วัตถุมงคล.คณาจารย์ทั่วไทย..พุทโธน้อย..หลวงปู่จรัญ.วัดอัมพวัน.คุณแม่บุญเรือน..หลวงปู่ดู่..วัดสะแก..อื่นๆๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 18 เมษายน 2015.

  1. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ขอบคุณครับที่แจ้ง:cool::cool::cool::cool:
     
  2. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    **มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**:cool::cool::cool:
     
  3. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ
     
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    มีผู้รับนิมนต์แลวครับ
     
  5. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่73 พระพนัสบดี เนื้อดินผสมผงพิมพ์ใหญ่ สร้างน้อย ลงกรุ สวยคลาสสิค หายาก คุณแม่บุญเรือน ปี 2499
    **คุณsumobaimonจองแล้วครับ**
    พระรุ่นนี้ สร้างเป็นที่ระลึกฉลองพระประธานวัดสารนาถฯ จ.ระยอง ปี 2499 ที่คุณแม่บุญเรือนเป็นประธานสร้าง อธิษฐานจิตโดยคุณแม่บุญเรือน
    พระ มงคลมหาลาภ 2499 คุณแม่บุญเรือน พิมพ์พระพนัสบดี เนื้อดินเผาผสมผงพุทธคุณ พระรุ่นนี้ สร้างเป็นที่ระลึกฉลองพระประธานวัดสารนาถฯ จ.ระยอง ปี 2499 ที่คุณแม่บุญเรือนเป็นประธานสร้าง อธิษฐานจิตโดยคุณแม่บุญเรือนและพระสายล.ป.มั่นกว่าร้อยรูป มีคุณค่าน่าสะสมและบูชาเป็นอย่างยิ่งครับ ขออ้างอิงข้อความจากหนังสืออนุสรณ์พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาท จ.ระยอง ดังนี้ *** พระมงคลมหาลาภ พ.ศ.2499 ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครเป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ (และแบบอื่นๆอีกมาก) พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อ.แกลง จ.ระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ 5-31 มีนาคม 2499 *** พระ รุ่นนี้ ปลุกเสกโดยคุณแม่บุญเรือน วัดอาวุธ และ คณาจารย์หลายท่านเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวง พ่อเงินวัดดอนยายหอม เป็นต้น ****ทั้ง นี้ ได้รับการปลุกเสก ซ้ำที่วัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยองอีกครั้ง โดยนิมนต์พระสายระยอง และสายกรรมฐานเช่น หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง หลวง ปู่ทิม วัดละหารไร่ หลวงพ่อลี วัดป่าคลองกุ้ง อาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม โดย ทั้งหมดเพื่อจัดสร้างและสมโภชน์พระพุทโธภาสชิน ราชจอมมุนี ในขณะที่แม่ชีบุญเรือน เป็นประธาน จัด สร้างและคุมงานเอง

    **พระพนัสบดี เนื้อดินผสมผงพิมพ์ใหญ่ สร้างน้อย ลงกรุ เกจิสายวัดป่าปลุกเสก 18 วัน18คืน ปกติวัดให้บูชาองค์ละ5,000 บาท** แต่ผมให้บุชา 1,000 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6291.JPG
      SAM_6291.JPG
      ขนาดไฟล์:
      90.9 KB
      เปิดดู:
      113
    • SAM_6290.JPG
      SAM_6290.JPG
      ขนาดไฟล์:
      81.2 KB
      เปิดดู:
      122
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  6. sumobaimon

    sumobaimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,495
    ขอจองรายการที่ 73 ครับ
     
  7. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบการจองครับ:cool::cool::cool::cool:
     
  8. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่74 พระสังกัจจายน์ หลวงพ่อโตวัดเขาบ่อทอง สภาพสวย

    ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง จ.ระยอง

    หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง มีนามเดิมว่า โต รัตนวิจิตร เป็นบุตรนายเกิด นางเพี้ยน รัตนวิจิตร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2418 ตรงกับวันจันทร์ เดือน 11 ขึ้น 7 ค่ำ ที่บ้านตำบลชากโดน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน และพี่น้องต่างมารดา 5 คน
    วัยเด็กเมื่อท่านอายุ 7 ขวบ บิดามารดาของท่านได้เสียชีวิตลงไป นายดง กับนางเคลือบ ผู้เป็นตากับยายได้นำเด็กชายโตไปฝากไว้กับ พระอาจารย์เจียม เจ้าอาวาสวัดเขากระโดน โดยเป็นเด็กคอยรับใช้พระอาจารย์เจียม ขณะที่อยู่รับใช้พระอาจารย์เจียม เด็กชายโตได้ศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านปฐม ก.กา จนกระทั้งอายุได้ 10 ขวบ พระอาจารย์เจียม ได้ส่งเด็กชายโตไปอยู่กับหลวงพ่อเทียน หรือพระอุปัชฌาย์เทียน ที่วัดเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และได้บรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา
    สามเณรโตศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยอย่างจริงจัง โดยได้เล่าเรียนพระวินัย ทั้งภาษาไทย บาลี สันสฤต และภาษาขอม จนมีความสามารถอ่านเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจัดเป็นสามเณรรูปหนึ่งของจังหวัดระยอง ที่เก่งรูปหนึ่งเลยที่เดียว จนกาลเวลาผ่านไปมีอายุได้ 20 ปี สามเณรโตจึ่งได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุโบสถวัดตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยมีนายหอม และนางปี๊ด อาจดี ผู้เป็นญาตินำไปฝากอุปสมบทมี พระอธิการเพ็ชร เจ้าอาวาสวัดตะปอน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สอ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปลวด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า “ ติสฺโส ”
    ในพรรษาแรกพระโต ติสฺโส ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดตะปอน พอมาถึงพรรษาที่สอง ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดพญาล่าง ในอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี อยู่วัดพญาล่างได้ 2 ปี ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดเนินค้อ อำเภอแกลง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาในวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม 2445 พระอาจารย์โต ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขากระโดน ตำบลชากกระโดน อำเภอแกลง โดยคำสั่งแต่งตั้งของ พระสังฆปาโมกข์ ยังความปลาบปลื้มยินดีต่อชาวชากกระโดนเป็นอย่างยิ่ง
    วัดเขากระโดน สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2407 โดยมีพระอธิการมุ้ย และอำแดงทิม พร้อมชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมา โดยได้รับการบริจาคที่ดินจาก อำแดงทิม จำนวน 14 ไร่ เมื่อทำการสร้างแล้วเสร็จก็ได้รียกขานชื่อวัดว่า “ วัดบ้านป่า” โดยมีเขตพระอุโบสถยาว 13 วา กว้าง 10 วา โปรดให้ผู้สำเร็จราชการเมืองปักกำหนดให้ตามประสงค์พระราชอุทิศที่นั้นเป็นที่ วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหากจากพระราชทานอาณาเขตเป็นที่วิเศษสำหรับพระสงฆ์ จตุรทิศทั้งสี่ทำสังฆกรรม มีอุโบสถเป็นต้น พระราชทานตั้ง ค่ำมีฉลูสัปตศกพระพุทธศาสน์ล่วง 2408
    ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น คีรินธรธาราม โดยมีหลักฐานการแต่งตั้งเจ้าอาวาสคือ พระอธิการมุ้ย ตั้ง ณ วันที่ 15 มกราคม ร.ศ. 121 พระพุทธศาสน์ล่วงได้ 2445 ประทับตราสังฆปาโมกข์ ภายหลังจากสิ้นพระอธิการมุ้ย พระอธิการโต ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดรูปต่อมา เมื่อได้เป็นเจ้าอาวาสได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชน ทั่งทุกสารทิศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 พระญาณวราพร รองเจ้าคณะแขวงจันทบุรี ได้ตรวจเยี่ยมคณะสงฆ์ที่อำเภอแกลง โดยท่านได้แวะพักที่วัดทะเลน้อยก่อน จากนั้นก็มาแวะพักที่วัดช่องมรรคา ในขณะที่แวะพักที่วัดช่องมรรคา ท่านได้ได้พิจารณาชื่อวัดต่างๆในหลายๆวัดชื่อไม่สอดคล้องกับหมู่บ้าน ยากต่อการจำจึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อวัดบางวัด เช่น วัดหว่างคีรีคงคาราม เป็นวัดเนินฆ้อ วัดช่องมรรคา เป็นวัดหนองแพงพวย วัดป่าเรไร เป็นวัดจำรุง วัดเขาคีรินธรธาราม เป็นวัดเขากระโดน วัดป่าชละธาร เป็นวัดป่ากร่ำ

    ในช่วงสมัยที่หลวงพ่อโต ปกครองวัดเขากระโดน ได้ทำการเปิดโรงเรียนสอนนักธรรมชั้นตรี ถึงชั้นเอก เมื่อปี พ.ศ. 2446 พระและเณรในแถบตำบลเนินค้อ ตำบลกร่ำและใกล้เคียง ต่างก็มาเล่าเรียนภาษาบาลีที่นี้ ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2467 หลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศเป็น “ พระครูนิวาสธรรมสาร ” วันที่ 8 มิถุนายน 2468 หลวงพ่อโต ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการศึกษาอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ต่อมาได้ก่อตั้งโรงเรียนประชาบาลวัดเขากระโดนขึ้น เปิดเรียนเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2474 และเมื่อถึงวันที่ 19 มีนาคม 2475 หลวงพ่อโตได้รับการแต่งตั้งเป็น “ พระอุปัชฌาย์ ”
    หลวงพ่อโตท่านได้พัฒนาและก่อตั้งโรงเรียนประชาบาลในท้องถิ่นอื่นๆ กล่าวคือ ในวันที่ 4 กันยายน 2478 ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนประชาบาล ตำบลชากโดน 2 ที่บ้านชากบก ( บุนนาค ) ในปี พ.ศ. 2510 ท่านได้ตั้งโรงเรียนแกลง ( นิวาสบำรุง ) ซึ่งต่อมาได้ร่วมกับโรงเรียนบ้านชากบกเปิดสอนถึงชั้นประถมปีที่ 7 และเปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนนิวาสกัลยาประชารักษ์ ” หรือ “ โรงเรียนบุนนาค ” ในปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2478 หลวงพ่อโตท่านได้จัดตั้งโรงเรียนแผนกบาลีขึ้นที่วัดเขากระโดน เป็นสำนักบาลีแห่งแรกของจังหวัดระยอง โดยสร้างอาคารรวบรวมหลักสูตรการศึกษาบาลีไว้ครบถ้วน จัดหาพระจากเมืองหลวงที่มีความสามารถและชำนาญมาเป็นครูสอนบาลี และทางกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “ โตวิทยาคม ” ในปีแรกมีพระสอบเปรียญ 3 และ เปรียญ 4 หลายรูป และน่าเสียดายที่ต่อมาโรงเรียนต้องมาหยุดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2491
    ปี พ.ศ. 2475 พระราชกวี เจ้าคณะมณฑล แนะนำให้สร้างวัดขึ้นที่ตำบลชากบาก หลวงพ่อโตได้ร่วมกับชาวบ้านจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชากบาก ขึ้นมาก่อน ต่อมาปี พ.ศ. 2484 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสรมาให้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดบุนนาค มาจนทุกวันนี้
    ปี พ.ศ. 2480 หลวงพ่อโตเริ่มสร้างสำนักสงฆ์บ้านสองสลึง และยกฐานะเป็นวัด คีรีวราราม เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2500
    ปี พ.ศ. 2496 ท่านได้พิจารณาสร้างถาวรวัตถุทางศาสนาขึ้นที่ยอดเขาหวายปลอด (ตำบลชากโดน ) โดยมีข้าราชการพ่อค้าประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์ สร้างเป็นถาวรวัตถุทางศาสนาโดยตั้งเป็นที่พักสงฆ์ เหล่านี้คือเรื่องของการพัฒนาก่อสร้างโรงเรียนให้แก่ลูกหลานชาวบ้าน จัดตั้งสำนักเรียนให้กับพระภิกษุสามเณรของหลวงพ่อโตจัดว่าท่านเป็นพระผู้สร้างสถานศึกษาอย่างแท้จริง
    ทางด้านวิปัสสนากรรมฐานหลวงพ่อโตท่านมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะเรื่องวิปัสสนาท่านมักธุดงค์ไปนมัสการปูชนียสถานสำคัญๆหลายๆจังหวัด แม้หนทางจะห่างไกลทุรกันดารเพียงใดก็ไม่เคยย่อท้อ ท่านกลับมีมานะ ความเพียรอันยอดเยี่ยม การไปไหนมาไหนของท่านจะใช้การเดินเท้าเป็นหลัก เล่ากันว่าหลวงพ่อโตท่านมาศึกษาวิปัสสนาที่วัดประยูรวงศาวาส (วัดรั้วเหล็ก) และวัดใหม่ย้ายนุ้ยธนบุรี จนได้เป็นอาจารย์ใหญ่นำพระภิกษุที่อยู่ปริวาสตามสถานที่ต่างๆ เป็นนิจจนพรรษามากเข้ามีประสบการณ์มาก ท่านได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองแกลง จังหวัดระยอง
    พระหมอยาที่โด่งดัง หลวงพ่อโตนอกจากจะเป็นพระนักพัฒนาผู้สร้างและผู้ให้การศึกษาแล้ว นยังเป็นพระหมอยาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก สมัยก่อนการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนสมัยนี้ ชาวบ้านต้องพึ่งตนเอง อาศัยยากลางบ้านคือสมุนไพร รักษาโรคหมอยากลางบ้าน ที่เป็นทั้งฆราวาสและพระภิกษุ จะมีบทบาทมาก ใครเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆก็ต้องพึ่งหมอกลางบ้านให้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ หลวงพ่อโตท่านสนใจในเรื่องของสมุนไพรรักษาโรคมาก ยามว่างจากภารกิจอื่นๆท่านก็จะมาศึกษาค้นคว้าเรื่องของสมุนไพรอ่าน ตำรับตำราการรักษาโรคภัยไข้เจ็บไปศึกษาจากหมอผู้รู้หลายๆคน แล้วก็นำวิชากลับมาศึกษาการแพทย์แผนโบราณปรุงยารักษาโรคต่างๆ จนกระทั้งเชี่ยวชาญสามารถรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยได้ ท่านทำยาดองยาลูกกลอนเอาไว้มาก ใครเจ็บป่วยมาหาท่านๆ ก็จะให้ยาไปทาน เป็นยาวิเศษรักษาได้สารพัดโรค คนเฒ่าคนแก่หลายๆท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ และทันสมัยหลวงพ่อโต ได้เล่าว่า ในสมัยหลวงพ่อโต เมื่อท่านมีชื่อเสียงเรื่องรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ผู้คนก็พากันมาให้ท่านรักษาโรคกันอย่างต่อเนื่อง หลวงพ่อต้องเกณฑ์ลูกศิษย์และชาวบ้านข้างวัด มาช่วยบดยาที่วัด โดยใช้เครื่องบดยาแบบโบราณใช้แรงคนบด พอบดยาเป็นผงเสร็จท่านก็ปรุงยาตามสูตรต่างๆ ส่วนใหญ่ท่านจะทำเป็นยาดองๆ ใส่ตุ่มกันเลยทีเดียว ชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยทั้งอำเภอแกลงสมัยนั้น จะพากันมาหาท่าน ท่านก็จะให้ไปตักยาดองในตุ่ม ใส่ขวดกลับไปทานที่บ้านเป็นสูตรยาครอบจักรวาลยอดเยี่ยมดีแล
    การรักษาผู้ป่วยของหลวงพ่อโตเล่ากันว่า แม้กระทั้งคนบ้าวิกลจริตก็จะมีญาติพี่น้องพามาให้หลวงพ่อรักษา บางรายมาถึงวัดใหม่ๆ ต้องล่ามขากันเลย หลวงพ่อโตรักษาให้ไม่นาน อาการบ้าคุ้มคลั่งก็หายเป็นปลิดทิ้งเป็นที่เสื่อมใส ศรัทธาจากชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง
    ในเรื่องของวิชาอาคมต่างๆ หลวงพ่อโต เป็นเถรานุเถระที่มีชื่อเสียงมาก เป็นที่เคารพ เลื่อมใสจากประชาชนทั่วทุกสารทิศ ทางวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่านมีชื่อเสียงยิ่งนัก ท่านมักจะได้รับการนิมนต์จากวัดต่างๆให้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกนั่งปรกอธิฐานจิตมิได้ขาด งานสำคัญเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ ได้นิมนต์ไปร่วมงานพุทธาภิเษกพระกริ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสร่วมกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีก 16 รูป
    กาลสุดท้ายแห่งอายุขัย จวบจนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2508 ขณะที่ท่านไปทำธุระที่จังหวัดจันทบุรีเกิดอาพาธจึงกลับมารักษาตัวที่พักสงฆ์เขาบ่อทอง แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นบรรดาลูกศิษย์ต่างก็พาหลวงพ่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงค์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จนกระทั้งวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 หลวงพ่อโตได้ถึงแก่มรณภาพอย่างสงบที่โรงพยาบาล เมื่อเวลา 18:45น รวมสิริอายุ 90ปี 7 เดือน 22 วัน สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวอำเภอแกลงและใกล้เคียงเป็นอันมาก หลังจากที่หลวงพ่อโตได้มรณภาพ พระครูอุดมสิทธิคุณ (หลวงพ่ออั๋น) ก็ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนปกครองวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 – 2520 นานถึง 18ปี ท่านก็มรณภาพลง จากนั้นพระมหาเพียร ปัญญาทีโป หรือพระครูพิทักษ์วิริยะภรณ์ ก็เข้ารับตำแหน่งสมภารปกครองวัดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตุได้ว่าวัดเขากระโดนนั้นแม้ตั้งมานานแล้ว แต่มีเจ้าอาวาสปกครองวัดน้อยมากทั้งนี้ก็เพราะสมภารแต่ละรูปล้วนอายุยืนทั้งสิ้น
    สมัยที่หลวงพ่อโตมีชีวิตอยู่มีเรื่องเล่ากล่าวขานกันมากมายทั้งเรื่องการดำรงค์ตน ของท่าน เรื่องเชิงอิทธิปฏิหาริย์ต่างๆเล่ากันว่า ท่านเป็นสมภารที่ดุเอาการรูปหนึ่ง เรื่องวิชาอาคมก็แก่กล้ามาก หลวงพ่อโตท่านทำธงผ้ายันต์ขึ้นมา ชุดหนึ่งเรียกว่า ธงพัดโบก มีอิทธฺปฏิหาริย์ประจักษ์ชัด ธงพัดโบกผูกเชือกชักขึ้นยอดเสารับรองฝนไม่ตก ที่วัดเขากระโดนมีเรื่องแปลกมากก็คือฝนมักจะตกที่วัดตลอด ยิ่งใครจัดงานมีมหรสพ รื่นเริงในวัดเป็นต้องฝนตกเรื่องนี้ชาวบ้านทุกคนยืนยันกันมา แต่หากไปขออนุญาตหลวงพ่อ ถ้าหลวงพ่ออนุญาตให้จัดงานได้ ไม่ว่าฝนจะมามืดฟ้ามัวดินทั่วทุกสารทิศเพียงใด ที่วัดเขากระโดนฝนก็จะไม่ตก ก่อนจะเริ่มงานหลวงพ่อจะให้ลูกศาย์นำธงพัดโบกชักขึ้นยอดเสารับรองฝนไปตกที่อื่นหมด แต่พอเสร็จงานชักธงลง ปรากฏว่าฝนได้ตกเทลงมาห่าใหญ่ ทุกครั้งเล่ากันว่า ธงพัดโบกของหลวงพ่อพอชักลงมาจากยอดเสามักหาย แม้ปัจจุบันนี้ก็ตามใครจะจัดมหรสพในบริเวณวัดจะต้องไปบอกกล่าวขอจัดงานที่รูปหล่อองค์หลวงพ่อ และหุ่นขี้ผึ้งจำลองบนศาลารับรองก่อนทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นจะเกิดเหตุเภทภัยต่างๆนานาจนงานต้องล้มเลิกไปโดยปริยาย แต่ถ้าไปกราบขอขมาแล้วทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดี

    รูปหล่อองค์หลวงพ่อโตนั้นศักดิ์สิทธิ์นัก ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนไปขอให้ท่านช่วยจะสัมฤทธิ์ผลสมความปรารถนา ผู้อาวุโสบอกว่า ที่วัดเขากระโดน จะมีหนังตะลุงสร้างถาวรเลย เพราะชาวบ้านมักบนหนังตะลุงถวายหลวงพ่อ เนื่องจากหลวงพ่อชอบหนังตะลุงจริงๆ แล้วหลวงพ่อโตท่านชอบโขนสด แต่ราคาค่าจ้างโขนสดแพงกว่าหนังตะลุง ก็เลยบนหนังตะลุงกัน ฉะนั้นหนังตะลุงจึงมีที่วัดเขากระโดน มิได้ขาด
    สำหรับวัตถุมงคลนั้นหลวงพ่อโตไม่ค่อยนิยมสร้างเท่าไร รวบรวมแล้วมีไม่กี่รุ่น ยุคแรกท่านสร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านทำเสื้อยันต์แจกทหารหาญที่ออกรบ ทำตระกรุดโทนแจก ปัจจุบันหาดูยากมาก ปี พ.ศ. 2478 หลวงพ่อจัดสร้างเหรียญใบสาเกใหญ่ เนื่องในโอกาสฉลองเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้ช่างสวัสดิ์ที่จังหวัดจันทบุรี ออกแบบและจัดสร้าง ปี 2484 จัดสร้างเหรียญใบสาเกเล็กออกมาอีกหนึ่งรุ่น ไม่มากนัก เป็นรุ่นการสร้างศาลาการเปรียญ ในปี พ.ศ. 2496 สร้างพระกริ่งหน้ายักษ์และหน้านาง ซึ่งในรุ่นนี้หลวงพ่อยังได้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายแบบมีเหรียญรูปไข่ หลังยันต์เฑาะ พระสังกัจจายน์ พระสมเด็จเนื้อฟักทองพิมพิ์ใหญ่ พระสมเด็จนางพระพญาลงรักแดงหลังยันต์เฑาะ พระสมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์กลางลงรักแดง ต่อมาท่านได้สร้างรูปเหมือนลอยองค์เนื้อแดงเหลืองรมดำ เป็นรุ่นแรกสร้างแท็งก์น้ำวัดเขาบ่อทอง
    หลังจากที่หลวงพ่อโตมรณภาพทางวัดได้จัดสร้างเหรียญเนื้อเงินรอบเหรียญเป็นรวงข้าว เรียกว่าเหรียญรวงข้าว และทางพลเรือโทสนิท โปษกฤษณะ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบได้จัดสร้างเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงขอบเหรียญเป็นรูปพญานาค เรียกเหรียญพญานาค ชุดนี้มีเหรียญเสมาออกมาแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อโต
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อโตทุกรุ่น เป็นที่ยอมรับในเรื่องอยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ โดยเฉพาะพระกริ่งหน้ายักษ์ มีบทบาทมาก พระกริ่งหน้ายักษ์ เป็นสุดยอดวัตถุมงคลที่หายากรองลงมาจาก พระสังกัจจายน์ พิมพ์ใหญ่ และรูปหล่อตัวหนอน ส่วนพระกริ่งหน้านาง มีชื่อเสียงทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขายดีนักแล
    วัดเขากระโดนในปัจจุบัน ในยุคของท่านพระครูพิทักษ์วิริยาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านสนใจพัฒนาสมองคนมากกว่าวัตถุมงคล ท่านสืบทอดเจตนารมณ์ของพระอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่คือ หลวงพ่อโต โดยให้การศึกษาพระเณร จัดให้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชน ให้สถานที่วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนพิมพ์ดีด เรียนดนตรีไทย และจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้นที่ใต้ถุนโบสถ์หลังใหญ่ ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ รอให้สาธุชนคนใจบุญไปช่วยกันสานต่อ เป็นโบสถ์ใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก
    วัดเขากระโดนทุกวันนี้ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเป็นศูนย์กลางที่ให้ความรู้แก่ชาวบ้านอย่างแท้จริง ท่านเจ้าอาวาสยังทำสวนสมุนไพรไว้ในที่ธรณีสงฆ์ ไม่ไกลจากวัดอีก 1 แปลง เนื้อที 14 ไร่ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเรื่องสมุนไพรได้ไปศึกษากัน
    พระครูนิวาสธรรมสาร หรือหลวงพ่อโต วัดเขาซากกระโดน(วัดใน) ท่านเป็นอดีตพระเกจิ อาจารย์ที่โด่งดังอีกท่านหนึ่งของเมืองระยอง ท่านอยู่ในยุคเดียวกันกับ หลวงปู่หิน วัดหนองสนม หลวงปู่อี๋ วัดสัตหีบ และท่านเป็น อาจารย์ของ หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า และ หลวงปู่บุญ วัด บ้านนา ลูกศิษย์ที่นับถือท่านส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นทหารเรือ และชาวบ้านแถว อ.แกลง และ จ.ระยอง ทั้งนั้น นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าเมืองระยองล้วนบูชาพระของหลวงพ่อโต กันทั้งนั้นครับ.

    ***องค์นี้เป็นพระปั้มมีกริ่งดัง เนื้อโลหะผสมเก่า อุดมด้วยลาภ โชคลาภ อุดมสมบูรณ์ ให้บุชา 500 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6581.JPG
      SAM_6581.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.8 KB
      เปิดดู:
      65
    • SAM_6586.JPG
      SAM_6586.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.2 KB
      เปิดดู:
      98
  9. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่75 เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ พิมพ์พัดยศเล็ก ปี2538

    พระไพโรจน์วุฒาจารย์ หรือหลวงพ่อรุ่ง ติสสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดท่ากระบือ พระคณาจารย์นามกระเดื่องแห่งเมื่องสมุทรสาคร มีนามเดิมว่า รุ่ง พ่วงประพันธ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา พุทธศักราช ๒๔๑๖ เป็นบุตรชายคนเดียวของ คุณพ่อพ่วง - คุณแม่กิม นามสกุล พ่วงประพันธ์

    พื้อนเพเป็นชาวกรุงเทพ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดน้อยนพคุณ เพื่อศึกษาเล่าเรียนอักขรสมัยตามธรรมเนียมขิงสัยนั้น จนมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้แคล่วคล่องชำนาญเป็นอย่างดี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดน้อยนพคุณ เมื่อวันที่ ๕ พฤษถาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ โดยมี พระอาจารย์ทิม วัดน้อยนพคุณ เป็นอุปัชฌาย์ พระอธิการบัว วัดใหม่ทองเสน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เคลือบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ติสสโร ภายหลังอุปสมบท ได้เดินทางไปพำนักจำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ท่ากระบือและได้พัฒนาจนมีความเเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ เมื่อว่างเว้นจากการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ได้ออกปฏิบัติธรรม แสวงหาครูบาอาจารย์ เพื่อศึกษาด้านพระเวทย์วิทยาคมกับพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณ หลายองค์ของยุคนั้น เช่น หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่นาค วัดสุนทรสถิตย์ หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา หลวงปู่รุณ วัดช้างเผือก หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง หลวงพ่อหล่ำ วัดอ่างทอง หลวงพ่อเว่ง วัดหงษ์อรุณรัศมี ผลแห่งกรรมบำเพ็ญเพียรเจริญภาวนาเป็นนิจ ทำให้สมาธิจิตแก่กล้าเข็มขลังอธิษฐานจิตปลุกเสกสิ่งใดจึงก่อเกิดอิทธิปาฏิหารย์ อันยากจะหาคำอรรถาธิบายขยายความ ผนวกกับศิลาจาริยาวัตรของท่านงดงาม จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทุกหมู่เหล่า กิจด้านการพระศาสนาของท่านไม่เคยบกพร่องและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยจนเป็นที่ว่างใจแห่งคณะสงฆ์ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ต่างๆ ดังนี้

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่ากระบือ

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้รับตราตั้งแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสมณศํกดิ์เป็นพระครูชั้นประทวนที่ พระครูรุ่ง

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอำเภอกระทุ่มแบน

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนาม พระครูไพโรจน์มันตาคม

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิมคือ พระครูไพโรจน์มันตาคม

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระไพโรจน์วุฒาจารย์

    การสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณ เรืองเวทย์พุทธาคมยิ่งองค์หนึ่งของเมืองสมุทรสาคร ท่านได้สร้าง

    วัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญอยู่เสมอ เช่น พิธีวัดราชบพิตรปี ๒๔๘๑ ,

    พิธีพระพุทธชินราชอินโดจีน ณ วัดสุทัศน์ , และพิธี ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นต้น

    ประเภทเครื่องรางของขลัง นับเป็นวัตถุมงคลยุคแรก ๆ ของท่าน และมีการสร้างเรื่อยมากระทั่งท่านมรณภาพ มีหลาย ชนิด เช่น

    ๑. ตะกรุดมีเนื้อ ทองคำ นาก เงิน ทองแดง ตะกั่ว และหนังเสือ

    - ตะกรุดชุด ๙ ดอก

    - ตะกรุดสาริกา

    - ตะกรุดมหาอุด

    - ตะกรุดมหารูด

    - ตะกรุดโทนขนาดใหญ่-เล็ก

    - ตะกรุดสามกษัตริย์

    - ตะกรุดหน้าผากเสือ ,

    ๒. ไม้กระดอนสะท้อนสร้างจากไม้กระท้อนที่มีกาฝากขึ้น

    ๓. แหวนพิรอด , แหวนเนื้อโลหะชนิดต่างๆ

    ๔. เสื้อยันต์ มี ๒ สี สีขาวและสีแดง

    ๕. ผ้ายันต์จันทร์เพ็ญ

    - ผ้ายันต์นางกวัก

    - ผ้ายันต์หนุมานใหญ่-เล็ก

    - ผ้ายันต์ตามราศี (มี ๑๒ ราศี ผืนละราศี)

    - ผ้ายันต์พรหม ๖ หน้า

    - ผ้ายันต์หนุมานเชิญธง

    - ผ้ายันต์ตามวัน (มี ๗ วันผืนละ ๑ วัน)

    ๖. รูปถ่าย

    - รูปถ่ายที่ระลึกคล้ายวันเกิด

    - รูปถ่าย กันผี กันคุณ เมตตา ค้าขาย (มีทั้งนั่งหน้ากุฏิและนั่งหน้าโบสถ์)

    - รูปถ่ายแบบยืน

    - รูปถ่ายหลังสมเด็จวัดท่าพูด

    - รูปถ่าย อายุครบ ๘๔ ปี

    ๗. พระปิดตา

    ๘. พระสมเด็จ

    ๙. ผ้าประเจียด เป็นต้น

    ประเภทพระเครื่องและเหรียญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลายกว้างขวาง ทั้งยังมีสนนราคาแพง และหายากยิ่ง ประกอบด้วย

    ๑. เหรียญสุคโต วัดอ่างทอง สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ จัดสร้างด้วยเนื้อเงินกับเมื้อทองแดงเท่านั้น

    ๒. เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สร้างประมาณ ๗,๐๐๐ เหรียญ แบ่งเป็น

    ๒.๑ เหรียญหลวงพ่อรุ่ง หน้าหนุ่ม ยันต์ตรง แบ่งออกเป็น ๓ บล็อกคือ บล็อกตาขีด , บล็อกตาเม็ด , บล็อกยันต์ไม่มีไข่ปลา ทั้ง ๓ บล็ก มีการสร้างด้วยเนื้อ ทองคำ , นาก , เงิน , อัลปาก้า , ทองฝาบาตร , ทองแดง (เนื้อเงินและเนื้อทองแดงมีบางเหรียญมีกะไหล่ทองหรือกะไหล่ไฟ)

    ๒.๒ เหรียญหลวงพ่อรุ่ง หน้าแก่ยันต์หยิก แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนิยมไม่มีแตก , บล็อกแตก ทั้ง ๒ บล็อก ปลุกเษกพร้อมกัน มีการสร้างด้วยเนื้อ ทองคำ , นาก , เงิน , ทองแดง

    ๓ เหรียญรุ่นสอง หลวงพ่อรุ่ง(หรือที่เรียกว่าหลังพระพุทธ) สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนินมมีขีด , และบล็อกไม่มีขีด ทั้ง ๒ บล็อกมีการจัดสร้างด้วยเนื้อ เงิน , ทองแดง

    ๔. เหรียญหล่อสามเหลี่ยมพิมพ์พระพุทธ หลวงพ่อรุ่ง สร้างด้วยเนื้อทองผสม สร้างเมื่อปี พ.ศ ๒๔๙๑

    ๕. เหรียญรุ่นสาม หลวงพ่อรุ่ง พัดยศ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการจัดสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

    ๖. เหรียญเสมาออกวัดสวนส้ม หลวงพ่อรุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนิยม ฑ.ศ. บี้ , บล็อกธรรมดา มีแต่เนื้อทองแดงกะไหล่ทองเท่านั้น เหรียญนี้ทันหลวงพ่อรุ่งแน่นอนเพราะพระอาจารย์แกละ เจ้าอาวาสวัดสวนส้มได้สร้างไว้ตั้งแต่ ปี ฑ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วจึงนำมาให้หลวงพ่อรุ่งปลุกเษกก่อนหลวงพ่อรุ่งมาณภาพ

    ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อรุ่ง ทุกชนิดได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เฉพาะอย่างยิ่ง เหรียญรุ่นแรก เป็นที่นิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาครโดยแท้

    พระไพโรจน์วุฒาจารย์ หรือ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ได้ถึงแก่มาณภาพเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐ เวลา ๐๑.๕๐ น. รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๖๔ พรรษา และพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑

    **องค์นี้สภาพสวย เดิมๆ ให้บูชา 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6588.JPG
      SAM_6588.JPG
      ขนาดไฟล์:
      64.4 KB
      เปิดดู:
      117
    • SAM_6589.JPG
      SAM_6589.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.2 KB
      เปิดดู:
      134
  10. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่76 พระราหูกะลาตาเดียวแกะ หลวงพ่อจืด ศิษย์หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา**สมาชิกไลน์มาจองแล้วครับ**

    หลวงพ่อจืด เป็นเกจิอาจารย์ร่วมสมัยระดับแนวหน้าของประเทศในยุคปัจจุบัน ทางเชี่ยวชาญพุทธาคมสืบทอดสายวิชาครูบาอาจารย์ของท่านที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ท่านมีดีหลายอย่างด้วยคุณธรรมนานัปการ ด้วยวิริยะ อุตสาหะสูงส่ง ด้วยศาลาวัตรอันงดงาม ในการประพฤติปฏิบัติของหลวงพ่อจืดที่ท่านได้จรรโลง และสรรค์สร้างแต่สิ่งดี ๆ มีมงคลให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาก่อให้เกิดพลังศรัทธาความศักดิ์สิทธิ์ และสวัสดีมงคลทุก ๆ คน ส่งเสริมให้ประสบแต่ความสำเร็จรุ่งเรืองตามโบราณจารย์ท่านสั่งสอนอบรมเอาไว้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธ์ใดก็ตามสร้างด้วยความเจตนาอันดีงาม เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ของท่านผู้กำลังเจริญด้วยอำนาจวาสนาแห่งบุญบารมีอันล้ำเลิศประเสริฐยิ่ง สิ่งศักดิ์สิทธ์ นั้นเป็นของผู้บุญสูง มีอนุภาพมากหากมีโอกาสได้รีบไขว่คว้ามาไว้ในชีวิตตน บารมีของท่านผู้สร้างจะแผ่อนุภาพอันยิ่งใหญ่ให้บังเกิดสิ่งดี ๆ แก่ผู้มีโอกาสให้เป็นเจ้าของสิ่งศักดิ์สิทธ์นั้นด้วย สาเหตุนี้เองจึงทำให้หลวงพ่อจืดท่านโด่งดังในดานวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะบุญฤทธิ์อิทธิบารมีมีความเป็นผู้ทรงมหาเวทย์ มหาอาคม แก่กล้าพลังจิตเลื่อมใสศรัทธาของญาติโยมทั้งส่วนท้องถิ่น และส่วนกลาง ท่านมีวาจาประกาศิต เลื่องลือกันมากคำไหนเป็นคำนั้นตรงกับใจเสมอวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อจืดเป็นที่กล่าวขานกันมานานแล้ว ส่วนความเมตตาบารมีธรรมนั้นสูงส่งมีญาณวิเศษของหลวงพ่อจืดล่วงรู้เหตุการณ์ ใครที่เดือดร้อนทุกข์ใจ ไปกราบนมัสการขอความช่วยเหลือท่านจะเมตตาสงเคราะห์ โดยการอาบน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์มีเลือกใครจนใครรวย เสมอกันหมดสมกับเป็นพระของชาวบ้านอย่างแท้จริง และพร้อมกับแจกวัตถุมงคลให้ไปบูชาโดยเฉพาะตัวต่อเงิน — ต่อทอง ไปไว้บูชา ไม่ช้าไม่นานก็รวยขึ้นมาเป็นลำดับ เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีมามากต่อมากแล้ว วัตถุมงคลของท่านถ้าไม่ดีจริง ไม่ขลังจริง คงไม่มีใครกล้ากล่าวถึง โดยเฉพาะคนในพื้นที่ใกล้วัดต่างก็มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อจืดบูชาติดตัวกันทั้งนั้น ต่างก็ยอมรับในประสบการณ์กล่าวขานกันมาช้านานแล้ว หลวงพ่อจืดเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีอาคมแก่กล้า มีอำนาจวาสนาบารมีเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้ประกอบด้วยคุณงามความดี เนื้อนาบุญแห่งพระพุทธศาสนาเป็นรอยอริยะที่ผู้มีไว้ครอบครอง พิจารณาระลึกถึงความดี เดินตามรอยเส้นทางความถูกต้อง มีคุณธรรม ยึดมั่นในศิลในธรรมตามแบบอย่างสืบไป
    ***องค์นี้เลี่ยมพร้อมใช้ อาราธนาขึ้นคอได้เลยครับ เหมาะผู้ต้าขาย เสี่ยงโชค เงินทอง พลิกชีวิต ส่งเสริมหน้าที่การงา ให้บูชา พีเอมหรือโทรถาม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6594.JPG
      SAM_6594.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.8 KB
      เปิดดู:
      109
    • SAM_6595.JPG
      SAM_6595.JPG
      ขนาดไฟล์:
      92.8 KB
      เปิดดู:
      77
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  11. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่77 รูปถ่าย หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เลี่ยมเดิมจากวัด

    รูปถ่าย หลวงปู่ดู่ เลี่ยมเดิมจากวัด ทันท่านเสก สวยๆ สำหรับสายหลวงปู่ดู่ ไว้ใช้จับภาพท่านทำสมาธิ ได้เลยครับ รูปถ่ายภาพนี้ของหลวงปู่มีลงในหนังสือวัดเล่มใหญ่ครับ

    **อาราธนา พร้อมใช้ ได้เลยครับ ให้บูชา 1200 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่78 เหรียญรัชกาลที่ 5 หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ปี 2530
    ***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
    หลวงพ่อจรัญ หรือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัด อายุท่านได้ประมาณ 82 ปีแล้ว หลวง พ่อจรัญ เป็นพระที่ปฏิบัติดีโดยเฉพาะในสายวิปัสสนาแบบสติปัฏฐานสี่ ในปัจจุบันหลวงพ่อจรัญ มีชื่อเสียงดังไปทั่วไประเทศในฐานะอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน ท่านเขียนตำราธรรมะมากมาย ก่อนที่ท่านจะเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับเจ้าคุณโชดก วัดมหาธาตุ หลวงพ่อจรัญ ก็เหมือนพระเกจิทั่วไปในสมัยนั้น คือศึกษาพระเวทย์วิทยาคมกับหลวงพ่อดังๆในอดีต หลวงพ่อจรัญ เคยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่หลวงพ่อเดิม จะมรณะภาพ นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนวิชากับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา เป็นต้น
    เนื่อง จากหลวงพ่อจรัญ มีลูกศิษย์นับถือมากมาย ประกอบกับท่านอายุมากแล้ว ตอนหลังเข้าใจว่าท่านไม่ปลุกเสกวัตถุมงคลแล้ว ดังนั้นทำให้พระเครื่องของหลวงพ่อจรัญ ที่หลวงพ่ออธิษฐานจิตจึงถูกลูกศิษย์ตามเก็บ ทำให้พระของท่านเริ่มหายากและมีราคาสูงขึ้นเื่รื่อยๆ โดยเฉพาะพระที่สร้างก่อนปี 2520 หลายรุ่นราคาสูงมาก
    ขอแนะนำเหรียญรัชกาลที่ 5 เป็นรุ่นแรกของหลวงพ่อจรัญ ที่ท่านอธิษฐานจิตในคราวสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 องค์ใหญ่ของวัดอัมพวันเมื่อปี 2530 เหรียญรุ่นนี้สร้างโดยกองกษาปณ์ ออกแบบสวยงามมาก ด้านหลังเป็นดวงมงคลเพื่อเสริมดวงชาตาให้แก่ผู้ที่บูชา เหรียญที่นำเสนอสวยงามมากในสภาพเดิมๆ สวยไม่แพ้ใคร แท้ ดูง่าย รีบเก็บตั้งแต่ตอนนี้นะครับ เพราะพระของหลวงพ่อจรัญ เริ่มหายากแล้ว

    **องค์นี้สวย เดิม ซองเดิมๆๆ เป็นเหรียญสุดท้ายแล้วครับ ให้บุชา เหรียญละ300 บาท**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  13. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่79 รูปถ่ายอัดกระจก หลวงพ่อครูบาศรีวิชัย ปรอทเก่า ***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***

    ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา
    ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน
    ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย
    เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปฌาย์ของท่าน
    ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา ๑ พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน
    ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก
    ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..." และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา คือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันใน ระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถ หรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่า และการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถ โดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบา ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมาก และลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา
    ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย เนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย และในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตน โดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้น สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่า สืบวิธีการนี้มาจากลังกา การที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖) เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น" โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไป การจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผล องค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณี ความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นต้น
    การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนา ส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้ จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติง นายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ การจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
    อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓)
    การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลมาจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของคณะสงฆ์ฉบับแรก (พ.ศ.๒๔๔๖) และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครองในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓ นั้น บทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะโดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครอง ดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมาฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบท เมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้ ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้ ๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิด หลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครู มหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้ เนื่องจากมีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้ แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้น ซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ไปประชุมเช่นกัน เพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไป พระครูเจ้าคณะแขวงลี้จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมครูบาศรีวิชัยส่งให้พระครูญาณมงคลเจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวน ครั้งนั้น ครูบา ศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมืองลำพูนถึง ๒๓ วัน จึงได้รับการปล่อยตัว
    ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้ พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัดเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปาง ซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวงตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดาหัววัดไม่ไปประชุมเช่นกัน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้จึงมีหนังสือฟ้องถึงพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปี พระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหมวดวัด หรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป พร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี
    อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔)
    อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง ๓ ครั้ง แต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น เสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาสรีวิชัยจึงขยายออกไป นับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์ ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง คำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้ ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า และใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่ ๑๒มกราคม ๒๔๖๒ สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วัน พร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัด เมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง แต่ต่อมา ก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูน เรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูน ครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โต การณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อย ดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่ง อุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่ โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวัน เสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)
    ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วย ก็ได้มีพ่อค้าใหญ่เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้ ชัวย่งเส็ง)และพญาคำ แห่งบ้านประตูท่าแพ ตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมานมัสการครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก ทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้ เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯ ซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิด และให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้ เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้ว ชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่องในตัวครูบา ดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและแรงงานอย่างมหาศาล
    อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙)
    การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอย สุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่รวม ๑๐ แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้นอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน เมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนั้น ทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่มพระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัวและพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัยเคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึก อธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ทุกประการ ท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง ๖ เดือน ๑๗ วัน
    กรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมา ตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย แต่ในช่วงเวลานั้น ครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งทางใจและดำเนินการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธารณะประโยชน์ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา
    การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์
    ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณร ดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปน ตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น"ตนบุญ" คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มาก เงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุ งานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ ครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ว่าจะวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดบ้านปาง"
    ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดมีว่า เมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใดแล้ว ทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบา คืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จเช่นการสร้างสะพานศรีวิชัยซึ่งเชื่อมระหว่าง อำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ "นั่งหนัก" คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงิน แต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครูบาไป "นั่งหนัก" ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ ๒๐๐-๓๐๐ ราย คับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวัน และในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติ เมื่อเสร็จงาน"พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้ว ครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้ โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลย ช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัย เชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้น ผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ ราย เมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก ๒ เดือนกับ ๔ วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓ หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้น ครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปี โดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้ จังหวัดลำปาง ถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัย ต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้น มีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เป็นอาทิ รวมแล้วพบว่างานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง
    ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้น หลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ แต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สอง และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน
    ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑ มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูปี คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาท รวมค่าก่อสร้างชั่วชีวิตของท่านประมาณสองล้านบาท นอกจากนั้นท่านยังได้สร้างคัมภีร์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ผูก คิดค่าจารเป็นเงิน ๔,๓๒๑ รูปี(รูปีละ ๘๐ สตางค์) ทั้งนี้ แม้ครูบาศรีวิชัยจะมีงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และมากมาย แต่บิดามารดาคือนายควายและนางอุสาก็ยังคงอยู่ในกระท่อมอย่างเดิมสืบมาตราบจนสิ้นอายุ
    ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น

    วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย
    ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้น ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก พวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูน โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์ กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์
    ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจ วิกสิตฺโต) ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัย โดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัย ยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพ ไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้น นอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้น แต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ "ตนบุญ"เป็นสำคัญ

    **สภาพสวยเดิมๆๆ ให้บูชา ยกชุด3ชิ้น 600 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6606.JPG
      SAM_6606.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.6 KB
      เปิดดู:
      61
    • SAM_6607.JPG
      SAM_6607.JPG
      ขนาดไฟล์:
      47.7 KB
      เปิดดู:
      47
    • SAM_6608.JPG
      SAM_6608.JPG
      ขนาดไฟล์:
      49.9 KB
      เปิดดู:
      80
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  14. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่80 เหรียญหลวงพ่อทวด รุ่นโชคดี เนื้อทองแดง ปี 2556 พุทธอุทยานมหาราช**สมาชิกไลน์มาจองแล้วครับ**
    หลวงปู่ทวด พุทธอุทยานมหาราช อยุธยา รุ่นโชคดี สร้างน้อยมาก
    1. ทองคำลงยามี 3 สี แดง, เขียว, น้ำเงิน สร้าง สีละ 3 เหรียญ
    2.เงินลงยาหน้าทองคำ มี 3 สี แดง, เขียว, น้ำเงิน สร้าง สีละ 3 เหรียญ
    3.เงินลงยาแดง สร้าง 33 เหรียญ
    4.เงินลงยาน้ำเงิน สร้าง 33 เหรียญ
    5.เงินลงยาเขียว สร้าง 33 เหรียญ
    6.นวะ สร้าง 1999 เหรียญ มีโค๊ต "โชคดี" ที่สังฆาฏิอีกหนึ่งตัว
    7.อาปาก้า สร้าง 999 เหรียญ แจกกรรมการในงานประกวดพระเครื่อง
    8.ทองแดง สร้าง 5000 เหรียญ
    9.ทองเหลือง สร้าง 5000 เหรียญ

    ***องค์นี้เลี่ยมพร้อมใช้สภาพสวย ชื่อรุ่นเป็นมงคล รูปแบบเหรียญออกแบบได้สวยงามมาก ตอกโค๊ต ตอกเลข อนาคตไกลครับ ให้บูชา 400 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6602.JPG
      SAM_6602.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.6 KB
      เปิดดู:
      192
    • SAM_6603.JPG
      SAM_6603.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89 KB
      เปิดดู:
      156
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  15. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่81 เหรียญเสมาหน้าเลื่อนหลวงพ่อคูณ รุ่นนิรันตรายเหนือดวง ออกวัดบ้านไร่ปี57 เนื้อทองแดง แจกกรรมการ**สมาชิกไลน์มาจองแล้วครับ**


    **เหรียญนี้เป็นเหรียญแจกกรรมการ(ตำรวจ) ไม่มีขายครับ ให้บูชา 500 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6600.JPG
      SAM_6600.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.3 KB
      เปิดดู:
      106
    • SAM_6601.JPG
      SAM_6601.JPG
      ขนาดไฟล์:
      86.3 KB
      เปิดดู:
      90
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  16. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่82 พระเหนือพรหม พิมพ์ใหญ่ หลวงปู่ดู่วัดสะแก มีพระธรรมธาตุ สภาพสวย ปี 2517ให้บูชาพีเอมหรือโทรถามครับ***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
    พุทธคุณและปาฏิหาริย์ของพระเหนือพรหม ของหลวงปู่ดู่ ศิษย์ที่อยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อดู่คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าพระเหนือพรหมของหลวงพ่อใครมีไว้บูชา เรื่องร้ายจะกลับกลายเป็นดี คนดวงตกก็รอดได้ ผู้ใดได้ไข้ได้เจ็บก็หาย ผีและปีศาจร้ายมิอาจกล้ำกราย คุณไสยมนต์ดำการกระทำย่ำยีมิอาจครอบงำ ผู้ใดเป็นศัตรูคิดร้าย จะพินาศด้วยวิบากกรรมของตนเอง บูชาติดตัวไว้ เทพ พรหม เทวดาและมนุษย์รักใคร่เมตตาปราณี ถ้าถึงเวลาหมดอายุจิตสงบพบทางสว่างมีสุขคติเป็นที่ไปผู้ที่มีพระเหนือพรหมของหลวงพ่อองค์เดียวก็เกินพอ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2015
  17. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่83 เหรียญหลวงพ่อนาค วัดป้อมแก้ว สร้างและปลุกเสก โดย หลวงพ่อเพิ่ม ปี 2523

    หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระประธานอยู่ในโบสถ์ วัดป้อมแก้ว อยุธยา เหรียญหลวงพ่อนาคนี้ นับเป็นเหรียญพระพุทธรุ่นแรก ของ หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว สร้างและปลุกเสกโดย หลวงพ่อเพิ่ม ใน ปี 2523 สร้างเฉพาะเนื้อทองแดงเนื้อเดียวเท่านั้น จำนวนสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ

    **องค์นี้สภาพเก่าเก็บ ราคาไม่แพงแบ่งไว้บูชาครับ ให้บูชา 300 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6619.JPG
      SAM_6619.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.8 KB
      เปิดดู:
      118
    • SAM_6621.JPG
      SAM_6621.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66 KB
      เปิดดู:
      95
  18. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่84 ล็อคเก็ตรูปไข่ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ [/B]***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***

    น่าจะออกรุ่นแรก ๆ คมชัด สี เนื้อหาเหมือนกับรุ่นกลมทีมีรูปแหวนครับ

    *องค์นี้สภาพสวย หายากแล้วครับ ลอคเก๊ตรุ่นนี้ ให้บูชา 400 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6624.JPG
      SAM_6624.JPG
      ขนาดไฟล์:
      41.8 KB
      เปิดดู:
      65
    • SAM_6626.JPG
      SAM_6626.JPG
      ขนาดไฟล์:
      56 KB
      เปิดดู:
      78
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  19. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ให้บูชาพระเครื่อง วัตถุมงคล หลากหลายรายการ ค่าจัดส่ง50บาททั่วประเทศครับรับประกันแท้ยินดีคืนเงินเต็มจำนวน โดยไม่มีเงื่อนไขครับ (พระต้องกลับมาสภาพเดิมครับ)
    ท่านที่สนใจจองได้ไม่เกิน3วัน โอนเงินได้ที่รายละเอียดที่อยู่ด้านล่าง หลังจากโอนแล้ว รบกวนโทร.หรืออีเมล์มาบอกชื่อที่อยู่สำหรับจัดส่งด้วยครับ
    ติดต่อสอบถามได้ที่
    - Pm
    - เบอร์โทร 0817933946
    ชำระเงินได้ที่
    ธ.กรุงไทย สาขา ศรีย่าน
    ชื่อบัญชี นายวรัญญู เล้ารัตนอารีย์
    เลขที่บัญชี 012-0-14398-4
     
  20. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...