สมเด็จโตมหาปราชญ์แห่งรัตนโกสินทร์ ตอน สิ้นปราชญ์รัตนโกสินทร์

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 20 เมษายน 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    คณาจารย์เรื่องเวทย์โดย จิเจรุนิ ตอนสมเด็จโตมหาปราชญ์แห่งรัตนโกสินทร์ ตอน สิ้นปราชญ์รัตนโกสินทร์
    [​IMG]
    และพระพิมพ์ที่วัดบางขุนพรหมในนั้น เสมียนตราด้วง ขอเอาพิมพ์ของท่านไปพิมพ์ปูนแลผงของเสมียนตราด้วง ทำตามวุฒิของเสมียนตราด้วงเอง ชาวบ้านบางขุนพรหมปฏิบัติอุปฐาก บางทีขึ้นพระบาท หายเข้าไปในเมืองลับแลไม่กลับ คนลือว่าสมเด็จถึงมรณภาพแล้วก็มี ทางราชการเอาโกศขึ้นไป ท่านก็ออกมาจากเมืองลับแล พนักงานคุมโกศต้องเอาโกศเปล่ากลับมาหลายคราว

    ครันถึง ณ วันเดือน ๕ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ปี เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพพระมหานครฯ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปดูการก่อพระโตที่วัดบางขุนพรหมใน ก็ไปอาพาธด้วยโรคชราภาพ ๑๕ วัน ก็ถึงมรณภาพ บนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน ในเวลาปัจจุบันสมัยวันนั้น สิริรวมชนมายุ ๘๔ บริบูรณ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามมาได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ รับตำแหน่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์มาได้ ๗ ปีบริบูรณ์ ถ้าจะนับปีทางจันทรคติก็ได้ ๘ ปี นับอายุทางจันทรคติก็ได้ ๘๕ ปี เพราะท่านเกิดปีวอก เดือน ๖ รอบที่ ๗ ถึงวอกรอบที่ ๘ เพียงย่างขึ้นเดือน ๕ ท่านก็ถึงมรณภาพ คิดทดหักเดือน ตามอายุโหราจารย์ ตามสุริยคตินิยม จึงเป็นอายุ ๘๔ ปีบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้

    คำนวณอายุผู้เรียบเรียงเรื่องนี้ได้ ๗ ขวบยังไม่บริบูรณ์ คือหลักเหลือ ๖ ปีกับ ๓ เดือน เวลาที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ยังอยู่นั้น ผู้เรียงเรื่องนี้ยังอยู่กับคุณเฒ่าแก่กลิ่น ในตึกแถวเต๊ง แถบข้างทิศใต้ ทางออกวัดพระเชตุพน ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน คุณกลิ่นเฒ่าแก่เคยพาขึ้นไปรับพระราชทานเบี้ยจันทร เบี้ยสูรย์ คือเงินสลึงจากพระราชหัตถ์สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็สองคราว ได้เคยฟังเทศน์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็สองคราว ได้เคยเข้านมัสการท่านก็สองคราว ท่านผูกมือให้ที่พระที่นั่งทรงธรรม ยังจำได้ว่ามีต้นกาหลงใหญ่ในพระบรมมหาราชวัง

    ครั่งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ถึงมรณภาพ ที่ศาลาใหญ่ ในวัดบางขุนพรหมใน แล้วได้รับพระราชทานน้ำสรงศพ ไตรครอง ผ้าขางเย็บถุง โกศ กลองชนะ อภิรมย์ สนมซ้าย ฝีพาย เรือตั้งบรรทุกศพ เมื่อเจ้านาย ขุนนาง คุณเฒ่าแก่ พวกอุปฐาก พวกอุบาสิกา ประชาชน ชาวบ้านบางขุนพรหม ปวงพระสงฆ์ สรงน้ำสมเด็จเจ้าโตแล้ว สนมก็กระสันตราสังศพ บรรจุในโกศไม้ ๑๒ เสร็จแล้วก็ยกลงมาที่ท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝีพายหลวงพายลงมาตามลำแม่น้ำ เรือตามก็ตามหลายแม่น้ำ ส่งศพกระทั่งถึงหน้าวัดระฆัง ตั้งศพบนฐานเบ็ญจาสองชั้น มีอภิรมย์ ๖ คัน มีกลองชนะ ๒๔ จ่าปี่ จ่ากลองพร้อม มีพระสวดพระอภิธรรม มีเลี้ยงพระ ๓ วัน เป็นของหลวง

    วันเมื่อศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มาถึงวัดระฆังวันนั้น ผู้คนมาส่งศพ รับศพ นมัสการศพนั้นแน่นอัด คับคั่ง ทั้งผู้ดี ผู้ไพร่ พลเมืองไทย จีน ลาว มอญ ชาวละคร เขมร พราหมณ์ พระสงฆ์ทุกๆ พระอาราม เด็กวัด เด็กบ้าน แน่นไปเต็มวัดระฆัง พระครูปลัดสัมภิพัฒน์ (ช้าง) คือพระธรรมถาวรราชาคณะ ที่มีอายุ ๘๘ ปี มีตัวอยู่ถึงวันเรียบเรียงประวัติเรื่องนี้ ได้ตักพระพิมพ์แจกชำร่วยแก่บรรดาผู้มาส่งศพ สักการะศพ เคารพศพนั้น แจกทั่วกัน คนละองค์สององค์ ท่านประมาณราว สามหมื่นองค์ที่แจกไป และต่อๆ มาก็แจกเรื่อย จนถึงวันพระราชทานเพลิง และยังมีผู้ขอ และแจกให้อีกหลายปี จนพระหมด ๑๕ กระถางมังกร เดี๋ยวนี้จะหาสักครึ่งก็ไม่มี แต่มีจำเพาะตนๆ และปั้นเหน่งซึ่งเป็นกระดูกหน้าผากของนางนาคพระโขนงนั้น ตกอยู่กับ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระธรรมเจดีย์ ได้เป็นเสด็จอุปัชฌาย์ของผู้เรียงประวัติเรื่องนี้ ภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัศ) ไปครองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จึงได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากนางนาคพระโขนงให้กรรมสิทธิ์ไว้แก่ พระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) เจ้าอาวาสวัดระฆัง แต่ครั้งดำรงตำแหน่งพระพิมลธรรมนั้น (ได้ยินแว่วๆ ว่า ปั้นเหน่งนั้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ถวาย ฯลฯ แล้ว)

    และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ถึงมรณภาพแล้ว

    ล่วงมาถึงปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ ปี

    พุทธศักราชล่วงได้ ๒๔๒๓ ปี

    รัตนโกสินทร์ศักราชถึง ๑๔๙ ปี

    อายุ รัชกาลที่ ๕ เสวยราชย์ ๔๓ ปี

    รัชกาลที่ ๖ " ๑๕ ปี

    รัชกาลที่ ๗ " ๖ ปี

    คิดแต่ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ปี มาถึงปีมะเมีย โทศกนี้ จึงรวมแต่ปีมรณภาพนั้นมาถึงปีมะเมียนี้ได้ ๖๑ ปี กับเศษเดือนวันแลฯ (ได้ลงมือเรียบเรียง แต่วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓)

    พระธรรมถาวร (ช้าง) บอกว่า คำแนะนำกำชับสอน ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น ดังนี้

    คุณรับเอาฟันฉันไว้ ดียิ่งกว่า ๑๐๐ ชั่ง ๑๐๐๐ ชั่ง คุณจะมีความเจริญเอง

    คุณใคร่มีอายุยาว คุณต้องไหว้คนแก่

    คุณใคร่ไปสวรรค์ นิพพาน และมีลาภผล คุณหมั่นระลึกถึง

    พุทธ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธํ อรหํ พุทโธ อิติโสภควา นะโมพุทธายะ

    ถึงเถรเกษอาจารย์ผุ้วิเศษของเจ้าสามกรมว่าดี ก็ไม่พ้น พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทธํ พุทโธ อรหํ พุทโธ
    ที่มาhttp://palungjit.org/threads/เพียง๑๐๐บาทร่วมบุญปิดสมเด็จพระพุฒาจารย์โต๖๙นิ้ว.548123/
     

แชร์หน้านี้

Loading...