ภาพแห่งรังสีธรรม โดย สุวรรณ เพชรนิล <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD> หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อบุญชวน หลวงพ่อปัญญานันทะ </TD></TR></TBODY></TABLE> เมื่อผู้เขียนเรียนอยู่ชั้น ป.3 ที่โรงเรียนประชาบาล ในวัดใกล้บ้าน วันหนึ่งวิ่งไปกินข้าวกลางวันที่บ้าน ขากลับแวะที่บ้านคุณตา เพราะเห็นคนนั่งอยู่หลายคน ทราบว่าเพื่อนของคุณตานำหมอดูไปเยี่ยม หมอดูท่านนั้นมีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ สวมเสื้อคอตั้ง คุณพ่อดึงมือผู้เขียนให้หมอดู คุณตาพูดขึ้นทันทีเชิงถามว่า จะเป็นเจ้าเป็นนาย (เป็นข้าราชการ) กับเขาได้ไหม คุณหมอพูดขึ้นว่า ทั้งหมู่บ้าน เด็กคนนี้คนเดียวมีเส้นวาสนา จึงไม่ต้องไม่ห่วง เวลาล่วงไปตามลำดับ บัดนี้ผู้เขียนเห็นว่าคำทำนายของหมอเป็นความจริง เริ่มจากได้อยู่ใกล้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร) ชาวหลังสวน จังหวัดชุมพร เจ้าประคุณฯ ยังได้นำให้อุปสมบท มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ เพราะมีวาสนาอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นเหตุให้รู้จักหลวงพ่อ 3 สหาย ตามรอยพระพุทธบาท คือ หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อบุญชวน และ หลวงพ่อปัญญานันทะ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เมื่อเป็นพระราชเมธี ได้นำผู้เขียนไปฟังปาฐกถาหลวงพ่อพุทธทาสเป็นครั้งแรก ที่พุทธสมาคม ถนนพระอาทิตย์ วันนั้นหลวงพ่อพูดเรื่อง พระอภิธรรม โดยสรุปว่า พระอภิธรรมเป็นของใหม่ ชาวพุทธจึงพากันเห่อสิ่งใหม่เป็นธรรมดา ความจริง พระอภิธรรมมีอยู่แล้วใน อภิธฺมเม อภิวันเย นั่นเอง ซึ่งหมายถึง ธรรมที่ลุ่มลึกทั้งหลาย ผู้เขียนขอแสดงทรรศนะว่า พระอภิธรรมเหมือนสูตรธาตุต่างๆ ทางวิชาเคมี จะมีประโยชน์ต่อเมื่อนำมาประยุกต์ เช่น ที่สำเร็จเป็นตัวยาต่างๆ การติดในพระอภิธรรมเกินไปจนมองอย่างอื่น เช่น ทาน เป็นต้น เพียงกระพี้เท่านั้น ก็กลายเป็นทิฐิมานะของนักอภิธรรม บางเรื่องบอกว่า การให้ทาน คือ การสร้างบรรยากาศของพระอริยะผู้ธรรมภิรมย์ ผู้เขียนมีโอกาสไปกราบเยี่ยมหลวงพ่อพุทธทาส กราบเรียนว่า เกล้าฯ อยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ หลวงพ่อยิ้ม พร้อมกับพูดว่า เพื่อนกัน เพื่อนกัน (ทราบว่าทั้งสองเป็นสหชาติกัน) หลวงพ่อแนะนำบางสิ่งในสวนโมกข์ เมื่อไปต่างประเทศ จึงทราบว่า พระคุณท่านที่ชาวต่างประเทศมักถามถึง คือ หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อพุทธทาส ได้นำคำแปลกๆ จากพระไตรปิฎกออกเผยแพร่ เช่น อหํการ มมงฺการ (ตัวกู ของกู) จนสังคมจำได้ หรือ ตถตา มันเป็นอย่างนั้นของมันนั่นเอง จนสังคมจำได้เหมือนกัน หลวงพ่อพุทธทาส เน้นให้เห็นว่า ตัวกู ของกู นี้แหละ คือ ต้นตอปัญหาใหญ่ในสังคม วิธีลดปัญหา คือ การลดตัวกู ของกู ลง <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE> ความเป็นอย่างนั้นของมันเอง เป็นคำกล่าวของผู้เข้าใจในกระบวนธรรมต่างๆ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ผู้ใดเข้าถึงความจริงนี้ในบั้นปลายชีวิต ชีวิตจะมีความสงบสุข ผู้ไม่เข้าถึงความจริงนี้ จะมากด้วยความทุกข์ หลวงพ่อพุทธทาส มีผลงานมาก จนหลวงพ่อพูดด้วยความมั่นใจว่า พุทธทาสไม่ตาย พระพุทธเจ้าตรัสปรารภพระอริยบุคคลว่า พิจารณาแล้วย่อมมั่นใจด้วยตนเองว่า จะไม่ไปอบายทุคติ นรก พอๆ กับนักเรียนบางคนเข้าสอบ และออกมาพูดด้วยความมั่นว่า ต้องสอบได้แน่ นั่นคือประกายแห่งกตญาณที่ทำหน้าที่รายงาน หลวงพ่อพุทธทาส มีผลงานเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการเมือง คือ เรื่องคุณธรรม แต่การเมืองเมืองไทยกลับทวนกระแส ที่ถือว่า ไม่มีมิตรแท้ ไม่มีศัตรูถาวร จึงเท่ากับว่า ความกลับกลอกเก่ง คือ คุณสมบัตินักการเมืองไทย การหวังประชาธิปไตยเต็มใบ หรือประชาธิปไตยบริสุทธิ์ จึงห่างออกไปทุกที หรือตลอดเวลาที่นักการเมืองยังไม่สนใจผลงานของหลวงพ่อพุทธทาส ผู้เขียนรู้จัก หลวงพ่อบุญชวน (บ.ช.เขมาภิรัต) ครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อหลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่นั่น ผู้เขียนคิดไม่ผิดว่า หลวงพ่อเป็นที่พึ่งของชาวพุทธเชื้อสายคนจีน หรือชาวพุทธสมัยใหม่ ทั้งที่ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย เพราะชาวพุทธตามหมู่บ้านนั้น มีพระใช้ภาษาจีนอยู่แล้ว เมื่อมีโอกาสอีกครั้งหนึ่ง มีโอกาสฟังเทศน์ภาษาอังกฤษของหลวงพ่อ ในคืนมาฆบูชา ที่วัดหนึ่งในตัวเมืองไทรบุรี ทราบจากหลวงพ่อว่า เป็นปีแรกที่คนไทยคนแรกได้รับราชการในรัฐไทรบุรี เทศนาตอนหนึ่งเปรียบเทียบเชิงรูปธรรมด้วยภาษาง่ายๆ ว่า พระอริยบุคคลบรรลุธรรมในระดับแตกต่างกัน คือ พระโสดาบัน บรรลุธรรม 25% พระสกทาคามี บรรลุธรรม 25% พระอนาคามี บรรลุธรรม 75% พระอรหันต์ บรรลุธรรม 100% พอที่จะทำให้เป็นรูปแบบได้ตามภาพประกอบ ภาคกิเลสความเศร้าหมอง หมายความว่า เมื่อมีความบริสุทธิ์มากขึ้น กิเลสเครื่องเศร้าหมองจะลดลง หลวงพ่อบุญชวน มักจะถามถึงญาติของท่านผู้หนึ่ง ซึ่งไปเป็นศิษย์เจ้าประคุณสมเด็จฯด้วยความชื่นชมยินดี เพราะญาติที่พระคุณท่านถามถึงนั้น ได้สร้างประวัติศาสตร์ 9 ประโยค รูปแรกในบรรดาศิษย์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ภายหลังท่านผู้นั้นได้ลาสิกขาสอบชิงทุน ก.พ. ไปศึกษาต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ดีมาก บรรดาผู้มิได้ศึกษาสายคณิตศาสตร์ ยากที่จะหาได้ ท่านผู้นี้กลับมารับราชการที่ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถคำนวณการตัดเกรดตามหลักวิชา โดยใช้เวลาคำนวณวิชาละ 3-4 ชั่วโมง วิชาละ 3-5 กระดาษ ได้วันละ 3-4 วิชาเท่านั้น มิได้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กระทรวงศึกษาธิการใช้อยู่ ทั้งนี้ เมื่อมหาวิทยาลัยยังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ อีกประการหนึ่ง ท่านผู้นี้ภาษาอังกฤษดี สามารถเขียนตำราจากหนังสือภาษาอังกฤษเดือนเศษก็ได้ตำรา 1 เล่มแล้ว สมกับที่หลวงพ่อพูดถึงด้วยความชื่นชม ผู้ที่หลวงพ่อถามถึงดังกล่าว ทราบเดิมนามสกุล ขวัญเมือง แล้วเปลี่ยนตามฉายา เมื่อบิดาเคยบวชว่า โสภโณ และเปลี่ยนมาเป็น โสภณวิเชษฐวงศ์ ในปัจจุบัน และท่านผู้นี้ คือ อาจารย์อมร โสภณวิเชษฐวงศ์ ภายหลังย้ายมาประจำที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จนเกษียณอายุจากมหาวิทยาลัย ส่วนหลวงพ่อปัญญานันทะ นอกจากหลวงพ่อเมตตาผู้เขียนโดยตรงแล้ว ผู้เขียนมั่นใจว่า หลวงพ่อนำชาวพุทธอยู่ในร่องรอยพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง คณะครูอาจารย์ในสถานศึกษาสงสัยว่าหลายต่อหลายหลวงพ่อเบี่ยงเบนจากพุทธวิถีหรือไม่ เมื่อมีหลักความจริงว่า คบค้าสมาคมกับผู้เช่นใด ก็ย่อมเป็นเช่นนั้น ผู้เขียนจึงสรุปว่า หลวงพ่อบุญชวน หลวงพ่อปัญญา เป็นสหายตามรอยพระพุทธบาท ร่วมคณะกับหลวงพ่อพุทธทาส เมื่อหลวงพ่อพุทธทาสปฏิบัติอย่างไร ผู้ร่วมสหายก็ย่อมปฏิบัติตามเช่นนั้น ผู้เขียนได้รับหนังสือ "96 ปี ปูชนียบุคคลแห่งแผ่นดินไทย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฏ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จัดพิมพ์โดย คุณสมชาย สมานวงศ์ ผู้เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ระฆังทอง และเป็นหลวงศิษย์ผู้หนึ่งของ หลวงพ่อบุญชวน (บ.ช. เขมาภิรัต) ในงานทำบุญฉลองอายุ 96 ปี ของ หลวงพ่อปัญญา ตั้งแต่ในงานกลับถึงบ้านก็นั่งอ่านติดต่อกัน 6 ชั่วโมง และเขียนความรู้สึกที่เกิดจากใจทันที ขอนำข้อเขียนนั้นมาเสมอ ดังนี้ ผู้เขียนตั้งชื่อเรื่องวันนั้นว่า ภาพรังสีแห่งธรรม เพราะข้อเขียนเกิดจากภาพของหลวงพ่อโดยตรง หลวงพ่อนั่งเก้าอี้อย่างงดงาม แวดล้อมด้วยพระอีก 3-4 รูป เป็นทัศนียภาพที่น่าเลื่อมใสสุภาพสตรี 3-4 คน นั่งใกล้ผู้เขียน พากันมองหลวงพ่อแล้วกระซิบกันว่า โน่นเห็นไหม งามจริงๆ เมื่อพวกเราแก่ ถ้ามีลูกหลานห้อมล้อมอย่างนี้ ถึงจะแก่ก็น่ามีความสุข ขอให้เป็นอย่างนี้เถิดถึงจะแก่ก็ไม่ว่า ผู้เขียนได้ยินโดยธรรมชาติ เพราะนั่งใกล้กัน มองแล้วเป็นจริงอย่างสตรีเหล่านั้นกระซิบกัน ฟังแล้วชวนให้คิดถึงหลักภราดรภาพที่พระพุทธองค์ตรัสปรารภพระภิกษุป่วยไข้ คำขอบวช คือ คำประกาศหลักภราดรภาพโดยตรง หลักจากพระเจริญพระพุทธมนต์จบ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี (ผู้แทนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) ประธานในพิธี นำคณะรัฐมนตรีและศิษยานุศิษย์ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมเสร็จ ผู้เขียนจึงมีโอกาสเข้ากราบหลวงพ่อปัญญา พร้อม ดร.บุญปลูก ชายเกตุ ประธานบอร์ดช่อง 9 อสมท หลวงพ่อนั่งยิ้มด้วยจิตเมตตา ผู้เขียนปลื้มใจและคิดว่าจะไปงานวันเกิดหลวงพ่อทุกปี แล้วไปเข้าคิวบริจาคสร้างโบสถ์ เพื่อสืบพระศาสนาตามเจตนาหลวงพ่อ ผู้เขียนกลับออกมารับประทานอาหาร ได้รับทราบจากภรรยาว่า คนบริจาคอาหารล้วนใจดีกันทุกคน พูดจาไพเราะ เชิญครับ เชิญค่ะ บางรายยืนยันว่า วันนี้อร่อย เชิญค่ะ เหมือนอาหารเจือด้วยทิพยรส ความเมตตาจากใจหลวงพ่อ ผ่านธรรมกถาเข้าถึงใจผู้ฟัง และผู้ร่วมงานทั้งปวงทำให้เกิดรังสีแห่งธรรมอย่างกว้างขวาง ได้สัมผัสกับธรรมของ หลวงพ่อพุทธทาส ซึ่งถอดจากเทพของขวัญ ได้ความชัดว่าความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ เป็นตัวการสร้างปัญหาสังคมไม่รู้จบ การลดความเห็นแก่ตัวเอง คือ การลดปัญหาเหล่านั้น สาธุ สาธุ หลวงพ่อ 3 สหาย ปฏิบัติและสอน เพื่อลดปัญหาโดยแท้ กระบวนสอนและปฏิบัติธรรม จึงตรัสว่าเป็นหน้าที่ของสมณะตามหลักทิศหกนั้นแล้ว ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก บุคคลแห่งแผ่นดิน ศรัทธาในปฏิปทาของหลวงพ่อ ทั้ง 3 อย่างมาก ถึงกับประกาศว่า เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพุทธทาสอย่างชัดเจน โดยอบรมตุลาการให้ปฏิบัติเคร่งครัดทางกฎหมายอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ มีความสมเหตุสมผลให้เกิดความยุติธรรมแก่คู่คดี ถึงฟ้าจะถล่มลงมาก็ตาม หมายเหตุ : ขอประทานกราบเรียน กราบเรียน เรียนเชิญ เจริญพรคณะศิษยานุศิษย์ ท่านที่เคารพนับถือทุกท่าน ศิษย์วัดขันเงิน และสัทธิวิหาริกในพระเดชพระคุณพระราชญาณกวี (บ.ช.เขมาภิรัต) ได้ไปร่วมแสดงออกซึ่งความกตัญญกตเวที ถวายเป็นอาจริยบูชา โดยพร้อมเพรียงกัน สามารถอนุโมทนา และร่วมเป็นเจ้าภาพผ่านธนาคารกรุงไทย สาขาหลังสวน ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี วัดขันเงิน เลขที่ 804-0-0-4263-1 และกรุณาส่งเอกสารการโอนเงินมาที่ โทรสาร 0-7754-1464 และ 0-2482-1941 เพื่อออกอนุโมทนาบัตร และรวบรวมรายชื่อตีพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกต่อไป [FONT=Tahoma,]หน้า 9[/FONT] วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10871 http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01151250&day=2007-12-15§ionid=0130