สรุปและวิจารณ์ ในบทความเรื่อง"ศรือาริยยุค" โดยสมาชิกเว็บพลังจิต

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย วสุธรรม, 26 เมษายน 2014.

  1. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ******************************************
    บทความนี้คัดลอกมาจากหนังสือ "ศรีอาริย์เจ้าโลก"
    ซึ่งรวบรวมโดยคุณรหัสยญาณ
    ในที่นี้ผมขออนุญาตเจ้าของบทความปรับปรุงในบางข้อความด้วยครับ

    ******************************************
    ที่มา:พระศรีอาริย์เจ้าโลก รวบรวมโดยรหัสยญาณ บทที่9ศรีอาริยยุค
    ******************************************
    ศรีอาริยยุค

    ชาวโลกปัจจุบันกำลังคร่ำครวญ และโหยหวนกันถึงอารยธรรม ซึ่งเป็นผลวิเศษของวัฒนธรรม แต่จะวิเศษอย่างไรและแค่ไหนนั้น ก็ยังคลำหามาตรฐานแน่นอนไม่ได้ และอารยธรรมนี้ก็มีอยู่ด้วยกันหลายด้านหลายประการ ารยธรรมข้อใหญ่ๆนั้นมีดังนี้
    ๑.อารยธรรมแห่งใจ
    ๒.อารยธรรมแห่งกฎหมาย
    ๓.อารยธรรมแห่งวัตถุ
    ๔.อารยธรรมแห่งสังคม

    ในที่นี่จะได้กล่าวแต่อารยธรรมแห่งใจ ซึ่งเป็นผลของวัฒนธรรมทางอัธยาตมวิทยาหรือจิตศาสตร์(Psychology=ปัจจุบันนิยามว่าจิตวิทยา) อันสำเร็จด้วยการค้นคว้าเป็นเวลานานถึง ๖ ปีของพระพุทธเจ้า เรียกกันว่าวิทยาศาสตร์แห่งใจ(Spiritual Science) พระองค์ได้ทรงแยกไว้เป็น ๓ ลำดับชั้น ตามมาตรฐานดังนี้ คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก

    มาตรฐานของอารยธรรมชั้นตรี คือศีล ๕ :-
    ๑.ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง หมายถึง "เว้นจากสิกขาบทแห่งการฆ่าสัตว์"
    ๒.อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง หมายถึง"เว้นจากสิกขาบทแห่งการขโมย"
    ๓.กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง หมายถึง"เว้นจากสิกขาบทแห่งการประพฤติผิดในกาม และความรักที่เลวทราม"
    ๔.มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง หมายถึง"เว้นจากสิกขาบทแห่งการพูดเท็จ"
    ๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง หมายถึง"เว้นจากสิกขาบทแห่งการดื่มสุราเมรัย"

    มาตรฐานของอารยธรรมชั้นโท:-
    กุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งกรรมดี,ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ (wholesome course of action) เป็นธรรมส่วนสุจริต 10 ประการ จึงเรียกชื่อว่า กุศลกรรมบถ 10
    คำว่า กรรมบถ (อ่านว่า กำมะบด) แปลว่า ทางแห่งกรรม คือ การกระทำที่เข้าทางเป็นกรรมหรือที่นับว่าเป็นกรรม หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม คือการกระทำที่นับว่าเป็นความดีได้แก่
    ที่เป็นกายกรรม มี 3 อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
    ที่เป็นวจีกรรม มี 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
    ที่เป็นมโนกรรม มี 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามคลองธรรม (สัมมาทิฐิ)
    กุศลกรรมบถ ก็คือสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจนั่นเอง

    มาตรฐานของอารยธรรมชั้นเอก:-
    คือกุศลกรรมบถ๔๐ โดยแจกแจงกุศลกรรมบถ ๑๐ประการอย่างละ ๔ คือ
    ๑.ไม่กระทำด้วยตนเอง
    ๒.ไม่ใช่ให้ผู้อื่นกระทำ
    ๓.ไม่ยินดีต่อการกระทำ
    ๔.ไม่สรรเสริญคุณต่อการกระทำ

    เมื่อตั้งกุศลกรรมบท๑๐ ลงแล้วคูณด้วยการกระทำทั้ง๔ที่กล่าวมา แล้ว หรือนับ ๔ ให้ครบทั้ง ๑๐ ครั้ง จึงเป็นกุศลกรรมบท๔๐ครบจำนวน

    อนึ่งอารยธรรมทางใจเหล่านี้ ก็ยังเป็นอารยธรรมภายนอก ซึ่งจัดกันว่ายังต่ำอยู่ เพราะยังมีอารยธรรมชั้นสูงลี้ลับอยู่ภายในเรียกว่า โลกุตตรารยธรรม หรืออารยธรรมแห่งโลกสูงเป็นฝ่ายธรรมที่ไม่ตาย ซึ่งเหล่ามนุษย์จะได้เริ่มค้นคว้ากันในปัจจุบันนี้ และเมื่อผู้ใดค้นพบแล้วก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้สำเร็จวิทยาศาสตร์ทางใจโดยแท้ การหนีและการต่อสู้ของเขาได้อวสานลงแล้ว เพราะเขาได้พบแล้วซึ่งนครรัตนะ เขาได้พ้นแล้วซึ่งความเกิดแก่เจ็บตาย กล่าวคือ อมตมหานิพพาน

    หลักธรรมอันวิเศษ และหลักมหาสมาคมอันดีเลิศ มนุษย์ในยุคนั้น จะมีโมหะ โลภะ และโทสะ ซึ่งเป็นหมอกร้ายของชีวิตนั้นเบาบางลง ทั้งจะบริบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ และน้อมใจถึงสวรรค์สมบัติ ตลอดจนนิพพานสมบัติ เกือบไม่เว้นแต่ละคน ด้วยเห็นกกันว่า นิพพานสมบัติอันประเสริฐที่มนุษย์ทุกคน จำเป็นจะต้องพยายามพัฒนาตนเอง เพื่อให้หลุดพ้นจากเกิดแก่เจ็บตาย จะมีสถานศึกษาอันกว้างใหญ่ไพศาลทั่วในด้านโลกและธรรม และจะหนักทางจิตวิทยา คือวิชาทางใจ(Spiritual Science)มากกว่าทางอื่น จะมีมหาวิทยาลัยทางใจ(Spiritual University)ตั้งอยู่ในนครใหญ่ทั่วโลก ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่นั้น จะต้องสำเร็จปริญญาทางใจชั้นสูง ประกอบด้วย วัยวุฒิ คุณวุฒิ บุญวุฒิ คือสูงด้วยอายุ สูงด้วยคุณ สูงด้วยบุญ พร้อมด้วยอัปปมัญญา๔ คือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โลกจะไพบูลย์ด้วยเทวธรรมทั้ง๒ หิริ โอคคัปปะ กรรมดีทั้งหลาย๑๐ประการคือ ทาน ศีล สัจจะ ขันติ เนกขัมฯ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ปัญญารวม๑๐ประการ ก็จะกลับขึ้นมาเป็นเป็น อริยสมบัติของมวลมนุษย์ ทั้งจะแบ่งแยกชนิดสูง กลาง และต่ำ ตามแต่ผู้ใดจะกระทำได้ ทั้งจะมีปริญญาบัตรแจกจ่ายแก่นักบุญทั้งหลายที่กล่าวมานี้ ยึดถือกันไว้ตลอดทุกคน เช่นศีลยารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี ไม่ว่าศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐ ศีล๒๒๗ ก็จะมีนักบุญคอยสอดส่องเอาใจใส่ทั่วกันไป ประมุขโลกจะยกย่องคุณงามความดีตามชั้นเชิงของบุุคคล จะไม่ดูถูก ดูหมิ่น หรือเหยียบย่ำ กระทืบส่งกันเหมือนดังเช่นทุกวันนี้
    (ยังไม่จบครับ ขอพักผ่อนหน่อย)
     
  2. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    แม้ว่านักการเมือง นักปกครอง นักกฎหมาย ก็จะต้องมีหลักธรรมเช่น อัปปมัญญาทั้ง๔ และหิริโอตัปปะเป็นสันดาน ถ้าผู้ใดไม่มีคุณ ไม่มีบุญ หรือบกพร่องศีลธรรมอันดีงามแล้วก็จะไม่มีหวังในตำแหน่งงานที่ใหญ่โตได้เลย ประมุขหรืองพ่อเมือง พ่อบ้านทุกอาณาจักรแห่งโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกเอาบุคคลที่ดีเยี่ยมทั้งหลาย เข้าบรรจุตำแหน่งนั้นๆ ผู้ซึ่งหนักไปด้วยความโลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นฝ้าหมอกอันชั่วร้ายขนาด"หน้าเลือด" ดั่งเช่นทุกวันนี้จะไม่มีอยู่ในตำแหน่งการงานในสมัยนั้นเลย วุฒิทั้ง๓ คือ วัยวุฒิ คุณวุฒิ บุญวุฒิ จะเป็นหลักความเคารพในวงสังคมทั่วไป บุคคลใดมีอายุสูง มีคุณสูง มีบุญสูงกว่าตน ก็ย่อมเป็นที่เคารพนบนอบของคนทั่วไป จะไม่เข้าทำนอง"กินบนเรือนแล้วถ่ายอุจจาระบนหลังคา" ดังเช่นที่แล้วๆมา วุฒิทั้ง๓ ที่กล่าวมานี้จะเป็นหลักธรรมที่มนุษย์ทุกคนจะต้องศึกษาให้เข้าใจ และนำมาปฎิบัติในวงเครื่อญาติ และวงสังคมโดยทั่วไป ฝูงมนุษย์ในยุคนั้นจะถึงพร้อมด้วยจรรยาอันดีงาม และสมนามว่า "อารยชน" อริยสัจธรรมทั้ง๔ คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ มัคคสัจจะ ซึ่งเป็นความจริงของอารยชน และเป็นสิ่งที่ลี้ลับอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็จะถูกนำมาพิจารณาและค้นคว้ากันใหม่ เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์นั้นคืออะไร? สุขนั้นคืออะไร? อริยสัจจะทั้ง๔นี้ มนุษย์ในสมัยนั้นจะพากันศึกษา และค้นคว้ากันอย่างจริงจัง เพื่อให้จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือจะถึงซึ่งพระนิพพานอันพ้นทุกข์ไม่เหลือเศษ
     
  3. มนุษย์835

    มนุษย์835 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +182
    บูญวุฒิ จะวัดกันได้อย่างไร อะไรเป็นเกณฑ์ ในเวลาอันไกล้ของยุค แปลว่าทุกคนยังทันได้เห็นใช่หรือไม่
     
  4. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    สมกับคำทำนายของ เลอ็อง สอร์ค นักปราชญ์ฝั่งเศษว่าไว้ดังนี้

    "ความโน้มน้าวทั้งปวง ซึ่งแม้แต่จะต่างกัน แต่อาการภายนอกใดๆก็ดี เมื่อหนักๆเข้า ก็มีแต่เร่งให้ไปสู่รูปแห่งศาสนาใหม่ที่เคร่งครัดอย่างเดียว และเป็นศาสนาซึ่งเชื่อกันว่าโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การจูงนำสังขารให้เป็นไปด้วยความประพฤติทางจรรยาและทางสังคม ความเมตตาแก่เพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ที่ต่ำต้อยกว่าตน เหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ต้องประพฤติ(มิใช่เกิดเอง หรือใครมาบันดาลให้เกิด) การบรรเทาความทุกข์และประพฤติตนให้มีความอารีรอบคอบในสมาคมแห่งโลกทั่วไป เป็นเครื่องผดุงความเจริญแห่งวิชาและความเชื่อถือ"
    เขาได้กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า"นับแต่ธรรมะของมนุษย์จะก้าวทีละเล็กละน้อยไปสู่ศาสนาในอนาคต ซึ่งจะมีปราชญ์อัธยาตมวิทยา หรือจิตวิทยา(Psychology) ผู้หนึ่งในสมัยนั้น สามารถจะกำหนดธรรมอันวิเศษ และสมาคมอันดีเลิศ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นความจริงในเรื่องที่สัตว์โลกทั้งปวงมาประกอบซึ่งกันและกันให้เป็นโลกพิภพขึ้น ดั่งพระพุทธเจ้าเป็นผู้แรกที่ทรงสั่งสอน และทรงเป็นตัวอย่างอันประเสริฐบริสุทธิ์ อย่างยอดเยี่ยมมาแล้วทั้งนั้น"
    สจ็วต มิลล์ กล่าวว่า"เมื่อความคิดมีความเจริญขึ้น ก็เห็นเหตุการณ์โดยกว้างขวางในหมู่เพื่อนมนุษย์ที่เกี่ยวข้องด้วยกัน และโน้มน้าวมาสู่ความรู้สึกว่า ตนเองก็เป็นคนหนึ่งเหมือนกับคนอื่นๆ เมื่อเกิดความรู้สึกดังนี้แล้ว ก็ทำให้ต้องการหลีกเสียจากการที่เห็นแต่ความสุขของตน ซึ่งผู้อื่นไม่ได้รับด้วยนั้นเสีย"
    ลายครามแห่งปรัชญา โป๊ปนักจินตกวีอังกฤษกล่าวว่า "เราคิดว่าบืดามารดาของเราโง่ ส่วนเรานั้นฉลาด แต่ไม่ต้องสงสัยดอกว่า ลูกหลานของเราที่ฉลาด ก็จะว่าเราเช่นนั้น"
    แองเกล อดีตนายกแห่งมหาวิทยาลัยเยล กล่าวว่า "เท่าที่เราสามารถจะตัดสินได้ โดยอาศัยเหตุทางประวัติศาสตร์นั้น ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะกล่าวว่า ความสามารถในทางสติปัญญาของมนุษย์เรา ซึ่งคิดเฉลี่ยโดยทั่วไป ก็ไม่ได้วิเศษกว่าคนในอียิปต์สมัยเมื่อสี่พันปีก่อนคริสต์ศักราช หรือสมัยโฮมเมอร์ในประเทศกรีซ หรือแม้แต่คนในส่วนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเท่าไรนัก เพราะสถิติแห่งอารยธรรม ซึ่งได้บันทึกไว้ได้ตกทอดมาถึงเรามากหรือน้อยนั้นเราย่อมรู้ดี"
    เอ๊ดดุอ๊าด เบลลิน นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า "ยิ่งเราชนะความเป็นไปภายนอกของโลกนี้เท่าใด เรายิ่งพากันเอาใจใส่ความเป็นอยู่ภายในของเพื่อนร่วมโลกด้วยกันน้อยลง เราพากันเร่งที่จะเอาชนะต่อระยะทางหลายๆพันไมล์(หลงวิทยาศาสตร์) อันทำให้เราไม่สามารถจะมีเวลาดูแลสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา เช่น ภรรยา สามี บุตร หลาน และเพื่อนๆของเรา ชีวิตภายในครอบครัวดูเหมือนว่ามีความสำคัญน้อยลงทุกที และมนุษยชาติก็ดูเหมือนห่างไกลต่อการที่จะกล่าวว่าอำนาจของจิตใจตามหนทางที่ถูก ก็เป็นกิจอันหนึ่ง ซึ่งมีค่ามากเท่ากับการเอาใจใส่ต่อความถาวรทางวิทยาศาสตร์ และชนะต่อความเป็นอยู่ของธรรมชาติ"
    เอ. พี. ริตช์ กล่าวว่า"เป็นสิ่งที่น่าเสียใจมากที่จะกล่าว่า มนุษย์ที่ใฝ่หาความยิ่งใหญ่ ในการเอาชัยชนะต่อกฎธรรมชาติได้นั้น ทำให้มนุษย์ต้องลืมต่อการบังคับวิญญานของตัวเองให้ถูกต้องตามคลองธรรม คุณธรรมในสมาคมกำลังโย้ถอยหลัง ฐานะของมันกำลังจะโค่น ข้อหนึ่งในจำนวนเหตุผลข้อใหญ่ทั้งหลายนั้น ได้แก่เหตุที่มนุษย์ฉลาดและเฉียบแหลมเกินไป จนลืมข้อง่ายๆ ที่รอความกตัญญูอย่างที่บรรพบุรุษของตนได้สะสมไว้ ลัทธิแห่งการหมุนเวียนได้แพร่หลายทั่วไป และทั้งมนุษย์ได้ยึดเอาลัทธิอันเลวๆ แห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกไว้ภายในหัวใจจนแน่นแล้ว และมนุษย์ที่ร่ำเรียนนอกลู่นอกทาง โดยอาศัยหลักของความฉลาดเป็นสิ่งนำไป และกันพระผู้เป็นเจ้า(ศีลธรรม)ให้ห่างเหไปจากความจำของโลก"
    เอ. พี. ริตช์ กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า "คำทำนายอันเกี่ยวกับภาวะของโลก ซึ่งบังเกิดขึ้นในยุคนี้นั้น ได้เป็นไปตามคำทำนายอย่างแม่นยำที่สุด สถิติการฆาตกรรมได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างมากมาย การกระทำอัตวินิบาตกรรมได้เป็นไปทั่วโลก การหย่าร้างก็ปรากฎมากขึ้น คดีต่างๆอันเกี่ยวกับการปราศจากศีลธรรมได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย การทะเลาะเบาะแว้งทั้งภายในครอบครัวและในสังคม การค้าขายมนุษย์ การลักขโมย ปล้นจี้แย่งชิง ความขัดแย้งทางความคิด เหล่านี้ดูเหมือนเป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจเหลือเกิน ถ้าหากว่าเราจะหยิบเอาขึ้นมาในยุคแห่งความมหัศจรรย์นี้ "
     
  5. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เมื่อคราวมีการประกวดความก้าวหน้าในทางประดิษฐ์กรรมโดยหลักวิทยาศาสตร์ เมื่อค.ศ.๑๙๓๓(พ.ศ.๒๔๗๖)ที่ชิคาโก อเมริกา ศาสตราจารย์โรเบิร์ต มอสโลเวทแห่งอักษรศาสตร์ประจำนครชิคาโก ได้เขียนบทความลงในหนังสือเคอเร้นต์ ฮิสตอรี่ ในเดือนมกราคม ค.ศ.๑๙๓๔(พ.ศ.๒๔๗๗) ท่านศาสตราจารย์ผู้มีมันสมองอันเชี่ยวชาญในทางความเสื่อม และความเจริญของโลกแห่งยุคมหัศจรรย์ อันประกอบด้วยแนววิทยาศาสตร์ ท่านได้ย้ำถึงความประพฤติอันเหลวไหลของมวลมนุษย์ที่มาดูการประกวดคราวนั้นว่า "ประพฤติไม่เหมาะสมที่จะเป็นพลเมืองที่ดี อันเนื่องด้วยการคุยอย่างภาคภูมิใจของคณะกรรมการ ซึ่งโฆษณาเป็นทางการว่า"เป็นการประกวดถึงความสำเร็จแห่งวิทยาศาสตร์ และการประดิษฐ์อย่างขมักเขม้นในการสร้างชีวิตมนุษย์ให้บริบูรณ์ต่อไปกว่าธรรมดาอีก""
    ศาสตราจารย์ มอสโลเวท กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า "ความสำเร็จของวิทยาศาสตร์นั้นมีมากมาย รวมทั้งการจะนำไปใช้งานด้วย แต่คงจะมีคนถามบ้างดอกว่า เหตุผลที่จะขยายชีวิตมนุษย์ให้บริบูรณ์ออกไปผิดธรรมดานั้นมันอยู่ที่ไหน?" แล้วท่านกล่าวต่อไปว่า "สถานที่ประกวดงานในคราวนี้แห่งหนึ่ง ได้จัดถนน ซึ่งเราเรียกถนนนี้ว่า ถนนปารีส ซึ่งเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงเบิกบาน หรืออีกนัยหนึ่งอาจเรียกว่า นครแห่งความชั่วร้าย ก็เหมาะดี งานคราวนั้นเก็บเงินได้ถึง๑,๒๕๐,๐๐๐เหรียญทอง" ท่านก็กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "ภาพแห่งความชั่วร้ายจะบังเกิดขึ้นได้ ก็เพราะความก้าวหน้าแห่งการแสดง หรือการหาความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เจริญกาม ซึ่งเต็มไปด้วยความชั่ว ในกาลภายหน้าต่อไป มนุษญ์ทั้งหลายจะพากันตั้งปัญหาถามตนเองว่า จะใช้เวลาว่างในสถานที่เช่นไร? และไม่มีอะไรที่จะน่าทุเรศไปกว่าสถานที่เลวๆ ตามข้างถนนมิดเวย์ ซึ่งการแสดงเพื่อความเพลิดเพลิน ล้วนเกี่ยวกับผู้หญิง" ท่านกล่าวย้ำไว้ในตอนสุดท้ายว่า "น่าฉงนยิ่งนักว่า การฉลองความก้าวหน้าประจำศตวรรษนั้นนะ สมควรแล้วหรือ? ผู้ที่มีหัวใจรู้จักคิดแล้ว ย่อมจักกระตุ้นโดยความรู้สึกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะพบการอธิบายอย่างพิศดาร ซึ่งมักจะได้ยินกันเสมอว่า "การปรับปรุงทั้งหลายนั้น แทนที่จะทำให้มนุษยรุ่งเรืองขึ้น กลับปรากฎว่าได้ทรุดลงเสียอีก"
    ลายครามแห่งปรัชญาตะวันตก ซึ่งผู้เขียนได้นำมาบรรยายไว้ในบท"ศรีอาริยยุค"นี้หากว่าจะผิดกับความเหมาะสมของบท และจะผิดกับความต้องการของผู้อ่าน ชนิดที่มีชีวิตโชกโชนอยู่ในกลุ่มหมอกแห่งความหายนะใดๆก็ดี ก็เพื่อว่าจะกระตุ้นเตือน หรือสะกิดสีข้างเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกให้รู้สึกตัวเสียบ้างในทำนอง "ปิ้งปลาหมองอแล้วให้กลับ" เพราะถ้าไม่คอยระวัง หรือคอยกลับแล้วปลาปิ้งมันก็ไหม้มอดวอดวาย และเสียปลาไปอย่างน่าเสียดาย เพราะกลับตัวไม่ทัน
    *****************************************************
    จบตอนศรีอาริยยุค
    เชิญสรุป วิจารณ์กันได้เต็มที่ ผมมีหน้าที่พิมพ์เพื่อยกมาให้วิจารณ์กัน นำมาซึ่งการพัฒนาต่อยอดความคิดครับ
    *****************************************************
     
  6. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ไม่มีใครตอบรึครับ
    ในความเห็นของผมก็คล้ายกับที่ท่านนึกอยู่ในใจ ผมคงตอบเพียงพื้นฐานทั่วไป ดังนี้
    **********************************************
    บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น
    คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข
    ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้
    **********************************************
    วิธีทำบุญ
    วิธีการทำบุญในพระพุทธศาสนาเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ในพระไตรปิฎกระบุไว้ ๓ อย่าง ได้แก่
    ๑.ทานมัย คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
    ๒.ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
    ๓.ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
    คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย ขยายความเพิ่มอีก 7 ประการ ได้แก่
    ๑.อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
    ๒.เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
    ๓.ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
    ๔.ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
    ๕.ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
    ๖.ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
    ๗.ทิฏฐุชุกัมม์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง
    จึงรวมเป็น บุญกิริยาวัตถุ 10
    ********************************************
    วุฒิ คือ
    [วุดทิ] น. ภูมิรู้ ความเจริญ ความงอกงาม ความเป็นผู้ใหญ่.(ป. วุฑฺฒิ ส. วฺฤทฺธิ).[วุดทิ] น. ภูมิรู้

    ความเจริญ ความงอกงาม ความเป็นผู้ใหญ่.(ป. วุฑฺฒิ
    ส. วฺฤทฺธิ).
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2014
  7. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    บุญ กับ กุศล

    เมื่อใดมีการพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้นจะพบความแตกต่างระหว่าง
    สิ่งที่เรียกกันว่า "บุญ" กับ สิ่งที่เรียกว่า "กุศล" บ้างไม่มากก็น้อย
    แล้วแต่ความสามารถ ในการพินิจพิจารณา แต่ว่า โดยเนื้อแท้แล้ว
    บุญ กับ กุศล ควรจะเป็น คนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม
    ตามความหมาย ของรูปศัพท์ แห่งคำสองคำ นี้ทีเดียว

    คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,
    ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมาย
    เช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละทาง

    บุญ เป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจพอใจชอบใจ เช่น ทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลก็ตาม
    แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือ แม้ที่สุดแต่รู้สึกว่า ตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก ในกรณีที่
    ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่า ได้บุญ เหมือนกัน แม้จะ
    เป็น บุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือแม้ในกรณีที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
    เพื่อเอาบุญกันจริงๆ ก็ยังอดฟูใจไม่ได้ว่า ตนจะได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์
    มีความปรารถนาอย่างนั้น อย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่
    การเกิดในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ ตนจะปรารถนา ไม่ออก
    ไปจาก การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎสงสาร ได้ แม้จะไปเกิดในโลกที่เป็นสุคติ
    อย่างไรก็ตาม ฉะนั้น ความหมายของคำว่า บุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ฟูใจ
    และ เวียนไปเพื่อความเกิดอีก ไม่มีวันที่สิ้นสุดลงได้

    ส่วนกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง
    ไม่ข้องแวะ กับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มีความมุ่งหมายจะกำจัดเสียซึ่ง
    สิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุ ให้พัวพัน อยู่ใน กิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้ เกิดแล้ว
    เกิดอีก และมีจุดมุ่งหมาย กวาดล้างสิ่งเหล่านั้นออกไปจากตัว ในเมื่อบุญต้องการ
    โอบรัด เข้ามาหาตัว ให้มีเป็น ของของตัว มากขึ้น ในเมื่อฝ่ายที่ถือข้างบุญยึดถือ
    อะไรเอาไว้มากๆ และพอใจ ดีใจนั้น ฝ่ายที่ถือข้างกุศล ก็เห็นว่า การทำอย่างนั้น
    เป็นความโง่เขลา ขนาดเข้าไป กอดรัดงูเห่า ทีเดียว ฝ่ายข้างกุศล หรือ ที่เรียกว่า
    ฉลาด นั้น ต้องการจะ ปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไป ทั้งช่วยผู้อื่น ให้ปล่อยวาง หรือ
    ผ่านพ้นไปด้วยกัน ฝ่ายข้างกุศล จึงถือว่า ฝ่ายข้างบุญนั้น ยังเป็นความมืดบอดอยู่

    แต่ว่า บุญ กับ กุศล สองอย่างนี้ ทั้งที่มี เจตนารมณ์ แตกต่างกัน ก็ยังมี การกระทำ
    ทางภายนอกอย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้เราหลงใหลในคำสองนี้อย่างฟั่นเฝือ เพื่อจะให้
    เข้าใจกันง่ายๆ เราต้องพิจารณา ดูที่ตัวอย่างต่างๆ ที่เรา กระทำกัน อยู่จริงๆ คือ
    ในการให้ทาน ถ้าให้เพราะจะเอาหน้าเอาเกียรติ หรือ เอาของตอบแทน เป็นกำไร
    หรือ เพื่อผูกมิตร หาพวกพ้อง หรือ แม้ที่สุดแต่ เพื่อให้บังเกิดในสวรรค์ อย่างนี้
    เรียกว่า ให้ทานเอาบุญหรือได้บุญ แต่ถ้าให้ทาน อย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ต้องการ
    เพื่อขูดความขี้เหนียว ของตัว ขูดความเห็นแก่ตัว หรือให้เพื่อค้ำจุนศาสนา เอาไว้
    เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็น เครื่องขูดทุกข์ ของโลก หรือ ให้เพราะ เมตตาล้วนๆ
    โดยบริสุทธิ์ใจ หรืออำนาจเหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปัญญาเป็นผู้ชี้ขาดว่า
    ให้ไปเสีย มีประโยชน์มากกว่าเอาไว้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทานเอากุศล หรือได้กุศล
    ซึ่งมันแตกต่างๆ ไปคนละทิศ ละทางกับการให้ทานเอาบุญ เราจะเห็นได้กันสืบไป
    อีกว่า การให้ทานเอาบุญนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการฟุ่มเฟือยขึ้นในสังคม ฝ่ายผู้รับทาน
    จนกลายเป็นผลร้ายขึ้น ในวงพระศาสนาเอง หรือในวงสังคมรูปอื่นๆ เช่น มีคน
    ขอทานในประเทศมากเกินไป เป็นต้น การให้ทาน ถูกนักคิดพากันวิพากษ์วิจารณ์
    ในแง่เสื่อมเสีย ก็ได้แก่ การให้ทานเอาบุญนี้เอง ส่วนการให้ทานเอากุศลนั้นอยู่สูง
    พ้นการที่ถูกเหยียดอย่างนี้ เพราะว่ามีปัญญาหรือเหตุผลเข้าควบคุม แม้ว่าอยากจะ
    ให้ทาน เพื่อขูดเกลา ความขี้เหนียว ในจิตใจ ของเขา ก็ยังมีปัญญา รู้จักเหตุผลว่า
    ควรให้ ไปในรูปไหน มิใช่เป็นการให้ไปในรูปละโมบบุญหรือเมาบุญ เพราะว่ากุศล
    ไม่ได้เป็นสิ่งที่หวานเหมือนกับบุญ จึงไม่มีใครเมา และไม่ทำให้เกิดการเหลือเฟือ
    ผิดความสมดุลขึ้นในวงสังคมได้เลย นี่เราพอจะเห็นได้ว่า ให้ทานเอาบุญ กับ
    ให้ทานเอากุศลนั่น ผิดกันเป็นคนละอันอย่างไร

    ในการรักษาศีล ก็เป็นทำนองเดียวกันอีก รักษาศีลเอาบุญ คือรักษาไปทั้งที่ไม่รู้จัก
    ความมุ่งหมายของศีล เป็นแต่ยึดถือในรูปร่างของการรักษาศีล แล้วรักษาเพื่ออวด
    เพื่อนฝูง หรือ เพื่อแลกเอาสวรรค์ ตามที่ นักพรรณนาอานิสงส์ เขาพรรณนากันไว้
    หรือ ทำอย่างละเมอไปตามความนิยมของคนที่มีอายุล่วงมาถึงวัยนั้นวัยนี้ เป็นต้น
    ยิ่งเคร่งเท่าใด ยิ่งส่อความเห็นแก่ตัว และความยกตัว มากขึ้น เท่านั้น ยิ่งมีความ
    ยุ่งยากในครอบครัว หรือวงสังคม เกิดขึ้นใหม่ๆ แปลกๆ เพราะ ความเคร่งครัด
    ในศีลของบุคคลประเภทนี้อย่างนี้ เรียกว่ารักษาศีลเอาบุญ ส่วนบุคคลอีกประเภท
    หนึ่ง รักษาศีลเพียงเพื่อให้เกิดการบังคับตัวเอง สำหรับจะเป็นทางให้เกิดความ
    บริสุทธิ์ และความสงบสุขแก่ตัวเองและเพื่อนมนุษย์เพื่อใจสงบ สำหรับเกิดปัญญา
    ชั้นสูง นี้เรียกว่า รักษาศีลเอากุศล รักษามีจำนวน เท่ากัน ลักษณะเดียวกัน ในวัด
    เดียวกัน แต่กลับเดินไป คนละทิศละทาง อย่างนี้เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นภาวะ แห่ง
    ความแตกต่าง ระหว่างคำว่า บุญ กับคำว่า กุศล คำว่า กุศลนั้น ทำอย่างไรเสีย ก็
    ไม่มีทางตกหล่ม จมปลักได้เลย ไม่เหมือนกับคำว่า บุญ และกินเข้าไป มากเท่าไร
    ก็ไม่มีเมา ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นพิษ ในขณะที่ คำว่า บุญ แปลว่า เครื่องฟูใจนั้น คำว่า
    กุศล แปลว่า ความฉลาดหรือ เครื่องทำให้ฉลาด และ ปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์

    ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญ ก็ได้ เอากุศลก็ได้
    สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับ คนโน้นคนนี้ ที่โลกอื่น ตามที่ ตนกระหาย จะทำให้
    เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิ เพื่อการไปเกิด ในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า
    สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมัน
    นั่นเอง ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตราย แก่เจ้าของ ถึงกับต้อง รับการรักษา
    เป็นพิเศษ หรือ รักษาไม่หาย จนตลอดชีวิต ก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่า สมาธิเช่นนี้
    มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุดก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสาร
    ตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิ ที่มีความมุ่งหมาย
    เพื่อการบังคับใจตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้าง กิเลส อันกลุ้มรุมจิตให้
    ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิ อันจรมา ในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็น
    ทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล
    ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึง
    ตรงกันข้าม จากสมาธิเอาบุญ

    ครั้นมาถึงปัญญา นี้ไม่มีแยกเป็นสองฝ่าย คือไม่มีปัญญาเอาบุญ เพราะตัว
    ปัญญานั้น เป็นตัวกุศล เสียเองแล้ว เป็นกุศลฝ่ายเดียว นำออกจากทุกข์
    อย่างเดียว แม้ยังจะต้อง เกิดในโลกอีก เพราะยังไม่แก่ถึงขนาด ก็มีความ
    รู้สึกตัว เดินออกนอกวัฎสงสาร มีทิศทางดิ่งไปยังนิพพานเสมอ ไม่วนเวียน
    จนติดหล่ม จมเลน โดยความไม่รู้สึกตัว ถ้ายังไม่ถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า
    ปัญญาในกองธรรม หรือ ธรรมขันธ์ ของพุทธศาสนา ดังเช่น ปัญญาในทาง
    อาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เป็นต้น

    ตามตัวอย่าง ที่เป็นอยู่ในเรื่องจริง ที่เกี่ยวกับ การกระทำ ของพวกเราเอง
    ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่เราเผลอ หรือ ถึงกับหลงเอา
    บุญ กับ กุศล มาปนเป เป็นอันเดียวกันนั้น ได้ทำให้เกิด ความสับสนอลเวง
    เพียงไร และทำให้คว้าไม่ถูกตัวสิ่งที่เราต้องการ จนเกิดความยุ่งยากสับสน
    อลหม่าน ในวงพวกพุทธบริษัทเองเพียงไร ถ้าเรายังขืนทำสุ่มสี่สุ่มห้า เอา
    ของสองอย่างนี้ เป็นของอันเดียวกัน อย่างที่ เรียกกัน พล่อยๆ ติดปากชาวบ้านว่า
    "บุญกุศลๆ" เช่นนี้อยู่สืบไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถ แก้ปัญหา ต่างๆ อันเกี่ยวกับ
    การทำบุญกุศล นี้ ให้ลุล่วงไป ด้วยความดี จนตลอดกัลปาวสาน ก็ได้

    ถ้ากล่าวให้ชัดๆ สั้นๆ บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้งอกงาม หรือ
    ปรากฏ หมดอำนาจบุญเมื่อใด บาปก็จะโผล่ออกมา และงอกงามสืบไปอีก

    ส่วนกุศลนั้น เป็นเครื่องตัด รากเหง้าของบาป อยู่เรื่อยไป จนมันเหี่ยวแห้ง
    สูญสิ้นไม่มีเหลือ ความต่างกัน อย่างยิ่ง ย่อมมีอยู่ ดังกล่าวนี้

    คนปรารถนาบุญ จงได้บุญ คนปรารถนากุศล ก็จงได้กุศล
    และปลอดภัย ตามความปรารถนา แล้วแต่ใคร จะมองเห็น
    และจะสมัครใจ จะปรารถนาอย่างไร ได้เช่นนี้ เมื่อใดจึงจะชื่อว่า
    พวกเรารู้จัก บุญกุศล กันจริงๆ รู้ทิศทางแห่งการก้าวหน้า และ
    ทิศทางที่วกเวียน ว่าเป็นของที่ไม่อาจจะเอามาเป็นอันเดียวกัน
    ได้เลย แม้จะเรียกว่า "ทางๆ" เหมือนกัน ทั้งสองฝ่าย

    วัดธารน้ำไหล

    ๒๕ มิ.ย. ๒๔๙๓
    ที่มา :
    บุญ กับ กุศล
     
  8. 3719

    3719 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +70
    เอกสารที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ใครเขียน
     
  9. chaiwat88

    chaiwat88 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +275
    บุญ คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์
    บาป คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดโทษ
    ยิ่งประโยชน์แก่คนหมู่มากเท่าไหร่ก็บุญมากเท่านั้น
    ยิ่งก่อให้เกิดโทษแก่คนหมู่มากเท่าไหร่บาปก็มากเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2014
  10. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ******************************************
    บทความนี้คัดลอกมาจากหนังสือ "ศรีอาริย์เจ้าโลก"
    ซึ่งรวบรวมโดยคุณรหัสยญาณ
    ในที่นี้ผมขออนุญาตเจ้าของบทความปรับปรุงในบางข้อความด้วยครับ
    ******************************************
    ที่มา:พระศรีอาริย์เจ้าโลก รวบรวมโดยรหัสยญาณ บทที่9ศรีอาริยยุค
    ******************************************
     
  11. ซี-วา

    ซี-วา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +644
    :cool::cool::cool:
     
  12. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ความเห็นส่วนตัว

    กุศล เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดประโยชน์ จำเป็นแก่มนุษย์ผู้อื่น หรือ แก่สาธารณะ ให้สามารถดำรงอยู่ได้เป็นปกติ พูดง่ายๆ คือ ทำให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการแล้ว ผู้อื่น หรือสาธารณะได้ประโยชน์ เป็นปกติ .... แต่หากสิ่งที่ทำ ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ อย่างนี้
    ไม่เรียกว่า กุศล อาทิ ให้สังฆทานสำเร็จรูป, ให้อาหารแก่ผู้ที่มีพร้อมแล้วด้านอาหาร, ให้เงินแก่ผู้ที่มีพร้อมแล้วด้านเงินทอง, ฯลฯ แบบนี้ไม่เรียกว่า กุศล
    กุศล จึงเป็นเรื่องภายนอก หรือ กุศลที่เกิดขึ้นจากภายนอกตนเอง แต่เกิดขึ้นกับตนเอง
    อาทิ การโยกย้ายตนเองออกไปจากสถานที่อันตรายต่อตนเอง แบบนี้จะเรียกว่าทำตนเองให้เกิดกุศลแก่ตัวเอง หรืออีกนัยคือ ทำตนเองให้ปลอดภัย จากสิ่ง ไม่ดี

    กุศล จึงเป็นเรื่องของ พฤติกรรม ที่แสดงออกในสิ่งที่ ดี งาม

    บุญ เป็นเรื่องอะไร .... เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ หรือเรียกง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ
    ว่า แต้ม(คะแนะน) แห่งความดี ที่ได้กระทำ ไป
    ทำความดี(ทำกุศล) จึงจะมีแต้มความดีสะสมเยอะ ....
    แต้มแห่งความดี หากเปรียบเทียบกับ สถานะของมนุษย์ ก็คือ เงิน
    เงินสามารถบรรดาล ได้ทุกสิ่ง (สมมติ)

    ดังนั้น แต้มแห่งความดี จึงเป็นสิ่งที่สามารถ บรรดาล ได้ทุกสิ่ง เช่นกัน
    ดังนั้น ในมิติต่างๆ จึงมีความสนใจ จะขโมย แต้มแห่งความดี อันนี้กัน

    มนุษย์ป่วย เพราะ .... อะไร .... มีทั้งเรื่องกรรม และ ที่ไม่ใช่กรรม
     
  13. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    รหัสญาณ เป็นใคร
    ชื่อจริงมีมั๊ย (บอกไม่ได้ ก็บอกจังหวัดที่อาศัย ก็ได้ครับ)

    หวังว่า ท่านไม่ใช่รหัสญาณ น่ะครับ
    (จึงสามารถได้รับการอนุญาตแก้ไขบางข้อความได้)
     
  14. chaiwat88

    chaiwat88 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +275
    เหตุ กุศล ผล บุญ
    เหตุ อกุศล ผล บาป
    สิ่งนั้นมีสิ่งนี้จึงมี
    อิทิปปัจจยตา
    ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2014
  15. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    บุรุษนิรนามครับ ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าคือใคร
    ขอบพระคุณท่านภูดิศ ที่ได้มาร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ครับ
    ท่านภูดิศเป็นท่านหนึ่ง ที่ผมนึกอยากให้มาตอบกระทู้นี้ ยินดีต้อนรับเสมอ...
     
  16. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ทำบุญตักบาตร

    ตักบาตร หรือ อีกนัยคือ ให้อาหารแก่พระ (พูดง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ เน้อ)

    ให้เพราะต้องการทำบุญ อยากได้บุญ

    ให้เพราะต้องการให้ศาสนา ยื่นยาว

    ให้เพราะเป็นประเพณี

    ให้เพราะเป็นพระ

    ให้เพราะเป็นอรหันต์

    ให้เพราะต้องการให้พระทำหน้าที่ อบรมมนุษย์ ให้ดำรงชีวิตที่ถูกต้อง

    ถามว่า เคยทำบุญตักบาตร เพราะสาเหตุ อะไร

    และ ที่ยกเจตนาของการทำบุญ ขึ้นมาข้างต้น 'ให้แบบไหน คือให้

    ที่แท้'
     
  17. มนุษย์835

    มนุษย์835 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +182
    แ] แล้วการทำบุญยังจำแนกอย่างคุณภูดิษบอก แม้ในใจผมจะเลือกแล้วว่าบุญในความหมายส่วนตัวผมเองผมเลือกแบบไหน แต่โยงไปที่บุญวุฒิ ของท่านวสุธรรม ส่วนนี้การคัดสรรกัน ในอนาคต เอาตัวใดเป็นหลัก บางคนแม้ทำบุญเอาหน้าทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจทำแต่แรก แต่พอทำไปแล้วกลับรู้สึกดี อิ่มเอิบใจ รูปแบบนี้จะว่าไม่ดีก็ไม่ใช่ เข้ากับที่พุทธเจ้าพูดถึงเรื่องการทำบุญ คือความรู้สึกนึกคิดก่อน ไปทำ ขณะทำ หลังทำ ฉะนั้นแล้วผู้ที่ได้ชื่อว่าสมควรถูกเลือกสรรควรจะเข้าข่าย ก่อน ขณะ หลัง ย่อมมีความบริสุทธิ์กว่า แม้ผู้ที่ทำอยู่เนืองๆจะเข้าข่ายนั้น อีกประการการจะคัดสรรคนแบบนั้นผมว่ามันยังเป็นเรื่องของวงกว้างมากอยู่ จะเกิดขึ้นได้อย่างไรคงต้องรอดูเอาล่ะสินะ แต่ในเวลาอันไกล้ผมมองว่ายังดูว่ายากจักหน่อย แต่หากเวลาอันไกลไม่แน่ๆ เมื่อทุกอย่างถูกปลูกฝัง เหมือนการปลูกฝังชนในอดีต
     
  18. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า มนุษย์แปด

    การจำแนกให้เห็นเรื่องของความนิยม การแสดงกิริยาว่าเป็นการทำบุญ
    เท่านั้น

    ไม่ได้บอกว่าทั้งหมด คือการทำบุญ (สักหน่อย)

    สิ่งที่กระทำ บ้างข้อ ที่จำแนก อาจไมมีอะไรเกิดขึ้น จะเรียกว่าเป็น การทำบุญ

    ได้อย่างไร

    คำถามปิดท้ายคือ กิริยาใด จึงสมควรเป็น การทำบุญ แท้ ....
     
  19. มนุษย์835

    มนุษย์835 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +182
    ตอบจากความรู้สึกได้ตอนนี้ที่มันแว้บเข้ามานะครับ
    ให้เพราะอยากได้บุญ ให้เท่าไหร่ก็คงไม่พอ มันเหนื่อยนะ...
    ให้เพราะต้องการให้ศาสนาอยู่ยาวนาน อันนี้ผมว่าสร้างทุกข์ให้ตัวเองมากกว่า หากคนอื่น ไม่ได้ทำเหมือนกัน มันจะกลายเป็นทำแบบหวังอยู่คนเดียว สุดท้ายก็เศร้าหมองแบบอันแรก
    ให้เพราะประเพณีอันนี้ ไม่มีความเห็นครับ มันคือการให้ตามๆเขาถ้าไม่คิดอะไรเลยก็ไม่ทุกข์ไม่ร้อนอะไร แต่จริงๆมันควรจะมีอะไรมากกว่านั้น เช่นว่าสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจให้ หรือความรู้สึกที่ก่อให้เกิดการให้
     
  20. ---สมส่วน---

    ---สมส่วน--- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,979
    ยุคที่ไม่มีคนจน

    คนจนที่แท้จริงย่อมจะขาดปัจจัยสี่อย่าง แต่ในยุคนี้คนขอทานยังมีปัจจัยสี่ใช้อยู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...