กรรมลิขิต...กรรมควรรู้

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 7 สิงหาคม 2008.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>กรรมลิขิต...กรรมควรรู้... <HR width="100%" color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    [กรรมลิขิต]

    กรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา เมื่อจงใจแล้วก็ย่อมทำกรรมทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ เรียกว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ตามลำดับ กรรมจึงเป็นคำกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว แต่คนทั่วไปมักเข้าใจว่า กรรมหมายถึงบาปหรือเคราะห์ เป็นการเข้าใจไปในทางร้ายแต่อย่างเดียว เช่น คนที่เกิดมาจนหรือพิการ ก็พูดว่าคนมีกรรม

    พุทธศาสนาสอนว่า ความเป็นอยู่หรือชะตาชีวิตของคนเรานั้น ไม่ขึ้นกับเวลาตกฟาก ไม่ขึ้นกับอำนาจดวงดาว ไม่ขึ้นกับอำนาจพรหมลิขิต แต่ขึ้นอยู่กับกรรม กรรมต่างหากเป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิตหรืออนาคตของคนเรา ทุกคนต่างลิขิตโชคดีโชคร้าย ลิขิตความเจริญความเสื่อมให้แก่ชีวิตด้วยกรรมของตนเอง กล่าวคือ ถ้าอยากได้ดีมีความสุขความเจริญ ก็ต้องทำแต่กรรมดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าทำกรรมชั่ว ชีวิตก็จะมีแต่ความทุกข์ความเดือดร้อน เป็นไปตามพระบาลี (เล่ม ๑๕ ข้อ ๓๓๓ ย่อว่า ๑๕/๓๓๓) ที่ว่า

    กลฺยาณการี กลฺยาณํ ทำดีได้ดี
    ปาปการี จ ปาปกํ ทำชั่วได้ชั่ว


    คนที่เชื่อมั่นในหลัก "กรรมลิขิต" ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ย่อมทำแต่ความดีหลีกหนีความชั่ว รู้จักพึ่งตนเอง ขยันทำกิจการไม่เกียจคร้าน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่สร้างวิมานในอากาศ ประสงค์สิ่งใดก็ลงมือทำ เพื่อให้เป็นจริงตามปรารถนา เมื่อมีอุปสรรคเกิดขึ้นก็ไม่ย่อท้อ พยายามหาทางแก้ไขและต่อสู้จนประสบความสำเร็จ คนประเภทนี้แม้จะเกิดมายากจนเพราะอำนาจของกรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีต ก็มักจะก่อร่างสร้างตัวจนฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยอำนาจกรรมดีที่ทำในปัจจุบัน ไม่มัวแต่เพ้อฝันอยากได้ดีลอยๆ โดยไม่ลงมือทำ ถ้าความอยากได้ดีลอยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาแล้ว ใครเล่าในโลกนี้จะยากจน หรือพลาดจากสิ่งที่หวัง

    นิยาม ๕ ตามหลักของพุทธศาสนา นิยามหรือกฎธรรมชาติมี ๕ อย่าง คือ

    ๑. พีชนิยาม กฎแห่งพืช ธรรมดาของพืช เช่น ปลูกถั่วได้ถั่ว (ไม่ใช่งา) อ้อยมีรสหวาน ดอกทานตะวันหันหน้าไปทางดวงอาทิตย์ ​

    ๒. อุตุนิยาม กฎแห่งฤดู ธรรมดาของฤดู เช่น ฝนตก แดดออก ลมพัด ลมไม่พัด น้ำขึ้น น้ำลง ดอกบัวกลางวันแย้มกลางคืนหุบ ดอกแก้วต่างต้นบานพร้อมกัน ​

    ๓. กรรมนิยาม กฎแห่งกรรม ว่าด้วยการกระทำของมนุษย์ คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ​

    ๔. จิตนิยาม กฎแห่งจิต ธรรมชาติของจิต เช่น เกิดดับตลอดเวลา รับอารมณ์ทีละอย่าง ​

    ๕. ธรรมนิยาม กฎแห่งธรรมะ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา การที่สิ่งมีชีวิตต้องวนเวียนเกิดแก่เจ็บตาย ยากจะหลุดพ้นได้ ก็เป็นไปตามธรรมนิยามนี้เอง ​

    เนื่องจากนิยามมี ๕ (แต่นิยามอื่นล้วนสรุปลงในธรรมนิยาม) ปรากฏการณ์ต่างๆ จึงเกิดจากกฎธรรมชาติหลายอย่างรวมกัน ​

    ดังนั้น ความเข้าใจที่ว่า ทุกสิ่งในโลกล้วนขึ้นกับกรรมนิยาม จึงเป็นความเข้าใจที่ผิด อย่างไรก็ตาม กรรมนิยามเป็นนิยามที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์ เพราะเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง มนุษย์มีสิทธิที่จะเลือกทำกรรมตามความพอใจ แล้วกรรมนั้นจะเป็นผู้ลิขิตโชคชะตาหรืออนาคตของมนุษย์ ​

    ส่วนนิยามอื่นๆ เป็นเรื่องของธรรมชาติ เช่น กลางวัน กลางคืน ฤดูหนาว ฤดูร้อน เกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์ มนุษย์จะห้ามปรามหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มนุษย์จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ เช่น ประดิษฐ์หลอดไฟเพื่อให้แสงสว่างในเวลากลางคืน ประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศเพื่อผ่อนคลายความหนาวร้อน สุขทุกข์ของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับกรรมนิยามเป็นสำคัญ



    ****************************************************************

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่มา : กรรมลิขิต ธมฺมวฑฺโฒ ภิกฺขุ

    http://www.dhammathai.org/store/karma/view.php?No=209








    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...