กฏแห่งกรรม...โดยพระพรหมคุณาภรณ์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 17 พฤศจิกายน 2008.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    (หัวข้อนี้ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์แสดงต่อจากปฏิจจสมุปบาท
    เพราะเป็นหลักธรรมที่เนื่องอยู่ด้วยกัน-จากหนังสือพุทธธรรมหน้า 154)


    [​IMG] กรรม ในฐานะหลักธรรมที่เนื่องอยู่ในปฏิจจสมุปบาท [​IMG]

    หลักธรรมต่างๆไม่ว่าจะมีชื่อใดๆล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึงหรือสืบเนื่องมาจากหลักสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อ
    จุดหมายเดียวกัน แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆกัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งคนละส่วนละตอนกันบ้าง เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อจึงเป็นส่วนย่อยของหลักใหญ่ บ้างข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน ครอบคลุมความหมาย
    ของกันและกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดงและความมุ่งหมายจำเพาะในการแสดงต่างกัน

    ปฏิจจสมุปบาท ถือว่าเป็นหลักใหญ่ที่ครอบคลุมธรรมได้ทั้งหมด เมื่ออธิบายปฏิจจสมุปบาทแล้ว เห็นว่าควรกล่าวถึงหลักธรรมสำคัญชื่ออื่นๆอันเป็นที่รู้จักทั่วไปไว้ด้วย เพื่อให้เห็นว่าสัมพันธ์กันอย่างไร และเพื่อเสริมความเข้าใจทั้งหลักธรรมเหล่านั้นและในปฏิจจสมุปบาทเองด้วย หลักธรรมในที่นี้ คือ กรรม

    กรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อแยกส่วนในกระบวนการนั้นออกเป็น 3 วัฏฏะ คือ กิเลส กรรม วิบาก
    หลักปฏิจจสมุปบาทแสดงถึงกระบวนการทำกรรมและการให้ผลของกรรม
    ทั้งหมด ตั้งแต่ กิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรม จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับ
    เมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจหลักกรรมชัดเจนไปด้วย


    อย่างไรก็ดี การอธิบายตามแนวปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นการพิจารณาในแง่ของกระบวนการธรรมชาติว่าด้วยตัวกฎหรือสภาวะล้วนๆ และเป็นการมองอย่างกว้างๆ ตลอดทั้งกระบวนการ ไม่เน้นที่จุดใดจุดหนึ่ง
    โดยเฉพาะ แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อมองในแง่ความเป็นไปในชีวิตจริง จะเห็นว่าส่วนของปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏเด่นชัดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของการแสดงออก และเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของคนโดยตรง ก็คือส่วนที่เรียกว่า กรรม

    ถ้าเพ่งในทางปฏิบัติอย่างนี้ ก็อาจยกเอากรรมขึ้นเป็นจุดเน้นและเป็นบทตั้ง แล้วเอาส่วนอื่นๆของปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวประกอบสำหรับสืบสาวราวเรื่องต่อไป ถ้าทำอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาท ก็จะปรากฏในรูปร่างที่นิยมเรียกกันว่า กฎแห่งกรรม * และจะมีเรื่องราวในแง่อื่นๆ ที่น่าสนใจเข้ามาเกี่ยวข้อง
    เพิ่มขึ้นอีก นับว่าเป็นแนวการอธิบายที่น่าสนใจ ดังปรากฏว่าในสมัยหลังๆนี้ ก็นิยมพูดถึง กฎแห่งกรรม กันมากกว่าจะพูดถึงปฏิจจสมุปบาท เพราะการพูดถึงกรรม เป็นการพูดถึงกิริยาอาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่หยาบ ปรากฏชัด เห็นง่าย เกี่ยวข้องอยู่เฉพาะหน้าทุกขณะทุกเวลา เหมาะที่จะถือเอาเป็นจุดเริ่มต้นของการพิจารณา ยิ่งกว่านั้น การอธิบายเรื่องกรรม อาจทำได้หลายระดับ คือจะอธิบายอย่างง่ายๆในระดับผิวเผิน พอให้เห็นเหตุเห็นผลในสายตาของชาวบ้านก็ได้ จะยกเอาเหตุการณ์หรือบทบาทของคนทั้งหลายขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ก็ทำได้สะดวก หรือจะอธิบายลึกลงไปถึงกระบวนธรรมภายในจิต จนต้องใช้หลักปฏิจจสมุปบาทเต็มรูปก็ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ จึงจะได้เสนอคำอธิบายหลักกรรม หรือ กฎแห่งกรรม ไว้ ณ ที่นี้ พอเป็นแนวสำหรับทำความเข้าใจ

    ......

    * ตัวอย่างพุทธพจน์แห่งหนึ่ง ที่เชื่อมปฏิจจสมุปบาท กับ กฎแห่งกรรมสนิทกันเป็นอย่างดีคือที่ตรัส
    ว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2008
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    กฎแห่งกรรม

    พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์ หรือสิ่งของ เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม เป็นวัตถุ หรือเป็นเรื่องจิตใจ ไม่ว่าชีวิตหรือโลกที่แวดล้อมอยู่ก็ตาม * ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เป็นเรื่องของปัจจัยสัมพันธ์
    ธรรมดาที่ว่านี้มองด้วยสายตาของมนุษย์เรียกว่า “กฎธรรมชาติ” เรียกในภาษาบาลีว่า “นิยาม” แปลว่า กำหนดอันแน่นอน ทำนอง หรือแนวทางที่แน่นอน หรือความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอน เพราะปรากฏให้เห็นว่า เมื่อมีเหตุปัจจัยอย่างนั้นๆ แล้ว ก็จะมีความเป็นไปอย่างนั้นๆ แน่นอน

    กฎธรรมชาติหรือนิยามนั้น แม้จะมีลักษณะทั่วไปอย่างเดียวกันทั้งหมดคือ ความเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย แต่ก็อาจแยกประเภทออกไปได้ตามลักษณะอาการจำเพาะที่เป็นแนวทางหรือเป็นแบบหนึ่งๆ ของความสัมพันธ์ อันจะช่วยให้กำหนดศึกษาได้ง่ายขึ้น เมื่อว่าตามสายความคิดของพระพุทธศาสนา พระอรรถกถาจารย์แสดงกฎธรรมชาติ หรือ นิยาม ไว้ 5 อย่าง ** คือ

    1. อุตุนิยาม- กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ฝ่ายวัตถุ โดยเฉพาะความเป็นไปของธรรมชาติแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ เช่น เรื่องลมฟ้าอากาศ ฤดูกาล ฝนตก ฟ้าร้อง การที่ดอกบัวบานกลางวัน หุบกลางคืน การที่ดินน้ำปุ๋ยช่วยให้ต้นไม้งาม การที่คนไอหรือจาม การที่สิ่งทั้งหลายผุพังเน่าเปื่อยเป็นต้น แนวความคิดของท่านมุ่งเอาความผันแปรที่เนื่องด้วยความร้อน หรือ อุณหภูมิ

    2.พืชนิยาม- กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับสืบพันธ์ หรือที่เรียกกันว่า พันธุกรรม เช่น หลักความจริงที่ว่าพืชเช่นใดก็ให้ผลเช่นนั้น พืชมะม่วง ก็ออกผลเป็นมะม่วง เป็นต้น

    3. จิตตนิยาม- กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับการทำงานของจิต เช่น เมื่ออารมณ์ (สิ่งเร้า) กระทบประสาท จะมีการรับรู้เกิดขึ้น จิตจะทำงานอย่างไร คือ มีการไหวแห่งภวังคจิต ภวังคจิตขาดตอน แล้วมีอาวัชชะนะแล้วมีการเห็น การได้ยิน ฯลฯ มีสัมปฏิจฉนะ สันตีรณะ ฯลฯ หรือเมื่อจิตที่มีคุณสมบัติอย่างนี้เกิดขึ้น จะมีเจตสิกอะไรบ้างประกอบได้ หรือประกอบไม่ได้ เป็นต้น

    4. กรรมนิยาม- กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการก่อการกระทำ และการให้ผลของการกระทำ หรือพูดให้จำเพาะลงไป อีกว่า กระบวนการแห่งเจตน์จำนง หรือความคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ ต่างๆ พร้อมทั้งผลที่สืบเนื่องออกไปอันสอดคล้องสมกัน เช่น ทำกรรมดีมีผลดี ทำกรรมชั่วมีผลชั่วเป็นต้น

    5. ธรรมนิยาม- กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างที่เรียกกันว่า ความเป็นไปตามธรรมดา เช่นว่า สิ่งทั้งหลายมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นธรรมดา คนย่อมมีความเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดา ธรรมของคนยุคนี้มีอายุขัยประมาณร้อยปี ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ที่เป็นสภาพไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น และไม่เป็นอัตตา ดังนี้ เป็นต้น
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    (ที่ทำเครื่องหมายดอกจันไว้ คห.บน)

    * หมายถึงสังขตธรรมทั้งหมด

    ** พึงเทียบความหมายของนิยามที่ปราชญ์แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า orderliness of nature; the five aspects of natural law; ที่มา เช่น ที.อ. 2/34; สงฺคณี อ. 408


    1. อุตุนิยาม- law of energy; law of physical phenomena; physical inorganic order หรือ เหมารวมว่า physical laws

    2. พืชนิยาม- law of heredity; physical organic order; biological laws

    3. จิตนิยาม- psychic law; psychological laws

    4. กรรมนิยาม- Law of Karma; order of act and result; karmic laws; moral laws

    5. ธรรมนิยาม- the general law of cause and effect; order of the norm;

    ธรรมนิยามนี้ อรรถกถาอธิบายโดยยกตัวอย่างธรรมดาในโอกาสต่างๆ เกี่ยวกับพุทธประวัติ เช่นว่าในเวลาที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิ ทรงประสูติ ตรัสรู้ เป็นต้น เป็นธรรมดาที่หมื่นโลกธาตุจะหวั่นไหว
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ความจริง กฎ 4 อย่างแรก ย่อมรวมลงในกฎที่ 5 คือ คือ ธรรมนิยามทั้งหมด หรือ จำแนกออกไปจากธรรมนิยามนั่นเอง หมายความว่า ธรรมนิยาม มีความหมายครอบคลุมกฎธรรมชาติหมดทั้ง 5 ข้อ
    เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจมีผู้สงสัยว่า ธรรมนิยามเป็นกฎใหญ่ เมื่อเอามากระจายเป็นกฎย่อย ก็น่าจะกระจายออกไปให้หมด เหตุไรเมื่อแจงเป็นกฎย่อยแล้ว ยังมีธรรมนิยามอยู่ในรายชื่อกฎย่อยอีกด้วยเล่า

    คำตอบสำหรับความข้อนี้พึงทราบด้วยอุปมา เหมือนคนทั้งหมดในประเทศไทยนี้ บางทีมีผู้พูดจำแนกออกว่า องค์พระประมุข รัฐบาล ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนบ้าง ว่าตำรวจ ทหาร ข้าราชการ นักศึกษาและประชนบ้าง ว่าอย่างอื่นอีกบ้าง ความจริงคำว่าประชาชน ย่อมครอบคลุมคนทุกหมู่เหล่าในประเทศ
    ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร พ่อค้า นักศึกษา ก็ล้วนเป็นประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น แต่ที่พูดแยกออกไปก็เพราะว่า คนเหล่านั้นนอกจากจะมีลักษณะหน้าที่โดยทั่วไปในฐานะประชาชนเหมือนคนอื่นๆแล้ว ยังมีลักษณะหน้าที่จำเพาะพิเศษต่างหากออกไปอีกส่วนหนึ่งด้วย ส่วนคนที่ไม่มีลักษณะหรือหน้าที่จำเพาะ
    พิเศษแปลกออกไป ก็รวมอยู่ในคำว่าประชาชน

    อนึ่ง การจำแนกนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์จำเพาะของการจำแนกครั้งนั้นๆ แต่ทุกครั้งก็จะมีคำว่าประชาชน หรือราษฎรหรือคำที่มีความหมายกว้างทำนองนั้นไว้เป็นที่รวมกันของคนทั้งหมดที่เหลือ ซึ่งไม่ต้องจำแนกออกไปต่างหากตามวัตถุประสงค์จำเพาะคราวนั้น เรื่องนิยาม 5 ก็พึงเข้าใจความทำนองเดียวกันนี้
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    การจำแนกกฎธรรมชาติเป็น 5 อย่าง จะเป็นการแบ่งแยกที่ครบจำนวนหรือไม่ ควรจะมีกฎย่อยอะไรอื่นนอกจากนี้หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาในที่นี้ เพราะท่านได้กฎเด่นๆที่ท่านต้องการพอแก่การใช้ตามวัตถุประสงค์ของท่านแล้ว และกฎที่เหลือย่อมรวมลงในกฎที่ 5 คือธรรมนิยาม โดยนัยที่กล่าวแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่พึงเข้าใจก็คือสาระที่มุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของการแสดงนิยามทั้ง 5 นี้ อันเป็นข้อที่ ควรสังเกต จะขอเน้นไว้บางอย่าง ดังนี้


    ประการแรก
    เป็นการย้ำเน้นแนวความคิดแบบพุทธที่มองเห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย หรือของโลกและชีวิตตามธรรมดาของเหตุปัจจัย ให้หนักแน่นชัดเจนยิ่งขึ้น แม้จะแยกแยะกฎให้ละเอียดออกไปก็มองเห็นแต่ความเป็นไปตามธรรมดา หรือสภาวะปัจจัยสัมพันธ์เท่านั้น เป็นอันจะได้ตั้งใจเรียนรู้ เป็นอยู่และปฏิบัติด้วยความเข้าใจเท่าทันธรรมดานี้แน่นอนไป ไม่ต้องมัวห่วงกังวลถึงท่านผู้สร้างผู้บันดาลที่จะมาผันแปรกระแสธรรมดาให้ผิดเพี้ยน (นอกจากจะเข้ามาร่วมเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในธรรมดานั้นเอง) ถ้าจะมีผู้ทักท้วงว่า ถ้าไม่มีผู้วางกฎ กฏธรรมชาติจะมีขึ้นได้อย่างไร ก็ไม่พึงต้องมัวยุ่งคิดกับคำถามอำพรางตนเองของมนุษย์
    ข้อนี้ ลองมองง่ายๆว่า ถ้าปล่อยให้สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปของมันเอง มันก็ต้องเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง และมันก็ได้เป็นมาเป็นไปแล้วอย่างนี้แหละ เพราะมันไม่มีทางจะเป็นไปอย่างอื่นนอกจากเป็นไปตามเหตุปัจจัยสัมพันธ์ มนุษย์เราสังเกต และเรียนรู้เอาความเป็นไปอย่างนี้มาซึมทราบในความคิดของตน แล้วก็เรียกมันว่า “เป็นกฎ” จะเรียก หรือไม่เรียกมันก็เป็นของมันอย่างนั้น ถ้าขืนมีผู้สร้างผู้ตั้งกฎธรรมชาติก็จะยิ่งยุ่งที่จะสืบลึกต่อไปอีกว่า ท่านผู้ตั้งกฎนั้น ดำรงอยู่ด้วยกฎอะไร มีใครสร้างกฎให้ท่าน หรือคุมท่านไว้ ถ้าขืนไม่คุม ท่านสร้างกฎได้ตามชอบใจ ท่านก็ย่อมเปลี่ยนกฎได้ตามชอบใจ อยู่ไปวันดีคืนดี ท่านอาจจะเปลี่ยนกฎธรรมชาติให้มนุษย์อลหม่านกันหมดก็ได้ (ความจริงถ้ามีผู้สร้างกฎ และท่านมีกรุณา
    ท่านก็คงช่วยเปลี่ยนกฎ ช่วยสัตว์โลกไปแล้วหลายกฎย่อย เช่น ไม่ให้มีคนเกิดมาพิการ
    ง่อยเปลี้ย อวัยวะบกพร่อง ไร้ปัญญาเป็นต้น)

    ประการที่สอง
    เมื่อแยกแยะออกเป็นกฎย่อยๆ หลายกฎแล้ว ก็อย่าเผลอพลอยแยกปรากฎการณ์ต่างๆที่เป็นผลให้เป็นเรื้องเฉพาะกฎๆต่างหากันไปเด็ดขาด ความจริงปรากฏการณ์อย่างเดียวกัน อาจเกิดจากเหตุปัจจัยที่เป็นไปต่างๆหรือเนื่องด้วยหลายกฎร่วมกันก็ได้ เช่น การที่ดอกบัวบานกลางวันและหุบกลางคืน ก็มิใช่เพราะอุตุนิยามอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องเนื่องจากพืชนิยามด้วย การที่คนน้ำตาไหล อาจเป็นเพราะจิตตนิยามเป็นตัวเด่น เช่น ดีใจ เสียใจก็ได้ หรือเป็นเพราะจิตตนิยามและกรรมนิยามเช่น หวาดกลัวหรือคิดหวั่นความผิด เป็นต้นก็ได้ คนปวดหัว อาจเป็นเพราะอุตุนิยาม เช่น อากาศร้อนอบอ้าว ที่อุดอู้ทึบอากาศไม่พอก็ได้ หรือเพราะพืชนิยามเช่น ความบกพร่องของอวัยวะภายใน หรือกรรมนิยามบวก
    จิตตนิยาม เช่น คิดกลัดกลุ้มกังวลเดือดร้อนใจ เป็นต้น ก็ได้
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ประการที่สาม และสำคัญที่สุด คือ ท่านแสดงให้เห็นว่า ในบรรดากฎธรรมชาติทั้งหลายนั้น มีกฎแห่งกรรมหรือกรรมนิยามรวมอยู่เป็นข้อหนึ่งด้วย เมื่อมองในแง่ของมนุษย์
    กรรมนิยามเป็นกฎสำคัญที่สุดเพราะเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง มนุษย์เป็นผู้เสกสรรปรุงแต่งกรรม และกรรมก็เป็นเครื่องปรุงแต่งวิถีชีวิตโชคชะตาของมนุษย์ ถ้าแบ่งขอบเขตอำนาจในโลกตามอย่างที่คนปัจจุบันนิยมคือ แบ่งเป็นเขตแดนหรือวิสัยของธรรมชาติ กับ เขตแดนหรือวิสัยของมนุษย์ ก็จะเห็นว่ากรรมนิยามเป็นเขตแดนของมนุษย์

    ส่วนกฎหรือนิยามข้ออื่นๆทั้งหมดก็มีวิสัยพิเศษส่วนหนึ่งที่เป็นของตนเอง กล่าวคือกรรมนิยามนี้ ซึ่งได้สร้างสังคมและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆของมนุษย์ขึ้นเป็นดุจอีกโลกหนึ่งต่างหากจากโลกของธรรมชาติ

    อนึ่ง ในเขตแดนแห่งกรรมนิยามนั้น สาระหรือตัวแท้ของกรรมก็คือเจตนาหรือเจตน์จำนง ดังนั้น กรรมนิยามจึงเป็นกฎที่ครอบคลุมโลกแห่งเจตน์จำนง หรือโลกแห่งความคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ (และทำลาย) ทั้งหมด เท่าที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์จะไปเกี่ยวข้องกับนิยามอื่นใดหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องมีกรรมนิยามเป็นกฎยืนพื้น ตลอดถึงว่าจะไปเกี่ยวข้องและใช้นิยามอื่นเหล่านั้นอย่างไร ก็อยู่ที่กรรมนิยาม กรรมนิยามเป็นวิสัยของมนุษย์ เป็นขอบเขตที่มนุษย์มีอำนาจปรุงแต่งควบคุมเสกสรรบันดาล หรือพูดให้ถูกว่า การที่มนุษย์ก้าวเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเหตุปัจจัยด้วยอย่างหนึ่งในกระบวนการของธรรมชาติ จนเกิดเป็นสำนวนพูดของมนุษย์ขึ้นว่า ตนสามารถบังคับควบคุมธรรมชาติหรือเอาชนะธรรมชาติได้นั้น ก็ด้วยอาศัยกรรมนิยามนี้เอง กล่าวคือ มนุษย์เกี่ยวข้องกับนิยามหรือกฎธรรมชาติข้ออื่นๆ
    ที่เป็นเขตแดนของธรรมชาติ ด้วยการเรียนรุ้ความจริงของมันแล้วปฏิบัติต่อมันหรือใช้ประโยชน์มันตามเจตน์จำนงของตน ขึงเรียกว่าเจตน์จำนงของมนุษย์เป็นผู้ปรุงแต่งบังคับควบคุมโลกของธรรมชาติ

    นอกจากนั้น มนุษย์ก็ใช้เจตน์จำนงหรือเจตนานี้เป็นเครื่องกำหนดการปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์เองด้วย และพร้อมกับที่มนุษย์ปฏิบัติต่อผู้อื่น สิ่งอื่น ต่อธรรมชาติที่แวดล้อมตน ตลอดจนปรุงแต่งโลกของธรรมชาติอยู่นั้นเอง

    มนุษย์หรือว่าให้ถูกต้องคือเจตน์จำนงของมนุษย์นั้นก็ปรุงแต่งตัวของมนุษย์โดยตรง ครอบคลุมโลกแห่งเจตน์จำนงและการปรุงแต่งสร้างสรรค์ทั้งหมดของมนุษย์ เป็นแกนนำในการปรุงแต่งชีวิตตนเองของมนุษย์แต่ละคน เป็นเครื่องชี้กำหนดแนวทางของสังคม และผลงานสร้างสรรค์ทำลายของมนุษย์ เป็นฐานที่มนุษย์อาศัย ก้าวเข้าไปเกี่ยวข้องกับนิยามอื่นๆเพื่อปรุงแต่งบังคับควบคุมโลกของธรรมชาติ โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว

    ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงสอนเน้นถึงความสำคัญของกรรมเป็นอย่างมาก ดังพุทธพจน์ที่คุ้นกันดีว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก” (ม.ม.13/707/648;ขุ.สุ.25/382/457) แปลว่า โลกเป็นไปตามกรรม หรือโลกเป็นไปเพราะกรรม
    กรรมจึงเป็นคำสอนสำคัญยิ่งเรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนา
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อย่างไรก็ตาม การที่ท่านรวมเอากรรมนิยามเข้าไว้เป็นข้อหนึ่งในนิยามถึง 5 ข้อนั้น ก็เป็นการบอกให้มองความจริงอีกด้านหนึ่งด้วยว่า กรรมนิยาม หรือ กฎแห่งกรรมนั้น เป็นเพียง
    กฎธรรมชาติอย่างหนึ่งในบรรดากฎธรรมชาติหลายๆอย่าง ดังนั้น เมื่อมีปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น หรือเมื่อมนุษย์ผู้หนึ่งประสบเหตุการณ์สุขทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อย่าเพิ่งเหมาไปเสียทั้งหมดว่าเป็นอย่างนั้นเพราะกรรม * ดังตัวอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว แม้พุทธพจน์ที่อ้างข้างต้นว่า โลกเป็นไปตามกรรมนั้น ก็หมายถึงโลกคือ หมู่สัตว์ ได้แก่ ชาวโลก หรือสัตว์โลก
    ถ้าพูดอย่างสมัยใหม่ก็คล้ายว่ากรรมชี้นำสังคม หรือกรรมกำหนดวิถีชีวิตของสังคมนั่นเอง
    อาจพูดในแง่หนึ่งว่า กรรมนิยามเป็นเพียงกฎย่อยอย่างหนึ่งของธรรมชาติ แต่เป็นกฎ
    ที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์

    .......

    * ผู้ศึกษาอภิธรรม ย่อมบอกได้ว่า ชีวิตเราที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 นั้น เป็นไปตามธรรมดาหรือตามกฏธรรมชาติทั้งหมด ก็จริง แต่ขันธ์ 5 บางส่วนเท่านั้นที่เกิดจากกรรมและเป็นไปตามกรรมโดยตรง เช่น รูปธรรมในร่างกายของเรา อภิธรรมก็แยกว่า เกิดจากรรมก็มี เกิดจากจิตก็มี เกิดจากอุตุก็มี เกิดจากอาหารก็มี ดังนี้เป็นต้น
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นอกจากกฎธรรมชาติทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีกฎอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์ โดยเฉพาะ ไม่มีในธรรมชาติ ไม่เกี่ยวกับธรรมชาติโดยตรง ได้แก่กฎที่มนุษย์กำหนดวางกันขึ้นเป็นข้อตกลงเพื่อควบคุมความประพฤติในหมู่มนุษย์ด้วยกันเองให้อยู่ร่วมกันโดยผาสุก นับว่าเป็นบัญญัติทางสังคม เช่น ระเบียบ ข้อบังคับ กติกา กฎหมาย จารีต ประเพณี วินัยบัญญัติ เป็นต้น อาจจัดเข้าต่อท้ายชุดเป็นกฎที่ 6 แต่ยังไม่มีชื่อที่เข้ากันกับชุด ถ้าพอใจ
    จะเรียกชื่อว่า สังคมนิยมน์ * ก็ได้ กฎเกณฑ์ของสังคมนี้เป็นเรื่องของการปรุงแต่งของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกรรม และขึ้นต่อกรรมนิยามด้วย แต่เป็นเพียงส่วนซ้อนเสริมเข้ามาในกรรมนิยามเท่านั้น ไมใช่กรรมนิยามเอง จึงมิได้มีลักษณะในด้านปัจจัยสัมพันธ์
    และความเป็นจริงเหมือนกับกรรมนิยาม แต่เพราะซ้อนอิงอยู่กับกรรมนิยาม จึงมักทำให้เกิดความสับสนกับกรรมนิยามและมีปัญหาถกเถียงกันเนื่องจากความสับสนนั้นบ่อยๆ โดยเหตุที่กฎสองประเภท คือกรรมนิยาม และสังคมนิยมน์นี้ เป็นเรื่องของมนุษย์ เกี่ยวข้องกับมนุษย์ใกล้ชิดที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พึงเข้าใจความแตกต่างให้ชัดเจน


    ในขั้นต้น อาจพูดเป็นเค้าไว้ก่อนว่า กรรมนิยามหรือ กฎแห่งกรรม เป็นกฎธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของคน
    ส่วนสังคมนิยมน์หรือกฎของสังคม เป็นกฎของคนซึ่งคนบัญญัติกันขึ้นเอง มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎธรรมชาติเพียงในแง่ว่า เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดจากการกระทำคือกรรมหรือการปรุงแต่งสร้างสรรค์ของคน และอีกแง่หนึ่งโดยกฎแห่งกรรม มนุษย์รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ตามกระบวนการของธรรมชาติ แต่กฎของสังคมมนุษย์ มนุษย์รับผิดชอบต่อการกระทำ
    ของตน ตามกระบวนการที่จัดวางขึ้นเองของมนุษย์

    ข้อที่พึงศึกษาพ้นจากนี้ไป จะพิจารณากันในตอนว่าด้วยปัญหาเกี่ยวกับความดี ความชั่ว และปัญหาเกี่ยวกับการรับผลของกรรม ที่จะกล่าวต่อไป

    ....

    *สังคม เป็นศัพท์บัญญัติในภาษาไทย แม้จะมีใช้ในภาษาบาลีแต่เดิม ก็มิใช่มีครามหมายเหมือนกับที่บัญญัติในภาษาไทย ในที่นี้จะอนุวัตรตามภาษาไทย จึงต้องบัญญัติใหม่ทั้งคำ
    ส่วนนิยมน์ ว่าโดยรูปศัพท์ก็มีความหมายตรงกับนิยาม หรือนิยมนั่นเอง แต่ถ้าจะใช้ว่า
    สังคมนิยาม ก็เกรงจะเข้าปะปนทำให้นิยาม 5 เดิมที่เป็นของธรรมชาติแท้ๆ สับสนไป
    ครั้นจะใช้ว่า สังคมนิยม ก็มีผู้บัญญัติใช้ในความหมายอย่างอื่นเสียแล้ว จึงเลี่ยงให้แปลกกันไปเล็กน้อยพอเป็นที่สังเกตความต่างได้.
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ความหมายและประเภทของกรรม

    กรรม แปลตามศัพท์ว่า การงาน หรือการกระทำ

    แต่ในทางธรรมต้องจำกัดความจำเพาะแง่ไปว่า หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา หรือการกระทำที่เป็นไปด้วยความจงใจ- (องฺ.ฉกฺก.22/334/463) ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนา ก็ไม่เรียกว่า เป็นกรรม ในความหมายทางธรรม

    อย่างไรก็ตาม ความหมายที่กล่าวมานี้ เป็นความหมายอย่างกลางๆพอคลุมความได้กว้างๆเท่านั้น ถ้าจะให้ชัดเจนมองเห็นเนื้อหาและขอบเขตแจ่มแจ้ง ควรพิจารณาการแยกแยะความหมายออกเป็นแง่หรือเป็นระดับต่างๆดังนี้

    ก. เมื่อมองให้ถึงตัวแท้จริงของกรรม หรือมองให้ถึงต้นตอ เป็นการมองตรงตัวหรือเฉพาะตัวกรรมก็คือเจตนา อันได้แก่ เจตน์จำนง ความจงใจ การเลือกคัดตัดสิน มุ่งหมายที่จะกระทำ หรือพลังนำที่เป็นตัวกระทำการนั่นเอง เจตนาหรือเจตน์จำนงนี้เป็นตัวนำ บ่งชี้ และกำหนดทิศทางแห่งการกระทำทั้งหมดของมนุษย์ เป็นตัวการหรือเป็นแกนนำในการริเริ่ม ปรุงแต่ง สร้างสรรค์ทุกอย่าง จึงเป็นตัวแท้ของกรรม ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” เป็นต้น แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่า กรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (องฺ.ฉกฺก. 22/334/463)

    ข.มองขยายออกไปให้เห็นตัวการอื่นๆ คือมองเข้าไปที่ภายในกระบวนการแห่งชีวิต
    ของบุคคลแต่ละคน จะเห็นกรรมในแง่ตัวประกอบซึ่งมีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการแห่งชีวิต เป็นเจ้าหน้าที่ในการปรุงแต่งโครงสร้างและวิถีที่จะดำเนินไปของชีวิตนั้น กรรมในแง่นี้ตรงกับคำว่า สังขาร มักเรียกชื่อว่าสังขาร เช่นอย่างที่เป็นหัวข้อหนึ่งในปฏิจจสมุปบาท - (คำอธิบายสังขาร ย่อๆลิงค์นี้)
    <!-- l -->viewtopic.php?f=2&t=18670<!-- l -->
    ซึ่งแปลกันว่า สภาพที่ปรุงแต่งจิต หมายความว่า องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือให้เป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา เป็นกรรมแบบต่างๆ ถ้าจะแปลง่ายๆก็ว่า ความคิดปรุงแต่ง แม้ในความหมายแง่นี้ก็ยึดเอาเจตนานั่นเองเป็นหลัก บางครั้งท่านก็แปลเอาง่ายๆรวบรัดว่า สังขารก็คือเจตนาทั้งหลายนั่นเอง
    (สํ.ข.17/122/79; วิสุทธิ.3/120,125)

    ค. มองเลยออกมาข้างนอกเล็กน้อย คือมองในแง่ของชีวิตที่สำเร็จรูปแล้วเป็นหน่วยหนึ่งๆหือมองชีวิตที่ด้านนอกอย่างเป็นหน่วยรวมหน่วยหนึ่งๆ ตามที่สมมุติเรียกกันว่า บุคคลผู้หนึ่งๆซึ่งดำเนินชีวิตอยู่ในโลก เป็นเจ้าบทบาทของตนๆ ต่างหากๆ กันไป กรรมนในแง่นี้ก็คือ การทำ การพูด การคิด หรือการคิดนึก และการแสดงออกทางกายวาจา หรือความประพฤติที่เป็นไปต่างๆ ซึ่งบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบเก็บเกี่ยวผลเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะมองแคบๆเฉพาะเวลาเฉพาะหน้า หรือมองกว้างไกลออกไปในอดีตและอนาคตก็ตาม
    กรรมในความหมายนี้ เข้ากับความหมายกว้างๆ ที่แสดงข้างต้น และเป็นแง่ความหมายถึงบ่อยที่สุด เพราะปรากฏในคำสอนต่อบุคคล มุ่งให้ทุกคนรับผิดชอบต่อการกระทำของตนและพยายามประกอบแต่กรรมดี เช่น ในพุทธพจน์ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 ประการนี้เป็นเหตุให้เดือดร้อน สองประการ คืออะไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มิได้ทำความดีงามไว้ มิได้ทำกุศล มิได้ทำบุญซึ่งเป็นเครื่องต่อต้านความขลาดกลัวไว้ ทำแต่บาป ทำแต่กรรมหยาบช้า ทำแต่กรรมร้ายกาจ เขาย่อมเดือดร้อนว่า เราไม่ได้ทำกรรมดีงาม ดังนี้บ้าง ว่าเรา ได้ทำบาปไว้ ดังนี้บ้าง...” (ขุ.อิติ.25/208-9/248-9)

    น่าสังเกตว่า เท่าที่สอนกันอยู่บัดนี้โดยมาก นอกจากเน้นกรรมในความหมายนี้แล้ว ยังมักเน้นแต่แง่อดีตอีกด้วย
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ง. มองกว้างออกไปอีก คือมองในแง่กิจกรรมของหมู่มนุษย์ ได้แก่ กรรมในความหมาย
    ของการประกอบอาชีพการงาน การดำเนินชีวิต และการดำเนินกิจการต่างๆของมนุษย์
    ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากเจตน์จำนง การคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไป
    ในสังคมมนุษย์อย่างที่เห็นกันอยู่ เช่น พุทธพจน์ในวาเสฏฐสูตร ว่า

    “ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่พราหมณ์...ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยศิลปะต่างๆ ผู้นั้นเป็นเป็นศิลปิน...ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้า....ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนเป็นรับใช้...ผู้ใดอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจร...ผู้ใดอาศัยศรและศัสตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นทหารอาชีพ...ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยหน้าที่ปุโรหิต ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่การบูชา หาใช่พราหมณ์ไม่...ผู้ใดปกครองบ้านเมือง ผู้นั้นเป็นพระราชา หาใช่พราหมณ์ไม่...ฯลฯ เราเรียกคนที่ไม่มีกิเลสค้างใจ ไม่มีความถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์ ...คนมิใช่เป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด แต่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม เป็นชาวนาก็เพราะกรรม (การงาน อาชีพ ความประพฤติ การดำเนินชีวิต) เป็นศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นคนรับใช้ เป็นโจร เป็นทหาร เป็นปุโรหิต และแม้แต่เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริงอย่างนี้ โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่ประชาย่อมเป็นไปเพราะกรรม...”
    (ม.ม.13/707/643-9 ฯลฯ)

    หรือ ดังพุทธพจน์ในจักกวัตสูตร เช่น ว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย โดยนัยดังนี้แล เมื่อผู้ครองแผ่นดินไม่จัดเสริมเพิ่มทรัพย์ให้แก่ชนทั้งหลายผู้ไร้ทรัพย์ ความยากจนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความยากจนแพร่หลาย การลักทรัพย์
    ก็ถึงความแพร่หลาย เมื่อการลักทรัพย์ก็ถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย การฆ่าฟันสังหารกัน (ปาณาติบาต) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อการฆ่าฟันสังหารกันถึงความแพร่หลาย การพูดเท็จก็ได้ถึงความแพร่หลาย...การพูดส่อเสียด...กาเมสุมิจฉาจาร...ธรรมสองอย่างคือผรุสวาทและการพูดเพ้อเจ้อ...อภิชฌาและพยาบาท..มิจฉาทิฏฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย...” (ที.ปา.11/45/77)


    อย่างไรก็ตาม แม้จะให้มองความหมายของกรรมครบทั้ง 4 ระดับอย่างนี้ เพื่อได้ความ
    ที่สมบูรณ์แต่ก็ขอสรุปย้ำไว้ว่า จะต้องถือเอาความหมายในแง่ของเจตนาเป็นแกนยืนเสมอไป เพราะเจตนาเป็นตัวการที่นำมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลาย และกำหนดแนวทางว่าจะเกี่ยวข้องแบบไหน อย่างไร จะเลือกรับอะไรหรือไม่ จะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้น
    อย่างไร จะปรุงแปร ตัดแปลงแต่งเสริมโลกอย่างไร จะทำตัวเป็นช่องทางแสดงออกของอกุศลธรรมในรูปของตัณหา หรือในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ หรือจะนำหน้าพากุศลธรรมออกปฏิบัติงานส่งเสริมประโยชน์สุข ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอำนาจอิสระของเจตนาที่จะทำ การกระทำใดไร้เจตนา ก็ย่อมไม่มีผลตามกรรมนิยาม คือไม่เป็นไปตาม
    กฎแห่งกรรม กลายเป็นเรื่องของนิยามอื่นทำหน้าที่ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตุนิยาม คือมีค่าเหมือนกับการที่ดินถล่ม ก้อนหินกร่อนร่วงหล่นจากภูเขา หรือกิ่งไม้แห้งหักลงมา เป็นต้น
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    กรรมนั้น เมื่อจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ ย่อมแบ่งได้เป็น 2อย่าง คือ *

    1. อกุศลกรรม - กรรม ที่เป็นอกุศล การกระทำที่ไม่ดี กรรมชั่ว หมายถึงการกระทำที่เกิด
    จากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ

    2. กุศลกรรม - กรรมที่เป็นกุศล การกระทำที่ดี หรือกรรมดี หมายถึงการกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ

    แต่ถ้าจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม หรือทางแสดงออกของกรรม จัดเป็น 3 คือ (ม.ม.13/64/56 ฯลฯ)

    1. กายกรรม-กรรมทำด้วยกาย หรือการกระทำทางกาย
    2. วจีกรรม-กรรมทำด้วยวาจา หรือการกระทำทางวาจา
    3. มโนกรรม-กรรมทำด้วยใจ หรือการกระทำทางใจ

    เมื่อจำแนกครบตามหลักสองข้อที่กล่าวแล้ว ก็จะมีกรรมรวามทั้งหมด 6 อย่างคือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่ละอย่างที่เป็นอกุศล กับ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่ละอย่างที่เป็นกุศล
    (องฺ.ติก.20/445/131; 586/376)


    อีกอย่างหนึ่ง ท่านจำแนกตามสภาพที่สัมพันธ์กับวิบากหรือการให้ผล จัดเป็น 4 อย่าง คือ **


    1. กรรมดำ - มีวิบากดำ ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่มีการเบียดเบียน ตัวอย่าง ง่ายๆเช่น ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และดื่มสุราเมรัย

    2. กรรมขาว – มีวิบากขาว ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่ไม่มีการเบียดเบียน ตัวอย่าง คือ การประพฤติตามกุศลกรรมบถ 10

    3. กรรมทั้งดำทั้งขาว – มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่มีการเบียดเบียนบ้าง ไม่มีการเบียดเบียนบ้าง เช่นการกระทำของมนุษย์ทั่วๆไป

    4. กรรมไม่ดำไม่ขาว – มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ได้แก่ เจตนาเพื่อละกรรมทั้งสามอย่างข้างต้น หรือว่าโดยองค์ธรรม ได้แก่ โพชฌงค์ 7 หรือมรรคมีองค์ 8

    ………….

    * องฺ. ติก. 20/445/131, 551/338 ฯลฯ อนึ่ง ในกุศลมูล 3 นั้น พึงทราบว่า อโลภะ
    ไม่โลภ หมายถึง ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความโลภ รวมถึงจาคะ อโทสะ ไม่คิดประทุษร้าย หมายถึงธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ โดยเฉพาะเมตตา อโมหะ ไม่หลง หมายถึงธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง โดยเฉพาะปัญญา –อภิ.สํ.34/690/271

    ** กรรม 4 นี้ ทรงแสดงความหมายไว้โดยปริยายต่างๆคือมีหลายนัย ดู ที.ปา.11/256/242 ฯลฯ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ในบรรดากรรม 3 อย่าง คือ กายกรรม วิจีกรรมและมโนกรรมที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น มโนกรรมสำคัญที่สุด และมีผลกว้างขวางรุนแรงที่สุด ดังบาลีว่า


    “ดูกรตปัสสี บรรดากรรม 3 อย่างเหล่านี้ ที่เราจำแนกไว้แล้วอย่างนี้ แสดงความแตกต่างกันแล้วอย่างนี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในความเป็นไปแห่งบาปกรรม หาบัญญัติกายกรรมอย่างนั้นไม่ หาบัญญัติวิจีกรรม อย่างนั้นไม่”
    (ม.ม.13/64/56)


    เหตุที่มโนกรรมสำคัญที่สุด ก็เพราะเป็นจุดเริ่มต้น คนคิดก่อนแล้วจึงพูดจึงกระทำคือแสดงออกทางกายและวาจา ดังนั้น วจีกรรมและกายกรรม จึงขยายออกมาจากมโนกรรมนั่นเอง และที่ว่ามีผลกว้างขวางรุนแรงที่สุด ก็เพราะว่ามโนกรรมรวมถึง ความเห็น ทฤษฎี แนวความคิดและค่านิยมต่างๆที่เรียกว่าทิฏฐิ ทิฏฐินี้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทั่วๆไป
    ของบุคคล ความเป็นไปในชีวิตของบุคคลและคติของสังคมทั้งหมด เมื่อเชื่อ
    เมื่อเห็น หรือนิยมอย่างไร ก็คิดการ พูดจาสั่งสอนชักชวนกัน และทำการต่างๆไปตามที่เชื่อที่เห็นที่นิยมอย่างนั้น ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ การดำริ พูดจาและทำการก็ดำเนินไปในทางผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิไปด้วย

    ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ การดำริ พูดจาและทำการก็ดำเนินไปในทางถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ
    ไปด้วย* เช่น คนและสังคมที่เห็นว่าความพรั่งพร้อมทางวัตถุมีค่าสูงสุดเป็นจุดหมายที่พึง
    ใฝ่ประสงค์ ก็จะเพียรพยายามแสวงหาวัตถุให้พรั่งพร้อมและถือเอาความพรั่งพร้อมด้วยวัตถุนั้น เป็นมาตรฐานวัดความเจริญรุ่งเรืองเกียรติยศและศักดิ์ศรี เป็นต้น วิถีชีวิตของคนและแนวทางของสังคมนั้นก็จะเป็นไปในรูปแบบหนึ่ง

    ส่วนคนและสังคมที่ถือความสงบสุขทางจิตใจเป็นที่หมาย ก็จะมีวิถีชีวิตและความไปอีกแบบหนึ่ง
    .....

    *ที่ว่า มิจฉาทิฏฐิ และสัมมาทิฏฐิ เป็นมโนกรรม ดู องฺ.ทสก.24/194-5/318-320 ฯลฯ
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พุทธพจน์แสดงความสำคัญของมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐินั้นมีมากมาย (จะนำมาให้พิจารณาซักเล็กน้อย) ดังนี้

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ กายกรรมที่ยึดถือปฏิบัติพรั่งพร้อมตามทิฏฐิก็ดี วจีกรรมที่ยึด
    ถือปฏิบัติพรั่งพร้อมตามทิฏฐิก็ดี มโนกรรมที่ยึดถือปฏิบัติพรั่งพร้อมตามทิฏฐิก็ดี เจตนาก็ดี ความปรารถนา
    ก็ดี ประณิธานก็ดี การปรุงแต่งทั้งหลายก็ดี ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไป เพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่
    น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ก็เพราะทิฏฐิชั่วร้าย เปรียบ
    เหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขมก็ดี ที่เขาเอาลงปลูกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดินและรส
    น้ำที่มันดูดซึมไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขม เป็นของเผ็ด เป็นของไม่อร่อย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ก็เพราะพืชไม่ดี...


    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ กายกรรมที่ยึดถือปฏิบัติพรั่งพร้อมตามทิฏฐิก็ดี วจีกรรมที่ยึดถือปฏิบัติพรั่งพร้อมตามทิฏฐิก็ดี มโนกรรมที่ยึดถือปฏิบัติพรั่งพร้อมตามทิฏฐิก็ดี เจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ประณิธานก็ดี การปรุงแต่งทั้งหลายก็ดี ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ก็เพราะทิฏฐิดีงาม เปรียบเหมือนพันธ์อ้อยก็ดี พันธุ์ข้าวสาลีก็ดี พันธุ์ผลจันทร์ก็ดี ที่เขาเอาลงปลูกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซึมไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความมีรสหวาน เพื่อความเป็นของอร่อย เพื่อความน่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ก็เพราะพืชดีงาม...” (องฺ.เอก.20/189-190/42-43 ฯลฯ)

    “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นพิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมทั้งหลายที่ยัง
    ไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ เหมือนอย่างสัมมาทิฏฐินี้เลย...” (องฺ.เอก.20/181-2/40-41)


    “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นพิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ภิกษุทั้งหลายสิ่งที่เป็นโทษทั้งหลาย มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง” องฺ.เอก.20/191-3/44)


    “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นเจ้าใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจเสียหายแล้ว จะพูดก็ตาม
    จะทำก็ตาม ความทุกข์ย่อมติดตามเขาไป เหมือนล้อหมุนตามโคที่ลากเกวียนไป...ถ้าบุคคลมีจิตใจผ่องใสแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม ความสุขย่อมติดตามเขา เหมือนดังเงาที่ติดตามตัวฉะนั้น” (ขุ.ธ.25/11/15)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2008
  14. kacher

    kacher เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    504
    ค่าพลัง:
    +235
    อนุโมทนาค่ะ
    ขออนุญาตเก็บไว้อ่านต่อนะคะเยอะมากเลยค่ะ^_^
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอขอบคุณ คุณ kacher คุณ komodo และท่านอื่นๆด้วยครับ ที่พยายามอ่าน เพราะหัวข้อนี้ ดูประหนึ่งว่า จะขัดๆกับข้อมูลและความเชื่อถือของคนปัจจุบันบางแง่มุม

    ต้องยอมรับว่า ยาวจริงๆครับ นี่ยังไม่ถึงครึ่งไม่รู้ว่าจะลงจบหรือไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2008
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว

    กรรมเป็นเรื่องของความดีและความชั่วโดยตรง เมื่อพูดถึงกรรม จึงควรพูดถึงเรื่องความดีและความชั่วไว้ด้วยเพื่อช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

    <O:p</O:p
    เรื่องความดีและความชั่วมักมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายและหลักเกณฑ์ที่จะวินิจฉัยเช่นอะไรและอย่างไรจึงจะเรียกว่าดี อะไรและอย่างไรจึงจะเรียกว่าชั่วอย่างไรก็ตาม ปัญหาเช่นนี้มีมากเฉพาะในภาษาไทยเท่านั้น

    ส่วนในทางธรรมที่ใช้คำบัญญัติจากภาษาบาลีความหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้นับได้ว่าชัดเจน ดังจะกล่าวต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำว่าดีว่าชั่ว ในภาษาไทยมีความหมายกว้างขวางมากโดยเฉพาะคำว่าดีมีความหมายกว้างยิ่งกว่าคำว่าชั่วคนประพฤติดีมีศีลธรรม ก็เรียกว่า คน ดีอาหารอร่อยถูกใจ ผู้ที่กินก็อาจพูดว่า อาหารมื้อนี้ ดี หรืออาหารร้านนี้ ดีเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพหรือทำงานเรียบร้อยคนก็เรียกว่า เครื่องยนต์ ดี ไม้ค้อนที่ใช้ได้สำเร็จประโยชน์สมประสงค์ คนก็ว่า ค้อนนี้ ดีภาพยนตร์ที่สนุกสนาน ถูกใจคนที่ชอบก็ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ ดีภาพเขียนสวยงามคนก็ว่า ภาพนี้ ดี หรือถ้าภาพนั้นอาจขายได้ราคาสูงคนก็ว่าภาพนั้น ดีเช่นเดียวกัน โรงเรียนที่บริหารงานและมีการสอนได้ผล นักเรียนเก่ง ก็เรียกกันว่าโรงเรียน ดีโต๊ะตัวเดียวกัน คนสามคนบอกว่า ดี แต่ความหมายที่ว่า ดีนั้นอาจไม่เหมือนกันเลยคนหนึ่งว่าดี เพราะสวยงามถูกใจเขาอีกคนหนึ่งว่า ดี เพราะเหมาะแก่การใช้งานของเขาอีกคนหนึ่งว่าดีเพราะเขาจะขายได้กำไรมากในทำนองเดียวกัน ของที่คนหนึ่งว่า ดีอีกหลายคนอาจบอกว่า ไม่ดีของบางอย่างมองในแง่หนึ่งว่า ดีมองในแง่อื่นอาจว่าไม่ดีความประพฤติหรือการแสดงออกบางอย่างในถิ่นหนึ่งหรือสังคมหนึ่งว่า ดีอีกถิ่นหนึ่งหรืออีกสังคมหนึ่งว่า ไม่ดีดังนี้เป็นต้น หาที่ยุติไม่ได้หรืออย่างน้อยไม่ชัดเจนอาจต้องจำแนกเป็นดีในทางจริยธรรม ดีในแง่สุนทรียภาพดีในแง่เศรษฐกิจเป็นต้น<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    ในการศึกษาเรื่องความดีความชั่วที่เกี่ยวกับกรรมนี้ มีข้อควรทราบดังนี้

    <O:p</O:p
    ก. ความดีและความชั่ว ณ ที่นี้ เป็นการศึกษาในแง่ของกรรมนิยาม และมีคำเรียกโดยเฉพาะว่ากุศล และ อกุศลตามลำดับคำทั้งสองนี้มีความหมายและหลักเกณฑ์วินิจฉัยที่นับได้ว่าชัดเจน

    ข.การศึกษาเรื่องกุศล และอกุศลนั้น มองในแง่จริยธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของกรรมนิยาม จึงเป็นการศึกษาในแง่สภาวะหาใช่เป็นการศึกษาในแง่คุณค่าอย่างที่มักเข้าใจกันไม่- (ถ้าจะใช้คำว่าคุณค่า ก็หมายถึงคุณค่าโดยสภาวะไม่ใช่คุณค่าตามที่กำหนดให้)การศึกษาในแง่คุณค่าเป็นเรื่องในระดับสังคมนิยมน์ หรือสังคมบัญญัติซึ่งมีขอบเขตที่แยกจากกรรมนิยามได้ชัดเจน

    ค.ความเป็นไปของกรรมนิยาม ย่อมสัมพันธ์กับนิยามและนิยมน์อื่นๆ ด้วย
    โดยเฉพาะที่พึงใส่ใจพิเศษ คือในด้านภายในบุคคล กรรมนิยาม อิงอยู่กับจิตนิยามในด้านภายนอก กรรมนิยาม สัมพันธ์กับ สังคมนิยมน์ หรือสังคมบัญญัติข้อที่พึงเน้นก็คือ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกรรมนิยามกับสังคมนิยมน์ จะต้องแยกขอบเขตระหว่างกันให้ชัดและจุดเชื่อมต่อซึ่งเป็นทั้งที่แยกและที่สัมพันธ์ระหว่างขอบเขตทั้งสองนั้นก็มีอยู่<O:p</O:p
     
  17. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    โมทนาครับ

    สิ่งใดที่เราไม่รู้ ไม่ได้หมายความว่าไม่จริง
    สิ่งใดที่เราไม่เข้าใจ ไม่ได้หมายความว่าไม่จริง
    สิ่งใดที่เรารู้ ไม่ได้หมายความว่าจริง
    สิ่งใดที่เราเข้าใจ ไม่ได้หมายความว่าจริง

    ผมคิดแบบนี้ครับ อ่านแล้ว "งง" ไหมครับ หุหุ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493


    สาธุครับที่คิดอย่างนี้

    ถ้าอย่างนั้นลงต่ออีกครับ

    <O:p</O:p
    ความหมายของกุศลและอกุศล<O:p</O:p

    กุศล และ อกุศล แปลกันโดยทั่วไปว่า ดี และชั่วหรือไม่ดี ก็จริงแต่แท้จริงแล้ว หาตรงกันทีเดียวไม่สภาวะบางอย่างเป็นกุศล แต่อาจจะไม่เรียกว่าดีในภาษาไทยสภาวะบางอย่างอาจเป็นอกุศล แต่ในภาษาไทยก็ไม่เรียกว่า ชั่วดังจะเห็นต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กุศล และ อกุศล เป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ และมีผลต่อจิตใจก่อน แล้วจึงมีผลต่อบุคลิกภาพ และแสดงผลนั้นออกมาภายนอกความหมายของกุศล และ อกุศลจึงเพ่งไปที่พื้นฐาน คือเนื้อหาสาระและความเป็นไปภายในจิตใจเป็นหลัก

    <O:p</O:p
    กุศล แปลตามศัพท์ว่า ฉลาด ชำนาญ สบาย เอื้อหรือเกื้อกูล เหมาะ ดีงามเป็นบุญคล่องแคล่ว ตัดโรค หรือตัดสิ่งชั่วร้ายที่น่ารังเกียจ

    <O:p</O:p
    ส่วน อกุศล ก็แปลว่า สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล หรือตรงข้ามกับกุศลเช่นว่า ไม่ฉลาด ไม่สบาย เป็นต้น
    (กุศลนิยมแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า wholesome; skilful; meritorious.)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p
    </O:pความหมายเชิงอธิบายในทางธรรมของกุศล ที่ถือได้ว่าเป็นหลักมี 4 อย่าง คือ

    1. อาโรคยะ -ความไม่มีโรค คือสภาพจิตที่ไม่มีโรคอย่างที่นิยมเรียกกันบัดนี้ว่าสุขภาพจิตหมายถึงสภาวะหรือองค์ประกอบที่เกื้อกูลแก่สุขภาพจิต ทำให้จิตไม่ป่วยไข้ ไม่ถูกบีบคั้น ไม่กระสับกระส่าย เป็นจิตแข็งแรง คล่องแคล่ว สบาย ใช้งานได้ดี เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2. อนวัชชะ-ไม่มีโทษหรือไร้ตำหนิ แสดงถึงภาวะที่จิตสมบูรณ์ ไม่บกพร่องไม่เสียหาย หรือไม่มีของเสียไม่มัวหมอง ไม่ขุ่นมัว สะอาด เกลี้ยงเกลาเอี่ยมอ่อง ผ่องแผ้ว เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3. โกศลสัมภูต เกิดจากปัญญาหรือเกิดจากความฉลาด หมายถึงภาวะที่จิตประกอบอยู่ด้วยปัญญาหรือมีคุณสมบัติต่างๆซึ่งเกิดจากความรู้ความเข้าใจ สว่าง มองเห็นหรือรู้เท่าทันความเป็นจริง สอดคล้องกับหลักที่ว่า กุศลธรรมมีโยนิโสมนสิการ คือความรู้จักคิดแยบคายหรือรู้จักทำใจอย่างฉลาดเป็นปทัฏฐาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    4. สุขวิบาก-มีสุขเป็นวิบาก คือเป็นสภาพที่ทำให้มีความสุขเมื่อกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจ ย่อมเกิดความสุขสบายคล่องใจในทันทีนั้นเองไม่ต้องรอว่าจะมีผลตอบแทนภายนอกหรือไม่เหมือนกับว่าเมื่อร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคเบียดเบียน (อโรค)ไม่มีสิ่งสกปรกเสียหายมลทินหรือของที่เป็นพิษภัยมาพ้องพาน (อนวัชชะ)และรู้ตัวว่าอยู่ในที่มั่นคงปลอดภัยถูกต้องเหมาะสม (โกศลสัมภูต)ถึงจะไม่ได้เสพเสวยสิ่งใดพิเศษออกไป ก็ย่อมมีความสบายได้เสวยความสุขอยู่แล้วในตัว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ความหมายของอกุศล ก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามจากที่กล่าวมานั้นคือเป็นสภาพจิตที่มีโรค ไร้สุขภาพ มีโทษ มีตำหนิ มีข้อเสียหาย เกิดจากอวิชชาและมีทุกข์เป็นผล (วิบาก)
    พูดสั้นๆ อีกนัยหนึ่งว่าเป็นสภาพที่ทำให้จิตเสียคุณภาพ และเสื่อมสมรรถภาพ ตรงข้ามกับกุศลซึ่งส่งเสริมคุณภาพและสมรรถภาพของจิต<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพื่อให้เห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น อาจบรรยายลักษณะของจิตที่ดีงาม ไร้โรค ไม่มีโทษเป็นต้น ให้ดูก่อนแล้วพิจารณาว่ากุศลธรรมคือสิ่งที่ทำให้จิตมีลักษณะเช่นนั้น หรือกุศลธรรมทำให้เกิดสภาพจิตเช่นนั้นอย่างไร

    <O:p</O:p
    อกุศลธรรมคือสิ่งที่ทำให้จิตขาดคุณลักษณะเช่นนั้นหรือทำให้จิตเสื่อมเสียสภาพจิตเช่นนั้นอย่างไร<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2008
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลักษณะที่จะกล่าวต่อไปนี้ นำมาจากบาลีในที่ต่างๆหลายแห่ง เป็นลักษณะของจิตที่ดีงามตั้งแต่ระดับสามัญ จนถึงขั้นสูงสุดคือจิตของพระอรหันต์ขอให้ถือว่าเป็นการวางภาวะที่สมบูรณ์ไว้เป็นมาตรฐาน <O:p></O:p>

    -ชุดหนึ่งว่า
    ปัสสัทธะ-ผ่อนคลาย หรือเรียบสงบ หรือเย็นสบายลหุ-เบา
    มุทุ-นุ่มนวล หรืออ่อนโยนหรือละมุน<O:p</O:p
    กัมมัญญะ- ควรแก่งานหรือพร้อมที่จะใช้งาน<O:p</O:p
    ปคุณะ-คล่องแคล่ว<O:p</O:p
    อุชุ-ซื่อตรง ไม่คดโค้งโกงงอบิดเบือนเชือนแช
    ( อภิ.สํ. 34/240-250/94-5 ชุดนี้จากโสภณเจตสิกส่วนหนึ่งในอภิธรรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ชุดหนึ่งว่า

    มุทุ-นุ่มนวล ละมุนกัมมนียะ-ควรแก่งาน เหมาะแก่การใช้งาน
    ประภัสสร-ผ่องใส แจ่มจ้า
    อปภังคุ-ไม่เปราะเสาะ แข็งแรงทนทาน<O:p</O:p
    สมาหิตะ-ตั้งมั่น
    อนาวรณัง-ไม่มีสิ่งกีดกั้น ไม่ถูกจำกัด
    อนิวรณัง-ไม่มีสิ่งขัดขวางไม่ติดขัดหรือคับข้อง<O:p</O:p
    อนุปักกิลิฏฐะ-ไม่เศร้าหมองไม่ขุ่นมัว
    อนัชฌารุฬห์- ไม่ถูกกดทับไม่ถูกกดถูกบีบ<O:p</O:p
    อวิฆาตะ-ไม่คับแค้นไม่คับเครียดอึดอัด
    (ชุดนี้เกี่ยวด้วยนิวรณ์และโพชฌงค์สํ.ม.19/474-502/131-7)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อีกชุดหนึ่งว่า<O:p</O:p

    สมาหิตะ-ตั้งมั่นทรงตัวเรียบสม่ำเสมอ
    ปริสุทธ์-สะอาด หมดจด
    ปริโยทาตะ-ผุดผ่อง กระจ่าง สว่างไสว
    อนังคณะ-ไร้ไฝฝ้าโปร่งโล่งเลี้ยงเกลา
    วิคตูปกิเลส-ปราศสิ่งมัวหมอง
    มุทุภูตะ-นุ่มนวล ละมุนละไม
    กัมมนียะ-ควรงาน
    ฐิตะ และ อาเนญชัปปัตตะ-ทรงตัวอยู่ เข้าที่อยู่ตัว ไม่หวั่นไหว แน่วแน่
    ไม่วอกแวก
    (ชุดนี้คือลักษณะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิเป็นอย่างดีแล้ว ม.ม. 13/506/460)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ลักษณะต่อไปนี้ โดยมากเป็นภาวะจิตและบุคลิกภาพของพระอรหันต์นำมาลงไว้สำหรับประกอบการพิจารณาด้วย เช่น

    อกิญจนะ-ไม่มีอะไรค้างใจ ไม่มีสิ่งคั่งค้างกังวลสันตะ-สงบ แสนซึ้ง
    อโศก-ไร้โศกวิรชะ-ไม่มีธุลี (ธุลี คือ กิเลสเครื่องเศร้าหมอง)
    เขมะ-เกษมปลอดโปร่ง มั่นคง ไม่มีภัย
    นิจฉาตะ-ใจไม่โหยหิว อิ่มใจ <O:p</O:p
    สีติภูตะ-เย็นหรือเย็นซึ้ง
    นิพพุตะ-หมดร้อน
    เสรี-เที่ยวไปได้สบายไม่มีอะไรเกาะเกี่ยว
    สยังวสี-มีอำนาจในตัวเองเป็นตัวของตัวเองแท้จริง
    สุขี-มีความสุข หรือเป็นสุข<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อีกชุดหนึ่งโดยมากเป็นลักษณะจิตและบุคลิกภาพของพระอรหันต์เหมือนกันแต่เน้นเฉพาะแง่ที่เป็นอิสระเช่น

    อนัลลีนะ-ไม่ติด หรือไม่หมกมุ่น
    อนัชโฌสิตะ-ไม่สยบ
    อนิสสิตะ-ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด
    อนูปลิตต์-ไม่ถูกฉาบติดหรือไม่แปดเปื้อน
    อนิสสิตะ-ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด
    วิสัญญตะ-ไม่พัวพัน
    วิปปมุตต์-หลุดพ้น
    วิมริยาทิกตจิต-มีจิตไร้ขอบคัน หรือมีใจไร้เขตแดน
    <O:p</O:p
    (ม.อุ.14/155/117;168/124 ฯลฯ และกระจายทั่วไปในคัมภีร์มหานิทเทส ไม่น้อยกว่า 15 แห่ง เช่น
    ขุ.ม.29/64/65; ฯลฯ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพื่อให้กำหนดได้ง่ายขึ้น อาจรวมลักษณะเหล่านี้เข้าเป็นกลุ่มได้ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1. ตั้งมั่น เช่น แน่วแน่ อยู่ตัว ทรงตัวเรียบสม่ำเสมอ ไม่หวั่นไหว
    ไม่วอกแวก ไม่พล่าน ไม่ส่าย
    <O:p</O:p

    2. บริสุทธิ์ผ่องใส เช่น ปราศจากสิ่งมัวหมอง ไม่ขุ่นมั่ว ไม่เศร้าหมอง
    ไร้ใฝ่ฝ้า เกลี้ยงเกลา ผุดผ่อง แจ่มจ้า สว่างไสว
    <O:p</O:p
    3. โปร่งโล่งเป็นอิสระ เช่น ไม่ติดขัด ไม่คับแคบ ไม่ถูกจำกัดขัดขวาง
    ไม่ถูกกดทับหรือบีบคั้น ไม่อึดอัด กว้างขวาง ไร้เขตแดน
    <O:p</O:p
    4 . เหมาะแก่การใช้งาน เช่น นุ่มนวล อ่อนละมุน เบาสบาย ไม่หนัก คล่องแคล่ว ทนทาน ไม่เปราะเสาะ
    ไม่กระด้าง ซื่อตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดงอ ไม่บิดเบือน ไม่เฉไฉ
    <O:p</O:p
    5. สงบสุข เช่น ผ่อนคลาย เรียบสงบ ไม่เครียด ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อน ไม่กระสับกระส่ายหรือทุรนทุราย ไม่ขาดแคลน ไม่หิวโหย เอิบอิ่ม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อทราบลักษณะของจิตใจที่สมบูรณ์ มีสุขภาพดี ไร้มลทินโทษ เช่นนี้แล้วก็พึงนำเอาธรรมที่ได้ชื่อว่าเป็นกุศล และอกุศลมาพิจารณาตรวจสอบดูว่าธรรมที่เป็นกุศลส่งเสริมคุณภาพและสมรรถภาพของจิตใจจริงหรือไม่อย่างไรและธรรมที่เป็นอกุศลทำให้จิตมีโรค เกิดความเน่าเสีย ผุโทรม เสียหายบกพร่องไม่สบาย เป็นทุกข์ เสื่อมเสียคุณภาพและสมรรถภาพจิตจริงหรือไม่อย่างไร<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2008
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตัวอย่างกุศลธรรมเช่น

    เมตตา-ความรัก ความปรารถนาดีต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข
    อโลภะ-ความไม่โลภ ว่างจากความใคร่ติดใจตลอดจนมีความคิดเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น
    ปัญญา-ความรู้ชัด ความเข้าใจความรู้เท่าทันตามความเป็นจริง
    ปัสสัทธิ-ความผ่อนคลายสงบ เย็นกายเย็นใจไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย
    มุทิตา-ความพลอยเบิกบานยินดี บันเทิงใจเมื่อผู้อื่นประสบความเจริญหรือเป็นสุขเป็นต้น
    สติความระลึกได้ความสามารถคุมจิตอยู่กับสิ่งที่พึงเกี่ยวข้อง หรือกิจที่ต้องทำ
    กุศลฉันทะ-ความพอใจใฝ่รักในสิ่งดีงาม อยากรู้อยากทำให้เป็นจริงมีจิตพุ่งแล่นไปในแนวทางแห่งเหตุปัจจัย<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ตัวอย่างอกุศลธรรม เช่น

    <O:p</O:p
    กามฉันท์-ความอยากได้ใคร่เอา
    พยาบาท-ความคิดร้าย ขัดเคือง หรือ แค้นใจ
    ถีนมิทธะ-ความหดหู่ท้อแท้ หงอยเหงาเซื่องซึม และโงกง่วง
    อุทธัจจกุกกุจจะ -ความฟุ้งซ่าน คิดพล่าน หงุดหงิดกลัดกลุ้ม รำคาญ และเดือดร้อนใจ
    วิจิกิจฉา-ความลังเล ไม่อาจตัดสินใจ
    โกธะ-ความโกรธ
    อิสสา-ความริษยา เห็นคนอื่นได้ดีทนไม่ได้
    มัจฉริยะ-ความตระหนี่ ความหึงหวงความคิดเกียดกัน เป็นต้น<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    เมื่อมีเมตตา จิตใจย่อม สุขสบาย แช่มชื่นผ่องใส ปลอดโปร่งและกว้างขวางเป็นสภาพเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ส่งเสริมคุณภาพและสมรรถภาพของจิตเมตตาจึงเป็นกุศล<O:p</O:p

    สติทำให้ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังเกี่ยวข้องหรือกำลังทำระลึกได้ถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในกรณีนั้นๆ
    และป้องกันไม่ให้อกุศลธรรมทั้งหลายได้โอกาส ทำให้จิตใจอยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้อย่างดี
    สติจึงเป็นกุศล<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ความริษยา ทำให้จิตใจคับแคบ ถูกกดทับบีบคั้น ไม่สบาย ไม่ปลอดโปร่ง
    บั่นทอนคุณภาพและสุขภาพจิตอย่างเห็นได้ชัด ความริษยา จึงเป็นอกุศล

    ความโกรธก็แผดเผาใจของตนเอง บีบคั้นกระทบใจให้ไม่สบายและส่งผลกระทบกระเทือนออกมาถึงสุขภาพกายได้อย่างรวดเร็ว จึงเห็นได้ชัดเช่นกันว่าเป็นอกุศล

    กามฉันท์ หรือแม้ความโลภอย่างกว้างๆ ก็ทำให้จิตวกวนพัวพัน ติดข้องกลัดกลุ้มหรือเอนเอียงไป เดินไม่ตรงและมัวหมอง ไม่โล่ง ไม่โปร่ง ไม่ผ่องใสจึงเป็นอกุศลดังนี้เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีข้อสังเกตว่า ความหดหู่ หงอยเหงา เฉาซึมและความฟุ้งซ่าน เป็นต้น แม้จะเป็นอกุศลแต่ในภาษาไทย
    จะเรียกว่าเป็นความชั่ว ก็คงไม่สู้ถนัดปากนัก

    ในทำนองเดียวกัน กุศลธรรมบางอย่าง เช่น ความสงบผ่อนคลายภายในกายในใจจะเรียกในภาษาไทย
    ว่าความดี ก็อาจจะไม่สนิททีเดียวนักนี้เป็นตัวอย่างแง่หนึ่ง ให้เห็นว่า กุศลและอกุศล กับความดีและ
    ความชั่วมิใช่ มีความหมายตรงกันแท้ทีเดียว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อเข้าใจความหมายของกุศลและอกุศลอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าใจความหมายของกรรมดีและกรรมชั่ว คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรมด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่าเจตนาเป็นตัวกรรมดังนั้นเจตนาที่ประกอบด้วยกุศล ก็เป็นกุศลเจตนา และเป็นกุศลกรรมเจตนาที่ประกอบด้วยอกุศล ก็เป็นอกุศลเจตนา และเป็นอกุศลกรรมเมื่อกุศลเจตนา และ อกุศลเจตนานั้น เป็นไปหรือแสดงออก โดยทางกาย ทางวาจาและทางใจ ก็เรียกว่า เป็น
    กุศลกรรม และ อกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายกรรม วจีกรรม
    และมโนกรรม ที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลตามลำดับ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...