กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงตา, 20 พฤศจิกายน 2007.

  1. ศิษย์หลวงตา

    ศิษย์หลวงตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2007
    โพสต์:
    500
    ค่าพลัง:
    +2,855
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4 height=29>
    กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี


    ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป อาจจะเป็นคำกล่าวที่ติดปากสำหรับใครหลาย ๆ คน
    ในยามเมื่อคน ๆ นั้นทำอะไรแล้วไม่ได้ผลดั่งที่ตั้งใจไว้




    </TD></TR><TR><TD width="29%">
    </TD><TD width="1%">
    </TD><TD width="35%">
    [​IMG]
    </TD><TD width="35%">
    </TD></TR><TR><TD>

    </TD><TD colSpan=2>


    </TD><TD>
    แต่งโดย
    อาวุธปญฺโญ ภิกขุ
    aomam_hipo@hotmail.com


    </TD></TR><TR><TD colSpan=4>ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป อาจจะเป็นคำกล่าวที่ติดปากสำหรับใครหลาย ๆ คน ในยามเมื่อคน ๆ นั้นทำอะไรแล้วไม่ได้ผลดั่งที่ตั้งใจไว้ โดยสัญชาตญาณของมนุษย์แล้วเมื่อได้ลงทุนทำอะไรแล้ว เอาอย่างที่เป็นจริงเป็นจังก็ย่อมจะต้องมีความรู้สึกอยากจะได้อะไรตอบแทนบ้างไม่มากก็น้อย อย่างคนที่ทำงานในบริษัทเมื่อตั้งใจทำงานไม่เคยมาสายเลย มักจะหวังลึก ๆ ในใจอยากจะให้เจ้านายขึ้นเงินเดือนให้ นักการเมืองมีการเปิดปราศรัยหาเสียง แล้วแจกของก่อนจะมีการเลือกตั้งสักเดือนสองเดือน โดยมักป่าวประกาศออกเครื่องกระจายเสียงทุกครั้งที่ขึ้นปราศรัยว่า เงินส่วนนี้เป็นเงินของตนเองทั้งหมด ไม่เกี่ยวกับส่วนไหนเลย เพราะหวังผลประโยชน์ในอนาคต แม้กระทั้งผู้ที่มีศีลมีธรรมเข้าวัดทำบุญเป็นประจำก็ตาม ก็ยังไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ เมื่อทำบุญเสร็จแล้วยังอธิษฐานเพื่อหวังกับบุญที่ตัวเองได้ทำ ขอเพียงแค่ว่าขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขความเจริญ ปรารถนาสิ่งใดก็ให้ได้สิ่งนั้น อย่าให้มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ซึ่งสิ่งที่ขอนี้เป็นสิ่งที่ไม่ใช่วิสัยของนักปฏิบัติ นักปฏิบัติควรจะมีวิสัยโน้มไปในทางพระนิพพานซึ่งเป็นทางอันสูงสุดในชีวิต


    เมื่อคนกระทำความดีลงไปแล้วกลับไม่ได้ผลตอบแทนตามที่หวัง ส่วนมากก็จะละตายจากการกระทำความดี เนื่องจากไม่เห็นผลของคุณงามความดีนั้น ตรงข้ามกับการทำความชั่วเมื่อทำลงไปแล้วกลับได้ผลที่เห็นทันตาเช่น เมื่อขโมยของคนอื่นมา ผลของการกระทำนั้นมักเห็นทันคือมีของอยู่ในมือ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความมีมิจฉาทิฐิ เหมือนมีคำพังเพยที่พูดกันติดปากว่า เห็นกรงจักรเป็นดอกบัว หมายถึงเห็นสิ่งที่ชั่วเป็นความดี
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD colSpan=3>
    ในการทำความดีท่านกล่าวว่า ถ้าหวังผลมากก็ทุกข์มากเพราะไม่ได้ดั่งใจหวัง ภายในตัวความหวังนั้นก่อเกิดความมีอัตตาเกิดขึ้นมาในจิตใจ พอนำคำมาเปรียบเทียบถึงความหมายลึก ๆ แล้วก็จะได้ว่า คนมีอัตตามากก็ทุกข์มาก อัตตา คือ การเอาความไม่รู้เข้าไปยึดเข้าไปถือ กับสิ่งที่ไม่ใช่ความจริงแท้ ก็เลยเกิดความเดือดร้อน ถ้าจะมีสักคนที่รู้ความเป็นจริงแล้วหมั่นทำความดี โดยไม่ได้มีอัตตาคิดหวังจะได้ผลตอบแทนจากสิ่งนั้น คำที่ว่าทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป ก็จะลบเลือนหายไปจากจิตใจ ครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลายท่านสอนไม่ให้มีอัตตา ดั่งเช่นมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่งท่านไปงานนิมนต์โยมที่เป็นศรัทธาวัดคนหนึ่ง เมื่อไปถึงท่านก็นั่งที่อาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ ญาติโยมก็เตรียมข้าวเตรียมของอยู่ พอดีโยมที่อยู่ข้างห้องใส่เกี๊ยะเดินกันเสียงดัง เสียงดังนั้นผ่านเข้ามาในห้องที่กำลังทำพิธีอยู่ โยมที่เป็นเจ้าภาพเกิดอัตตาขึ้นมาทันที่เลยร้องสวนกลับไปว่า เฮ้ยอย่างเสียงดัง กำลังทำพิธีอยู่ แล้วพระก็ร้องสวนขึ้นทันทีว่า โยมก็อย่าเอาหูไปรองเกี๊ยะเขาซี่ เป็นเรื่องที่เป็นอุทาหรณ์ได้อย่างดีสำหรับคนที่มีอัตตา

    </TD></TR><TR><TD colSpan=4>
    ตามหลักของความเป็นจริงแล้วคนที่มีความเห็นผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ปกติส่วนมากก็จะนึกเอาเฉพาะใกล้ ๆ สั้น ๆ เอาเฉพาะที่จำได้ ไม่ได้นึกไปข้างหน้าไปข้างหลังว่าแต่ก่อนเคยทำอะไรไว้ ถึงได้รับแต่ความไม่สมปรารถนาอย่างนี้ อาจจะเคยทำกรรมไว้ในชาติก่อนหรือชาตินี้แล้วผลกรรมนั้นย้อนกลับมาให้ผลก็เป็นได้ ถึงแม้จะกำลังทำความดีอยู่ก็ตามผลกรรมก็จะสามารถให้ผลของมันได้ไม่เลือก เราเพิ่งจะได้ยินข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า มีเด็กที่ขาขาดเพราะล้อรถจักรยานยนต์ หลังจากที่พ่อแม่กลับจากทำบุญมาไม่นาน อาจทำให้หลาย ๆ คนไม่อยากทำบุญ

    </TD></TR><TR><TD>
    </TD><TD>
    </TD><TD>
    </TD><TD>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    แต่บุคคลผู้มีปัญญาย่อมจะเชื่อในอานิสงฆ์ของการทำบุญ แม้ผลบุญจะยังไม่ให้ผลก็ตาม ด้วยความคิดว่าบุญนั้นไม่จำเป็นจะต้องให้ผลแม้ในชาตินี้อย่างเดียว อาจจะให้ผลในชาติหน้าก็ได้
    เมื่อบุคคลใดคิดได้ดังนี้แล้ว ก็นับว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้ตายจากความดี และความดีก็จะย้อนกลับมาให้ผลกับบุคคลนั้น แม้จะปฎิเสธยังไงก็ไม่สามารถหลีกหนีได้ทั้งความดีและความชั่ว อาจจะมีผู้ที่สงสัยว่า แล้วผู้ที่นับถือศาสนาอื่นละจะเป็นอย่างไร สำหับผู้นับถือศาสนาพุทธขอบอกว่าเหมือนกันทั้งนั้น เพราะอะไรเพราะว่า ลองนึกดูว่า คนยุโรปกินขนมปัง คนอินเดียกินโรตี กับคนไทยกินข้าวความอิมจะเหมือนกันไหม แน่นอนว่าย่อมจะไม่แต่ต่างกันเลย เราเปรียบเทียบได้ดังนี้แล้วก็รู้เลยว่าผลของความดีและความชั่วย่อมให้ผลกับทุกคนทุกเชื้อชาติ


    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=4>
    ฉะนั้นแล้ว เราควรจะพยายามกระทำแต่ความดีให้มาก อย่านึกว่าเราทำความไม่ดีแล้วจะไม่มีใครเห็น บุคคลใดที่คิดอย่างนี้แสดงว่าเป็นบุคคลที่กำลังหลอกลวงตัวเองอยู่ แต่คิดว่าตัวเองหลอกผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ถีงแม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็นกับตัวเราก็ตาม อย่างน้อยแล้วตัวเราเองก็เห็นตัวเองว่าตอนนี้เราทำดีหรือทำชั่วอยู่ ไม่ต้องให้คนอื่นมาดูตัวเราให้เราเฝ้าดูมันเอง ดั่งคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่าให้มี หิริ ความละอายแก่ใจ และโอตัปป ความเกรงกลัวต่อบาปทุจริต เมื่อเรามีธรรมสองข้อนี้อยู่ในใจแล้วความชั่วอกุศลต่าง ๆ จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับจิตใจของเราโดยสิ้นเชิง

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...