปกรณ์กำจัดฝุ่น และจุลินทรีย์จากเสื้อผ้าจนหมดจดก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าชมภาพ

    ช่างอนุรักษ์คนสำคัญของโครงการนี้เป็นสตรีที่มีนามว่า Pinin Brambilla เธอต้องรับภาระกำจัดสีที่ช่างบูรณะต่าง ๆ ในอดีตได้เคยระบายไว้ให้หมด เพื่อให้โลกได้เห็นสีที่ Leonardo ได้ระบายไว้จริง ๆ งานบูรณะชิ้นนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบัน Central Institute for Restoration ในวงเงิน ๓๐๐ ล้านบาท

    เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผลงานที่สำเร็จแล้วมีทั้งบวกและลบ จิตรกรหลายคนมีความเห็นว่า Brambilla ได้สกัดสีที่ Leonardo ได้ระบายไว้ออกมาด้วยมากเกินไปทำให้ภาพศีรษะของพระเยซูเลือนรางเหลือแต่ส่วนที่เป็นเส้นผมและเคราเท่านั้นที่ปรากฏชัดเจน นอกจากนี้ ภาพที่บูรณะแล้วยังซีดและไม่คมชัดอีกต่างหาก แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะอีกหลายคนที่กล่าวยกย่องงานบูรณะนี้ว่าเป็นการบูรณะระดับเซียนทีเดียว

    ในความเป็นธรรมนั้น ใคร ๆ ก็รู้ว่างานบูรณภาพ ๆ นี้มีปัญหาที่ไม่ธรรมดาเพราะ Leonardo ใช้วิธีการระบายสีบนผนังที่ไม่เหมือนใคร จิตรกรทั่วไปมักจะใช้สีน้ำระบายไปบนปูนปลาสเตอร์ขณะเปียก ๆ สีจึงติดไปบนผนังทันทีเวลาผนังแห้ง แต่ Leonardo ใช้สีน้ำมันระบายลงไปเป็นชั้น ๆ บนปูนปลาสเตอร์ เทคนิคนี้ทำให้เขาสามารถแสดงรายละเอียดของภาพได้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ภาพจะประสบปัญหาความชื้น และเมื่อได้มีการพบว่าที่ระดับลึกใต้ผนังลงไป ๘ เมตร มีแอ่งน้ำใต้ดินอยู่ สีน้ำมันที่ Leonardo ใช้ระบายก็เริ่มแตกสะเก็ด เมื่อเขาระบายเสร็จไม่นาน

    และเมื่อภาพสลายไป การบูรณภาพก็ได้ดำเนินมาเป็นระยะ ๆ จิตรกรที่บูรณะได้ใช้สีเคมีต่าง ๆ และใช้เทคนิคหลายรูปแบบ จนผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะหลายคนมีความเห็นว่า การ "บูรณะ" ได้ทำลายภาพมากกว่าได้บูรณภาพ เช่น ในงานบูรณะ พ.ศ. ๒๒๖๙ ช่างบูรณะได้ใช้สีที่มีโซดาไฟระบาย และใน พ.ศ. ๒๓๑๓ ผู้บูรณะคนหนึ่งได้ขูดสีที่ Leonardo ระบายออกไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น

    งานบูรณะครั้งหลังสุดนี้ได้เริ่มดำเนินการใน พ.ศ. ๒๕๒๒ หลังจากที่ได้มีการตรวจพบว่า สีที่นักบูรณะคนก่อน ๆ ได้ระบายไว้นั้น มีสารเคมีหลายชนิดที่กำลังกัดกร่อนสีที่ Leonardo ได้ระบายไว้ Brambilla จึงได้เริ่มการบูรณะอย่างมีหลักการ โดยเธอได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูสีที่ Leonardo และนักบูรณภาพคนก่อน ๆ ใช้ ภายใต้แสงอัลตราไวโอเล็ตและแสงอินฟราเรด ทำให้เธอรู้ว่าสีดั้งเดิมเป็นสีอะไร และสีเสริมใหม่เป็นสีอะไร จากนั้นก็ใช้มีดคมที่มีด้านเล็กขูดสกัดสีที่นักบูรณะเก่า ๆ ระบายไว้ออกทีละชิ้น ๆ และเธอก็ได้เห็นรายละเอียดของภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น ภาพของดอกไม้ที่ม่าน ภาพขนมปังบนโต๊ะอาหารและเห็นทิวทัศน์เบื้องหลังของพระเยซูชัดเจนยิ่งขึ้น

    มาบัดนี้ผู้ที่ได้เข้าชมภาพต่างก็พอใจกับงานบูรณะของ Brambilla มาก และทุกคนก็ทำใจได้ว่า ถึงแม้เราจะไม่มีวันได้เห็นภาพดั้งเดิมที่ Leonardo วาดไว้ ๑๐๐% เต็มก็ตาม แต่ขณะนี้ก็ได้เห็นภาพต้นฉบับมากกว่าในอดีตมาก และเมื่อการพิทักษ์ปกป้องภาพเป็นไปอย่างรัดกุมและระมัดระวังเช่นนี้ เราก็มั่นใจว่า ภาพ The Last Supper จะอยู่คู่โลกอีกอย่างน้อยก็ ๕๐๐ ปี

    ผู้เขียน : ศ. ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิทยาศาสตร์



    ประวัติของเค้า

    Leonardo da Vinci เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๑๙๙๕ ที่หมู่บ้าน Vinci ในแคว้น Tuscaney ของอิตาลี บิดาชื่อ Ser Piero Antonio da Vinci เป็นคหบดีที่มีฐานะมั่งคั่ง แต่มีมารดาเป็นหญิงชาวนาชื่อ Catarina เมื่อมารดาหย่าบิดาไปแต่งงานใหม่ ชีวิตของ Leonardo ในวัยเด็กจึงตกอยู่ในความดูแลของบิดา

    [​IMG]

    The Mona Lisa

    ขณะเป็นนักเรียน เด็กชาย Leonardo ชอบซักถามปัญหาต่าง ๆ จนครูจนปัญญาตอบ และถึงแม้จะเป็นคนเรียนหนังสือเก่ง ร้องเพลงเพราะ และแต่งโครงกลอนได้ดี แต่ Leonardo กลับโปรดปรานการเขียนภาพ และวาดภาพเป็นที่สุด เมื่อบิดาเห็นแววศิลปินของบุตร จึงได้นำบุตรของตนไปฝากเรียนวิชาวาดภาพกับจิตรกรชื่อ Verrocchio ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น Leonardo ได้แสดงความสามารถในการวาดภาพจนอาจารย์รู้สึกชื่นชม และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยคนสนิทของอาจารย์ที่มีหน้าที่วาดภาพต่าง ๆ ที่อาจารย์ไม่มีเวลาวาดให้เสร็จ นอกจากจะสนใจวาดภาพแล้ว Leonardo หนุ่มยังสนใจศิลปะการปั้นรูปอีกด้วย

    [​IMG]
    Virgin of the Rocks, London.

    โลกรู้จัก Leonardo ว่าเป็นจิตรกรคนแรกของโลกที่เข้าใจความสำคัญของแสงและเงาในการวาดภาพ Leonardo ได้ใช้ความเข้าใจนี้ในการวาดภาพของเขา ทำให้ภาพที่เขาวาดแตกต่างจากภาพวาดของจิตรกรอื่น ๆ ในอดีตคือ ดูสมจริงและเป็นธรรมชาติกว่ามาก

    นอกจากจะเล็งเห็นบทบาทของแสงในการวาดภาพแล้ว Leonardo ยังได้ขวนขวายศึกษาธรรมชาติของแสง สรีรวิทยาของสัตว์ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และคลื่นน้ำอีกด้วย
    [​IMG]

    ภาพกายวิภาคที่ก้าวล้ำยุคสมัยไปมาก ที่เรารู้จักกันในนามของ "วิทรูเวียนแมน" (Vitruvian Man)


    นับเป็นบุญของมนุษยชาติที่ Leonardo ได้เขียนความนึกคิด จินตนาการ ข้อสังเกตและความรู้ทั้งหลายที่เขามี ลงในสมุดบันทึกที่มีความหนากว่า ๑,๐๐๐ หน้า ในสมุดบันทึกเล่มนั้นมีภาพวาดของระเบิดนาปาล์ม เรือรบ มนุษย์กบ เทคนิคการป้องกันน้ำท่วม วิธีสร้างปืนใหญ่ เครื่องจักรไอน้ำ เรือดำน้ำ เฮลิคอปเตอร์ ร่มชูชีพ รถถัง เครื่องปรับอากาศ เกียร์ รูปเกลียว ใบพัดเครื่องบิน ฯลฯ อย่าลืมนะครับว่า Leonardo เขียนแผนภาพของอุปกรณ์เหล่านี้ ๔๐๐ ปีก่อนที่โลกจะรู้จักเทคโนโลยีเหล่านี้ นักวิชาการที่ได้ศึกษาสมุดบันทึกเล่มนี้ เห็นพ้องกันว่า Leonardo มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลเกินผู้คนยุคนั้นเป็นศตวรรษ



    [​IMG]
    A page from Leonardo's journal showing his study of a foetus in the womb.

    นอกจากจะเป็นคนที่มีจินตนาการระดับอัจฉริยะแล้ว Leonardo ยังเป็นคนที่มีสายตาคมกริบถึงขนาดเห็นการแตกกระจายของคลื่นเป็นเกลียว ๆ และฟองน้ำได้อย่างชัดเจนถึงขนาดว่าภาพคลื่นที่เขาวาดดูเหมือนกับภาพคลื่นที่กล้องถ่ายรูปปัจจุบันถ่ายยังไงยังงั้น

    ความสามารถในการวาดภาพของเขายังถูกนำมาใช้ในการศึกษาสรีรวิทยาของกล้ามเนื้อคนด้วย โดย Leonardo ใช้ศพคนจริง ๆ ในการวาดภาพกล้ามเนื้อ การศึกษาระบบโลหิตในร่างกายคน ทำให้ Leonardo เกือบพบหน้าที่ที่แท้จริงของหัวใจ

    [​IMG]

    Studies of the action of running water.
    เมื่อมีอายุได้ ๓๐ ปี เขาได้อพยพไปทำงานที่ Milan ขณะทำงานประจำที่นั้นเขาได้ออกแบบผังเมืองใหม่ได้ออกแบบสร้างระบบทดน้ำ และลำเลียงน้ำสำหรับเมือง ได้ศึกษาปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และเมื่อมีอายุได้ ๔๒ ปี เขาก็ได้เริ่มวาดภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งของโลกคือภาพ "The Last Supper" บนผนังของโบสถ์ Santa Maria della Grazie ในเมือง Milan โดยใช้เวลานาน ๓ ปี

    [​IMG]
    Virgin and Child with St. Anne

    [​IMG]
    Leonardo da Vinci tomb in Saint Hubert Chapel (Amboise).
     

แชร์หน้านี้

Loading...