กตัญญู กตเวที ในสถาบันพระมหากษัตริย์ และ พุทธศาสนา คือ หนึ่งในสถาบันพระมหากษัตริย์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 18 มิถุนายน 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ความกตัญญู คือ รู้คุณ ย่อมเป็นสภาพสภาวะจิตใจ ที่มีอยู่ในมนุษย์เป็นพื้นฐานที่ได้รับการขัดเกลาทางสังคมมาตั้งแต่เริ่มเกิดมีมนุษย์ขึ้นมาบนโลก
    เช่นเดียวกัน การ กตเวที คือ รู้ตอบแทน ต่อผู้มีคุณ ย่อมเป็น สภาพสภาวะจิตใจ ที่มีอยู่ในมนุษย์ เป็นพื้นฐานที่ได้ รับการขัดเกลาทางสังคมมาตั้งแต่เริ่มเกิดมีมนุษย์ขึ้นบนโลก
    มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีผู้นำกลุ่มมาช้านานแล้ว
    การแก่งแย่งของมนุษย์ ก็มีมาพร้อมๆกับการเกิดมีมนุษย์ขึ้นบนโลก
    เมื่อมนุษย์นิยมชมชอบแก่งแย่งชิงดีกัน ในกลุ่มมนุษย์จึงต้องมี ผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็ง ฉลาด เก่ง รอบรู้ ฯลฯ เพื่อไว้ต่อกร ต่อสู้ และเป็นผู้นำที่สามารถพาเหล่าชนของกลุ่มได้พบกับความสุข ทั้งการกินอยู่ อาศัย และประกอบอาชีพต่างๆ
    เมื่อมนุษย์มีจำนวนมากขึ้น หลักปรัชญาต่างๆ จึงเกิดขึ้น อันรวมไปถึงหลักศาสนา เพื่อกล่อมเกลา หรือสร้างสังคม เพื่อให้การแก่งแย่งในด้านต่างๆของชน ในกลุ่ม และต่างกลุ่ม ลดน้อยลง หรือไม่มีเลย ศาสนา และหลักปรัชญาต่างๆ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์
    เมื่อมนุษย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น กลุ่มชนแต่ละกลุ่มก็ขยายใหญ่มีผู้คนมากขึ้น ผู้นำกลุ่มชนเหล่านั้น ย่อมต้องเป็นผู้มีบุญบารมี และความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาการต่างๆ เพื่อสร้างศรัทธา สร้างแรงจูงใจ กำลังใจ ให้กับชนในกลุ่ม กลุ่มชนต่างๆเหล่านั้น เมื่อมีจำนวนประชากรมากขึ้น ผู้นำในแต่ละกลุ่มจึงได้รวบรวมสร้าง สถาปนาเป็นชนชาติ เป็นเชื้อชาติ สร้าง ระบบ จารีต วัฒนธรรม ประเพณี และประเทศในเวลาต่อมา และผู้นำกลุ่มชน ก็ได้รับการขนานนามกันตามแต่ชนชาติ หรือเชื้อชาติเหล่านั้นว่า "พระเจ้าแผ่นดิน บ้าง" พระมหากษัตริย์บ้าง"
    หรือใช้ศัพท์ภาษาที่แตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ และชนชาติ ดังที่ท่านทั้งหลายคงได้รู้กันอยู่แล้ว
    ในหลักศาสนา ล้วนมีหลักความกตัญญู กตเวที อยู่ทุกศาสนา แต่อาจใช้ภาษาที่แตกต่างกันไป อนึ่ง ในหลักศาสนา ก็ยังมีผู้นำในศาสนานั้นๆ จะเรียกว่า เป็นศาสดาแห่งศาสนา หรือเรียกเป็นอื่นใด ก็ตาม
    เมื่อเราหันมามองดูประเทศต่างๆที่มีอยู่บนโลกเรานี้ ล้วนกล่าวได้ว่า ทุกประเทศที่เป็นประเทศมาได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะ พระมหากษัตริย์ หรือ พระเจ้าแผ่นดิน และย่อมหมายรวมถึง ปัจจัยประกอบส่วนอื่นๆ อันเรียกรวมกันว่า "สถาบันพระมหากษัตริย์" เป็นผู้นำ เป็นผู้รวบรวม เป็นผู้สร้าง เป็นผู้บุกเบิก และเป็นผู้จัดสรรปันส่วนทรัพยากรต่างๆให้กับประชาชน จวบจึงได้มีประเทศต่างๆในโลกจนทุกวันนี้

    สถาบันพระมหากษัตริย์ ย่อมประกอบด้วย
    ฯ ล ฯ , องคมนตรี ,ฯ

    อันท่านทั้งหลาย ควรได้ มีความ เคารพ,รัก,เชื่อฟัง,และเชื่อมั่น ในสถาบันพระมหากษัตริย์
    ท่านทั้งหลาย ควรได้ น้อมนำ เอา พระราชดำรัส ,พระราชดำริ มาใช้ และประยุกต์ใช้ ร่วมกับ วิชาการ ตามลักษณะ อาชีพ-หน้าที่การงาน-ครอบครัว


    หากท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติตาม ก็ล้วนหมายความว่า ในจิตใจของท่าน มีความกตัญญู ,กตเวที อันเป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ แสดงถึงความจงรักภักดีต่อ องค์เหนือหัว ล้นเกล้าล้นกระหม่อม อย่างดีที่สุดแล้ว

    พุทธศาสนา คือ หนึ่งในสถาบันพระมหากษัตริย์

    ท่านทั้งหลาย ไม่ต้องตกใจ หรือไม่ต้องสงสัย ว่าทำไมข้าพเจ้าจึงตั้งหัวข้อว่า "พุทธศาสนา คือ หนึ่งในสถาบันพระมหากษัตริย์
    ท่านทั้งหลายต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า

    สถาบัน หมายถึง "สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มี ขึ้น เพราะ มีประโยชน์ มีความจำเป็น และต้องการให้มีขึ้น ในการดำรงชีวิตของตน "
    ดังนั้น ในสังคมการเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ จึงเกิดสถาบันต่างๆ อย่างมากมาย เช่น สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันครอบครับ และที่สำคัญคือ สถาบันพระมหากษัตริย์

    ประเทศ เป็น ประเทศ มี ระบบ มีระเบียบ มีวัฒนธรรม จารีต วัฒนธรรมประเพณี มาจนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะมีปัจจัย ประกอบกันคือ
    ประชาชน และ พระเจ้าแผ่นดิน เป็นหลักสำคัญ อีกทั้งยังมี ปัจจัยอื่นๆ ประกอบ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ความรู้ท้องถิ่น และ วิชาการต่างๆ อีกมากมาย
    ศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ อันเป็นศาสนา ประจำชาติไทย มาตั้งแต่เริ่มแรก ก็เป็นปัจจัย เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง ของประเทศ และเป็นปัจจัยหนึ่ง ในสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะพุทธศาสนา เป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสมานสามัคคี ไม่แก่งแย่งชิงดี อิจฉา ในความเป็นอยู่ของแต่ละบุคคล
    ถ้าจะกล่าวกันตามหลักความจริงแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ นั้น ย่อมประกอบไปด้วย " ประชาชนทั่วไป ข้าราชการฯ ข้าราชบริพารทั้งหลาย รวมไปถึง องคมนตรี และ....ฯ..... ทั้งหมด คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ รวมกันแล้ว คือ ประเทศชาติ

    ถ้าหากจะมีผู้แย้งว่า "ถ้าไปดูหมิ่นคนส่วนในพระราชวัง " ก็เท่ากับคิดล้มล้างสถาบันกษัตริย์ คิดอย่างนั้น มันคิดแบบคนปัญญานิ่ม
    การดูหมิ่น หรือ คิดร้าย ต่อกลุ่มบุคคลในสถาบันพระมหากษัตริย์ ทุกกลุ่ม ล้วนมีกฎหมายบ้านเมือง คุ้มครองอยู่ ตามบทบาทหน้าที่ เป็นลำดับความสำคัญอยู่แล้ว
    บุคคลที่ ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลใดใด จะดูหมิ่น หรือคิดร้ายไม่ได้ คือ ศาสนา ,องคมนตรี, ......ฯ........ เพราะเป็นกลุ่มข้าราชบริพาร ที่สนองพระบาทขององค์เหนือหัว ในอันที่จะ ปกครอง,หรือ ดูแล ทุกข์ สุข ของประชาชน จะเรียกว่า เป็นแขนเป็นขา ของ พระเจ้าแผ่นดิน ก็ไม่ผิด
    ที่นี้ก็ลองใช้สมองสติปัญญา พิจารณาดูว่า ควรหรือไม่ควร ในการดูหมิ่น คิดร้าย หรือต่อต้าน บุคคลผู้อยู่ในสถาบันพระมหากษัตริย์เหล่านั้น

    ในที่นี้ยังไม่รวมถึงเหล่าอริราชศัตรู ที่คิดรุกรานประเทศไทย ถ้าอริราชศรัตรูเหล่านั้น คิดยึดครองหรือทำร้ายประชาชน เพื่อหวังยึดครองแผ่นดินไทย อริราชศัตรูเหล่านั้น คิดร้ายหรือคิดล้มล้าง สถาบันพระมหากษัตริย์ ใช่หรือไม่ ท่านทั้งหลายลองคิดพิจารณาดู


    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...