เส้นทางสายเดียวที่พระอรหันต์ได้เดินผ่าน...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 24 เมษายน 2015.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ติดตามพี่ลุงหมานมาพอสมควร เห็นว่าพี่ลุงหมานเป็นผู้ปฏิบัติที่มีวิชาความรู้ศึกษามาก
    ขอคำแนะนำ และความรู้ แก้ความสงสัยให้ด้วยครับ

    - สติปัฏฐานสี่ พระพุทธเจ้า ท่านสอนกาลใด แก่บุคคลใด สอนอย่างไร มีผู้บรรลุธรรมเป็นอริยะบุคคลจำนวนเท่าใด
    - แล้วโดยปกติ ที่พระพุทธเจ้าครั้งยังไม่ดับขันธ์ปรินิพพาน มีปกติสอนอะไร เป็น โดย ส่วนมากครับ

    ขอบคุณครับ
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระพุทธองค์จะแสดงธรรมแก่ผู้ใดจะต้องใช้พระญาณของพระองค์ก่อนว่า ผู้ใดเหมาะสมแก่ธรรมใดพระองค์แสดงธรรมแก่ผู้ใดจึงไม่มากตรงจิตของผู้นั้นจึงบรรลุธรรมได้ง่าย

    เมื่อพระองค์ยังไม่ปรินิพพาน ท่านได้ภิกษุที่สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคล 60 รูปก็ให้แยกย้ายกันไปโดยมิให้เดินทางไปพร้อมกัน 2 รูป เพื่อนำเอาคำสั่งสอนของพระองค์ไปเผยแพร่

    ดังที่ถามมานั้นว่าท่านสอนคงตอบยาก เพราะไม่เคยเห็นว่าได้บันทึกไว้ในที่ใด แต่มีบันทึกว่าพระองค์สอนแก่ภิกษุมีเทวดาบรลุธรรมเป็นจำนวนโกฏิๆ มนุษย์มีน้อยมาก

    ท่านจะสอนมนุษย์ 2 อย่างคือ สมถะกับวิปัสสนา ผู้ที่มีจิตที่ยังเกี่ยวข้องกับทางโลกอยู่ท่านจะสอนสมถะกรรมฐาน เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในโลกและโลกหน้าอย่างความสุข ท่านก็ให้ใช้กรรมฐาน 40

    สำหรับบุคคลที่เบื่อหน่ายการเกิดอีกท่านก็สอนในการทำวิปัสสนา ในการเจริญสติปัฎฐาน 4 อันเป็นทางสายเดียวเพื่อบรรลุถึงนิพพาน

    อาจสาธยายธรรมไม่กว้างขวางพอเพราะใช้โทรศัพท์ตัวอักษรมันตัวเล็กมองยาก สงสัยอยากรู้อะไรถามมาใหม่ได้พรุ่งนี้ตอบในแป้นคอมฯ
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอพี่ลุงหมานเพิ่มเติมให้อีกนิดเพื่อคลายสงสัย
    มหาสติปัฎฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสเทศน์สอนในกาลใด กับบุคคลใด เฉพาะกลุ่มหรือไม่ครับพี่หลุงหมาน
    ขอบคุณครับ
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......มหาสติปัฎฐานสี่ ก็คือ สัมมาสติ 1ในองค์มรรคแห่ง อริยมรรคมีองคแปดครับ--------พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่งพรมห์จรรย์ และผลแห่งพรมจรรย์ เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุทั้งหลาย พรมจรรย์เป็นอย่างไรเล่า คืือ อริยอัฐฐังคิกมรรค นี้นั้นเอง ได้แก่ สัมมาทิฐฐิ สัมมาสังกัปปะ าัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลายนี้เรากล่าวว่า พรมจรรย ภิกษุทั้งหลายผลแห่งพรมจรรย เป็นอย่างไรเล่า คือ โสดาปัตติผล สทากามิผล อนาคามิผล อรหัตผล ภิกษุทั้งหลายนี่เรากล่าวว่า ผลแห่งพรมจรรย --มหาวาร.สํ:cool:----ปรารภโพชฌงค์ แล้ว มรรคมีอันปรารภด้วย---พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงคเจ็ดประการอ อันบุคคลใด ใครก็ตาม ปรารถผิดแล้ว อริยมรรค อันเป้นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก้เป็นอันปรารภผิดด้วย ภิกษุทั้งหลายโพชฌงค์เจ็ดประการ อันบุุคคคลใดใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว อริยมรรคอันเป้นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก้เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย โพชฌงค์เจ็ดประการ อย่างไรเล่า เจ็ดประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์เจ็ดประการ เหล่านี้ อันบุคคลใด ใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว อริยะมรรค อันเป็นทางให้สิ้นทุกขโดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภผิดแล้วด้วย ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์เจ็ดประการ เหล่านี้ อันบุคคลใด ใครก็ตามปรารภถูกต้องแล้ว อริยะมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย ภิกาุทั้งหลาย โพชฌงค์เจ็ดประการ เหล่านี้อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว เป็นธรรมเครื่องนำออกอันประเสริฐ ย่อมนำบุคคลผู้ประพฤติโพชฌงคนั้นไปเพื่อคงามสิ้นทุกขโดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์เจ็ดประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพ่อส่วนเดียว เพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความเข้าไปรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และเพื่อ นิพพาน--มหาวาร.สํ.19/117-118/431-434:cool:---- ปรารภสติปัฐฐานแล้ว มรรคเป็นอันปรารภแล้วด้วย---พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย สติปัฐฐานสี่อย่า อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว อริยะอัฐฐังคิกมรรค อันเป้นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้นก็เป็นอันปรารภผิดด้วย ภิกาุทั้งหลาย สติปัฐฐานสี่อย่างอันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว อริยะอัฐฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย สติปัฐฐานสี่อย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณ๊นี้ ย่อมเป้นผู้มีปรกติ ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีปรกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีปรกติตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีปรกติตามเห้นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่ง อภิชฌาและโทมนัสในโลก ภิกษุทั้งหลาย สติปัฐฐานสี่อย่างเหล่านี้อันบุคคลใดใครก็ตามปรารภผิดแล้ว อริยะอัฐฐังคิกมรรค อันเป้นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้นก็เป็นอันปรารภผิดแล้วด้วย ภิกษุทั้งหลาย สติปัฐฐานสี่อย่างเหล่านี้ อันบุคคลใดใครปรรภถุกต้องแล้ว อริยอัฐฐังคิกมรรคอันเป้นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย--มหาวาร.สํ.19/240/801.:cool:-----------มีหลายพระสูตรที่กล่าวถึง มรรคมีองค์แปดหรออริยะอัฐฐังคิกมรรค ซึ่งเป็นหนึ่งในอริยะสัจสี่ คือทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ พูดง่ายง่าย คือ ในทุกการภาวนาจะต้อง เป็น ส่วนนึงของ มรรคแปดทั้งนั้น ไม่ว่าผู้ภาวนาจะทำอะไร(ภาวนาถูกทาง) เหมือนที่พระธัมมาเถรี ตอบนางวิสาขา ว่า มรรคแปดสงเคราะห์ลงใด้ในสิกขาสาม คือ อธิศิสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา(ศิล สมาธิ ปัญญา) สรุปแล้ว....ก็ ถ้าปฎิบัติภาวนาใด สงเคราะห์ลงในมรรคแปดได้ ทางนั้นก็ คือ นิพพานคามิมรรค มหาสติปัฐฐานเอง ในพระสูตรโดยปริยายก็ คือ "สัมมาสติ 1 ในองค์มรรคนั้นเอง แต่ มีพระสูตรที่ยกมาโดยเฉพาะว่า ถ้า ทำมหาสติปัฐฐานสี่ ถูกต้อง มรรคแปด ก็ อาจครบองคได้ เป็นอริยะมรรคสมังคีได้ เหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2015
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....พระวจนะ" สุภัทธะ อริยะอัฐฐังคิกมรรค หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด สมณะ ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สองก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สามก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สี่ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น....สภัทธะ อริยะอัฐฐังคิกมรรค หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สองก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สามก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สี่ก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น .....สภัทธะ อริยะอัฐฐังคิกมรรค หาได้ในธรรมวินัยนี้แล สมณะหาได้ในธรรมวินัยนี้ทีเดียว สมณะที่สองหาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่สามหาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่สี่หาได้ในธรรมวินัยนี้ วาทะของพวกอื่นว่างจากสมณะของพวกอื่น สุภัทธะ ถ้าภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ จะพึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย---มหา.ที.10/175/138:cool:
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ......ตั้งโจทยืไว้ยัง ยังไม่ครอบคลุมครับ...พระสูตรในอริยะสัจสี่ หรือ พระสูตรใดก็ตาม ยก อริยะมรรคมีองค์แปด(มรรค8)คือที่สุด ของทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ สงเคราะห์ ลงได้ใน สิกขาสาม คือ อธิสิลสิกขา อธิจิตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา.....สมถะหรอทำสมาธิ หรือแม้แต่มหาสติเอง สงเคราะห์ลงใน อธิจิตสิกขา เหมือนกันครับ ทำให้มาแล้วอบรมแล้ว ทำให้เกิด อธิปัญญาสิกขา ซึ่ง ส่วนนึงคือ ทำลายอาสวะกิเลสลงได้ครับ:cool:
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ตรัสสอนในกาลอันสมควร กับบุคคลที่สมควรแก่การบรรลุธรรม ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพราะธรรมของพระองค์เป็นสาธารณะ
     
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอบคุณพี่ลุงหมานสำหรับความเห็นที่แนะนำและตอบมาให้ครับ สาธุ

    ขอคำตอบ จากพี่ๆท่านใดที่มีความรู้ความจริงจากตำราแก้ข้อสงสัย ที่มาของสติปัฏฐานสูตร ให้ด้วยครับ
    ขอบคุณครับ
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ลองอ่านตรงนี้หน่อยจะเป็นไง แต่มันยาวยกมาเต็มสูตรเลย

    http://www.larnbuddhism.com/grammathan/tripitakapatibat/sati.html
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอบคุณมากๆครับพี่ลุงหมาน

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    มหาสติปัฏฐานสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6257&Z=6764





    อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
    มหาสติปัฏฐานสูตร (มี ๖ หน้า)

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1



    ขออนุญาตพี่ลุงหมานแปะลิ้งค์ เนื้อความในพระไตรปิฎก และอรรถกถา อธิบาย ไว้ก่อนนะครับเดี๋ยวมาตามอ่าน เผื่อมีคนที่สนใจที่มาในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ คลายความสงสัยแบบผมและหาความรู้เพิ่มเติมไปด้วยกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤษภาคม 2015
  11. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228

    - ใช่ละครับ คุณจิตยิ้ม มีคนที่เข้าใจในทิศทางเดียวกับที่ผมเข้าใจ ใช่เลยครับ

    - สติ มีก็เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ ถ้าไม่มีสติก็ไม่สามารถสร้างสัมปชัญญะได้
    - การรู้อย่างแจ่มแจ้ง เป็นสัมปชัญญะ เป็นเรื่องที่นักปฏิบัติต้องฝึกคลำเอาให้เข้าใจว่าสิ่งนี้คือสัมปชัญญะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำวิปัสสนา ถ้าไม่มีสัมปชัญญะ จะมีวิปัสสนาได้อย่างไร นะครับ

    - เกษียณงาน แล้วจะตั้งสำนักวิปัสสนาคนจน บ้านนอก จะเชิญลุงหมาน เชิญคุณจิตยิ้ม คุณสับสน จ่ายักษ์ กลุ่มเนี้ย มาเป็นวิทยากร ต้องฟรีๆ นะครับ
     
  12. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ที่กล่าวว่า สติปัฏฐาน เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยปัญญาล้วนๆ อันนี้ไม่เห็นด้วยครับ ทั้งในเนื้อความในพระไตรปิฏก และอรรถกถา ไม่กล่าวเช่นนั้น

    ที่ว่า วิปัสสนาก็ไม่เห็นความจำเป็นจะต้องพึ่งสมถะให้เป็นไปพร้อม ลำพังวิปัสสนาตัวเดียว ก็ทำให้การเข้าถึงการบรรลุธรรมได้อย่างเอกเทศ พี่ลุงหมานรู้มาจากไหนครับ คิดเองเหรอครับ

    ส่วนทางสายเดียวเท่านั้น ทางอื่นไม่มี อรรถกถา ไม่ได้อธิบายความอย่างลุงหมาน ขยายส่วนนี้หน่อยได้ไหมครับ

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2015
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ไม่ได้ฌานอะไรเลยมีเยอะแยะ ที่เรียกว่าสุขวิปัสสโก
    คือท่านเจริญวิปัสสนาอย่างเดี๋ยวโดยไม่ต้องอาศัยสมถะ ไม่ได้อาศัยอารมณ์ใดที่เป็นอารมณ์ของสมถะเลย
    เมื่อสำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว ท่านจะกลับมาเจริญสมถะก็คงเป็นเรื่องง่ายแล้ว เพราะกิเลสนิวรณ์ทั้งหลายที่จะมาเป็นตัวขัดขวาง
    ท่านได้กำจัดไปหมดสิ้น จึงถือได้ว่าสมถะจึงเปรียบเสมือนของเด็กเล่น คิดจะให้มีก็ทำไม่คิดจะให้มีก็ไม่ต้องทำ

    การศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    การที่เราไม่ได้ศึษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยละเอียด หรือยังไม่แตกฉานในพระธรรมแล้ว
    เอาความรู้สึกของตัวเองไปสรุปคำสอนของพระพุทธเจ้า มีการนำไปปฏิบัติโดยไม่เข้าใจว่าพระธรรมส่วนใหนเห็นเหตุ
    พระธรรมส่วนใหนเป็นผล แยกออกจากกันไม่ได้ เห็นว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็เลยนำไปปฏิบัติทันที
    โดยไม่พิจารณาให้ดีเสียก่อนว่าพระพุทธเจ้ากำลังสอนผู้ใด

    ในพระไตรปิฎกนั้น ส่วนมากพระพุทธองค์สอนพระอริยะหรือพระอรหันต์ พระองค์ท่านจะแสดงธรรมที่สรุปเป็นผลออกมา
    พระองค์ท่านมิได้แสดงธรรมตั้งแต่เหตุไปหาผล เพราะอริยบุคคลนั้นรู้ดีว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล
    แต่ถ้าพระพุทธเจ้าตรัสสอนบุคคลธรรมดาทั่วไป จะตรัสสอนตั้งแต่เหตุไปหาผล ซึ่งมีไม่มากในพระไตรปิฎก
    ส่วนมากที่แสดงจึงเป็นผลนำไปปฏิบัติทันทีไม่ได้ดังจะเห็นได้ว่า ในอริยสัจจ์ ๔ ท่านจะแสดงผลก่อนและจึงจะแสดงให้เห็นเหตุที่หลัง

    หากเราไม่พินิจพิจารณาดีๆ พอได้อ่านพระไตรปิฎกแล้วเห็นว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ก็นำไปปฏิบัติทันที
    ผลที่ได้ก็ตรงกับเหตุ ก็คือ ไม่มีปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้ ได้แต่ความสงบ ได้แต่หลบทุกข์ชั่วคราว
    บางท่านเข้าใจว่าตนเองได้มรรคผลแล้ว อันที่จริง ได้เพียงฌาน อภิญญา หรือความรู้ยิ่งในความสงบเท่านั้น
    ไม่ใช่ปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้ เพราะทำเหตุผล ผลจึงออกมาผิด เช่น เอามรรค ๘ ไปปฏิบัติโดยตรง เป็นต้น

    ต่อมา ความเข้าใจผิดก็มีมากยิ่งขึ้นไปอีก ถึงขนาดเรียงการปฏิบัติเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา บอกว่าเป็นการปฏิบัติแนวไตรสิกขา
    ซึ่งไตรสิกขาก็ไม่ใช่แนวทางการปฏิบัติ หากท่านลองไปศึกษาดูสรุปของโอวาทปาติโมกข์ พระองค์ท่านสรุปให้เอาปัญญาขึ้นก่อน เ
    มื่อมีปัญญา รู้ถูก รู้ผิด รู้ดี รู้ชั่ว ศีลจึงเกิดขึ้น เมื่อกายสงบใจสงบเพราะศีลแล้ว สมาธิก็เกิดขึ้น จะเห็นว่า ศีลและสมาธิ
    เป็นผลได้จากการมีปัญญา แบบนี้เรียกว่า สัมมามรรค ไม่ใช่ไปเรียงองค์ธรรมตามใจตัวเอง

    การเอาศีลขึ้นก่อนและไปหาสมาธิ อย่างนี้ถือว่าถูกเหตุถูกปัจจัย แต่จากสมาธิไปหาปัญญานั้นผิด เพราะผิดเหตุปัจจัย
    สมาธิเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความสงบ ไม่ใช่เหตุปัจจัยที่จำทำให้เกิดปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้
    ในที่สุด ก็ไปตันที่ความสงบ หลงอยู่ที่ฌาน อภิญญา หลายท่านปฏิบัติถึงจุดนี้แล้วคิดว่าตนเองบรรลุมรรคผลแล้ว
    ความจริงยังห่างไกลเส้นทางโลกุตตระอยู่มาก เป็นเพียงคุณวิเศษทางโลกียะเท่านั้น

    การนำ ศีล สมาธิ ปัญญา แบบนี้เป็นหลักในการปฏิบัติ ผลออกมามีแต่คนมีศีล และมีสมาธิ
    ไม่มีผู้ใดมีปัญญามาดับทุกข์ได้เลย มีแต่หลบทุกข์อยู่ชั่วคราว พากันเป็นฤาษีกันหมด ไม่ใช่สาวกของพระพุทธเจ้า
    เพราะเอามิจฉามรรคไปปฏิบัติ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า

    พวกเราชาวพุทธต้องระวังให้ดี ไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าดีพอ แล้วนำไปปฏิบัติ
    ยังนำมาสอนชาวพุทธต่อไปอย่างผิดๆ อีก แทนที่จะเป็นผลดีต่อพุทธศาสนา กลับส่งผลตรงกันข้าม
    พวกเราจะเป็นพวกที่ลำลายพุทธศาสนาให้หายไปจากประเทศไทยเร็วขึ้น

    หากไม่เข้าใจอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผลแล้วนำมาปฏิบัติ จะเป็นการปฏิบัติผิดธรรมทันที
    หากตรวจสอบดูทางธรรมแล้ว ผู้นั้นหมดสภาพการเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าทันทีที่ปฏิบัติ
    เพราะบอกตัวเองว่าเป็นพุทธ แต่เอาคำสอนการปฏิบัติของพราหมณ์หรือแบบอื่นมาปฏิบัติ อย่างนี้ไม่ใช่พุทธ

    ประการที่ ๒ ทำให้ชาวพุทธพากันหลง ก็คือ พวกที่เรียนรู้แล้วไม่ปฏิบัติ กับอีกพวกที่ปฏิบัติโดยไม่เรียนรู้
    เป็นแบบนี้มาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น ชาวพุทธตอนนี้ต้องช่วยเหลือตัวเอง อย่าหวังให้ใครช่วย
    ต้องรู้จักเรียนให้รู้ก่อนไปปฏิบัติ อย่าเอาแต่คำเขาว่า เพราะการเดินทางผิด ก็ถือว่าเสียเวลาไปทั้งชาติเลยทีเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2015
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ....อันที่จริง ความเป้นห่วง ของลุงหมานก็เป็นเร่องดี แต่....ความเป้นห่วง นั้นก็ อาจจะไม่ใช่อาจจะไม่เป็น ตาม สิ่งที่เราคิดเสมอไป...เม่อเช่นนี้แล้ว ความเป็นห่วงนั้น ก็ คง ไม่ได้ เป้นสิ่งที่แน่นอนตายตัว....ผู้ภาวนาได้ ตามศาสนาอาจจะมีอยู่เป็นปรกติ ก้ได้ ใครจะรู้...จะไป คิดว่า เขาภาวนา ผิด ท่าเดียว ก็ คงไม่ใช่ จะกลายเป็น อกุศล ที่เรา เพ่งผู้อื่น จนเกินไปหรอเปล่า ครับ (ซึ่งเมื่อ บังคับบัญชา ไม่ได้ ก็ คงต้อง เข้าใจ กำหนดรู้ัมันเป้น ทุกขสัจจ):cool:-----พระวจนะ" ศิลเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่า่งนี้ ปัญญา้เป้นอย่างนี้ สมาธิที่ศิล อบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงคใหญ่ ปัญญาที่สมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงคใหญ่ จิต ที่ปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจาก อาสวะ ทั้งหลายโดยชอบเทียว คอ พ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ--มหา,ที.10/96/76....:cool:
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็แสดงไปตามทัสสนะคติที่ตนเห็นตามที่ได้ศึกษามาและก็เห็นว่ามันเป็นจริงที่ไม่ควรจะหักล้าง เพราะมีหลักฐานชัดเจนที่จะเอามาอ้างอิงได้ ส่วนใครจะเห็นแย้งหรือเห็นตามนั้นมันก็สุดแล้วแต่เขาที่จะพิจารณาด้วยปัญญาของเขาเอง
     
  16. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ถูกใจส่วนนี้ครับ

    แต่ทั้งหมดที่พี่ลุงหมานกล่าวแนะนำมา ขอรับไปพิจารนาครับ
    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2015
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ลุงหมานกล่าวธรรมไปตามที่ได้ศึกษามามีหลักฐานและองค์ธรรมที่อ้างอิงได้
    ไม่กล่าวธรรมเพื่อให้ต้องเชื่อตาม หรือบังคับให้ต้องเชื่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2015
  18. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    สิ่งที่กล่าวนั้นดีแต่ถ้าจิตคนอ่านยกเอาส่วนหนึ่งส่วนใดขึ้นแล้วชี้ว่าไม่ถูกโดยมิได้พิจารณาทั้งหมดนั้น มันไม่จบหรอกครับ มันจะไปได้เรื่อยๆโดยมีเหตุให้ไป ลุงกล่าวนั้นมันดีแต่ต้องเป็นองค์รวมทั้งหมด แต่ถ้าถอดเอาวรรคหนึ่ง วรรคใดหรือประโยคหนึ่งประโยคใดยกขึ้นมาจะตีความได้ว่าผิดธรรมทันที
    ผมว่าลุงทำถูกแล้วครับนักปฏิบัติที่ดีจะไม่บอกว่าตนถึงไหนแล้วแต่จะยกแผนที่ขึ้นบอกแทน แต่บางคนชอบอวดตนต้องฉันซิฉันบอกตามที่ฉันทำได้แต่จริงๆแล้วมั่วธรรมไม่ได้ทำเเล้วเอาความคิดน้อยๆของตนขึ้นเทียบ. คนในนี้ที่ปฏิบัติจริงผมเห็นมีแต่ยกพุทธวจนะขึ้นกล่าวทั้งนั้น. เช่น คุณมาจากดิน เป็นต้น(ขออภัยที่ยกนามขึ้นกล่าว). นั้นก็ทำจริง เค้าเข้าใจจริงจึงรู้ว่าเหตุไหนควรยกพุทธวจนะบทไหนขึ้นกล่าว เหมือนกับลุงน้้นแหละครับ ส่วนคนที่นั่งเทียนก็จะแสดงตัวตนออกมาเองแถมยังมั่วได้เรื่อยๆ อีกต่างหาก ขอให้เจริญในธรรมครับ. สาธุ
    ป.ล. ลืมไปครับ มีอีกประเภทครับคือ เป็นมนุษย์อุจาระเหม็น มีขันธ์5 มหาภูตทั้ง4แต่กลับมโนว่าตนเป็นนั้นเป็นนี้ อันนี้หนักกว่าอีกครับ. น่าเป็นห่วงว่าจะเป็นจิตเภทที่ต้องรักษารึเปล่าต้องตรวจนะครับ เป็นห่วงจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2015
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,429
    ค่าพลัง:
    +3,209
    แผนทึ่คะ^-^ ตามรอยพระอรหันต์

    เมื่ออินทรีย์สังวรบริบูรณ์เต็มที่แล้ว ก็เกิดธรรมอื่น ๆ ส่งต่อกันเป็นลำดับ จนถึงวิมุตติ

    พระองค์ตรัสไว้ในที่ต่าง ๆ กันดังนี้ว่า "จิตของผู้ใดตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนแท่งศิลา
    ไม่กำหนัดในสิ่งยั่วกำหนัด ไม่ขัดเคืองในสิ่งยั่วความขัดเคือง ความทุกข์ก็จะมา
    ถูกต้องคนผู้อบรมจิตได้อย่างนี้ ได้อย่างไรเล่า"

    "ทวารทั้งหลาย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันภิกษุใดรักษาดีแล้ว เธอเป็นผู้รู้
    ประมาณในอาหาร สำรวมดีแล้วในอินทรียทั้งหลาย ประสบสุขทั้งกายและใจ
    เธอเป็นผู้ที่มีร่างกายอันไฟทุกข์และไฟกิเลสไหม้ไม่ได้ อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน
    ย่อมอยู่เป็นสุข."

    ภิกษุ ท! เรากล่าวว่า วิชชาและวิมุติเป็นธรรมมีอาหาร, ไม่ใช่ไม่มีอาหาร:
    อะไรเล่าเป็นอาหาร? คำตอบคือ โพชฌงค์เจ็ด
    - เรากล่าว โพชฌงค์เจ็ด มีธรรมเป็นอาหาร ไม่ใช่ไม่มีอาหาร:
    อะไรเล่าเป็นอาหาร. คำตอบคือ สติปัฎฐานสี่.
    - เรากล่าวว่า สติปัฏฐานสี่ เป็นธรรมมีอาหาร ไม่ใช่ไม่มีอาหาร:
    อะไรเล่าเป็นอาหาร? คำตอบคือ สุจริตสาม
    -เรากล่าวว่า สุจริตสาม เป็นธรรมมีอาหาร ไม่ใช่ไม่มีอาหาร:
    อะไรเล่าเป็นอาหาร? คำตอบคือ อินทรียสังวร,....ฯลฯ.

    ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อการเสพคบกับคนดี บริบูรณ์เต็มที่แล้ว การฟังสัทธรรมก็เต็มที่,
    เมื่อการฟังสัทธรรมเต็มที่แล้ว: สัทธาก็เต็มที่,
    เมื่อสัทธาเต็มที่แล้ว: โยโสมนสิการก็เต็มที่,
    เมื่อโยโสมนสิการเต็มที่แล้ว: สติสัมปชัญญะก็เต็มที่,
    เมื่อสติสัมปชัญญะเต็ม: อินทรีย์สังวรก็เต็มที่,
    เมื่ออินทรียสังวร เต็มที่แล้ว: สุจริตสามก็เต็มที่,
    เมื่อสุจริตสามเต็มที่: สติปัฏฐานสี่ก็เต็มที่,
    เมื่อสติปัฏฐานเต็มที่แล้ว: โพชฌงค์เจ็ดก็เต็มที่,
    เมื่อโพชฌงค์เจ็ดเต็มที่แล้ว: วิชชาและวิมุตติก็เต็มที่:
    อาหารแห่งวิชชาและวิมุตตินี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้,
    เต็มรอบได้ด้วนอาการอย่างนี้.

    เอามาจากแผนที่ตามรอยพระอรหันต์คะ น่าจะถูกทางนะคะ
     
  20. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,085
    อัชฌาสัย สุกขวิปัสสโก ตำราว่าไม่มี ฌาน หรือครับ ลุงหมาน

    แล้วเอากำลังที่ไหนไป วิปัสสนา ล่ะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...