การที่ มี ทิฏฐิ ตั้งธงไปว่า สมาธิ เป็นอะไรที่ ทำให้เดินไม่ล้ม พูดลิ้นไม่พันกัน ยิงปืนก็ตรงเป้า ทำอะไรไม่อายคนอื่นเขา ขี้ไม่เร็ด เยี่ยวไม่รด ฯลฯ จึงทำให้ ลูกหลานของ ทิฏฐิ ที่ตั้งธงไว้ พาไปคิด หรือ พูดว่า " สมาธิเป็นกรงขัง " ทำไมถึงกล่าวแบบนั้น ก็เพลี้ยงพล้ำ ไปเชื่อ มิจฉาทิฏฐิ คิดว่า สมาธิเป็นเรื่อง เดินไม่ล้ม นอนไม่ตกเตียง ฯลฯ จึงทำให้ มาร มันหลอกเอาซ้ำสองว่า สมาธิเป็นกรงขัง ทั้งๆที่ ปฐมฌาณ เนี่ยะ เป็น สภาวะธรรม สะท้อนออกมาจาก " การสงัดจาก กามสัญญา " เอาแค่ คุณของ ปฐมฌาณ ที่ทำให้ห่างจาก กามสัญญา โอยยยยยย ใครที่ไหนจะไปโดน " มาร " มันหลอกว่า เป็นกงขัง มีแต่ พวกไม่ทำสมาธิ ทำไม่เป็น เท่านั้น ที่ยังบอดตาใส แล้ว ยังโดน มารมันหลอกว่า สมาธิเป็นกรงขัง
การ สรรเสริญสมาธิ ของผู้ หมั่นประกอบ เพราะไม่ประมาท อีกทั้ง ทราบ คุณ และ โทษ จะอุปมาเหมือน คนแก่ ผมสีดอกเลา ทราบถึงประโยชน์ของ การออกกำลัง แกว่งแขน เดิน วิ่ง ตอนเช้า มันเป็นกงขังไหม ที่ทุกเช้า จะต้อง ตื่นแต่เช้า ไปทำอะไร ซ้ำๆ แล้วก็ เลิก แปรปรวน ไม่เที่ยง คนเคยออกกำลังกาย รู้ผล รู้รส แห่ง ประโยขน์มหาศาลในการ ออกกำลังกาย จะไม่โง่ ด่า การ ทำ สมาธิ การทำฌาณ ว่าเป็นเรื่อง ไร้ประโยชน์ โทษของมัน ไม่ใช่ เป็นกรงขัง ต้องเสพมันบ่อยๆ วันละครั้ง หรือ สองครั้ง เช้าเย็น โทษของมัน คือ มันไม่เที่ยง คือ ทำแล้วก็เลิก แต่ วิบากผล นั้น ซูดดดดยอด !!! เว้ยเฮ้ย
คำว่าสมาธินั้นทุกคนล้วนแต่มีความรู้สึกเดียวกันว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทั้งมวลซึ่งถ้าใครก็แล้วแต่ที่สามารถทำสมาธิได้ดีชีวิตของบุคคลนั้นจะถูกพัฒนาขึ้นอย่างอัศจรรย์เลยทีเดียว คือจากล้มเหลวเป็นสำเร็จ จากดีเป็นดียิ่งๆขึ้นไป จากดีเป็นดียิ่งๆขึ้นไป จากคนโง่เป็นคนที่ฉลาด จากคนที่ฉลาดเป็นคนที่ฉลาดยิ่งๆขึ้น จากคนที่มีทุกข์กลายเป็นคนที่มีความสุข และจากคนที่มีความสุขก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเหตุนี้เองที่มนุษย์ทุกๆคน อยากจะเป็นผู้ที่สามารถทำสมาธิได้ดี แต่เมื่อได้ทดลองทำแล้ว ก็มีความรู้สึกว่า การฝึกสมาธินั้นเป็นการยากมากๆ เป็นสิ่งที่เกินวิสัยของความเป็นมนุษย์ และก็มีไม่กี่คนที่สามารถทำได้ จนกระทั่งมีความรู้สึกว่า สมาธิน่าจะเป็นเรื่องของนักบวชหรือพวกพระภิกษุ สามเณร จึงทำให้พลาดโอกาสที่จะเข้าถึงความสุขและความสำเร็จไปอย่างน่าเสียดาย
น้อมคารวะทุกท่านทั้งหลายในกระทู้ ข้าพเจ้าเป็นผู้น้อยผ่านมา เห็นหัวข้อกระทู้น่าสนใจ เลยตั้งใจว่าแวะมาเที่ยวกระทู้นี้ กลับพบว่า เหมือนเดินอยู่กลางสนามรบซะงั้น แต่ก็ดีครับได้เห็นอาการแห่งตัวกู "อยากดี" กันเยอะเลย ความจริงแค่เรามีเมตตาตัวเดียวแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ทั้งโลกเลยครับ ตามเข้าใจอันน้อยนิดของผมเองมองว่า อันที่จริงหัวข้อ "ความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ" ไม่เห็นมีอะไรมากเลยครับ สมาธิทั่วไป...ก็เกิดขึ้นเองอยู่แล้วตามธรรมชาติของสัญชาติญาณแห่งการเกิด เช่นเดินข้ามถนน ก็ต้องมีสมาธิ อยู่แล้วตามสัญชาติญาณแห่งการเกิด คืออความระวังตัวเองไม่ให้รถชนตายซะก่อน สมาธิที่ได้รับการฝึกฝน ตั้งแต่อุปจารสมาธิขึ้นไปจนถึงอรูปณาณ4 คือสมาธิที่ได้รับการฝึกฝนเป็นผู้ทรงณาณ ตามกำลังของระดับสมาธินั้นๆ แต่เป็นของเสื่อมครับ สัมมาสมาธิ... คือสมาธิที่ได้รับการฝึกฝนแล้วเป็นฐาน และมีวิปัสนาญาณทั้ง4หมวด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นผู้ดู ผู้รู้ คือเมื่อเอาวิปัสนาญาณนี้ไปจับขันธ์5 ไม่ว่าจะเป็นกองใด ก็ล้วนเห็นว่าเป็น ไตรลักษณ์ คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทุกกอง ทำบ่อยๆจนจิตชินและยอมรับว่า ขันธ์5 ไม่ใช่เรา ก็จะลดกำลังของสังโยชน์10ได้ตามกำลังใจของเรา ส่วนถ้าปล่อยขันธ์5ลงได้ทั้งหมด อันนี้จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิตัวจริง เต็มกำลัง ปล.หากผิดพลาดอย่างไรโปรดเมตตา อย่ารุมกระทืบผู้น้อยนะครับ ({)(})
ความจริงที่น้องโพสมานั้นถูกต้องแล้วครับ กระทู้ดีๆ กลายเป็น.....เว็ปดีๆก็กลายได้ เมตตานั้นให้ได้แต่ก็ใช่ว่าจะใช้ได้ทุกคน บางคนไม่รับก็มี เสียดายทีมงานดี มีความคิดดีแต่บางคนทำสิ่งดีๆให้กลายเป็น...... ความคิดเห็นของน้องดีมากครับเป็นประโยชน์ ต่อสาธารณะชน ครับ สาธุ
^ ^ อ้าวลุงว่าไปนั่น ลุงยังไม่รู้ตัวอีกหรือว่าอยู่ในโลกที่มืดยิ่งกล่าวมืดมิดมานานแล้ว พูดมาได้สมาธิเฉยๆ มีด้วยหรือสมาธิเฉยๆ ทำให้ธรรมะวิบัติไปหมด แถมยังไปหมายเอา การทำงานในชีวิตประจำวันไปซะงั้น พูดง่ายๆแบบที่มีคนพยายามอธิบายว่า "ทำการงานอะไรต้องมีสมาธิทั้งนั้น" จริงหรือ? อย่างเช่นคนกำลังเล่นไพ่ กำลังตั้งวงกินเหล้า เที่ยวผู้หญิง ล้วนมีสมาธิกับเค้าด้วยหรือ? อยากจะมั่วอะไรก็หัดเกรงใจคนอ่านบ้าง ก็เล่นเอาความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำการงานทั้งหลาย เป็นเรื่องสมาธิไปเสียหมดแบบนี้ จะต้องไปบวชจิตบวชใจไปทำไม สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกหัดปล่อยวางอารมณ์หยาบไปสู่อารมณ์ละเอียด นำไปใช้ในชีวิตประจำวันคือ เมื่อกระทบกับอารมณ์ รัก ชอบ ชัง ต้องปล่อยวางอารมณ์หยาบออกไป ทำให้จิตสงบลงให้ได้แค่นั้น นี่เรื่อง"สมาธิ" ส่วนสัมมาสมาธิที่เห็นหลายคนพยายามอธิบายมา พอรับได้เท่านั้น แต่ยังไม่รู้จักคุณประโยชน์ที่แท้จริงของสัมมาสมาธิเลย และที่เรื่องพยายามอธิบายอยู่ เอาเรื่องฆ่าตัดชีวิต(อกุศล)มาเป็นอารมณ์นั้น อายุสูงวัยถึงขนาดนี้ ยังขาดสำนึกอีกต่างหาก ของที่เป็นไปไม่ได้ ก็พยายามจังที่จะอธิบายให้เข้ากับตำราให้ได้ เฮ้อ!!! เจริญในธรรมทุกๆท่าน
^ ^ ถ้าสมาธิเกิดขึ้นเองได้จริงๆแล้ว จะต้องเสียเวลาไปฝึกฝนในการสร้างสติเพื่ออะไร? การสร้างสติ เพื่อให้จิตใจสบงตั้งมั่นลงได้ใช่หรือไม่? อย่านำเอาความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการงานทั้งหลายไปปนเปกับเรื่องจิตสบงตั้งมั่น สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกหัดปล่อยวางอารมณ์หยาบไปสู่อารมณ์ละเอียด นำไปใช้ในชีวิตประจำวันคือ เมื่อกระทบกับอารมณ์ รัก ชอบ ชัง ต้องปล่อยวางอารมณ์หยาบออกไป ทำให้จิตสงบลงให้ได้แค่นั้น นี่เรื่อง"สมาธิ" เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ที่ต้องฝึกเพราะสมาธิตามธรรมชาตินั้นมีกำลังน้อยครับ(ขณิกสมาธิ) จึงมีผู้รู้ทำการฝึกขึ้นมาเป็นฌาณ ตามข้อที่2 ครับ ส่วนข้อที่3 เรียกว่าสัมมาสมาธินั้น เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า ทรงค้นพบด้วยตนเองครับ เหตุที่กล้าพูดเช่นนี้ เพราะ สัมมาสมาธิ เป็นมรรคองค์ที่8 ในมรรค8ที่พระองค์แสดงธรรม ซึ่งมรรค8มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาครับ ส่วน สัมมาสตินั้น เป็นมรรคองค์ที่7 ครับ เป็นส่วนที่เป็นปัญญา เมื่อฝึกเจริญสัมมาสติ แล้วจะรู้จักเข้าใจโลกตามความเป็นจริงมากแล้ว ก็จะเป็น สัมมา.. ตั้งแต่สัมมาทิฐิจนถึงสัมมาสมาธิ ครับ การฝึกสติ จึงเป็นกุญแจดอกเอก เพื่อความไม่มีทุกข์ครับ ขอตอบว่า ใช่ ครับ แต่ขออนุญาตขยายความว่า ที่สงบลงได้นั้น เป็นผลจากปัญญาครับ คือจิตไปวางเองด้วยปัญญาครับ ไม่ไช่ด้วยการข่มกด บังคับให้วาง สัมมาสติที่ถูกต้องนั้นเป็นปัญญา ครับ คือ ดูเฉยๆ ตามดูตามรู้สภาะวะของกายและใจ ตามสิ่งที่มันเป็น สักแต่ว่า รู้เฉยๆ จนเห็นเป็นไตรลักษ์ มันจะวางเองครับ จิตใจสบงตั้งมั่นลง ได้ด้วยปัญญา ครับ
คำแปล สมาธิ ตามพจนานุกรมฉบับภาษาไทย แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต การสำรวมใจ การเพ่ง การแน่วแน่ ความตรึกตรองอย่างเคร่งเคลียดในสิ่งหนึ่งสิ่งใด. นั้นคือคำแปลของ สมาธิ สัมมาสมาธิ แปลตามพจนานุกรมฉบับภาษาไทย. แปลว่า สมาธิชอบ ตั้งจิตชอบ. นั้นคือสมาธินั้นมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้า จะทรงประสูติเสียอึก สัมมาสมาธิมีแต่ศาสนาพุทธเท่านั้น. พระพุทธองค์ทรงค้นพบและประกาศ อยู่ในพระอริยมรรคมีองค์8 หวังว่าคงเข้าใจกันแล้วนะครับว่าต่างกันอย่างใด สาธุ
เดิมใช้ชื่ออะไรเล่าครับ ต้องสมัครมาใหม่เพื่อโฆษณาดูจิตเลยรึ.. ..อีกอย่างนะครับดูจนเห็นไตรลักษณ์นี่.. คุณดูยังไงครับ ใช้อะไรดู สัญญา นึกคิดเอาเอง หรือสมาธิขั้นไหนครับ ขอความรู้หน่อยครับ..ไม่ได้จับผิดนะครับแต่ผมทำไม่ได้จึงอยากรู้ตามที่คุณบรรยายมานะครับ ทำยังไงครับ
๘. สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคข้อสุดท้าย และเป็นข้อที่มีเนื้อหาสำหรับศึกษามาก เพราะเป็นเรื่องของการฝึกอบรมพัฒนาจิตในขั้นเต็มกระบวน เป็นเรื่องละเอียดประณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตอันเป็นของละเอียดและในแง่การปฏิบัติที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน หรือเป็นสนามรวมของการปฏิบัติ ความหมายของสมาธิ สมาธิ แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด คำจำกัดความของสมาธิ ที่พบเสมอคือ "จิตตัสเสกัคคตา" หรือ เรียกสั้นๆว่า "เอกัคคตา" ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ส่าย ไม่วอกแวก คัมภีร์รุ่นอรรถกถาระบุว่า สมาธิ คือภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียว ของกุศลจิต และไขความว่า หมายถึงการดำรงจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์หนึ่งเดียว อย่างเรียบสม่ำเสมอ และด้วยดี หรือแม้แต่แค่จิตตั้งมั่น* พร้อมนั้น ท่านแสดงสาระสำคัญไว้ ซึ่งขอพูดให้ง่ายว่า สมาธิมีลักษณะไม่ส่ายหรือไม่ฟุ้งซ่าน มีหน้าที่ช่วยให้ประดาธรรมที่เกิดร่วมรวมตัวกันอยู่ได้ เหมือนน้ำผนึกผงแป้งไว้ไม่ฟุ้งกระจาย ปรากฏเป็นความสงบ โดยมีความสุขเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้) อย่างพิเศษที่จะให้ถึงสมาธิ จิตที่เป็นสมาธินั้น นิ่งแน่ว เหมือนเปลวเทียนในที่ไม่มีลมกวน ไฟทำงานเผาไหม้ต่อเนื่องไปอย่างสม่ำเสมอ มิใช่หยุดนิ่ง แต่สงบนิ่งแน่ว "สัมมาสมาธิ" ตามคำจำกัดความในพระสูตรทั่วไป เจาะจงว่า ได้แก่ สมาธิตามแนวฌาน ๔ ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ ๒. เข้าถึงทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตภายใน มีภาวะใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางไป เธอมีอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ๔. เพราะละสุขและทุกข์ และเพราะโสมนัสโทมนัสดับหายไปก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่" อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความนี้ น่าจะถือเป็นการแดสงความหมายแบบเต็มกระบวน ดังจะเห็นว่า บางแห่ง ท่านกล่าวถึงจิตสัสเสกัคคตานั่นเอง ว่าเป็นสมาธินทรีย์ ดังบาลีว่า "ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ คือ สมาธิ เป็นไฉน? คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กำหนดภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต (ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว) นี้ เรียกว่าอินทรีย์ คือ สมาธิ" ส่วนคำจำกัดความในอภิธรรมปิฎก ว่าดังนี้ "สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความตั้งแน่ว ความมั่นลงไป ความไม่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่าน ภาวะที่มีใจไม่ซัดส่าย ความสงบ (สมถะ) สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี่เรียกว่า สัมมาสมาธิ" ว่าโดยสาระสำคัญ สมาธิที่ใช้ถูกทาง เพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตัวตน เช่น จะอวดฤทธิ์ อวดความสามารถ เป็นต้น นั่นเอง เป็นสัมมาสมาธิ * ดังหลักการที่ท่านแสดงไว้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้ โดยใช้สมาธิเพียงขั้นต้นๆ ที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ คือสมาธิที่ใช้ประกอบกับวิปัสสนา หรือเพื่อสร้างปัญญาที่รู้แจ้ง อันเป็นสมาธิในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับอุปจารสมาธิเท่านั้น ......................... อ้างอิงที่ * วิสุทธิ.๑/๑๐๕...ในอกุศลจิต เอกัคคตาหรือสมาธิ ก็เกิดได้ ดังที่ อภิ.สํ.๓๔/๒๗๕-๓๓๖/๑๐๑-๑๒๗ แสดงการที่เอกัคคตา สมาธินทรีย์ และมิจฉาสมาธิ ประกอบร่วมอยู่ในจิตที่เป็นอกุศล และอรรถกถาได้ยกตัวอย่าง เช่น คนที่มีจิตแน่วแน่ในขณะเอามีดฟาดฟันลงที่ตัวของสัตว์ ไม่ให้ผิดพลาด ในเวลาตั้งใจลักของเขา และในเวลาประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เอกัคคตาในฝ่ายอกุศลนี้ มีกำลังน้อย อ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทนทานเหมือนในฝ่ายกุศล เปรียบดังเอาน้ำราดในที่แห้งฝุ่นฟุ้ง ฝุ่นสงบลงชั่วเวลาสั้น ไม่นาน ก็จะแห้ง มีฝุ่นขึ้นตามเดิม... * อรรถกถาแสดงไว้อีกแห่งหนึ่งว่า สัมมาสมาธิ ได้แก่ ยาถาวสมาธิ (สมาธิที่แท้ หรือสมาธิที่ตรงตามสภาวะ) นิยยานิกสมาธิ (สมาธิที่นำออกจากวัฏฏะ คือ นำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ หรือสู่ความเป็นอิสระ) กุศลสมาธิ (สมาธิที่เป็นกุศล) เช่น สงฺคณี. อ. ๒๒๔
1. ผมใช้ชื่อนี้มาตั้งแต่แรกครับ bi=สอง oxมากจากเกมส์ biox = การเกิด-ดับ ผมไม่ได้มาโฆษณาอะไรเลยครับ และไม่ได้เข้าเวปนี้นานมากๆๆๆ ผมสมัครทิ้งไว้ตั้งแต่ปี2008ครับ เพราะรู้ว่าตัวเองว่าเถียงไม่เป็นเลยครับ ที่ไม่ได้เข้ามาบ่อยๆ ไม่ใช่งานการยุ่งอะไรหรอกครับ มีเวลากรรมฐานถมเถไป แต่ที่นี่มีผู้ปราณาพุทธภูมิกันมาก ซึ่งท่านปราณาพุทธภูมิส่วนใหญ่ ท่านไม่เชื่ออะไรง่ายๆครับ ต้องทดสอบ เจอ ด้วยตนเองครับ ผมเถียงไม่เป็นเลยเงียบสนิทครับ ยังไม่รู้ว่าจะได้เข้าที่นี่มาอีกเมื่อไหร่.. 2. ดูไตรลักษณ์ คือ ดูกรรมฐานทั่วไปนี่แหละครับ เลือกเอาตามความถนัดใจเลยครับ ส่วนสมาธิก็เหมือนกันครับ จะเอาสมาธิขั้นไหนเป็นฐานก็ได้ทุกขั้นครับ แต่อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่หนัก สามารถทำได้24ชั่วโมงในชีวิตประจำวันครับ การที่จิตเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสังขาร หรือของขันธ์ 5 นั้นก็เรียกว่าเอา จิตดูจิต ครับ การเห็นอาการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป บ่อยๆเข้า จิตมันจะเบื่อโลกและคลายความยึดมั่นถือมั่นของมันเองครับ ความจริงวิธีพวกนี้ พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้หมดแล้ว ผมก็ทำตามที่พระองค์สอนแหละครับ ไม่ได้มีอะไรเป็นของเองซักอย่าง ลอกพระพุทธเจ้าทั้งหมดครับ ถ้าคุณพี่สับสน มีจริตเป็นคนชอบคิดตลอดเวลา ก็ลอง เอาจิตดูจิต แบบหลวงปู่ดูลย์ อตุโล หรือจะควบกับดูกายแบบ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ก็ได้ครับ
อนุโมทนาครับ หากเป็นดูจิตหลวงปู่ดูลย์-ฟังจากบรรยายแล้วมันไม่ใช่ครับ ดูบ่อยๆแล้วเห็นเองดูทั้งชาติก็ไม่เห็นครับ เป็นสัญญา สมมุติ ไปหมด .. ที่ใช่จะดูจิตแบบหลวงปู่..ต้องทรงสมาธิก่อนครับ สาธุ
อ้อ..อีกข้อครับคุณ biox.. หากใช้อุปจาระสมาธิ ดูจิต-วิปัสสนา ช่วยเถียงกับคนนี้หน่อยครับเขาบอก อุปจาระสมาธิใช้วิปัสสนาไม่ได้ครับ กะทู้"ลุงหมาน" สมาธิมี ๓ ระดับ ได้แก่ ๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ ๒. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่ ๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่ หมายเอาสมาธิในองค์ฌาน ๑. ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิทั่วๆไปที่ใช้ในการงานต่างๆ หรือใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ๒. อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่เฉียดฌานใกล้ฌาน น้อมไปในฌานอย่างเดียวโดยไม่ย้อนกลับมาอีก เหมือนต้นไม้ถูกตัดโคนที่ขาดแล้ว อุปจารสมาธินี้จะเป็นสมาธิที่เจริญวิปัสสนาไม่ได้ ๓. อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่แน่วแน่อยู่ในฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป จนกว่าจะออกจากฌาน ในข้อ ๒, ๓, จะไม่เกิดในการเจริญวิปัสสนา เพราะการจะเจริญวิปัสสนาจะเจริญสมถะไปพร้อมกันไม่ได้ ถามว่า ! การเจริญวิปัสสนา สมถะจะเกิดพร้อมด้วยได้ไหม? ตอบว่า ! ได้ โดยอาศัยผู้ที่เจริญวิปัสสนา ก่อนหน้านี้เคยได้ฌานมาก่อน ถามว่า ! ผู้เจริญสมถะ วิปัสสนาจะเกิดพร้อมด้วยได้ไหม? ตอบว่า ! พร้อมไม่ได้ต้องออกจากฌานก่อน แล้วค่อยยกอารมณ์ที่เป็นวิปัสสนามาเป็นอารมณ์จึงจะเข้าสู่วิปัสสนาได้ สำหรับผู้ได้ฌานมาแล้วมาเจริญวิปัสสนาต่อนั้นทำให้ได้ง่ายขึ้น เพราะนิวรณ์ ๕ ได้กำจัดไปเรียบร้อยแล้ว จึงสะดวกต่อการเจริญวิปัสสนา
อ่านหนังสือไม่แตกนี่ หรือป่าวน้อ หรือว่าสับสน ผมว่าคุณสับสนต้องศึกษาปฏิปทา แนวทางการปฏิบัติจากครูบาอาจารย์สายวัดป่าอีกเยอะเลย ฉะนั้น อ่านไม่รู้เรื่อง ก็จะสับสนตนเอง แต่เนื้อหาข้อความ ที่ลุงหมานเอามาลง ผมไม่รู้นะว่าเอามาจากไหน แต่พออ่านแว็บเดียวแล้วก็พอจับความได้แล้ว ไม่สับสน ไม่งั้นแล้ว ลุงหมาน จับไก่ได้เป็นเร้าแน่
อ้อ..ลองอ่านข้อ 2 ..อุปจารสมาธิซิครับเขาโพสต์ไว้ยังไงมาใช้คำให้ตีความแบบท่านก็ดีซิครับ เผื่อผู้ไม่รู้มั่งซิครับ..คำกั๊กแบบนี้สรุปต้องออกจากฌานนะครับ ผมจะได้เข้าใจ ครึ่งๆไป ใครจะมานั่งแปล:'(