สติปัฏฐาน 4 ข้อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 12 พฤษภาคม 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ้างอิงที่ *

    * ข้อความว่า "กายในกาย" นี้ อรรถกถาอธิบายไว้ถึง ๔-๕ นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสนกัน คือ ตามดูกายในกาย ไม่ใช่ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม

    ในกาย อีกอย่างหนึ่งว่า ตามดูกายส่วนย่อย ในกายส่วนใหญ่ คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่าทั้งหมดนั้นไม่มีอะไร นอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป ไม่มี นาย ก. นาง ข. เป็นต้น เป็นการวิเคราะห์หน่อยรวมออก หรือคลี่คลายความเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับลอกใบกล้วยและกาบกล้วย ออกจากต้นกล้วย จนไม่เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้เป็นต้น

    (เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)
     
  2. ZIGOVILLE

    ZIGOVILLE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +792
    เราคือ "สติ" มีหน้าที่เป็นผู้ดู รู้ และเห็นฐานทั้ง ๔ คือ "กาย เวทนา จิต และธรรม" ตามความเป็นจริงว่า "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป" อยู่ทุกขณะจิต
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ก่อนถึงตอนหลักปฏิบัติของหัวข้อกระทู้นี้ ขอแทรกตัวอย่างบทเรียนให้ผู้สนใจได้ศึกษาประกอบไปด้วย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2015
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...........................ปัญญาที่ บอกว่า ทำแล้วหลง คงไม่ใช่ปัญญาจริงละมั้งครับ...............ส่วนมากในท้ายพระัสูตรของ มหาสติปัฐฐาน จะลงท้ายว่า----"ก็แหละ สติ ว่า กาย มีอยู่ของเธอนั้น เป็นสติที่ดำรงไว้เพียงเพ่ื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ ตัณหาและทิฐฐิ อาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรอะไรในโลก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปรกติพิจารณษเห็น กายในกายอยู่ แม้ อาการอย่างนี้"------หรือ พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป้นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นกาย(เวทนา จิต ธรรม)ในกาย(เวทนา จิต ธรรม)อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้:cool: จะเห็นได้ว่า ท้ายพระสูตร ได้กล่าวถึง การไม่มีความยินดี ยินร้ายในโลกเป็นหลัก...สำคัญ มากกว่า การพิจารณาแล้ว เห็นอะไร ได้อะไร ที่ จะทำให้ หลงไป เพี้ยนไป(อภิชฌาและโทมนัส)
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    คุณ paetrix ปฏิบัติยังไง (ทำยังไง) ครับ
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สังเกตเห็นไหม จั๊บว่า

    คำถาม ไม่ได้ถาม เพื่อ หาจุดยุติ

    แต่เป็น คำถาม ที่เปิดทางให้ จิตตน ชะเง้อ ชะแง้ รอที่จะได้ ตั้งคำถามต่อ

    อาการ ชะเง้อ ชะแง้ อย่างคน หิว กระหาย ที่จะได้ถามต่อ

    ต้องบอกไหมฮับ ว่าเป็น อาการของจิต สัตว์ ภพ ภูมิ ไหน มือใหญ่แค่ไหน
    คอยาวแค่ไหน ปากหละ จุ๊ดจู๋ หรือว่า กว้าง ลิ้นสั้น หรือว่า ยาว

    ฮิวววววส์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2015
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ............................ผมจะ ไม่ตอบการปฎิบัติครับ.... แต่อย่างนึงคือ ไม่ได้ รีบร้อนเอาผลการปฎิบัติในเร็ววัน....ส่วนตัวคิดว่า ตวามเข้าใจจะเพิ่มขึ้นจากจุดเริ่มต้นจะมากจะน้อย ต้อง มี สัทธาในการภาวนาเป็นจุดเริ่ม สิ่งนี้ จะนำการภาวนาให้ รัน ไป จะช้าจะเร็ว แล้วแต่ธรรมชาติ คน:cool:
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ส่วนใหญ่สัตว์คอสั้น มักไม่ชะเง้อดูอะไรรอบๆตัว

    และไม่เคยผจญกับความคิดตนเอง ว่าขณะนั้น มันคล้อยตามความคิด (สัตว์) ผู้ไม่เคยปฏิบัติจะไม่เข้าใจ คริกๆๆ
     
  9. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +969
    ข้อ 4 ธรรมานุปัสสนาวิปัสสนากรรมฐาน อธิบายว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่อัตตา เป็นอนัตตา คือรูปร่างกายไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา ไม่มีแก่นแกนที่แท้จริง
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สังเกตหลักการลงมือปฏิบัติ (ต่อเลย)

    ก. กระบวนการปฏิบัติ

    ๑. องค์ประกอบ หรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัติ นี้ มี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยสังเกต ตามดูรู้ทัน) กับ ฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกสังเกต ตามดูรู้ทัน)

    ก. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ คือ สภาวะ ที่ถูกมอง หรือถูกตามดูรู้ ทัน ได้แก่ สิ่งธรรมดาสามัญ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่กับตัวของทุก คนนั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิด ต่างๆ ที่เป็นปัจจุบัน คือกำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

    ข. องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ องค์ธรรมที่ถึงที่ทันอยู่ต่อหน้ากับสิ่ง นั้นๆ ไม่คลาดคลา ไม่ทิ้งไป คอยตามดูรู้ทัน เป็นองค์ธรรมของสติปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ

    สติ เป็นตัวดึงตัวเกาะจับสิ่งที่จะมองจะดูจะรู้เอาไว้ สัมปชัญญะ คือ ปัญญา ที่รู้ชัดต่อสิ่งหรืออาการ ที่ถูกมอง หรือตามดูนั้น โดย ตระหนักว่า คืออะไร เป็นอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร เช่น ขณะ เดิน ก็มีสติให้ใจอยู่พร้อมหน้ากับการเดิน และมีสัมปชัญญะที่ รู้พร้อมอยู่กับตัวว่า กำลังเดินไปไหน อย่างไร เพื่ออะไร รู้ ตระหนักภาวะและสภาพของผู้เดิน และสิ่งที่เกี่ยวข้องในการเดินนั้น เป็น ต้น เข้าใจสิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความ รู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ เป็นต้นของตน เข้าไปปะปนหรือปรุงแต่ง

    มีข้อควรระวังที่ควรย้ำไว้ เกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่อาจเป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดพลาดเสียผลได้ กล่าวคือ บางคนเข้าใจความหมายของคำแปล “สติ” ที่ว่า ระลึกได้ และ “สัมปชัญญะ” ที่ว่า รู้ตัว ผิดพลาดไป โดยเอาสติมากำหนดนึกถึงตนเอง และรู้สึกตัวว่า ฉันกำลังทำนั่นทำนี่ กลายเป็นการสร้างภาพตัวตนขึ้นมา แล้วจิตก็ไปจดจ่ออยู่กับภาพตัวตนอันนั้น เกิดความเกร็งตัวขึ้นมา หรืออย่างน้อยจิตก็ไม่ได้อยู่ที่งาน ทำให้งานที่กำลังทำนั้น แทนที่จะได้ผลดี ก็กลับกลายเป็นเสียไป

    สำหรับคนที่เข้าใจผิดเช่นนั้น พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้ การคุมจิตไว้กับอารมณ์ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ หรือคุมจิตไว้ในกระแสของการทำกิจ และมองความหมายของสัมปชัญญะในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำ กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าเราทำนั่นทำนี่) ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่ทำ) ไม่ใช่นึกถึงตัวตน (ผู้ทำ) ให้สติดึงใจไว้ให้ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ หรือกำลังเป็นไปจนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือตัวผู้ทำเลย คือใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่าตัวฉัน หรือความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

    ๒. อาการที่ว่าตามดูรู้ทัน มีสาระสำคัญอยู่ที่ ให้รู้เห็นตามที่มันเป็นในขณะนั้น คือ ดู – เห็น – เข้าใจ ว่าอะไร กำลังเป็นไปอย่างไร ปรากฏผลอย่างไร เข้าไปอยู่ต่อหน้า หรือพร้อมหน้า รับรู้ เข้าใจ ตามดูรู้มันไป ให้ทันทุกย่างขณะเท่า นั้น ไม่สร้างกิริยาใดๆ ขึ้นในใจ ไม่มีการคิดกำหนดค่า ไม่มีการคิดวิจารณ์ ไม่มีการวินิจฉัยว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นต้น ไม่ใส่ความรู้สึก ความโน้มเอียงในใจ ความยึดมั่นต่างๆลงไปว่า ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ เป็นต้น เพียงเห็นเข้าใจตามที่มันเป็น ของ สิ่งนั้น อาการนั้น แง่นั้นๆเองโดยเฉพาะ ไม่สร้างความคิดผนวกว่าของเรา ของเขา ตัวเรา ตัวเขา นาย ก. นาย ข.เป็นต้น

    ตัวอย่าง เช่น ตามดูเวทนาในใจของตนเอง ขณะนั้น มีทุกข์เกิดขึ้น ก็รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร กำลังจะหมดสิ้นไปอย่างไรหรือตามดูธรรมารมณ์ เช่น มีความกังวลใจเกิดขึ้น เกิดความกลุ้มใจขึ้น ก็ตามดความกลุ้มหรือกังวลใจนั้นว่า มันเกิดขึ้นอย่างไร เป็นมาอย่างไร หรือเวลาเกิดความโกรธ พอนึกได้ รู้ตัวว่า โกรธ ความโกรธก็หยุดหายไป จับเอาความโกรธนั้นขึ้นมาพิจารณาคุณ โทษ เหตุเกิด และอาการที่มันหายไป เป็นต้น กลายเป็นสนุกไปกับการศึกษาพิจารณาวิเคราะห์ทุกข์ของตน และทุกข์นั้นจะไม่มีพิษสงอะไรแก่ตัวผู้พิจารณาเลยเพราะเป็นแต่ตัวทุกข์เอง ล้วนๆ ที่กำลังเกิดขึ้น กำลังดับไป ไม่มีทุกข์ของฉัน ฉันเป็นทุกข์ ฯลฯ

    แม้แต่ความดี ความชั่วใดๆ ก็ตาม ที่มีอยู่หรือปรากฏขึ้นในจิตใจขณะนั้นๆ ก็เข้าเผชิญหน้า ไม่เลี่ยงหนี เข้ารับรู้ตามดูมันตามที่มันเป็นไป ตั้งแต่มันปรากฏตัวขึ้น จนมันหมดไปเอง แล้วก็ตามดูสิ่งอื่นต่อไป เหมือนดูคนเล่นละคร หรือดุจเป็นคนข้างนอก มองเข้ามาดูเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นท่าทีที่เปรียบได้กับแพทย์ที่กำลังชำแหละตรวจดูศพ หรือนักวิทยาศาสตร์ ที่กำลังสังเกตดูวัตถุที่ตนกำลังศึกษา ไม่ใช่ท่าทีแบบผู้พิพากษา ที่กำลังพิจารณาคดี ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย เป็นการดูแบบสภาววิสัย (objective) ไม่ใช่สกวิสัย (subjective)

    อาการที่เป็นอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาเช่นนี้ มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือมีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบัน กล่าวคือ สติตามทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ หรือกระทำอยู่ขณะนั้นๆ แต่ละขณะๆ ไม่ ปล่อยให้คลาดกันไป ไม่ติดข้องค้างคา หรืออ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้ว ไม่ลอยคว้างไปข้างหน้า เลยไปหาสิ่งที่ยังไม่มี และยังไม่มีไม่เลื่อนไกลถอยลงสู่อดีต ไม่เลือนลอยไปในอนาคต

    หากจะพิจารณาเรื่องราวในอดีต หรือสิ่งที่พึงทำในอนาคต ก็เอาสติกำหนดจับสิ่งนั้นมาให้ปัญญาพิจารณาอย่างมีความมุ่งหมาย ทำให้เรื่องนั้นๆกลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันของจิต ไม่มีอาการเคว้งคว้างเลื่อนลอยละห้อยเพ้อ ของความเป็นอดีตหรืออนาคต

    การเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันเช่นนี้ ก็คือการไม่ตกเป็นทาสของตัณหา ไม่ถูกตัณหาล่อไว้ หรือชักจูงไปนั่นเอง แต่เป็นการเป็นอยู่ด้วยปัญญาทำให้พ้นจากอาการต่างๆของความทุกข์ เช่น ความเศร้า ซึม เสียดาย ความร้อนใจ กลุ้ม กังวล เป็นต้น และทำให้เกิดความรู้ พร้อมทั้งความปลอดโปร่งผ่องใสเบาสบายของจิตใจ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    [​IMG]

    หลักใหญ่ คือ จงกรม (อิริยาบถยืนก็แฝงอยู่กับการเดิน) กับ นั่งกำหนดรู้อารมณ์ที่ใช้เป็นกัมมัฏฐาน

    [​IMG]

    อิริยาบถย่อยอื่นๆ เช่น การทำงานประจำวันก็ด้วย คือ มีสติอยู่กับสิ่งที่ทำในขณะนั้นๆ
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .........................ถามคำ ถ้า กำลังจะไปตีกระบาลคน...จะ ดูแบบไม่พิพากษายังไง สภาววิสัย(objecttive) ยังไง ครับ...คือ ยังไง ดู จนกระทำเสร็จเลยหรือไง ครับ:cool:
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เมื่อปฏิบัติถูกต้อง คือ แก้ปัญหาอุปสรรคผ่านๆๆได้แล้วๆๆ ผลก็เกิด

    ข. ผลของการปฏิบัติ

    ๑. ในแง่ความบริสุทธิ์ เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่ต้องการอย่างเดียว และสัมปชัญญะรู้เข้าใจสิ่งนั้นตามที่มันเป็น ย่อม เป็นการควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ และในเมื่อวิเคราะห์มองเห็นสิ่งเหล่านั้น เพียงแค่ตามที่มันเป็น ไม่ใส่ความรู้สึก ไม่สร้างความคิดคำนึง ตามโน้มเอียง และความใฝ่นิยมต่างๆ ที่เป็นสกวิสัย (subjective ) ลงไป ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลาย เช่น ความโกรธ จะเกิดขึ้นได้ เป็นวิธีกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะใหม่ ไม่ให้เกิดขึ้น

    ๒. ในแง่ความเป็นอิสระ เมื่อมีสภาพจิตที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ ๑ แล้วก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย โดยจะไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบเพราะอารมณ์เหล่านั้น ถูกใช้เป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิจารณาแบบสภาววิสัย (objective) ไปหมด เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะ ที่เป็นสกวิสัย (subjective) สิ่งเหล่านั้น ก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัย แก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆ ของเขา จะหลุดพ้นจากการถูกบังคับด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับ หรือแรงจูงใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious drives หรือ unconscious motivations) เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย (คือไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐิ) ไม่ถือมั่นสิ่งใดในโลก

    ๓. ในแง่ของปัญญา เมื่อยอยู่ในกระบวนการทำงานของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด เพราะจะไม่ถูกเคลือบหรือหันเหไปด้วยความรู้สึกความเอนเอียง และอคติต่างๆ ทำให้รู้เห็นตามที่มันเป็น คือรู้ตามความเป็นจริง

    ๔.ในแง่ความพ้นทุกข์ เมื่อจิตอยู่ในภาวะที่ตื่นตัวเข้าใจสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิตอยู่ได้เช่นนี้ ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวกหรือลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ จึงไม่มีทั้งความรู้สึกในด้านติดใคร่กระหายอยาก (อภิชฌา) และความขัดเคืองกระทบใจ (โทมนัส) ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆเป็นภาวะจิต ที่เรียกว่าพ้นทุกข์ มีความโปร่งเบาผ่อนคลายสงบผ่องใสเป็นตัวของตัวเอง อย่างไม่มีขีดคั่นพรมแดน

    ผลที่กล่าวมาทั้งหมด ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่แยกส่วนในแง่ต่างๆ เมื่อสรุปตามแนวปฏิจจสมุปบาท และไตรลักษณ์ก็ได้ความว่า เดิมนั้น มนุษย์ไม่รู้ว่าตัวตนที่ยึดถือไว้ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแสของรูปธรรมนามธรรมส่วนย่อยจำนวนมากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกันกำลังเกิดขึ้น และเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา

    เมื่อไม่รู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อถือ ความเห็น การรับรู้ เป็นต้น ในขณะนั้นๆว่าเป็นตัวตนของตนแล้ว ตัวตนนั้นก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไปรู้สึกว่า ฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่ ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฯลฯ

    การรู้สึกว่า ตัวฉันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อยในขณะนั้นๆ หลอกเอานั่นเอง เมื่ออยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิดพลาด จึงถูกชักจูงบังคับ ให้คิดเห็นรู้สึกและทำการต่างๆไปตามอำนาจของสิ่งที่ยึดว่าเป็นตัวตนของตนใน ขณะนั้นๆ

    ครั้นมาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรม แต่ละอย่างที่เป็นส่วนประกอบของกระแส กำลังเกิด ดับอยู่ ตามสภาวะของมันเมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแส แยกแยะออก มองเห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ มองเห็นอาการที่ดำเนินสืบต่อกันเป็นกระบวนการแล้วย่อมไม่ถูกหลอกให้ยึดถือ เอาสิ่งนั้นๆ เป็นตัวตนของตน และสิ่งเหล่านั้น ก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ในบงการของมัน

    ถ้าการมองเห็นนี้เป็นไปอย่างลึกซึ้ง แจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่เรียกว่าความหลุดพ้น ทำให้จิตตั้งต้นดำเนินไปในรูปใหม่ เป็นกระแสที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระ ไม่มีความเอนเอียงยึดติดและเงื่อนปมต่างๆ ในภายใน เกิดเป็นบุคลิกภาพใหม่

    กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นสภาพของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ดุจร่างกายที่เรียกว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ เพราะองค์อวัยวะทุกส่วนปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องเต็มที่ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่องอยู่เลย

    โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการเป็นโรคต่างๆ ที่มีในจิต กำจัดสิ่งทีเป็นเงื่อนปม เป็นอุปสรรคถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป ทำให้ปลอดโปร่ง พร้อมที่จะดำรงชีวิตอยู่เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลก ด้วยความเข้มแข็งและสดชื่นต่อไป

    เรื่องนี้ อาจสรุปด้วยพุทธพจน์ดังต่อไปนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย โรคมีอยู่ ๒ ชนิด ดังนี้ คือ โรคทางกาย ๑ โรคทางใจ ๑ สัตว์ทั้งหลาย ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลาทั้งปี ก็มีปรากฏอยู่ ผู้ที่ยืนยันได้ว่า ตน ไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลา ๒ ปี...๓ ปี...๔ ปี...๕ ปี...๑๐ ปี...๒๐ ปี...๓๐ ปี...๔๐ ปี...๕๐ ปี...๑๐๐ ปี ก็มีปรากฏอยู่ แต่สัตว์ ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางจิตใจเลย แม้ชั่วเวลาเพียงครู่หนึ่งนั้น หาได้ยากในโลก ยกเว้นแต่พระขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะแล้ว) ทั้งหลาย"

    (องฺ.จตุกฺก.21/157/191)

    พระสารีบุตร: แน่ะท่านคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านก็บริสุทธิ์เปล่งปลั่ง วันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถา ในที่เฉพาะหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหรือ ?

    คฤหบดีกุลบิดา : พระคุณเจ้าผู้เจริญ ไฉนจะไม่เป็นเช่นนี้เล่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงน้ำอมฤตรดข้าพเจ้าแล้ว ด้วยธรรมีกถา

    พระสารีบุตร: พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงน้ำอมฤตรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไร?

    คฤหบดี: พระคุณเจ้าผู้เจริญ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ชราแล้ว เป็นคนแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยมานาน ร่างกายก็มีโรครุมเร้า เจ็บป่วยอยู่เนืองๆ อนึ่งเล่า ข้าพระองค์มิได้ มีโอกาสเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า และพระภิกษุทั้งหลาย ผู้ช่วยให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดประทานโอวาทสั่งสอนข้าพระองค์ ในข้อธรรมที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ชั่วกาลนาน

    พระพุทธเจ้า: ถูกแล้ว ท่านคฤหบดี เป็นเช่นนั้น อันร่างกายนี้ ย่อมมีโรครุมเร้า ดุจดังว่าพองไข่ ซึ่งผิวเปลือกห่อหุ้มไว้ ก็ผู้ใด ที่บริหารร่างกายนี้อยู่ จะยืนยันว่าตนไม่มีโรคเลย แม้ชั่วครู่หนึ่ง จะมีอะไรเล่านอกจากความเขลา เพราะเหตุฉะนั้นแล ท่านคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกว่า ถึงแม้ กายของเราจะมีโรครุมเร้า แต่ใจของเราจักไม่มีโรครุมเร้าเลย”

    พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมฤตรดข้าพเจ้า ด้วยธรรมีกถา ดังนี้แล

    (สํ.ข.17/2/2)
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พิสูจน์เองเลย คือ ไปตีเขาก่อนแล้วจะรู้เองเห็นเองเลย คิกๆๆ(deejai)
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สภาวะวิสัย ที่มีรากศัพท์มาจาก ภาษาอังกฤษ objective อันนี้เป็นสำนวนแปล
    ธรรมของ ท่าน ป.อ.ปยุต ตโต

    และ พระท่านอื่นๆ ก็อนุโลมใช้


    ในแง่ขณะปฏิบัติ ก็จะต้องจำแนกออกเป็น สองเหตุการณ์ สำหรับผู้ฝึกใหม่ๆ ยังเปรียบเทียบ
    กับ พวกที่ฝึกจนมีญาณสัมปยุต

    พวกที่ฝึกแบบเปรียบเทียบ อันนี้ ก็หัวหกก้นขวิดกันไป ตีเขาป๊าป เกิดเวรกรรมหนัก
    โดยไม่ต้องสงสัย

    แต่สำหรับพวก ตรุณวิปสัสสนาญาณ มันจะมี บางจังหวะของการฝึก ที่ใช้ "อนุโลมญาณ"

    คือ จิตได้ยินเสียวิ้งๆที่หู มือก็แล่นวั๊บออกไป โดยมีการกำหนดรู้ กาย ตามไปด้วย
    และระลึกได้ว่า นี่คือ กริยาตียุง แต่ ห้ามไม่ได้เสียแล้ว ยุงอาจจะตายคามือ หรือรอด

    ซึ่ง การอนุโลมตามแบบ objective แบบนี้ หากปฏิบัติจริง จิตมันจะสาวไปหาเหตุ
    ของจิตมันเคลื่อน ซึ่ง จะทราบว่า เพราะ " หูกระทบเสียง " จิตเกิดที่หู แต่ไม่ดับ
    แล้วอุปทานแทรก ทำให้กายเคลื่อน แสดงอริยสัจจ ให้เห็น


    กรณีที่ จิตตั้งมั่นดี ก็เหมือนที่ หลวงตามหาบัวกล่าว หลวงตาเจอกิ่งไม้ ก็กระโดดโหยง
    แต่ ทั้งหมดทั้งปวง มีสติตลอด !!!

    [ แน่นอนหละ ปุถุชน ฟังก็อย่างหนึ่ง คนมีธรรมฟังก็อย่างหนึ่ง ]
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ต้องขอยกพระสูตรนึงมาให้พิจารณา ครับ....คนที่ บอกตนว่า เข้าสู่การภาวนา ย่อมที่จะ มี.....พระวจนะ" คบสัปบุรุษ ยังให้ ฟังพระสัทธรรม ยังให้ศรัทธา ยังให้โยนิโสมนสิการ ยังให้ สติสัมปชัญญะ ยังให้ อินทรีย์สังวรณ ยังให้ สุจริต3(กาย วาจา ใจ) ยังให้ สติปัฐฐานสี่ ยังให้โพชฌงค์เจ็ด ยังให้ วิชชาและวิมุติ บริบูรณ์:cool: หากเหก็นว่า ยกมาซ้ำบ่อยบ่อยต้องขออภัย....แต่ คงทำให้เห็นภาพ รวมอะไรได้บ้างไม่มากก็ น้อยนะครับ
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    บอกความหมายสติสัมปชัญญะ เป็นต้น วิชชา และวิมุตติเป็นที่สุดมาดูหน่อยสิครับ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    เอกวีร์ปฏิบัติยังไง (ทำยังไง) ขอรับ
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..ยังไงก็ตามพระสูตร คือ ความสมบูรณ์แบบ ที่ ฟังแล้ว สามารถโยนิโสมนสิการได้...ส่วนการภาวนาจริงก็ ล้มลุกคลุกคลานกันไป.........ถามจัง....สติสัมปชัญญะ ตอนต้น คือ เริ่มเข้าใจว่า อะไรกาย และ ใจ หรือ แยก รูปนาม อารมณ์ ที่จรมา หรือเริ่ม เข้าใจขันธิื5 เป็นเบ้ืองต้น อันนี้ ผมไม่ได้ แปลพระสูตร นะ ผมตอบ ธรรมดาธรรมดา....วิชชา วิมุติ ก็ คือ วิชชาและ วิมุติ:cool:
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    เห็นพูดบ่อยๆ โยนิโสมนสิการ อะไรยังไครับโยนิโสมนสิการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...