กรรมที่ให้ผลแล้ว กลับมาให้ผลได้อีก

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 2 พฤศจิกายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,126
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    czapF26jS6ZbKbfsiNuhOrBpy605H1qF2-dUIaInXhfg&_nc_ohc=T-T9i-2sbZEAX86VmUB&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    กรรมที่ให้ผลแล้ว กลับมาให้ผลได้อีก..!

    ถาม : กรรมที่ให้ผลแล้ว จะกลับมาให้ผลอีกไหมครับ ?
    ตอบ : กรรมที่ให้ผลไปแล้ว ถ้าหากว่ายังไม่หมดแรงกรรมนั้น ๆ ถึงวาระก็จะให้ผลอีก แต่ถ้าหากว่าให้ผลหมดแล้ว ก็เป็นอันว่าผ่านไปเลย

    กรรมจะมีบางประเภทที่ให้ผลแบบฉับพลัน อย่างที่เขาเรียกว่า ครุกรรมทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล อย่างครุกรรมฝ่ายอกุศล คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท ก็จะเห็นผลทันตาในปัจจุบัน ตายเมื่อไรคุณลงอเวจีมหานรกแน่นอน

    ขณะเดียวกัน ครุกรรมฝ่ายกุศล คือฝ่ายดี ที่คุณทำเอาไว้อย่างเช่นว่า ได้ฌาน ๔ ได้สมาบัติ ๘ ถึงเวลาคุณก็ไปเป็นพรหมหรืออรูปพรหมไปเลย หรือถ้าหากมีโอกาสได้ทำบุญกับพระอริยเจ้าที่ออกนิโรธสมาบัติ ก็จะเป็นเศรษฐีในวันนั้นเลย

    ฉะนั้น..ลักษณะแบบนี้จะให้ผลฉับพลัน แต่ว่าให้แล้วให้เลย จบกันไปเลย เหมือนอย่างกับเราปลูกผักปลูกหญ้าให้ผลเร็วมาก ไม่กี่วันก็เก็บกินได้แล้ว..ใช่ไหม ? แต่ว่าเมื่อได้แล้วก็หมดไปเลย

    แต่ว่ากรรมบางอย่างจะให้ผลช้ามาก อย่างเช่น อุปัชชเวทนียกรรม อปราปรเวทนียกรรม ให้ผลในชาติที่ ๒ ชาติที่ ๓ ชาติที่ ๔ ไปเรื่อย ๆ เหมือนกับปลูกไม้ผล กว่าจะให้ผลช้ามากเหมือนกับตามไม่ทัน ลักษณะแบบเดียวกับรถสิบล้อวิ่งช้า..ใช่ไหม ? แต่ถึงเวลาถ้ารถชนเราจะเป็นอย่างไร ? รถใหญ่อาการเราก็หนัก เจ็บจริง เจ็บนาน

    ฉะนั้น..กรรมพวกนี้จะให้ผลต่อเนื่อง ยาวนาน ลักษณะเหมือนกับปลูกไม้ผล ระยะเวลา ๕ ปีขึ้นไปจึงจะเริ่มให้ผล แล้วก็จะให้ผลไปเรื่อย ๆ

    กรรมนั้นมีทั้งให้ผลตามกาล ให้ผลตามลักษณะ บางอย่างก็มาหนุนเสริม บางอย่างก็มาบีบคั้น บางอย่างก็มาตัดรอน ให้ผลตามกาลก็คือ ให้ผลช้า-เร็ว ก่อน-หลังกันไป รวม ๆ แล้ว กรรมน่ากลัวมาก ตามทันเมื่อไร เราก็แย่เมื่อนั้น
    ........................................
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    ผู้ก่อตั้งสำนักสงฆ์เกาะพระฤๅษี
    .......................................
    #รู้ว่าดีก็ทำ #รู้ว่าชั่วก็ละ #ไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,126
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    temp_hash-947ad3ff18619a9846238eaa611c37e4-jpg.jpg
    ..............
    [๑๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมใหม่และกรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม เธอทั้งหลายจงฟังจงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    กรรมเก่า เป็นอย่างไร
    คือ จักขุ (ตา) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
    ชิวหา (ลิ้น) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
    มโน (ใจ) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
    นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า
    กรรมใหม่ เป็นอย่างไร
    คือ กรรมที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา ใจ
    นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่
    ความดับกรรม เป็นอย่างไร
    คือ นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะดับกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมได้
    นี้เราเรียกว่า ความดับกรรม
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม อะไรบ้าง
    คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
    ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
    ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
    ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
    ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
    ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
    ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
    ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
    ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
    นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม
    กรรมเก่าเราได้แสดงแล้ว กรรมใหม่เราได้แสดงแล้ว ความดับกรรมเราได้แสดงแล้ว และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรมเราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้
    ภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจอย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้คือคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
    ...........
    กัมมนิโรธสูตร สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
    https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18...
    หมายเหตุ กัมมนิโรธสูตร ว่าด้วยกรรมและความดับกรรม คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงกรรมใหม่ กรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...