71.ไปเที่ยวเหนือ เมื่อหน้าร้อน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 3 ตุลาคม 2014.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๓๐ เมษายน

    ทานอาหารเช้าเรียบร้อยแล้ว ออกมาเดินเล่นหน้าโรงแรม มีคนในคณะเดินสวนทางกลับมา บอกว่า วัดหน้าโรงแรมสวยนะ เข้าไปดูสิ กะว่าจะเล่นตัวไม่เข้าไปแล้ว เมื่อวานมาปิดประตูไม่ให้เข้าซะนี่ แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ เข้าไปดูก็ได้ .... อืมมมม อย่างที่เห็นนี่แหล่ะ วัดไม่ใหญ่แต่อลังการงานสร้างจริงๆ...สวยมากกกกกกกก......
     
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดร่องเสือเต้น
    จังหวัดเชียงราย



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7071_1a.jpg
      IMG_7071_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      643.4 KB
      เปิดดู:
      2,500
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ประวัติวัดเขียนไว้ว่า
    วัดร่องเสือเต้น อยู่ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้เริ่มก่อนตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ เริ่มสร้างพระอุโบสถเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ หลังจากนั้นได้ทำการพัฒนาและสร้างเสนาสนะมากมายตามกำลังศรัทธา เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ได้ก่อสร้างองค์พระประธานสิงห์หนึ่ง ขนาดสูง ๖.๕๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๕ เมตร โดยทีมงานช่างนายพุทธา กาบแก้ว ซึ่งก่อสร้างพระประธานครั้งนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากคุณวิโรจน์ คุณเฟื้องฟ้า อำนาจเกษมพร้อมครอบครัวและคณะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ต่อมาวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓ เป็นวันที่บรรจุหัวใจพระเจ้า โดยคณะผู้ก่อสร้างได้บรรจุพระรอดลำพูนจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ แก้วแหวนเงินทองหลายสิ่งไว้ในใต้ฐานพระพุทธรูป และได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก บรรจุที่พระเศียรองค์พระประธาน และได้รับพระราชทานนามว่า “พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ” ซึ่งหมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลเป็นเจ้าในความเป็นแห่งพระราชา เป็นที่พึ่งในสามโลก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7084_ma.jpg
      IMG_7084_ma.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,353
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ต่อมาได้มีคณะจากบริษัท โกลเด้น แอรโรโคทติ้ง จำกัด เป็นผู้สนับสนุนในการตกแต่งองค์พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ เป็นองค์พระสีขาวมุก โดยเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ซึ่งในการสร้างและตกแต่งทั้งหมดใช้งบประมาณ ๑,๖๐๐,๐๐๐ บาท
    ไหว้พระประธานในพระอุโบสถแล้ว สร้อยฟ้ามาลาได้ทำบุญหยอดตู้ และก็เก็บภาพได้หลายภาพ ตอนนี้ คนในคณะก็เริ่มทยอยเดินเข้ามาชมวัดกันใหญ่....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7083_ea.jpg
      IMG_7083_ea.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,040
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดร่องเสือเต้น
    จังหวัดเชียงราย



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7090_na.jpg
      IMG_7090_na.jpg
      ขนาดไฟล์:
      677.9 KB
      เปิดดู:
      2,189
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดร่องเสือเต้น
    จังหวัดเชียงราย



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7094_1a.jpg
      IMG_7094_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      3,066
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดร่องเสือเต้น
    จังหวัดเชียงราย



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7098_oa.jpg
      IMG_7098_oa.jpg
      ขนาดไฟล์:
      789.2 KB
      เปิดดู:
      1,577
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดร่องเสือเต้น
    จังหวัดเชียงราย

    ...วัดยังสร้างไม่เสร็จนะ ใครสนใจร่วมทำบุญได้ที่วัด จ้า...



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7100_ea.jpg
      IMG_7100_ea.jpg
      ขนาดไฟล์:
      659.1 KB
      เปิดดู:
      2,117
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พอได้เวลาคณะของพวกเราก็ขึ้นรถเดินทางสู่จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงนี้เป็นทางขึ้นเขาลงเขาเข้าโค้ง แต่รถบัสคันที่นั่งนี้ แรงฉุดขึ้นเขาไม่ค่อยดี อืดๆๆๆ ขึ้น บางช่วงก็นั่งเกร็งกลัวจะขึ้นไม่ไหว ระหว่างทางนี้ต้องผ่านบ่อน้ำพุร้อนแม่ขะจาน เมื่อคราวที่แล้วก็แวะ มาคราวนี้ก็แวะเหมือนเดิม เดินถ่ายรูปบ้างเล็กน้อยแต่ไม่ได้นำมาโชว์ ได้นั่งแช่เท้าในบ่อสักพักก็ถูกเรียกขึ้นรถไปกันต่อ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7132_1a.jpg
      IMG_7132_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      943.3 KB
      เปิดดู:
      831
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    คณะของเราไปทานอาหารกลางวันที่เชียงใหม่ พอทานเสร็จก็ไปลุยต่อที่เวียงกุมกาม นครใต้พิภพ...

    ประวัติเมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม(ลอกมาจาก เมืองโบราณเวียงกุมกาม )

    บริเวณพื้นที่ระหว่างแนวสายน้ำแม่ปิงเดิมกับแนวแม่น้ำปิงปัจจุบัน ในเขตตอนใต้ตัวเมืองเชียงใหม่ลงมาราว ๕ กม. คือ ท้องที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าวังตาล บางส่วนของตำบลหนองผึ้ง เขตอำเภอสารภี รวมถึงตำบลป่าแดด และตำบลหนองหอย เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่เฉลี่ยกว่า ๓ ตารางกม.นั้น เป็นเขตเมือง เวียงโบราณที่เรียกกันว่าเวียงกุมกาม ที่ปรากฏหลักฐานทั้งทางด้านเอกสารตำนานพงศาวดาร และหลักฐานด้านโบราณวัตถุสถาน ชี้ชัดว่ามีการตั้งถิ่นฐานชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ ตั้งแต่ระยะก่อนสมัยล้านนา หรือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยเฉพาะหลักฐานจากการขุดแต่ง-บูรณะโบราณสถานในเขตเวียงกุมกามเป็นครั้งแรก ที่วัดช้างค้ำ (กานโถมกุมกามภิรมย์) ในบริเวณสนามหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำ (เดิม) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ที่ได้พบซากวัดร้างคือฐานวิหารและมณฑปหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ในระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบันเฉลี่ย ๑.๒ เมตร รวมถึงหลักฐานโบราณวัตถุประเภทจารึก พระพิมพ์ พระพุทธรูป เศษภาชนะดินเผา ฯลฯ ที่เป็นลักษณะรูปแบบของรัฐหริภุญไชย และโบราณวัตถุรูปแบบต่างๆในสมัยล้านนา อันแสดงถึงความเป็นชุมชนชายขอบ ของรัฐหริภุญไชยแต่ดั้งเดิม ที่ได้อยู่อาศัยสืบต่อเนื่องกันเรื่อยมา จนถึงสมัยของรัฐล้านนาในระยะหลัง



    [​IMG]


    วัดกู่ป่าด้อม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7209_1a.jpg
      IMG_7209_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,165
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2014
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดกู่ป่าด้อม



    ภายหลังจากที่ พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งรัฐล้านนา ผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ ลวจักราช แห่งรัฐหิรัญเงินยาง (แอ่งที่ราบเชียงราย-เชียงแสน เขตลุ่มน้ำแม่กก-สาย-โขง จังหวัดเชียงราย) สามารถแผ่ขยายขอบเขตดินแดนลงมายึดครองเมืองหริภุญไชยไว้ได้ปี พ.ศ.๑๘๒๔ แล้วในระยะก่อนที่จะได้ก่อตั้งสถาปนาเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ ให้เป็นศูนย์กลางราชธานีของรัฐล้านนานั้น ในระหว่างปี พ.ศ.๑๘๒๙-๑๘๓๘ พระองค์ได้ก่อตั้งเวียงกุมกาม และทรงประทับอยู่ ณ เวียงแห่งนี้ โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้งสี่ด้าน สร้างวัดกู่คำ สะพานกุมกาม อีกทั้งได้พบหลักฐานการก่อสร้างวัดของขุนนาง และความเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ในอีกหลายวัด ในระหว่างประทับอยู่ที่เวียงกุมกามแห่งนี้ พญามังรายได้ยกกองทัพไป หมายจะตีเอาเมืองหงสาวดี และเมืองอังวะ ในเขตประเทศเมียนมาร์ ซึ่งอยู่ในระยะที่กำลังอ่อนแอภายหลังจากการรุกรานของพวกมองโกล ที่เจ้าเมืองทั้ง ๒ แห่งไม่ยอมทำศึกด้วยแต่ได้ขอผูกมิตรไมตรีโดยได้มอบพระธิดา ข้าทาส และช่างฝีมือหลายหมู่เหล่า ที่โปรดให้กระจายไปสร้างงานอาชีพอยู่ในเขตหัวเมืองต่างๆ พร้อมกับการอุปถัมภ์ค้ำชูพุทธศาสนาเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของคนในสังคมบ้านเมือง มีกฎหมายแบบจารีตประเพณีที่เรียกกันว่า มังรายศาสตร์ เพื่อปกครองไพร่ฟ้าประชาชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ตามสถานภาพของบุคคล ผู้คนพลเมืองประกอบสัมมาอาชีพ เฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรกรรมไร่นาทดน้ำแบบเหมืองฝาย ค้าขายกับต่างบ้านต่างเมือง ยึดมั่นในระบบความเชื่อดั้งเดิม พร้อมๆกับการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีศรัทธาไปวัดรับศีลฟังเทศนาธรรมกันโดยทั่วไป โดยได้สร้างสรรค์ผลงานการก่อสร้างที่เป็นวัดในพุทธศาสนาไว้จำนวนหลายสิบแห่ง ซึ่งบรรดาซากเหลือของวัดต่างๆในเขตเวียงกุมกามเหล่านี้ ย่อมเป็นส่วนหนึ่ง ที่แสดงถึงความมั่งคั่งสมบูรณ์ของเวียงกุมกามในอดีตได้เป็นอย่างดี


    จนเมื่อถึงปี พ.ศ.๑๘๓๙ พญามังรายได้ย้ายไปสร้างเมืองเชียงใหม่ บริเวณพื้นที่ราบตอนเหนือระหว่างเชิงดอยสุเทพและแม่น้ำปิง และได้ใช้เป็นศูนย์กลางของรัฐล้านนาต่อมานั้น เวียงกุมกามในระยะสมัยที่เมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีของรัฐล้านนา ก็ปรากฏความสำคัญในฐานะเป็นเมืองหลวงเก่าที่ตั้งอยู่ในเขตตอนใต้ใกล้เคียงกับเมืองเชียงใหม่เสมอมา คราวหนึ่ง เมื่อครั้งที่พญามังรายประชวร ก็ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่เวียงกุมกามนี้อีกระยะหนึ่ง เช่นเดียวกับกรณีของท้าวยี่กุมกาม (ผู้เป็นพี่ของพญาแสนเมืองมา-กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ ๗) รวมถึงตำแหน่งที่ชื่อ หมื่นกุมกาม ที่ปรากฏในหลักฐานด้านเอกสารบันทึกทางประวัติศาสตร์ ส่วนหลักฐานทางด้านจารึกนั้น ก็ได้ปรากฏข้อความระบุถึงเวียงกุมกามว่าเป็นชุมชนใหญ่คู่กันกับเมืองเชียงใหม่ ในจารึกวัดพระยืน -เขตนอกเมืองลำพูนทางทิศตะวันออก ที่จารึกขึ้นในปี พ.ศ.๑๙๑๓ อันเป็นเรื่องราวการขึ้นมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตล้านนาของ พระสุมนเถระ ที่เดินทางมาจากรัฐสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตามคำกราบนมัสการเชิญของพญากือนา (พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๐) ซึ่งได้มาอยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดพระยืนนี้ร่วม ๒ ปีก่อนมาเชียงใหม่
    อีกทั้งสอดคล้องกับหลักฐานจากรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมของวัดต่างๆในระยะหลังโดยเฉพาะในรัชกาลของ พญาติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๑) และพญาเมืองแก้ว (พ.ศ.๒๐๓๙-๒๐๖๘) เหล่านี้ ล้วนแสดงถึงความเป็นชุมชนเมือง ที่ไม่เคยร้างผู้คนเรื่อยมา ตลอดระยะเวลาในสมัยเอกราชของรัฐล้านนา จนกระทั่งเมื่อสายน้ำแม่ปิงเปลี่ยนเส้นทางการไหล จากที่เคยไหลตีวงโค้งผ่านเป็นแนวด้านเหนือของเวียงกุมกาม (จากพื้นที่มุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงเหนือไหลมาทางทิศตะวันออก) มาเป็นพุ่งตรงลงมาเป็นแนวทางด้านตะวันตกเวียงกุมกามในปัจจุบัน ซึ่งจากการขุดตรวจพิสูจน์ และวิเคราะห์ชั้นดินทางธรณีวิทยาในระยะที่ผ่านมา (โดยคณะของ อ.สุจิตร พิตรากูล แห่งภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ที่ประมาณยุคสมัยกันได้ว่า น่าจะอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ในระยะที่พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ โดยที่ในระยะก่อนหน้านั้น ก็ได้เกิดมีเหตุการณ์น้ำท่วมในบริเวณเวียงกุมกามแล้วหลายระลอก เพราะมีที่ตั้งอยู่เขตริมฝั่งแม่น้ำปิงดังกล่าว รวมถึงการพิจารณาประกอบเพิ่มเติมจากหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุ และรูปแบบด้านศิลปะสถาปัตยกรรมของวัดร้างหลายๆแห่งก็พบว่า การที่เวียงกุมกามล่มสลายร้างลงไปนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยเอกราชของรัฐล้านนา และยังไม่พบเอกสารโบราณใดๆที่กล่าวถึงแม่น้ำปิงเปลี่ยนสาย หรืออธิบายการล่มสลายของเวียงกุมกาม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2014
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดอีค่าง


    กรณีการล่มสลายของเวียงกุมกาม หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญที่ถือเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนได้ในกรณีนี้ คือหลักฐานชั้นดินการทับถมบริเวณเวียงกุมกาม ที่พบจากการขุดแต่ง-ขุดตรวจโบราณสถานในเขตวัดร้างต่างๆ ของกรมศิลปากรในระยะที่ผ่านมา ที่ล้วนทำให้วินิจฉัยได้อย่างชัดเจนว่า เวียงกุมกามได้ร้างลงไปก่อนหน้าเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่สาเหตุที่เวียงกุมกามร้างลงไปนั้น ไม่ใช่เพราะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่โดยตรง แต่เป็นเพราะผลพวงของสงคราม จากการที่พม่าเข้ามายึดครองเมืองเชียงใหม่และล้านนาไว้ได้โดยรวม โดยเฉพาะที่เวียงกุมกามนี้ พม่าน่าจะได้เกณฑ์กวาดต้อน ผู้คนพลเมืองไปเป็นข้าทาส/เชลยศึกเสียหมดก่อน แล้วปล่อยทิ้งเวียงกุมกามให้ร้างลง ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยทำกิจกรรม อันเป็นเหตุให้ตั้งแต่ระยะนี้เป็นต้นมา วัดวาอารามและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยต่างๆไม่มีคนดูแล ถูกทอดทิ้งปล่อยให้รกร้างเป็นป่ารกชัฏ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด แล้วต่อมาอีกระยะหนึ่ง (ที่เป็นเวลานานมากพอที่วัสดุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดจะเสื่อมโทรม และได้พังทลายตกลงมากองอยู่รอบๆส่วนฐาน บนพื้นดินใช้งานเดิมของวัด) จึงเกิดเหตุการณ์น้ำแม่ปิงท่วมใหญ่ ไหลหลากล้นฝั่งพุ่งตรงลงมาผ่านทับพื้นที่เวียงกุมกาม จากการที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแนวโค้งแม่น้ำปิงดังกล่าว ขณะเดียวกันสายน้ำก็ได้พัดพา เอาตะกอนดิน และกรวดทรายมาทับถมใหญ่ในคราวเดียว เป็นปริมาตรของตะกอนดินกรวดทรายที่มากมายมหาศาล โดยตลอดทั่วทั้งบริเวณเวียงกุมกาม ในระดับความลึกเฉลี่ย ๑ - ๒ เมตร
    ต่อมาระยะหลังในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อลำน้ำแม่ปิงได้เปลี่ยนเส้นทางมาไหลผ่านทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกามแล้ว ก็ปรากฏหลักฐานชื่อชุมชนในพื้นที่เขตนี้ใหม่ว่า ท่าวังตาลอันหมายถึงชุมชนที่ตั้งบ้านเรือน และทำมาหากินในเขตฝั่งตะวันออกใกล้กับแม่น้ำปิง ขณะเดียวกันพื้นที่เขตเวียงกุมกามเดิมได้ใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ทำไร่นาปลูกพืชผักผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะในปี พ.ศ.๒๕๔๘ ที่มีการทำสวนลำไยกันมาก หรือปลูกไว้ตามเขตบ้านพักอาศัยแทบทุกหลังคาเรือน การเริ่มมีชุมชนบ้านเรือนขยายตัวออกไปอยู่อาศัยกันมากขึ้นในปัจจุบันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเติบโตขยายตัวของเมืองและชุมชน จากการใช้วิเทโศบาย เก็บผักใส่ซ้า-เก็บข้าใส่เมือง ของเจ้าหลวงกาวิละ (พ.ศ.๒๓๒๔-๒๓๕๘) ประมาณระยะเวลาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7266_1a.jpg
      IMG_7266_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      974.8 KB
      เปิดดู:
      831
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2014
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ในปัจจุบันเวียงกุมกาม ได้กลายเปลี่ยนสภาพมาเป็นชุมชนในระดับตำบล (๔ ตำบลใน ๒ อำเภอ) ที่ผู้คนชาวบ้าน อาศัยอยู่ในบ้านเรือนแบบท้องถิ่นนิยม ไม่มีความผูกพันกับบรรดาวัดร้างต่างๆจำนวนมากเหล่านี้ เพียงแต่ทราบกันว่าเป็นซากวัดห่าง (ร้าง) ที่บางบ้านไม่ทราบเลยว่าในเขตบ้านของตนจะเป็นอาณาบริเวณวัดมาก่อน แม้ว่าทางราชการจะได้ประกาศเขตที่ดินสงวนของวัดร้างต่างๆ แต่ก็ทำกันได้จำกัดเพียงบางวัด โดยเฉพาะวัดที่ยังคงปรากฏหลักฐานร่องรอยสิ่งก่อสร้างชัดเจน วัดร้างหลายวัดส่วนใหญ่ยังอยู่ในเขตที่ดินเอกชน วัดใหม่ๆที่ชุมชนสร้างกันขึ้นมาในระยะหลัง ก็พบว่าเป็นการปรับปรุงซ่อมเสริมสิ่งก่อสร้างของวัดร้างที่มีมาแต่เดิม โดยส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้าไปแตะต้องซากวัดร้างต่างๆจำนวนกว่า ๓๐ แห่งนี้เลย ยกเว้นกรณีของคหบดีชาวพม่า ที่เข้ามารับช่วงทำไม้สักสัมปทานในพื้นที่ภาคเหนือ ได้มาซ่อมบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างของวัดต่างๆให้เป็นศิลปะแบบพม่า โดยเฉพาะวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ และเวียงกุมกาม (รวมถึงในเขตเมืองลำพูน เมืองลำปาง และเมืองนครชุม -จ.กำแพงเพชร) ประมาณระยะเวลาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา อีกทั้งในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ในระยะก่อนที่ญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ได้มีทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานกำลังพักอาศัยอยู่ในเขตวัดร้างของเวียงกุมกาม และได้มีการขุดหาสมบัติตามกรุเจดีย์ วิหารหลายแห่ง
    จากการขยายตัวของชุมชนระยะ ๑๐-๒๐ ปีที่ผ่านมานั้น ผู้คนที่ได้ย้ายเข้ามาใหม่ อาศัยอยู่ในบ้านจัดสรร แวดล้อมด้วยที่นา สวนลำไย และซากวัดร้าง ที่เป็นโบราณสถานกระจัดกระจายตัวอยู่ทั่วไป ทั้งในเขตโฉนดที่ดินของราษฎรบริเวณบ้านเรือน เรือกสวนและไร่นา เฉพาะบางแห่งเพียงส่วนน้อย ที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นเขตวัดร้าง และเป็นโบราณสถานของชาติ แต่ยังมีการดูแลรักษากันไม่ทั่วถึง ในระยะที่ผ่านมาส่วนใหญ่ จึงยังคงถูกลักลอบขุดทำลายหากรุพระเครื่องและพระพิมพ์ต่างๆ แม้ว่าทางราชการ ได้จัดสรรงบประมาณให้มาดำเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดร้างเหล่านี้กันอยู่เสมอๆ



    [​IMG]

    วัดหนานช้าง

    ซุ้มประตูโขง และทางเดินนี้ทอดไปสู่แม่น้ำปิง(ก่อนแม่น้ำเปลี่ยนเส้นทาง) เคยเป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ของเมืองมาก่อน

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7272_1a.jpg
      IMG_7272_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      937.2 KB
      เปิดดู:
      914
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2014
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดปู่เปี้ย



    คณะของเราใช้บริการรถรางของศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามในการนำชมซึ่งจะมีไกด์ประจำรถรางแต่ละคัน.... ในแต่ละที่ที่ย่างก้าวเข้าไปพวกเรากำลังยืนอยู่บนเมืองซึ่งรอการขุดค้น ชุมชนใหม่ที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนหลายๆ หลังสร้างทับอยู่บนโบราณสถานโดยที่ไม่รู้ตัว และบางหลังก็รู้ตัว หลายๆ หลังแค่ขุดหลุมลงไปไม่ลึกก็เจอพื้นอิฐเดิม เขาก็จะกลบทันทีเพราะเกรงว่ากรมศิลปากรจะเข้าสำรวจ นี่คือคำบรรยายบางส่วนของไกด์ประจำรถราง.... น่าคิดจัง เพราะจากซากที่ขุดค้นพบส่วนมากจะเป็นวัด และวัดแต่ละวัดก็อยู่ติดๆ ใกล้ๆ กัน แล้วถ้าบ้านไปสร้างทับอยู่บนวัด จะอยู่ได้อย่างเป็นสุขหรือเปล่า ก็มีเรื่องเล่าจากไกด์เหมือนกันว่า หลายๆ หลังได้เจอกับสิ่งที่เหนือคำอธิบาย....
    รถรางได้พาพวกเราลัดเลาะเข้าไปบนถนนลาดยางแคบๆ ผ่านชุมชนบ้านใหม่ และซากวัดต่างๆ พอผ่านแต่ละวัด รถรางก็จะชะลอให้ดู ไกด์ก็บรรยายว่าเป็นวัดอะไร ชื่อวัดแต่ละวัดยังไม่ทราบชื่อเดิม แต่จะตั้งจากเจ้าของที่ดินที่มาสร้างบ้านในที่นั้น หรือผู้ที่ค้นพบ หรือตั้งจากลักษณะเด่นของวัดนั้นๆ รถรางจะวิ่งให้ดู ๑๐ วัด แต่จะแวะให้เดินดู ๓ วัด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2014
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    โบราณสถานในเวียงกุมกาม (ลอกมาจาก วิกีพีเดีย)

    หลังจากที่หน่วยกรมศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ได้ไปทำการขุดค้นหาซากเมืองและโบราณสถานเพิ่มเติม ก็ได้ค้นพบเจอวัดต่างๆ ที่จมอยู่ใต้พื้นดินเป็นจำนวนหลายวัดอีกดังต่อไปนี้

    วัดกานโถม (ช้างค้ำ) พญามังรายได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๓ ประกอบด้วยฐานเจดีย์ฐานกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๘ เมตร มีซุ้มคูหาสี่ทิศ มีการใช้พระพุทธรูปซ้อนเป็น ๒ ชั้น (ชั้นล่างมีพระพุทธรูปนั่ง ๔ องค์ ชั้นบนมีพระพุทธรูปยืน ๒ องค์) วิหารและเจดีย์ทรงมณฑปบนฐานลานประทักษิณเตี้ย บริเวณฐานวิหารพบพระพิมพ์ดินเผาแบบหริภุญไชยฝังไว้โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์อีก ๑ องค์ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปยอดระฆัง ในบริเวณวัดกานโถมยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้อัญเชิญเมล็ดจากเมืองลังกามาไว้ด้วย

    วัดปู่เปี้ย ถือเป็นวัดที่มีความงดงามแห่งหนึ่งในเวียงกุมกาม รูปแบบผังการสร้างวัด และ รูปแบบเจดีย์ประธานมณฑปมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารสร้างยกพื้นสูง เจดีย์ อุโบสถ ศาลผีเสื้อ และแท่นบูชา พร้อมทั้งมีลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์ที่สวยงามมาก

    วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) แต่เดิมวัดนี้ชื่อวัดกู่คำ กู่ หมายถึง พระเจดีย์ คำ หมายถึง ทองคำ พญามังรายทรงโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๑ โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดคือ องค์พระเจดีย์ประธานรูปทรงมณฑปปลด ๕ ชั้น วัดนี้มีความโดดเด่นคือ เป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง และมีรูปแบบเจดีย์ที่แสดงถึงอิทธิพลรูปแบบของรัฐหริภุญไชย โดยที่พญามังรายโปรดให้เอามาก่อสร้างไว้ในเวียงกุมกามระยะแรกๆ

    วัดอีก้าง (วัดอีค่าง) ที่เรียกว่าวัดอีค่างหรืออีก้างนั้นเพราะเดิมบริเวณวัดเป็นป่ารกร้างและมีฝูงลิงฝูงค่างใช้ ซากวัดแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งค่างในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “อีก้าง” โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน วิหารมีขนาดใหญ่ ๒๐ × ๑๓.๕๐ เมตร เจดีย์เป็นแบบองค์ระฆังทรงกลม

    วัดพระธาตุขาว (วัดธาตุขาว) ที่เรียกกันว่าวัดธาตุขาวเนื่องมาจากแต่เดิมนั้นตัวเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาวนั่น เอง โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ อุโบสถ และมณฑป โดยมีการก่อสร้างขึ้นมา ๒ ระยะคือ ระยะแรกก่อสร้างเพียงเจดีย์ วิหาร อุโบสถ แต่ต่อมาเกิดการชำรุดจึงต่อเติมฐานเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น ระยะที่สองมีการก่อสร้างมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป
    วัดพระเจ้าองค์ดำ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกาม โดยอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนมีการขุดแต่งนั้นเป็นสวนลำไย มีพื้นที่เป็นเนินดิน ๒ แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า เนินพญามังราย และเนินพระเจ้าดำ และสันนิษฐานว่าที่เรียกวัดพระเจ้าองค์ดำนี้ เพราะวัดแห่งนี้เคยมีพระพุทธรูปสีดำประดิษฐานอยู่ โบราณสถานที่พบส่วนใหญ่เป็นวิหารหลายหลัง มีซุ้มประตูโขงและแนวกำแพง ถัดจากซุ้มโขงเข้ามามีวิหารและเจดีย์

    วัดพญามังราย ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระเจ้าองค์ดำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อวัดพญามังรายนี้เป็นชื่อเรียกที่ตั้งขึ้นมาใหม่โดยกรมศิลปากร เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดนี้ แต่เมื่อพิจารณาจากการที่เห็นว่าตั้งอยู่ใกล้วัดพระเจ้าองค์ดำมากที่สุดจนดู เหมือนเป็นวัดเดียวกัน เอกลักษณ์ของวัดนี้อยู่ที่การสร้างพระวิหารที่ไม่มีทางขึ้นลงหลักไว้ที่ด้าน หน้า แต่สร้างไว้ที่ด้านซ้าย (กรณีที่หันหน้าไปทางหน้าวัด) ในส่วนพระเจดีย์พบร่องรอยการตกแต่งปูนปั้นลายช่องกระจกสอดไส้
    วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านเหนือ ภายในประกอบด้วยซุ้มโขงประตูใหญ่ อุโบสถ มณฑป วิหารและเจดีย์ มีลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูวัดเป็นรูปกิเลน สิงห์ หงส์ที่มีความงดงาม

    วัดกุมกาม ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศเหนือของวัดกานโถม สิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วยวิหารพร้อมห้องมูลคันธกุฎี และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม

    วัดน้อย (วัดธาตุน้อย) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดกานโถม ก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินสองแห่ง มีชาวบ้านเข้ามาปลูกบ้านอาศัยบนโบราณสถานแห่งนี้ และยังพบร่องรอยกสารขุดหาทรัพย์สินด้วย โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ วิหารตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืน ผ้า มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าและด้านข้าง ๑ แห่ง พื้นวิหารปูอิฐ ด้านหลังวิหารเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธานปูนปั้น เจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๑๓.๓๕ × ๑๓.๓๕ เมตร สูง ๑.๖๔ เมตร ต่อขึ้นไปเป็นองค์เจดีย์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๖.๒๐ × ๖.๒๐ เมตร ลักษณะเจดีย์มีฐานใหญ่แต่องค์เจดีย์เล็ก

    วัดไม้ซ้ง ตั้งอยู่มุมตะวันออกเฉียงใต้ภายในเวียงกุมกาม บริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา สภาพก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีต้นไม้ใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าไม้ซ้งอยู่ (เป็นที่มาของชื่อวัด) โบราณสถาน ประกอบด้วยวิหารเจดีย์แปดเหลี่ยม และฐานซุ้มประตูโขงพร้อมกำแพง

    วัดกู่ขาว ตั้งอยู่ริมถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพรอบๆ วัดก่อนการขุดแต่งพบเจดีย์มีความสูงประมาณ ๕ เมตร และรอบๆ องค์เจดีย์เป็นเนินดิน หลังจากขุดลอกดินที่ทับถมอยู่ได้พบโบราณสถาน ๓ แห่งคือ กำแพงแก้วและซุ้มประตูอยู่หลังเจดีย์, เจดีย์ประธานเป็นศิลปะล้านนา เรือนธาตุมีลักษณะสูงก่อทึบตันทั้ง ๔ ด้าน (ไม่ทำซุ้มพระ) ส่วนยอดเจดีย์เป็นฐานบัวแปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆัง และวิหารที่มีมุมฐานบัวลูกแก้ว ฐานชุกชีเดิม และลายกลีบบัว

    วัดกู่ป่าด้อม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกเวียงกุมกาม ชื่อของวัดนี้ได้ตั้งชื่อตามเจ้าของที่ดิน โบราณสถานของวัดมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย วิหารฐานใหญ่ มีบันไดทางขึ้นวิหาร มีราวบันไดด้านปลายเป็นรูปตัวเหงา ส่วนเจดีย์เหลือเพียงฐานเท่านั้น มีกำแพงแก้วก่อล้อมรอบโบราณสถาน กำแพงแก้วด้านหน้าทางเข้าวิหารมีซุ้มโขง วัดแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒

    วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนอกเวียงกุมกาม โบราณสถานประกอบด้วยวิหารซึ่งเหลือเพียงฐาน และเจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

    วัดกู่อ้ายหลาน เป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ชื่อวัดเรียกตามเจ้าของที่ที่ชื่ออ้ายหลาน โบราณสถานประกอบด้วยวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แท่นบูชา กำแพงแก้ว และซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก

    วัดกู่อ้ายสี เป็นวัดขนาดเล็ก โบราณสถานประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ ซึ่งเหลือเพียงฐาน และแท่นบูชา

    วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก เรียกชื่อวัดตามชื่อต้นไม้ที่ขึ้นบนโบราณสถาน หลังจากทำการขุดลอกดินออกแล้ว พบเจดีย์และวิหารตั้งอยู่บนฐานเดียวกันและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

    วัดกู่ลิดไม้ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านใต้ วัดนี้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันเนื่องจากมีต้นเพกา (ต้นลิดไม้) ขึ้นอยู่บนเนินวัด โบราณสถานประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ด้านหลังวิหารเหลือเพียงฐาน และเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม มีซุ้มประตูโขงและกำแพงแก้ว

    วัดกู่จ๊อกป๊อก ตั้งอยู่นอกกำแพงเวียงกุมกามทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ซึ่งเหลือเพียงฐาน

    วัดหนานช้าง ตั้งตามชื่อเจ้าของที่ดิน ด้านหน้าของวัดอยู่ใกล้แม่น้ำปิง ซุ้มโขงมีลายปูนปั้นประดับเล็กน้อย ถัดจากซุ้มโขงลงไปมีทางเดินและมีวิหาร ซึ่งที่ฐานพระประธานมีลายปูนปั้น ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ฐานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้น เรือนธาตุได้พังเสียหายไปแล้ว เยื้องกับเจดีย์เป็นมณฑป ถัดไปเป็นอุโบสถ

    วัดเสาหิน ตั้งอยู่เขตท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่บันทึกทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องราว ของวัดนี้ในอดีต

    วัดหนองผึ้ง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดในสมัยเวียงกุมกาม-เชียงใหม่ หรือบางทีอาจจะมีสภาพเป็นวัดดั้งเดิมอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่สมัยหริภุญไชย มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณวัตถุประเภทพิมพ์แบบลำพูน สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดนี้คือ วิหารพระนอน เป็นองค์พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว ๓๘ ศอก (๓๙ เมตร)

    วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่เขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่ได้รับการฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยหลัง ปัจจุบันวัดนี้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่

    วัดข่อยสามต้น อยู่ในบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเวียงกุมกาม ชื่อวัดนี้ตั้งตามจุดสังเกตที่เป็นต้นข่อยจำนวน ๓ ต้น ที่ขึ้นเจริญเติบโตในพื้นที่บริเวณวัด และไม่ปรากฏความเป็นมาในเอกสารและตัวแทนทางประวัติศาสตร์

    วัดพันเลา อยู่ในท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดร้างขื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา คาดว่ามาจากชื่อวัดที่มีคำนำหน้าว่า “พัน” นำหน้านั้น น่าจะหมายถึง ยศทางทหาร หรือขุนนาง ที่เดิมวัดนี้อาจเป็นวัดอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ “เลา” ตั้งอยู่ริมถนนท่าวังตาลซึ่งอยู่นอกเวียงกุมกามทางด้านทิศเหนือ สภาพโบราณสถานมีการก่ออิฐกระจายหลายแห่ง พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูป และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอะไร และยังคงคาดว่ามีอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้พื้นดิน และบ้านเรือนของชาวบ้านที่กำลังรอการบูรณะขึ้นมา



    [​IMG]


    วัดปู่เปี้ย

    เจดีย์ที่เห็นนี้ไม่เอียงนะ แต่สร้างยังไงไม่รู้มองด้านไหนก็เอียงด้านนั้น ทางโยธาใช้กล้องมาส่องดูก็ไม่เอียง เป็นความประหลาดอย่างหนึ่ง

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2014
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดธาตุขาว

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7288_1a.jpg
      IMG_7288_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1,015.8 KB
      เปิดดู:
      773
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดช้างค้ำ

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดช้างค้ำ

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7219_1a.jpg
      IMG_7219_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      804.6 KB
      เปิดดู:
      781
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วัดช้างค้ำ

    เวียงกุมกาม
    จังหวัดเชียงใหม่



    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7229_1a.jpg
      IMG_7229_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1,011.3 KB
      เปิดดู:
      812

แชร์หน้านี้

Loading...