อันตรายร้ายแรงที่เกิดจากความเห็นผิด โดยท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร ---------------------------------------------------------------- ในครั้งพุทธกาล มีอาจารย์ที่เรียกว่า "เดียรถีย์" (ผู้ข้ามไม่ถูกท่า) ก็ตกอยู่ในฐานะมีความเห็นผิดทั้ง ๓ ประการนี้ ได้แก่ อาจารย์อชิตตเกสกัมพล มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดไม่มี อาจารย์มักขลิโคศาล มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น อเหตุกทิฏฐิ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปโดยมิได้อาศัยเหตุ อาจารย์ปูรณกัสสป มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น อกิริยทิฏฐิ เห็นว่าการกระทำทั้งหลายไม่สำเร็จเป็นบุญหรือเป็นบาปได้ บุคคลผู้มีความเห็นผิดชั้นอาจารย์ ย่อมมีความเห็นผิดที่หนักแน่นมากที่สุด และบรรดาศิษย์ทั้งหลายก็หนักแน่นมากบ้างน้อยบ้างรองๆ กันลงมา บรรดาอาจารย์และศิษย์ทั้งหลายผู้ไม่เปลี่ยนใจเหล่านี้จะหลีกหนี นรก ไปไม่พ้นอย่างแน่นอนภายหลังจากจุติ คือดับหรือตายโดยไม่มีอะไรมาคั่น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ทรงทรมานอาจารย์เหล่านี้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อจะได้ละ ได้ถอนความเห็นที่แสนร้ายนี้ ออกไปจากจิตใจเสียแต่อาจารย์เหล่านี้ก็รับไม่ได้ ยกเว้นศิษย์ของอาจารย์เหล่านี้บางคนที่มีความเห็นผิดยังไม่เข้าขั้นหนักรุนแรง บรรดาบุคคลผู้มีความเห็นผิดดังกล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีหนทางเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ เพราะขาดปัญญาในปัญหาของชีวิตแล้ว ยังขึ้นๆลงๆ นรก ดังได้กล่าวมาแล้วอีก อาจจะมากครั้งทีเดียว จึงถือว่ามีโทษร้ายยิ่งกว่า อนันตริยกรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในอังคุตตรพระบาลีว่า " ปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ" แปลความว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดชนิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้มีโทษอันยิ่งใหญ่ที่สุด" แม้ว่าอนันตริยกรรมที่หนักที่สุด เช่น ฆ่าพ่อ หรือ ฆ่าแม่ เป็นต้น อนันตริยกรรมจะนำไปเกิดในนรกแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเป็นต้น ก็คงจะไม่ได้ทำอนันตริยกรรมซ้ำๆอีก แต่ความเห็นผิดนั้นยากนักที่จะเปลี่ยนความคิดให้เป็นเห็นถูกได้ แม้จะเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา ความเห็นผิดก็ยังติดตามตัวไป ดังนั้น จึงขึ้นๆลงๆ นรก ครั้งแล้วครั้งเล่าจึงน่ากลัวอย่างจะสุดพรรณา สมัยหนึ่ง พราหมณ์ผู้หนึ่งได้เข้ามาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถามปัญหาเรื่องกรรม เรื่องการตายการเกิดเป็นสัตว์ในภพภูมิต่างๆ เช่น เป็นผีสางเทวดาได้ เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหลับพระเนตรเสียไม่ตอบ พราหมณ์ถามอยู่หลายครั้งไม่ได้รับคำตอบ จึงได้หลีกไป พระอานนท์จึงได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คำถามก็ดีๆทั้งสิ้น เหตุใดพระองค์จึงไม่ตอบเขา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อานนท์เธอยังไม่รู้ว่าพราหมณ์ผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่มีกำลังความเห็นผิดเหนียวแน่นมาก ผ่านนรกมาหลายชาติแล้ว ที่เข้ามาถามวันนี้ ก็มิได้ปรารถนาจะมาหาความรู้ หากแต่ต้องการจะมาโต้คารมแสดงความคิดเห็น จะได้ไปโอ้อวดกับคนทั้งหลายว่า ได้มาโต้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องการสร้างพยานหลักฐานเพื่อจะให้คนทั้งหลายเชื่อในความคิดเห็นผิดๆ ของตน ความเห็นผิดชนิดที่ล่วงอกุศลกรรมบทคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ นั้นมีกำลังของการให้ผลมากจริงๆ ผู้ที่มิได้ศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมิได้มีความคิดพิจารณาในปัญหาของชีวิตให้ลึกซึ้งแล้วจะเข้าถึงความจริงของการให้ผลไม่ได้ เป็นเรื่องที่น่าหวั่นไหวเกรงอันตรายที่ร้ายแรงนี้เหลือเกิน เพราะความเห็นผิดที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ มันจะแสดงออกไปซึ่งความเห็นผิดนั้นอยู่เสมอในแต่ละชาติที่เกิดขึ้นมา ผลร้ายแรงที่จะได้รับจึงได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า คือตกนรกบ่อยครั้งจนจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับชีวิตแล้วจึงจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลับเป็นตรงกันข้ามได้ เช่น เกิดเป็นมนุษย์แล้ว เพราะความยากจนมากจึงมัวยุ่งแต่การทำมาหากิน หรือเจ็บป่วยมากอยู่เสมอ มัวแต่ยุ่งเรื่องการรักษาพยาบาลตัวเอง หรือมีเรื่องเศร้าหมองเร่าร้อนอยู่ไม่สร่างซาจนไม่มีเวลาที่จะครุ่นคิดถึงปัญหาชีวิตอันลึกซึ้งที่ตนมีความเห็นผิดติดมา และเมื่อได้พบบัณฑิตย์ที่มีความสามารถเสนอความรู้ให้ ทั้งได้เกิดมาหลายชาติมิได้แสดงความเห็นผิดมากมายออกไป และกุศลของตนเพิ่มขึ้นจึงได้มีโอกาสเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เปรียบเหมือนเสือโคร่งหนุ่มฉกรรจ์ย่อมจะหยิ่งผยองในศักดิ์ศรีของตน เพราะในป่าอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้มิได้มีผู้ใดที่จะมีความเก่งกาจหรือมีความสามารถเท่าตนได้ จึงยืนผงาดวาดลวดลายว่าข้านี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ให้สัตว์ทั้งหลายเกรงขาม ครั้นในบั้นปลายของชีวิต เมื่อความชราได้เข้ามาเยือนจึงได้มีความรู้สึกสำนึกตัวว่าจะยิ่งใหญ่ต่อไปไม่ได้เสียแล้ว เพราะเขี้ยวอันแหลมคมราวกับเหล็กกล้าภายในปากนั้น บัดนี้ก็ได้หลุดถอน เล็บทุกเล็บอันทรงพลังก็โยกคลอน แม้ร่างกายก็อ่อนแอลงไปแล้วจะจับสัตว์ใหญ่กินได้อย่างไร และจะวิ่งตามสัตว์เล็กก็ไม่ไหว แล้วจะยืนผงาดโอ้อวดความยิ่งใหญ่อยู่ได้หรือ ด้วยเหตุนี้เองเพื่อจะยังชีวิตของตนให้คงอยู่ต่อไป จึงต้องค่อยๆย่องตามเสือหนุ่มสาวกัดกินสัตว์ทิ้งไว้แล้วไปนอนเฝ้าคอยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้เพื่อจะได้กินในมื้อต่อไป เสือแก่ก็จะย่องเข้ามากินเศษอาหารที่ทิ้งไว้ ถ้าเสือหนุ่มสาวกระโชกเข้ามาขับไล่ ก็ถอยหลบไป ถ้าเสือหนุ่มสาวเผลอหรือนอนหลับ ก็จะย่องเข้าไปแทะกินใหม่ พอให้ชีวิตรอดไปได้วันหนึ่งๆจนกว่าจะตายลงไป http://larndham.net/index.php?showtopic=24493&per=1&st=5&
เยี่ยมยอด อยากให้เตชปัญโญ และคนอื่นที่ยังหลงผิด คิดว่าเกิดตายชาติเดียว ได้อ่านจริงๆ ที่สำคัญถ้าสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางพระศาสนาได้ ถึงขั้นพิสูจน์ทราบตามความเป็นจริง ก็คงหายสงสัยไปได้ แต่นี่เล่นไม่ทดลองปฏิบัติเลย ก็เลยพาลอย่างเดียวไม่มีๆ อยู่นั่นเอง เปรียบเหมือนหมอที่เขาส่องเห็นเชื้อโรค บอกว่าเรามีเชื้อโรค ตนเองไม่เห็นไม่ส่อง ก็ถามหาอยู่นั่นเองไหนๆ แล้วก็บอกไม่เห็นมีอะไร แต่ตัวเองก็ตายไปเพราะเชื้อโรคนั่นแหละ
น่าเป็นห่วง <TABLE class=tborder id=threadslist cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY id=threadbits_forum_10><TR><TD class=alt2></TD><TD class=alt1 id=td_threadtitle_25762 title="ข้อความด้านล่างผม copy & past บางส่วน ส่วนตรงไหนที่มีตัวอักษรสีแดงๆ คือ สัญลักษณ์เตือนว่า อย่าเพิ่งไปเชื่อ ให้ผู้อ่านคิดพิจารณาแล้วหาตำราจากพระอาจารย์อื่นๆหรือพระอริยะเจ้ามาเทียบเคียงหรือพระไตรปิฎกมาเทียบ ซึ่งความเชื่อแบบนี้ได้บรรจุลงไปฝนหลักสูตรให้นักเรียน..." style="CURSOR: default"> แนะนำPoll:น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6) (2 คน กำลังดูอยู่) ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ... หน้าสุดท้าย) </TD></TR></TBODY></TABLE>
<TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=529 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=466 colSpan=3>ขออนุโมทนาบุญกับท่านเจ้าของบทความ ท่านผู้ตั้งกระทู้ และท่านที่อนุโมทนาบุญ ครับ สาาาาา...ธุ อกุศลกรรมบถ มีเท่าไร อะไรบ้าง </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31>ตอบ </TD><TD vAlign=top width=466 colSpan=3>มี ๑๐ ประการ คือ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๑) </TD><TD vAlign=top width=107>ปาณาติบาต </TD><TD vAlign=top width=301>ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ได้แก่ ฆ่าสัตว์ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๒) </TD><TD vAlign=top width=107>อทินนาทาน </TD><TD vAlign=top width=301>ลักสิ่งของๆ ผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๓) </TD><TD vAlign=top width=107>กาเมสุ มิจฉาจาร </TD><TD vAlign=top width=301>ประพฤติผิดประเวณี </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๔) </TD><TD vAlign=top width=107>มุสาวาท </TD><TD vAlign=top width=301>พูดเท็จ พูดไม่จริง </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๕) </TD><TD vAlign=top width=107>ปิสุณาวาจา </TD><TD vAlign=top width=301>พูดส่อเสียด ยุยงคนให้แตกกัน </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๖) </TD><TD vAlign=top width=107>ผรุสวาจา </TD><TD vAlign=top width=301>พูดคำหยาบ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๗) </TD><TD vAlign=top width=107>สัมผัปปลาปะ </TD><TD vAlign=top width=301>พูดเพ้อเจ้อ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๘) </TD><TD vAlign=top width=107>อภิชฌา </TD><TD vAlign=top width=301>โลภอยากได้สิ่งของๆ ผู้อื่น </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๙) </TD><TD vAlign=top width=107>พยาบาท </TD><TD vAlign=top width=301>ปองร้ายผู้อื่น </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=31> </TD><TD vAlign=top width=26>(๑๐) </TD><TD vAlign=top width=107>มิจฉาทิฏฐิ </TD><TD vAlign=top width=301>เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม </TD></TR></TBODY></TABLE>
ในอริยมรรคมีองค์ 8 พระพุทธองค์ จึงทรงนำเอา สัมมาทิฏฐิ ขึ้นก่อน สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริงเป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา ตามวัดส่วนใหญ่เขียนคำนี้ตามแบบภาษาบาลีว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฐิ ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง คือเห็นว่าการให้ทานมีผลจริง การบูชามีผลจริง การเคารพบูชามีผลจริง ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง คุณของมารดามีจริง คุณของบิดามีจริง พวกโอปปาติกะ (พวกเกิดทันทีเช่นเทวดา) มีจริง สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง
สาธุ....ขออนุโมทนาครับ ตราบใดที่กรรมไม่ดียังไม่เผล็ดผลคนทำบาปกรรมย่อมไม่รู้ว่าตนทำบาป ต่อเมื่อผลแห่งกรรมไม่ดีนั้นเผล็ดผลคนทำบาปจึงได้รู้ว่าตนทำบาป(พระพุทธพจน์)
อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ...กล่าวได้ดีแล้วชอบแล้ว คนที่เห็นผิดจากพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในเว็บพลังจิตก็น่าจะมีเยอะแต่จะรู้ตัวหรือเปล่า ใครพูดอะไรสอนอะไรถ้าขัดแย้งกับคนอื่น โปรดจงกลับไปดูพระไตรปิฎกฉบับหลวงของไทยเถิด หลวงพ่อสรวง อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำขวัญเมือง จ.ชุมพร ซึ่งท่านได้ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ได้รับรองแล้วว่าพระไตรปิฎกฉบับหลวงของไทยมีความคลาดเคลื่อนเพียงแค่ ๓% เท่านั้นและ ๓% นั้นไม่ใช่สาระสำคัญเลย
ขออนุโมทนาครับ บุคคลที่มีความเห็นผิดต้อง สร้างสติ ปัญญาให้เกิดมีขึ้น จึงจะเห็น สัมมาทิฏฐิ ครับ ปัญญา โลกัสมิง ชาคะโร ปัญญา เป็นเครื่องตื่น ในโลก
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ทรงทรมานอาจารย์เหล่านี้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อจะได้ละ ได้ถอนความเห็นที่แสนร้ายนี้ ออกไปจากจิตใจเสียแต่อาจารย์เหล่านี้ก็รับไม่ได้ ยกเว้นศิษย์ของอาจารย์เหล่านี้บางคนที่มีความเห็นผิดยังไม่เข้าขั้นหนักรุนแรง ผมสงสัยครับทำไมต้องทรมานด้วยครับ ถ้าคำถามนี้เป็นการปรามาศ ขออโหสิกรรมด้วยครับ
แม้ว่าการที่พระพุทธเจ้าจะได้ทรงทรมานอาจารย์เหล่านี้ด้วยวิธีการต่างๆ ทรมาน ในที่นี้หมายถึง ทรงใช้กุศลอุบาย(กุศโลบาย)ในการพิสูจน์ให้อาจารย์เหลานี้เห็นว่าคำสอนของพระองค์นั้นเป็นความจริง เพื่อที่จะให้เหล่าอาจารย์ทั้งหลายคลายจากความเห็นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นผิด และคลายจากความยึดมั่นในคำสอนของตนนั่นเอง
<img src=http://dl9.glitter-graphics.net/pub/168/168369j9n5j93d55.gif width=150 height=107 border=0></a><br>
นำนิยายดีๆ มาให้อ่าน เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจสำหรับท่านที่มีมิจฉาทิฎฐิ หรือมีความเห็นคัดค้าน หรือสอนในสิ่งที่เป็นการคัดค้านกับคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า .
ขออนุโมทนา มหาโมทนา อย่างสุดใจ ธรรมที่คุณ tamsak และ คุณpiakgear24 นำมาแสดง เป็นจริงตามนั้นแน่ ไม่ต้องสงสัย เดี๋ยวผมจะหา ref. อ้างอิง ในพระไตรปิฎกมาให้ เพื่อความสมบูรณ์ของบทความว่า เป็นพระพุทธวจนะจริง
ยายทองประสา นับถือคำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่สุด น่าอนุโมทนา แต่ขนาดฟังธรรมจากพระอริยะเจ้ารูปอื่นไม่เข้าใจ แบบนี้เห็นผิดหรือถูก เที่ยวคิดว่าคนอื่นเห็นผิดหรือถูก ออก หรือ เคยเห็นนิพพานหรือ อ้างพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ สาบแช่งเขาไปดะ ไม่กลัวบาปหรือ
ยายทองประสาแกยังเป็นเด็กอยู่ ยังไม่เติบโตเต็มที่ อาจจะคึกคะนองไปบ้าง ให้อภัยแกครับ อายุมากขึ้น ถ้าไม่เข้าสู่วงการไสยศาสตร์เต็มตัวไปเสียก่อน ก็น่าจะเดินกลับสู่เส้นทางที่ถูกต้องได้ แต่พวกที่หากินกับความเชื่อของชาวพุทธนี่สิ อันนี้น่ากลัวจะกลับตัวยาก หวังว่ายายทองประสายังไม่ได้ไปร่วมแก๊งค์กับเขาโดยไม่รู้ตัวก็แล้วกัน อีกอย่าง คุณแรงกรรมเขาเตือนด้วยความหวังดี อย่าทะลึ่งไปแบนเขาอีกหล่ะ
ผมไม่เคยสาปแช่งใคร อย่าพูดจาเลื่อนลอยขาดสติ และอโหสิให้ทุกคนที่เคยทำไม่ดีกับผม และขออโหสิให้ผมด้วย หากเคยทำไม่ดีกับใคร
นี่ก็เป็นคำตอบของคุณแรงกรรมเอง และนี่ก็เป็นคำตอบคำถามของคุณด้วยเช่นกัน ก็คนรู้นี่นา ทำไมจึงจะไม่รู้ โอยยยยยยยยยประสาทจะกิน จะให้พูดยันตายก็ไม่จบสิ้น