กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ระกาแก้ว, 6 มิถุนายน 2011.

  1. ระกาแก้ว

    ระกาแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
    [​IMG]
    V
    V

    พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของ พระราหุลเถระเจ้า องค์ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมา

    V
    V
    [​IMG]

    สืบทอดต่อมา โดย สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
    V
    V


    [​IMG]


    สู่ พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ผจล.ซอ.วิ.) ผู้บอกวิชชาพระกรรมฐาน ยุคปัจจุบัน:p:p
    v
    v
    v

    เนื่องด้วยต้นมาแห่งสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    สืบสานมาแต่พระราหุลเถระเจ้า


    ขออนุญาตอัญเชิญพระอริยประวัติพระองค์ท่านในฐานะผู้ทรงธรรมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ และปฏิบัติสมบัติ ๑

    ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระศาสดา และเป็นอริยสาวกเจ้าที่มี เอกทัคคะเลิศทางการใฝ่ศึกษา ทรงสร้างสมพระสาวกบารมีมาหลายอสงไขย แสนมหากัปป นับชาติไม่ถ้วน ซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา


    ทรงได้รับพระมหากรุณาพุทธิคุณในการอบรมพระกรรมฐาน จาก พระเถระสารีบุตรในฐานะพระพี่เลี้ยง และจากพระมหาเถระอริยะสาวกเจ้าพระองค์อื่นๆ อาทิ พระปิติ ๕ พระยุคล ๖ พระอานาปานสติ ๙ พระกายคตาสติ ๓๒ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๗ พรหมวิหาร ๔ วิสุทธิ ๗ วิปัสสนาญาณ ๑๐ อรูปญาณ ๔ พระมหาสติปัฏฐาน ๔ พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ พระไตรลักษณ์ ๓ เบญขันธ์และอายตนภายในภายนอกทั้ง ๕ ธาตุ ๔ เป็นต้น
    :p:p
    :p:p

    จนกระทั่ง พระองค์บ่มวิมุติแก่กล้า ด้วยอิริยาบถไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอดช่วงปฏิบัติธรรมก่อนเป็นพระอเสขบุคคล ทรงเผยแพร่พระกรรมฐานมัชฌิมา และบรรลพระอรหันตเจ้า พร้อมด้วยมรรค ๔ ผล ๔ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว กาลต่อมาก็มีกุลบุตรที่ได้รับทราบกิตติศัพท์ ได้เข้ามาเป็นสัทธวิหาริก และอันเตวาสิก ศึกษาตามแบบอย่างในสำนักของพระราหุลเถระเจ้าที่ท่านได้ทรงศึกษามา เพื่อสืบทอดการตั้งความปรารถนาและเจตนารมณ์ของพระองค์ท่าน


    ก่อนที่พระราหุลเถระเจ้าท่านจะเข้าสู่ขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ท่านได้เจริญอิทธิบาทภาวนา อธิษฐานขอจิตนี้กายนี้ ของพระองค์ท่าน แบ่งเป็นสองภาค คือ กายเนื้อเดิม ๑ กับกายทิพย์ใหม่ ๑ เมื่อกายเนื้อแตกดับสู่นิพพาน จึงเหลือแต่กายอธิษฐานทิพย์ คอยดูแลพระบวรพุทธศาสนาไปอีก ๑,๐๐๐ ปี หลังท่านนิพพาน โดยมีพระเถระรุ่นสืบต่อ ๆ กันมา เป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จากนั้น กายทิพย์อันเกิดจากการอธิษฐานจิตก็อันตรธานหายไป จึงกล่าวได้ว่า พระราหุลเถระเจ้าท่าน จะมีกายก็ไม่ใช่ จะไม่มีกายก็ไม่ใช่

    :p:p
    ความจากหนังสือประวัติพระราหุลเถระจ้า พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ หน้า ๙-๑๙
    ประมาณปีพระพุทธศักราช๒๕๖-๒๗๔ พระเจ้าอโศกมหาราชส่ง คณะพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พร้อมพระสงฆ์ทศวรรคเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือไทย พม่าลาว เขมร ในปัจจุบันนี้พระสงฆ์ได้สืบทอดพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัยสืบกันเรื่อยมา:p:p
    :p
    จวบจนถึงปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ที่อยู่วัดใกล้บ้านเรียกว่าพระสงฆ์คามวาสีพระสงฆ์ที่อยู่วัดในป่าเรียกว่าพระสงฆ์อรัญวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสีและวัดอรัญวาสีต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไปไม่มีการแบ่งแยกทางการศึกษาว่าจะศึกษาทางไหนก่อนหลังแต่ถ้าจะศึกษาทางปฏิบัติต้องไปยังสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่อันเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติพระกรรมฐานเจริญภาวนาในยุคต่างๆ เช่น
    :p:p
    ยุคสุวรรณภูมิ สำนักกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่คือวัดท้าวอู่ทองเมืองสุวรรณสังข์ (เมืองอู่ทอง) มีพระโสณเถรพระอุตรเถรเป็นเจ้าสำนักและเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคสุวรรณภูมิ:p:p
    :p
    ยุคกรุงศรีทวาราวดี สำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่คือวัดแสนท้าวโคตรกรุงศรีทวาราวดีมีพระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้าเป็นเจ้าสำนักเป็นศูนย์กลางของพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรศรีทวาราวดีสำนักเล็กคือวัดพญารามศรีทวาราวดีวัดสุวรรณารามกรุงศรีทวาราวดียุคศรีทวาราวดีพระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือพระราชสามีรามมหาเถรเจ้า(เพชร)
    :p
    ยุคกรุงสุโขทัย สำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่คือวัดป่าแก้วมีพระวันรัตมหาเถรเจ้าเป็นเจ้าสำนักเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรสุโขทัยสำนักพระกรรมฐานเล็กในยุคสุโขทัยเช่นวัดป่ารัตนาพระครูญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนักวัดสุทธาวาสพระครูญาณสิทธิเป็นเจ้าสำนักฯ ยุคสุโขทัยพระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือพระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์)

    ยุคกรุงศรีอยุธยา วัดป่าแก้วหรือเรียกกันอีกอย่างว่าวัดเจ้าพญาไทเป็นสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่พระพนรัตนพระสังฆราชฝ่ายซ้ายเป็นพระอาจารย์ใหญ่เป็นเจ้าสำนักเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรอยุธยามีสำนักพระกรรมฐานเล็กๆสิบกว่าวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น
    วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถรเป็นเจ้าสำนัก๑วัดโบสถ์ราชเดชะพระพุทธาจารย์เป็นเจ้าสำนัก
    วัดโรงธรรม พระญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก๑วัดกุฎพระอุบาลีเป็นเจ้าสำนัก๑
    วัดเจ้ามอน พระญาณโพธิเป็นเจ้าสำนักวัดประดู่พระธรรมโกษาเป็นเจ้าสำนัก๑
    วัดกุฎีดาว พระเทพมุนีเป็นเจ้าสำนัก๑วัดสมณะโกฎพระเทพโมฬีเป็นเจ้าสำนัก
    วัดมเหยงค์ พระธรรมกิติเป็นเจ้าสำนัก๑
    นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกรรมฐานมากเปรียบเทียบได้ว่ามีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนามาก
    :p
    ยุคอยุธยา พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคคือพระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่าพระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี
    :p:p
    ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีสำนักพระกรรมฐานหลักสำนักพระกรรมฐานใหญ่๑วัดคือวัดราชสิทธาราม(พลับ) สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก) เป็นเจ้าสำนักเป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำกรุงรัตนโกสินทร์วัดราชสิทธารามจึงเป็นศูนย์กลางของกรรมฐานมัชฌิมาประจำกรุงรัตนโกสินทร์มีสำนักเล็กคือวัดราชาธิวาส:p>:p>
    พระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) เป็นเจ้าสำนักยุครัตนโกสินทร์:p

    พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะนั้น คือ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก ไก่เถื่อน)จึงนับได้ว่ากรุงรัตนโกสินทร์มีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนาเพียงแห่ง สำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้นเมื่อพระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) มรณะภาพลงแล้ว พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับก็เสื่อมลงเรื่อยๆซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้วมีแบบแผนใหม่เข้ามาแทนที่เนื่องจากอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า(ฝั่งกรุงเทพฯ) ด้วยความเจริญของสมัยใหม่เข้ามาเร็วและไม่มีการบำรุงรักษาแบบแผนเดิมไว้

    ต่อมาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม(พลับ) เพียงวัดเดียวที่รักษาแบบแผนและความเป็นสำนักพระกรรมฐานใหญ่สำนักพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเป็นหลัก แทนสำนักเดิม ๆ คือ วัดแสนท้าวโคตรยุคทวาราวดีแทนวัดป่าแก้วยุคสุโขทัยแทนวัดป่าแก้วยุคกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ยาวนานที่สุด:p:p
    :p
    ความจากหนังสือประวัติสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เกื่อน หน้า ๒๕ – ๒๖



    รวมกระทู้ "กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน" วัดราชสิทธาราม

    ลำดับแห่งการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ (หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน)

    เรียนเชิญอนุโมทนาการอบรม พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ของ บ.บางออกแปซิฟิค สติล


    บรรยากาศการชุมนุมคณะศิษย์พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แสดงมุฑิตาจิตครูบาอาจารย์


    เรียนเชิญปฏิบัติธรรม วันมาฆบูชา แนววิชชากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ


     
  2. ระกาแก้ว

    ระกาแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ตำนานธารพระกร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) สืบทอดมาจาก พระราหุลเถรเจ้า

    ตำนานธารพระกรของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
    สืบทอดมาจากพระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท



    [​IMG]
    พระราหุลเถรเจ้า​


    เมื่อ ท่านพระราหุล มีพระชนมายุได้ ๓๑ พรรษา ๑๑ เป็นพระภิกษุผู้เถรแล้ว ขณะเมื่อพระองค์ท่านประทับนั่งบำเพ็ญสมณะธรรม อยู่ ณ ป่าอันธวัน นอกกรุงสาวัตถี สมัยนั้นเทวดาตนหนึ่ง นับเนื่องในหมู่พรหม ชั้นสุทธาวาส ได้มาสิงสถิตรอคอยท่านพระราหุลเถรอยู่ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทวดาอันนับเนื่อง ในหมู่พรหม ชั้นสุทธาวาส ได้ทราบด้วยใจแห่งตนว่า บารมีวิมุตติธรรม ของท่านพระราหุลเถรแก่กล้าแล้ว สมัยนั้นแล ธารพระกร คู่พระบารมีธรรม คู่พระกรรมฐานมัชฌิมา เป็นบุญศิริ ของท่านพระราหุลเถร ได้เกิดขึ้น แก่เต็มที่แล้ว ณ ป่าอันธวัน ในดงไม้ไผ่ยอดตาล เทวดา อันนับเนื่องในหมู่พรหม ชั้นสุทธาวาส ที่สิงสถิตรอคอย ท่านพระราหุลเถรอยู่ ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ได้เข้าไปหา ท่านพระราหุลเถรเจ้า แล้วเผดียงว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นเทพดา สิงสถิตอยู่ ณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ของพระบรมครู บัดนี้ ธารพระกร คู่พระบารมี คู่พระกรรมฐานมัชฌิมา เป็นบุญศิริ ของท่านพระราหุลเถร ได้เกิดขึ้น แก่กล้าแล้ว ข้าพระองค์ขออาราธนา ท่านพระราหุล ผู้เจริญไปยังดงไม้ไผ่ยอดตาลนำเอาไม้ธารพระกร ที่ดงไผ่ยอดตาล ในป่าอันธวันนั้นเถิด

    ท่านพระราหุลเถร ได้ดำเนินไปที่ดงไผ่ยอดตาลตามคำทูลเชิญนั้น ครั้นแล้วเทวดาตนนั้น แสดงให้ท่านพระราหุลเถรทราบว่า ธารพระกรไผ่ยอดตาลอยู่ที่ต้นไผ่ยอดตาลนี้ เป็นต้นที่แก่สูงที่สุดใน ดงนี้ขณะนั้นท่านพระราหุลเถร มีความปริวิตกว่า จะตัดต้นไผ่ยอดตาลอย่างไร เพลานั้นเทวดาตนนั้นทราบความปริวิตกของท่านพระราหุลเถรแล้ว จึงดลใจให้ คนตัดฟืนในป่าที่ใกล้กันนั้น มาที่ป่าไผ่ยอดตาลแห่งนี้ ครั้นคนตัดฟืนอันเทวดาดลใจมาถึงที่แห่งนี้แล้ว เห็นท่านพระราหุลเถร ทราบอาการของพระเถรว่า ต้องการ ลำไผ่ยอดตาลนั้น จึงตัดมาถวายท่านพระราหุลเถร ประมาณหนึ่งวาคุต โดยการตัดครั้งเดียว ตัดแล้วเทวดาผู้สิงสถิตประจำต้นไผ่ยอดตาล เจ็ดตนก็มา สิงสถิตประจำอยู่ ที่ไม้ธารพระกรนั้น เพื่อบำเพ็ญอุณหิสวิชยธรรมต่อไป และไม้ธารพระกรไผ่ยอดตาลนี้ได้เป็นไม้ที่ทรงอานุภาพมาก ด้วยอานุภาพแห่งเทวดา และอานุภาพแห่งพระเถรเจ้าครั้นเทวดามาสิงสถิตที่ไม้เท้านี้แล้ว เทวดาจะสมาทานศีลอันหมดจด ประพฤติอุณหิสวิชัยธรรมอันสุจริต ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำนั้น เทวดาจะมีความสุขตลอดกาล และ อายุของเทวดานั้นย่อมเจริญ เพราะได้ประพฤติธรรม ปฏิบัติธรรม กับพระสงฆ์องค์นั้น เรื่องมีอยู่ว่า ต้นไผ่ยอดตาลนั้น มีลักษณะเหมือนต้นตาลทั้งหมด แต่มีขนาดเล็กโคนต้นเท่าต้นแขน สูงประมาณ เก้าศอก ลำต้นมีลายคล้ายข้อไผ่ สูงชะลูด ใบและก้านใบ เหมือนก้านใบตาล ออกช่อ ดอกผลเหมือนงวงตาล ผลเหมือนผลตาล แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกมีห้ากลีบสีขาวหม่น ต้นไผ่ยอดตาลนี้มีอายุยืน เป็นพันๆปี เป็นไม้เนื้อแข็ง
    ครั้นท่านพระราหุลเถรเจ้า ได้ธารพระกร ไผ่ยอดตาลคู่บารมีแล้ว ก็ดำเนินกลับไปบำเพ็ญสมณะธรรมต่อ ณ ป่าอันธวัน เมืองสาวัตถี ไม้ธารพระกรไผ่ยอดตาลนี้เปรียบด้วย รัตนะเจ็ดประการ ประจำพระองค์ของพระเจ้าจักรพรรดิ หรือเปรียบด้วยเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ของพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนไม้ธารพระกร ไผ่ยอดตาลของ ท่านพระราหุลเถร หรือของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย แสดงถึงบารมีธรรมของพระอริยะเจ้าแต่ละองค์ และนับเป็นบุญศิริ ซึ่งประเสริฐกว่า แก้วเจ็ดประการ ของพระเจ้าจักรพรรดิ หรือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ของพระราชา หรือของพระเจ้าแผ่นดิน เพราะพระอริยะเจ้าเป็นผู้พ้นจากโลกิยะธรรมทั้งปวง พระอริยะเจ้าที่จะได้ ไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล ต้องเป็นผู้มีจักรธรรม ๔ ประการคือ ๑.ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นประเทศอันสมควร ๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ สิ่งสำคัญประการสุดท้ายคือ ๔ ปุพเพกตปุญญตา ได้กระทำความดีไว้แต่ปางก่อน จึงจะได้
    จักรรัตนะ คือไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาลบุญศิริประกอบพระบารมีธรรมนี้

    [​IMG]
    ภาพธารพระกร ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

    และธารพระกร คู่พระบารมี คู่พระกรรมฐาน เกิดแก่ท่านพระราหุลเถรเจ้า


    พระอริยะเจ้า เครื่องประกอบบารมีธรรม ๑. ธารพระกรไผ่ยอดตาล

    พระเจ้าจักรพรรดิ รัตนะเจ็ดประการ ๑.ช้างแก้ว ๒.ม้าแก้ว ๓.นางแก้ว ๔.ขุนคลังแก้ว ๕.ขุนพลแก้ว ๖.จักรแก้ว ๗.แก้วมณี

    พระราชาธิราช เบญจราชกกุธภัณฑ์ ๑.พระมหาพิชัยมงกุฏ ๒.พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔.วาลวิชนี ๕.ฉลองพระบาท

    แก้ว หมายถึง ของดี ของเลิศ หรือของมีค่าเมื่อท่านพระราหุลเถรเจ้าเข้านิพพานแล้ว ครั้งปฐมสังคายนา ธารพระกรแก้ว ไผ่ยอดตาลก็ตกทอดมาถึง พระโกลิกะเถรเจ้า สัทธิวิหาริก ของท่านพระราหุลเถร ในดินแดนชมพูทวีปครั้นถึงทุติยสังคายนา พุทธกาลล่วงแล้วได้ ๑๐๐ ปี ธารพระกร ไผ่ยอดตาลพระราหุลเถรเจ้า ก็ตกมาถึง พระมัลลิกะเถระเจ้า แห่งชมพูทวีปกาลต่อมาธารพระกรไผ่ยอดตาล ของพระราหุลเถรเจ้า ตกทอดมาถึง พระโสนันตะเถรเจ้า สัทธิวิหาริก ของพระมัลลิกเถรเจ้าครั้นถึงตติยสังคายนา พุทธกาลล่วงแล้วได้ ๒๑๘ ปี ธารพระกรของพระราหุลเถรเจ้าก็ตกมาถึง พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า แห่งชมพูทวีปกาลต่อมาธารพระกรไผ่ยอดตาล ของพระราหุลเถรเจ้า ตกทอดมาถึงพระมหินทเถร แห่งลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) พระราชโอรส ของพระเจ้าอโศกมหาราช กาลต่อมาธารพระกรไผ่ยอดตาล ของพระราหุลเถรเจ้า ตกทอดมาถึง พระจิตตกะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป กาลต่อมาธารพระกรไผ่ยอดตาล ของพระราหุลเถรเจ้า ตกทอดมาถึง พระอุบาลีเถรเจ้า องค์แรก แห่งลังกาทวีป

    พุทธกาล ล่วงแล้วได้ประมาณ ๓๖๐ ปี ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเอฬารทมีฬแห่งลังกาทวีป มีคณะสงฆ์ลังกา เดินทางมา ยังดินแดนสุวรรณภูมิสามพระองค์คือพระสัญญปะเถรเจ้า๑ พระจิรสะเถรเจ้า๑ พระมัคคีเถรเจ้า ๑ เดินทางโดยทางเรือ ครั้งนั้นพระสัญญปะเถรเจ้า เป็นหัวหน้าคณะ และคณะพระสงฆ์ลังกาได้นำไม้เท้าไผ่ยอดตาล อันเป็นของพระราหุลเถรเจ้า ซึ่งตกทอดมาจนถึงพระอุบาลีเถรเจ้า แห่งเกาะลังกา มามอบถวาย พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร) โดยพระอุบาลีเถรเจ้า พระมหาเถร แห่งลังกา มีบัญชาให้ คณะของพระสัญญปะเถรเจ้า นำมามอบถวายพระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร) ณ วัดท้าวอู่ทอง เมืองสุวรรณสังข์ (อู่ทอง) เหตุจะเป็นดินแดนที่รุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนาต่อไปในกาลภายหน้า อีกทั้งพระราชสามีรามมหาเถรเจ้า ได้เป็นศิษย์ ศึกษาพระกรรมฐานจากพระอุบาลีเถรเจ้าด้วยกาลล่วงถึง สมัยศรีทวารวดี พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (ไข) พระองค์ท่านทรงไปบำเพ็ญสมณะธรรม ในป่านอกกำแพงเมืองศรีทวารวดี อันเคยเป็นที่ตั้ง วัดท้าวอู่ทอง ซึ่งบัดนี้เป็นป่ารกร้าง เงียบสงบ พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (ไข) พระองค์ท่านได้พบ ไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล ของพระอุบาลีเถรเจ้า แห่งลังกา ซึ่งได้มอบให้ไว้แก่ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร) แห่งวัดท้าวอู่ทอง ในครั้งนั้น ท่านได้พบไม้เท้า ที่ป่าอันเคยเป็นที่ตั้ง วัดท้าวอู่ทอง ท่านได้นำ ไม้เท้าไผ่ยอดตาล กลับมา
    บูชาไว้ ณ วัดศรีสุวรรณ เมืองศรีทวารวดี เพราะเป็นไม้เท้าเบิกไพร ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมา ส่วนพระองค์ท่านเอง ใช้ไม้เท้าเบิกไพรที่ได้รับสืบทอดมาแต่ครั้ง พระอุตระเถรเจ้า ต่อๆกันมา

    ครั้น ถึงปลายสมัยศรีทวารวดี ไม้เท้าไผ่ยอดตาลของท่านพระราหุลเถรเจ้า ก็ตกทอดมาถึง พ่อเจ้าแพร (ผู้ปกครองวัด) แห่งวัดดงตาล เมืองบ้านคูเมือง (สิงห์บุรี)ถึงสมัยสุโขทัย ไม้เท้าไผ่ยอดตาล ของท่านพระราหุลเถรเจ้า ได้ตกทอดมาถึงพระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (สิงห์) แห่งวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย สมัยพระเจ้าประกันติราชสมัยพญาลิไท ไม้เท้าไผ่ยอดตาลของท่านพระราหุลเถรเจ้า ได้ประดิษฐานอยู่ ณแท่นบูชา ตรงพระพักตร์ ของพระศรีศากยะมุนี ในพระวิหาร วัดมหาธาตุ

    ครั้นปลายสมัยกรุงสุโขทัย ได้มีบุคคล นำไม้เท้าไผ่ยอดตาล ของท่านพระราหุลเถรเจ้า ออกไปจากวิหารพระศรีศากยะมุนี กาลต่อมาชายผู้นั้นเกิดเสียสติ นำไม้เท้าไปไว้ในป่าเมืองสุโขทัย ณ ถ้ำแห่งหนึ่งถึงสมัยอโยธยา ท่านขรัวตาเฒ่า ชื่น วัดสามไห เมืองอโยธยา ได้รุกขมูลไป ณ ถ้ำแห่งนั้น ในป่าเมืองสุโขทัย ได้พบไม้เท้าไผ่ยอดตาล ของท่านพระราหุลเถรเจ้า เทวดาประจำไม้เท้านั้น ได้บอกเรื่องราวทั้งหมดให้ท่านทราบ

    สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม้เท้าไผ่ยอดตาลของท่านพระราหุลเถรเจ้า ได้ตกทอดมาถึงพระพนรัตน (รอด) แห่งวัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา ถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาไม้เท้านี้ได้หายสาบสูญไป

    สมัยรัตน โกสินทร์ ไม้เท้าไผ่ยอดตาลของท่านพระราหุลเถรเจ้า ได้ตกทอดมาถึงสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม กรุงเทพ การไปพบไม้เท้าของท่านนั้น มีเรื่องที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้

    ครั้งกรุง ศรีอยุธยา ยังเป็นราชธานีอยู่ พระอาจารย์สุก (สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน) ได้ออกบำเพ็ญธุดงค์ทุกปี ครั้งหนึ่งท่านรอนแรมธุดงค์ มาด้วยวิชชา ถึงป่าเมืองอุตรดิตถ์ เดินทางมุ่งไปสู่ เขตป่าดงพญาเย็น อันเป็นที่พำนัก ของพระอาจารย์ด้วง พระอาจารย์ด้วง พระองค์นี้ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทรงเคยพบท่านในสมาธินิมิต ท่านได้บอกให้พระอาจารย์สุก ไปพบท่าน ณ ดงพญาเย็น เมืองอุตรดิตถ์พระองค์ท่านเข้าเขตดงพญาเย็นแล้ว หวลระลึกนึกถึงนามพระอาจารย์ด้วง ได้ดำเนินไปเห็นเป็นป่าทึบ หนาวเย็นมากเต็มไปด้วยหมอกหนา พระอาจารย์สุก ทราบด้วยวารจิตว่า พระอาจารย์ด้วง ท่านพำนักอยู่ในดงพญาเย็นนี้ เพราะเป็นแดนผาสุขวิหารของ
    ท่าน พระองค์ท่าน ดำเนินไป เห็นร่างพระภิกษุเถรรูปหนึ่ง ยืนถือไม้เท้าสีดำนิลอยู่ทรงเห็นร่างนั้นรางๆ เพราะหมอกหนาทึบมาก จึงดำเนินเข้าไปใกล้ เห็นว่าร่างพระภิกษุเถรรูปนั้นโปร่งใส พระภิกษุอริยะเถราจารย์ ได้กล่าวทักพระอาจารย์สุก ขึ้นก่อนว่ามาถึงแล้วหรือ จากนั้นพระอาจารย์สุก ก็ก้มลงกราบ พระอาจารย์ด้วง พระอาจารย์ด้วง สนทนากับพระอาจารย์สุกว่า อิทธิวิธญาณ การย่นระยะทางของท่าน ดีแล้ว สำเร็จแล้ว ให้ใช้ให้เป็นประโยชน์ จำเป็นจึงใช้ และกล่าวต่อไปอีกว่าอย่าไปติดในอิทธิฤทธิ์ อันเป็นโลกิยะธรรม เพราะมันไม่เที่ยง (เวลานั้นพระอาจารย์สุก ยังไม่บรรลุโลกุตระธรรม) จะทำให้เกิดทุกข์ จงทำจิตให้เป็นสุข ทุกๆเวลา ให้นึกถึงความสุข คือนึกถึงบุญกุศล นึกถึงการช่วยคน นึกถึงสิ่งอันดีงาม จิตจะเป็นสุขเนืองๆอย่างนี้ ไม่เกาะเกี่ยววัตถุ จะไปสู่พระนิพพาน คำสอนนี้เพื่อเกื้อกูล บุคคลผู้เกิดในภายหลัง จะได้ไม่หลงติดโลกธรรมพระอาจารย์ด้วง กล่าวต่อไปอีกว่า ต่อไปท่านจะได้พบ พระอริยเถราจารย์อีกหลายพระองค์ จะสอนท่านในรายละเอียด วิธีการของการเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา และชี้นำให้ไปเอาสิ่งของต่างๆ สำหรับพระเถราจารย์ ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา และสืบทอดพระพุทธศาสนา พระอาจารย์ด้วง กล่าวต่อไปอีกว่า กรุงศรีอยุธยา อีกไม่นานจะล่มสลาย เป็นไปตามหลัก พระไตรลักษณ์ และท่านจะเป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อไปในอาณาจักรหน้า (กรุงรัตนโกสินทร์) ขอให้ท่าน ทบทวนพระกรรมฐาน พระบาลีมูลกัจจายน์ เพราะท่านจะต้องสอนในเรื่องเหล่านี้ บางครั้งพระอาจารย์สุก ไม่เห็นร่างโปร่งใสของท่าน เห็นแต่จีวร และไม้เท้า เนื่องจากท่านเจริญ อากาสกสิณ พระอาจารย์ด้วงท่านกล่าวต่อไปว่า ร่างกายและไม้เท้า ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากอิทธิวิธญาณ การเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา ร่างจริงของข้าฯไม่มีแล้ว แต่ข้าฯอธิษฐานกายทิพย์อยู่ไว้คอยท่า ผู้มีบุญมารับช่วง พระกรรมฐานมัชฌิมา และไม้เท้าเบิกไพร ขององค์ต้นพระกรรมฐานนี้ ไม้เท้าของจริงอยู่ที่ถ้ำข้างหน้าโน้น มีกายทิพย์พระฤาษีอริยะเฝ้าอยู่รอผู้มีบุญมารับช่วงเอาไป ในถ้ำนั้นมีไม้เท้าคู่บารมีของ ปารมาจารย์อยู่ถึง ๔ อัน ในถ้ำนั้นมืดมาก ข้าฯ จะสอนอาโลกกสิณให้ เพื่อเป็นแสงสว่างนำทางท่านเข้าไปเอาไม้เท้าในถ้ำ

    เนื่อง จากพระอาจารย์สุก ท่านผ่านกสิณ สิบประการมาแล้ว ท่านสามารถในอาโลกกสิณ พระอาจารย์ด้วงจึงสอนวิธีการใช้อาโลกกสิณ เข้าไปในที่มืดต่อมาพระอริยเถราจารย์ (ด้วง) ได้สอนพระอาจารย์สุก ให้เข้า ฌานโลกุดร๑๙โดยให้ตั้งที่นาภี ๑๐ องค์ภาวนา ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ๙ องค์ภาวนา ตั้งที่หทัย ๑ องค์ ให้ภาวนาว่า โลกุตตรัง จิตตัง ฌานังพระอริยเถราจารย์ (ด้วง) กล่าวต่อไปว่า ฌานโลกุดรนี้ เป็นที่เกิดแห่งปัญญา เป็นที่บรรลุธรรม เป็นที่สิ้นสุดแห่งวัฏฏะทุกข์ได้ ใช้อธิฐาน ได้ต่างๆ

    พระ อาจารย์สุก เดินทางไปถ้ำ ในป่าดงพญาเย็น ท่านถึงปากถ้ำ จึงเจริญอาโลกกสิณ เป็นแสงสว่างนำเข้าไปในถ้ำ เดินไปถึงซอกถ้ำ พบกายทิพย์ของฤาษีอริยะเฝ้าอยู่(เห็นด้วยสมาธิ) พระฤาษีอริยะท่านกล่าวกับพระอาจารย์สุกว่า ผู้สืบทอดของบูรพาจารย์มาถึงแล้วท่านจึงชี้ไปที่ไม้เท้าของปารมาจารย์สี่อัน ซึ่งวางอยู่บนแท่น บัดนี้มีผลึกหินปกคลุมอยู่ เนื่องจากน้ำในถ้ำหยดลงมาทับถม กลายเป็นผลึกหินทับถมอยู่ จึงแลดูเหมือนไม้เท้านี้อยู่ในหิน เพราะไม้เท้านี้มีอายุประมาณ ๒๓๐๐ ปีเศษ ไม้เท้าก็จะกลายเป็นหินอยู่แล้วพระฤาษีอริยาจารย์ที่เฝ้าไม้เท้านี้ ได้บอกให้พระอาจารย์สุก อธิฐาน ดึงไม้เท้า ๔ อันนี้ออกมาจากผลึกหิน พระองค์ท่านก็ดึงออกมาได้ด้วยอธิฐานบารมีของพระองค์ท่านด้วยจะเป็นผู้สืบพระ ศาสนาต่อไป ในอาณาจักรหน้า พระฤาษีอริยาจารย์กล่าวว่า ในไม้เท้าสี่อันนี้ อันหนึ่งเป็น ธารพระกรไผ่ยอดตาล ของท่านพระราหุลเถรเจ้า ตกทอดมาแต่โบราณกาล ให้พระองค์ท่านเอาไว้ใช้ก่อน ต่อไปท่านจะมีไม้เท้าคู่บารมีของท่านเอง อีก ๓ อันท่านจะพบพระสัทธิวิหาริกคู่บารมี สัทธิวิหาริกองค์ไหนควรครอบครองไม้เท้าเบิกไพร อันไหนให้ท่านมอบให้ไป ต่อมาพระอาจารย์สุก จึงได้ทราบนามของ พระฤาษีอริ ยาจารย์ว่าคือ พระฤาษีอัปปผลาภะ เมื่อพระอาจารย์สุก ได้ไมเท้ามาแล้ว ท่านก็เอาไม้เท้า๓ อันมัดมากับ รัดประคตอก ส่วนไม้เท้า ไผ่ยอดตาล ของท่านพระราหุลเถรเจ้า ท่านใช้ถือเบิกไพร ย่นระยะทาง กลับมา วัดท่าหอย ท่านได้เอาไม้เท้าของสำคัญมาเก็บไว้ โดยไม่มีใครรู้ แล้วท่านก็ออกป่าไปใหม่ หลังจากพระอาจารย์สุกท่านได้อิทธิวิธญาณแล้ว ปีหนึ่งๆ ท่านออกรุกขมูลหลายครั้ง ไปเร็ว มาเร็ว เมื่อไม่มีเหตุการณ์อะไร ที่วัดท่าหอย หรือเหตุการในป่าที่พระอริยาจารย์เรียกท่านไป ท่านจะไม่ใช้อิทธิวิธญาณ พระองค์ท่านจะเดินไปธรรมดา สะสมบารมี เมื่อพระองค์ท่าน กลับมาวัดท่าหอยแล้ว พระภิกษุ สามเณร และบรรดาญาติโยมแลเห็นพระองค์ท่านเป็นเพียงพระสงฆ์ธรรมดาเท่านั้น เพราะพระองค์ท่าน ไม่แสดงอะไรให้ ผู้คนทั้งหลายเห็นพระอาจารย์สุก ท่านไม่ต้องแสวงหาพระอาจารย์ แต่จะมีพระอาจารย์คอยให้ท่านพบ เพราะท่านจะต้องเป็นผู้สืบพระศาสนาต่อไป

    ต่อมาเมื่อพระ อาจารย์สุก มาจำพรรษาที่วัดราชสิทธาราม (พลับ) กรุงเทพแล้วท่านได้ใช้ไม้เท้า ไผ่ยอดตาล ของท่านพระราหุลเถรเจ้า ถือประจำกายในวัดเสมอๆ เมื่อพระองค์ท่านสิ้นพระชนม์แล้ว ไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาลก็ตกมาถึงทายาท พระอาจารย์กรรมฐานของท่าน ดังนี้
    ๑.พระวินัยรักขิต (ฮั่น)
    ๒.ท่านเจ้าคุณหอไตร (ชิต)
    ๓.พระครูวินัยธรรมกัน
    ๔.พระญาณสังวร (ด้วง)
    ๕.พระญาณสังวร (บุญ)
    ๖.พระญาณโยคาภิรัต (มี)
    ๗.พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)
    ๘.พระสังวรานุวงเถร (เอี่ยม)
    ๙.พระสังวรานุวงศ์ (ชุ่ม)
    ๑๐.พระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ)
    ๑๑.พระครูญาณสิทธิ (เชื้อ)
    ๑๒.พระครูปัญญาวุธคุณ (สำอาง ปัญญาวุโธ น.ธ.โท)
    ส่วน ใหญ่พระอาจารย์กรรมฐาน รุ่นหลังๆ ไม่ได้ใช้ไม้เท้าไผ่ยอดตาลของพระราหุลเถรเจ้า เพียงประดิษฐานไว้บนแท่นบูชาหน้าพระประธานฯ ปัจจุบันไม้เท้าไผ่ยอดตาลนี้ พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร ได้เก็บอนุรักษ์ และจัดไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ ณ อาคารคณะ ๕ วัดราชสิทธาราม จัดเป็นบริโภคเจดีย์ เพื่อให้สาธุชน กราบไหว้บูชาต่อไปกล่าวว่า ไม้เท้าเบิกไพรไผ่ยอดตาล ของพระสาวก แต่ละองค์ ถือเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เป็นของสืบทอดต่อๆมา จนกว่าจะสิ้นอายุศาสนา ของพระพุทธโคดม

    สามารถอัพเดทข้อมูลที่น่าสนใจ ด้วยการ "ถูกใจ" แฟนเพจ Facebook ได้ที่

    เวทาสากุ (กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ วัดราชสิทธาราม)
     
  3. ระกาแก้ว

    ระกาแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ที่มาของคำว่า "กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ"

    ทุติยสังคายนา
    ปรารภเรื่องภิกษุวัชชีบุตร แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวนให้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป ใน ๗๐๐ รูปนั้นมี พระมันลิกะเถรเจ้า รวมอยู่ด้วย พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามี เป็นผู้วิสัชชนา ประชุมทำที่วาสิการาม เมืองเวสาลี
    เมื่อพุทธกาลล่วงแล้วได้ ๑๐๐ ปี โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก ทำสิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จพระมันลิกะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ให้แก่สัทธิวิหาริกสืบต่อมา คือ พระโสณกะเถรเจ้า พระโสณกะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา ให้กับ พระสิคควะเถรเจ้า และพระจัณฑวัชชีเถรเจ้า พระสิคควะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระโมคลีบุตรติสสะเถรเจ้า และพระโสนันตะเถรเจ้า พระจัณฑวัชชี บอกพุทธพจน์ให้กับ พระโมคคัลลีบุตติสสะเถรเจ้า และพระโสนันตะเถรเจ้า พระโมคลีบุตรติสสะเถรเจ้า ขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระโสณเถรเจ้า และพระอุตระเถรเจ้า และให้สอบอารมณ์กับ พระโสนัตตเถรเจ้า ต่อมาพระโสณเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระชาลตะเถรเจ้า พระกิตตระเถรเจ้า พระภูริยะเถรเจ้า พระ อุตระเถรเจ้า บอกกรรมฐานให้กับ พระญาณเถรเจ้า พระมหาเถรทั้ง ๔ พระองค์ได้เข้าร่วม ตติยสังคายนา คือ ๑.พระโมคคัลลีบุตติสสะ ๒.พระโสนันตะเถร ๓.พระโสณเถร ๔.พระอุตรเถร

    [​IMG]

    พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล ครั้งตติยสังคายนา
    พุทธกาล ล่วงแล้วได้ประมาณ ๒๑๖ ปี ก่อนตติยสังคายนา จึงหมดพระกรรมฐานแบบสันโดดคือ การเจริญพระกรรมฐานแบบกองใดกองหนึ่ง อย่างใด อย่างหนึ่ง ของพระมหาสาวกทั้งหลาย เหลือแต่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นพระกรรมฐานทางสายกลาง ของพระราหุลเถรเจ้า

    เหตุที่เรียกพระ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
    เพราะ เป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกันเพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ (คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศทาง เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถรเจ้า

    ตติย สังคายนา ปรารภเดียรถีย์มากมาย ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา เพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป พระโมคคลีบุตรติสสะเถรเป็นประธาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๑๑๘ พรรษา (ชนมายุ ๑๒๐ ปีจึงเข้านิพพาน) ประชุมทำสังคายนากันที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๔ โดยพระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภพ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ

    พระโม คคลีบุตรติ สสะเถรเจ้า ประสูติในเรื่อนของ นางโมคคลีพราหมณ์ ได้นามว่า ติสสะมานพ ชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระสิคควะเถร นำติสสะมานพ ออกบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเรียน พุทธมนต์ ติสสะมานพ บรรพชาแล้ว ได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา เบื้องต้น มีปีติทั้งห้า พระยุคลทั้งหก สุขสมาธิสองให้สามเณรติสสะ เธอทำบริกรรม พุทโธ ในห้องพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นอยู่ ละสักกายทิฎฐิ ละความสงสัยพระรัตนไตร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
    พระอาจารย์ คิดว่า ถ้าบอกพระกรรมฐานเพิ่มให้แก่สามเณรติสสะ เธอจะมีความขวนขวายน้อย ในการที่จะเรียนเอา พุทธพจน์
    พระ สิคควะเถร จึงส่งสามเณรติสสะ ไปเรียนพุทธพจน์ จาก พระจัณฑวัชชีเถรเจ้า ติสสะสามเณร ได้เรียนเอาพุทธพจน์นั้นทั้งหมด ยกเว้นวินัยปิฎก อุปสมบทแล้วยังไม่ได้พรรษา ทรงพระไตรปิฎก ครั้นพระอาจารย์ และอุปัชฌายะ นิพพานแล้ว ทรงเจริญกรรมฐานมัชฌิมาต่อจนจบตามลำดับ และบรรลุพระอรหันต์ และได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา และพระพุทธพจน์ ธรรมวินัย แก่ภิกษุเป็นจำนวนมาก พระโมคคลีบุตรติสสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ ของพระมหินท์เถรเจ้า พระโสณเถรเจ้า พระอุตรเถรเจ้า


    ที่มา (ตัดตอนจาก) ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
    สืบต่อมาจนถึง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร เรียบเรียง.



    สามารถอัพเดทข้อมูลที่น่าสนใจ ด้วยการ "ถูกใจ" แฟนเพจ Facebook ได้ที่

    เวทาสากุ (กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ วัดราชสิทธาราม)
     
  4. ระกาแก้ว

    ระกาแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ความเป็นมาของกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ

    ความเป็นมาของกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน (สุก) พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคยุครัตนโกสินทร์



    ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๕๖-๒๗๔ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งคณะพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พร้อมพระสงฆ์ทศวรรค เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ไทย พม่า ลาว เขมร ในปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ได้สืบทอดพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย สืบกันเรื่อยมา จวบจนถึงปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ที่อยู่วัดใกล้บ้าน เรียกว่าพระสงฆ์คามวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดในป่า เรียกว่าพระสงฆ์อรัญวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสี และวัดอรัญวาสี ต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติ และปฏิบัติควบคู่กันไป ไม่ มีการแบ่งแยกทางการศึกษา ว่าจะศึกษาทางไหนก่อนหลัง แต่ถ้าจะศึกษาทางปฏิบัติต้องไปยังสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ อันเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติพระกรรมฐาน เจริญภาวนา ในยุคต่างๆ เช่น

    ยุคสุวรรณภูมิ สำนักกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือวัดท้าวอู่ทอง เมืองสุวรรณสังข์ (เมืองอู่ทอง) มีพระโสณเถร พระอุตรเถร เป็นเจ้าสำนัก และเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคสุวรรณภูมิ

    ยุคกรุงศรีทวาราวดี สำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่คือ วัดแสนท้าวโคตร กรุง ศรีทวาราวดี มีพระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางของพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรศรีทวาราวดี สำนักเล็ก คือ วัดพญาราม ศรีทวาราวดี วัดสุวรรณาราม กรุงศรีทวาราวดี ฯ
    ยุคศรีทวาราวดี พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร)

    ยุคกรุงสุโขทัย สำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่คือ วัดป่าแก้ว มีพระวันรัตมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรสุโขทัยสำนักพระกรรมฐานเล็กในยุคสุโขทัยเช่น วัดป่ารัตนา พระครูญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก วัดสุทธาวาส พระครูญาณสิทธิ เป็นเจ้าสำนักฯ

    ยุคสุโขทัย พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือ พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์)

    ยุคกรุงศรีอยุธยา วัดป่าแก้ว หรือ เรียกกันอีกอย่างว่า วัดเจ้าพญาไท เป็นสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ พระพนรัตน พระสังฆราช ฝ่ายซ้าย เป็นพระอาจารย์ใหญ่ เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรอยุธยา มีสำนักพระกรรมฐานเล็กๆสิบกว่าวัด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถร เป็นเจ้าสำนัก ๑วัดโบสถ์ราชเดชะ พระพุทธาจารย์ เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดโรงธรรมพระญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก๑ วัดกุฎ พระอุบาลี เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดเจ้ามอน พระญาณโพธิ เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดประดู่ พระธรรมโกษา เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดกุฎีดาว พระเทพมุนี เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดสมณะโกฎ พระเทพโมฬี เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดมเหยงค์ พระธรรมกิติ เป็นเจ้าสำนัก๑ ฯ นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกรรมฐานมาก เปรียบเทียบได้ว่ามี มหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนามาก

    ยุคอยุธยา พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคคือ พระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า พระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี

    ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มี วัดอรัญวาสีสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ ๑วัด คือวัดราชสิทธาราม(พลับ) สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก) เป็นเจ้าสำนัก เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ วัดราชสิทธารามจึงเป็นศูนย์กลางของกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ มีสำนักเล็กคือ วัดราชาธิวาส พระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) เป็นเจ้าสำนัก

    ยุครัตนโกสินทร์ พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน (สุก) จึง นับได้ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ มีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐาน ทางพระพุทธศาสนาเพียง ๒ แห่งสำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้น เมื่อพระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) มรณภาพลงแล้วพระ กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ก็เสื่อมลงเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้ว มีแบบแผนใหม่เข้ามาแทนที่ เนื่องจากอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า(ฝั่งกรุงเทพฯ) ด้วยความเจริญของสมัยใหม่เข้ามาเร็ว และไม่มีการบำรุงรักษา แบบแผนเดิมไว้ต่อ มาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม(พลับ) เพียงวัดเดียว ที่รักษาแบบแผน และความเป็นสำนักพระกรรมฐานใหญ่ สำนักพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับเป็นหลักแทนวัดแสนท้าวโคตร ยุคทวาราวดี แทนวัดป่าแก้ว ยุคสุโขทัย แทนวัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ไว้ได้ยาวนานที่สุด ซึ่งแต่ละยุคมีการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา เป็นแบบเดียวกัน เป็นทางเดียวกัน จน กระทั้งถึงบัดนี้ โดยมีพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบทอดมาโดยไม่ขาดสาย ไม่ขาดระยะมาถึง ๑๒ รุ่น บางยุคก็เจริญ บางยุคก็เสื่อมลงบ้าง เป็นไปตามหลักของพระไตรลักษณ์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้นำสืบทอดมาจากกรุงศรีอยุธยา สู่กรุงรัตนโกสินทร์ โดยการนำมาประดิษฐานของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซึ่ง ต่อมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ ในปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ ทรงมีพระราชดำริว่า พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของเก่าดั่งเดิม กำลังจะแตกกระจาย ไปเป็นสายต่างๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการศึกษาพระกรรมฐานภาคปฏิบัติจะไม่เป็นระเบียบแบบแผน เป็นลำดับเหมือนแต่ก่อน ว่าพระกรรมฐานไหน ควรเรียนก่อน กรรมฐานไหน ควรเรียนหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาล ที่ ๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการชุมนุมพระอริยสงฆ์สมถะ-วิปัสสนา ทั้งนอกกรุงในกรุง ทำการสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อรักษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มิให้แตกกระจาย สูญหาย ทำให้เป็นปึกแผ่นเหมือนดังแต่ก่อน สังคายนาโดยพระอริยสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับโดยมีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุกไก่เถื่อน) เป็นองค์ประธานสังคายนาฝ่ายสงฆ์ เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระสงฆ์ ปะขาว ชีไปเป็นพระอาจารย์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    ตามพระอารามต่างๆ พระกรรมฐานมัชฌิมา จึงได้สืบทอดมาจนทุกวันนี้พระกรรมฐานนั้นมี ๒ ภาค

    ๑. พระกรรมฐานภาคปริยัติ คือเรียนรู้ได้ตามพระคัมภีร์ ได้แก่ พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระคัมภีร์มูลกรรมฐาน
    ๒. พระกรรมฐานภาคปฏิบัติคือ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบทอดมาโดยการประพฤติปฎิบัติ และทรงจำสืบๆต่อกันมา โดยไม่ขาดสาย เพื่อป้องกันอุปาทานและทางเดินของจิตเสีย

    เมื่อเรียนภาคปฏิบัติจบตามขั้นตอนแล้ว จึงจะเรียนพระกรรมฐานภาคปริยัติ คือการอ่าน พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์มูลกรรมฐาน เพื่อนำความรู้ทางจิต ออกมาเป็นคำพูด เพื่อทำความเข้าใจ ได้อย่างถูกต้อง และอธิบายให้ได้ใจความ


    สามารถอัพเดทข้อมูลที่น่าสนใจ ด้วยการ "ถูกใจ" แฟนเพจ Facebook ได้ที่

    เวทาสากุ (กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ วัดราชสิทธาราม)
     
  5. ระกาแก้ว

    ระกาแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (ฉบับย่อ)



    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ อยู่ใน ตำแหน่ง ๒ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา
    พระองค์ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๖ พระชนกพระนามว่า เส็ง พระชนนีพระนามว่า จีบ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อเจริญวัยพระองค์ได้ทรงบรรพชากับท่านขรัวตาทอง ที่วัดท่าหอย โดยพระองค์ท่านได้ทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นประมาณ ๕ พรรษา ทรงลาสิกขาออกมาเพื่ออุปัฏฐากพระชนกพระชนนี
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๒๙๗ พระชนมายุครบบวช พระองค์ได้ทรงอุปสมบทที่วัดโรงช้าง โดยมีพระครูรักขิตญาณ(สี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับการถวายพระนามว่า พระปุณณะปัญญาภิกขุ ที่นี่พระองค์ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาฯ กับพระอาจารย์ใหญ่ คือ พระพนรัต (แก้ว) วัดป่าแก้ว และได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชาวาสจนมีความรู้แตกฉาน ล่วงไป ๗ พรรษาท่านได้รับนิมนต์กลับมาจำพรรษาที่วัดท่าหอย และได้ทรงรับเป็นพระอธิการวัดท่าหอยในปีนั้นเอง
    เวลาล่วงไป ๒ แผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดให้นิมนต์พระองค์ท่านมายังกรุงเทพฯ ด้วยพระองค์ทรงเป็นเคยพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตั้งแต่ยังอยู่ที่วัดท่าหอย ได้จำพรรษาที่วัดพลับ(วัดราชสิทธาราม) ซึ่งเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรีมาแต่เดิม โดยให้เป็นที่พระญาณสังวรเถร
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือเป็นอันมากของพระบรมราชวงศ์มาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ปรากฏนามพระญาณสังวรเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทบทุกพระองค์ ทำให้การศึกษาพระกรรมฐานฯ ในยุคของพระองค์ท่านรุ่งเรืองมาก พระองค์จึงได้ทรงวางรากฐานการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นสืบมา
    พระองค์ได้รับ สถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอีก ๔ ปีต่อมา คือในปี พ.ศ.๒๓๖๓ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๑ ปีกับ ๑๐ เดือน ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๖๕ มีพระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพ หลังพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ได้โปรดให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่งบริเวณ ด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการะบูชาตลอดจนสานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้.

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)​


    พระประวัติสมเด็จฯ ฉบับย่อ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ฉบับย่อ | Somdechsuk.org
    พระประวัติสมเด็จฯ ฉบับย่อ (PDF) http://www.somdechsuk.org/downloads/bio_somdechsuk_brief.pdf
    พระประวัติสมเด็จฯ ฉบับพิศดาร (PDF) http://www.somdechsuk.org/downloads/bio_somdechsuk_full.pdf


    สามารถอัพเดทข้อมูลที่น่าสนใจ ด้วยการ "ถูกใจ" แฟนเพจ Facebook ได้ที่

    เวทาสากุ (กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ วัดราชสิทธาราม)
     
  6. ระกาแก้ว

    ระกาแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอเชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรม ประจำเดือนมิถุนายน

    ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่25-26 มิถุนายน พ.ศ. 2554
    ลงทะเบียน วันเสาร์ที่25 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 09.00- 10.00น.
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
    (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ) โทร. 084-651-7023
    รถประจำทาง สาย 19 40 56 57 149 ผ่านซอยอิสรภาพ 23


    กำหนดการ เดือนมิถุนายน 54

    วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2554 แรม 9 ค่ำ เดือน 7
    เวลา 09.00-10.00 ลงทะเบียน รับประทานอาหารเช้า
    เวลา 10.000-11.00 รับศีล ขึ้นกรรมฐาน รับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00-14.00 ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ
    เวลา 14.00-16.30 เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ ทำธุระส่วนตัว
    เวลา 16.30-17.00 ทำวัตรเย็น ปฏิบัติธรรม เข้านอน


    วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2554 แรม 10 ค่ำ เดือน 7
    เวลา 06.30-07.00 ทำวัตรเช้า รับประทานอาหารเช้า
    เวลา 07.000-11.00 นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม รับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00-14.00 ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ
    เวลา 14.00-16.30 เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ ทำธุระส่วนตัว
    เวลา 16.30-17.00 ทำวัตรเย็น ลาศีล กลับบ้าน


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2011
  7. ระกาแก้ว

    ระกาแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ๔ ช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติธรรมจากวัดราชสิทธาราม (พลับ)

    ๔ ช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติธรรมจากวัดราชสิทธาราม


    ๑. เว็บไซต์ เวทาสากุ somdechsuk.org

    รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ อาทิ
    สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร ทำเนียบเจ้าอาวาส ทำเนียบกรรมฐาน ประวัติพระครูสิทธิสังวร เรื่องกรรมฐาน พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ไม้เท้าพระราหุล ไม้เท้าพระพุทธเจ้า ตำนานพระฤาษี พระเครื่องวัดพลับ รวมลิงก์ธรรม
    แผนที่และข้อมูลติดต่อ
    ตลอดจนวิธีการเจริญกรรมฐานเบื้องต้น รวมทั้ง กระดานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาที่วัดพลับ

    ๒. เว็บไซต์ เวทาสากุ somdechsuk.com

    รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ อาทิ สมเด็จ พระสังฆราชไก่เถื่อน ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร ทำเนียบเจ้าอาวาส ทำเนียบกรรมฐาน ประวัติพระครูสิทธิสังวร เรื่องกรรมฐาน พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ไม้เท้าพระราหุล ไม้เท้าพระพุทธเจ้า ตำนานพระฤาษี พระเครื่องวัดพลับ รวมลิงก์ธรรม
    แผนที่และข้อมูลติดต่อ
    ตลอดจนวิธีการเจริญกรรมฐานเบื้องต้น รวมทั้ง กระดานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาที่วัดพลับ

    ๓. แฟนเพจ Facebook
    เวทาสากุ (กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ วัดราชสิทธาราม)

    เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่เข้าถึงพุทธศาสนิกชนมากขึ้น ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เพื่อกระตุ้นให้พุทธศาสนิกชนผู้สนใจใฝ่รู้ได้ทราบถึงข้อมูลเบื้องต้น ก่อนมาปฏิบัติพระกรรมฐาน ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการปฏิบัติ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมเป็นแฟนเพจ โดยการเข้าไปที่หน้าเพจ เวทาสากุ (กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ วัดราชสิทธาราม)(สำหรับสมาชิก Facebook) แล้วกด "ถูกใจ" หรือ "Like" ที่หน้าเพจ เพียงเท่านี้ ท่านก็จะได้รับข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับกรรมฐานวัดพลับ ในหน้า Feed ข่าวของท่าน

    ๔. เว็บพลังจิต ดอทคอม PaLungJit.com > พุทธศาสนา > อภิญญา - สมาธิ > กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2011
  8. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107
    เชิญเข้าปฏิบัติธรรม
    วันที่ 25-26 มิ.ย. 54 วัดราชสิทธาราม(วัดพลับ)
    (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)

    ขอเชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรม
    ประจำเดือนมิถุนายน
    ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ ที่25-26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

    ลงทะเบียน วันเสาร์ที่25 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 09.00- 10.00น.

    คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

    รถประจำทาง สาย 19 40 56 57 149 ผ่านซอยอิสรภาพ 23

    โทร. 084-651-7023,02-465-2552

    ------------------------------------------------------------------------------


    กำหนดการ เดือนมิถุนายน 54

    วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2554 แรม 9 ค่ำ เดือน 7

    เวลา 09.00-10.00 ลงทะเบียน รับประทานอาหารเช้า

    เวลา 10.000-11.00 รับศีล ขึ้นกรรมฐาน รับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา 13.00-14.00 ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ

    เวลา 14.00-16.30 เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ ทำธุระส่วนตัว

    เวลา 16.30-17.00 ทำวัตรเย็น ปฏิบัติธรรม เข้านอน



    วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2554 แรม 10 ค่ำ เดือน 7

    เวลา 06.30-07.00 ทำวัตรเช้า รับประทานอาหารเช้า

    เวลา 07.000-11.00 นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม รับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา 13.00-14.00 ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ

    เวลา 14.00-16.30 เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ ทำธุระส่วนตัว

    เวลา 16.30-17.00 ทำวัตรเย็น ลาศีล กลับบ้าน

    ---------------------------------------------------------------------------

    รายละเอียดเพิ่ม และแผนที่ไปวัด
    เชิญคลิก
    เข้าปฏิบัติธรรม วันที่ 25-26 มิ.ย. 54 วัดราชสิทธาราม(พลับ) สมัครที่คอลัมน์ " แสดงความคิดเห็น" (รับ30


    :cool::cool::cool:
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]คำอาราธนาพระกรรมฐาน [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]และบททำวัตรกรรมฐาน[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] นี้[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เป็นธรรมเนียมอุบายการแสดงกตัญญูตาบูชานอบน้อมพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งระลึกสูงสุด ด้วยถ้อยอักขระอันสละสลวยลึกซึ้ง อันสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สำหรับผู้เริ่มแรกเรียนพระกรรมฐานมัชฌิมา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]แบบ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ลำดับ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ฝ่ายเถรวาท[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]และธรรมปฏิบัติ อย่างเป็นแบบแผนไว้แต่เมื่อครั้งปฐมสังคายนา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]และมีการนับถือแพร่หลายในเขตประเทศภูมิภาคสุวรรณภูมิ อาทิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ไทย[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พม่า[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ลังกา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ลาว[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]และกัมพูชา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อันสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถร[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สุก[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ไก่เถื่อน[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] ท่านได้ทรงรักษาแบบแผนเพื่อการสืบดำรงแนวปฏิบัติพระบวรพุทธศาสนาไว้ตราบนาน [/FONT]




    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]บททำวัตร[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นะโม ตัสสะ ภะคภวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุททธัสสะ (ว่า ๓ หน)<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ[/FONT]<o></o>

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จะระณะสัมปันโน สุคะโต [/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ [/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ภะคะวาติ ฯ[/FONT]

    <o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เย จะ พุทธา อะตีตา จะ, เย จะ พุทธา อะนาคะตา,<o></o>[/FONT]

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปัจจุปปันนา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เย[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พุทธา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อะหัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วันทามิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สัพพะทา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พุทธานาหัสมิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ทาโสวะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พุทธา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สามิกิสสะรา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พุทธานัญ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สิเร[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปาทา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มัยหัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ติฎฐันตุ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สัพพะทาฯ[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นัตถิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สะระณัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อัญญัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พุทโธ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สะระณัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วะรัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ, โหตุ เม ชัยมังคะลัง ฯ<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อุตตะมังเคนะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วันเทหัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปาทปังสุง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วะรุตตะมัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พุทโธ โย ขะลิโต โทโส, พุทโธ ขะมะตุ ตัง มะมัง ฯ[/FONT]

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กราบแล้วหมอบลงว่า[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]



    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า แลคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน แลข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้า เป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาททั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าด้วยคำสัจนี้เถิด <o></o>[/FONT]

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อนึ่ง โทษอันใด ข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็น อดีต อนาคตปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษ ทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ[/FONT]<o></o>

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กราบ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]


    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิ ฯ[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เย[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมมา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อะตีตาจะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เย[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมมา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อะนาคะตา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปัจจุปปันนา จะ เย ธัมมา, อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมมานาหัสสมิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ทาโสวะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมมา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สามิกิสสะรา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สัพเพ ธัมมาปิ ติฏฐันตุ, มะมัง สิเรวะ สัพพะทาฯ<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นัตถิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สะระณัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อัญญัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมโม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สะระณัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วะรัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, โหตุ เม ชัยมังคะลัง ฯ<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อุตตะมังเคนะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วันเทหัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมมัญ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ทุวิธัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วะรัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมเม โย ขะลิโต โทโส, ธัมโม ขะมะตุ ตัง มะมังฯ<o></o>[/FONT]

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กราบแล้วหมอบลงว่า[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]


    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า แลคุณพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระ ธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่ พึ่งแก่ข้า ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็น อดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้า เป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กราบ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]) [/FONT]




    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สังฆัง ชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ[/FONT]

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เย จะ สังฆา อะตีตา จะ เย จะ สังฆา อะนาคะตา<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปัจจุปปันนา จะ เย สังฆา อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สังฆานาหัสสะมิ ทาโสวะ สังฆา เม สามิกิสสะรา<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เตสัง คุณาปิ ติฏฐันตุ มะมัง สิเรวะ สัพพะทา ฯ<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เอเตนะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สัจจะวัชเชนะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]โหตุ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ชัยมังคะลังฯ[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อุตตะมัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เคนะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วันเทหัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่], [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สังฆัญ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ทุวิโทตตะมัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่],<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สังเฆ โย ขะลิโต โทโส สังโฆ ขะมะตุ ตัง มะมัง ฯ[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](หมอบกราบแล้วว่า)[/FONT]



    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]<o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยะสงฆ์เจ้า แลคุณพระอริยะสงฆ์เจ้า ในอดีตอนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน แลข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยะสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยะสงฆ์เจ้า ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้า เป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าฯแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยะสงฆ์เจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ ข้าพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ[/FONT]<o></o>

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กราบ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]




    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่][​IMG][/FONT]




    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]<o></o>
    [/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]บทกรวดน้ำ อิมินา[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กรวดน้ำตอนเย็น[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])<o></o>[/FONT]

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อุททิสสนาธิฏฐานคาถา[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](หันทะ มะยัง อุทิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส.) [/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]<o></o>[/FONT]

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อิมินา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปุญญะกัมเมนะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ด้วยบุญนี้อุทิศให้)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อุปัชฌายา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]คุณุตตะรา [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](อุปัชฌาย์[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ผู้เลิศคุณ)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อาจาริยูปะการา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]แลอาจารย์เพื่อเกื้อหนุน[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] <o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มาตาปิตา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ญากะตา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปิยา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มะมัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]) [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ทั้งพ่อ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]แม่[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]และปวงญาติ)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สุริโย[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จันทิมา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ราชา [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](สูรย์จันทร์[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]แลราชา)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]คุณะวันตา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นะราปิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ผู้ทรงคุณ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]หรือผู้สูงชาติ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พรัหมะมารา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อินทา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](พรหม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มาร[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]แลอินทะราช)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]โลกะปาลา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เทวะตา [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ทั้งทวยเทพ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]แลโลกบาล[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ยะโม[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มิตตา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มะนุสสา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ยมราช[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มนุษย์มิตร[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]) [/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มัชฌัตตา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เวริกาปิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ผู้เป็นกลาง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ผู้จองผลาญ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สัพเพ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สัตตา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สุขี[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]โหนตุ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ขอให้[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เป็นสุขศานต์[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ทุกทั่งหล้า[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อย่าทุกข์ทน)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปุญญานิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปะกะตานิ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](บุญผองที่ข้าฯทำ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จงช่วยอำนวยผล[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] <o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สุขัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ติวิธัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เทนตุ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ให้สุข[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สามอย่างล้น[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ขิปปัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปาเปถะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]โว[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มะตัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ฯ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ให้ลุถึงนิพพานพลัน[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อิมินา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปุญญะกัมเมนะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ด้วยบุญนี้ที่เราทำ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อิมินา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อุททิเสนะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](แลอุทิศ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ให้ปวงสัตว์[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] <o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ขิปปาหัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สุละเภ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เจวะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](เราพลันได้[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ซึ่งการตัด[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] <o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ตัณหุปาทานะเฉทะนัง [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ตัวตัณหา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อุปาทาน)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เย[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สันตาเน[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]หินา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมมา [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](สิ่งชั่ว[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ในดวงใจ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] <o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ยาวะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นิพพานะโต[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มะมัง [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]([/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กว่าเราจะถึงนิพพาน[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นัสสันตุ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สัพพะทา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เยวะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](มลายสิ้น[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จากสันดาน[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ยัตถะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ชาโต[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ภะเว[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ภะเว [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ทุกๆ ภพที่เราเกิด[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อุชุจิตตัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สติปัญญา [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](มีจิตตรง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]และสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] <o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สัลเลโข[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วิริยัมหินา [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](พร้อมทั้ง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ความเพียรเลิศ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เป็นเครื่องขูดกิเลสหาย[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มารา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ละภันตุ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]โนกาสัง [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](โอกาส[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]อย่าพึงมีแก่หมู่มาร[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สิ้นทั้งหลายฯ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่])[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]กาตุญจะ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วิริเยสุ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เม [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](เป็นช่อง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] ประทุษร้าย)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]พุทธาทิปะวะโร[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นาโถ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ทำลายล้าง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] ความเพียรจม)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ธัมโม นาโถ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]วะรุตตะโม [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](พระธรรมที่[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] พึ่งอุดม)[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] <o></o>[/FONT]
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นาโถ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ปัจเจกะพุทโธ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]จะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](พระปัจเจ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] กะพุทธสม-)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]สังโฆ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]นาโถตตะโร[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มะมัง [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ทบพระสงฆ์[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] ที่พึ่งผยอง)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]เตโสตตะ มานุภาเวนะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ด้วยอา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] นุภาพนั้น)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มาโรกาสัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ละภันตุ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มา[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ฯ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ขอหมู่มาร[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] อย่าได้ช่อง)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]ทะสะปุญญานุภาเวนะ [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](ด้วยเดชบุญ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] ทั้งสิบป้อง)[/FONT]<o></o>
    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]มาโรกาสัง[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] ละภันตุ มา [/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่](อย่าเปิดโอ[/FONT][FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่] กาสแก่มาร เทอญ)[/FONT]
    <o></o>

    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่]-----------------------[/FONT]


    [FONT=พส. พิมพ์ดีด ๒ ใหม่][MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1512717/[/MUSIC]<o></o>[/FONT]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2011
  10. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    คำประกาศเกียรติคุณ

    [​IMG]
    พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร)
    ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ(สาขาวิชาปรัชญา)



    พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร) เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2492 ณ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอายุ 60 ปี ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ฝ่ายเผยแผ่และเจ้าคณะ 5 วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

    ในฐานะพระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาจารย์สอนกรรมฐานได้ทุ่มเทสติปัญญาในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เผยแผ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามแนวสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) มาโดยตลอด นับตั้งแต่เรียบเรียงคู่มือทำวัตรพระกรรมฐาน พระประวัติ สมถะมัชฌิมา วิปัสสนามัชฌิมา ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ฯลฯ และได้สร้างพิพิธภัณฑ์กรรมฐานสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) เพื่อเก็บรักษาสิ่งของอันเป็นวัตถุโบราณอันล้ำค่า เช่นคัมภีร์พระกรรมฐานและยันต์โบราณ (ใบลาน) จัดการศึกษาอบรมเผยแผ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แก่ภิกษุ สามเณร ประชาชนทั่วไป เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกด้านปรัชญาและโบราณคดีให้กับนักศึกษาปริญญาเอกจากประเทศฝรังเศสและประเทศอังกฤษ

    นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งทุนการศึกษาและมอบทุนการศึกษาสงเคราะห์แก่คณะสงฆ์และนักเรียนเป็นประจำ จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในวันสำคัญต่างๆ จัดค่ายฝึกอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนโรงเรียนวัดราชสิทธารามเป็นประจำทุกปี เป็นวิทยากรเทศนาอบรมธรรมะ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมทั้งบริจาคเงินค่าวิทยากรทั้งหมด แก่มูลนิธิรังสรรค์ แสงสุข

    โดยเหตุที่พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร) เป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ (สาขาวิชาปรัชญา) เพื่อเป็นเกียรติสืบไป

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------

    ที่มา คำประกาศเกียรติคุณ | Somdechsuk.org

    :cool::cool::cool:
     
  11. ระกาแก้ว

    ระกาแก้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทรงเป็นครั้งแรก ของกรุงรัตนโกสินทร์


    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน​


    สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทรงเป็นครั้งแรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ หลายอย่าง หลายประการ


    • ทรงเป็นพระอาจารย์ พระองค์แรก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ทรง อาราธนามากรุงเทพฯ
    • ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นที่ พระญาณสังวรเถร พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็น พระราชาคณะผู้ใหญ่ ที่ พระญาณสังวร พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็นเจ้าอาวาส พระองค์แรก ของวัดราชสิทธาราม ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญาณสังวร พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระองค์แรกที่นั่งหน้า สมเด็จพระสังฆราช องค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีพรรษากาลมากกว่า
    • ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มาจาก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็นองค์ประธานสังคายนาพระกรรมฐาน พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็นพระสงฆ์ และสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรก ที่ได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่
    • ทรงได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็น พระองค์แรก ทีมีลูกศิษย์ เป็นพระสังฆราชถึง ๕ พระองค์
    • ทรงเป็น พระองค์แรก ที่มีลูกศิษย์ เป็นสมเด็จราชาคณะ ถึง ๑๐ พระองค์
    • พระเจ้าแผ่นดินทรงให้ช่างปั้นรูปเหมือนของพระองค์เป็น พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูง พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าแผ่นดินถึง ๔ พระองค์เป็น พระองค์แรกและองค์สุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่พระอัฏฐิธาตุ พระเกสาธาตุ พระอังคารธาตุแปรเป็นพระธาตุ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงพระราชทานฉัตรเจ็ดชั้น เมื่อคราวออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง เป็น พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงได้รับพระราชทาน พัดสองด้าม พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ๑พัดงาสาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ๑ ครั้งเป็นสมเด็จราชาคณะ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงได้รับพระราชทาน พัดสองด้าม พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ ๑ พัดงาสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ ๑ครั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงถือเป็นประเพณีสืบมา ทรงโปรดพระราชทานสมเด็จพระสังฆราช องค์ต่อมาด้วย มายกเลิกในรัชกาลที่๕
    • ทรงพระราชทาน ผ้ารัดประคตพระอุระ (อก) หนามขนุนสีทองพระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
    • ทรงพระราชทานของที่ระลึก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงสามพระองค์เป็น พระองค์แรก ของกรุง รัตนโกสินทร์ ทรงถวายพระตระ-กรุตมหาจักรพรรคิ์ และสมเด็จพระอรหัง แด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ ถวายสมเด็จพระอรหัง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓
    • ทรงเป็นพระสงฆ์ปาปมุต พ้นจากบาปทั้งปวง พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนองค์ที่ ๒ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)



    [​IMG]
    พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ​
     
  12. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)



    สอนครบ ทั้งสมถกรรมฐานให้ครบทั้ง 40 กอง

    วิปัสสนากรรมฐาน คือ มหาสติปัฏฐานครบทั้ง 4 หมวด
    และยอดวิชาแห่งการเจริญเมตตาธรรม คือ ออกบัวบานพรหมวิหาร



    โดยมีวิธีการสอนที่เป็นขั้นตอน เป็นไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้นตอน
    ตามสภาวะจิตจากหยาบไปละเอียดจนถึงที่สุดแห่งธรรม​

    -----------------------------------------------------------





    ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ





    <O:pสมถะกรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ
    รูปกรรมฐาน ตอน ๑
    <O:p๑.ห้องพระปีติห้า
    <O:p๒.ห้องพระยุคลหก
    <O:p๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    <O:pพระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต
    จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

    <O:p<O:p
    รูปกรรมฐาน ตอน ๒
    <O:p๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน<O:p</O:p
    ๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
    <O:p๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
    <O:p๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
    <O:p๘.ห้องปัญจมฌาน
    <O:pห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน<O:pกายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    <O:pพระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ <O:pเจริญปัญจมฌาน
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกายคตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์<O:pมากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

    <O:p<O:p
    อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
    <O:p๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
    <O:p๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
    <O:p๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา<O:p
    ๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
    <O:p๑๓.ห้อง อรูปฌาน
    <O:pตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม <O:pจิตได้สภาวธรรมเต็มที่
    การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น


    เมื่อจะขึ้นวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด
    ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา
    <O:p




    (จบสมถะ)


    <O:p
    วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ
    <O:p๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน<O:p
    ๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓<O:p
    ๓.พระอนุวิปัสสนา ๓<O:p
    ๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ<O:p
    ๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
    ๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐<O:p
    ๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา<O:p
    ๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ<O:p
    ๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน





    <O:p
    (จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)





    ---------------------------------------------------------------------------------------------------




    ขอบพระคุณที่มา
    เว็บสมเด็จสุก
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ


    :cool::cool::cool:<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...