สติสัมปชัญญะเป็นสันตติธรรมนำไปสู่ปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 16 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <font size='3'><font color='#ff0000'><b>สืบเนื่องจากปัจจุบันนี้ มีความพยายามที่จะแยกข้อธรรมที่ไม่อาจแยกเป็นสองได้ ให้แยกจากกันในทางปฏิบัติธรรม ข้อธรรมที่ว่านั้นคือ "สัมมาสมาธิ"</b></font>

    โดยองค์ประกอบแห่ง "สมาธิ" ตามพระพุทธวจนะคือ "สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ" จิตรวมลงเป็น "สมาธิ" จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว รู้เห็นตามความเป็นจริง ( ปัญญา) ชัดเจนว่า "สมาธิ" ในอริยมรรค ๘ นั้น ต้องประกอบไปด้วย "ปัญญา"

    <font color='#0000ff'><b>ได้พยายามแยก "สัมมาสมาธิ" ออกเป็น "สมถะและวิปัสสนา"</b></font> โดยเน้นให้ปฏิบัติเพียง "วิปัสสนา" เป็นหลักก็พอ เดี๋ยวสติจะเกิดขึ้นมาเอง ไม่ต้องเหนื่อยยากลำบากกาย เพียรเพ่งภาวนาประคองจิตของตน เพื่อเจริญสติสงบเป็นสมาธิ มีสติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ...<font color='#ff0000'><b>ซึ่งมิอาจเป็นไปได้</b></font>

    โดยความเป็นจริงแล้ว การพิจารณา "วิปัสสนา" เพียงอย่างเดียว เพื่อให้บรรลุผล ในทางปฏิบัติธรรมนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อจิตของบุคคลที่ไม่สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ยังหวั่นไหวซัดส่ายไปมาอยู่นั้น ให้พิจารณารู้ทันกาย-ใจอย่างไร คงช่วยให้เกิดวิปัสสนาญาณ ที่เรียกว่า "รู้เห็นตามความเป็นจริง" ขึ้นมาไม่ได้

    เมื่อเป็นเช่นนี้ <font color='#0000ff'><b>จึงได้พยายามแยก "สติและสัมปชัญญะ" ออกจากกัน</b></font> ในทางปฏิบัติธรรมไปด้วย <font color='#ff0000'><b>ทั้งที่เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน</b></font> ในเมื่อ "สติและสัมปชัญญะ" นั้น เป็นข้อธรรมที่ประกอบกันขึ้นมาเป็น "หนึ่งเดียว" มีพระพุทธพจน์อุปมา-อุปมัย ข้อธรรมเรื่อง "สติสัมปชัญญะ" ไว้ดังนี้

    <font color='#0000ff'><b>"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน
    อาศัยน้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้
    เพราะสิ้นน้ำมันและไส้
    ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน"</b></font>

    จากพระพุทธพจน์ พระพุทธองค์ทรงเปรียบไว้ชัดเจนว่า "สติสัมปชัญญะ" นั้น เปรียบเหมือน "ประทีปน้ำมัน มีไส้และอาศัยน้ำมัน" ซึ่งขาดจากกันไม่ได้ <font color='#ff0000'><b>ฉะนั้น เมื่อเราระลึกรู้ โดยไม่รู้สึกตัวนั้น ข้อนี้มิอาจเป็นไปได้ และเมื่อเรารู้สึกตัว โดยไม่ระลึกรู้อยู่ ย่อมไม่อาจเป็นไปได้อีกเช่นกัน</b></font>

    จากข้อธรรมดังกล่าว จะเห็นได้ว่า "สติสัมปชัญญะ" ก็เช่นเดียวกับ "สมถะและวิปัสสนา" สมถะและวิปัสสนาที่เป็นพระพุทธพจน์นั้น พระพุทธองค์ทรงยกเอาหมวดแห่ง "สมาธิ" ในอริยมรรคซึ่งมีองค์ประกอบรวมเป็น "สมถะและวิปัสสนา"

    ส่วน "สมถะ" ที่อาจารย์บางท่านกล่าวตำหนิไว้ว่า ดูแข็งๆ ทื่อๆ ไม่มีปัญญานั้น เป็น "สมถะ" ที่ไม่ได้อยู่ในหมวดของสมาธิแห่งอริยมรรค จึงไม่ต้องกล่าวถึง "วิปัสสนา" (รู้เห็นตามความเป็นจริง) ใดๆ เลย

    แม้ "สมถะ" อันมีมาก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงอุบัติขึ้นมานั้น ก็ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์เสียทีเดียว อย่าง "รูปฌาน อรูปฌาน" ที่มีอยู่ในครั้งกระนั้น ก็ยังทำให้กิเลสของผู้ปฏิบัติเบาบางลง แต่ไม่อาจวิมุตติหลุดพ้นจากทุกข์ได้ เนื่องเพราะไม่สามารถรู้เห็นตามความเป็นจริง (วิปัสสนา) มีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้

    จากพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสอุปมา-อุปมัย "สติสัมปชัญญะ" เปรียบดัง "ประทีปน้ำมันมีไส้ โดยอาศัยน้ำมัน ไส้จึงโพลงอยู่ได้นั้น" ก็แสดงชัดแล้วว่า <font color='#ff0000'>ความสว่างไสวของประทีปน้ำมัน <font color='#0000ff'>(เปรียบดังปัญญา)</font> ที่เกิดจากไส้และอาศัยน้ำมัน <font color='#0000ff'>(สติ-ระลึกรู้, สัมปชัญญะ-รู้ชัด โดยต้องอาศัยความจดจ่อต่อเนื่องเนืองๆ)</font> จนเกิดประกายไฟขึ้นมา <font color='#0000ff'>(สัมมาสมาธิ)</font> ให้ความสว่างไสว</font> <font color='#0000ff'>(คือตัวปัญญา)</font> ฉะนั้น สัมปชัญญะจึงเป็นตัวตั้งต้นของปัญญานั่นเอง

    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้อย่างชัดเจนในเรื่องการเจริญสติอย่างถูกต้อง ที่เรียกว่า "สัมมาสติ" ตรงตามพระพุทธวจนะของพระพุทธองค์ เป็นไปเพื่อความสงบ (สันติ) ตั้งมั่นอย่างสืบต่อเนืองๆ ไม่ขาดสาย

    <font color='#ff0000'><b>แล้ว "สันตติธรรม" มาเกี่ยวข้องอย่างไรกับสติสัมปชัญญะ?</b></font>

    "สันตติธรรม" เป็นลักษณาการของการ มีสติ (ระลึกรู้) มีสัมปชัญญะ (รู้ชัด) ที่บริบูรณ์ต่อเนื่องเนืองๆ คือระลึกรู้อยู่ที่ไหน ก็รู้ชัดลงที่นั้น ที่เรียกว่า "มหาสติ"

    เมื่อนำมาพิจารณาตริตรองตามหลักเหตุผลให้เห็นตามความจริง จะเห็นความสอดคล้องระหว่าง " สติปัฏฐาน ๔ " <font color='#0000ff'><b>กับ ลักษณะ 4 ประการของ "สันตติธรรม"
    1. มีการเจริญอยู่ เป็นลักษณะ
    2. มีการสืบต่อ เป็นกิจ
    3 .มีการไม่ขาดจากกันเป็นผล
    4. มีรูปที่ยังให้ต่อเนื่องกัน เป็นเหตุใกล้</b></font>

    ลักษณะเริ่มต้นของ "สันตติธรรม" <font color='#0000ff'>มีการเจริญอยู่เป็นลักษณะ</font> ก็ตรงกับ "อริยมรรค" ที่เป็น "ภาเวตัพพธรรม" คือ ต้องเจริญ ต้องกระทำให้มาก โดยเฉพาะตัวสติ ที่ต้องรวมเอาสัมปชัญญะเข้าไปด้วย มีความเพียรประคองจิตให้คอยระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งของสติต่อเนื่องเนืองๆ อยู่ คือ <font color='#0000ff'>มีการสืบต่อเป็นกิจ</font> จึงจะต่อเนื่องเนืองๆ <font color='#0000ff'>มีการไม่ขาดจากกันเป็นผล</font> และรู้ชัด <font color='#0000ff'>มีอารมณ์ (รูป) เป็นสภาวะธรรมที่ต่อเนื่องกันเป็นเหตุใกล้</font> ทำให้เกิด "ปัญญา" รู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้

    <font color='#ff0000'><b>"สัมปชัญญะ" เป็นตัวตั้งต้นของ "ปัญญา"</b></font>
    "สัมปชัญญะ" ทำให้เรารู้ว่า อะไรใช่ อะไรไม่ใช่ อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรมีสาระ อะไรไม่สาระ อะไรมีประโยชน์ อะไรไม่มีประโยชน์

    เป็นการรู้ชัดใน "สันตติธรรม" ที่ระลึกรู้อยู่ ต้องเจริญให้มาก เจริญให้ยิ่งๆ ขึ้น จนคล่องแคล่วชำนาญเป็นวสี จนเกิด "ปัญญา" รู้เห็นตามความเป็นจริง

    <font color='#ff0000'><b>"รู้ชัดว่า"</b></font> อะไรใช่-รู้แล้ววาง อะไรไม่ใช่-รู้แล้วละ
    <font color='#ff0000'><b>"รู้ชัดว่า"</b></font> อะไรควร-รู้แล้ววาง อะไรไม่ควร-รู้แล้วละ
    <font color='#ff0000'><b>"รู้ชัดว่า"</b></font> อะไรมีสาระ-รู้แล้ววาง อะไรไม่มีสาระ-รู้แล้วละ
    <font color='#ff0000'><b>"รู้ชัดว่า"</b></font> อะไรมีประโยชน์-รู้แล้ววาง อะไรไม่มีประโยชน์-รู้แล้วละ

    เมื่อมี "ปัญญา" ย่อม "รู้เห็นตามความเป็นจริง" หรือ "รู้ชัดว่า" อะไรที่ "ใช่" "ควร" "มีสาระ" "มีประโยชน์" เมื่อรู้แล้ววาง แต่เมื่อต้องการใช้ก็หยิบมาใช้ได้ ใช้แล้ววาง ส่วนอะไรที่ "ไม่ใช่" "ไม่ควร" "ไม่มีสาระ" "ไม่มีประโยชน์" เมื่อรู้แล้วควรละ สละคืนเสีย

    <font color='#ff0000'><b>ปัญญา "รู้ชัดว่า" อุปมาดังแสงสว่าง
    ส่วนสติสัมปชัญญะ อุปมาดังน้ำมันและไส้ อันเป็นองค์ประกอบของประทีป</b></font>

    ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดกันไปเองว่า จิตเกิดๆ ดับๆ การเปลี่ยนแปลงของจิตไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น-ดับไปแต่ละขณะ ได้อย่างรวดเร็วแบบต่อเนื่องนั้น เป็น "สันตติธรรม" ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน เป็นสภาวะธรรมที่จะเกิดขึ้นร่วมกันไม่ได้เลย เพราะสภาวะธรรมที่เกิดๆ ดับๆ ของอารมณ์นั้นจะบดบังสภาวะธรรมของ "สันตติธรรม"

    <font color='#0000ff'><b>ท้ายสุดนี้ บทความที่เขียนขึ้นมา เพียงเพื่อเปิดธรรมทัศน์ให้กว้างขว้างมากยิ่งๆขึ้น ไม่ได้ชี้ผิดชี้ถูก โดยนำหลักเกณฑ์และเหตุผลที่ตริตรองได้ตามความเป็นจริง นำมาสอบสวนเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์ที่นำมาอ้างอิง อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อใดๆ ทั้งสิ้น ลองศึกษาทบทวนดูสักหลายๆรอบ แล้วลองนำไปสมาทานดูว่าเป็นไปตามนั้นจริงหรือไม่? สงสัยสอบถามได้ด้วยเหตุผล ที่ชวนให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติจริงได้ ให้เห็นผลที่เกิดขึ้น เพื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้ สาธุ</b></font>

    <font color='#0000ff'><b>เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
    ธรรมภูต</b></font></font>​
     
  2. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    เชื่อค่ะ สัมปชัญญะเป็นตัวตั้งของ ปัญญา

    ภิกษุ ท ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้ (อาการที่ ) เวทนา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้ง(วิทิตา)แก่ภิกษุ,
    (อาการที่)เวทนาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง,
    (อาการที่)เวทนา ดับลงก็แจ่มแจ้ง

    (อาการที่)วิตก เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ,
    (อาการที่)วิตก เข้าไปตั้ง อยู่ก็แจ่มแจ้ง,
    (อาการที่) วิตกดับลงก็แจ่มแจ้ง

    (อาการที่)สัญญา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ,
    (อาการที่)สัญญา เข้าไป ตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง,
    (อาการที่) สัญญาดับลงก็แจ่มแจ้ง

    ภิกษุ ท ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.

    และที่จริงการเห็นอย่างนั้นแลคือการเห็นการเกิดและดับ
    มิใช่เห็นจิตเกิดดับกระพริบ เกิด ดับ เกิด ดับ การเห็นอย่างนั้น
    มิใช่การเห็นแบบพระพุทธเจ้านะคะ

    คิดอย่างนี้ถูกไหมค่ะ
     
  3. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ที่จริงแล้วสัมปชัญญะ และว่า รู้ชัด หรือ รู้แจ้ง
    นั้นคือ ตัววิญญาณขันธ์ หรือ วิญญาณ
    ตัววิญญาณนี้มีอาหาร คือ ธรรมมารมณ์ นะคะ
    ถ้าเราสามารถกำจัดธรรมารมณ์นี้ได้
    วิญญาณก็ไม่มีเชื้อ ให้เจริญงอกงามวิญญาณก็ดับแค่นั้นเอง

    แล้วสติสัมปชัญญะที่ตั้งมั่น ก็คือ กำลังสมาธิที่แก่กล้านั่นเอง
     
  4. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    อ่านข้อความนี้ของท่านเจ้าของกระทู้รู้สึกว่าชอบ

    ท่านพระพุทธทาสได้บอกความหมายนัยยะอะไรบางอย่างที่หลาย ๆ คน
    ได้เจอมาแต่ทุกคนไม่รู้ว่านั้น คือ อะไร ท่านกล่าวว่า....

    มีความแปลกประหลาดอยู่หน่อยหนึ่งว่า ....
    คือเรื่องอะไร ๆ ทีเราอยากรู้ หรือ ปัญหาที่เราอยากจะสะสางนั้น
    ตามปกติมันจะฝังตัวอยู่ในใจของเราทั้งนั้น
    เราอาจจะไม่รู้สึกก็ได้ คือ มันอยู่ใต้จิตสำนึก (Subconscious)
    ตามความเข้าใจของตัวเอง คือ ภวังคจิต เรื่อยไปตลอดเวลา
    ขณะที่เราตั้งใจจะสะสางให้มันออก มันก็ไม่ออก
    เพราะว่าจิตใจ ณ ขณะนั้น ยังไม่เหมาะสมที่จะสะสางปัญหานั้นนั่นเอง
    ถ้าผู้ใดทำสมาธิถูกต้อง คือ ให้มีลักษณะ "กมุมนีโย"
    พร้อมจะปฏิบัติงานทางจิตแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ใต้จิตสำนึกนั้น
    มันจะมีคำตอบโพล่งออกมาเฉย ๆ อย่างไม่มีปลี่ขลุ่ย
    ต่อเนื่องจาก ขณะที่จิตเป็นสมาธินั้น

    แต่ว่าถ้าหากมันยังไม่โพล่งออกมา เรายังมีวิธีอื่นอีกอันหนึ่ง
    คือให้น้อมจิตไปสู่การพิจารณา ปัญหาที่เรากำลังมีอยู่
    การพิจารณาด้วยกำลังของสมาธิ ในลักษณะนี้เรียกว่า "ปัญญาสิกขา"
     
  5. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ที่จริงแล้วทั้งสองอย่างนั้นก็ทำให้พิจารณาการเกิดดับได้ทั้งสองกรณีค่ะ

    ประเด็นแรก เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงบันลือสีหนาทในทุติยทสพลสูตร
    เรื่อง ขันธ์ 5 แต่ละขันธ์ และ ความเกิด-ความดับ ของขันธ์ 5 แต่ละขันธ์
    ที่ทรงให้รู้จักขันธ์ 5 ตามเป็นจริง และเห็นขันธ์ 5 เกิด-ดับ เป็นเรื่องที่มี
    ประโยชน์มาก และสำคัญมาก

    ส่วนประเด็นเห็นจิตเกิด ดับ นั้น ตามความเข้าใจของตัวเอง
    ก็คงหมายถึง การที่จิตหมุนไม่หยุดนิ่ง คือ หมุนวนเข้าหาจุดศูนย์กลาง
    เข้าในภายใน แล้ววนออกมาสู่ภายนอกอีกครั้ง เกิดดับอย่างนี้ตลอดเวลา
    ซึ่งทำให้มองเห็นความไม่เที่ยง อนิจจัง ที่หยุดนิ่งไม่ได้ ต้องเสื่อมสลายไปทุกขณะ

    สองสิ่งเหล่านี้ก็สามารถนำมาพิจารณาได้เหมือนกันค่ะ
     
  6. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    พบเจอสิ่งใดก็พิจารณาสิ่งนั้น พิจารณาตลอดเวลา ใช่หรือเปล่า
     
  7. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ถ้ามีสติสัมปชัญญะ จนมีสมาธิตั้งมั่นตลอดเวลา เรียกว่า เห็นเกิดขึ้นเองอัตโนมัติน่าจะดีกว่าค่ะ

    พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
    รู้ชัดในขันธ์แต่ละขันธ์ เห็นความเกิดดับของขันธ์แต่ละขันธ์
    เหตุเกิดทุกข์ (สมุทะโย) และคำว่า ความดับทุกข์ (อัตถังคิโก)
    ของขันธ์แต่ละขันธ์ไว้อย่างชัดเจน

    ในสัญญาสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า "อนิจจสัญญา"
    ที่ภิกษุทั้งหลายเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วมี ประโยชน์มากมาย มีผลยิ่งใหญ่

    การเจริญอนิจจสัญญา คือ (ได้ว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง)ย่อมได้อนัตตสัญญา (จำได้ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ไม่ใช่ัตัวตน)

    ผู้ได้อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสียได้ซึ่ง"อัสมิมานะ"
     
  8. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ทีนี้ปัญหาส่วนใหญ่ของ jityim คือ หลงเข้าไปในความคิด
    อยู่ในคิดแล้วระลึกรู้ว่าคิดค่ะ แต่ไม่รู้สึกตัว พอคิดจบก็หันมา
    รู้อีกแล้วว่าหลงไปในความคิดอีกอย่างนี้บ่อย ๆ เสมอ ๆ

    แต่ถ้าวันใดมีสติสัมปชัญญะพร้อมกับรู้คิดไปด้วย จิตจะมีกำลัง
    และพร้อมได้ปัญญาด้วย ใครเป็นอย่างนี้บ้างค่ะ

    ก็เลยจะถามว่า ความแตกต่างระหว่าง นั่งสมาธิแบบรู้ตัวสัมปชัญญะอย่างเดียว
    กับรู้ตัวสัมปชัญญะพร้อมกับรู้คิดไปด้วย

    สองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรค่ะ
     
  9. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ปาฏิหาริย์ 3 ทำอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2016
  10. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    รู้ค่ะว่าคงไม่มีใครตอบให้ได้...
    ถามเพื่อให้คิดแค่นั้นเองค่ะ
    ว่าแท้ที่จริงแล้วปัญญาเกิดจากอะไร
     
  11. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ศาสนาพุทธจะเจริญรุ่งเรือง ถ้าปาฏิหาริย์สามเกิดกับผู้ประกาศธรรม
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อย่าไปคลอเคลียนัวเนียเอาเรื่องกับมันมากสิครับ
    ออกจากมุม ออกจากความหมกมุ่นจิตเกิด
    จิตเกิดมันถึงหมกมุ่น พอหมกมุ่นแล้วเรื่องเยอะ
    เรื่องเยอะๆที่เกิดขึ้นมาจากไม่รู้จักว่าจิตมันกำลังเกิด
    ตัณหากำลังครอบงำ ไม่ทันเห็นตรงนี้ มันก็จี้เอาๆ
    ให้ร้อนรุ่ม ให้ดิ้นรน กวัดแกว่ง ใฝ่ไปตามอารมณ์ใคร่
    ก็มารู้ทันตรงนี้ รู้ทันเรื่อยๆ มาหน้าไหนรู้ทันหมด
    จนมันสงบลงๆ ความสงบนั่นแหละจะเป็นพยานให้เอง
     
  13. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    รู้คิด หมายถึงอย่างไร ถ้าหมายถึง ท่านคิดและรู้ตัวว่าคิด ยังไม่จัดเป็นรู้คิด หรือเห็นตัวคิด จะเป็นอุทธัจจะกุกกุจจะ ฌาณท่านไม่ได้ แต่ถ้ารู้ส่วนรู้ คิดส่วนคิด ท่านไม่ได้ลงไปคิด ท่านมีอุเบกขาต่อตัวรู้ ตัวคิด ท่านเห็นความคิดเรียกว่า รู้คิด แต่ถ้าท่านไปคิด คลอเคลียคิด จนเอามาเป็นอารมณ์อีก วิจิกิจฉาก็อาจเกิด ท่านก็หล่นจากฌาณทันที เมื่อหล่นมา ท่านก็อุทธัจจะกุก
    กุจจะอีก

    แต่ถ้าท่านไม่คิด ทรงฌาณ ๔ แล้ว ถอยออกมาอธิษฐานยกเข้าสู่การพิจารณา แล้วเข้าฌาณ ๔ ออกจากฌาณแล้วพิจารณา ท่านจะเห็น ตัวรู้คิด ในกระบวนการพิจารณา ฝ่ายข้างปัญญาย่อมเกิดเพราะกำลังที่จิตเห็นสัจธรรม อาจมาจากการตรึกตรองพิจารณาในธรรมต่างๆ เมื่อเกิด รู้คิด จะรู้ว่า คือ รู้คิด เมื่อเกิด ปัญญา ก็จะรู้ว่า ปัญญา จิตรู้แจ้งก็จะบอกเอง
     
  14. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    อันนี้ ให้เห็นจากฌาณ ๔ จะได้เห็นชัดเจนกันไปเลย แต่การพิจารณาอาจทำเหมือนเดินจงกรมได้ ไล่จากหยาบไปละเอียดเลย สุดท้ายก็ถึงภาวะเห็นรู้คิดแบบเดียวกัน การเดินจงกรมจะเห็นสติสัมปชัญญะชัดเจนมาก ถึงพีคสุดในฌาณ ๓

    คุณjityim อาจหมายถึงกรณีหยาบไปละเอียด ซึ่งโดยมาก การไล่หยาบไปละเอียดจะเห็นสติสัมปชัญญะชัดแจ้งในฌาณที่ ๓ กระบวนการคิดนั้น เกิดจากกระบวนการพิจารณาก่อน อาจเกิดได้ในการพิจารณาลมหายใจ คือ เริ่มวิปัสสนาทันที แล้วก็ไล่ฌาณขึ้นไป
     
  15. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำ....ขอถามอีกนิดนึงนะคะ

    ที่จริงแล้วสติปัญญาของเรานั้นเองนั้นมาการเรียนรู้รอบตัวเรา หรือจากภายในตัวเรา ก็คือ ที่จิตวิญญาณ

    ถ้ามาจากภายในตัวเรา แสดงว่าภายในของเรามีจิตวิญญาณที่รู้แจ้งอยู่แล้วใช่ไหมค่ะ

    เพราะว่า...จิตเดิมแท้ประภัสสร ประภัสสรแบบรู้แจ้ง หรือ บริสุทธิ์เฉย ๆ

    ถ้าไม่ใช่แล้ว ปัญญาบารมีที่แตกต่างกันเนื่องมาจากเหตุใด

    แล้วทำไมที่บอกว่าความรู้ที่ผุดมาจากจิตนั้นเป็น ความรู้จากภวังคจิต หรือจิตใต้สำนึก
    ก็เป็นเพียงแค่เราเก็บข้อมูลจดจำเรื่องราวประสบการณ์ของชีวิต และ
    จดจำอารมณ์ไว้ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ถึงเวลาคับขันถ้าจิตนิ่งก็
    สามารถนำสิ่งเหล่านั้น มาใช้เพื่อเรียนรู้ต่อยอดให้ยิ่งขึ้นไป

    ก็เลยสงสัยค่ะ ปัญญาเรามาจากไหน แต่เขาบอกไว้ไม่ได้เก็บไว้ที่สมองแน่

    jityim รู้ข้อมูลมาบ้าง นำมาเปรียบเทียบกันตัวเองก็พอจะมองออก
    แต่อยากรู้ความคิดเห็นคนอื่นด้วยว่าเห็นเป็นอย่างไร นะคะ

    ว่า...แท้ที่จริงที่เราต้องการหลุดพ้นนั้น ...ปัญญานั้นมาจากไหนกันนะ
     
  16. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    อ้าวอ่านไปอ่านมาทำไมละหนอ....เอาเป็นว่า อนุโมทนาคับ อย่าขัดแย้งในตนก็เป็นพอคับผม
     
  17. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ถ้าเราช่วยกันค้นหา น่าจะมีคำตอบค่ะ
    และ jityim ก็มีคำตอบในใจแล้ว
    ก็เลยอยากมีเพื่อน...เพื่อจะได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
     
  18. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    เมื่อเกิดความสงบคือสมถะ จึงเจริญปัญญาต่อได้ ก่อนเข้าสู่กระบวนการแห่งวิปัสสนา จึงต้องผ่านขั้นสมถะมาก่อน แต่ถึงจะกำหนดบัญญัติสมมุติเรียกอย่างไรก็แล้วแต่ ขั้นกระบวนการพัฒนาจิตใจก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอนอยู่แล้วตามอัตโนมัติ มิอาจฝืนธรรมชาติอย่างที่มันเป็นได้ ......

    ** สิ่งสัญคัญคือ ใครมีจริตถนัดฝึกอะไรให้ใจสงบเป็นสมถะ และถนัดพิจารณาอะไรให้ใจรู้เห็นเป็นวิปัสสนานั่นเอง ซึ่งเมื่อฐานปัญญามั่นคงดีแล้วก็จะเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ได้เด่นชัด และตัดตัวจิตคือผู้รู้รวมถึงขันธ์ทั้งหลายลงได้โดยสิ้นเชิง..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2016
  19. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณ์เป็นสัจธรรมที่เห็นได้จากทั้งภายใน ภายนอก
    วิญญาณไม่ใช่ปัญญา จิตไม่ใช่ปัญญา จิตประภัสสรไม่ใช่ปัญญา ธาตุธรรมไม่ใช่ตัวตน

    ดิน น้ำ ลม ไฟ มาจากไหน ภายในหรือภายนอก มาประชุมเป็นรูปขันธ์ ร่างกายเรา เรามาแบ่งธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เป็นภายในหรือภายนอกร่างกายของเราเพราะอะไร จิตก็ทำนองนั้น จะจิตประภัสสรหรือไม่ก็ทำนองนั้น ปํญญาก็ทำนองนั้น นิพพานก็ทำนองนั้น กายธรรมจึงไม่ลงมาในกรอบที่เราตีตราว่า จิตเรา กายเรา แต่ก็ไม่ได้พ้นไปจากเหตุปัจจัยที่เป็นไป กายธรรมของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน ดุจดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มาประชุมก็สร้างรูปลักษณ์ที่ต่างกันไปตามเหตุปัจจัย เมื่อรูปขันธ์ดับ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไปไหน ดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นจะหอบเหาะไปเป็นกายทิพย์บนสวรรค์ หรือหายไปในหลุมดำจิ๋วแล้วไปสร้างกายสัตว์นรกให้เราหรือ เรามักคิดอย่างที่เราเห็นว่า จิต เจตสิก นิพพาน จะเป็นอย่างที่เราเห็นรูป คิดว่ารูปจะมีตัวตนเป็นของเราหรือ เป็นกรอบอัตตา ความจริงเห็น หรือพิจารณารูปอย่างนี้ง่ายกว่า แต่จะพิจารณาว่า จิต เจตสิก นิพพาน ว่าไม่เป็นเรา เป็นจิตเรา ยากกว่า รูปมาจากไหน ดิน น้ำ ลม ไฟ มาจากไหน จะไปไหน ทุกสิ่งมาจากธรรมชาติ คือ ธาตุ คือ ธรรม ปัญญามาจากไหน

    ปัญญาหลุดพ้น ไม่ได้มาจากจิตประภัสสร จิตต้องน้อมเอาธรรมเข้ามา โอปนนิโก เป็นธรรมควรน้อมเข้ามาสู่ตน เมิ่อน้อมธรรมอันควร ธรรมนั้นจะเรียกปัญญามา โพชฌงค์ ๗ เรียกปัญญาหลุดพ้นหรือตรัสรู้ ธรรมชื่อโยนิโสมนสิการ ธรรมการฟัง การตรึกตรอง การภาวนา สัญญาไม่ใช่การหยั่งรู้ สัญญาไม่เรียกว่าปัญญา ที่เรียกว่าผุดขึ้น คือการสังเกตว่า ไม่ได้มาจากตัวคิด ไม่ได้มาจากตัวรู้ ไม่ได้มาจากสัญญา ไม่ได้มาจากวิญญาณ เพราะญาณปัญญาเกิด เช่น ญาณรู้อดีต อนาคต ไม่ได้อยู่วิญญาณ ไม่ใช่สัญญา ไม่ได้อยู่ที่จิตรู้ ไม่ใช่จิตที่คิด ญาณปัญญานี้ก็คิอญาณปัญญา ถ้าไปเหมารวมว่า จิตคือญาณปัญญา จะกล่าวว่า น้อมเอาธรรมมาสู่จิตด้วยเหตุใด
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ"ภิกษุ ทั้งหลาย ข้อปฎิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฎิปทา) อันเป็นข้อปฎิบัติ ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ เฉพาะ เป็นข้อ ปฎิบัติที่ทำให้เกิด จักษุ เป็นข้อปฎิบัติ ที่ทำให้เกิด ญาน เป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้พร้อม ้เพื่อ นิพพานนั้นเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฎิบัติ อันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฎิบัติอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี่เอง ได้แก่ สัมมาทิฐฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สาัมมาอาชีวะั สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แล คือ ข้อปฎิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ ตถาคตได้ ตรัสรู้ เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฎิบัติที่ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาน เป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้พร้อม เพื่อ นิพพาน---มหาวาร.สํ19/528/1664..:cool: พระวจนะ" พราห์มณ์ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาน เพราะมีวิญญานเป็นปัจจย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจยจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป้นปัจจย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจย ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิด ขึ้น ครบถ้วร ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกขฺ ทั้งสิ้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.....เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาน เพราะมีความดับแห่งวิญญาน จึงมีความดับแห่งนามรูป เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัรหา เพาะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นเอง ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดัง นี้:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2016

แชร์หน้านี้

Loading...