ผมเคยคิดเกี่ยวกับทองเหลืองอยากทำก๊อกน้ำ,ลูกบิด,กลอนประตู ฯลฯ มีหัวเป็นรูป ยักษ์,หนุมาน,พยานาค, เทพ,สัตว์ ต่างๆแบบไทยๆออกขาย ยิ่ง ตอนนี้เรามีนักออกแบบ,นักประดิษฐ์ น่าจะทำขายตลาดบนหรือชาวต่างชาติได้ เคยไปดู ยักษ์และเทพ กวนสมุทร์ที่สุวรรณภูมิ ชอบมาก เราน่าจะทำยักษ์ หรือ เทพ เป็นเรซิ่น ขายสีสวยสด ขายเป็นของฝาก ................................................................................... ความเห็นคุณคณานันท์ ลองรวบรวมแนวคิดกันครับ เผื่อร่วมกันหาทุน สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับพวกเราอีกหลายๆคนที่ยังมีความลำบาก ด้านการครองชีพครับ อย่างตอนนี้ผมเองมาทำงานด้านพระธาตุมากๆ และได้พบว่า อุปกรณ์เคร่องบูชาพระธาตุราคาแพงมโหฬารมากๆ อย่างตาลปัตรหรือบังแส้ ปิดทองลงยา เป็นเรซิ่น ราคา คู่ละ 2,000 บาท และฉัตรทองเหลืองงานฉลุ ราคาคู่ละ "6,000 "บาท คุยกับร้านที่ขาย ถามว่า หากมีฉัตรเป็นเรซิ่นปิดทอง ราคาคู่ละ 2,000 บาทนี่จะรับไหม เขาก็ว่ารับหมด ยังคิดเลยว่าหากเราจัดรวมกันทำเป็นกลุ่มสหกรณ์ หัตถกรรมในไซส์ ขนาดเล็กแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ก็น่าจะดี เป็นงานสัมมาอาชีวะ เป็นงานบูชาพระรัตนไตร ได้ทั้งกุศล ได้ทั้งงานด้วย น่าสนใจดี ไปลงกันที่ นครสวรรค์ หรืออุทัยธานีก็ได้เพราะพายุหะก็เป็นแหล่งผลิตอยู่แล้ว ช่างหาได้ไม่ยาก ขอให้พี่ตั้มช่วยดันเอสเอ็มอีแบงค์มาช่วยด้านแหล่งเงินทุน การตลาด การประชาสัมพันธ์ เรื่องช่างฝีมือ เรื่องแบบ เรื่องงานปิดทอง พี่คลิกเองก็เชี่ยวชาญอย่างที่สุดอยู่แล้ว เผื่อพวกที่ไปอยู่ก่อนจะได้ มีกิจกรรมทำกัน และเป็นทุนในการก่อสร้างปรียนันท์ธรรมสถานอีกช่องทางหนึ่ง<!-- / message --><!-- sig --> ................................................................................... ตอนนี้อยากรบกวนพวกเราเจอข้อมูลเกี่ยวทองเหลืองที่ไหนนำมาโพสเก็บไว้ ไม่ว่าเป็น สถานที่ผลิต รูปร่าง ฯลฯ
ทองเหลือง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา <!-- start content --> ที่ทับกระดาษรูปลูกเต๋าทำด้วยทองเหลือง (ซ้าย) และตัวอย่างโลหะสังกะสีกับทองแดง (ขวา) ทองเหลือง (อังกฤษ: Brass) เป็นโลหะประสมมีทองแดง และสังกะสีเป็นส่วนประกอบหลัก ปริมาณของสังกะสีนั้นแปรเปลี่ยนไป ระหว่าง 5 - 45 เปอร์เซนต์ ทำให้ได้ทองเหลืองที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป (ทองเหลืองนั้นแตกต่างจากสำริดตรงที่ สำริดมีส่วนประกอบของทองแดงและดีบุกเป็นหลัก แต่ทองเหลืองบางชนิด ก็ถูกเรียกว่า "สำริด" ก็มี) ทองเหลืองยังเคยเป็นโลหะที่เชื่อกันว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุดสำริดและความเชื่อนี้ยังตกทอดมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นโลหะในตำนานที่ชื่อว่าโอริคัลคุมซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาละตินที่มาจากภาษากรีก ορείχαλκος (ออเรอิฆัลคอส) ซึ่งแปลว่า "ทองเหลือง" ทองเหลืองนั้นมีสีเหลือง จึงมีลักษณะบางส่วนคล้ายทองคำ มีความต้านทานต่อการเกิดสนิมได้ดีพอสมควร จึงนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งภายในบ้านเรือน มนุษย์รู้จักทองเหลืองมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นานก่อนที่จะค้นพบธาตุสังกะสีด้วยซ้ำ การผลิตทองเหลืองนั้น อาศัยการหลอมละลายทองแดงกับแร่คาลาไมน์ ซึ่งเป็นสินแร่สังกะสีชนิดหนึ่ง ในกระบวนการนี้ สังกะสีจะถูกดูดออกมาจากคาลาไมน์ และผสมเข้ากับทองแดง สำหรับสังกะสีบริสุทธิ์นั้นไม่สามารถผลิตด้วยเทคนิคงานโลหะสมัยโบราณได้
<TABLE width=533 border=0 mm_noconvert="TRUE"><TBODY><TR bgColor=#99cccc><TD borderColor=#ffffff bgColor=#fef7c0 height=22>ทองเหลือง (Brasses)</TD></TR><TR><TD height=73> เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี โดยสังกะสีสามารถละลายในทองแดงให้สารละลายของแข็ง (solid solution) ได้สูงถึง 39 % และถ้าผสมสังกะสีมากกว่านี้จะได้สารประกอบเชิงโลหะระหว่างทองแดงกับสังกะสีหลายชนิด ซึ่งมีผลทำให้ความแข็งแรง ความแข็ง ความเหนียวและสมบัติทนการกัดกร่อน ตลอดจนสีของทองเหลืองเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของสังกะสีที่ผสม</TD></TR><TR><TD height=44> ทองเหลืองที่ใช้งานกันเป็นประจำมักมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น</TD></TR><TR><TD height=78> ทองเหลืองที่ผสมสังกะสีไม่เกิน 5 % มีชื่อเรียกทางการค้าว่า glinding metal ใช้ทำเหรียญ ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 10 % เรียก commercial bronze มีสมบัติและการใช้งานคล้ายคลึงกับ glinding metal ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 12.5 % เรียก jewelry bronze หรืองทองเหลืองทำเครื่องประดับ ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 15 % เรียก red brass ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 30% เรียก cartridge brass หมายถึง ทองเหลืองที่ใช้ทำปลอกกระสุนปืน เป็นต้น </TD></TR><TR><TD height=36> ที่มา : มนัส สถิรจินดา, "โลหะนอกกลุ่มเหล็ก", สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538, หน้า 68-69</TD></TR></TBODY></TABLE>
ศิลปกรรมทองเหลือง ด้วยการเรียนรู้จากชุมชนบ้านหล่อ คุณพีร์ พรหมสวัสดิ์จึงได้ริเริ่มหล่อทองเหลืองเลียนแบบงานศิลปกรรมไทยโบราณ เช่น กินรี มโนราห์ สิงห์ ฯลฯ ออกจำหน่าย โดยผลิตเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนมานานกว่า 30 ปี ผลงานศิลปกรรมของคุณพีร์ได้มีผู้นิยมนำไปตกแต่งบ้าน อาคารสำนักงานและส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ที่อยู่:: 250/2 22-27หมู่บ้านเศรษฐกิจ ถ.หมู่บ้านเศรษฐกิจ แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์: (662) 421-0176 แฟกซ์: (662) 421-7792 รถประจำทาง: 91 รถปรับอากาศ: 91 เวลาทำการ: จันทร์-เสาร์ 8.00-18.00 น. วันหยุดทำการ: อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ ที่จอดรถ: บริเวณหน้าบ้าน สถานที่ใกล้เคียง: บึงนกน้ำธรรมชาติ พุทธมณฑล สำนักสงฆ์สวนแสงธรรม สนง.เขตบางแค
การหล่อทองเหลืองและทำเรซิ่น วัสดุที่ใช้ ทองเหลือง ต้องกรอกขี้ผึ้ง งานเรซิ่น ตัวทำแข็ง แคลเซียม ทาลคัม อิตาเนียม ฝุ่นที่ผสมแม่สี วิธีทำ การหล่อพระด้วยทองเหลือง - ปั้นขี้ผึ้งและดินน้ำมัน - ถอดพิมพ์(ในกรณีที่เราปั้นด้วยดินน้ำมันต้องถอดพิมพ์ ๒ ครั้ง) ถ้าปั้นด้วยขี้ผึ้งถอดพิมพ์ครั้งเดียว - นำมากรอกเป็นรูปขี้ผึ้ง - ทาขี้วัวทับ ๓ ครั้ง - พอดินแห้ง แล้วไปชุบดินนวล - ชุบดินอ่อน ๒ ครั้ง ชุบดินแก่ ๓ ครั้ง - นำมาพันลวด แล้วชุบดินอีกที จึงนำมาเทเรียกว่าปั้นปากจอบ - ตากแดดให้แห้ง นำไปเผาอีกทีให้ดินสุก ประมาณ ๘ ชั่งโมง - หลอมทองเหลือง แล้วนำหัวพระกระดกลงให้รูเทหงายขึ้น (ด้านฐาน) แล้วนำทองที่หลอมแล้วมาเท พอครบ ๒๐ นาทีแล้วจึงทุบดินออกให้เกลี้ยง - ใช้กรรไกรตัดชนวนออก - ตกแต่งภายในก่อนใช้ตะไบถูแล้วใช้ตะขอขัดซอกให้เรียบ - ใช้กระดาษทรายถูให้เรียบตรงที่มีรู - นำไปเข้าห้องเชือกทำการขัดเงา โดยตีลูกเชือกแล้วใช้ลูกผ้าขึ้นเงา แล้วพระจะถูกขัดเงาจนเงาด้วนเครื่องพวกนี้ - ขั้นต่อไปจึงเบิกเนตรพระ โดยใช้อะลูมิเนียมบางๆ ทำเป็นเนตรพระ การหล่อพระเรซิ่นก็จะมีวิธีทำคล้ายกัน เพียงจะเปลี่ยนวัสดุจากทองเหลืองมาเป็นเรซิ่น การทำพระเรซิ่นจะใช้ระยะเวลาประมาณครึ่งวันต่อจำนวณพระ ๑ องค์
<TABLE width="75%" align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4 height=86><TABLE class=descrip height=48 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2 height=20><TABLE class=home height=23 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=home_head vAlign=center align=middle bgColor=#ffffff>เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว</TD><TD height=12> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=16 background=../images/b_right.jpeg height=20> </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=15 height=2></TD><TD vAlign=top background=../images/b_down.jpeg colSpan=2 height=2></TD><TD vAlign=top width=16 height=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=home colSpan=4 height=217> ลวดลายที่ปรากฏตามขอบโลหะสีทองขนาดเล็ก หลากลีลา หลายรูปแบบ อิงแอบกับความเป็นธรรมชาติ จัดเป็นหัตถกรรมล้ำค่าที่ผสานมากับวิถีชีวิตแห่งฝูงชน ผลิตผลทางภูมิปัญญาที่น่าภาคภูมิใจอันได้แก่ ลูกกระพรวน ซิงพลู ผอบ ขันน้ำ ตะบันหมาก ฯลฯ เหล่านี้มีเอกลักษณ์โดดเด่นจนเป็นที่รู้จักกันดีในนาม "เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว" บ้านปะอาว ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่มีจำนวนประมาณ 400 ครอบครัว ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีไปตามทางหลวงสายอุบลราชธานี-ยโสธร ประมาณ 17 กิโลเมตร และมีทางแยกจากถนนใหญ่ด้านขวามือถึงบ้านปะอาวประมาณ 3 กิโลเมตร ตามประวัติของหมู่บ้านได้รับคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า บรรพบุรุษแรก ๆ อพยพมาจากจังหวัดหนองบัวลำภูนานกว่า 260 ปี มาแล้ว อาชีพช่างฝีมือชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านปะอาวคือ การหล่อเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยทองเหลือง ซึ่งพวกช่างได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ กรรมวิธีการทำเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาวไม่ได้มีสูตรจำเพาะที่เขียนขึ้นเป็นตำรา แต่เป็นเพียงการสังเกตและจดจำต่อกันมารุ่นต่อรุ่นเท่านั้น เอกลักษณ์โดดเด่นอันเป็นลักษณะเฉพาะของการทำเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาวคือ วิธีการหล่อในแบบที่เรียกว่าขี้ผึ้งหาย หรือ แทนที่ขี้ผึ้ง การหล่อแบบนี้เป็นกระบวนการหล่อโลหะที่มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตรที่มีเสน่ห์และคุณค่าทางมรดกทางวัฒนธรรม์ ซึ่งนับวันจะหายากขึ้นทุกขณะ การหล่อเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาวนี้ เป็นการหล่อโลหะผสมที่ได้จากเศษทองแดง ทองเหลือง ตะกั่ว สังกะสี และอื่นๆ มีขั้นตอนการหล่อ ตามคำบอกเล่าของพ่อใหญ่ทอง ล้อมวงศ์ ช่างหล่อทองเหลืองบ้านปะอาว ดังนี้ </TD></TR><TR><TD colSpan=4 height=626><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=home colSpan=2 height=109> 1. การปั้นแม่พิมพ์ ขั้นตอนนี้ คือการปั้นหุ่นของแบบที่ต้องการหล่อหรือผลิตนั่นเอง โดยนำดินโพน (จอมปลวก) อันเป็นดินละเอียดที่หาได้ในเขตบริเวณบ้านปะอาว มาตำผสมกับขี้วัว (มูลวัว) ในสัดส่วนประมาณ 3 : 1 แล้วตำให้เข้ากัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่เหนียว เกาะตัวได้ดี และมีความแกร่ง เหมาะแก่การนำไป "เซี่ยน" (กลึง) และเมื่อเผาไฟแล้วจะแกะจากแม่พิมพ์ได้ง่าย เมื่อตำ "ดินโพน" ผสมกับขี้วัวจนเข้ากันละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว จึงนำไปปั้นหุ้มรอบแกนไม้ที่กลึงเป็นรูปทรงและขนาดต่างๆ ตามตัวแบบที่ต้องการ นำแม่พิมพ์ที่ปั้นแล้วไปตากแดดประมาณ 3-4 วัน เมื่อพิมพ์แห้งแล้วจึงนำไปใส่โฮงกลึงเพื่อกลึงหุ่นให้ได้ขนาดและรูปทรงที่ต้องการ ลักษณะการกลึงต้องอาศัยช่าง 2 คน คนหนึ่งเป็นคนดึงเชือกซึ่งพันอยู่กับไม้หมอนเพื่อให้หุ่นดินหมุน อีกคนทำหน้าที่กลึงโดยใช้เหล็กกลึง หรือไม้เหลาปลายแหลมติแต่งลวดลายตามที่ต้องการ หุ่นที่ผ่านการกลึงจะได้รูปทรงและขนาดที่พอเหมาะ ที่สำคัญผิวหุ่นจะเรียบเนียน</TD></TR><TR><TD class=home align=middle height=186> </TD><TD class=home align=middle height=186> </TD></TR><TR><TD class=home align=middle height=27>ตำดินเหนียวและมูลวัวเข้าด้วยกัน</TD><TD class=home align=middle height=27>ปั้นดินให้เป็นรูปตามต้องการ</TD></TR><TR><TD colSpan=2 height=263> 2.อุปกรณ์ปั้นแม่พิมพ์ ประกอบด้วย 1. ดินโพน (จอมปลวก) และมูลวัวใช้ผสมดินจอมปลวก 2. มอนน้อย (เครื่องกลึงเล็ก) สำหรับกลึงพิมพ์ ประกอบด้วยชิ้นส่วนง่ายๆ ที่ผลิตขึ้นใช้เอง ดังนี้ 2.1 โฮงเซี่ยน หรือ โฮงกลึง มีลักษณะเป็นไม้โค้งวางง้ำลงดิน 1 คู่ 2.2 ไม้เหยียบ เป็นไม้กลมปลายแหลม ยึดโฮงเซี่ยน 2.3 ไม้มอน เป็นไม้กลมขนาดเท่านิ้วก้อย เป็นแกนกลึงยึดโฮงเซี่ยน 2.4 เหล็กเซี่ยน หรือเหล็กกลึง สำหรับกลึงพิมพ์ดิน 2.5 เชือกดึง สำหรับพันเข้ากับไม้มอน แล้วดึงกลับไปกลับมาเวลากลึง 3. บั้งเดียก ทำจากไม้ไผ่กลวง มีกิ่งยื่นที่ปลายกระบอก สำหรับเป็นมือจับปลายกระบอกที่เป็นข้อของไม้ไผ่ เจาะรูตามขนาดที่ต้องการ กรุด้วยแผ่นโลหะ 4. สาก นิยมทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ลำดวน สำหรับอัดขี้ผึ้งในบั้งเดียกให้ออกเป็นเส้นขี้ผึ้ง 5. ลูกกลิ้ง ใช้สำหรับทำลวดลาย 6. อุปกรณ์ในการหลอมขี้ผึ้ง ประกอบด้วย กระทะ เตา ไม้พาย 7. พิมพ์ หรือแท่นพิมพ์ลวดลาย นิยมใช้เขาควายเป็นแท่นพิมพ์ 8. ขี้ผึ้งและส่วนผสม ประกอบด้วยชันและขี้สูด (ขี้สูด-ยางไม้ชนิดหนึ่ง เป็นส่วนผสมทำให้ขี้ผึ้งเหนียว) 9. โลหะที่ใช้ในการหลอม เป็นประเภททองแดง อะลูมิเนียม และทองเหลือง 10. อุปกรณ์ในการหลอมโลหะ เบ้าสำหรับหลอมโลหะ ทำด้วยดินผสมแกลบ เตา (ความร้อนสูง) มีประกอบรับอากาศเพื่อเพิ่มความร้อน </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=home colSpan=4 height=276><TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="19%" height=169></TD><TD class=home vAlign=top width="60%" rowSpan=2> 3. การเซี่ยน ขั้นตอน "เซี่ยน" ก็คือการกลึงนั่นเอง เมื่อหุ่นแม่พิมพ์แห้งแล้วก็จะนำไปทำการเซี่ยน หรือกลึง เพื่อตกแต่งรูปร่างตามต้องการ โดยช่างกลึง 2 คน คนหนึ่งทำหน้าที่ชักดึงเชือกที่พันอยู่กับแกนไม้ของหุ่นหรือพิมพ์ดินให้หมุน อีกคนหนึ่งทำหน้าที่กลึง หรือ เซี่ยน โดยใช้ไม้ที่เหลาปลายให้แหลม หรือไม้หนาปลายมน กลึงแต่งผิวดินให้ได้ขนาด รูปร่างตามที่ต้องการ 4. การเอาขี้ผึ้งพันพิมพ์ หรือ หุ้มเทียน เมื่อเซี่ยนได้รูปร่างและขนาดตามต้องการแล้วช่างก็จะนำเอาขี้ผึ้งซึ่งมีส่วนผสมของขี้ผึ้งชัน และขี้สูด ตามสัดส่วน 5 : 1 : 1 โดยน้ำหนัก การทำขี้ผึ้งให้เป็นเส้นนั้น กระทำได้โดยการนำขี้ผึ้งที่ผสมชันและขี้สูดที่หลอมให้อ่อนตัสพอประมาณเทใส่ลงไปในกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งปลายด้านหนึ่งมีหลอดโลหะกลวง (นิยมใช้สังกะสี) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่-เล็กตามเส้นเทียนที่ต้องการ ต่อให้ปลายสำหรับให้ขี้ผึ้งไหลออก เทขี้ผึ้งหลอมลงในกระบอกไผ่แล้วใช้ไม้เนื้อแข็งกลึงให้ได้ขนาดพอดีกับรูกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า "บั้งเดียก" ขี้ผึ้งผสมชันและขี้สูดที่มีความอ่อนตัวจะถูกอัด-ดันให้ไหลออกทางรูปลายกระบอกไม้ไผ่ ให้ไหลต่อเนื่องกันเป็นเส้นสั้น-ยามตามต้องการ เรียกว่า ขี้ผึ้งหรือเทียน จากนั้นก็นำเทียนขี้ผึ้งไปพันรอบพิมพ์เทียน พิมพ์ดินส่วนที่นูนมากต้องพันขี้ผึ้งให้หนา </TD><TD class=home align=middle width="21%" height=169></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="19%" height=80>หุ่นดินที่ตากแห้งแล้ว นำมาตกแต่งลวดลาย</TD><TD class=home vAlign=top align=middle width="21%" height=80>อัดขี้ผึ้งให้เป็นเส้นยาว ด้วยบั้งเดียก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=home align=middle width="21%" height=146> เคียนขี้ผึ้งให้รอบหุ่นดิน </TD><TD class=home colSpan=3 height=146> 5. ขางไฟ (อังไฟ) ตกแต่ง ปั้นลาย ในขั้นตอนนี้ เป็นการนำแม่พิมพ์ที่พันรอบด้ายเทียนขี้ผึ้งไป "ขางไฟ" เพื่อให้อ่อนตัว และตกแต่งพิมพ์ได้ง่าย บางทีต้องนำไป "เซียน" หรือกลึงตกแต่ง จากนั้นก็พิมพ์หรือแกะลวดลายต่างๆ ตามที่ต้องการลงบนแม่พิมพ์ขี้ผึ้ง 6. การพอกดินเหนียวรักษาลาย จากนั้นปั้นหรือแกะลวดลายบนขี้ผึ้งแล้ว ช่างจะใช้ดินเหนียวพอกหรือห่อหุ้มรอบแม่พิมพ์อีกชั้นหนึ่ง เพื่อรักษาลวดลายไว้ โดยเปิดช่องด้านบนเอาไว้เพื่อเป็นช่องสำหรับเทโลหะที่จะหล่อลงไปแทนที่ขี้ผึ้ง เพราะขี้ผึ้งจะถูกละลายด้วยความร้อนของโลหะที่หลอม </TD></TR><TR><TD class=home align=middle width="21%" height=146></TD><TD class=home align=middle width="38%" height=146></TD><TD class=home align=middle width="20%" height=146> </TD><TD class=home align=middle width="21%" height=146></TD></TR><TR><TD class=home vAlign=top align=middle width="21%" height=38>หุ่นที่พันเส้นขี้ผึ้งแล้ว จะนำมาตกแต่งให้เรียบ</TD><TD class=home vAlign=top align=middle width="38%" height=38>กลึงก่อนจะพิมพ์หรือแกะลาย</TD><TD class=home vAlign=top align=middle colSpan=2 height=38>แกะลวดลายบนขี้ผึ้งอีกครั้ง</TD></TR><TR><TD class=home colSpan=4 height=578><TABLE height=251 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=home vAlign=top width="71%" rowSpan=2> 7.เบ้าหลอมทองเหลือง เป็นเบ้าดินที่ทำจากส่วนผสมของดินและแกลบทนความร้อนสูงได้ดีมาก ขนาดบรรจุโลหะหลอมละลายได้ประมาณ 15 กิโลกรัม เมื่อช่างหล่อต้องการจะหล่อหลอมก็จะใช้เศษโลหะ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองเหลือง ตามสัดส่วนของแม่พิมพ์เครื่องใช้นั้นๆ เช่น ถ้าจะหลอมเต้าปูน ช่างก็จะใช้ทองเหลืองมากกว่าโลหะอื่นๆ ถ้าจะหล่อลูกกระพรวน ก็จะมีเศษเหล็กมากกว่าประเภทอื่น เมื่อจะหลอมโลหะได้ ก็จะใส่โลหะเหล่านั้นลงไปในเบ้าหลอม แล้วนำเบ้าหลอมไปวางไว้บนเตาหลอม เป่าลมด้วยสูบเข้าไปในเตาหลอมที่มีถ่านไม้ช่วยให้ความร้อนหรืออุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อโลหะหลอมละลายแล้ว ก็จำนำโลหะที่หลอมแล้วไปเทลงในแม่พิมพ์ (หุ่น) ที่เตรียมไว้ จากนั้นโลหะที่อุณหภูมิสูงก็จะเผาไหม้ขี้ผึ้งละลายไปในเนื้อดิน โลหะหลอมก็จะไหลเข้าไปแทนที่ขี้ผึ้ง 8. การแกะพิมพ์ เมื่อเททองเหลืองหรือโลหะเรียบร้อยแล้ว ช่างจะปล่อยทิ้งไว้จนโลหะเย็น จึงแกะดินที่พอกพิมพ์ออก ก็จะได้ภาชนะโลหะตามต้องการ </TD><TD class=home align=middle width="29%" height=177></TD></TR><TR><TD class=home align=middle width="29%" height=77>เบ้าหรือหุ่นที่แห้งแล้วเมื่อนำมาอังไฟขี้ผึ้งภายในจะไหลออกมา เกิดช่องว่างภายใน จากนั้นเททองเหลืองที่หลอมละลายลงไปแทนที่</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=home colSpan=2 height=53> 9. การเซี่ยนแบบโลหะ เมื่อแกะแบบและพิมพ์ออกแล้วหากพิมพ์โลหะผิวไม่เรียบก็จะนำรูปโลหะนั้นมาทำการ "เซี่ยน" หรือ กลึง โดยมีกรรมวิธีกระทำเช่นเดียวกับการ "เซี่ยน" พิมพ์ดินในขั้นตอนที่2 ที่กล่าวมาแล้ว </TD></TR><TR><TD align=middle></TD><TD align=middle></TD></TR><TR><TD class=home align=middle>ตกแต่งรายละเอียดผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองให่สมบูรณ์แบบ</TD><TD class=home align=middle>เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว หัตถศิลป์สูงค่าจากภูมิปัญญาโบราณ</TD></TR></TBODY></TABLE> การหล่อโลหะเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว เป็นงานหัตถกรรมที่ใช้ฝีมือและความชำนาญสูง งานฝีมือนี้นับวันแต่จะหดหายไปจากสังคม เพราะอนุชนรุ่นหลังไม่เห็นความสำคัญ จึงยากที่จะหาผู้เข้าไปรับการสืบทอดวัฒนธรรมการหล่อโลหะนี้ </TD></TR><TR><TD class=home colSpan=4 height=74>ที่มา : - คณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายจัดทำหนังสือ. อุบลราชธานี 200 ปี. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2535. - สารานุกรมไทยภาคอีสาน เล่ม 7. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวุฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542. - นิภาพร ทับหุ่น. เครื่องทองเหลืองหัตถศิลป์สูงค่าจากภูมิปัญญาโบราณ. กินรี 21,1 (มกราคม 2547)56-68. </TD></TR></TBODY></TABLE> ที่มา : http://palungjit.org/showthread.php?t=112767
Idea เยี่ยมเลยครับลุงชัยฯ ถ้าชิ้นงานหรือสินค้าใหม่ๆพร้อมและมีตลาดรองรับ เราอาจเอาไปจัดจำหน่ายเป็นสินค้า OTOP ก็ได้ครับ ในต่างจังหวัดการเปิดกลุ่มทำง่ายมาก เดี๋ยวช่วยกันพัฒนาออกแบบผลิตภ้ณฑ์ให้ครับ เรื่องปั้น เรื่องหล่อนี่น่าสนุกครับ ทองเหลืองหรือเรซิ่นเอามาทำอะไรได้เยอะมากๆครับ ลองคิดกันดูสร้างเสริมอาชีพและรายได้มาสู่กลุ่มได้ครับ
งานศิลป (ถ้าได้รับการแนะนำ ) คิดว่าทำได้ เพราะชอบและมีพื้นฐานอยู่บ้าง มีอะไรให้ช่วยบอกได้เลย ปาราวณาตัวค่ะ
ข้อมูลแน่นๆเพียบเลยครับ เป็นโครงการที่น่าสนใจครับ สร้างอาชีพให้ชาวบ้านเป็นอาชีพเสริมได้ เพิ่มเติมจากภาคเกษตรกรรมครับ ที่สำคัญต้องวางระบบการบริหารการจัดการให้ดี วางไลน์การผลิตให้มีการวางแผนประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การขอการช่วยเหลือและประชาสัมพันธ์จากภาครัฐในโครงการต่างๆ เช่น Sme sme Bank ทำโครงการให้เป็นโครงการที่All Win สร้างประโยชน์ต่อทุกฝ่ายเป็นสำคัญ ที่สำคัญที่สุด การตลาดต้องชัดเจน มีตลาดแน่นอน
+ ความคิดสร้างสรรค์ + กำลังคน + เงินทุน (SME bank) + เทคโนโลยี่ + การส่งเสริมการตลาด เป็นปัจจัยที่จำเป็นและต้องคิดครับ ถ้าคิดจะหาช่องทางสร้างกระแสสร้างรายได้หมุนเวียนในภาวะเศรษกิจลุ่มๆดอนๆ...พอเข้าที่พาคนมาดูงานอาชีพและสอนการผลิตไปด้วยคงจะดีไม่น้อย สำหรับการหมุนเงินทุนของกลุ่มคืนแบงค์เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ รายจ่าย-รายรับ คิดแล้วปวดหัวเล็กน้อย ต้องมาลองช่วยคิดทำโมเดลคำนวญตัวเลข อันนี้ไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่นะ ตามคุณเปิ้ลถาวรกลับมาช่วยท่าจะดี ใครมีความคิดดีๆ ถนัดด้านไหนเสนอกันดูครับ เชื่อว่าหลายคนก็มีภาระส่วนตัวกันอยู่ แต่การเพิ่มรายได้ไปทำที่บ้านกันด้วยคงจะดีครับ ปรึกษากับพี่คลิกมาลองแบ่งสายการผลิตดีมั๊ย ทำพระ ปั้นพระ ปิดทอง งาน Art พุทธศิลป์ไปทำกันดูครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ให้โอกาสยอมเสียสละเวลา เรามาช่วยกัน.คิดไปทำไปอย่าทิ้งกันนะ.เดี๋ยวมันก็เป็นรูปเป็นร่างเอง อยากให้สาวๆช่วยหาที่หล่อทองเหลืองงานเล็กๆ แถวๆลพบุรี,อ่างทอง,ชัยนาท,อุทัย เหมือนจะมีนะครับ มันผ่านตา ไม่รู้ที่ไหน งานแรกเราจ้างเขาทำตามแบบเราก่อน ลองตลาดดู แบบให้คุณ เอ๋,คุณFamnakub ลองคิดดูนะครับ แล้วค่อยคิดขยาย ต่อไปให้คุณไอยช่วยต่อ เรามีผู้ชำนาญการหลายคนหลายด้าน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
แบบและไอเดีย เก็บไว้ก่อนอย่าเพิ่งโพส เพราะมีคนอื่นเขาจะเอาไปทำเสียก่อน หาแหล่งผลิตใกล้ๆก่อนเดี๋ยวมาประชุมกันอีกที น่าจะสำเร็จถ้าทุกคนช่วยกัน
จัดเป็นคอร์สดีไม๊ แล้วไปเรียนรู้ทุกขั้นตอนด้วยกัน ถ้าเป็นวันอาทิตย์หล่ะเยี่ยม การทำเครือ่งทองเหลือง ยังมีรายละเอียดหลายอย่าง ที่ต้องศึกษาเรียนรู้จากท่านผู้ชำนาญ เทคนิคการใส่ส่วนผสม อัตรา ใส่อะไรก่อนหลัง เทคนิคของการพันหุ่น ลักษณะของขี้ผึ้งที่ใช้ เทคนิคของไฟ การเท รวมถึง การทำพิมพ์แกะลาย สำหรับกิ๊ก สนใจด้านทำพิมพ์แกะลาย โดยเฉพาะลายไทย ใครอยากสอนหางอึ่งบ้าง อิอิ อยากทำอยากทำ อยากทำ และอยากทำ การปิดทองพี่คลิกสอนมาแล้ว ลองมาแล้ว ก็สนุกดีอิอิ อยากทำอีกครั้ง
เอ๋ถนัดเรื่องโปรโมทสินค้าด้วยเว็บไซต์นะ และก็ออกแบบได้ ช่วยอันนี้ได้ค่ะ ถ้ามีสินค้าแล้ว เอ๋ทำเว็บแล้วทำการตลาดออนไลน์ได้ หาคนที่เขียน content ภาษาอังกฤษดีดี ฝรั่งเข้ามาดูแล้วสั่งซื้อออนไลน์ได้เลยนะคะ ง่ายมากๆ ถ้าแบบสินค้าดีละก็ ขายดีเทน้ำเทท่า แต่ถ้าทำจริง ต้องระวังเรื่องการเงินด้วยนิ เดี๋ยวขายดีจะตีกันเรื่องเงินมันไม่ดีนา คนที่รอซ้ำเขาจะใช้เป็นช่องได้นะ เป็นห่วง(ไปโน่นและ) เดี๋ยวเอ๋ไปช่วยหลวงพ่อวิชญ์ฯซ่อมพระต้นเดือนหน้า จะไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากท่าน น่าจะได้อะไรดีๆเยอะค่ะ
เป็นกรณีศึกษานะคะ ที่บ้านเป็น otop มั่นคงระดับหนึ่ง มีความต้องการได้กลุ่มเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ ก็ตั้งกลุ่มให้ชาวบ้านโดยเน้นผู้ไม่มีงานทำเป็นหลัก บางคนไม่มีพื้นฐานเลย สอนฟรี วัสดุฟรี ไม่มีค่าลงทะเบียน มีอาหารกลางวันแบ่งกันกินตามสภาพบ้านนอก สอนทุกอย่างไม่แบ่งแผนกเพื่อให้แต่ละคนทำเองได้แบบครบวงจร ผลงานผ่านการประกวดได้รางวัล ได้จัดแสดงที่เมืองทอง ได้ลงหนังสือ เส้นทางเศรษฐี ทางกลุ่มหอบเอกสารไปกู้ sme โดยทางเรารับประกันว่าเรารับซื้อผลงานของกลุ่มแน่นอน ( แต่ไม่ได้ค้ำประกันเงินกู้) bankขอดูorder ย้อนหลัง 6เดือน ซึ่งจริงๆแล้วกลุ่มต้องการเงินลงทุน ไม่ใช่เงินขยายกิจการ สรุปbankไม่อนุมัติ ได้อบต.อุดหนุนต่อเพราะอยากให้กลุ่มยืนได้จะได้ก้าวต่อ. แต่สุดท้ายกลุ่มปิด เพราะ ตอนที่ฝึกใช้ของฟรี วัสดุ อุปกรณ์ น้ำ ไฟ ฟรี ต้นทุนไม่มี ขายได้แบ่งในกลุ่ม และที่สำคัญคนเก่งไม่อยากอุ้มคนไม่เก่งที่ไม่ยอมพัฒนาแต่ต้องการรายได้เท่ากัน ปัญหาเรื่องเงินเกิด สุดท้ายแยกกันทำตามกำลังตัวเอง -ขอทำส่งไม่เอากลุ่ม บางคนประกาศเลิกเป็นเพื่อนกัน เศร้ามาก... เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นจากประสพการณ์การทำงาน ไม่ใช่ทฤษฏี เพราะไม่มีความรู้ทางธุกิจ ทำอย่างที่คิดว่าน่าจะเป็นคือ การรวมกลุ่มเพื่อชาวบ้านจริงๆนั้นเกิดยาก จะเกิดได้ต้องมีผู้นำที่สายป่านยาวพอสมควร ต้องพร้อมจ่ายก่อนไม่ว่าลูกสมาชิกเปิดเทอม หรือเจ็บป่วย ทางกลุ่มต้องการอะไร ต้องมีคนจัดการให้ ต้องดูแลตลอดต้องลงไปจริงๆ ส่วนใหญ่ของotopปัจจุบัน มาจากเจ้าของเดียวแต่มีสมาชิกทำของส่งให้แบบค่าจ้าง ตำแหน่งต่างๆประธาน เลขา จัดตั้งทั้งน้านนนน ย้ำเป็นกรณีศึกษาเท่านั้นค่ะ
ที่คุณ Famnacub บอกมาเป็นเรื่องจริงเลยครับ ส่วนใหญ่หลายกลุ่มไปไม่รอดเพราะเหตุนี้ ที่นี่ก็มีสินค้า OTOP 4 ดาวเหมือนกันใช้ระบบเจ้าของเดียวแต่มีสมาชิกทำของส่งให้แบบค่าจ้าง อยู่ได้เพราะมีความรับผิดชอบแบบเบ็ดเสร็จ แบบกลุ่มชาวบ้านถ้าไม่มีแกนนำที่มีสายป่านยาวๆ มักมีปัญหาเรื่องเงินหมุนเวียนต้องพึ่ง Bank เสมอ สุดท้ายก็มีหนึ้สินรุงรังจนหัวหน้ากลุ่มท้อถอยและปิดกลุ่มไปจริงๆครับ เมืองไทยอาจยังไม่พร้อมนักกับระบบอุดมคติแบบนี้ ที่จะมีคนเก่งๆคอยชี้แนะเอาใจใส่และส่งเสริมอย่างจริงจัง การออกแบบพัฒนาสินค้าให้สู้กับตลาดภายนอกได้ก็เป็นเรื่องจำเป็นอีกเรื่องนึงครับ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือเรื่องความสร้างสรรค์ ความมีคุณธรรม ความไม่เห็นแก่ตัว ความเข้าใจในระบบ..จะมีสักกลุ่มมั๊ยนะ อาจเป็นแถวๆนี้ก็ได้ครับ