ลองใช้ปัญญากันดูครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 5 กรกฎาคม 2014.

  1. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ท่านที่ชอบจะใช้ปัญญา ผมมีคำถามอยู่ 2 คำถาม ซึ่งผมเคยติดขัดและหาคำตอบอยู่นานกว่า 10 ปี ซึ่งปรากฏตามตำราบ้างและการแสดงธรรมของคณาจารย์บ้างว่า "ธรรมทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์แตกแยกมาจากธรรมเพียงธรรมเดียวหรือหมวดเดียว" ผมก็เลยเกิดข้อสงสัยว่าธรรมนี้คืออะไร นอกจากนี้ในการแสดงธรรมของพระอาจารย์ต่างๆ ก็จะแสดงธรรมไปแต่ละหมวดไม่เชื่อมโยงกันเช่นว่า มรรค8 ขันธ์5 อริยสัจจ์4 กิเลสโลภ-โกรธ-หลง ฯลฯ ผมจึงเกิดข้อสงสัยว่าธรรมทั้ง 4 หมวดสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร รวมทั้งเชื่อมโยงมาจากธรรมหมวดแรกอย่างไร ลองใช้ปัญญาดูครับ
    1.ธรรมหมวดแรกคืออะไร แตกไปสู่ธรรมอื่นได้อย่างไร
    2. มรรค8 ขันธ์5 อริยสัจจ์4 กิเลสโลภ-โกรธ-หลง สัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร รวมทั้งเชื่อมโยงมาจากธรรมหมวดแรกอย่างไร
     
  2. arjhansiri

    arjhansiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2013
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +148
    อย่างนี้นะครับ อคิมีดิส กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเราต่างๆก็ไม่เคยเห็น ทำไมเราจึงเชื่อว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นมีจริงและสิ่งที่ท่านทั้งหลายค้นพบเป็นอยู่จริง ก็เพราะจากตำราและเราได้ลงมือปฎิบัติตามและได้ผลจริงตามนั้นใช่มั้ยครับ
    พุทธศาสนาก็เหมือนกันครับเราคงต้องศึกษาจากตำราแล้วลงมือปฎิบัติให้เกิดผลจริงตามนั้นเราจึงเชื่อใช่มั้ยครับ แม้แต่คำพูดที่ท่านกล่าวมาว่า84000พระธรมขันธ์นี่ในตำราที่เก่าแก่ที่สุดยังไม่ปรากฎมีเลยพึ่งปรากฎมีในตำราเล่มหลังๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาใหม่ และยิ่งถ้าไม่ใส่ใจในพระสูตรที่พระพุทธองค์แสดงแสดงไว้ในตำราที่เก่าแก่หลายร้อยปี ที่สาวกได้กระทำตามกันมาจนถึงปัจจุบันแล้วล่ะก็โอกาสที่จะเข้าเดินอยู่บนเส้นทางมรรคนั้นเป็นไปได้ยาก และถ้าผู้ร่วมสนทนาลองพืจารณาตามที่ผมได้กล่าวดูนะครับ
    สาวกของพระองค์บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาต่างคนก็บอกว่าตัวเองทำถูกต้องแล้วทำไม่ถึงมีให้เห็นมากในสังคมเราเช่นพิธีกรรมต่างสร้างรูปเคารพพระเครื่องพิธีแก้กรรมต่าง นอนในโลง ลดน้ำมนค์ สวดมนต์อ้อนวอนขอสิ่งต่างๆมากมาย ทำไมเกิดเหตุการเช่นนั้นมากมาย จนสังคมชาวพุทธเรากลายเป็นอะไรก็ไม่รู้ แล้วถ้าเราขาดการศึกษาเราจะแน่ใจได้อย่างไรเล่าว่าเราจะม่หลงไปในมิจฉาทิฎฐิเหมือนกับเขาแต่อาจจะเป็นในแนวที่เราเชื่อ
    พระองค์กล่าวกับอคิเวสนะว่าคำที่พระองค์พูดนั้นสอดคล้องกันไม่มีขัดแย้งกันเลย เพราะถ้อยคำของพระองค์มีระเบียบเรียบร้อยถูกต้องเป็นหนึ่งไม่มีผู้ใดในโลกสามารถขัดแย้งได้เลย แม้สาวกผู้เป็นอรหันต์ก็เป็นเพียงผู้เดินตาม ท่านผู้ร่วมสนทนา ถ้าสนใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอะไรเข้าไปศึกษาที่ พุทธวจน : วัดนาป่าพง ควบคู่กับการปฎิบัติ เพราะการสะสมสุตตะนั้นเป็นการดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2014
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    วันอาสาฬหบูชา ปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 11 ก.ค.57

    ..
    ประกาศพระสัจธรรม-แสดงปฐมเทศนา[แก้]
    ......
    เมื่อปัญจวัคคีย์ตั้งใจเพื่อสดับพระธรรมของพระองค์แล้ว[14] พระพุทธองค์ทรงจึงทรงพาเหล่าปัญจวัคคีย์ไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันอันร่มรื่น แล้วทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ฟัง) ซึ่งเรียกว่า "ปฐมเทศนา"[15] เป็นการยังธรรมจักรคือการเผยแผ่พระธรรมให้เป็นไปเป็นครั้งแรกในโลก[16]

    พระพุทธองค์ทรงกล่าวสรุปถึงเนื้อหาของการแสดงพระปฐมเทศนาไว้ในสัจจวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ว่า...
    ... ภิกษุทั้งหลาย! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี, เป็นพระธรรมจักรที่สมณะพราหมณ์, เทพ มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะต้านทานให้หมุนกลับไม่ได้ (คือความจริงที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้) ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก และการทำให้ง่าย ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการ: สี่ประการนั้นได้แก่ ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, และความจริงอันประเสริฐคือทางที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์...
    — มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สัจจวิภังคสูตร

    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแสดงพระปฐมเทศนานี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" ท่านโกณฑัญญะได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้ว


    บุคคลเกิดมา ไม่รู้จักอริยสัจจ์สี่ นับว่าเสียชาติเกิดแล้ว..
    อ่านประวัติและซาบซึ้งใจ วันอาสาฬหบูชา..
    วันอาสาฬหบูชา - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2014
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อริยสัจจ์สี่ประการนั้นได้แก่
    ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์,
    ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์,
    ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
    และความจริงอันประเสริฐคือทางที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์...

    ขันธ์ห้า อยู่ในธรรมฝ่ายทุกข์
    อริยมรรคองค์แปด อยู่ในธรรมฝ่ายดับทุกข์

    ไม่รู้จักธรรมหมวดเดียวที่แยกเป็นธรรมหมวดต่างๆจ๊ะ
    ส่วนการประกาศความจริงสี่ประการนี้ ถือเป็นการประกาศอนุตตรธรรมจักรของศาสนา และธรรมจักรนี้จะเคลื่อนไปไม่หยุด...
    ส่วนธรรมทั้งหลายในความจริงใดๆที่พระองค์ทรงประกาศ ย่อมล้วนไม่ขัดแย้ง มีความลงกันอยู่โดยเหตุุและผล..

    อวิชชา(กิเลสสามโลภโกรธหลง) เป็นหนึ่งในสังโยชน์สิบ
    เป็นสมุทัย ที่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งปวง
    เป็นตัวทำให้เกิดวงจรปฏิจจสมุปบาท..

    อริยมรรคองค์แปด สติปัฏฐานสี่ เป็นทางสายเอกในการดับทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2014
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เนื่องด้วย วันอาสาฬหบูชา มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก และได้ทรงแสดงเป็นครั้งแรกในวันอาสาฬหบูชานี้ หลักธรรมสำคัญในพระสูตรบทนี้จึงเป็นธรรมะสำคัญที่พุทธศาสนิกชนควรนำไปพิจารณาและทำความเข้าใจ และอาจจะเรียกได้ว่าหลักธรรมในพระสูตรดังกล่าวเป็นหลักธรรมสำคัญในวันอาสาฬหบูชา[46] ซึ่งเนื้อหาในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มี 3 ตอน ดังนี้


    สิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง[แก้]

    ส่วนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค กล่าวคือทรงแสดงสิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง อันได้แก่ การปฏิบัติตนย่อหย่อนสบายกายเกินไป (กามสุขัลลิกานุโยค) และการปฏิบัติตนจนทรมานกายเกินไป (อัตตกิลมถานุโยค) คือทรงแสดงการปฏิเสธลักษณะของลัทธิทั้งปวงที่มีในสมัยนั้นดังนี้

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
    การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1
    การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1"
    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)

    หลักธรรมในพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีจุดเด่นคือเน้นทางสายกลาง ให้มนุษย์มองโลกตามความเป็นจริง (แก้ทุกข์ที่ใจ) เพื่อพบกับความสุขที่ยั่งยืนกว่าสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในปฐมเทศนาต่อมาคือ มัชฌิมาปฏิปทา คือ หลังจากทรงกล่าวปฏิเสธแนวทางพ้นทุกข์แบบเดิม ๆ แล้ว ได้ทรงแสดงเสนอแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง คือ การปฏิบัติที่ไม่สุดตึงด้านใดด้านหนึ่ง อันได้แก่การดำเนินตามมรรคมีองค์ 8 ซึ่งควรพิจารณาจากข้อความจากพระโอษฐ์โดยตรง ดังนี้

    "ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เป็นไฉน?

    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ 8 นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 เจรจาชอบ 1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1พยายามชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1"

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    อริยสัจสี่[แก้]

    สุดท้ายทรงแสดงสิ่งที่ทำให้พระองค์ตรัสรู้ คือทรงแสดงอริยสัจ 4 ประการ และ "กิจ" ที่ควรทำในอริยสัจ 4 ประการ เพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ โดยแก้ที่สาเหตุของทุกข์ กล่าวคือ ทุกข์ ควรรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ลงมือปฏิบัติ

    โดยข้อแรกคือ ทุกข์ ในอริยสัจทั้งสี่ข้อนั้น ทรงกล่าวถึงสิ่งเป็นความทุกข์ทั้งปวงในโลกไว้ดังนี้

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์ การเจอสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"

    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
     
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ส่วนความเห็นส่วนตัว
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง.. ประดุจสมการของการเกิดและดับของอัตตาภพชาติไปถึงโลกและจักรวาลทั้งหลาย..

    ไม่ได้มีปัญญาอะไร
    ทุกเม้นท์ไม่รับตอบคำถามใคร แค่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวจ๊ะ
    แค่แวะมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2014
  7. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    สมมติทั้งนั้น
    แม้แต่คำสอนของพระพุทธเจ้า
    ก็เป็นสมมติทั่วไปเพื่อใช้ตีกรอบการปฏิบัติบ้าง ( เช่น มรรค 8 , วินัยมุข )
    หรือเป็นสมมติสัจจะบ้าง คือ เป็นสมมติตัวแทนความเป็นจริง ( เช่น อริยสัจ , ไตรลักษณ์ เกิดแก่เจ็บตาย )
    84000 สมมติที่เผยแพร่โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 84000 ที่เลือกเฝ้นดีแล้วว่าครอบคลุมต่อมนุษย์ทั้งหลาย
    ธรรมในจักวาล อธิบายเป็นสมมตินั้น มีได้มากมายตามใจต้องการ
    หรือจะบอกว่ามีเพียงหนึ่ง ก็ได้อีก เพราะสมมติบัญญัติเกิดตามใจคน

    เมื่อมีบุคคลไปศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจธรรม 84000 จะบางส่วนก็ดี ทุกส่วนก็ดี แต่ละบุคคลนั้นมีความคิดความอ่านที่จะทำความเข้าใจธรรมที่ต่างกัน สาวกหรือผู้เป็นปรมจารย์ที่ศึกษาพระธรรม ก็มีมาก แต่ละท่านก็ศึกษาหัวข้อหมวดหมู่มาต่างกันบ้าว เหมือนกันบ้าง แต่ไม่อาจจะให้ทุกๆท่านเข้าใจตรงกันได้หมด
    ดังนั้นแล้ว คำสอนที่กล่าวออกมาจากแต่ละปรมจารย์ ก็ย่อมแตกต่างกันไป
    อาจจะมีตรงกันบ้าง ต่างกันบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง
    หากตัดสินใจจะฟังธรรมที่เรียบเรียงและทำให้ง่ายแล้วจากบุคคลใดๆ
    นั่นหมายถึง คำสอนนั้นๆ จะมีความเป็นตัวตนของผู้ถ่ายทอดรวมอยู่เสมอ
    วิธีที่ดีที่สุด คือ เราต้องเข้าไปศึกษาธรรมของพุทธองค์ด้วยตัวเอง
    หลายๆคำถาม มีเหตุมาจากอัตตาของผู้นำมาถ่ายทอด
    เมื่อเราพิจารณาจากต้นตอ ไม่ผ่านการถ่ายทอดจากบุคคลอื่น
    ความลังเล สงสัย ในหลายๆอย่างที่เกิดเพราะอัตตาเจือปนของบุคคล ก็จะหมดไป
     
  8. ?????

    ????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +239
    ตอบแบบคิดเอาเองนะครับ ไม่ค่อยได้อ่านมามากนัก
    ทั้ง 84000 แตกออกมาจาก "จิต" หรือใจเพียงตัวเดียว รวมกันทุกหมวดก็กลับมารวมลงที่จิตนี่หล่ะ เพราะมีจิตตัวเดียวเท่านั้นที่เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็สอนแต่เรื่องของทุกข์กับทางพ้นทุกข์ ไม่มีอะไรทุกข์และพ้นทุกข์นอกจากจิตหรือใจตัวนี้
    - มรรค8 ก็เป็นทางเดินของ จิต เพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์
    - ขันธ์5 ก็เกี่ยวข้องกับจิตโดยตรง ยึดมากก็ทุกข์มาก
    - อริยสัจจ์4 ก็เกี่ยวกับจิตอีกนั่นหล่ะ ทุกข์ก็ทุกข์ที่จิต สมุทัยก็เกิดจากจิต มรรคก็ต้องใช้จิตภาวนา นิโรธก็ดับทุกข์ที่จิต
    - กิเลสโลภ-โกรธ-หลง เกิดจากตัวจิตที่มีอวิชชา
     
  9. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ธรรมนี้หลวงปู่ท่านแสดงไว้ว่าพระนิพพานเป็นธรรมสูงสุด ธรรมอื่นล้วนแตกแขนงมาจากธรรมนี้
    นิพพานขณะทรงธาตุทรงขันธ์มี 2 ลักษณะคืออนุปาทิเสสานิพพานธาตุ ขณะทรงฌานนิโรธหรือฌานนิโรธสมาบัติ และสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นขณะท่านเป็นอยู่โดยปกติ
    การจะถึงซึ่งพระนิพพานจะต้องดับสมุทัย ก็จะถึงซึ่งนิโรธธรรมขณะทรงฌานนิโรธท่านเรียกว่าเป็นอนุทิเสสานิพพานธาตุ
    ขันธ์ห้าเป็นทั้งทุกข์และสมุทัยโดย รูปเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทั้งทุกข์และสมุทัย วิญญาณเป็นทั้งทุกข์และสมุทัย
    สมุทัยคือเหตุเเห่งทุกข์อันหมายถึงความคิด อันว่าวิญญาณกับความคิดเป็นอย่างเดียวกัน อันว่าสังขารก็คือความคิดปรุงแต่ง
    มรรคเป็นทางดำเนินนี้ก็เป็นส่วนของความคิด อันหมายว่าคิดดีคิดถูกต้องหรือเป็นสังขารส่วนดี มรรคอยู่ในสังขารของขันธ์ห้า
    อันว่ากิเลสก็เกิดอยู่ในความคิด อันหมายว่าคิดไม่ดีคิดไม่ถูกต้องหรือเป็นสังขารส่วนไม่ดี กิเลสก็อยู่ในสังขารของขันธ์ห้า
    หลวงปู่แสดงไว้ว่าความคิด หรือจิต หรือใจ หรือวิญญาณ หรือสังขาร เป็นตัวเดียวกัน
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2014
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ให้ทุกคนแสดงปัญญาครับ ใครรู้อย่างไรก็ว่ากันไป ที่ผมแสดงคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ได้ครับ
     
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ธรรมหมวดแรก ก่อนแตกไปหมวดอื่นๆ.. คือ..
    หรือธรรมหมวดเดียว ที่แตกไปหมวดอื่นๆ.. คือ..

    ก็น่าสนใจนะ นิโรธหรือนิพพาน หนึ่งในจตุอริยสัจจ์ จะเป็นธรรมหมวดแรกที่แตกมาหมวดอื่นๆหรือเปล่า ..

    ส่วนจิต จะเป็นธรรมหมวดแรก ที่แตกไปหมวดอื่นๆ หรือเปล่า อะรรคือคาถานั้น..
    ..การรักษาใจ น่าจะเข้าหมวด ศีล227 อริยมรรคองค์แปด สติปัฏฐานสี่ คือรวมลงมาแล้วก็มีประการเดียวคือรักษาใจ


    สรรพสิ่ง เกิดขึ้นเพราะจิต เป็นไปเพราะจิต ดับลงเพราะจิต.. (อันนี้คาถาของพระโพธิสัตว์)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2014
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อิทัปปัจจยตา ธรรมนิยาม ปัจจยาการ

    ปฏิจจสมุปบาท (/ปะติดจะสะหฺมุบบาด/) (บาลี: Paticcasamuppāda; สันสกฤต: Pratītyasamutpāda) เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ...

    ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ

    จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖

    ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

    ปฏิจจสมุปบาท - วิกิพีเดีย
     
  13. สุทัส

    สุทัส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +102
    ธรรมทั้งหลายออกมาจากจิต ให้ค้นคว้าที่จิต

    ส่วนเรื่องธรรมอื่นๆอีก ๘๔๐๐๐ นั้นอาศัย ปัญญาของพระสัพพัญญูทั้งสิ้น ไม่มีทางไปนึกคิดด้นเดามรรควิธี และอธิบายสภาวะอะไรได้เองหรอก ต้องอาศัยคำสอนจากผู้รู้โลกแจ่มแจ้งเป็นพื้นฐาน มาบรรยาย สาธยาย ทั้งนั้น แต่ความบริสุทธิ์นั่นเหมือนกัน
     
  14. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ธรรมทั้งปวงออกจากจิต สภาวะธรรมต่างๆไม่มีอะไรเลยนอกจากจิตมันตีกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...