นิพพาน ในอุดมคติของคุณเป็นอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นายเมธี12, 28 พฤษภาคม 2009.

  1. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    ตอบ จขกท นะครับ โมทนากับการคิดดี นะครับ

    ผมว่า...( กำลังใช้ความรู้สึก ).. คงไม่ดีมั้ง..เลิกเถอะ

    ผมมีเหตุผลนะครับ

    ผมเห็นแต่จะมีผลร้ายนะครับ

    1. อาจทำให้คนที่กำลังฝึกการเห็น..เห็นผิด..คือ..แทนที่จะเห็นของจริง.กลับเห็นในอุปาทานของตัวเองแทน..คือไปไม่ถึงของจริง..

    2. ส่วนคนที่คุณปราถณาอยากให้สัมผัสอย่างที่คุณสัมผัสมา...อาจปรามาสคุณ จนเลยเถิดไปปรามาสผู้มีคุณธรรมสูงเข้า..แทนที่จะชักนำบุญมาให้กลายเป็นยื่นบาปซะนี้..

    3. ภาพที่เห็น จะซ้าบซึ่งตรึงที่ใจ ใช่ที่ตา..เห็นแค่ตา แต่ใจบอด..หาความสุนทรีย์ไม่ได้ คนใจบอดหากแม้พระพุทธเจ้าเสด็จมายืนตรงหน้าเขา..เขาก็ว่าไม่ใช่พุทธเจ้าอยู่ดี...แล้วมีประโยชน์อะไรนำมาให้ดู

    ไหน ๆ จขกท ก็กำลังฝึกอยู่..ทำไมไม่ถามพระท่านดูเลยว่า เหมาะไม่เหมาะ ดีไม่ดี / พวกเรา ๆ ท่าน ๆ มันอวิชชาเต็ม ความคิดความเห็นจึงเป็นธรรมไม่แท้..ธรรมปลอม

    ขอให้เจริญในธรรม..กันทุก ๆ คน ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2009
  2. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    วีดีโอ อยู่ไหนแล้ว หละ ดูมั่ง

    นิพพานในอุดมคติเหรอ

    ล้างจานเสร็จ ก็ นิพพาน
    หุงข้าวสุก ก็ นิพพาน
    ทำการบ้านเสร็จ ก็ นิพพาน
    เสร็จโครงการ ก็ นิพพาน
    ปิดไฟ นอนสักที ก็ นิพพาน
    เข้าส้วมเสร็จ ก็ นิพพาน
    ตักบาตรเสร็จ ก็ นิพพาน
    สวดมนต์เสร็จ ก็ นิพพาน

    สาปแช่งคนเสร็จ อันนี้ ไม่นิพพาน
    เชือดไก่ให้ลิงดู อันนี้ ไม่นิพพาน
    ปล้นเสร็จ อันนี้ ไม่นิพพาน
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    นิพพานย่อมหมายว่าดับทุกข์ นิโรธแปลว่าดับ เมื่อถึงแห่งความดับอันคือนิโรธธรรมนั้นเอง
    ดับทุกข์ดับที่เหตุ สมุทัยคือเหตุ เมื่อเหตุดับผลย่อมดับ ความคิดหรือจิตนี้คือสมุทัย ความทุกทั้งหลายทั้งมวลก็อยู่ในความคิด เมื่อความคิดดับ ความทุกข์ย่อมดับ
    หนทางที่จะพาไปให้ถึงอันคือมรรค8 อรรถธิบายโดยนัยสติปัฏฐาน4 ฌานสมาบัติ9 หรือวิปัสสนาญาณ9 ก็ได้ แต่หลักปฏิบัติเป็นนัยเดียวกันแต่อธิบายไว้หลายนัยโดยพระปัญญาของพระพุทธเจ้า เพื่อการสั่งสอนบุคคลต่างคนต่างจริต
    นิพพานมีความหมายอย่างหนึ่งว่าสูญ ซึ่งเป็นผลจากการดับความคิด เมื่อนิพพานเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจจะไปกำหนดลักษณะของนิพพานว่าเป็นอย่างไรได้อีก
     
  4. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +195
    นิพพาน : นิจจํ, สุขํ, อนัตตา, ขันธวิมุต(ไร้ขันธ์), กาลวิมุต(ไร้กาลเวลา)
    ขันธ์ประกอบด้วยอาการ ๑๑ อย่างได้แก่ กาล ๓ (อดีต ปัจจุบัน อนาคต) ภายใน ภายนอก, หยาบ ละเอียด, เลว ปราณีต, ใกล้ ไกล ฯ
    สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ สังขารา ทุกขา สัพเพ ธัมมา อนัตตา

    สภาวธรรมนั้นเป็นสภาวะธรรมชาติอย่างหนึ่ง(ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีแดน)
    ฌานก็เป็นสภาวะธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่สิ่งนั้นละเอียด ปราณีต กว่า

    เป็นธรรมที่ไม่มีที่ภายใน และที่ภายนอก (สภาวะที่เปิดเผยเห็นแจ้ง)
    ไม่มีเกิด ไม่มีดับ เป็นอยู่อย่างนั้น(นิจจํ คือเที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยน )

    ไม่มีการเคลื่อนของเวลา ไม่มีที่ล่วงมาแล้ว และที่ยังมาไม่ถึง
    ไม่มีทั้งที่กำลังเป็นอยู่ (กาลวิมุต คือไร้กาลเวลา)
    สุขํ(อุปมาได้แบบฌานสุขคือสุขแบบไม่มีกิเลส เป็นบรมสุข วิเศษยิ่ง)

    เป็นธรรมที่ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่อิงอาศัยปัจจัยใดๆ ไม่ถูกปัจจัยใดๆปรุงแต่ง ( อสังขตธรรม)
    อนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน, ไม่เป็นตัวตน, บังคับบัญชาไม่ได้)

    การเข้าถึงสภาวะนั้นได้โดยการหยุดปรุงแต่ง หยุดความคิด อยู่กับปัจจุบันอารมณ์อย่างยิ่งยวด ก็จะถึงสภาวะแห่งกาลเวลาไม่เคลื่อน

    สติปัฏฐาน ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ สมถะวิปัสสนา ควรทำให้เจริญ
     
  5. view2004

    view2004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +1,107
    สิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
    “สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
    เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด
    มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ, นั้นมีอยู่;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่
    ความงาม ความ ไม่งาม ไม่หยั่งลงได้;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ;
    นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้
    เพราะการดับสนิทของวิญญาณ; ดังนี้แล.
    สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐.
     

แชร์หน้านี้

Loading...