<TABLE borderColor=#996600 height=98 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="66%" border=2><TBODY><TR><TD>[SIZE=+1][SIZE=+1]พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย เรื่อง[/SIZE][/SIZE][SIZE=+1][SIZE=+1] [SIZE=+1]"วิธีการพัฒนาปัญญา"[/SIZE] พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์[/SIZE][/SIZE] </TD></TR></TBODY></TABLE> "ปัญญา" แปลว่า "รู้" เป็นคุณสมบัติประจำตัวอย่างหนึ่งของมนุษย์ จัดเป็นนามธรรม มีสมองซึ่งเป็นรูปธรรมเป็นฐานกำเนิด การทำงานของสมองที่กระตุ้นให้จิตเกิดปัญญา หรือมีความรู้ในเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านทวาร หรือ อายาตนะทั้งหกเข้ามานี้ เรียกว่า "ปัญญาเจตสิก" ผู้ที่มีอวัยวะส่วนสมองไม่สมบูรณ์เนื่องจากมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ไม่สอดคล้องกับอายุวัยเท่าที่ควร จึงถูกเรียกว่า เป็นคนปัญญาอ่อน หรือ ผู้ที่มีอวัยวะส่วนสมองเสื่อมสภาพไปตามอายุวัย จะมีอาการหลงๆ ลืมๆ สติปัญญาไม่แตกฉานเช่นแต่ก่อน ทางการแพทย์เรียกว่า เป็นโรคความจำเสื่อม หรือ "อัลไซเมอร์" <DL><DT>ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ท่านได้จำแนกลักษณะของปัญญาไว้ ๓ ระดับ หรือที่เรียกว่า "ปัญญา ๓" ดังต่อไปนี้ <DD>๑. สัญญา รู้จัก เป็นความรู้ผิวเผิน คือ รู้แต่เพียงสิ่งที่มากระทบ สิ่งที่มาได้ประสบทางอายาตนะว่า เป็นอะไรอันหนึ่ง แต่ไม่รู้ชัดว่า เป็นอะไรแน่ เป็นวิวัฒนาการทางสมองในชั้นต้นๆ ของมนุษย์ในวัยทารกที่เพิ่งจะรู้ความ มีอายุระหว่าง ๓ เดือน ถึง ๓ ปี เมื่อเห็นธนบัตร อย่างดีจะรู้เพียงว่า เป็นวัตถุสิ่งหนึ่งที่มีรูปลักษณะแบน สี่เหลี่ยมเท่านั้น แต่ไม่รู้ว่า เป็นเงินตราที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ <DD>๒. วิญญาณ รู้แจ้ง คือ รู้ได้ดีกว่าข้อแรก เป็นวิวัฒนาการทางสมองของมนุษย์ในขั้นต่อมาซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไปจนถึง ๑๕ ปี เป็นปัญญาที่เกิดมาจากได้รับการอบรมสั่งสอนของบิดามารดา หรือ โดยการศึกษาจากโรงเรียนในระดับต้นๆ เป็นความรู้ระดับชาวบ้านทั่วไป เมื่อเห็นธนบัตร ก็พอจะรู้ความว่า เป็นเงินตราที่จะนำมาจับจ่ายใช้สอยได้ แต่ไม่สามารถจะจำแนกแยกแยะได้ว่า เป็นธนบัตรดี หรือธนบัตรปลอม <DD>๓. ปัญญา รู้ทั่ว คือ รู้ได้อย่างละเอียดว่า สิ่งนั้นๆ เป็นอะไร มีแหล่งกำเนิดมาอย่างไร ใครเป็นคนทำ ใครเป็นเจ้าของ เป็นวิวัฒนาการทางสมองของมนุษย์สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง อันเป็นผลมาจากการศึกษาและประสบการณ์ของชีวิตที่เพิ่มขึ้นในวัยอายุที่ผ่านมา เมื่อเห็นธนบัตร จะรู้ได้ทันทีว่า เป็นธนบัตรปลอมหรือไม่ เป็นเงินตราสกุลใด </DD></DL> ปัญญาของมนุษย์มีบ่อเกิดมาจากการฟังที่เรียกว่า "สุตามยปัญญา" เป็นปัญญา ที่เกิดจากการเล่าเรียน หรือถ่ายทอดกันมาหนึ่ง มาจากการคิดพิจารณาหาเหตุผลด้วยตนเอง ที่เรียกว่า "จินตามยปัญญา" หนึ่ง และมาจากการสร้างขึ้นมา ทำให้เจริญพัฒนาขึ้นมาที่เรียกว่า "ภาวนามยปัญญา" ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดจากการใช้สมองในการทำกิจกรรมต่างๆ คือ การฟัง ซักถาม สอบค้น การสนทนา การถกเถียง อภิปราย การสังเกตดู เฝ้าดู ดูอย่างพินิจ การพิจารณาโดยแยบคาย การชั่งเหตุผล การไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดสอบ สอบสวน ทดลอง เป็นต้น พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเรื่องวิธีการสร้างปัญญา ไว้ดังนี้ "การเรียนรู้ทุกอย่างนั้น จะต้องเรียนความรู้ของผู้อื่นก่อนเป็นเบื้องต้น เมื่อรู้แล้วจึงมาพิจารณาด้วยเหตุผลให้เห็นเด่นชัดละเอียดลงไปอีกชั้นหนึ่ง ให้ถึงเนื้อหาสาระ จึงจะอ้างอิงเป็นหลักฐานได้ ไม่ใช่เป็นความรู้อย่างเลื่อนลอย แต่แม้ถึงขั้นที่สองแล้ว ก็ยังถือว่า นำมาใช้ให้ได้ผลจริงๆ ไม่ได้ ยังจำเป็นจะต้องนำความรู้นั้นมาปฏิบัติฝึกฝนอีก เพื่อให้ผลประจักษ์แจ้ง และเกิดความคล่องแคล่ว ชำนิชำนาญขึ้นพร้อมกันไปด้วย จึงจะนำไปใช้ปฏิบัติงานให้เกิดผลได้ไม่ขัดข้อง" ตามความเป็นจริงแล้ว ปัญญาที่เกิดจาการสดับตรับฟังมา ก็ดี ปัญญาที่เกิดจากการคิดเรื่องราวต่างๆ ก็ดี และปัญญาที่ทำให้เกิดความรู้เข้าใจอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ดี เป็นปัญญา หรือความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในทุกตัวบุคคลมาตั้งแต่กำเนิดโดยวิวัฒนาการของสมองที่เป็นไปโดยธรรมชาติ การศึกษาเล่าเรียน การคิด การสดับตรับฟัง และการหมั่นใช้สมองเพื่อการกระทำต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เป็นเครื่องช่วยให้เกิดปัญญาเพิ่มพูนขึ้นใหม่บ้าง พัฒนาก้าวหน้าออกไปมากยิ่งขึ้นบ้าง ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องขึ้นบ้าง จัดเป็นปัญญาทางโลกเรียกว่า "โลกิยปัญญา" ดร.อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Dr. Albert Einstein) นักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ ผู้ปราดเปรื่องของโลก ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องการสร้างปัญญาไว้มีสาระสำคัญว่า "ถ้าท่านหมั่นใช้สมองคิดพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียวอย่างต่อเนื่องทุกวัน วันละ ๑๕ นาที ท่านจะมีปัญญา มีความรู้แตกฉานในเรื่องที่คิดพิจารณานั้นภายใน ๑ ปี หากท่านสามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่องได้นานถึง ๕ ปี ท่านจะมีปัญญา มีความรู้แตกฉาน เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับชาติในเรื่องนั้น" ผมได้เคยสอบถาม นายแพทย์เฉก ธนะสิริ เพื่อนสนิทของผม และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางสมองและประสาทถึงเหตุผลทางวิชาการแพทย์ว่า คำกล่าวของ ดร.อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ข้างต้นนั้น มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร ได้รับคำชี้แจงว่า สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาท (Neuron) เป็นจำนวนมาก ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐-๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านเซลล์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันในรูปแบบต่างๆ นับไม่ถ้วน เพื่อสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่นในกรณีที่เราได้เรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่ในสิ่งใหม่ๆ ขึ้น ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนรูปการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทนั่นเอง เมื่อเราใช้สมองคิดอยู่ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว หรือที่เรียกกันตามคำศัพท์ภาษาทางพุทธศาสนาว่า "วิตก" เซลล์ประสาทของสมองจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันในรูปแบบหนึ่ง หากเราใช้สมองคิดอยู่ในเรื่องเดียวกันนั้นอยู่เป็นเวลานานๆ หรือที่เรียกกันตามคำศัพท์ภาษาบาลีว่า "วิจาร" เซลล์ประสาทของสมองจะเกาะรวมตัวเหนียวแน่นยิ่งขึ้น จึงทำให้ปัญญาของบุคคลนั้นได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น และหากได้ใช้สมองคิดในเรื่องเดียวกันนี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ความเป็นอัจฉริยะในเรื่องที่เฝ้าคิดอยู่เป็นประจำย่อมจะบังเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่จิตเป็นสมาธินั้น เซลล์ประสาทของสมองที่ชำรุดจะได้มีโอกาสหยุดพักผ่อนการทำงานชั่วคราว หันมาทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาตนเองให้มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์เหมือนเดิม เสมือนกับการประจุไฟฟ้าเข้าหม้อแบตเตอรี่ หรือ การชาร์จแบตเตอรี่ ดังนั้น จะสังเกตได้ว่า หลังจากการปฏิบัติสมาธิแล้ว ผู้ปฏิบัติจะมีความรู้สึกสดชื่นเป็นพิเศษ ดังนั้น การที่ ดร.อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งมิได้มีความเชี่ยวชาญในทางการแพทย์ แต่ก็สามารถกล่าวถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง เป็นที่รับรองของแพทย์ผู้ที่ได้ศึกษามาโดยตรงนั้น ผมเชื่อว่า ดร.อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้มีความสนใจศึกษาค้นคว้าทางพระพุทธศาสนามาไม่น้อย เพราะวิธีการที่จะทำให้เกิดวิปัสสนา และสมถสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ใช้หลักการเดียวกัน คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ซึ่งเป็นองค์ฌาณนั่นเอง จึงเป็นการยืนยันพิสูจน์ตามหลักวิชาการแพทย์ได้อย่างแน่นอนว่า การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน นั้นเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนาปัญญาได้เป็นอย่างดี หากผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติได้เป็นประจำ และต่อเนื่อง ปัญญาเจตสิก ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของหทัยวัตถุ คือ สมอง จะมีพลังเพิ่มสูงขึ้นโดยลำดับและคอยเฝ้ากระตุ้นจิตให้บังเกิดเป็นกุศลจิต คือ เป็นจิตที่ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เป็นจิตที่ดี ที่งาม ที่ฉลาด ที่สะอาด ที่ปราศจากทุกข์โทษ และให้ผลเป็นความสุขอยู่ตลอดเวลา พระปัญญาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนาสมาธิของพระพุทธองค์ซึ่งได้ทรงปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ความเป็นอัจฉริยภาพของพระพุทธองค์จึงบังเกิดขึ้น ทรงตรัสรู้แจ้ง เห็นจริงในแก่นแท้ที่สุดของความจริงที่เรียกว่า "ปรมัตถสัจจะ" ในสภาวธรรมทั้งปวง ซึ่งได้อุบัติขึ้นในมนุษยโลก พรหมโลก เทวโลก นรกภูมิ รวมทั้งในเอกภพ หรือ จักรวาล อย่างทะลุปรุโปร่ง พระปัญญาคุณของพระพุทธองค์จึงจัดเป็น "โลกุตรปัญญา" เพราะ เป็นปัญญาที่สมบูรณ์ มีคุณภาพสูงเหนือกว่าโลกิยปัญญาอย่างมากมาย พระนาคเสนได้ทูลตอบปัญหาของพระเจ้ามิลินท์เกี่ยวกับลักษณะของปัญญาในเชิงอุปมาอุปมัย ดังแสดงไว้ในหนังสือมิลินทปัญหาตอนหนึ่ง มีสาระสำคัญว่า เสมือนกับการจุดประทีปขึ้นในห้องมืด แสงประทีปย่อมจะช่วยให้เห็นได้ชัดเจนว่า ในห้องนั้นมีทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง วางไว้ที่ใดบ้าง และอีกตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับโพธิฌงค์ ๗ ที่พระนาคเสนได้ทูลตอบไว้ในเชิงอุปมาอุปมัยว่า ธรรมวิจัย หรือ การหมั่นศึกษาค้นคว้าหาแก่นแท้ที่สุดของความจริงในสภาวธรรมทั้งปวงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในจำนวนข้อปฏิบัติ ๗ ข้อ เพราะเป็นการปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง สามารถดับทุกข์ ตัดกิเลสได้ ธรรมวิจัยเสมือนกับ กระบี่ที่ถูกลับให้มีความคมกริบอยู่เสมอ เมื่อถูกชักออกจากฝัก ก็สามารถใช้ฟันฟาดตัดขาดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ได้โดยง่าย ตามความเป็นจริงแล้ว เราสามารถพัฒนาปัญญาได้โดยการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ วิธีปฏิบัติในลักษณะนี้ได้ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานแล้วตั้งแต่ก่อนพุทธกาล เมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ให้มีข้อปฏิบัติเพิ่มขึ้นอีก ๑ ข้อ เรียกรวมกันว่า "ไตรสิกขา" ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา ที่ต้องทรงบัญญัติไว้เช่นนี้ เนื่องจากได้ทรงพิจารณาเห็นว่า ผู้ที่ไม่รักษาศีลอาจนำปัญญาที่เกิดจากสมาธิไปใช้ในการเบียดเบียนข่มเหงผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน อาทิ การใช้คาถาเวทมนต์เพื่อปลุกเสกน้ำมนต์ น้ำมันพรายเพื่อทำเสน่ห์ เพื่อการโจรกรรม การประกอบมิจฉาชีพต่างๆ เป็นต้น มีนักการเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจ จำนวนไม่น้อยที่สามารถหาวิธีคอรัปชั่น คดโกงในการหาเสียงเลือกตั้ง ฉ้อราษฎร์บังหลวง รวมทั้งวิธีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีได้อย่างแนบเนียน เพราะเจ้าตัวมีสมาธิพื้นฐานเพียงพอที่จะช่วยในการสร้างปัญญา แต่เนื่องจากเป็นผู้ที่ไม่มีศีล ไม่มีสัตย์ ไม่มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป จึงสามารถประกอบอกุศลกรรมได้เช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ปัญญาที่ได้เกิดขึ้นจากการพัฒนาของแต่ละบุคคลย่อมไม่เท่ากัน จะขึ้นอยู่กับปัญญาที่ได้สะสมมาตั้งแต่อดีต และได้ส่งผลให้เกิดพื้นฐานของบุคคลนั้นๆ ในชาติภพนี้ หากนำบุคคลสองคนมาปฏิบัติวิปัสสนาสมาธิเพื่อพิจารณาเรื่องเดียวกันเช่น กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การกำหนดสติให้ระลึกรู้เรื่องเกี่ยวกับร่างกาย) ในระยะเวลาเท่ากัน คนหนึ่งมีคุณวุฒิจบการศึกษาระดับปริญญาแพทย์ อีกคนหนึ่งมีคุณวุฒิจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปัญญาที่คนแรกได้พัฒนาขึ้นมาจะแตกฉาน เพราะได้เคยศึกษาพิจารณาเรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับอวัยวะของร่างกายทั้งภายนอก และภายใน มาโดยตลอด ทราบแม่นยำอยู่ในใจว่า สมอง หัวใจ ปอด ตับไตไส้พุง มีรูปร่าง มีความสำคัญอย่างไร ส่วนอีกคนหนึ่งนั้น อย่างมากก็รู้จักคุ้นเคยอวัยวะภายนอกเท่านั้น เรื่องนี้จะอธิบายในเชิงอุปมาอุปมัยได้ดังนี้ มีบุคคลอยู่สองคนปลูกต้นไม้พันธุ์เดียวกันในวันเวลาเดียวกัน คนหนึ่งนำขึ้นไปปลูกบนยอดเขา อีกคนหนึ่งปลูกอยู่ตีนเขา ต้นไม้ที่ได้ปลูกบนยอดเขาย่อมจะต้องสูงกว่าต้นที่ได้ปลูกไว้ที่ตีนเขาอย่างแน่นอน ในพระพุทธประวัติ ได้มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หลายท่าน ทีได้สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ทั้งนี้ เพราะท่านเหล่านี้ได้สะสมปัญญาบารมีมามากแล้วในอดีต แม้แต่พระพุทธองค์เอง ก่อนที่จะปฏิสนธิมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ยังต้องเสวยพระชาติหนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี โดยเฉพาะ เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า การหมั่นพัฒนาปัญญาไม่ว่า จะเป็น โลกิยปัญญา หรือ โลกุตรปัญญา ก็ตาม จะสามารถอำนวยประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติได้อย่างแน่นอน อย่างน้อยที่สุด เมื่อท่านมีอายุย่างเข้าวัยชราเกินกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป ผมรับรองว่า โรคความจำเสื่อมจะไม่มีโอกาสมาเยี่ยมกรายท่านอย่างแน่นอน ในทางตรงข้าม หากท่านใช้ชีวิตใช้เวลาให้หมดไปโดยไม่หมั่นใช้สมองพัฒนาปัญญาด้วยการคิด การอ่าน การเขียน หรือ การปฏิบัติสมาธิ ท่านจะต้องเผชิญกับโรคสมองฝ่อ ความจำเสื่อมอย่างไม่ต้องสงสัย <CENTER>********************* </CENTER> <TABLE><TBODY><TR><TD width=114>[SIZE=+1]เอกสารอ้างอิง[/SIZE]</TD><TD width=534 rowSpan=2>[SIZE=+1]๑. หนังสือ "พุทธธรรม", พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต.โต), มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/SIZE]</TD><TR><TD width=114></TD><TR><TD width=114></TD><TD width=534>[SIZE=+1]๒. นิตยสาร "ธรรมจักษุ" เดือนกันยายน ๒๕๔๐, มหามกุฏราชวิทยาลัย[/SIZE]</TD><TR><TD width=114></TD><TD width=534>[SIZE=+1]๓. "โครงสร้าง และ ระบบการทำงานของร่างกาย", ผศ.มิ่งขวัญ มิ่งเมือง Ph.D. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[/SIZE]</TD><TR><TD width=114></TD><TD width=534>[SIZE=+1]๔. "If It Helped Einstein", Daniel Amen M.D., Expression Magazine April/May 1998[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>
ดร.อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Dr. Albert Einstein) นักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ ผู้ปราดเปรื่องของโลก ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องการสร้างปัญญาไว้มีสาระสำคัญว่า "ถ้าท่านหมั่นใช้สมองคิดพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียวอย่างต่อเนื่องทุกวัน วันละ ๑๕ นาที ท่านจะมีปัญญา มีความรู้แตกฉานในเรื่องที่คิดพิจารณานั้นภายใน ๑ ปี หากท่านสามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่องได้นานถึง ๕ ปี ท่านจะมีปัญญา มีความรู้แตกฉาน เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับชาติในเรื่องนั้น"