ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ต้องทำอย่างไร?

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย อุทยัพ, 31 มกราคม 2015.

  1. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    สมเด็จองค์ปัจจุบัน ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑."เจ้าก็รู้ว่า ไม่มีอะไรจักเที่ยงเท่ากฎของกรรมใช่ไหม (ก็รับว่าใช่) เพราะฉะนั้น ให้ดูเยี่ยงอย่างของพระเทวทัตในพุทธันดรนี้ สุดท้ายเขากลับใจ สำนึกในบาปที่ตนทำมากล่าวขออโหสิกรรมก่อนตาย แล้วพระเทวทัตลงอเวจีมหานรกใช่ไหม" (ก็รับว่าใช่)

    ๒."กรณีภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกในปัจจุบันก็เช่นกัน กฎของกรรมก็เป็นกฎของกรรมดีก็ส่วนดี ชั่วก็ส่วนชั่ว แต่ถ้ากรรมที่เป็นกุศลกรรมหนุนอยู่บ้าง กลับใจได้ กรรมที่เป็นอกุศลก็จักส่งผลไม่ยาวนาน อย่างเช่นพระเทวทัต เป็นต้น


    ๓."ดูตัวอย่างพระเจ้าอชาติศัตรู ประหารบิดาก็จัดเป็นอนันตริยกรรม แต่กรรมดีที่สำนึกตัวกลับใจได้ ขอขมาพระรัตนตรัย และ เป็นประธาน จัดให้มีการปฐมสังคายนา ทำบุญทำทานหนีบาปกันอย่างมากมาย จัดว่าท่านได้เข้าถึงพระไตรสรณคม์แล้ว และมีศรัทธากล้าในพระพุทธศาสนา แต่กฎของกรรมก็คือกฎของกรรมจักชดใช้วาระแห่งกฎของกรรมนั้น เพียงแต่ความสำนึกที่กลับใจได้ทำกรรมดี ได้ช่วยให้กฎของกรรมชั่วผ่อนหนักให้กลับเป็นเบา แทนที่พระเจ้าอชาติศัตรูจักลงอเวจีมหานรก กลับไปลงแค่โลหะกุมฎีมหานรกเท่านั้น

    ๔."เนื่องจากกฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ กรรมใครก็กรรมมัน ดังนั้น การจะให้หมดวาระกรรม ก็จะต้องหมดที่ใจของตนเอง โดยอาศัยหลักกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ หาต้นเหตุแห่งกรรมนั้นให้พบแล้วแก้ไขเสีย กรรมทุกชนิดเกิดที่ใจก่อนทั้งสิ้น"

    ๕."ในทางปฎิบัติก็อาศัยหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา รักษาศีลจนกระทั่งศีลรักษาจิตเราไม่ให้กระทำผิดศีลอีก เป็นอธิศีล ใช้สังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัด ก็ตัดข้อที่ ๑-๒-๓ ได้ ก้พ้นกรรมที่ต้องตกอบายภูมิ ๔ ได้ถาวร ต่อไปก็รักษาอารมณ์จิตของเราให้เป็นสมาธิ หรือ ทรงฌาน จนกระทั่งสมาธิรักษาจิตของเราไม่ให้เกิดอารมณ์ ๒ คือพอใจ (ราคะ,โลภะ) กับไม่พอใจ (ปฎิฆะและโทสะ) เป็นอธิจิต ตัดสังโยชน์ข้อที่๔-๕ ได้ ก็พ้นจากการเกิดมีร่างกายในโลกมนุษย์ได้อย่างถาวร ขั้นสุดท้าย ก็ตัดสังโยชน์ที่เหลืออยู่อีก ๕ ข้อ ซึ่งเป็นอารมณ์หลงละเอียดทั้งสิ้น ทั้งหมดรวมลงในข้อที่ ๑๐ คือ อวิชชา จุดนี้ต้องอาศัยอธิปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องกองสังขารแห่งกายและแห่งจิต ก็พ้นจากการเกิดเป็นนางฟ้า เทวดา และพรหมอย่างถาวร จุดที่ต้องไปก็คือพระนิพพานเท่านั้น"

    ๖."ให้ใช้พรหมวิหาร ๔ ให้จงหนัก ใคร่ครวญดูตามที่ตถาคตเคยตรัสสอนมา จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น กรรมของผู้อื่น ใครเขาทำกรรมชั่วเขาก็ตกเป็นทาสของกิลสก็น่าสงสารอยู่แล้ว จงอย่าไปซ้ำเติมเขา จักเข้าตนเองเพราะจิตเราไปยินดียินร้ายกับกรรมชั่วของเขา เป็นการเบียดเบียนตัวเราเอง สร้างกรรมต่อกรรมให้เกิด มิใช่ตัดกรรม หากเข้าใจจุดนี้การตัดกรรมก็เร็วขึ้น จึงต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น เอาพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักวางอารมณ์ของจิตให้ถูก ถ้ามีความเพียรให้ถูกทางจริง ๆ ไม่ช้าก็หลุดได้ อย่างตอนที่เจ้าเพียรรักษาศีลนั้นแหละ แม้แต่ยุงตัวเล็ก ๆ เจ้าก็ตีเขาไม่ลง ทำร้ายเขาไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยุงทำประโยชน์อะไรไม่ได้ นี่เขาเป็นคนนะ ยังทำประโยชน์ได้ ถ้าวาระกรรมที่เป็นกุศลให้ผลกับเขา หรือว่ายุงมันด่าไม่เป็นเหมือนคน พวกเจ้าเลยไม่โกรธยุงนานเหมือนโกรธคน คิดทบทวนให้ดีๆเพราะอารมณ์ปฎิฆะหรือไม่พอใจ ไม่ช่วยให้จิตของพวกเจ้าผ่องใสได้หรอก พยายามคิดเสียให้เข้าใจในธรรมะจุดนี้ แล้วพวกเจ้าจักเข้าถึงธรรมดาแห่งธรรมนี้"


    ที่มา : ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน หน้า ๑๙๖ - ๑๙๙
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2015
  2. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    895
    ค่าพลัง:
    +2,177
  3. จรัล

    จรัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +406
    ไม่พ้นครับ หากต้องอาบัติปราชิกแล้วก็เปรียบเหมือนกับตาลยอดด้วนหรือคนที่ตายไปแล้วไม่มีทางที่จะฟิ้นคืนกลับมาได้อีกแล้วคือขาดจากการเป็นภิกษุและไม่สามารถที่จะบวชใหม่ได้อีกไม่ว่าในกรณีใดทั้งสิ้น แต่ท่านมิได้ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพานเหมือนกับผู้ที่ทำอนันตริยกรรม คือยังไปสวรรค์ได้บรรลุมรรคผลได้ตามกำลังบารมีตัว ส่วนพระเทวทัตและพระเจ้าอาชาติศัตรูนั้นทั้งสองท่านกระทำอนันตริยกรรมนะครับไม่ว่าจะกลับใจจะหนักจะเบาอย่างไรก็ต้องไปนรกก่อนสถานเดียว
     
  4. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,366
    เหตุก็ส่วนเหตุ ผลก็ส่วนผล

    เหตุที่ปราชิก กระทำไว้แล้ว มีผลคือวิบากกรรมย่อมให้ผลเมื่อถึงเวลาของมัน นั่นคือรอรับกรรมในส่วนนี้ ทั้งกรรม และเศษกรรม

    ส่วนการสำนึกได้ กลับใจได้ ตรงนี้ก็เป็นกรรมอีกวาระหนึ่งถัดมา ืก็ย่อมให้ผลคือวิบากกรรมที่ดีตามมาเช่นกันเพราะจิตสำนึกได้เกิดปัญญารู้ทันกิเลส รู้ทันความผิดของตน

    ฉนั้น เวลาเราพิจารณาอะไร ขอให้แยกแยะมันคนละเหตุการคนละเรื่องกัน ผลที่ได้รับจึงแตกต่างกัน ไม่เกี่ยวกันทั้งหมดครับ

    เหมือนการพิจารณาคดี
    ความผิดก็ส่วนความผิด โทษย่อมให้ผลตามนั้น
    ความดีก็ส่วนความดี ผลดีย่อมให้ผลของมัน
    แต่ความดีจะช่วยให้โทษจากความชั่วเบาลงได้นั้นก็แล้วแต่กรณี ครับ
    แต่ในหลักกฏแห่งกรรม ถือว่าไม่เกี่ยวกัน ดำก็คือดำ ขาวก็คือขาว ครับ สาธุ
     
  5. manymoons123

    manymoons123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +416
    ตอนผมเป็นพระภิกษุ เคยต้องอาบัติปาราชิกข้อเสพเมถุน ครับ
    จากนั้นก็ออกมาเป็นฆารวาส ไม่นานนัก ก็บรรพชาอุปสมบทอีกครั้ง
    ด้วยความลังเลสงสัย ว่าอาจจะไม่ต้องอาบัติปาราชิกในครั้งแรก
    เป็นฆารวาสห่มเหลืองอยู่ 2 ปีกว่า
    ตอนนี้เป็นฆารวาส ถือศีล 5 ครับ

    ขอเตือนพระภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิก
    ให้รีบ ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐ หรือ
    เป็นฆารวาส ถือศีล 5 ศีล 8 ครับ อย่ารอช้า ยังพอมีโอกาสเห็นแสงสว่างได้บ้าง
    ผมเองยังไม่รู้อนาคตเลย ว่าจะพ้นอบายภูมิ นรก เปรต อสุรกาย เดรัชฉาน หรือไม่

    แต่ถ้าปาราชิกแล้ว หากยังครองผ้าเหลืองอยู่ จะมีแต่ " นรก " เป็นที่ไปถ่ายเดียว ครับ
    ลองศึกษาจาก " อัคคิขันโธปมสูตร " ครับ

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=2629&Z=2793
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2015
  6. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    เท่าที่ทราบมา คือ

    ๑. ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถือว่าขาดจากความเป็นพระในชาตินี้ บวชใหม่ไม่มีผล
    ๒. ถ้าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ยังครองผ้าเหลือง อันนี้โทษหนัก เพราะคนที่มากราบไหว้เขาตั้งใจทำบุญกับพระ แต่เมื่อพระไม่ใช่พระเพราะต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ก็รับกรรมหนักไปครับ

    แบ่งปันความรู้กันนะครับ
     
  7. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,366
    ===================

    สาธุครับ
     
  8. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    ถ้ามีโอกาสผู้สนใจก็อ่านไตรปิฏกเพิ่มเติม แต่ที่เห็นมาถ้าพระรูปนั้นชื่อไม่ดัง หรือปิดข่าวดีๆ คนอื่นๆก็ไม่ค่อยรู้ บางรูปยังไปร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลเฉย สังคมพระท่านมักเกรงใจกัน บางรูปถ้าสึกไปก็ทำอาชีพอื่นไม่เป็น
     
  9. น้องใหม่ 2008

    น้องใหม่ 2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    690
    ค่าพลัง:
    +1,906
    กรรมก็ยิ่งหนักมากขึ้นนะซี่ ให้คนกราบไหว้เพราะยังห่มเหลืองอยู่ ไปปลุกเสกยิ่งกรรมใหญ่ สึกเถอะหากินไม่เป็นก็มาเป็นผ้าขาวดีกว่า กรรมจะได้ไม่เพิ่ม
     
  10. manymoons123

    manymoons123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +416
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=5569&Z=6086&pagebreak=0

    ข้างบนเป็นพระวินัย เรื่องปาราชิก 4 สิกขาบทที่ 1 ครับ
    อาจจะมีรายละเอียดที่ท่านยังไม่รู้ครับ

    ส่วนปาราชิกสิกขาบทที่ 2,3 และ 4 ก็ต้องศึกษาโดยละเอียด
    เช่นเดียวกันครับ เพราะหากภิกษุละเมิดอาบัติปาราชิก เพราะ " ไม่รู้ "
    ก็ถือว่า ได้ต้องอาบัติปาราชิกแล้วครับ



    สาเหตุที่ทำให้ภิกษุ ต้องอาบัติ

    การที่ภิกษุต้องอาบัตินั้นมีสาเหตุหลายอย่าง ทั้งที่ต้องโดยมีเจตนาและไม่มีเจตนา การที่จิตคิดเพียงอย่างเดียว ยังไม่ทำให้ภิกษุต้องอาบัติ เพราะจิตจะคิดจะนึกอะไรก็ได้ตามธรรมชาติของจิต ถ้าไม่ประกอบด้วยการกระทำ คำพูด ภิกษุคิดอยู่ในใจ ยังไม่ทำให้ต้องอาบัติ เช่น คิดจะฆ่าเขา คิดจะลักขโมย คิดจะด่า เป็นเพียงความคิดที่คิดไปเท่านั้นยังไม่ได้ลงมือฆ่า ยังไม่ได้ลงมือลักขโมย ยังไม่ได้ออกปากด่า แต่ถ้าคิดจะฆ่าเขาและลงมือทุบตีก็เป็นอาบัติ สาเหตุที่ภิกษุต้องอาบัติมี ๖ อย่าง คือ

    (๑) ต้องอาบัติเพราะไม่ละอาย แม้รู้อยู่ว่าทำอย่างนี้แล้วเป็นอาบัติก็ยังขืนทำลงไปเพราะไม่มีความละอายแก่ใจ

    (๒) ต้องอาบัติเพราะไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ ไม่รู้ว่าสิ่งนี้ควรทำสิ่งนี้ไม่ควรทำ เพราะไม่เอาใจใส่ศึกษาพระธรรมวินัย จึงผิดอาบัติโดยไม่รู้ตัว

    (๓) ต้องอาบัติเพราะสงสัยแต่ยังขืนทำลง เกิดความไม่แน่ใจสงสัยในสิ่งที่จะกระทำว่าเป็นอาบัติหรือเปล่า แม้มีความสงสัยแต่ก็ยังขืนทำลงไปโดยไม่สอบถามจากผู้รู้ก่อน

    (๔) ต้องอาบัติเพราะสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร เช่น เวลาบ่ายแล้วเข้าใจว่ายังไม่บ่าย จึงฉันอาหาร เห็นเนื้อหมีหรือเนื้อเสือซึ่งเป็นเนื้อที่พระฉันไม่ได้เข้าใจว่าเนื้อหมูซึ่งเป็นเนื้อที่พระฉันได้จึงฉัน เป็นต้น

    (๕) ต้องอาบัติเพราะสำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ควร เช่น เวลาเช้ายังไม่บ่าย เข้าใจว่าบ่ายแล้ว แต่ก็ยังฉันอาหาร น้ำปานะที่ฉันได้ เข้าใจว่าฉันไม่ได้ แต่ก็ยังฉัน เป็นต้น

    (๖) ต้องอาบัติเพราะลืมสติ เช่น ลืมเก็บจีวรอธิษฐานไว้กับตัวจนตะวันขึ้นวันใหม่, ลืมใช้อดิเรกจีวรเกิน ๑๐ วันโดยไม่ได้วิกัปป์ เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2015
  11. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    อีกกรณีหนึ่งก็คือพระท่านไม่รู้ตัว อย่างมีเด็กมาเล่นที่วัดแห่งหนึ่งแอบเอาพระเครื่องของยายที่บ้าน ที่วางไว้บนหิ้งมาอวดพวกพระบวชใหม่ที่วัด เจ้าอาวาสซึ่งเป็นถึงระดับเจ้าคณะมาเจอเข้า ก็ชอบเพราะพระเครื่ององค์นั้นดูดี(แต่เก๊) ขอเด็กไว้บูชาในกุฏิ เด็กก็เกรงใจเอาให้ท่านไป ต่างฝ่ายต่างก็ดีใจ อย่างนี้ก็ต้องปาราชิกแล้ว โดยไม่รู้ตัว
     
  12. manymoons123

    manymoons123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +416
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...