ความจริงของพระอรหันต์ โดย หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 31 พฤษภาคม 2014.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ความจริงของพระอรหันต์
    โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    พระอรหันต์มี 4 แบบ คือ
    สุขวิปัสสโก หมดกิเลสแล้ว แต่ไม่มีความรู้พิเศษ เห็นผี...
    เห็นเทวดาไม่ได้ ได้แต่ปลงสังขาร ให้อารมณ์หยุดอยาก
    คือ ไม่อยากเกิด ไม่อยากมี ไม่อยากเอาดีกับชาวโลก
    เพราะเห็นว่าเมื่อยังเกิด ตราบใด ก็ยังต้องทุกข์ตราบนั้น
    ท่านเลยเบื่อเกิด ทั้งเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ท่าน
    ไม่เอาด้วยทั้งนั้น สิ่งที่ท่านต้องการก็คือ พระนิพพาน

    พระอรหันต์อีกแบบหนึ่งก็คือ พระอรหันต์ที่เรียกว่า เตวิชโช
    คือ ท่านทรงวิชชาสาม ได้แก่
    - ทิพยจักขุญาณ มีอารมณ์จิตเป็นทิพย์ รู้เรื่องราวต่าง ๆ
    ทั้งอดีตและอนาคต ท่านรู้ได้คล้ายตาทิพย์
    - อันดับที่สอง สามารถระลึกชาติในอดีตได้ทุกชาติ
    ที่ท่านเกิดมาแล้ว
    - สาม ท่านละกิเลสหมดทุกอย่างเหมือนท่านสุกขวิปัสสโก

    พระอรหันต์อันดับที่ 3 ได้แก่ท่านผู้ทรง อภิญญา 6 คือ
    - แสดงฤทธิ์ได้ทุกอย่าง เพราะอำนาจกสิณ
    - มีหูทิพย์ เพราะอำนาจกสิณ
    - มีทิพยจักขุญาณ
    - มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
    - รู้ความรู้สึกนึกคิดของคนและสัตว์ได้
    - ทำกิเลสให้สิ้นไป

    พระอรหันต์ประเภทที่ 4 ท่านมีอำนาจฤทธิ์เหมือนท่าน
    ผู้ทรงอภิญญา แต่มีญาณพิเศษกว่า คือ มีปัญญาฉลาด
    เฉียบแฉลม สามารถคิดคำนวณพยากรณ์เหตุการณ์
    ทุกอย่างได้โดยฉับพลัน มีฤทธิ์คล่องแคล่วกว่าอภิญญา 6
    ท่านอันดับที่ 4 นี้แหละ ที่ท่าน ปิณโฑลภารทวาชะ
    และท่านโมคคัลลาน์ ท่านทรงได้

    ได้บรรยายเรื่องพระอรหันต์พอให้ท่านผู้อ่านทราบไว้
    เพียงย่อ ๆ จะได้ไม่เข้าใจผิด เพราะคนส่วนมากก็คิดว่า
    พระอรหันต์จะต้องเป็นพระมีฤทธิ์เหมือนกันหมดทุกองค์
    ความจริงพระอรหันต์ไม่ใช่จะมีฤทธิ์มีเดชเหมือนกันหมด
    ตามที่บอกมาแล้ว

    การเดินทางเข้าสู่พระอรหันต์หรือพระอรหัตตมรรคนี่
    อันดับแรกก็ตัด รูปราคะ อรูปราคะ คือ ใช้ปัญญาพิจารณาว่า
    รูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี เป็นเพียงแค่กำลังหวังมรรคผล
    ในการตัดกิเลสเท่านั้น เราจะไม่หลงจมอยู่เฉพาะรูปฌาน
    หรืออรูปฌาน จะทำความดีต่อไป

    ความจริงเป็นพระอนาคามีแล้ว ตัวนี้ไม่ต้องตัดก็ได้นะ
    มันไม่มีอะไรเกาะ แต่ถ้าพูดกันตามแบบก็ต้องพูด
    มันเป็น อนุสัย คือ กิเลสเบามาก พระอรหัตตมรรคนี่
    เป็นการตัดกิเลสจุ๋มจิ๋ม ไม่ใช้กำลังหนัก ไปหนักแค่
    อนาคามี ต่อมาก็ตัด มานะ การถือตัวถือตน
    การถือตนว่าเราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา
    นี้ยกยอดไปจากจิต คิดว่าคนก็แค่คน สัตว์ก็แค่คน
    มันแค่กันหรือเปล่า สัตว์บางทีก็สูงกว่าคนนะ
    อย่างแมลงวันจับบนหัวเรา

    คำว่าแค่กัน หมายความว่า ทุกอย่างต่างก็ธาตุ 4
    เหมือนกัน รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน ถ้าเราจะ
    เกลียดสัตว์ ก็จงนึกว่าสัตว์กับเรามีอะไรแตกต่างกันบ้าง
    1. เนื้อ สัตว์มีไหม 2. กระดูก มีไหม 3. เลือด เนื้อ มีไหม
    เรามีเหมือนสัตว์หรือเปล่า สัตว์กับเรามีสภาพเหมือนกัน
    คือ มีธาตุ 4 เหมือนกัน ร่างกายสกปรกเหมือนกันใช่ไหม

    อรหัตตมรรคเข้าไปตัด อุทธัจจะ คือ อารมณ์ฟุ้งซ่าน
    คือ ความฟุ้งซ่านของจิตน่ะ พระอรหัตตมรรคกับปุถุชนนี้
    ไม่เท่ากันนะ ปุถุชนอารมณ์ฟุ้งซ่านในด้านอกุศลมีมาก
    จิตคิดในด้านอกุศลมีอยู่ ภาวนาไปบ้าง พิจารณาไปบ้าง
    ดีไม่ดีภาวนาไป ๆ นึกถึงใครที่ไม่ชอบใจ เลยกลายเป็น
    ภาวนาด่าไปเลย อันนี้มันฟุ้งซ่านเป็นอกุศลได้

    ถ้าจิตเข้าถึงพระโสดาบัน จิตนึกไม่ชอบใจยังมีอยู่ แต่จิต
    คิดประทุษร้ายจริง ๆ ไม่มี ถ้าถึงพวกสกิทาคามี จิตคิด
    ประทุษร้ายจะหายาก โกรธมาปั๊บ โกรธเบามาก แล้วก็
    หายเร็ว ที่เรียกว่า อภัยทาน ไม่ผูกอาฆาต นี่เรียกว่า
    พระสกิทาคามี

    พอถึงพระอนาคามี อารมณ์จิตที่มันฟุ้งซ่านเข้ามา
    อารมณ์จิตอกุศลไม่มี จิตคิดทำลายเขาไม่มี มีแต่คิดว่า
    กูเป็นอนาคามีนี่วะ พักแค่นี้ก็ได้ ตายไปเป็นเทวดาหรือพรหม
    ฉันตีตั๋วต่อเลย อันนี้มีบ้าง ไม่มาก

    พอถึงอรหันตตมรรคก็ในลักษณะเดียวกัน ทำไป ๆ เห็น
    ร่างกายมันไม่ดี ปวดบ้าง เมื่อยบ้าง เป็นโน่นบ้าง เป็นนี่บ้าง
    เอ๊ย เราก็เป็นพระอนาคามีแล้วนี่โว้ย เรื่องเล็ก ๆ น่ะ นอนพัก
    ผ่อนเสียได้ ตายเมื่อไรเป็นเทวดา พักหน่อยค่อยไปนิพพาน

    อารมณ์พระอรหันต์ นั่นก็คือ คิดว่าไม่หลงในรูปฌาน
    และอรูปฌาน จิตไม่มีมานะ การถือตัวถือตน จิตไม่มี
    อารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีตนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา
    คือ ฉันทะ กับ ราคะ ฉันทะ ความพอใจเห็นว่ามนุษย์โลก
    เทวโลก พรหมโลกไม่มี ราคะ จิตเห็นว่ามนุษย์โลก
    เทวโลก พรหมโลก สวยไม่มี ไม่พอใจใน 3 โลก
    จิตพอใจจุดเดียว คือ นิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...