สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    เห็นดำ ทำให้ขาว (1)

    เห็นดำ ทำให้ขาว (1)

    ถ้าใครนึกให้เห็นลูกแก้ว หรือ "ดวงแก้ว"
    หรือดวงขาว แต่ยังไม่ใส
    แล้วเห็นจุดกึ่งกลางเป็น "สีดำ"
    หรือเห็นจุดสีขาว มีขอบสีดำ
    นี้ท่านเห็น เจตสิกธรรม
    คือธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ ของจริงแล้ว
    ให้เข้าใจไว้

    แต่เป็นธรรมชาติของจริง "ฝ่ายธรรมดำ"
    หรือ "ภาคดำ" ที่เรียกว่า "อกุสลาธัมมา"

    ธาตุธรรมดำนั้น
    กรณีที่เห็นนี้เป็นได้ ๒ ประการคือ
    ประการที่หนึ่ง คือ เป็น “อวิชชา”
    เป็นอวิชชานิวรณ์ที่ห่อหุ้ม “ดวงรู้” ของผู้ที่เห็นนั้น
    ไม่ให้ขยายโตขึ้น

    ที่เรียกว่า “ใจ” นั้น ประกอบด้วย
    ดวงเห็น, ดวงจำ, ดวงคิด, และดวงรู้
    ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจาก
    ธาตุละเอียดของ นามขันธ์ ๔ คือ
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
    ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน
    ตรงกลางธาตุละเอียด ของรูปขันธ์
    ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ตรง
    "ศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ"

    ต้องใช้ "อุบาย" กำจัดเสีย คือ
    ถ้าเห็นจุดเป็น "สีดำ"
    ให้นึกอธิษฐานจิต ละลายธาตุธรรมนั้นเสีย
    เสมือนหนึ่งว่า จุดเล็กใสนั้นถูกห่อหุ้มด้วยควันดำ
    หรือว่าหมอกดำ หรืออะไรสีดำก็แล้วแต่
    ที่เราต้องชำระล้างด้วยน้ำใส ล้างด้วยน้ำกรดใส
    ... สมมุติอย่างนั้น

    ให้ปรากฏเห็น "ใสบริสุทธิ์" เหมือนเพชรลูก
    หรือแก้วเจียรนัย ที่ใสบริสุทธิ์
    แล้วจึงจรดใจนิ่งลงไปที่ ...
    "กลางของกลาง" จุดเล็กใสนั้น
    นิ่งเฉยๆ อธิษฐานให้จุดเล็กใสนั้นขยายออก
    จะมี "จุดเล็กใส" ขึ้นมาอีก
    แล้วก็นิ่งไป "กลางจุดเล็กใส" นั้น
    ขยายออกแล้วจะเห็น "ดวงใสสว่าง" ปรากฏขึ้น

    แต่ถ้ายังเห็นสีดำอยู่อีก
    ให้อธิษฐานละลายธาตุธรรมดำนั้น
    จนกว่าจะเห็นใสขึ้นมา
    บางทีบางท่านอาจจะเห็นเหมือนกับ
    มีน้ำชำระล้างดวงนั้น ให้ใสขึ้นๆ ก็มี
    หรืออาจจะนึกเห็นจุดเล็กใสที่เห็น อยู่ลึกลงไปกว่านั้น
    แล้วให้กำหนดใจไป "หยุด" ที่จุดเล็กใสนั้น
    ขยายศูนย์กลางที่ใสออก
    มลทิน คือ "ความดำ" นั้นก็จะหายไป

    เรื่องนี้สำคัญมาก !


    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    เห็นดำ ทำให้ขาว (2)

    เห็นดำ ทำให้ขาว (2)

    เรื่องนี้สำคัญมาก !
    คุณหมอและทุกท่าน จงจำไว้เชียว
    ที่เห็นเป็น "สีดำ" นั้นน่ะคือ
    ธรรมชาติฝ่ายธาตุธรรมดำ เรียกว่า “อกุสลาธัมมา”
    อันได้แก่ อวิชชา, กิเลส, ตัณหา เป็นต้น

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นสีดำๆ
    ไม่ดำสนิทนักหุ้ม “ดวงเห็น”
    เป็น "ปฏิฆานุสัย"

    และที่หุ้ม “ดวงคิด” หรือจิตนั้น
    เป็น "กามราคานุสัย"

    และส่วน อวิชชานิวรณ์อันเกิดแต่ "อวิชชานุสัย"
    ที่หุ้ม “ดวงรู้” อยู่ ไม่ให้ขยายโตเต็มธาตุเต็มธรรมได้
    ก็เพราะเจตสิกธรรม คือ ธรรมชาติฝ่ายธรรมดำนี้แหละ
    ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ เป็นของจริงนะ ไม่ใช่ของปลอม
    เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ” ทีเดียว

    ประการที่สอง
    ทีนี้คุณหมอเป็นนายแพทย์ต้องรู้ต่อไปอีก
    นี้นอกวิชาหมอละ
    ถ้าเห็นเป็น "ดวงดำสนิท" เหมือนถ่าน
    ก็ให้พึงรู้เถอะว่านั่นเป็น "โรคภัยไข้เจ็บ"
    ให้รีบกำจัดเสียอีกเช่นกัน

    แต่ถ้าเห็นเป็น "ดวงดำมันเลื่อม"
    ต้องรีบแก้ไขกำจัดดวงดำนั้นโดยพลัน
    ถ้าว่ายังไม่ใส ก็ต้องเพียรกำจัดให้ใสทีเดียว
    ถ้ายังไม่ใส ก็ไม่หยุดละ ต้องทำให้ใสให้ได้
    เพราะเป็นตัว “ทุกขสัจจะ”

    กล่าวคือ ที่เห็นเป็นสีดำๆ แต่ไม่ดำสนิทนัก
    หุ้ม "เห็น-จำ-คิด-รู้" อยู่นั้นคือ
    ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย
    เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ”

    แต่ถ้าเห็นเป็น "ดวงดำสนิทเหมือนถ่าน"
    นั้นเป็น “ดวงเจ็บ”
    คือมี หรือกำลังจะมี "โรคภัยไข้เจ็บ"
    ให้รีบแก้ไข ให้ผ่องใสเสีย

    ถ้าเห็นเป็น "ดวงดำมันเลื่อม" เหมือน "สีนิล" ละก็
    นั่นเป็น “ดวงตาย”
    ถ้าดวงตาย มาจรดนานซักระยะหนึ่ง
    ให้ดวงธรรมของมนุษย์ ขาดจากของกายทิพย์แล้ว
    คนนั้นจะตายทันที นี่คือ “ทุกขสัจจะ”
    ได้แก่ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย"

    ตามที่รู้เห็นกันใน "วิชชาธรรมกาย"
    เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นแหละตัว "ทุกขสัจจะ" เลยทีเดียว
    เรื่องนี้สำคัญนัก
    ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    ท่านเจริญภาวนา แก้โรคภัยไข้เจ็บ
    ก็แก้ที่ "ธาตุละเอียด"
    ของธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม ของผู้ป่วยนั่นเอง


    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี



    [​IMG]


    ขอบคุณ https://www.facebook.com/surin2507?fref=nf
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    "สมณะ" เขาแปลว่า ผู้สงบ
    สมณะในทางพระพุทธศาสนา
    มีอินทรีย์สงบระงับแล้ว ใจก็สงบ
    ถึงแล้วซึ่งความสงบ ทั้งกายและใจ
    นี่แหละเป็นสมณะ
    ขึ้นชื่อว่าเป็นสมณะ
    พระองค์ทรงรับสั่งกับพระราหุล เปิดอกเชียวเรื่องนี้
    เรื่องเบียดเบียนนะ ไม่ให้เบียดเบียน
    พระราหุล ถ้าจะทำสิ่งใดด้วยกาย
    ให้เอาปัญญาเข้าสอดส่อง ตรองเสียก่อนนะ
    ถ้าว่าร้อนเรา แล้วอย่าทำ
    ร้อนเขา อย่าทำ
    ร้อนทั้งเขาทั้งเรา อย่าทำ
    ถ้าไม่ร้อนแล้ว ก็ทำเถิด
    ท่านจะคิดสิ่งใด จะพูดสิ่งใดด้วยวาจา
    ต้องเอาปัญญาเข้าสอดส่อง ตรองเสียก่อนนะ
    ถ้าว่าร้อนเรา อย่าพูด
    ร้อนเขา อย่าพูด
    ร้อนทั้งเราทั้งเขา อย่าพูด
    ถ้าว่าไม่ร้อน ก็พูดเถิด
    ท่านจะคิดสิ่งใดทางใจ
    ถ้าว่าร้อนเรา อย่าคิด
    ร้อนเขา อย่าคิด
    ร้อนทั้งเราทั้งเขา อย่าคิด
    ถ้าว่าไม่ร้อน ก็คิดเถิด
    อย่างนี้ สอนอย่างลูกทีเดียว
    สอนอย่างเปิดอกทีเดียว
    นี้พระบรมนายกแม้จะเสร็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว
    วางหลักฐานไว้เช่นนี้
    เราอยากเป็นลูกพระตถาคตเจ้าแล้วละก็
    ต้องเดินแบบอย่างนี้ ทั้งกายทั้งวาจาทั้งใจอย่างนี้
    ไม่ให้เบียดเบียนใครผู้ใดผู้หนึ่ง
    ให้บริสุทธิ์ทีเดียว ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ
    นี่แหละ เป็นลูกของพระตถาคตเจ้าทีเดียว


    * พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    ** จากพระธรรมเทศนาเรื่อง : โอวาทปาฏิโมกข์





    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    "กลางของกลาง"

    "หยุดในหยุด กลางของหยุด"

    ตามแนววิชชาธรรมกาย คืออย่างไร ?




    เมื่อเริ่มแรกที่ใจจะ "หยุด" น่ะ
    "ใจ" มันหยุดเองไม่ได้ ต้องอาศัยนึกเอาก่อน
    เพื่อให้ "ความเห็น" (ด้วยใจ)
    แล้วก็ ความจำ, ความคิด, ความรู้
    มารวมหยุดอยู่ใน "ดวงแก้ว"
    ที่เราใช้เป็น "บริกรรมนิมิต"
    ให้มารวม "หยุด" เป็นจุดเดียวกัน
    ให้พึงเข้าใจว่า ...
    "เห็น" อยู่ที่ไหน ... "ใจ" อยู่ที่นั่น !
    เพราะฉะนั้นการที่ให้ใจนึกอยู่ที่ "ศูนย์กลางกาย"
    เป็น "ดวงแก้วกลมใส"
    ก็แปลว่า เป็นอุบายวิธีให้ใจมารวมอยู่ใน "ดวงแก้ว"
    อันเป็น "บริกรรมนิมิต" นั้น
    แต่พอใจรวมเดี๋ยวเดียว มันจืดจางไปแล้ว
    ก็เลยมีงานให้ใจทำเพิ่มอีกโสดหนึ่ง
    คือ "บริกรรมภาวนา" ว่า ... สัมมาอรหัง ๆ ๆ
    จี้เข้าไปที่ "กลางของกลาง" ดวงแก้วกลมใสนั่นแหละ
    “กลางของกลาง” คืออย่างไร ?
    ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย
    เป็นจุดเล็กใส ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร
    เรานึกให้เห็นไว้
    นึกเห็นอยู่ตรงนั้น ใจมันก็จะ "หยุด" อยู่ตรงนั้น
    เห็น "กลางจุดเล็กใส" ตรงศูนย์กลางนั้น
    เรียกว่า “กลางของกลาง”
    เมื่อหยุดนิ่งถูกส่วน
    ศูนย์กลางขยายออก ดวงใหม่เกิดขึ้น
    แล้วก็หยุดนิ่งไป "กลางของกลาง" ดวงใหม่
    "หยุดในหยุด"
    "กลางของหยุด" ไม่ถอนออกมา(จากสมาธิ)
    หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ
    เรียกว่า “หยุดในหยุด กลางของหยุด”



    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2015
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ถ้าใครรู้จักบุญรู้จักบาป ตัวจริงมีหลายระดับ ระดับบุญนี่ เป็นธรรมชาติเครื่องชำระจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลส โยมต้องรู้จักกิเลส กิเลสกองใหญ่มันก็มี โลภ โกรธ หลง ก็พูดกันเท่าเนี้ย เอาล่ะ วันนี้จะไม่กระจายรายละเอียดล่ะ แต่ว่าโยมต้องรู้จักจริงๆนะ ให้มันละเอียดลึกซึ้งลงไป
    ฝ่ายบุญแก่กล้าขึ้นมาเป็นบารมี บารมีแก่กล้าขึ้นไปเป็นอุปบารมี อุปบารมีแก่กล้าขึ้นไปเป็นปรมัตถบารมี ถึงปรมัตถบารมีโยมใดที่ประพฤติปฏิบัติบุญกุศลคุณความดี แก่กล้าถึงปรมัตถบารมี ตามส่วนแห่งศักยแห่งบารมี หมายความว่า ผู้ปรารถนาบรรลุคุณธรรมหลุดพ้นถึงนิพพาน ในระดับปกติสาวก อายุการบำเพ็ญบารมีก็เป็นแสนกัลป์ แสนกัลป์นะ แสนสองแสนก็ว่าไป พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เพิ่มขึ้นไป ผู้ปรารถนาพระพุทธเจ้า พระสัพพัญญู ในระดับปัญญาธิกโพธิสัตว์ก็สูงขึ้นไป...ในระดับสัทธาธิกโพธิสัตว์ ก็สูงขึ้นไป ๒ เท่า ของปัญญาธิก...ในระดับวิริยาธิกโพธิสัตว์ ก็สูงขึ้นไปเป็น ๒ เท่า ของสัทธาธิกโพธิสัตว์...ผู้ที่ปรารถนาเข้าสู่พุทธภูมิ ในระดับพระพุทธเจ้าองค์ต้นๆ ก็ยิ่งไปกว่านั้นอีก
    เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญบุญกุศลคุณความดี บ่มบุญบารมีให้แก่กล้า ผู้เข้าใจจึงต้องบำเพ็ญ ไม่มีละเว้น ไม่มีช่องว่าง ไม่มีระหว่างเลย จะไปบอกว่าฉันพอแล้วหรืออะไรนี่ ไม่ได้ มันยังไม่รู้เลยว่ากิเลสมีอะไรบ้าง เรารู้คร่าวๆ บุญมีอะไรบ้าง เราก็ไม่ค่อยรู้ รู้เท่าที่พอรู้ แต่ถ้ามีคนนำทำบุญให้เรารู้ และหรือรู้ว่าเขาทำบุญ เรารู้ว่าเป็นบุญ เราอนุโมทนาบุญ จำไว้นะ อนุโมทนาบุญ
    นี่เราตั้งใจอุทิศไปเนี่ย ไปถึงหมดเลย ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปถึงกระยาจกเข็ญใจ ไปถึงเปรต สัตว์นรก อสุรกาย สัตวฺเดรัจฉาน...ใครรู้อนุโมทนาบุญ ได้บุญ...แม้แต่เปรต เปรตได้ยินแล้วรู้ เพราะมันลำบาก มันรู้ เมื่อรู้เขาได้ยินปุ้บเนี่ย แต่ว่าเปรตก็มีหลายร้อยหลายพันประเภท ไอ้ประเภทที่บอกว่า เป็นบุญรู้นี่ ก็มี มีส่วนน้อย ส่วนมากไม่รู้เรื่อง สัตว์นรกส่วนมากไม่รู้เรื่อง เพราะไม่มีบุญเก่าไว้หนุน เขาทำบุญอุทิศให้ ไม่รู้ว่าเป็นบุญ เลยไม่ได้อนุโมทนาบุญ
    ไม่ใช่แต่เปรต ไม่ใช่แต่สัตว์นรก มนุษย์นี่แหละ ถ้าไม่รู้ว่าเป็นบุญ แล้วไม่ได้อนุโมทนาบุญ ไม่ได้บุญ ในขณะที่คนอื่นๆเขาทำบุญ เขาอนุโมทนาบุญเขาได้บุญ บุญสะสมแล้วมันก็แก่กล้าแล้วมันถึงจะเข้าใจว่า เออ! ไอ้บาปมันมีอย่างนี้นะ กิเลส ตันหา อุปปาทาน มันมี ๑๐๘...มากกว่า ๑๐๘ อีก แล้วก็บุญคุณความดีก็มีมาก หลายประเภท หลายอย่าง อะไรมีบุญมาก บุญน้อย เราเข้าใจ...เมื่อเข้าใจยิ่งขึ้น เราก็เลือกสิ่งที่มันเป็นบุญใหญ่ กุศลใหญ่ โดยใช้แรงกาย แรงใจ สติปัญญา ความสามารถ และกำลังทรัพย์เท่าที่เรามี แต่ด้วยสติปัญญาอันฉลาดเรื่องบุญ เรารู้ว่า ลงทุนอะไรมันจะได้บุญมาก เพราะฉะนั้นคนมีปัญญา ต้องรู้ประเด็นนี้ เมื่อรู้ประเด็นนี้แล้ว ร่วมทำบุญ ร่วมอนุโมทนาบุญ จึงได้

    ..................
    ..................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    นึกถึงลูกแก้ว แต่จิตไม่ยอมภาวนา พอฝืนทำไปจะเครียด ?

    เมื่อผมนั่งสมาธิปล่อยกายสบายดีแล้ว เอาจิตนึกถึงลูกแก้ว แล้วไปจรดไว้ที่ฐานที่ 7 นึกจะภาวนา แต่จิตไม่ยอมภาวนา พอฝืนภาวนาไปจะมีอาการตึงเครียด มึนศีรษะและอึดอัด เป็นเพราะอะไร ? จะแก้ไขอย่างไร ?

    ตอบ:

    โดยปกติ   ถ้าจิตรวมดิ่งหยุดนิ่งไปแล้วนั้น   องค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะหายไปด้วย   กล่าวคือ เมื่อลมหายใจ (กายสังขาร) ระงับ   จิตจะยิ่งละเอียดและหยุดนิ่ง     ความนึกคิด (วจีสังขาร) ก็จะระงับด้วย   นี่แหละ ที่ใจกำลังรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ถึงขั้นฌาน

    วจีสังขารระงับด้วยนั้นคืออย่างไร ?   คือเมื่อจิตละเอียดและรวมลงแล้ว  องค์บริกรรมภาวนาจะเลือนไปเอง แต่ถ้าเราฝืนบริกรรมภาวนาเข้า ก็ผิดหลักปฏิบัติ   เพราะจิตละเอียดและรวมลงแล้ว   บางคนลืมองค์ภาวนา  ก็ไม่ต้องภาวนา ไม่เป็นไร   ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์  ให้หยุดในหยุด กลางของหยุดๆๆ   ปล่อยให้ใจดิ่งหยุดนิ่งๆ   แล้วก็อย่าบังคับหรือเพ่งแรง   เมื่อจิตยิ่งดิ่งละเอียดลงไปแล้ว  ขอให้หยุดนิ่งๆ เบาๆ   ประเดี๋ยวจิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6  ตรงระดับสะดือ  แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใสสว่างตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7  เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือเอง

    ธรรมชาติของใจ  เมื่อใจจะรวมหยุด  

    ประการแรก ลมหายใจจะหยุดด้วย  แต่เราแทบไม่รู้สึกตัว  คือลมหายใจของผู้ที่เป็นสมาธิจะละเอียดเหมือนกับจะไม่ได้หายใจ   ถ้าลมหายใจยังหยาบอยู่ ยังไม่เป็นสมาธิที่แนบแน่น    ใจที่จะเป็นสมาธิแนบแน่น ลมหายใจจะละเอียดและสั้นเข้าๆ แล้วรวมลงหยุดนิ่งสนิท    แต่ไม่รู้สึกอึดอัด   ใจจะเบาและสบายเป็นปกติ   อาการที่ลมหายใจหยุดนั้น เรียกว่า “กายสังขาร” ระงับแล้ว
    ส่วน “วจีสังขาร” กล่าวคือองค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง)  ก็จะค่อยๆ ระงับตามไป  จะรู้สึกลืมๆ เลือนหายไปไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์  ให้เห็นศูนย์ไว้เรื่อย   หยุดในหยุดกลางของหยุดๆๆ   ปล่อยใจให้ดิ่ง   หยุดนิ่งลงไป   ประเดี๋ยวก็ใสสว่างขึ้นมาเอง
    ท่านผู้นี้ได้ถามต่อไปว่า   “เมื่อผมภาวนาไม่ได้   ผมก็เปลี่ยนละครับ  ไม่ภาวนา  เอาจิตไปจรดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7   แล้วกำหนดลมในท้องกระเพื่อมไปกระเพื่อมมา”   นี่คงเคยติดการภาวนายุบหนอพองหนอมา  ไม่เป็นไร  แต่ว่าต่อไปไม่ต้องไปมองเห็นความกระเพื่อม   ไม่ต้องสนใจความกระเพื่อม   จิตจะได้หยุดดิ่งนิ่งสนิทลงไปจริงๆ

    ถ้าบังคับจิตให้เข้าๆ ออกๆ จากสมาธิ   พอจิตจะหยุดนิ่งเข้า ก็ไปฝืนให้จิตทำงานคือบริกรรมภาวนาใหม่อีก  อย่างนั้นย่อมจะทำให้จิตเครียด   เพราะถูกบังคับจึงเกร็ง   อย่างนั้นผิดวิธี   จงปล่อยใจตามสบาย   กายก็ปล่อยตามสบาย  อย่าเกร็งเป็นอันขาด   คือเราอย่าไปสนใจ   เพราะฉะนั้นมันจะไม่เกร็ง  การเกร็งนั้นเป็นอาการหนึ่งของใจที่ถูกเราบังคับเกินไป    พอบังคับเกินไป  จิตก็จะไม่ยอมรวมลง ไม่ยอมหยุด    จงนึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงน้ำ  ถ้ากดแรง ลูกปิงปองจะหลุดมือ   จิตที่ถูกบังคับหรือกดดันมาก จะถอนทันที   จิตบังคับไม่ได้ ต้องค่อยๆ ประคองเบาๆ   ปล่อยใจสบายๆ   แต่อย่าให้สบายจนง่วงและหลับ อย่างนั้นใช้ไม่ได้   ปล่อยใจตามสบาย คือทำใจให้โปร่งสบายนิ่งๆ   อย่าเพ่งนิมิตแรง   เพราะความอยากเห็นเกินไป   อย่าบีบบังคับใจเกินไป   เบาๆ ธรรมดา ไม่ต้องเกร็ง   แล้วจิตจะค่อยๆ รวมดิ่งลงไปเอง

    เพราะฉะนั้น   จงปรับนิดหน่อย  นี่มีประสบการณ์ดีแล้ว   ปรับปรุงอีกนิดหน่อยก็จะดีขึ้น   ส่วนว่าที่เคยติดยุบหนอพองหนอมานั้น  ก็ไม่ต้องสนใจ   เพียงแต่จรดใจนิ่งที่ศูนย์กลางของกลางๆๆๆ   พอใจหยุดนิ่ง ใสสว่าง  ความรู้สึกกระเพื่อมจะหายไปเอง   อย่าสนใจก็แล้วกัน  

    สรุปว่า   จรดใจนิ่งๆ เฉยๆ  อย่าเกร็ง   อย่าบังคับใจแรง  องค์บริกรรมภาวนาจะค่อยๆ ลืมเลือนไป เพราะเราไม่สนใจ    ใจไปหยุดดิ่งลงที่กลางของกลางนั้นถูกต้องแล้ว   บริกรรมภาวนาคือการท่องในใจนี้ เมื่อกำหนดไปแล้วจะหยุดเอง   จิตละเอียดเข้าๆๆ  ต่อไปลมหายใจก็ไม่สนใจ   แล้วละเอียดเข้าไปๆ   ใจจะสงบและหยุดนิ่งนั้นถูกต้องแล้ว  แต่อย่าบังคับใจเกินไป  อย่าเกร็ง  อย่าอยากเห็นเกินไป   นิ่งๆ เฉยๆ เบาๆ   แล้วใจจะหยุดสงบนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม  ก็จะปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หรือดวงปฐมมรรคใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    [​IMG]



    สังขตธาตุ-สังขตธรรม
    อสังขตธาตุ-อสังขตธรรม
    วิราคธาตุ-วิราคธรรม


    ธาตุที่เขาตั้งอยู่แล้วน่ะ ธาตุน่ะแบ่งออกเป็นสอง เป็น “สังขตธาตุ” “อสัขตธาตุ” ถ้าธาตุแบ่งออกเป็นสองธรรมล่ะ ก็แบ่งออกเป็นสองเหมือนกัน “สังขตธรรม” “อสัขตธรรม” แบบเดียวกัน เรียกว่า “สังขตธาตุ สังขตธรรม” “อสัขตธาตุ อสังขตธรรม”

    ไม่ใช่แต่เท่านั้น ยังมี “วิราคธาตุ วิราคธรรม” อีก ยังมีอีก วิราคธาตุ วิราคธรรม

    ที่ท่านยกตำรับตำราไว้ว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสัอกฺขมกฺขายติ “สังขตธาตุ สังขตธรรม” ก็ดี “อสังขตธาตุ อสังขตธรรม” ก็ดี ไม่ประเสริฐเลิศเท่า “วิราคธาตุ วิราคธรรม” วิราคธาตุ วิราคธรรม ประเสริฐเสิศกว่า สังขตธรรม และอสังขตธรรมเหล่านั้น นั่นต้องรู้ชัดลงไปอย่างนี้


    สังขตธาตุ สังขตธรรม น่ะเป็นอย่างไร? นี่แหละที่เราอาศัยอยู่นี่แหละ ตัวสังขตธาตุสังขตธรรมทั้งนั้น อยู่กับธรรมในกายมนุษย์นี่ก็เป็นสังขตธรรมอยู่กับธาตุมนุษย์ นี่ก็เป็นสังขตธาตุ ธาตุธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ บังคับบัญชาได้ เป็นสัชตธาตุสังขตธรรม
    ถ้าอสังขตธาตุอสังขตธรรมล่ะ อยู่ที่ไหน? อสังขตธาตุอสังขตธรรมตั้งแต่ธรรมกายขึ้นไป ธรรมกายที่เป็นโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายที่เป็นโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายสกทาคาทั้งหมดเช่นนี้ นี่ก็หมดสงสัยทีเดียว ส่วนที่เป็นธรรมกายแล้ว เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม แต่ยังไม่ใช่ “วิราคธาตุ วิราคธรรม” ธาตุที่เป็นธรรมกายไม่ต้องยกธรรมกายโคตรภูออก เป็นธรรมกายใสแบบเดียวกัน ที่เป็นธรรมกายทั้งหยาบทั้งละเอียด ธาตุธรรมที่เป็นธรรมกาย ทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายหยาบธรรมกายละเอียดที่เป็นโคตรภู ธรรมกายหยาบธรรมกายละเอียดที่เป็นพระโสดา ธรรมกายหยามธรรมกายละเอียดที่เป็นพระสกทาคา ธรรมกายหยาบธรรมกายละเอียดที่เป็นพระอนาคา ยกพระอรหัตออกเสีย ทั้ง ๘ กายนี้เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรมทั้งนั้น ธาตุเหล่านี้ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เป็นเหมือนแก้วใสสะอาดทีเดียว นี่เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรมทีเดียว แต่ว่ายังไม่ใช่ “วิราคธาตุวิราคธรรม”


    ถ้าจะเป็นวิราคธาตุวิราคธรรมล่ะ ต้องกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดเป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว มีธาตุธรรมชนิดเดียวกันไม่ต่างกัน แต่ว่าละเอียดขึ้นไปเป็นชั้นๆ เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม


    จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “ธรรมนิยามสูตร”
    ๓๑ มกราคม ๒๔๙๗
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2015
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว

    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น

    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชากับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม )
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ





    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    เมื่อเข้าถึง "ธรรมกาย" แล้ว
    ธรรมกาย จะเห็น
    ทุกขสัจ, สมุทัยสัจ, นิโรจสัจ, มรรคสัจ
    ต้องเข้า "สมาบัติ"
    "ธรรมกาย" ต้องเข้า "สมาบัติ"
    ธรรมกายนั่งนิ่งเพ่ง "ฌาน" ทีเดียว
    ใจหยุดนิ่งอยู่ "ศูนย์กลางดวงธรรม"
    ที่ทำให้เป็นธรรมกาย
    หยุดนิ่ง เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว
    ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละ เกิดเป็น "ดวงฌาน" ขึ้น
    วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา ๘ ศอก
    กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักร
    กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว
    เหมือนแผ่นกระจก หนาคืบหนึ่ง
    วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง
    รองนั่งของธรรมกายนั้น มาจากไหน ?
    "ดวงฌาน" ที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน ?
    ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก
    มาจาก "กสิณ" ก็เป็นดวงฌานได้
    มาจาก "ดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    ก็เป็นดวงฌานได้
    แต่ว่าเมื่อถึง "ธรรมกาย" แล้ว
    ใช้ "ดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง
    เป็น "ปฐมฌาน" ขยายส่วน เห็นใส
    เมื่อดูใสแล้ว ก็ขยายส่วนออกไป
    ขยายส่วนออกไป ๒ วา กลมรอบตัว
    แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง
    กลมเหมือนยังกับกงจักร หรือ กงเกวียน
    กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น หนาคืบหนึ่ง
    ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว รองนั่งของธรรมกาย
    ธรรมกาย เมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ
    พอถึง "ปฐมฌาน" เข้าเช่นนั้นก็มี
    วิตก - ความตรึก
    วิจาร - ความตรอง
    ปีติ - ชอบเนื้อชอบใจ
    "วิตก" ว่าฌานนั้นมันมาจากไหน
    เห็นแล้วมันมาจากนั่น
    "วิจาร" ไตร่ตรองไป ตรวจตราไปถี่ถ้วน
    เป็นของที่ไม่มีที่ติ
    ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ
    มี "ความปีติ" ขึ้น
    ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ
    เต็มส่วนของปีติมี "ความสุข"
    นิ่งอยู่กลางฌานนั่น
    สุขในฌาน อะไรจะไปสู้
    ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ
    สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้
    สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว
    เต็มส่วนของความสุข ก็นิ่ง
    เฉย วิเวก วังเวง เปลี่ยวเปล่า
    เรามาคนเดียว ไปคนเดียว หมดทั้งสากลโลก
    คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย
    จะเห็นว่า ลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี
    สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี
    ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป
    ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    เป็นจริงอย่างนี้
    ปล่อยหมดไม่ว่าอะไร ไม่ยึดถือทีดียว


    * พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


    ** จากพระธรรมเทศนาเรื่อง : เขมาเขมสรณาคมน์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2015
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    นึกดวงแก้วเข้าศูนย์กลางกายไม่ได้ & นึกบริกรรมนิมิตไม่ออก

    [​IMG]


    
    นึกดวงแก้วเข้าศูนย์กลางไม่ได้ นึกศูนย์กลางกายไม่ออก แต่จะให้นั่งให้ใจสงบเฉยๆ พอได้ หรือกำหนดดวงไป พอกำหนดได้บ้าง ?

    <HR>ตอบ:

    พยายามเหลือบตากลับนิดๆ
    เรื่องนี้ต้องค่อยๆ ทำไป ขอเรียนว่า อย่าลืมเหลือบตากลับนิดๆ เพราะใจยังไม่รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันจริงๆ
    ฉะนั้นก็ต้องค่อยๆ ฝึกต่อไป เพราะใจของเราซ่านออกนอกตัวมานาน ตั้งแต่เกิด ใจออกไปไปยึดไปเกาะอะไรมิต่ออะไรมากมาย ความจริงเป็นอย่างนี้ กว่าจะอบรมให้กลับมารวมหยุด ณ ที่เดิมคือที่ศูนย์กลางกายนี้ ไม่ค่อยจะมารวมหยุด ณ ภายในได้ง่าย บางคนก็ไปติดอยู่ที่หน้าผาก เห็นดวงส่องสว่างอยู่ที่หน้าผาก ไม่ยอมรวมลงมาหยุด ณ ภายในได้สักที บางท่านก็ยากเย็นเหลือเกิน ของดีมันยากอย่างนี้แหละ แต่ถ้าให้เห็นข้างนอกแล้วก็ง่ายๆ
    อย่าพยายามนึกเห็นนิมิตข้างนอก
    ถ้าให้นึกเห็นนิมิตข้างนอกละก็ไม่ยาก แต่ว่า “จงอย่าทำ” เพราะถ้านึกเห็นข้างนอก ใจจะไม่เข้ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะไม่ถูกกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ไม่ได้ดับหยาบไปหาละเอียด ไม่ได้เข้ากลางมัชฌิมาปฏิปทา ในธาตุธรรมของเรา ธรรมะที่ดีอยู่ที่ธาตุละเอียดของเรา ไม่ใช่อยู่ข้างนอก อยู่ข้างในที่ละเอียดๆ ฝ่ายกุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา อยู่ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมสุดละเอียด ถ้าฝ่ายชั่วก็มาจากฝ่ายชั่วสุดละเอียด ฝ่ายดีก็มาจากฝ่ายดีสุดละเอียด มาจากต้นธาตุต้นธรรมโน้น ต้นธาตุต้นธรรมฝ่ายดี (กุสลาธัมมา) อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่สุด ฝ่ายชั่ว (อกุสลาธัมมา) ก็มีต้นธาตุต้นธรรมของเขา ไม่ใช่ไม่มี มีเหมือนกัน แต่อยู่ส่วนนอกหรือรอบนอกของกุสลาธัมมาออกมา
    เพราะเหตุนั้น หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำเนิดธาตุธรรมเดิม ของกายในกายไปจนสุดละเอียดนั้นแหละ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ถึงพระนิพพานทีเดียว
    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกว่า หยุดในหยุด กลางของหยุด นั่นแหละถูกธรรมภาคขาว ฝ่ายบุญ ฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ทะเลบุญอยู่นั้น แต่ว่าถ้าใจเดิน(ดำเนิน)นอกออกมาจากนั้น เป็นถิ่นทำเลของภาคมาร เพราะเหตุนี้ในธรรมเทศนาของท่านจะบอกว่า “ถ้าจะไม่เกิด ก็ให้เดินในเข้าไป ถ้าว่าอยากจะเกิด ก็เดินนอกออกไป” ความหมายก็คือว่า ถ้าอยากจะเกิดใหม่ ก็จงปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก ให้ไปยึดไปเกาะอะไรๆ วุ่นวายภายนอกเข้า อวิชชา ตัณหา อุปทาน นั้นแหละ เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ คำพูดของหลวงพ่อ แต่ละคำเป็นคำโบราณ ถ้าฟังให้ดีแล้วจะเข้าใจลึกซึ้ง
    เวลาพิจารณาอริยสัจ 4 ก็จะรู้จะเห็น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ให้เข้าใจไว้เท่านี้ก่อน เคล็ดลับที่พึงทราบในการเจริญภาวนามีมาก
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย


    ....เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?




    ตอบ...


    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม



    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)





    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”



    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น





    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ



    ------------------------------------------------------------------





    ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติธรรม




    -ให้มีความอยากนั่ง และ นั่งอย่างสบายเป็นทุนก่อน
    -พอนั่งปุ๊ปก็หมดหน้าที่ของตา หรือ
    ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของใจล้วน ๆ


    -ให้รักษาอารมณ์สบายตลอดเวลาทั้งในการนั่ง และ ช่วงอื่น ๆ
    เพราะว่าอารมณ์สบาย จะทำให้เกิดความง่าย
    ง่ายต่อการนึกนิมิต ง่ายต่อการหยุดนิ่ง
    ง่ายต่อการเข้ากลาง ง่ายต่อการเข้าถึงกายภายใน
    -ความสบาย มี 2 อย่าง คือ เกิดขึ้นเอง จู่ ๆ ก็เกิดขึ้นเอง
    ส่วนความสบายที่เราสร้างขึ้นมาทำได้ โดย .......


    1.ห่างจากบุคคล หรือ สิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ

    2.หาสิ่งที่ทำให้สบายใจ เช่น ชมนก ชมไม้ ฟังเพลง
    อยู่สงบคนเดียว

    -ให้รักษาอารมณ์สบายก่อนที่จะนั่ง จนเกิดความรู้สึกอยากนั่ง
    ......มีความพอใจในการนั่ง ...............เห็น ไม่เห็น เป็นเรื่องรอง

    -นิมิต คำภาวนา มีไว้กันความฟุ้ง ความง่วง ถ้าไม่ฟุ้ง ไม่
    ง่วง ก็ให้จรดเข้าภายใน หรือจรดเข้าศูนย์กลางกาย
    อย่าอยากได้ อย่าอยากเห็น เพราะเราจะเผลอไปเร่ง แล้วดึงประสาทตา ปวดขมับ เกร็งกล้ามเนื้อ





    ท่องไว้ ๆ " ถ้าเราได้ด้วยความอยาก ถึงจะใสแค่ไหน ก็ไม่เอา ”





    ให้ได้ด้วยความสบาย สุข สงบ อย่างเดียว



    อย่าใช้ความหยาบในการปฏิบัติ เพื่อหาความละเอียด เช่น


    -ความเบา ความสบาย เป็นสิ่งหนึ่งที่เมื่อนั่งแล้ว ต้องเริ่มทำ



    ไม่ว่าจะได้ธรรมะในระดับใดก็ตาม







    -ชัดไม่ชัด ไม่สำคัญ สำคัญว่า กลางหรือเปล่า นิมิตสัดส่าย



    เคลื่อนไหวอย่าตาม จรดใจนิ่ง ๆ เข้ากลางอย่างเดียว แล้วจิต



    ก็จะรวมลงสู่กลางเอง







    -นึกดวงแก้ว ก็นึกแบบช้าง อย่าให้มีลีลา หรือมีพิธีรีตรองมาก



    มาย การนึกก็นึกอย่างสบาย นึกเห็น ก็เห็น เพราะใจเป็นธาตุ



    สำเร็จอยู่แล้ว ให้มีความมั่นใจ ความมั่นใจเท่านั้นที่จะสร้าง



    ความมั่นใจต่อ ๆ ไปได้







    -อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวเสียหน้า อย่ากลัวว่าจะไม่ได้







    -เป็นพระภายนอก







    1. สันโดษ ไม่คลุกคลี ด้วย คนหมู่มาก



    2. ไม่สะสม ไม่เห็นแก่ลาภ



    3. ไม่อยากเด่น ไม่อยากดัง



    4. อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไปเพื่อบุญกุศลล้วน ๆ







    -อย่าท้อใจ อย่าน้อยใจ เพราะเมื่อกระแสใจเสื่อมคุณภาพ



    บาปจะเข้าครองต้องปลุกใจให้ฮึดสู้ นั่งให้สนุก เบิกบาน ให้



    เป็นบุญบันเทิงให้ได้







    -อย่าเสียดายความคิดเก่า ๆ จงสลัดทิ้งออกไป ตัดใจให้



    เหมือนตายจาก







    -เรื่องหยาบ ๆ ภายนอก ถ้าดูเบา จะมีผลต่อภายใน







    -ถ้าไม่ฝึกจรดศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้



    ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลา







    -ถ้าเห็นภาพต้นไม้ คน สัตว์ หรือสิ่งใดก็ตาม อย่าไปสนใจ



    เพราะใจเริ่มเป็นสมาธิ จึงจะเห็นภาพ ให้ดูเฉย ๆ ดูจุดที่เล็กที่



    สุด เดี๋ยวภาพก็จะเปลี่ยนไปเอง เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน







    -ความง่ายเกิด เพราะ เราทำจิตให้คิดว่าง่าย







    -ความยากเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่ายาก ถ้ายากเด็กทำไม่



    ได้หรอก อย่ากลัวว่าไม่ได้ อย่ากลัวว่าจะได้ช้า







    -อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ เพราะดวงธรรมที่โตเท่ากับฟองไข่แดง



    ของไข่ไก่ มีในมนุษย์ทุกคน ถ้าไม่มีก็เป็นคนไม่ได้ ถ้าดวงนี้



    แตกดับ กายก็แตกดับ ดวงธรรมมีกันทุกคน เพียงแต่ไม่เห็น



    ถ้าใจยังสัดส่ายอยู่







    -อย่านั่งไปบ่นไป “ ไม่เห็นมีอะไร ๆ ๆ ๆ ” ให้เฉย จะได้



    อุปนิสัยอุเบกขา ใจจะได้เป็นกลาง ๆ ถ้าส่วนไหนตึง นั่น



    พยายามเกินไป อย่าฝืน ให้ปรับ







    -จุดเริ่มต้นที่ไหนก็ได้ แต่สุดท้ายต้องศูนย์กลางกาย ช่วงแรก



    ใจอาจจะอยู่ข้างหน้า หรือที่ไหนก็ไม่รู้ อย่ากังวล อย่าปล่อย



    ไป เดี๋ยวจะเข้าศูนย์กลางกายเอง แม้ไม่เห็น แม้ไม่ชัด แต่ให้



    ใจอยู่กลางท้อง พร้อมความหวังว่าจะได้ รักษาใจให้สบาย



    เดี๋ยวได้แน่







    -ถ้าใจยังไม่พร้อมที่จะนึก อย่าเพิ่งนึก ให้วางใจ เฉย ๆ จง



    คอยด้วยใจที่เยือกเย็น วางใจในที่สบาย ๆ การวางใจเฉย ๆไม่



    ใช่ช้า เพราะใจเฉย เป็นใจที่ใกล้กับใจละเอียดแล้ว







    -ยิ่งอยากก็ยิ่งยาก เลิกอยากก็เลิกยาก

    ผู้ที่สว่างเดี๋ยวนี้ ก็คือ ผู้ที่เคยฟุ้งมาก่อน

    ผู้ที่จิตตั้งมั่นเดี๋ยวนี้ ก็คือ ผู้ที่เคยมืดมาก่อน



    -เมื่อจิตหยาบ ให้ทำให้นิ่งก่อน พอจิตละเอียด จะกระดิกจิต

    ถึงดวงแก้ว ถึงองค์พระได้ ถ้านึกตอนที่จิตหยาบ จะเครียด


    เพราะมีความอยากนำหน้า ต้องทำให้นิ่งก่อน







    -ทำไมฟุ้ง ทำไมคิดหลายเรื่อง เพราะจิตกำลังหาที่สบาย เมื่อ



    ยังไม่พบที่ชอบ ก็แสวงหาต่อไป เมื่อพบที่ชอบก็หยุด การที่มี



    ความคิดเหลือเฟือ ไม่ใช่ว่าฝึกจิตไม่ได้ เพราะความคิดเป็น



    กระบวนการอย่างหนึ่งของจิต







    -เมื่อเข้าถึงกำเนิดความสุข



    แหล่งของความสุขที่ศูนย์กลางกาย



    จิตก็จะไม่ไปไหน มีสุข

    เกิดความพอใจ

    พอเหมาะ พอดี พอเพียง

    แค่ส่งจิตถึง ศูนย์กลางกายนิดเดียว

    แล้วจิตถอน ก็ได้บุญมากแล้ว

    หรือแค่เห็นแสงแว๊บนิดเดียว
    ชีวิตนั้นก็มีความสุขแล้ว

    คุ้มค่าแล้ว เหมือนคนเล่นน้ำ
    เอาเท้าจุ่มน้ำตื้น ๆ ก็ยังชื่นใจ

    -ถ้าอยากได้เร็ว จะได้ช้า
    ถ้าไม่กลัวช้า จะได้เร็ว
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ‘เห็นองค์พระ’ กับ ‘เข้าไปเป็นองค์พระ’ ต่างกันอย่างไร ?

    
    เวลาปฏิบัติธรรม คำว่า "เห็นองค์พระ" กับ "เข้าไปเป็นองค์พระ" ต่างกันอย่างไร ?

    ตอบ:

    คำว่า “เห็นองค์พระ” หมายถึง มองเห็นที่อยู่ห่างออกไป ไม่ใช่ตัวเรา

    คำว่า “เป็นองค์พระ” หมายถึง เมื่อเห็นองค์พระปรากฏขึ้น ให้นึกเข้าไปที่ศูนย์กลางองค์พระ องค์พระก็จะขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และจะปรากฏองค์ใหม่และดวงใหม่ที่ศูนย์กลางองค์พระ ละความรู้สึกเป็นตัวเราหรืออันเนื่องกับกายเนื้อ ก็จะปรากฏองค์พระที่ใสละเอียดกว่าเดิม เกิดขึ้นใหม่ เอาใจจรดเข้าไปเป็นองค์พระใหม่เรื่อยๆ เรียกว่า “ดับหยาบไปหาละเอียด” แล้วก็หยุดในหยุด กลางของหยุด ที่ศูนย์กลางดวงศูนย์กลางกายละเอียดใหม่ ให้เห็นใสละเอียด ทั้งดวงและกายเรื่อยๆ ไปจนสุดละเอียด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่วิชชาจะเจริญขึ้น ดับกิเลส อวิชชามูลรากฝ่ายเกิดได้ดี
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธี

    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌาน
    แล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลง
    มา

    อีกวิธีหนึ่ง เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ หรือ ปฐมมรรคที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวง
    ใส แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌาน
    ได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใส
    เหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน แล้วธรรมกายนั่งบน
    นั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน แล้วเอาตาธรรมกายที่
    นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็น
    ดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน เอา
    ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และ
    อรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ แล้วเอา
    ธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌาน
    ต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลาง
    ของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่ง
    บนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดัง
    นี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน
    อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจา
    ยตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจ
    ธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ
    ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน
    ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อม
    ไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อา
    กิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตน
    ฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีต
    จริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    นั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดิน
    ฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่ว
    ไปมากนัก

    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อม
    ถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย แต่ในด้านการปฏิบัติ เรา
    จะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ มิฉะนั้นแล้ว
    วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง

    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก
    เท่าไข่แดงของไก่

    -ดวงเกิด มีสีขาวใส
    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า
    ใหญ่ก็แก่มาก
    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด
    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที
    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า
    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์
    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ
    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย
    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที

    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง
    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย
    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด

    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง
    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ
    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม
    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา

    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ
    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง
    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย
    ไปฉะนั้น

    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล
    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด
    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก

    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่
    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์
    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง
    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร
    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด
    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้
    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน
    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ
    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่
    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ
    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน

    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง
    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ
    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น
    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ
    (4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ใน
    การขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ
    ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการ
    เป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา
    วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้
    อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และ
    พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้า
    ประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา

    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ
    กตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดย
    การปฏิบัติทางเจโตสมาธิประการหนึ่ง หรือวิชชาธรรมกาย ประการหนึ่งเท่านั้น

    (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัส
    สนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12)

    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะ
    มาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้ เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะ
    ต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิด
    ตามมา
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ทำไมเมื่อสะสางธาตุธรรม เก็บธาตุธรรมภาคดำและภาคกลางๆ จนใสเหมือนเพชรแล้ว ต่อไปยังเห็นมีธาตุธรรมภาคดำ ภาคกลางๆ อยู่อีก ?




    ตอบ:



    เพราะว่า

    1. เรายังละกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ซึ่งรวมเรียกว่า สังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก) ที่ได้เคยสะสมมาแต่อดีต นับภพนับชาติไม่ถ้วน ยังไม่หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน ต่อเมื่อใดเราได้บำเพ็ญบุญบารมี อุปบารมี ถึงปรมัตถบารมี เต็มส่วน (ตามอธิษฐานบารมีเป็นพระอรหันตสาวก หรือเป็นพระอรหันต-ปัจเจกพุทธเจ้า หรือเป็นพระอรหันตสัพพัญญูพุทธเจ้า หรือถึงต้นธาตุต้นธรรม) ปฏิบัติธรรม ตรัสรู้พระอริยสัจจธรรม จนละสังโยชน์ ได้ทั้งหมด (10 ประการ) โดยเด็ดขาด เป็นพระอรหันตขีณาสพ ตามระดับบุญบารมีที่อธิษฐาน (บารมี) ไว้แล้ว ทั้งธรรมกายตรัสรู้ ชื่อว่า “พระนิพพานธาตุ” และกายมนุษย์พิเศษของพระอริยเจ้านั้นจึงโตใหญ่ เต็มธาตุเต็มธรรม และใสบริสุทธิ์ มีรัศมีสว่างอยู่อย่างนั้น (ไม่มีมัวหมองและไม่กลับเล็กลงอีก) พระนิพพานธาตุ และกายมนุษย์พิเศษ นั้นแหละจะเชื่อมเป็นอันเดียวกัน เป็นอมตธรรม ที่มีสภาพเที่ยง เป็นบรมสุข และเป็นตัวตนที่แท้จริง ที่ยั่งยืนของพระอริยเจ้านั้น

    เพราะฉะนั้น จงบำเพ็ญบุญบารมีและปฏิบัติธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จนถึงบรรลุพระนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุขนั้นเถิด

    2. เพราะธาตุธรรมของสัตว์โลกเกี่ยวเนื่องถึงกัน เมื่อเราทำวิชชาสะสางธาตุธรรมของเรา ก็เกี่ยวเนื่องถึงธาตุธรรมของสัตว์โลกอื่นๆ ด้วย

    วิชชาธรรมกายชั้นสูงเป็นวิชชาสะสางธาตุธรรมของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม เพื่อช่วยรื้อสัตว์ขนสัตว์เข้านิพพาน เมื่อเราเข้าถึงแล้ว จึงได้วิชชานี้มาเพื่อสะสางธาตุธรรมของเราเองด้วย และเพื่อช่วยสะสางธาตุธรรมของสัตว์โลกอื่นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมในสายธาตุธรรมเดียวกัน คือธาตุธรรมสายขาวหรือฝ่ายพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้า และ พระพุทธเจ้า คือธรรมกายนั้นเอง จะได้รับผลก่อนและมากกว่าสายอื่น (คือธาตุธรรมสายกลางๆ และธาตุธรรมสายดำ) ซึ่งจะค่อยๆ ได้รับผล เมื่อผู้เจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงช่วยสะสางธาตุธรรมของสัตว์โลก หมดทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ ทั่วทั้งจักรวาล ตามศักดิ์แห่งบุญบารมี และพลัง คือทั้งจำนวน (ปริมาณ) และระดับภูมิธรรม (คุณภาพ) ของผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย และได้ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และวิชชาธรรมกายชั้นสูงที่ได้ผลดี คือที่บริสุทธิ์ และมั่นคงดีแล้ว ที่มีมากขึ้น และแก่กล้าขึ้นตามลำดับ

    เพราะเหตุนั้น วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ในสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จึงมีนโยบายและโครงการที่จะ “สร้างพระในใจตน” และ “ช่วยสร้างพระในใจคน(อื่น)” ให้ได้คุณภาพและปริมาณที่ดีให้มากที่สุด เพื่อช่วยตนเองและผู้อื่น โดยมีหลักว่าเท่าที่กำลังสติปัญญาความสามารถ ภูมิธรรม และกำลังทรัพย์ สามารถและที่สามารถจะช่วยผู้อื่นได้ นี้เป็นงานช้าง (งานหนัก) แต่เราทำเท่าที่สามารถทำได้ตามกำลังของเรา แต่เราต้องช่วยตนเองและผู้อยู่ในสายธาตุธรรมที่ใกล้ชิดกันเอง คือผู้ปฏิบัติธรรม ที่ทำหน้าที่รบ ทำงาน ตรวจงาน เผยแพร่ กองเสบียงก่อน ให้มีกำลังกล้าแข็งพอที่จะขยายความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่อยู่ห่างสายธาตุธรรม วิชชาธรรมกาย และนอกพระพุทธศาสนาออกไป

    เพราะเหตุนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจึงกล่าวว่า “ธรรมกาย นั้นแหละ คือที่พึ่งของสัตว์โลก” ใครผู้ใดขัดข้อง คิดและกระทำการ ทำลายธรรมปฏิบัติตามที่หลวงพ่อฯ และศิษยานุศิษย์ท่านสอนให้ปฏิบัติ ถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพาน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ จึงมีผลดุจดังเด็กกำถ่านเพลิง และดุจดังคนโง่ทุบหม้อข้าวตนเองฉันใด ฉันนั้น
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    [​IMG]



    ... “ลมหยุดกึกในเวลาไร เวลานั้นเรียกว่ากายบริสุทธิ์แล้ว กายสังขารบริสุทธิ์แล้ว
    .
    ความตรึกตรองที่จะพูดหยุดอีกเหมือนกัน พอหยุดเวลาไร เวลานั้นเรียกว่าวจีสังขารบริสุทธิ์แล้ว
    .
    หยุดเข้าน่ะ อย่าให้เคลื่อนที่นะ ความรู้สึกก็สุขทุกข์อยู่ในตัวนั้นแหล่ะ จะรู้สึกว่ามันหยุดอีกดุจเดียว กาย วาจา ใจหยุดดุจเดียวกัน พอใจหยุดกึกลงไปในขณะใด ขณะนั้นเรียกว่าจิตสังขารระงับแล้ว นั้นเป็นจิตบริสุทธิ์แล้ว” ...
    .
    (ภัตตานุโมทนากถา ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๗)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ...มืดก็หยุดตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปมา นิ่งอยู่ตรงนั้น..

    .


    [​IMG]




    "เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนานะ ให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้จะเป็นตัวมรรคผลนิพพาน พวกให้ทานรักษาศีลมันยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก พอหยุดได้เท่านั้นเข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไม่ยักเยื้องแปรผัน ไอ้ที่หยุดนั่นแหละ เข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไอ้ที่หยุดนี่แหล่ะตัวสำคัญ


    กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา ผู้หญิงกำหนดเข้าปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายกำหนดเข้าช่องปากจมูกขวา อย่าให้ล้ำให้เหลื่อม กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา
    นี่บอกซ้ำของเก่านั่นแหละ พอถูกส่วนดีแล้วก็ ให้บริกรรมประคองใจกับเครื่องหมายที่ใส ปากช่องจมูกหญิงซ้าย ชายขวา นั้น ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายขึ้นไปแค่เพลาตา หญิงอยู่ซีกข้างซ้าย ชายอยู่ซีกข้างขวา ตรงหัวตาที่มูลตาออก ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายตามเก่านั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายนั้น ตรงลำดับเพลาตาเข้าไปฐานที่ 3 กลางกั๊กพอดี ตรงนี้มีกลเม็ดอยู่ เพราะต้องมีวิธี เมื่อถึงฐานที่ 3 แล้วต้องเหลือบตาไปข้างหลัง เหลือบตาไปข้างหลังให้ตาค้างเหมือนคนชักจะตาย ค้างขึ้นไปๆ จนกระทั่งใจหยุดความเห็นกลับเข้าข้างใน พอความเห็นกลับเข้าไปข้างใน ก็เลื่อนเครื่องหมายจากฐานที่ 3 ไปฐานที่ 4 ที่ช่องเพดานที่รับประทานอาหารสำลัก อย่าให้ล้ำอย่าให้เหลื่อม ให้พอดีๆ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ฐานที่ 4 นั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนไปฐานที่ 5 ปากช่องคอ เหนือลูกกระเดือก เหมือนกลางกั๊กปากถ้วยแก้ว แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายนั้นไปที่กลางตัว ที่สุดลมหายใจเข้าออกไม่ให้ค่อนซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ให้อยู่กลางกั๊กพอดี (ฐานที่ 6)แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่กลางตัวนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง
    แล้วเลื่อนเครื่องหมายถอยหลังขึ้นมาเหนือกลางตัว สอง นิ้วมือ ตรงนั้นเรียกว่าศูนย์ (ฐานที่ 7) ตรงนั้นมีศูนย์อยู่ 5 ศูนย์ ศูนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย
    ศูนย์กลางอากาศธาตุ
    ศูนย์หน้าธาตุน้ำ
    ขวาธาตุดิน
    หลังธาตุไฟ
    ซ้ายธาตุลม
    เครื่องหมายใส สะอาด ลอยช่องอากาศกลาง แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ช่องอากาศกลางนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ที่กลางอากาศว่างนั้น แล้วจะเห็นเป็นดวงใส ดวงโตประมาณเท่าแก้วตาอยู่ที่นั่น ใจของเราก็จรดอยู่ที่กลางดวงนั้น

    แก้ไขไปจนกระทั่งใจของเราหยุด บริกรรมภาวนาอยู่เรื่อยๆ ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    ที่บริกรรมว่าดังนี้ ก็เพื่อจะประคองใจของเราให้หยุด สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง พอถูกส่วนเข้า ใจก็หยุดกึ๊กอยู่กลางดวงนั้น มืดก็หยุดตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปถอยมา นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ

    พอนิ่งถูกส่วนเข้าก็ มืดหนักเข้าก็เห็นดวงใส สว่างก็เห็นดวงใส ใจก็อยู่กลางดวงใส ถ้าว่ามันไม่นิ่งไม่หยุด มันชัดส่ายไปบริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    พอถูกส่วนเข้า หยุด หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย ดูนิ่ง ถ้าว่าขยับเขยื้อยหรือว่าเคลื่อนไปซะ บริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ไว้ จนกระทั่งหยุดนิ่ง



    พอหยุดนิ่งไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย วางอารมณ์เฉย ให้หยุดอยู่เท่านั่นแหละ หยุดเท่านั้นแหละ อย่าไปนึกถึงมืดสว่างนะ หยุดอยู่เท่านั้นแหละ หยุดนิ่งอยู่เท่านั้นแหละ หยุดนั่นแหล่ะเป็นตัวสำเร็จ"
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    วันบูรพาจารย์

    ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10

    วันคล้ายวันบรรลุธรรมกายหลวงปู่วัดปากน้ำ


    [​IMG]









    ในภาพคือ พระอุโบสถ วัดโบสถ์บน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี สถานที่ที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านได้บรรลุธรรม พบวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า


    -----------------------

    คติธรรมหลวงปู่วัดปากน้ำ



    เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว
    พบแล้วไม่กำ
    จะเกิดมาทำอะไร
    สิ่งที่อยากก็หลอก
    สิ่งที่หยอก เขาก็ลวง
    ทำให้จิตเป็นห่วงใย
    เลิกอยาก ลาหยอก
    รีบออกจากกาม
    เดินตามขันธ์สาม เรื่อยไป
    เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร
    เรียกว่านิพพานก็ได้






    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กันยายน 2015
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    พระเกตุมาลาของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงมีหลายลักษณะ เช่น เกตุเปลว เกตุดอกบัวตูม เกตุตุ้ม ?


    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    พระเกตุมาลาของพระธรรมกายนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าไปรู้ไปเห็นตรงกันว่า เป็นธรรมชาติมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม

    ส่วนการที่ช่างปั้น ปั้นพระพุทธรูปมี เกตุเปลว นั้น ก็ด้วยสมมุติว่าเป็นพระรัศมี ซึ่งมีลักษณะเหมือนเปลวเพลิง

    บางครั้งก็จะพบพระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตามพระพุทธลักษณะที่เป็นจริงของพระธรรมกาย

    ส่วนช่างปั้นที่ปั้นพระพุทธรูปเป็นลักษณะ เกตุตุ้ม นั้น เข้าใจว่าจำลองแบบจากพระพุทธรูปที่ทำขึ้นในยุคแรกในรัฐคันธารราษฎร์ ซึ่งช่างปั้นในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากศิลปะชาวกรีก ที่ทำพระพุทธปฏิมาจำลองพระวรกายเนื้อของพระพุทธเจ้า


    [​IMG]


    พุทธลักษณะ พระธรรมกาย นิพพานถอดกาย(นิพพานธรรมกาย)



    พุทธลักษณะ พระธรรมกาย นิพพานเป็นคล้ายดังภาพข้างล่างนี้


    [​IMG]
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...