กฎแห่งกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 19 มิถุนายน 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>คัดมาจากหนังสือธรรมะเล่มหนึ่ง [​IMG]

    กฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการกระทำ หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา หรือความตั้งใจ จงใจ ที่เราทำไว้เอง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน แล้วเราก็รับผลแห่งกรรมนั้น เรียกว่า "กฎแห่งกรรม"

    เรื่องของกรรม เป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนมาก ลำพังปุถุชนคนธรรมดา ไม่อาจที่จะรู้ให้ตลอดสายได้ อย่าว่าแต่กรรมในอดีต ที่ข้ามภพข้ามชาติหลายชาติเลย แม้กรรมในปัจจุบันเราก็ยังรู้ได้ยาก เช่น บางคนทำแต่ความดีมาตลอด แต่ก็ได้รับความทุกข์ หรือความเดือดร้อนต่างๆ เป็นต้น บางคนทำแต่ความชั่ว แต่ก็ได้รับยกย่อง มีเกียรติ เป็นต้น

    การไม่เชื่อกรรม หรือกฎแห่งกรรม มีผลเสียมาก ที่บางคนท้อใจไม่อยากทำดี ก็เพราะไม่เข้าใจกฎแห่งกรรมอย่างถูกต้อง เมื่อไม่เข้าใจก็ไม่อยากทำความดี เมื่อไม่ทำความดี ชีวิตก็หมดความสุข

    การเชื่อกฎแห่งกรรมเพียงประการเดียว ทำให้คนเราตั้งหน้าตั้งตาทำแต่ความดี ชีวิตก็ย่อมจะประสบความสุข ทั้งในชาตินี้และชาติต่อๆ ไป

    บางคนอาจจะสงสัยว่า ก็เราไม่เคยทำความชั่ว และได้ทำแต่ความดีมาโดยตลอด แต่ทำไมจึงได้รับความเดือดร้อนต่างๆ อยู่เป็นประจำ ? อย่าได้สงสัยให้เสียกำลังใจในการทำความดีเลย นั่นเป็นผลของความชั่ว ที่เราได้ทำไว้ในอดีตกำลังให้ผลอยู่ จงยินดีรับและทำความดีเรื่อยไป ในวันหนึ่งมันก็ย่อมหมด และกรรมดีก็ย่อมจะให้ผลเราบ้าง คราวนี้เราก็ย่อมจะได้รับผลของความดี คือความสุขอื้อซ่าไปเลยเชียวละ

    ก็คิดดูหรือเอาอะไรตรองดูเถอะ ! ขนาดในชาตินี้เราไม่ทำชั่ว เรายังเดือดร้อนถึงเพียงนี้ แล้วถ้าเราขืนไปทำชั่วต่อเข้าอีก นอกจากในชาตินี้เราจะเดือดร้อนแล้ว ในชาติต่อไปเราก็ยิ่งจะเดือดร้อนใหญ่

    อย่าสงสัยเลย กรรมกับการให้ผลของกรรม ย่อมลงตัวกันเสมอ เช่น เราทำบุญ เราก็ย่อมสบายใจ เราทำบาป เช่น ฆ่าเขา เราก็ย่อมจะทุกข์ใจ กลัวผลกรรมจะตามสนองก็เห็นกันอยู่เจ๋งๆ แล้ว ยังจะสงสัยอะไรกันอีกเล่า ? เราไหว้เขา เขาก็ไหว้เรา เราด่าเขา เขาก็ด่าตอบ ก็เห็นเหตุและผลกันอยู่ทนโท่แล้วนี่นา จะมัวชักช้าอยู่ไย ?

    ที่คนส่วนมาก มักจะเข้าใจการให้ผลของกรรมผิด ก็โดยการเอาการให้ผลกรรมฝ่ายรูปหรือวัตถุ ไปรวมกับการให้ผลกรรมฝ่ายนามหรือจิตใจไปเสีย คือเข้าใจเพี้ยนไปว่าคนทำบุญให้ทาน จะต้องร่ำรวยทันตาเห็น เพราะทางพระสอนว่า คนให้ทาน เกิดชาติใดจะร่ำรวยมีเงินทองมากมายเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นต้น

    แต่แล้วเหตุไฉนคนยิ่งทำบุญมาก ก็ยิ่งยากจนลง ? และคนเข้าวัดส่วนมากก็ล้วนแต่เป็นคนจนเล่า ? หรือว่าพระท่านจะหลอกให้คนทำบุญ ท่านจะได้ร่ำรวย กินดีอยู่สบาย ? ขอชี้แจงเรื่องผลของบุญ หรือผลของกรรมประเภทรูปและนามดังนี้

    ผลบุญหรือกรรมประเภทรูป (วัตถุ) นี้ ค่อนข้างจะพิสูจน์ยาก เพราะรู้สึกว่า ผลของกรรมหรือบุญฝ่ายนี้ค่อนข้างจะเดินทางช้า ไม่ค่อยจะทันใจคนที่คิดมากเลย

    แต่ก็ขอให้มั่นใจเถอะว่า เรื่องของการให้ผลของกรรมไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุญหรือบาปก็ตาม ย่อมจะลงตัวกันเสมอ จะมีตัวแปรให้เสียคิวไปบ้าง ก็ย่อมจะไม่พ้นวงจรของกรรมอีกเช่นกัน

    ที่เราเห็นว่า คนรวยเข้าวัดทำบุญน้อย ก็เกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือ หาเวลาว่างยาก กับประมาทมัวเมาในความมีทรัพย์ ตรงข้ามกับคนจน ซึ่งมีเวลาว่างมาก (ลูกจึงมาก) และมักจะเห็นโทษของความจน จึงตั้งหน้าแต่ทำบุญ หวังว่าชาติหน้าจะได้ร่ำรวยกับเขาบ้าง

    ส่วนผลบุญหรือกรรมประเภทนาม (จิตใจ) นี้ เราสามารถเห็นได้ทันทีทันใดทั้งที่นี่และเดี๋ยวนี้เลยว่า คนทำบุญหรือทำความดี จิตใจย่อมจะสดชื่นและแจ่มใสในทันที หรือแม้เพียงแต่คิดเท่านั้น บุญก็เกิดแล้ว

    ยกเว้นแต่คนที่ "มือถือสาก ปากถือศีล" หรือ "ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ" หรือ "ทำบุญเอาหน้า ภาวนาตอแหล" เท่านั้นแหละ ที่การกระทำมักจะสวนทางกับความคิดอยู่ตลอดเวลา

    การเชื่อกฎแห่งกรรมอย่างถูกต้อง จะช่วยตัดหรือปัดความผิดไปให้คนอื่นจนหมดสิ้น ทำให้เรายอมรับความจริงอันเกิดขึ้นจากผลกรรมว่า เป็นการกระทำของเราเอง เราทำไว้ด้วยตัวเราเอง ความทุกข์อันเกิดจากความคั่งแค้น ว่าคนอื่นมาทำให้เรานั้น ก็เป็นอันว่าหมดไป

    เพราะว่าโดยแท้จริงแล้ว เราทำของเราเอาไว้เองทั้งนั้น แล้วเราจะไปตีโพยตีพายเอากับใคร ? ยิ่งเอะอะมะเทิ่งมากไป ก็จะยิ่งขายหน้าท่านผู้รู้เขาเปล่าๆ เสียภูมิของบัณฑิตหมด

    บางคนอาจจะยังปากแข็งไม่ยอมเชื่อ ใช่ ! นั่นแหละ ? เราได้ไปทำกับเขาเอาไว้ก่อน ชาติก่อนๆ โน้น ! ชาติไหนก็ไม่รู้ แต่ว่าเราต้องไปทำเขาไว้ก่อนแน่ อย่าได้ไปโต้ตอบเขาเลย มันจะได้หายหรือเจ๊ากันไป ขืนไปตอบโต้เขาก็จะทำให้ผลกรรมใหม่นี้ มันก็จะติดตามไปชาติหน้าอีกไม่รู้จักหมดกรรมหมดเวรกันสักที

    ก็เหมือนเรื่องสมเด็จ (โต) ท่านตัดสินคำฟ้องที่ว่า มีพระสองรูปไปบิณฑบาติทางเรือ องค์หนึ่งพายหัว องค์หนึ่งพายท้าย แต่แล้วเหตุใดไม่ทราบ องค์พายท้ายเกิดเอาพายไปไปตีหัวองค์พายหัวเรือเข้า ท่านก็ไปฟ้องสมเด็จฯ สมเด็จฯ ท่านก็ตัดสินว่า "ก็คุณไปตีเขาก่อนนี่ เขาจึงตีเอา"

    พระรูปพายหัวเรือก็แย้งว่า "กระผมไม่ได้ตีเขา เขาตีผมข้างเดียว"

    สมเด็จฯ ท่านก็ยังยืนยันอย่างนั้น จนต้องไปฟ้องพระผู้ใหญ่ที่ปกครองเหนือกว่า สมเด็จ (โต) ท่านก็จึงได้เฉลยว่า

    "ถ้าพระองค์นี้ไม่ไปตีเขาไว้ในชาติก่อนแล้ว เหตุใดเขาจึงได้มาถูกตีในชาตินี้เล่า ?"

    เรื่องนี้ก็ยุติกันไป เพราะสมเด็จฯ ท่านเล่นยกไปให้กรรมเก่าในชาติก่อน มันก็เอวังกันเท่านั้นเอง

    เอาเป็นว่า การที่เราได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน ความยากจน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจทั้งหมดเหล่านั้น ล้วนเป็นผลมาจากกรรมชั่วของเราในอดีตโน้นกำลังให้ผลอยู่

    ส่วนว่าเราได้รับความสุข ความสบาย ความร่ำรวย.... นั่นก็เป็นผลของกรรมฝ่ายดี ทั้งในอดีตและในปัจจุบันกำลังให้ผลอยู่ ผสมผสานกันจนแยกไม่ออก แต่ก็เห็นได้ง่ายๆ ว่า แม้ว่าคนนั้นจะมีบุญมากปานใด ? ก็จะส่งให้มาเกิดในตระกูลที่ร่ำรวยเท่านั้น แต่ถ้าโง่และขี้เกียจในชาตินี้ มันก็ไม่พ้นความยากจนไปได้

    เป็นอันว่า การเชื่อกฎแห่งกรรมนั้น มีแต่ผลดี คือช่วยเป็นกำลังใจ ให้ทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป และความดีนั้นย่อมมีผลเป็นความสุข ผู้ทำความดีก็ย่อมจะมีความสุขในปัจจุบัน และแม้สิ้นชีพไปแล้ว ก็ย่อมจะไปเกิดในสุคติอย่างไม่ต้องสงสัยเลย. </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2176
     
  2. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญ


     

แชร์หน้านี้

Loading...