สิ่งที่เป็นเกาะ เป็นที่พึ่งของตน พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 22 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    "...ที่พระองค์รับสั่งว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว ตัวทั้งสิ้นไม่ใช่ธรรม
    ตัวก็เป็นตัวซิ ธรรมก็เป็นธรรมซิ คนละนัย มีตัวกับธรรม ๒ อย่างนี้เท่านั้น กาย มนุษย์ก็มีตัว กายมนุษย์ก็มีธรรมที่ทำให้เป็นตัวตลอดทุกกาย ทั้ง ๑๘ กายมีตัวกับมีธรรมที่ทำให้เป็นตัว
    แต่ว่าตัวทั้งหลายเหล่านั้น ทั้ง ๘ กาย ในภพเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา หมดไม่เหลือเลย
    ทั้ง ๑๐ กายนอกภพเป็น นิจฺจํ สุขํ อตฺตา หมดไม่เหลือเลย
    ตรงกันข้ามอย่างนี้ เป็น นิจฺจํ สุขํ อตฺตา เป็นของเที่ยงของ จริงหมด
    แต่ว่าในภพแล้วเป็นของไม่เที่ยงไม่จริงหมด ให้รู้ชัดเสียอย่างนี้..."(หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ)





    กัณฑ์ที่ ๔
    สิ่งที่เป็นเกาะ เป็นที่พึ่งของตน
    วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส


    อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสฺสรณา นาญฺญสฺสรณาติ ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยสิ่งที่เป็นเกาะและสิ่งที่เป็นที่พึ่งของตน ทุกถ้วนหน้า สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสงเคราะห์พวกเราทั้งหลาย
    ซึ่งไม่รู้จักตนว่าเป็นเกาะและเป็นที่พึ่งของตน ให้รู้จักว่าตนเป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตน
    พระบรมทศพลจึงได้ทรงชี้แจงแสดงธรรมนี้ ที่พึ่งอันนี้แหละไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย
    นอกจากพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วรู้เองไม่ได้ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้เองได้ รู้สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตนได้
    พระบรมทศพลเมื่อตรัสปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้งห้าสำเร็จแล้ว ก็ตรัสเทศนาอนัตตลักขณสูตร โปรดพระยสและสหายรวม ๕๕ สำเร็จแล้วทรงดำเนินไปยังเหล่าชฎิล ๑,๐๐๓ รูป ในระหว่างทางนั้น ไปพบพวกราชกุมารเล่นซ่อนหาปิดตากันในป่าไร่ฝ้าย ราชกุมารเหล่านั้น มีมเหสีด้วยกันทั้งนั้น
    แต่ราชกุมารอีกองค์หนึ่ง มเหสีนั้นเป็นมเหสีกำมะลอ จ้างเขาไป ไม่ใช่ของตนโดยตรง จ้างหญิงแพศยาไป ครั้นไปถึงป่าไร่ฝ้าย เล่นซ่อนหาปิดตากันสนุกสนานนัก ถอดเครื่องประดับแล้วห่อเรียบร้อยส่งให้มเหสีถือไว้ ทุก ๆ องค์ทั่วหน้ากัน พระราชกุมารที่มีมเหสีกำมะลอก็ให้ถือดุจเดียวกัน พระมเหสีกำมะลอของพระราชกุมาร ผู้นั้นเป็นหญิงนครโสเภณี พอเห็นของมีค่าเช่นนั้น นึกว่าเครื่องประดับเหล่านี้เลี้ยงตัวเราได้ชาติหนึ่ง เราไม่ต้องเดือดร้อน
    เมื่อนางเห็นเช่นนั้นก็หาอุบาย สัญญาวิปลาสแปรผันไป หาวิธีหลบหลีกซ่อนเร้นตัวหลีกตัวสมความปรารถนา แล้วพาเครื่องประดับหนีไป ไปทางไหนไม่มีใครรู้เรื่อง
    เมื่อราชกุมารเล่นซ่อนหาปิดตากันอย่างสนุกสนาน หมดเวลาที่จะเล่นกันแล้ว ก็กลับมาขอห่อเครื่องประดับที่พระมเหสีของตนประดับ ตกแต่งอวัยวะร่างกายไปตามหน้าที่
    ฝ่ายราชกุมารที่มีพระมเหสีกำมะลอ เป็นหญิงแพศยานั้น ไม่พบตัวหญิงแพศยาที่จ้างไปเป็นพระมเหสี ซึ่งพาเอาห่อเครื่องประดับหนีไปแล้ว ช่วยกันค้นคว้าหาสักเท่าใดก็ไม่พบ ค้นไปค้นมาก็ไปพบพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ รุกขมูลโคนต้นไม้ ราชกุมารเหล่านั้นก็ได้ทูลถามพระจอมไตรว่า โภ ปุริส ดูกร บุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นหญิงถือห่อผ้าเดินไป ทางนี้บ้างไหม
    พระจอมไตรรับสั่งว่า แน่ะ! ราชกุมารทั้งหลาย ท่านจะหาหญิงถือห่อผ้านั้นดีหรือ หรือจะหาตัวดี ราชกุมารก็ทูลรับว่า หาตัวดีพระเจ้าค่ะ เออ..ถ้าหาตัวดีแล้วก็นั่งลงซิเราจะบอกตัวให้ พระจอมไตรก็รับสั่งให้ราชกุมาร ๓๐ นั้นนั่ง ให้พระมเหสีอีก ๒๙ นั่งลงพร้อมกัน พระองค์ก็ทรงแสดงถึงตัว ซึ่งตรงกันกับ
    อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสฺสรณา นาญฺญสฺสรณา

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Image-05x.jpg
      Image-05x.jpg
      ขนาดไฟล์:
      276 KB
      เปิดดู:
      89
    • Y11409320-0.jpg
      Y11409320-0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.8 KB
      เปิดดู:
      71
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>เมื่อเข้าใจดังนี้ ขอเชิญท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตวิถีทั้งสองของอาตมาลงรองรับรสพระธรรมเทศนาในเรื่อง สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตัวสืบต่อไป
    แปลตามวาระพระบาลีว่า อตฺตทีปา มีตนเป็นเกาะ อตฺตสรณา มีตนเป็นที่พึ่ง นาญฺญสฺสรณา สิ่งอื่นไม่ใช่ ธมฺมทีปา มีธรรมเป็นเกาะ ธมฺมสฺสรณา มีธรรมเป็นที่พึ่ง นาญฺญสฺสรณา สิ่งอื่นไม่ใช่ นี้พึงรู้ใจความตามวาระพระบาลีให้แจ่มชัดเสีย ให้แน่ในใจว่า ตนนี่แหละเป็นเกาะ เป็นที่พึ่งตอนหนึ่ง ตอนที่สองรองลงไป ธรรมนั่นแหละเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ที่จะฟังเทศนาเรื่องนี้ออก ต้องรู้จักตน รู้จักธรรมเสียก่อน คำว่าตนนั่น หมายอะไร หมายหลายชั้น
    กายมนุษย์นี่ก็เรียกว่าตน
    กายมนุษย์ละเอียดเข้าไปอีกก็เรียกว่าตน
    กายทิพย์ก็เรียกว่าตนของกายทิพย์
    กายทิพย์ละเอียดก็เรียกว่าตนของกายทิพย์ละเอียด
    กายรูปพรหมก็เรียกว่า ตนของกายรูปพรหม
    กายรูปพรหมละเอียด ก็เรียกว่าตนของกายรูปพรหมละเอียด
    กายอรูปพรหมก็เรียกว่าตนของกายอรูปพรหม
    กายอรูปพรหมละเอียดก็เรียกตนของกายอรูปพรหมละเอียด ตนเป็นดังนี้
    นี่เป็นตนในภพ ตนนอกภพออกไปยังมีอีก ตนในภพนี้เป็นตนโดยสมมติ ไม่จริงจังอะไร สมมติชั่วคราวหนึ่ง ตนนอกภพออกไป
    กายธรรมก็เป็นตน กายธรรมละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระโสดาก็เป็นตน กายธรรมพระโสดาละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระสกทาคาก็เป็นตน กายธรรมพระสกทาคาละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระอนาคาก็เป็นตน กายธรรมพระอนาคาละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระอรหัตก็เป็นตน กายธรรมพระอรหัตละเอียดก็เป็นตน
    นี่ ๑๐ กายเป็นตนทั้งนั้น ตน ๑๐ กายนี้เป็นตนโดยวิมุตติ ไม่ใช่สมมติ ออกไปนอกภพ นี่ให้รู้จักตนเสียดังนี้ก่อน ตนนี่แหละเป็นเกาะ ตนนี่แหละเป็นที่พึ่ง
    แล้วจะแสดงเรื่องธรรมต่อไป ให้รู้จักธรรมเสียอีกอย่างหนึ่ง
    คำที่เรียกว่าธรรมน่ะอะไร อยู่ที่ไหนต้องรู้จักเสีย ถ้าไม่รู้จักก็เลอะเทอะเป็นป้าป้อนหลาน ไม่รู้จักธรรมละก็ฟังธรรมไปสักเท่าใด ๆ ก็ไม่รู้เรื่องของธรรม เพราะไม่รู้จักธรรมจะรู้เรื่องจริงอย่างไร ต้องรู้จักธรรมเสียก่อน คำว่าธรรมน่ะอะไร ธรรมก็สำหรับให้ตนนั้นเป็นอยู่ ตนนั้นไม่มีธรรมเลยก็เป็นอยู่ไม่ได้ ทั้งกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด มีธรรมให้ตั้งอยู่ทั้งนั้น
    ถ้าไม่มีธรรมก็ดับหมด
    กายธรรม กายธรรมละเอียด
    กายธรรมพระโสดา กายธรรมพระโสดาละเอียด
    กายธรรมพระสกทาคา กายธรรมพระสกทาคาละเอียด
    กายธรรมพระอนาคา กายธรรมพระอนาคาละเอียด
    กายธรรมพระอรหัต กายธรรมพระอรหัตละเอียด
    มีธรรมให้เป็นอยู่ทั้งนั้น ถ้าไม่มีธรรมแล้ว กายธรรมนั้นก็เป็นอยู่ไม่ได้

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    คำว่าธรรมนี้อยู่ที่ไหนล่ะ
    อยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขวาทะลุซ้าย ด้ายกลุ่มสองเส้นขึงให้ตึง ตรงกลางเส้นด้ายที่พาดกัน นั้นเรียกว่ากลางกั๊ก นั่นคือถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงนั้นแหละเรียกว่าธรรม ธรรมดวงนั้นดับไปกายมนุษย์ก็ดับ ธรรมดวงนั้นผ่องใสสะอาด สะอ้าน กายมนุษย์ก็รุ่งโรจน์โชตนาการ ธรรมดวงนั้นซูบซีดเศร้าหมอง กายมนุษย์ก็ไม่ผ่องใส ซอมซ่อ ไม่สวยไม่งามน่าเกลียดน่าชังไป เพราะธรรมดวงนั้นสำคัญนัก ธรรมดวงนั้นแหละเป็นชีวิตของมนุษย์คือความเป็นอยู่ของมนุษย์ ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ อยู่กลางดวงนั้น ออกจากกลางธรรมดวงนั้นเป็นชีวิต ธรรมสำคัญทีเดียว นั่นแหละธรรมดวงนั้นแหละ อยู่กลางกายของเราเหมือนกันทุก ๆ คนไป
    กายมนุษย์มีดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่
    กายมนุษย์ละเอียดมีดวงใสสองเท่าฟองไข่แดงของไก่
    กายทิพย์ก็มีดวงใสอยู่กลางกายแบบเดียวกัน สามเท่าฟองไข่แดงของไก่
    กายทิพย์ละเอียด สี่เท่าฟองไข่แดงของไก่ เป็นดวงใส
    กายรูปพรหมเป็นดวงใสห้าเท่าฟองไข่แดงของไก่
    กายรูปพรหมละเอียด เป็นดวงใสหกเท่าฟองไข่แดงของไก่
    กายอรูปพรหมเป็นดวงใสเจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่
    กายอรูปพรหม ละเอียดเป็นดวงใสแปดเท่าฟองไข่แดงของไก่
    พอไปถึงกายอรูปพรหม ธรรมดวงนั้นแหละเรียกว่าธรรม
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมเล่าเป็นดวงใสแบบเดียวกัน
    วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ธรรมกายหน้าตักเท่าใด เช่นหน้าตัก ๒ ศอก ธรรมดวงนั้นก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรอบตัว ๒ ศอก
    ถ้าว่าธรรมกายหน้าตัก ๔ ศอก ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น ก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ ศอก กลมรอบ ตัวเหมือนกัน
    ถ้าธรรมกายนั้นหน้าตัก ๒ วา ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วาเหมือนกัน กลมรอบตัว
    ถ้าธรรมกายนั้นหน้าตัก ๔ วา ๓ ศอก ธรรมที่ทำให้ เป็นธรรมกายนั้น ก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ วา ๓ ศอก กลมรอบตัวอยู่กลางกายธรรม
    ธรรมดวงนั้นแหละเรียกว่าธรรม นี่นอกภพออกไป ไม่ใช่ในภพ จึงได้ขยายส่วนใหญ่ออกไปดังนี้ ถ้าในภพแล้วอย่างใหญ่ ก็เพียง ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่เท่านั้น นี่ใหญ่โตมโหฬาร ดวงธรรม นอกภพ ดวงธรรมภายนอกภพใหญ่ โตมโหฬาร เป็นดวงใสวิเศษชัชวาล นั้นแหละเรียกว่าธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมดวงหนึ่งละ

    ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียดลงไปอีก อยู่ในกลางดวงธรรมนั้น กลางดวงธรรมนั้นวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว นี่กายธรรมละเอียด
    กายธรรมพระโสดา ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลม รอบตัวเท่ากายธรรมละเอียดของกายธรรมโคตรภูละเอียด ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
    ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา ละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๕ วา กลมรอบตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๕ วา กลมรอบตัว
    ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลม รอบตัว
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลางโตขึ้นเป็นลำดับไป จนนับอสงไขยไม่ถ้วนนั่นแหละธรรม ที่เรียกว่าธรรมเป็นอย่างนี้รู้จักเสียที ที่เรียกว่าธรรมน่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ทีนี้จะแสดง อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา กายน่ะเป็นเกาะนั้นเป็นอย่างไร เป็นที่พึ่งน่ะเป็นอย่างไร เกาะได้อย่างไร พึ่งได้ อย่างไรหรือ จึงได้ชื่อว่าเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง


    พึงนึกถึงมนุษย์ที่เรือล่ม จมลงในท่ามกลางมหาสมุทร มนุษย์ก็ต้องว่ายน้ำละซิ มนุษย์ปรารถนาเกาะไหมล่ะ ว่ายน้ำไป ๆ ไปพบเกาะเข้าสักเกาะจะเป็นอย่างไร ก็ชื่นอกชื่นใจขึ้นเกาะนั้นโดยฉับพลันเชียว
    ได้เกาะดีแล้ว ได้อาศัยแล้ว ไม่อย่างนั้นต้องว่ายน้ำกระเดือก ๆ อยู่ในน้ำ เหนื่อยแทบประดาตาย ขึ้นเกาะเสียได้หมดเหนื่อย หมดยาก หมดลำบาก นั่นได้เกาะในท่ามกลางมหาสมุทร อาศัยได้อย่างนั้นหนา นั่นเป็นเกาะของคนที่เรือล่ม จมลงไปในท่ามกลางมหาสมุทร นั่นเป็นเกาะหละหนึ่งหละ เกาะมีคุณอย่างนั้นแหละ ก็กายเป็นที่พึ่งล่ะ ที่ตนเป็นที่พึ่งน่ะ พึ่งอย่างไรกัน
    เมื่อไปพบเกาะล่ะเป็นอย่างไร ถามว่าเมื่อไปพบเกาะล่ะเป็นอย่างไร
    เมื่อไปพบเกาะเข้าแล้วก็ดีใจ ได้พึ่งพาอาศัยเกาะนั้น ไปพึ่งอื่นไม่ได้แล้วต้องพึ่งเกาะอาศัยเกาะนั้น มันมีผลไม้พอที่จะยังอัตภาพให้เป็นไป อาศัยเกาะนั้นพึ่งเกาะนั้น นี่เหมือนดังนี้

    บัดนี้เราท่านทั้งหลายก็มาอาศัยกายมนุษย์นี่แหละ พึ่งกายมนุษย์อยู่ เวลานี้อาศัยกายมนุษย์จริง ๆ นะ พึ่งกายมนุษย์จริง ๆ ถ้าว่าไม่อาศัยจริง ๆ กายมนุษย์นี่ไม่เป็นเกาะของ เราจริง ๆ ละก็ ก็ลองทิ้งดูซี ถ้าทิ้ง กายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ไม่ได้ มนุษย์ ก็ไม่เห็น หายไปก็เรียกว่าตายกันเสียทีนั่นแหละ มันออกไปอย่างนี้แหละปรากฏอย่างนี้ เมื่อปรากฏ อย่างนี้ละก็ กายมนุษย์นี่เป็นเกาะจริง ๆ หนา



    ธรรมล่ะเป็นที่พึ่ง ธรรมเป็นเกาะ เป็นที่พึ่งเป็นเกาะอย่างไร
    ธรรมเป็นเกาะ ถ้าไม่ได้ธรรมดวงนี้แล้ว กายมนุษย์ละเอียดจะไปอาศัยอะไร
    กายมนุษย์ก็ไม่มี หายไป กายมนุษย์ก็ไม่มีที่อาศัย กายมนุษย์อาศัยธรรมดวงนั้น กายมนุษย์ละเอียดอยู่ในกลางธรรมดวงนั้นนั่นแหละ เขาก็พึ่งธรรมดวงนั้น อาศัยธรรมดวงนั้นเป็นเกาะ
    แล้วเขาก็พึ่งธรรมในตัวของเขาดุจเดียวกัน นั่นธรรม ดวงนั้นแหละของกายมนุษย์หยาบ เป็นที่อาศัยของกายมนุษย์ละเอียด
    ดวงธรรมของกายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นที่พึ่งของกายมนุษย์ละเอียด ธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่พึ่งที่อาศัยจริง ๆ กายมนุษย์หยาบเป็นเกาะสำหรับให้กายมนุษย์ละเอียดนั้นอาศัยด้วย แล้วกายมนุษย์ละเอียดนั้น ก็มีกายของตัวเป็นเกาะ ตัวก็ต้องอาศัยกายของตัวด้วย มีธรรมเป็นเกาะก็ต้องอาศัยธรรมของตัวด้วย
    กายมนุษย์ละเอียดมีธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละเป็นที่พึ่ง เป็นทั้งเกาะด้วย เป็นทั้งที่พึ่งด้วย ทั้งสองอย่างปรากฏอย่างนี้
    ยังมัวไม่เข้าใจชัด ค่อย ๆ ฟังไปก่อนจะเข้าใจชัดเป็นลำดับไป กายมนุษย์ละเอียดมีกายของตัวเองเป็นเกาะ มีกายของตัวเองเป็นที่พึ่ง แล้วก็ธรรม ของกายมนุษย์ละเอียดนั้น ก็เป็นเกาะด้วย เป็นที่พึ่งด้วย กายมนุษย์ละเอียดมีกายเป็นเกาะ ต้องอาศัยกายมนุษย์หยาบ
    ถ้าไม่มีกายมนุษย์แล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่มีหน้าที่ในกายมนุษย์นั้น ต้องส่งไปถึงหน้าที่กายทิพย์
    เพราะฉะนั้นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ถ้ามีอยู่แล้วกายมนุษย์ละเอียดก็ต้องอาศัย กายของตัวด้วย เป็นเกาะเป็นที่พึ่งด้วย แล้วก็ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ
    ถ้าไม่มี กายมนุษย์นั้นก็มีไม่ได้ ก็ต้องเป็นที่พึ่งของตัวด้วย เพราะฉะนั้น กายมนุษย์ละเอียดเป็นเกาะของตัวด้วย และเป็นที่พึ่งของตัวด้วย แล้วก็ธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้น เป็นเกาะของตัวด้วย เป็นที่พึ่งของตัวด้วย นี่ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ ตามลำดับลงไป
    กายมนุษย์ละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด นี่แหละเป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตัวและ เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายทิพย์ด้วย แล้วธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์นั่นแหละ เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายทิพย์ด้วย กายทิพย์ละเอียดก็พึ่งกายทิพย์หยาบ และธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์หยาบ ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายทิพย์ละเอียดด้วย กายทิพย์ละเอียดก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายทิพย์ละเอียดด้วย สิ่งอื่นไม่มีนอกจากนี้แล้วเป็นลำดับลงไป

    กายรูปพรหมก็มีธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดนั้น เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายรูปพรหม ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ก็เป็นเกาะ เป็นที่พึ่งของกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด ก็ได้อาศัยกายรูปพรหม และธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม และกายอรูปพรหม ก็ได้อาศัย กายรูปพรหมละเอียด ได้พึ่งธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด แล้วกายอรูปพรหมละเอียดก็ได้พึ่งได้อาศัยกายอรูปพรหมหยาบ ได้อาศัยธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม

    ธรรมกายเล่าก็ได้อาศัยกายอรูปพรหมละเอียด ได้พึ่งกายอรูปพรหมละเอียด ได้อาศัยธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ได้พึ่งธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด กายธรรมละเอียดก็ได้พึ่งได้อาศัยกายธรรมโคตรภูหยาบ และธรรมที่ทำให้เป็นโคตรภูหยาบ

    ส่วนธรรมกายของพระโสดาเล่า ก็ได้อาศัยกายธรรมโคตรภู ได้พึ่งกายธรรมโคตรภู ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโคตรภู นี่กายธรรมละเอียด ไม่ใช่กายพระโสดา ได้อาศัยอย่างนี้

    กายธรรมพระโสดา ได้อาศัยกายธรรมละเอียด ได้พึ่งกายธรรมละเอียด ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียดกายธรรมพระโสดาได้อาศัย ดังนี้ กายธรรมพระโสดาละเอียด ได้อาศัยกายธรรมพระโสดาหยาบ ได้ พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาหยาบ

    กายธรรมพระสกทาคา ได้อาศัยกายพระโสดาละเอียด ได้พึ่งกายธรรมพระโสดาละเอียด ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาละเอียด กายธรรมพระสกทาคาละเอียด ได้อาศัยกายธรรมพระสกทาคาหยาบ ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาหยาบ

    กายธรรมพระอนาคา ได้อาศัยกายธรรมพระสกทาคาละเอียด ได้พึ่งกายธรรมพระสกทาคาละเอียด ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด กายธรรมพระอนาคาละเอียด ได้อาศัยกายธรรมพระอนาคาหยาบ ได้พึ่งกายธรรมพระอนาคาหยาบ ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาหยาบ ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาหยาบ

    กายธรรมพระอรหัต ได้อาศัยกายธรรมของพระอนาคาละเอียด ได้ พึ่งกายธรรมของพระอนาคาละเอียด ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด กายธรรมพระอรหัตละเอียด ได้อาศัยกายธรรมพระอรหัตหยาบได้พึ่งกายธรรมพระอรหัตหยาบ ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตหยาบ ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตหยาบ พึ่งอาศัยกันดังนี้
    อธิบายดังนี้ ดูมัวไป จะต้องกลับอธิบายอีกสัก ครั้งหนึ่ง ไม่สนิทที่อธิบายมาแล้ว พลั้ง ๆ พลาด ๆ ไปไม่สนิทนัก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    แต่ขอให้เรียบเรียงเป็นตัวอย่างใหม่ว่า

    กายทั้ง ๑๘ กายนี้ พูดถึงกายมนุษย์ใหม่ กายมนุษย์เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ๒ อย่างนี้
    เวลานี้เราอาศัยอยู่กับกายมนุษย์ มีกายมนุษย์เป็นเกาะจริง ๆ ได้มีเกาะอาศัยอยู่ แล้วก็มีกายมนุษย์ นี่เป็นที่พึ่งจริง ๆ คนอื่นพึ่งไม่ได้ จะพึ่งคนอื่น พึ่งอย่างไร กายมนุษย์นี้มันต้องพึ่งตัวของมันเอง
    อตฺตทีปา มันต้องพึ่งตัวมันเอง
    จะพึ่งคนอื่นอย่างไร อาบน้ำ อุจจาระ มันก็ต้องพึ่งตัวของมันทั้งนั้น คนอื่นไม่พึ่ง พึ่งตนเอง
    เมื่อกายมนุษย์นี่มีกายของตัวเป็นเกาะเป็นที่พึ่งดังนี้ละก็ ธรรมล่ะ มีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง อีกเหมือนกัน ไม่ใช่แต่กายมนุษย์มีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ธรรมดวงนี้เป็นดวงใสอยู่กลางตัว
    นั่นแหละเป็นเกาะ แล้วมีธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่พึ่ง
    เป็นเกาะน่ะเป็นอย่างไร
    มีกายมนุษย์ละเอียดมาอาศัยดวงธรรมนั้น มาอาศัยอยู่กับดวงธรรมนั้น
    ถ้าไม่มีดวงธรรมนั้นอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็มาอาศัยอยู่ไม่ได้
    นี่กายมนุษย์ละเอียดมาอาศัยอยู่ได้ ก็มีธรรมดวงนั้น ธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่อาศัยของตัวเอง
    กายมนุษย์ละเอียด ๆ นั่นแหละเป็นตัวของตัวเอง เป็นที่อาศัยด้วยและธรรมดวง นั้นแหละเป็นที่พึ่งด้วย
    ธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่พึ่งสำคัญ
    เพราะได้มาด้วยความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ไม่มีพิรุธเลย จึงเกิดธรรมดวงนั้น
    ถ้าธรรมดวงนั้นดับไป กายมนุษย์ละเอียดก็หมดที่พึ่ง กายมนุษย์ละเอียดก็แบบเดียวกัน
    มีตัวเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง และมีธรรมดวงนั้นแหละเป็นเกาะเป็นที่พึ่งดุจเดียวกัน
    เมื่อถึงกายทิพย์ล่ะ กายทิพย์ก็ดุจเดียวกัน เป็นเกาะเป็นที่พึ่งกันเป็นลำดับไป



    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้วล่ะก็ สิ่งอื่นไม่มีหนา ตัวของตัวนี่เท่านั้นเป็นเกาะเป็นที่พึ่งกายมนุษย์
    กายมนุษย์ละเอียด
    กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด
    กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด
    กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ๘ กายนี้ อยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เวียน ว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบแล้ว
    แต่เขาก็มีที่พึ่งของเขาอย่างนั้นแหละ
    แต่ว่าพึ่งโดยสมมติชั่วคราวหนึ่งไม่จริงจังนักเรียกว่า โลกีย์ ยังยักเยื้องแปรผันอยู่ เอาจริงเอาจังไม่ได้
    ที่จะเอาจริงเอาจังได้ต้องเข้าไปถึงกายธรรม

    กายธรรมโคตรภู มีกายธรรมหยาบ กายธรรมละเอียดแบบเดียวกัน
    กายธรรมหยาบก็เป็นเกาะเป็น ที่พึ่ง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม หยาบก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง
    กายธรรมละเอียดก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง
    จนกระทั่งถึงพระโสดา พระโสดาก็มีกายของท่านเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา ก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตัวเองทั้งนั้น
    จะไปพึ่งสิ่งอื่น เลอะเทอะไม่ได้
    ถ้าพึ่งเจ้าพึ่งผี เที่ยวบนบานศาลกล่าว
    นี่เพราะพวกเหล่านี้ไม่ได้ยินไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
    ไม่ได้ศึกษาในธรรมของ สัตบุรุษ ความเห็นจึงพิรุธไปเสียแล้ว
    ไม่ได้ยินไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า
    ความเห็นจึงได้เลอะเลือนไปเช่นนั้น
    ถ้าไม่เลอะเลือนจะต้องมี ๒ อย่างนี้เท่านั้น คือมีกายกับธรรม ๒ อย่างนี้เท่านั้น กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดก็มีกายกับธรรม ๒ อย่างนี้เท่านั้น
    มีกายมนุษย์กับมีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ๒ อย่างนี้ เท่านั้น
    กายมนุษย์ละเอียดกับธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ๒ อย่างนี้เท่านั้น
    กายทิพย์ก็มีกายทิพย์ กับธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์
    กายทิพย์ละเอียดก็มีกายทิพย์ละเอียดกับธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด
    กายรูปพรหมเล่า
    ก็มีกายรูปพรหมกับธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม
    กายอรูปพรหมก็มีกายอรูปพรหมกับธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ๒ อย่างนี้เท่านั้น
    ทั้งหยาบทั้งละเอียดแบบเดียวกัน


    เพราะฉะนั้นจะต้องเรียนให้รู้จักกายของตัวเสียก่อนว่า กายมนุษย์ นี่แหละเป็นตัวโดยสมมติ ๘ กาย ที่อยู่ในภพนั่นแหละเรียกว่า อตฺตสมฺมติ เรียกว่าตัวโดยสมมติทั้งนั้น
    ส่วนธรรมล่ะ
    คือธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์น่ะ ก็เรียกว่าธรรมสมมติ เหมือนกัน สมมติชั่วคราวหนึ่ง ไม่ใช่ตัว

    ที่พระองค์รับสั่งว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว ตัวทั้งสิ้นไม่ใช่ธรรม
    ตัวก็เป็นตัวซิ ธรรมก็เป็นธรรมซิ คนละนัย มีตัวกับธรรม ๒ อย่างนี้เท่านั้น

    กาย มนุษย์ก็มีตัว กายมนุษย์ก็มีธรรมที่ทำให้เป็นตัวตลอดทุกกาย
    ทั้ง ๑๘ กายมีตัวกับมีธรรมที่ทำให้เป็นตัว
    แต่ว่าตัวทั้งหลายเหล่านั้น ทั้ง ๘ กาย ในภพเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา หมดไม่เหลือเลย
    ทั้ง ๑๐ กายนอกภพเป็น นิจฺจํ สุขํ อตฺตา หมดไม่เหลือเลย
    ตรงกันข้ามอย่างนี้ เป็น นิจฺจํ สุขํ อตฺตา เป็นของเที่ยงของ จริงหมด
    แต่ว่าในภพแล้วเป็นของไม่เที่ยงไม่จริงหมด ให้รู้ชัดเสียอย่างนี้
    ที่เกิดมาในมนุษย์โลกเป็นภิกษุ เป็น สามเณร เป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็เย็นอกเย็นใจ สบายอกสบายใจ ไม่ถือเลอะเลือนผิด ๆ พลาด ๆ ไป ให้รู้จักหลักพระพุทธศาสนาอย่างนี้
    ตามความเป็นจริงของทางมรรคผล
    ตามความเป็นจริงของกายที่เป็นของในภพนอกภพชัดอย่างนี้ละก็ ก็ไม่งมงาย
    การหาเลี้ยงชีพหรือการเป็นอยู่ในหมู่มนุษย์ ก็ไม่สับสนอลหม่าน กับใคร ให้แต่ความสุขกับตนและบุคคลผู้อื่นเป็นเบื้องหน้า


    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ในตนของตน และธรรมที่ทำให้เป็นตนของตน ทั้งเป็นเกาะทั้งเป็นที่พึ่ง
    ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยาม ภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา

    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วย อำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
    สทาโสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจง บังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมิกถาโดย อรรถนิยมความเพียงแค่นี้
    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ
    สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ
    อโถ ชาติกฺขยํ ตโต อภิญฺญา โวสิโต มุนิ
    สพฺพโวสิตโวสานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.”



    “บุคคลใด รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน ทั้งเห็นสวรรค์ [ทั้งเทวโลกและพรหมโลก] และอบาย, อนึ่ง บรรลุความสิ้นไปแห่งชาติ เสร็จกิจแล้ว เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี,เราเรียกบุคคลนั้น ซึ่งมีพรหมจรรย์อันอยู่เสร็จสรรพแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.”

    (ขุ.ธ.๒๕/๓๖/๗๑)
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-49.jpg
      1-49.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.2 KB
      เปิดดู:
      78
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    ๓. นิพพานสูตรที่ ๓
    [๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
    ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงสดับธรรม ลำดับนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออก
    ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึง
    ปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็น
    แล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่

    ฉะนั้น การสลัด
    ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏฯ
    จบสูตรที่ ๓
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๔๐๐๗ - ๔๐๒๑. หน้าที่ ๑๗๖.
    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0<!-- m -->

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2015
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ โกลิตสูตร</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>


    <CENTER>อรรถกถาโกลิตสูตร </CENTER>

    บทว่า ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พระนิพพานอันเป็นอสังขตธาตุ นำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริง โดยเป็นอารมณ์อันดีเยี่ยมแก่มรรคญาณและผลญาณ ซึ่งได้บัญญัติว่า อัตตา เพราะไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดยที่สุดความฝัน
    แต่เพราะเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณและผลญาณนั้นๆ ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และเพราะเป็นเช่นกับอัตตา จึงเรียกว่า อตฺตโน ของตน

    พึงรู้ คือพึงทราบพระนิพพานนั้น อธิบายว่า พึงรู้แจ้ง คือพึงทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณและผลญาณทั้งหลาย. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตน้อมไปในพระนิพพาน.
    จริงอยู่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมอยู่ แม้ในเวลาที่อธิจิตเป็นไป ก็อยู่โดยภาวะที่น้อมโน้มโอนไปในพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น.
    ก็ในที่นี้ สติเป็นไปใน<WBR>กาย<WBR>ปรากฏ<WBR>แก่<WBR>ภิกษุ<WBR>ใด ภิกษุ<WBR>นั้นสำรวม<WBR>แล้วในผัสสายตนะ ๖ ต่อแต่นั้น ก็มีจิตตั้งมั่นเนืองๆ พึงรู้พระนิพพานของตน ด้วยการกระทำให้ประจักษ์แก่ตน พึงทราบการเชื่อมบทแห่งคาถาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=77
     
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค</BIG> <CENTER class=D>ธนิยสูตร</CENTER></CENTER>









    <CENTER>อรรถกถาธนิยสูตร </CENTER>
    ลำดับนั้น นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธาซึ่งตั้งมั่นแล้ว
    อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผ้้มีหทัยอันธรรมกายตักเตือนแล้ว
    คิดแล้วว่า นับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุดจนถึงภวัครพรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี.
    ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งรัศมีแห่งพระกาย ซึ่งเป็นราวกะว่าแสงเรืองรองที่รดด้วยน้ำทองอันงดงามไปด้วยข่ายแห่งฉัพพัณณรังสี เข้าไปในบ้านของนายธนิยะ ด้วยประสงค์ว่า บัดนี้ เชิญท่านจงดูตามสบาย.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค</BIG> <CENTER class=D>ธนิยสูตร</CENTER></CENTER>







    <CENTER>อรรถกถาธนิยสูตร </CENTER>

    ใน ๒ คาถานั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระ<WBR>ภาค<WBR>เจ้า<WBR>ด้วยการแทงตลอดอริยมรรค
    เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกุตรจักษุ
    และกลับได้สัทธาที่<WBR>เป็น<WBR>โลกิย<WBR>สัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มี<WBR>พระ<WBR>ภาค<WBR>เจ้า.
    คำว่า วต ในคำว่า ลาภา วต โน อนปฺปกา นั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า ปลื้มใจ.
    บทว่า โน คือ ข้าพระองค์ทั้งหลาย. บทว่า อนปฺปกา ได้แก่ มาก.
    คำที่เหลือเข้าใจง่ายทั้งนั้น.
    ส่วนในคำว่า สรณํ ตํ อุเปม นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
    การถึงสรณะของนายธนิยะนั้นสำเร็จแล้วด้วยการบรรลุมรรคนั้นแล แม้ก็จริง ถึงกระนั้นในคำนั้น นายธนิยะนั้นถึงการตกลงทีเดียว บัดนี้เขากระทำการมอบตนด้วยวาจา.
    อีกอย่างหนึ่ง เขาเมื่อกระทำที่พึ่งด้วยการมอบตนให้ปรากฏด้วยสามารถแห่งมรรค และทำสรณะที่ไม่หวั่นไหวนั้น ให้ปรากฏด้วยวาจาแก่คนเหล่าอื่น จึงถึงสรณคมน์ด้วยการนอบน้อมด้วยมือ (อีก).

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...