การปฏิบัติฌานสมาบัติเบื้องต้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 13 มกราคม 2013.

  1. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ฌานแปลว่าเพ่ง หรือการจ้องมอง
    การปฏิบัติคือการเพ่งดูที่จุดมโนทวาร
    จุดมโนทวารอยู่ตรงกลางใบหน้าระหว่างลูกนัยตาทั้งสองข้าง หรือจุดดั้งหัก
    จะใช้การภาวนาประกอบหรือไม่ก็ได้
    ผลการเพ่งใหม่ๆจะมึนงง
    ต่อๆไปมีเวทนาทางกาย สภาวะส่วนใหญ่เป็นทุกข์
    เป็นหลักฌานสมาบัติ๙ หรือวิปัสสนาญาณ๙ ประกอบด้วยมรรค๘ สติปัฏฐาน๔ โดยบริบูรณ์ แสดงธรรมโดยหลวงปู่สาวกโลกอุดร
    ลองปฏิบัติดูก่อนครับ ผมเองก็ปฏิบัติมาแล้ว ๒ ปีกว่า พอแนะนำในเบี้องต้นได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 751000.JPG
      751000.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.5 KB
      เปิดดู:
      75
  2. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ดีครับเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน แก่ผู้ที่อยากพ้นทุกข์โดยแท้ เผื่อผู้มีบารมีผ่านเข้ามาอ่านเจอจะได้นำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง และตรงที่สุดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  3. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ถ้าดิฉันนั่งส่วนใหญ่พิจารณา ลมหายใจเข้าออก ที่ท้องจะสบายสุดคะ และไม่ปวดหัวด้วย
     
  4. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ผมว่าเป็นพื้นฐานของสมาธิทำให้ถึงพร้อมก็ได้ครับ ทำให้ได้ฌาน4 เป็นพื้นฐาน ก่อนก็ไม่ผิดพุทธพจน์ครับ แต่ถ้าจะเอาให้หลุดพ้นทุกข์จริงๆ ต้องยกอารมณ์ขึ้นเพ่งที่ดั้งจมูกหักตั้งแต่ อรูปฌานขึ้นไป จนถึง ฌานที่ 9 หละครับ ไม่ทำก็ไม่รู้ บอกได้แค่นี้หละครับ
     
  5. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    อุบายการทำให้ถึงสมาธิขั้นฌานที่ 4 ที่เป็นจิตแน่วแนวตั้งมั่นมากนั้น ทำได้หลายวิธี อานาปาณสติก็เป็นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน แล้วแต่ทุกท่านถ้าทำแล้วเป็นสมาธิได้เร็วก็ทำเถิด เพื่อจะได้ต่อยอดไปสู่การเพ่งอารมณ์ตรงดั้งจมูกหักขึ้นไป ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ถึงมรรคผลนิพพานได้ เพราะมีจุดแห่งการเกิดและดับของสังขารความคิดที่จุดนี้ แล้วจะตัดให้ขาดได้ซึ่งสันตติความสืบต่อของสังขารความคิดก็ตรงจุดนี้ เป็นปัตจัตตัง ทำดูแล้วจึงเชื่อ อย่าเพิ่งปฏิเสธก่อนลงมือทำ แต่หนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เป็นทุกข์อย่างยิ่ง แต่ก็นั้นแหละครับ ดั้งพุทธพจน์ที่ว่า ไม่เห็นทุกข์ก็ไม่เห็นธรรม ผู้เห็นทุกข์จึงจะเห็นธรรม เป็นปริศนาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้....
     
  6. NASUNAJA

    NASUNAJA Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +82
    ผมเพิ่งมาใหม่ไม่รู้อะไรดลจิตดลใจให้ได้มาฟังยูทูปของหลวงพ่อแสดงไว้ จะว่าเจอกันโดยบังเอิญก็ว่าได้ กรรมฐานก็ฝึกมาหลายกอง หลายสำนัก แต่ไม่ไปไหน เพิ่งรู้ว่าตนเองเดินทางไม่ถูก ปฏิบัติธรรมที่ผ่านมาเปรียบเหมือนเอาฟางไปกลบขี้เถ้าเพิ่งมอดลงแต่มันก็ยังไม่หมดไฟเสียทีเดียว ไม่วันใดวันหนึ่งฟางต้้องติดไฟและลุกไหม้ขึ้นมา เหมือนกิเลสคล้ายมันดับ แต่แท้จริงมันไม่ดับเลย เพราะการคิดเอานึกเอา จะทำให้มันดับ เรานี่ช่างโง่เสียปะไรจริงๆ ต่อนี้ไปผมจะปฎิบัติธรรมตามหลวงพ่อแน่ใจว่าถูกทาง แม้ศัพท์บางคำจะไม่เข้าใจเพราะไม่เคยรู้หรือได้ยินมาก่อนก็ตาม และผมเพิ่งรู้ว่าการใช้อิทธิบาทสี่ต้องใช้เวลาไหนแล้วละตอนนี้
     
  7. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมโพสต์เรื่องฌานสมาบัติไว้หลายที่หลายแห่ง ลองเปิดอ่านดูได้ หากสงสัยก็สอบถามตามที่โพสต์หรือทางข้อความ PM ก็ได้ครับ หรือจะฟังธรรมของพระอรหันต์ที่ท่านสำเร็จจากการปฏิบัติฌานสมาบัติเพื่อประกอบเป็นกำลังใจก็ได้ที่ http://youtu.be/_v0Ebkehhvg ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  8. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    suk_esq77 อนุโมทนา จากใจ คุณกล้าที่จะบอกว่าทำมาแทบทุกอย่างแล้ว แต่ไม่สามารถดับกิเลสได้จริง ผมนับถือคุณตรงที่กล้า ยอมรับนี่แหละ ลูกผู้ชายตัวจริง
     
  9. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    พระพุทธองค์สอนให้พระอนุรุทธเพ่งฌานผ่านฌานที่๘ สู่ฌานที่๙


    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 457-459
    ๑๐. อนุรุทธสูตร
    [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิยะ แคว้นภัคคชนบทก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวันแคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับเกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามากของบุคคลสันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัดมิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นมิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่บุคคลผู้มีปัญญาทราม. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะแล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้ว ๆ อนุรุทธะถูกละที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
    ดูก่อนอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่าจักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
    ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจารเพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแลเธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอจัก
    ตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียว จักบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วยความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพานเปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่าง ๆ ฉะนั้น ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๘ ประการนี้
    หลวงปู่สาวกโลกอุดรแสดงธรรมในเรื่องว่า พระอนิรุทธเพ่งฌานไปถึงฌานที่ ๘ และไปติดกับปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามากของบุคคลสันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัดมิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นมิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่บุคคลผู้มีปัญญาทราม
    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะแล้วจึงเสด็จไปบอกให้ปฏิบัติต่อไปอีกอย่าเนิ่นช้า โดยตรัสบอกว่าเธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า
    เมื่อเพ่งฌานจนถึงฌานที่ ๙ แล้วก็จะได้เป็นพระอรหันต์(จักเป็นผู้ไม่ลำบาก) โดยพระพุทธองค์กล่าวว่า ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๘ ประการนี้
    ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๘ หมายความว่าเมื่อบรรลุถึงฌานที่ ๙ ก็จะหลุดพ้นความลำบากในฌานที่ ๘ ซึ่งเป็นปริวิตกที่ติดในจิตใจพระอนุรุทธ
    เจริญในธรรมครับ
     
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    คลิปผู้บรรลุธรรม

    พระอาจารย์ประกอบ ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่สาวกโลกอุดร ได้ปฏิบ้ติทั้งสมถและวิปัสสนามาก่อน ต่อมาได้ปฏิบัติฌานสมาบัติจนบรรลุพระอรหันต์
    สภาวะธรรมโดยฌานสมาบัติระดับพระโสดาบันถึงพระอรหันต์ - YouTube
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2013
  11. วีระชัยมณี

    วีระชัยมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,128
    ค่าพลัง:
    +2,548
    ผมเอง เวลานั่งสมาธิ ภาวนาพุทโะ จับลมหายใจ แต่จะรู้สึก หน่วงๆที่ ตรงหัวคิ้ว แถวๆ ระหว่างตาสองข้างนี่ละครับ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ทั้งๆที่ไม่เคยเพ่ง อย่งที่ท่านบอกเลยครับ จะรู้สึกขึ้นมาเอง
     
  12. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แบบนี้ผมมีความเห็นว่า น่าจะเป็นบารมีเก่าที่คุณเคยเพ่งฌานมาในอดีตชาติครับ สำหรับผู้ปฏิบัติฌานสมาบัติมาแล้ว จะไม่สามารถไปปฏิบัติวิธีอื่นได้เลย ไม่ว่าจะไปปฏิบัติแบบอื่น แบบไหน วิธีใด เมื่อเกิดสมาธิเขาก็จะเข้าปฏิบัติทางฌานสมาบัติทันที
    ที่หัวคิ้วเป็นตำแหน่งสูงเกินตำแหน่งเพ่งฌานไปนิดหนึ่งครับ ตำแหน่งที่ถูกลงมาที่จุดดั้งหักระหว่างลูกนัยตาทั้งสองข้างครับ แนะนำให้เพ่งฌานสมาบัติและบังคับดึงมาที่จุด สำหรับการปฏิบัตินั้นมันก็จะตรงจุดบ้าง ไม่ตรงบ้าง เรามีหน้าที่ ที่จะดึงมาเข้าจุดครับ
    อาการที่คุณเป็นนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นกับคุณเพียงคนเดียวนะครับ มีคนอื่นที่เป็นอย่างคุณและได้สอบถามเข้ามาก่อนหน้านี้แล้วทางข้อความPM ซึ่งเขาอยู่ต่างประเทศ ไม่เคยปฏิบัติธรรมไม่ว่าแบบใด แต่เขาจะมีอาการแบบนี้เกิดขึ้นเองอยู่เป็นประจำครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2013
  13. น้องนีล

    น้องนีล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +279
    ในการเพ่งที่จุดดังกล่าวหลับตาหรือลืมตาเพ่งครับ อนุโมทนา สาธุครับ
     
  14. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    หลับตาเพ่งครับ
    ความหมายของการเพ่งคือการจ้องมองดู(ด้วยสติ) หรือทำความระลึกรู้มาที่จุดครับ
    เจริญในธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...