สติสัมปชัญญะเป็นสันตติธรรมนำไปสู่ปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 16 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าว การประสพความพอใจในอรหัตผล ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันเดียว ภิกษุทั้งหลายก็แต่ว่า การประสพความพอใจในอรหัตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฎิบัติโดยลำดับ ภิกษุทั้งหลาย ก็การประสพความพอใจในอรหัตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฎิบัติโดยลำดับ นั้นเป็นแย่างไรเล่า ....ภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลในกรณีนี้ เป็นผู้สัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหาสัปปุรุษ เมื่อเข้าไปหาย่อมไปนั่งใกล้ เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้ ใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้ เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา วึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ ย่อมเกิด ผู้เกิดฉันทะย่อมมี อุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว ย่อมใช้ดุลพินิจ ครั้นใช้ดุลพินิจแล้ว ย่อมตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ ด้วยนามกายด้วย ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสุจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย--ม.ม.13/233/238..:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2016
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อวิชชา ปัจจยสังขารา ใช่มั้ยครับ....สังขารสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย(รวมที่คุณ พูดมาก็เปแ็นสังขาร) คิดเรื่องสังขาร...แต่ที่จริงพระท่านสอน ความพ้นทุกข์ คือ อริยสัจสี่ ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ...ผู้มีวิชชา คือ ผู้รู้ อริยสัจสี่ นั้นแหละครับ....เหมอนคาถา เยธัมมา หรือ ปฎิจสมุปบาทนั้นแหละครับ ...สิ่งใดเกิด แต่เหตุ พระท่านสอนเรื่อง ความเกิด และ ความดับของเหตุนั้น:cool: ลองคิดดู นะครับ เราอาจจะยังไม่สามารถกำหนดรู้ สิ่งนั้น เป้น ทุกข์อริยสัจจ์ได้..(หรือไม่มอง ทุกข์ แต่ไปมองแย่างอื่น).แต่ไปคิด ว่า สิ่งนั้น เที่ยง เป็นอัตตา ไปสะ งั้น.:cool: บางทีเราอาจจะหลงลีมไปว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนอะไร (สังขตธรรมที่เกิดจากปััจยปรุงแต่ง เป็น อนัตตา เปนอนิจจัง เปนทุกขังทั้งนั้น....ยกเว้น อสังขตธรรมที่ไม่มีปัจจยปรุงแต่ง นิพพาน)...:cool:นิพพาน จากคำพระท่านคือ ความสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ นั้น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2016
  3. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,429
    ค่าพลัง:
    +3,209
    ขอบคุณทุกคำตอบค่ะ

    สำหรับท่าน paetrix ให้ปฏิบัติเรื่องการเดินทางมรรค 8 ที่เริ่มต้นด้วยปัญญาคือสัมมาทิฐิ
    และ การศึกษาไปตามลำดับ คือ การเข้าหาสัตบรุษเข้าใกล้ ฟังธรรม และ
    อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ กำหนดละ และทำให้แจ้ง

    สิ่งเหล่านี้นำพาให้เกิดปัญญาเพื่อรู้แจ้งและหลุดพ้น


    ที่นี้ปัญญา มี 2 อย่าง คือ
    ปัญญาโลกิยะ และ ปัญญาโลกุตระ


    และคำว่า รู้อย่างเดียวหรือสักแต่ว่ารู้ กับ กับการคิดรู้ (คิดมีสติสัมปชัญญะ)
    ทั้งสองอย่างนี้ สิ่งใดเป็นปัญญาที่แท้จริง


    เมื่อคำว่าจิตวิญญาณ ผู้รู้หลาย ๆ ท่าน บอกว่าเป็น ธาตุคิด

    และลองพิจารณาประโยคต่อไปนี้นะคะ

    ข้อควรคิด สำหรับผู้แสวงหาซึ่งความหลุดพ้น..ของท่าน รัตนญาโนภิกขุ

    ** บุคคลที่เอาสติไปรวมกับใจมาก ๆ แล้วเห็นว่า กิเลสตัณหาเข้ามาไม่ได้ถ้ามีสติอยู่ บุคคลนี้จิตย่อมไม่หลุดพ้น

    ** บุคคลที่ใฝ่หาธรรมที่ใจ เขาย่อมไม่หลุดพ้น

    ** บุคคลที่รู้ว่าใจและจิต สะอาด สว่าง สงบ จิตย่อมไม่หลุดพ้น

    ** บุคคลรู้เห็นนิพพานที่ใจ ย่อมไม่เข้าถึงความหลุดพ้น

    ** บุคคลที่มองเห็นธรรมที่ใจ ย่อมถูกมายาภาพของใจหลอกอยู่ตลอดเวลา

    ** ศรัตรุที่สำคัญกั้นจิต ไม่ให้หลุดพ้น คือ ใจ

    ** จิตที่โง่ย่อมเป็นข้าทาสของใจอยู่เสมอ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว จิตย่อมเป็นนายของใจอยู่ตลอดเวลา

    แล้ว ใจ กับ จิต แตกต่างกันอย่างไร

    ใจ ก็คือ เจตสิก ที่เป็น เวทนา สัญญา สังขาร

    จิต ก็คือ วิญญาณ ที่เป็นผู้รับรู้ และ ผู้รู้
     
  4. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,429
    ค่าพลัง:
    +3,209
    "ปัญญา" ในความหมายของท่าน พุทธทาส

    ปัญญา หมายถึง การฝึกฝนอบรมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้อง
    และสมบูรณ์ถึงที่สุดในสิ่งทั้งปวงตามที่มันเป็นจริง
    คนเราตามปกติไม่สามารถรู้อะไร ๆ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้
    คือ มันถูกแต่เพียงตามที่เราเข้าใจเอาเอง หรือ ตามโลกสมมุติ มันจึงไม่ใช่ตามความเป็นจริง

    ให้ได้ฝึกฝนอบรมให้เกิดความเข้าใจ ให้เห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงโดยสมบูรณ์

    คำว่า "ความเข้าใจ" กับคำว่า "ความเห็นแจ้ง" นั้นในทางธรรมะแล้วไม่เป็นอันเดียวกัน

    "ความเข้าใจ" นั้นอาศัยการคิดคำนึงด้วยการใช้เหตุผลบ้าง หรือ การคาดคะเนเอาตามเหตุผลบ้าง

    ส่วน.....

    "ความเห็นแจ้ง" ไปไกลว่านั้น คือ สิ่งที่เราได้ซึมซาบมาแล้ว ด้วยการผจญสิ่งนั้น ๆ มาด้วยตนเอง
    หรือ การมีจิตใจจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับสิ่งนั้น ๆ ดย อาศัยการเฝ้าเพ่งดูอย่างพินิจพิจารณา
    จนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่หลงไหลในสิ่งนั้นด้วยน้ำใสใจจริง ไม่ใช่การคิดเอาด้วยเหตุผล

    เพราะฉนั้นปัญญาสิกขาตามหลักพุทธศาสนาจึงไม่ได้หมายถึงปัญญาที่ได้มาจากหลักเหตุผล

    ปัญญาในทางพุทธศาสนา ต้องเป็นการรู้แจ้งเห็นแจ้งด้วยน้ำใสใจจริง
    ด้วยกาารผ่านผจญสิ่งนั้น ๆ มาแล้ว โดยวิธีใดวิธีหนึ่งจนฝังใจแน่วแน่ ไม่อาจลืมเลือนได้
    ฉะนั้น การพิจารณาในทางปัญญาตามสิกขาข้อนี้จึงต้องใช้สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในชีวิตตนเองมาเป็นเครื่องพิจารณา
    หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นเรื่องที่มีน้ำหนักมาก พอที่จะทำให้ใจของเราเกิดรู้สึกสลดสังเวช
    เบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย ที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวนนั้นได้จริง

    ถ้าเราจะคิดไปตามแนวทางของเหตุผล ทำการวินิจฉัยลักษณะที่ไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาสักเท่าไรก็ตามมันก็ได้แค่ความเข้าใจ ไม่มีทางเกิดความเบื่อหน่ายเกิดสลดสังเวชใจได้

    ถ้าเห็นแจ้งจริง ๆ ต้องเบื่อหน่ายจริง ๆ

    ถ้าลักษณะนี้คือ การพิจารณาให้เกิดปัญญา จิตเบื่อหน่ายย่อมหลุดพ้น
    แล้ว คำว่า สักแต่ว่ารู้ ผู้รู้ อย่างเดียวปฏิบัติแตกต่างกันอย่างไรนะ

    หรือว่า แบ่งตามจริตของแต่ละคน
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ....พระวจนะ." ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลเท่าใด อันบุคคลพึงบรรลุด้วย เสขญาน ด้วย เสขวิชชา ผลนั้น ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรม ที่ยิ่งขึ้นไปแก่ ข้าพระองค์ เถิดพระเจ้าข้า.....วีจฉะ ถ้าเช่นนนั้น เธอ จงเจริญธรรม ทั้งสองให้ยิ่ง ขึ้นไป คือ สมถะและวิปัสนา วัจฉะธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสนา เหล่านี้แล อันเธอเจริญให้ยิ่งขี้นไป แล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุเป็นเอนก...กล่าวคือ (ต่อไปเป็นหัวข้อที่พระองค์กล่าว----มีได้เฉพาะอิทธิวิธี...----,มีโสตธาตุอันเป็นทิพย์-----กำหนดรู้ใจสัตว์อื่นบุคคลอื่นด้วยใจของตน-----ระลึกถึงขันธิ์ที่เคยอาศัยในภพก่อน----มีจักษุอันเป็นทิพย์----กระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะ มิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฐฐิธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ใน อาสวักขญานธาตุ นั้นนั้นแหละ จักถึงความสามารถทำได้ จนเป็นสักขึพยาน ในขณะที่อายตนะ ยังมีอยู่)---ม.ม.13/257-261/260-266:cool:
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อภิกษุ ประกอบการเจริญภาวนาอยู่ โดยแน่นอน เธอไม่ต้องปรารภว่า โอหนอ จิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้ จิตของเธอนั้นก็ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานได้เป็นแน่ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ข้อนั้นเพราะว่า เธอ มีการ เจริญ สติปัฐฐานสี่ สัมมัปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรียืห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยะมรรคมีองคืแปด ภิกษุ ทั้งหลายเปรียบเหมือน ฟองไข่ แปดฟอง สิบฟอง หรือ สิบสองฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว พลิกให้ทั่วดีแล้ว คือ ฟักดีแล้ว โดยแน่นอน แม่ไก่ไม่ต้องปรารภว่า โอหนอ ลูกไก่ของเรา จงทำลายกะเปาะฟองด้วยปลายเล็บเท้า หรือ จะงอยปาก ออกมาโดยสวัวดีเถิด ดังนี้ ลูกไก่เหล่านั้น ก็ สามารถ ทำลายกะเปาะด้วยปลายเล็บเท้า หรือ จะงอยปาก ออกมาโดยสวัวดีโดยแท้ ฉันใดก็ฉันนั้น--สตตก.อํ.23/127/68..:cool:
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระพุทธเจ้าท่านประกาศ จตุราริยสัจ อริยะสัจสี่..:cool:
     
  8. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เมื่อเห็นแจ้งตามความเป็นจริงแล้ว ว่า
    ทุกข์ทั้งหลายล้วนเกิดจากการมีอุปาทานความหลง
    ต่อไปก็มีหน้าที่ "รู้" รู้ทุกข์ตามความเป็นจริง
    ทุกข์เกิดทุกข์ดับรับรู้อยู่ ยึดมั่นก็รู้ ไม่ยึดมั่นก็รู้
    รู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาเห็นชอบ และดำเนินไป
    ตามหลักแห่งมรรคมีองค์ ๘ นั้นตราบเท่าเข้าสู่นิพพานนั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2016
  9. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    - ผมอ่าน โพสแรก ที่เริ่มต้นก็ ดีครับ อนุโมทนา พอมาอ่าน ท่านอื่นๆที่มาต่อ รู้สึก แปลกๆ หรือว่าผมเข้าใจไม่เหมือนท่านผมผิดหรือเปล่า
    - ผมเข้าใจอย่างนี้นะครับ

    - ตัวสติ คือจิต ส่วนตัวสัมปชัญญะไม่ใช่จิต แต่เป็นตัวนามธรรมอีกอันหนึ่ง ที่คงที่ หรือที่เรียกว่านิพพานธาตุ
    ท่านเคยเห็นหรือไม่ ในพระสูตร บอกว่า สติกับสัมปชัญญะคืออันเดียวกัน ผมยังไม่เคยเห็นนะครับ

    - โพสแรกกล่าวได้ถูกต้องระเอียดแล้ว แยกออกชัดเจน

    - คำว่ารู้ชัดก็คือรู้ด้วยสัมปชัญญะ สัมปชัญญะจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีสติเป็นตัวกระตุ้น สัมปชัญญะจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการฝึกให้เกิดหลังจากมีสติ ถ้าไม่ฝึกก็ไม่มีทางเกิด

    สติที่ต่อเนื่อง ก็จะเกิดสัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องก็ต้องฝึกจนชำนาญ

    สัมปชัญญะคือความรุ้สึกตัว ท่านลองคิดดูสิ อะไรคือตัวผู้รู้ ก็คือตัวไง ตัวไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ตัว

    ตัวคือใคร ก็คือนามธรรมอันคงที่คือนิพพานธาตุนั้นเอง นักปฏิบัติวิปัสสนาทุกคน ถ้าไม่รู้จักคำว่า รู้สึกตัว หรือสัมปชัญญะ ก็ไม่มีทางถึงแก่นคำสอนได้เลย

    ปัญญาคืออะไร ปัญญาก็คือ การเกิดการเห็น ไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้า ของนามธาตุอันคงที่(นิพพานธาตุ) หรือที่เรียกว่าญาณ เรียกว่าเห็นได้ด้วยญาณ เรียกว่าปัญญาญาณ

    อย่าเอาความหมายของปัญญาชาวโลกเขามาใช้ เช่นมีปัญญาหาเงิน มีปัญญาสร้างเครื่องบิน เขายืมศัพท์เราไปใช้

    เมื่อเกิดวิปัสนาญาณ คือ เห็นได้ด้วยญาณ เรียกว่าเกิดปัญญา เรียกว่าตรัสรู้ธรรม นำไปสู่การตัดกิเลสสังโยชน์

    จิตเกี่ยวข้องอย่างไร จิตเป็นผู้จัดการใหญ่ นับตั่งแต่ สร้างสติเพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ เมื่อเกิดสัมปชัญญะ จนต่อเนื่อง ก็มีการป้อนข้อมูล โน้มน้าวให้เกิดการเห็น ความเป็นไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้า ไม่ว่าจะเป็นการเจริญอนิจจะสัญญาเป็นต้น

    ตัวนิพพานธาตุ ตัวญาณ ตัวสัมปชัญญะ ล้วนคือการเรียกนามธรรมอันคงที่อันหนึ่ง

    ผมจะยกตัวอย่างนะ ถ้ามนุษย์สามารถสร้างหุ่นยนต์ จนกระทั่งมีความ่รู้สึกนึกคิดได้อย่างคน มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ
    คือมีอารมณ์ ได้อย่างมนุษย์ มีความคิดได้เอง ถามว่า เขาต่างจากมนุษย์อย่างไร ครับ ต่างแน่นอน เขาไม่มีตัวนามธาตุอันคงที่ครองวัตถุนี้อยู่ เมื่อหุ่นยนต์นี้ ถูกทำลาย ก็จะไม่มีการเกิดใหม่ ไม่เหมือนสัตว์อย่างเราๆ ท่านๆตายแล้วต้องเกิดใหม่อีก

    - สัตว์โลกเวียนว่ายในวัฏสงสาร เพราะมีอวิชชาเป็นเครื่่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ

    พระพุทธองค์สอนให้ตัดอวิชชา ด้วยการเกิดปัญญา คือเกิดวิปัสสนาญาณ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานสี่เท่านั้น ซึ่งเรียกว่าทางอันเอก
     
  10. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ความรู้มันเป็นทุกข์ครับ
    เห็นไหม สมมุติบัญญัติ มากความไปเรื่อย
    ก็รู้ทุกข์ตามความเป็นจริงไปเรื่อยเหมือนกันครับ
    เผลอบ้างไรบ้างเป็นเรื่องธรรมดา
     
  11. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,429
    ค่าพลัง:
    +3,209
    ไม่ผิดหรอกค่ะ

    วัตถุประสงค์ต้องการสอบถามว่าปัญญาญาณที่แท้จริงมาจากไหน
    ที่ใครต่างพูดถึงปัญญาญาณกันนะคะ

    เพราะผู้นักปฏิบัติทุกท่านต่างก็รู้ว่า ในร่างกายของเรามี "จิตวิญญาณ"
    ปัญญาญาณนั้น เป็นปัญญาของ "จิตวิญญาณ" หรือไม่ นะคะ

    ที่นี้ถ้าพูดเรื่องสมอง ระบบคิดรู้นั้น ถ้าพูดกันอย่างตรง ๆ จะได้รับการปฏิเสธอย่างทันที
    เพราะชาวพุทธส่วนใหญ่จะปฏิเสธการคิดรู้กันนะคะ

    ที่นี้มาสงสัยเรื่องว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า การที่จะบรรลุนิพพาน
    จะต้องมาบรรลุนิพพานกันที่โลกมนุษย์นี้เท่านั้น

    ก็เลยสงสัยว่า ในเมื่อสวรรค์ชั้นพรหม เทวดาต่าง ๆ ก็มีจิตวิญญาณเหมือนกัน
    ทำไมจึงไม่สามารถบรรลุที่สวรรค์ชั้นฟ้าได้ ทำไมต้องมาที่โลกมนุษย์เท่านั้น

    เพราะความแตกต่างของมนุษย์ กับ โลกสวรรค์ ก็คือ สมอง ระบบประสาทสัมผัสที่ชาวสวรรค์ชั้นฟ้าไม่มี

    พอทีนี้จะพูดถึงมันเป็นเรื่องยาวค่ะ

    ก็เลยเอาไว้ก่อนค่ะ

    และเห็นคำสอนของท่านพุทธทาสสอนไว้เกี่ยวกับเรื่องปัญญาก็เลยนำมาลง
    ว่าน่าจะสอดคล้องกันได้ ความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้นของปัญญา และสุดท้าย
    คือการเห็นแจ้งจริง ๆ

    และพระพุทธศาสนาได้ให้ยอมรับสัจจะอยู่สองอย่าง คือ สมมุติสัจจะ และ
    ปรมัตถสัจจะ เมื่อว่าสมมุติโดยความดีและความชั่วแล้ว และปรมัตถ์สัจจะ
    แล้วสิ่งทั้งปวงไม่มีความดี ความชั่ว รวมอยู่ในสิ่งทั้งปวง

    สำหรับบุคคลผู้ยอมรับสมมุติสัจจะโดยสมบูรณ์แล้ว คือ จะพุ่งไปสู่ปรมัตถ์สัจจะ
    โดยไม่ผ่านทางสมมุติสัจจะนั้นไม่ได้เลย แปลว่า ผู้ที่จะมีภูมิจิต
    ถึงปรมัตถสัจจะ จะต้องไม่ทำความชั่วเรื่องสมมุติอีกแล้ว

    การทำดี ทำชั่ว ก็อยู่ที่จิตสำนึก และ จิตสำนึกก็คือ จิตใจร่วมกันกับสมอง
    เพื่อจะแสดงออกซึ่งการกระทำ

    และก่อนที่จะได้ปัญญาที่แท้จริงต้องมีกระบวนการอย่างไร เมื่อจิตที่ขาด
    ความรู้แจ้งต้องพัฒนาสติปัญญาให้รู้แจ้งนะคะ
     
  12. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,429
    ค่าพลัง:
    +3,209
    แล้วธรรมที่ว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    ถ้าเราแยกประเด็น ระหว่าง จิต กับ เจตสิก นั้น

    ความเข้าใจของตนแล้ว...

    เจตสิก อันประกอบด้วย

    เวทนา อันหมายถึง ความรู้สึกของจิตใจ
    สังขาร อันหมายถึง การคิดการปรุงแต่งดี-ชั่ว , บุญ-บาป เป็นจิตสำนึกให้เกิดการกระทำดีชั่ว นั่นเอง ค่ะ
    สัญญา อันหมายถึง การระลึกได้ การจำได้หมายรู้ เข้าใจว่าตัวนี้คือ สติ ค่ะ

    ส่วนวิญญาณ ก็คือ ตัวจิต ที่เป็นผู้รู้นะคะ

    วิญญาณ ก็คือ ผู้รู้ตัว สัมปชัญญะ หรือ เปรียบเป็นตัวจิตเอง

    ความเข้าใจของตัวเองนะคะ อาจเป็นความคิดที่แตกต่าง....
    ใครมีความเห็นเป็นอย่างไรคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2016
  13. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    -รู้สึกว่าคุณเป็นคนอารมณ์ดี น่านับถือครับ

    เราเห็นต่างกันได้ แต่ไม่ขัดแย้งใช่หรือเปล่าครับ จะได้คุยกันสนุกในธรรม

    จิต เจตสิค รูป ก็คือขันธ์ห้า ส่วน นิพพาน คือตัวนามธรรมอันหนึ่งที่คงที่
    เมื่อพระอรหันต์ ดับขันธ์ ก็คือ จิต เจตสิค รูป ดับไป ไม่มีขันธ์ใหม่เกิดขึ้น เหลือแต่นิพพานธาตุ

    - ไปฟังพระสูตรที่พระองค์ตรัสหลังตรัสรู้ ที่ว่า
    " นายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้น
    ชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูกรนายช่างผู้สร้างเรือน
    บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลส
    ของท่าน เราหักเสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน
    เราทำลายแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพ
    นี้เอง"
    ผมจะพูดถึง สมรรถ กับ วิปัสสนา คืออย่างไร
    - สมรรถ คือ ก็คือเมื่อสติอยู่กับสิ่งไดสิ่งหนึ่ง เช่นมีสติรู้ลมหายใจเข้า มีสติรู้ลมหายใจออก อย่างต่อเนื่อง สติก็คือจิต ที่ไปรับรู้ว่าลมตกกระทบกับระบบประสาท(กายวิญญาณ) สติที่บริสุทธิ อย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นสมาธิ หรือเรียกว่า สมรรถนั้นเอง
    - วิปัสสนา ก็คือ เมื่อเราฝึกมีสติอยู่ก็ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน ให้มีสัมปชัญญะตามเสมอ สัมปชัญญะก็คือความรุ้สึกตัว อันนี้ไม่ใช่จิต เป็นความรุ้สึกตัวของนามธรรมอีกอันหนึ่ง อันนี้ถ้าไม่ลองสัมผัสด้วยตนเอง คิดเอาไม่ได้นะครับ ต้องลอง แยกให้ออก ระหว่างสติกับสัมปชัญญะ เมื่อสติที่ต่อเนื่อง ก็จะตามด้วยสัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง จะเหมือน ตัวเราสามารถมองเห็น ทั้งกายและใจ ทำงานอยู่ เห็นด้วยสัมปชัญญะ นี้แหละเรียกว่าการทำวิปัสสนาะ มิได้เอาจิตมาดูจิต อย่างที่บางท่านสอนๆกันมานะครับ

    - ผมเคยได้ยินบางท่านเล่าประสพการณ์ ว่าท่านมีสติทั้งคืน จิตคิดโน้นก็รู้ จิตคิดนี้ก็รู้ มีสติตามดูตลอด อันนี้ก็ถูก แต่ไม่ถูกตามตำราทางพระพุทธศาสนา ท่านลองไปอ่านดู ในพระสูตร
    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
    สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติย-
    *ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก
    วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
    นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
    อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

    - การมีสติที่บริสุทธิ์ ก็คือการที่มีสติ กับสิ่งไดสิ่งหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่จิดคิดไปเรื่อย แล้วมีสติตามรู้สิ่งที่คิดแล้วตามด้วยสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว ไม่ถูกครับ ที่ถูกต้องสร้างสมาธิกับสติที่บริสุทธิ์

    - การทำสติบริสุทธิ์ เป็นของยาก ถ้าเราฝึกใหม่ๆ แค่ หายใจเข้าออกไม่เกินเจ็ดครั้งก็ ใจลอยไปกับสิ่งอื่นแล้วต้องดึงกลับมาใหม่ สติที่บริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นองค์ฌาน สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องก็จะกลายเป็นธรรมเอกผุดขึ้น

    - พวกฤาษี เขาฝึกจนได้ฌาน ธรรมเอกเขาก็ผุดขึ้น แต่ไม่บรรลุธรรม เพราะ ไม่เหมือนลุกศิษย์พระพุทธองค์ ที่มีระบบการฝึกให้ตั้งจิต ให้ถูก ขณะธรรมเอกผุดขึ้นก็นำมาพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า จนเกิดวิปัสสนาญาณ ในพระไตรปิฏก ท่านกล่าวว่า ผู้ที่ได้ฌาน ที่เข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์ เมื่อตายไปถึงไม่ได้บรรลุเมือไปจุติเป็นพรมท่านก็จะไปพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ จนบรรลุธรรมและไม่กลับมาเกิดอีกต่อไป

    - ถ้าอยากรู้ว่าเรามีสมาธิได้แค่ใหน ลองเพ่งกสิณดู กระสิณสีนี้แหละ ถ้าเห็นกลมๆในใจเรานานได้แค่ใหนละ สมาธิก็นานเท่านั้น ถึงแม้ว่าการเพ่งกระสิณสี จะได้แต่สติ แต่ก็นับว่า เป็นการทำสมาธิที่ง่ายกว่า อานาปานสติมากๆ เลย แต่ถ้าให้ดีต้องฝึก อานาปานสติควบคู่ไปด้วย เพราะจะได้มีสัมปชัญญะอยู่ตลอด ท่านอุปมาเหมือนการเข้าถ้ำมืด ตัวสัมปชัญญะ เปรียบเหมือนไฟส่อง ถ้ามีสติอย่างเดียว อาจเกิดสิ่งแปลกปลาดขึ้นกับเรา ถ้าเรามี สัมปชัญญะก็ตัดทิ้งๆ ก็จะไม่ต้องเป็นบ้าเพราะทำสมาธินั้นเอง

    - ผมอยากถามท่านjityim ว่าท่านแยกออกระหว่าง สติ กับสัมปชัญญะได้หรือเปล่าครับ ลองนั่งทำอานาปานสติ แล้วดูว่า สติ กับสัมปชัญญะต่างกันใหม ผมเคยอ่านบางท่านสอนกันว่าให้แยก รูปกับนาม ทำไมท่านไม่สอนให้รู้จักสติ แยกกับสัมปชัญญะ จะได้ประโยชน์กว่า

    - หนังสือวิสุทธิมรรค ให้มีศิลสังวรณ์ อินทรีย์สังวรณ์ ทำสติปัฏฐานสี่ ทำฌานให้เกิด แล้วก้าวสู่วิปัสสนา เพื่อบรรลุธรรม ที่สอนกันว่าตามดูจิตคิดอะไรตามไปเรื่อยๆ ผมว่าไม่ถูกนะครับ ต้องทำสมาธิให้เกิด

    - ตั้งใจใว้โดยชอบ นั้นอย่างไร

    [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
    ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้
    ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคล
    ตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา
    ให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ

    -ถ้าเราตั้งใจรู้ว่า ไม่มีเราในจิต จิตไม่มีในเรา เรากับจิตแยกออกจากกัน นี้ถือว่าตั้งใจใว้โดยชอบ

    ตัวผู้รู้มีสองตัว คือตัวจิต ตัวจิตเป็นระบบการรับรู้เหมือนระบบไฟฟ้าถูกโปรแกรมข้ามภพข้ามชาติ มีระหัสบุญบาปมาพร้อม ส่วนตัวผู้รู้อีกตัว ก็คือนามธาตุอันหนึ่งที่คงที่ รับรู้ได้ที่เราเรียกว่าสัมปชัญญะ หรือ ญาณ แล้วแต่ภาวะนั้นๆ

    - ศาสนาอื่น สอนแค่เรื่องจิต แต่พุทธ สอน จิต เจตสิค รูป นิพพาน ตัวนิพพานคือนามธาตุอันคงที่ รับรู้ได้ แต่ นึกคิดไม่ได้เพราะไม่อยู่ในขันธ์ห้า

    - จิตคือผู้จัดการใหญ่ จะเกิดวิปัสสนาหรือไม่ ก็ต้องอาศัย จิต เป็นตัวปรุง เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ตัวจิตก็ลดบทบาทลง


    คุณ jityim ถ้ามีเวลาว่างมากๆลองดาวน์โหลด พระไตรปิฏกเสียงอ่าน จาบเวบนี้แหละ เอาเฉพราะส่วน พระสุตันตะไปฟัง เราก็จิตนาการว่าเราเป็นพระภิกษุองค์หนึ่งนั่งฟังพระพุทธองค์ อยู่ต่อหน้าพระพักตร์ ไม่ต้องรีบร้อน พระสูตรออกแบบมาให้ฟังไม่ได้มาให้อ่าน ฟังไปเรื่อยๆสักสามรอบ ก็จะเข้าใจพระธรรมดีมาก ขณะฟังทำสมาธิ เมือใจลอยไปจากเสียงก็ดึกกลับมา ฝึกสัมปชัญญะไปด้วย พร้อมๆกัน อย่าไปรีบ ไม่มีใครสำเร็จสักคนหรอกครับ แล้วจะเหมือนผมว่าหรือเปล่า เรื่องขันธ์ห้าอธิบายใว้ละเอียด แจ่มแจ้งครับ ลองดูนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2016
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......ขอแสดงความเห็นนิดนะครับ....ถ้า คุณเรียน อิทัปปัจยตา หรือ ปฎิจสมุปบาท ที่พระองคืสอน จริงจริง ...สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นของสิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น สิ่งนี้ดับ เพราะสิ่งนี้ดับ เพราะความดับไปของสิ่งนี้สิ่งนี้จึงดับลง...หรือ ปฎิจสมุปบาทที่ขึ้นว่า ..อวิชชา ปัจยสังขารา...คือนั้นหมายความว่า เมื่ิอ มีอวิชชาเป็นปัจย จึงเกิดสังขารทั้งหลาย...สติปัญญาทั้งหลายที่คุณว่ามาก็คือ หนึ่งในสังขารทั้งหลายนั้นแหละครับ ผู้มีอวิชชา คือ ผู้ที่ไม่รู้ใน อริยสัจ คือไม่รู้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง(อนิจจัง) เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา....หรือ ในคาถา เยธัมมา เหตุปัพว่า ที่ พระเถราจารย์ ยุคเก่า พยาม แต่งเป็น คาถา หัวใจของพระพุทธศาสนา ให้คนรุ่นหลังได้รู้อย่างย่ยย่อ และ ตรงที่สุด....นั้นคือ เนื้อความที่ว่า...สิ่งใดเกิดแต่เหตุ พระท่านสอน ความเกิดและความดับ ของเหตุนั้น ปรกติพระท่านสอนอย่างนี้......นั้นหมายความว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง...และ เนื่องด้วย อวิชชา ปัจยสังขารา สังขารมีปัจจยจาก อวิชชา สังขารทั้งหลาย จึง เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไงเล่าครับ (ไม่เที่ยง เป็น ุทุกข์ ไม่มีตัวตนที่เที่ยง(อนัตตา)):cool: อันที่จริงแล้ว อนาคามี ที่บรรลุธรรม ในชั้น พรม นะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับ ร่างกาย หรือ สมองอะไรเลย(คือ ที่จริงเกี่ยวแหละครับ แต่ผมพยามบอกคุณว่า ....มันเป็นเรื่องของปัจเจกนะครับ ถ้าวันนี้ เราได้มีโอกาสเจอพระธรรมแล้วฟังรู้เรื่องและได้ชื่อว่าเป้น มนุษย์ นั้นก็ดีแล้วครับ...แต่ถ้าเราเป็นกบ เราคงมานั่งคุยกันอย่างนี้ไม่ได้คงได้แต่ หาแมลงกินกันไป) อันที่จริง ผมจะบอก คุณว่า คุณ มองผิดจุดครับ....เพราะ พระพุทธเจ้าท่าน ว่าไว้แล้วว่า อวิชชา ปัจยสังขารา ไงละครับ(ที่เราจินตนาการว่าเรามีร่างกาย เทวดาไม่มีร่างกาย หรืออะไรต่างต่างนานา นั้นคือ สังขาราแหละครับ แต่ มาจากใหนละครับ ก็ มาจาก อวิชชา(ความไม่รู้ว่า มันไม่มีตัวตนที่ เที่ยง เปนทุกข เปน อนัตตา ) ....เมื่อ สังขารเป็นสิ่งที่เกิดจากปัจจยปรุงแต่ง จึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ควรยึดมั่นว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา.....ให้ นึกถึง อิทัปจัยจา ปฎิจสมุปบาท หรือ เยธัมมา เหตุปัพวา จะ คลายความมั่น หมาย และ ตรงประเด็นหัวใจ พระศาสนา มากขึ้นนะครับ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2016
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....อันที่จริง ที่ คุณคิด เกือบจะเป็น อจินไตย และ ไม่ควรคิดไปแล้วนะครับ...ถ้าโยนิโสมนสิการ ในเรื่อง ปัจจย และ อาหาร (อาหารคือคำข้าว วิญญานอาหาร หรือ อาหารคือ ผัสสะ)(น่าสังเกตุนะครับ สิ่งเหล่านี้ตั้งอยู่ได้ด้วย ราคะ นันทิ กิเลสตัณหา มาเกี่ยวตรงนี้ครับ) จะเข้าใจคำสอนได้มากขึ้นนะครับ.......:ถ้าคิด แบบ ปลงปลง แบบ ปุถุชน ก็หมายความว่า เรา เกิดมาจาก อวิชชา ตัณหา และ กรรม นะครับ อย่าคิดมากเลย ครับ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2016
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    สมัยก่อนผมโดนครูบาอาจารย์ขนาบหนักหักคอ
    หลายหนก็จุดนี้แหละ หลงสัญญาไม่ทันสังขาร
    เชื่อมั่น จมไปกับสัญญาสังขารหมดตัว ต่อให้คิดถูก
    แต่ถ้าหลงความรู้ ก็ไม่พ้นทุกข์อยู่ดี เพราะแท้จริง
    สังขารขันธ์มันครอบหัวอยู่ จะรู้ยังไงก็ไม่พ้นขันธ์ ๕
    ทำหน้าที่ผลิดอกออกผลทั้งนั้น ต้องรู้ทันความมี
    อุปาทานขันธ์ คือหลงหยิบจับฉวยเอามาเป็นตน
    เป็นของของตนให้ดี หัวใจของการภาวนาคือ มีสติ
    รู้ทุกข์โทษจากความหลง ความมีอุปาทานในขันธ์
    ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั่นแหละเป็นตัวทุกข์
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +969
    มรรค 8ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    ละสักกายทิฏฐิในขณะจิตทั้งขณะสมาธิชอบหรือในขณะอริยาบท
    หลีกออกจากการหมกมุ่นในการกินเหล้า ฮาาาา ชอบกินนมเปรี้ยว..............
     
  18. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    สติปัฏฐาน4 ใช้กำลังของสติทำลายต้นตอแห่งทุกข์ให้ขาดสันตติการสืบต่อของกิเลสตัวต้นตอ
     
  19. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    หลวงปู่สาวกโลกอุดรเป็นผู้ชี้ทางกระผมจึงให้เกียรติและความเคารพในคำชี้ทางจึงนำมาบอกต่อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...