หลังจากที่ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่องกรรมฐาน ๔๐ มาโดยคร่าวๆแล้ว และพยายามศึกษารายละเอียดของกสิณ ๑๐ ผมจึงเลือกกสิณเป็นฐานใน การทำสมาธิ การฝึกของผมนั้นเป็นไปอย่างไม่มีทิศทางในช่วงแรกชอบไปหมด แต่ตั้ง อาโล อาโป วาโย เตโช โลหิต ปฐวี จึงยึดแค่กองเดียวคือ เตโชกสิณ หลังจากฝึกแบบผิดๆถูกๆจากการสอบถามฟังคำแนะนำมาพอสมควร ก็เริ่มเพ่งเปลวเทียนช่วงสัปดาห์แรกของการฝึกนั้น นิมิตรที่เกิดขึ้นเป็นจุดสีแดงพยายามลอยตัวขึ้นไปเรื่อยๆ นานๆเข้าก็เริ่มดวงใหญ่ขึ้นซึ่งจัดเป็นกสิณโทษ บางครั้งนิมิตรนั้นก็เปลี่ยนเป็นตัวเลขบ้าง เป็นสีขาวบ้าง ชมพูบ้าง ม่วงบ้าง แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยได้มีเวลาฝึกเพราะสถานที่ไม่ค่อยอำนวยความสะดวก การฝึกจึงเป็นไปอย่างล่าช้า ต่อมาก็หาหนังสือเกี่ยวกับกสิณมาอ่าน ซึ่งเข้าใจว่า เราต้องเรียนรู้ธรรมชาติของเปลวไฟนั้นให้ได้เสียก่อน ไม่ใช่หวังแค่นิมิตรไว้เพ่งอย่างเดียวเหมือนๆตอนแรกของการฝึก ก็เลยลองเพ่งเทียนใกล้ๆดูความเป็นไปของเปลวเทียนนั้น จากนิมิตรที่ติดอยู่แค่ ดวงไฟเล็กๆสีแดงลอยตัวขึ้นมาเหมือนพลุ ก็เป็นมาเป็นดวงนิมิตรสีเหลือง... ผม จขกท. ก็ยังฝึกโดยยังไม่มีครูบาอาจารย์ที่แนะนำแบบตัวต่อตัว มีแต่คิดว่าให้แสงเทียนเป็นครูเราสอนเราก็พิจารณาตามสภาพที่เห็น ยังไงหากมีการฝึกที่ผิดพลาดประการใดก็ขอให้ชี้แนะด้วยครับ
ขอถามว่าต้องการผลทางด้านไหนครับ. ๑.อฐิษฐานจิตเพื่อให้เกิดเป็นการรับรู้ภายในหรืออภิญญาจิตแบบต่าง ตรงนี้ถ้าสำเร็จจะเกิดทิพย์จักขุใช้งานพวกการรับรู้ภายในแบบต่าง ในระดับตาเปล่าในสภาวะแวดล้อมปกติทั่วๆไปครับ แต่มาทางนี้ จะต้องมีวิสัยหรือฉลาดในการอฐิษฐานจิตด้วยการยึดบารมีพระ เป็นหลักเอาไว้เป็นทุนเดิมครับ ๒.ด้านพลังงานจากกสิณกองต่างๆ เพื่อเอาพลังงานจากกองกสิณ ที่ได้มาใช้งานได้จริง ตรงนี้จะข้ามไปโหมดวิญญานธาตุได้ครับ และต้องสร้างบารมี สร้างพันมิตรทางภพภูมิไว้เป็นทุน รวมทั้งจะต้องเตรียมรับมือกับบรรดา ผู้มีกำลังจิตนิสัยไม่ดีทั้งหลาย ภพภูมิมีฤิทธิ์นิสัยแย่ๆทั้งหลาย และเข้าใจเรื่องภพภูมิต่างๆพอควรครับ คือจะเข้าใจเรื่องเส้นสายพลังงาน เรื่องกำลังจิตต่างๆของพวกนั้นประมานนี้ ปล.ตอนนี้วิธีการของคุณมันอยู่ในวิถีข้อที่ ๑ อยู่ น่าจะเพราะท่านที่เคยแนะนำคุณน่าจะมาทางสายวิชาพิเศษ คือเน้นใช้งานจากการเข้าถึงอารมย์และอฐิษฐานจิตครับ ยังไงลองพิจารณาดูก่อนได้ครับ. เทคนิคนะครับการจะฝึกจะสำเร็จเป็นผลหรือใช้งานได้จริงๆแบบที่ไม่ใช่ แค่ในนิมิตร ขึ้นอยู่กับว่าเราตั้งเป้าการฝึกไว้เพื่ออะไรด้วยครับ ถ้าตั้งเป้าเพื่อเรียกของเก่า และใช้ประโยนช์ทางธรรมและ ใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นๆ เราถึงจะมีโอกาศสำเร็จครับเพราะจะได้รับ การสนับสนุนจากครูบาร์อาจารย์ท่านต่างๆหลายท่านครับ ถ้าเน้นเพื่อประโยชน์ตัวเองฝ่ายเดียวหรือทำเพื่อตัวเอง หรือเพื่อเอาไว้ยกตัวเองผมประกันได้ว่าใช้เวลาเป็นสิบๆปีครับ ต่อให้ทำได้ ผลที่ได้ก็จะถูกจำกัดขอบเขตใช้งานคือใช้ได้แค่บางกอง ผลหรือกำลังก็จะไม่สูง เผลอๆชาตินี้ฝึกทั้งชาติก็ไม่สำเร็จ และมีแต่จะหลงตัวเองไปวันๆด้วยครับที่สำคัญนะครับ
กสิณ แปลว่า "เพ่ง" เพ่งให้อารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่มีสอง ครับ ละอยากจะบอกว่า เวลาฝึก เค้าไม่ได้ไปตามดูรรมชาติของเปลวไฟ หรือไป ดูความเป็นไปของเปลวเทียนนั้น ใดๆ ทั้งสิ้น ครับ ถ้าอย่างนั้นเป็นโทษ พวกของพวกที่หลงฝึกวิธี สอนผิดๆ ละคิดว่าถูก คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) เตโชกสิณ เตโช แปลว่า ไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้จุดไฟให้ลุกโชน แล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกับปฐวีกสิณ การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา
ระดับพื้นฐานในการฝึกนั้น จะรูปแบบไหนก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องไปเข้มหรือ ให้ความสำคัญอะไรมากครับ..เพราะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ. ขอแต่หลักๆให้มองที่ตำแหน่งที่มันนิ่งๆเป็นใช้ได้ครับ.บุคคลที่ต้องเข้าถึง ในลักษณะการรู้อารมย์ก็มีครับ ส่วนมากจะเป็นบุคคลที่มีพื้นฐานทาง จิตมีฐานมาทางสัมผัสภายในเป็นทุนครับ...ถ้าบุคคลที่เน้นเพ่งภาพแบบ ไม่ละภาพเลย ถ้าไม่เน้นฝึกเพื่อเอากำลังไปวิปัสสนาแบบที่มองภาพทั่วๆไป ก็เป็นบุคคลที่มีฐานมาทางด้าน ตบะ ฌาณ ญาน เป็นทุนครับ ซึ่งก็แล้ว แต่จริตของแต่บุคคล ถ้าถึงในระดับใช้งานได้ ไม่ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก็มี ผลคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันที่กำลังจิตใช้งานครับ. และที่สำคัญประเด็นคือ ภาพนิมิตรที่สร้างขึ้น ต้องสร้างขึ้นจากตัวจิตเท่านั้น ไม่ใช่ภาพที่สร้างร่วมกับความคิด หรือจากแสงสะท้อนจากวัตถุที่ทำให้ภาพคงค้าง เพราะภาพพวกนี้นอกจากจะไม่พัฒนาทางจิตแล้วมันจะทำให้เราปวดศรีษะได้อย่างรุนแรง (อยากรู้ว่าจิตพอสร้างภาพได้หรือยัง ให้มองไปในอากาศด้วยตาเปล่าๆในเวลา ปกติแล้วดูว่า สามารถมีภาพนิมิตรกสิณขึ้นมาให้เราเห็นได้หรือเปล่า) และไม่ว่าจะกสิณกองใดๆก็ตาม ถ้านิมิตรยังไม่ถึง ระดับปฏิภาคนิมิตร คือ มีความ สว่างในตัวเองในกำลังสมาธิระดับสูง (ถ้าอุคนิมิตร คือภาพจะมีขอบชัดเจนให้เราบอกได้ว่าเป็นอะไร เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม เป็นต้น) หรือยังไม่ถึงระดับที่ภาพนิ่งๆมีความสว่างในตัวเอง แล้วพอภาพหายไปและกลับมาเหมือนเดิมในกำลังสมาธิระดับสูง ถือว่าเป็นกสิณโทษได้หมด เช่น ทำให้เราหลงติดนิมิตร เสียเวลาหลอกให้เราไปดูอย่างอื่นๆ หรือหลอกให้ตัวจิตเราไปยึดเกาะการเห็นต่างๆ กลายเป็นโหมดท่องเที่ยว ติดการรู้เห็นต่างๆ ติดสัมผัสพิเศษ ที่จะเกิดขึ้นได้ปกติจนกลายเป็นคนหลงตัวเองได้ทั้งนั้นครับ... เพราะฉนั้นถ้ายังไม่ถึงระดับที่อฐิษฐานจิตแล้วเกิดเป็นผลเกิด ขึ้นได้จริงๆแบบลืมตาเห็นๆ หรือยังไม่ถึงขั้นดึงพลังงานกสิณ ให้ขึ้นมาใช้งานได้จริงๆไม่ใช่ใช้ได้แต่ในนิมิตร ... ก็ไม่ต้องไม่จริงจังหรือไปซีเรียส แนวทางการปฏิบัติอะไรมากมายก็ได้ครับ เพราะยิ่งไปตึงไปเข้ม ยิ่งจะทำให้ฝึกจนถึงขั้นเป็นผลสำเร็จได้ช้าครับ..